วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศาลสั่งจำคุก หมอเลี้ยบ 1 ปี คดีตั้งบอร์ด ธปท.โดยมิชอบ แต่ให้รอลงอาญา


4 ส.ค. 2559 ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาคดีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ หมอเลี้ยบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นจำเลย จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ รมว.คลัง ในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือ โดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โดยศาลฯ พิพากษาว่า จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท พิเคราะห์พฤติกรรมแห่งคดีแล้ว ภายหลังจากจำเลยมีคำสั่งแต่ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการค ธปท.แล้ว แม้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้คัดเลือกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ธปท.ก็ตาม ต่อมีการยเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการ ธปท.ที่ได้รับการแต้งตั้งดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56  
สำหรับคดีนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2551 ระหว่างที่ นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีวาระการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และไม่ใช่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจึงได้เสนอรายชื่อจากการคัดเลือกบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ธปท. เพื่อให้ นพ.สุรพงษ์ เห็นชอบแต่งตั้งตามขั้นตอน
แต่ นพ.สุรพงษ์ ไม่เห็นด้วยกับรายชื่อดังกล่าว และได้ใช้อำนาจสั่งการแทรกแซง  แต่งตั้งวิจิตร สุพินิจ ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นกรรมการ ทั้งที่บุคคลทั้ง 3 เป็นกรรมการในสถาบันการเงิน จึงถือเป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน ขัดต่อหลักการการมีส่วนได้ส่วนเสีย อันจะกระทบต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสของ ธปท. และเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1
โดย ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  พิจารณาแล้ว เห็นว่า สถิตย์ วิจิตร และชัยวัฒน์ ต่างเป็นตัวแทนสถาบันการเงิน ที่อยู่ภายใต้ก่ารกำกับของ ธปท. เข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการ ธปท. ถือว่าบุคคลทั้ง 3 เป็นผู้มีผลประโยชน์ หรือส่วนได้เสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามความหมายของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1 วรรคสาม เมื่อจำเลยแต่งตั้งบุคคลทั้ง 3 เป็นคณะกรรมการคัดเลือก จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ตามฟ้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น