วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

iLaw นำ 107 รายชื่อร้องผู้ตรวจการฯ ส่งศาลรธน.วินิจฉัย 'พ.ร.บ.ประชามติ' ขัดรัฐธรรมนูญ


10 พ.ค.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุม 903 ชั้น 9 อาคาร B ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) พร้อมด้วย ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัน อดีต ส.ส.และ ส.ว. และ นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นำหนังสือยื่นถึงประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่าน รักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการฯ เพื่อเร่งพิจารณาโดยเร่งด่วนและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรม วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 วรรค 2 และวรรค 4 ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ได้
โดยหนังสือดังกล่าวมีทั้ง อดีต ส.ส. อดีตกรรมการสิทธิฯ อดีตกรรมการเลือกตั้ง อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เครือข่ายองค์การพัฒนาเอกชนต่างๆ รวมทั้งนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัยร่วมลงชื่อจำนวน 107 ราย 
จอน กล่าวว่า เจตนาการยื่นหนังสือครั้งนี้ไม่ได้ต้องการจะล้มกระบวนการทำประชามติ แต่ต้องการให้ประชาชนและสื่อมวลชน แสดงความเห็นได้เต็มที่ก่อนลงประชามติ เพราะการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และเร่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งพิจารณา เพราะการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้มีแต่ส่งผลให้การทำประชามติที่จะมีขึ้น 7 ส.ค.2559 สูญเสียความชอบธรรม
ด้าน เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการฯ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในกระบวนการที่ต้องเอาหนังสือร้องเรียนฉบับนี้ส่งให้ผู้ตรวจการฯ  และถ้าหากผลการพิจารณาไม่เห็นด้วยกับทางผู้ร้องเรียนก็ต้องมีการอธิบายว่าเหตุผลอย่างชัดเจน หลักเกณฑ์การพิจารณาจะดูประเด็นที่ร้องเรียนว่าเป็นเช่นไร และอาจมีการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ที่ร้องเรียน เพื่อไม่ให้เกิดการตีหรือความเข้าใจไปไม่ตรงกันและไม่ให้เกิดความสับสน อาจต้องขอข้อมูลฝ่ายที่เกี่ยวข้องในประเด็น เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เมื่อข้อมูลครบถ้วน อำนาจก็จะอยู่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ ถ้าไม่ส่งก็จะมีการอ้างอิงเหตุผลให้ทราบ ส่วนเรื่องเวลาในการตัดสินใจต้องจะดำเนินการให้เร็วที่สุดแต่ยังไม่ทราบว่าเมื่อใด
ขณะที่ นิรันดร์ กล่าวว่า การยื่นหนังสือร้องเรียน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 วรรค 2และ 4 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินจำเป็นต้องเร่งพิจารณาอย่างเร่งด่วน เนื่องจาก 1. พ.ร.บ.นี้จะเป็นจุดขยายความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทยโดยไม่มีความจำเป็น ต้องยอมรับว่าประชามติเป็นเรื่องดีในระบอบประชาธิปไตย แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องเข้าใจว่าจิตวิญญาณของประชามตินั้นอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน รัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของไม่ใช่เป็นของรัฐบาล คสช. และ 2. ใช้กลไกผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ ที่องค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อให้ใช้อำนาจการบริหารอย่างเป็นธรรม กระบวนการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม ประชาชนอยู่ในบรรยากาศที่เกรงกลัวรัฐบาลและไม่กล้าพูดความจริง กระบวนการประชามติจะเป็นกระจกสะท้อนตัวร่างรัฐธรรมนูญและเป็นผลดีต่อการทำงานรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลต้องไม่ติดกับดักว่าถ้าการรับร่างรัฐธรรมนูญคือพวกรัฐบาล หรือถ้าไม่รับคือต่อต้านเป็นฝ่ายตรงข้าม และใช้บทลงโทษรุนแรงกับการอภิปราย
ไกรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างมาจากรัฐบาลรัฐประหาร ถ้าสังเกตรัฐธรรมนูญปี 2550 สมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะที่ร่างฯร่างรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิกับประชาชน สิทธิชุมชน ให้มีการปกป้องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีว่าไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่จะร่างรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดได้ แต่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างกันในภาวะที่ประเทศไทยมีความขัดแย้งสูง เราเข้าใจเรื่องความมั่นคง แต่ระบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมของโลกในศตวรรษที่ 21 มาตรฐานสิทธิมนุษยชนค่อนข้างจะสูง ถ้าจะให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านโดยเสียงของประชาชนต้องมีการอนุญาตให้มีการเปิดกว้างเสรี ในด้านการวิพากษ์วิจารณ์ในทุกมาตรา ประชาชนจะได้เข้าใจสาระเนื้อหาเป็นอย่างไรเขาจะรับหรือไม่รับเป็นสิทธิของประชาชน แต่ปัจจุบันสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวและไม่เข้าใจร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ขณะที่ เอกชัย ไชยนุวัติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม หนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อในหนังสือนี้ กล่าวว่า ในฐานะนักกฎหมายอ่านร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ปี 2559 แล้ว มีความน่ากลัวในความผิด ม.61 วรรค 2 วรรค 4 ตรงที่ว่าไม่ส่งเสริมประชาชนให้มีการอภิปรายเกิดขึ้น ประชามติเป็นเรื่องของการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงของประชาชน ถ้าไปเปรียบเทียบดูร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 2552 เปรียบเทียบกับ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ปี 2559 ข้อความที่ปรากฏในวรรค 2 นักกฎหมายยังกลัว เพราะกฎหมายการจะลงโทษเอาคนไปติดคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท นั้นต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ การที่จะจับคนไปติดคุกโดยที่ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นผิดหรือไม่ผิดแม้แต่วันเดียวหรือวินาทีเดียวก็ทำไม่ได้ คำว่า “ก้าวร้าว” “รุนแรง” ถ้าประชาชนเขาไม่ชอบรัฐบาลจะให้เขาแสดงออกอย่างไร ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณา ท่านอาจจะไม่เห็นว่า ม.61 วรรค 2 วรรค 4 มันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แต่ถ้าประชาชนเห็นว่าขัดท่านต้องตอบให้ได้ว่าเพราะเหตุใด รัฐธรรมนูญเป็นของทุกคน การที่เปิดกว้างให้รัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายทั้งดีและไม่ดีสุดท้ายผลประโยชน์จะตกอยู่กับรัฐบาล  

รายละเอียดหนังสือร้องเรียนดังกล่าว : 

เรื่อง ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เรียน ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ตามที่ได้มีการ ประกาศใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 เมษายน  2559 เพื่อควบคุมดูแลการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น ปรากฏว่ากฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 วรรคสองว่า
"ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย"
ซึ่งความผิดตามมาตรานี้มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท และศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทําความผิดของคณะบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดสิบปี
ผู้ร้องตามรายชื่อข้างท้ายนี้ มีความเห็นว่า มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดโดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและคลุมเครือ เช่นคำว่า "รุนแรง" "ก้าวร้าว" "ปลุกระดม" ซึ่งเป็นคำที่ไม่เคยมีนิยามอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน ประชาชนไม่สามารถเข้าใจได้ว่าการแสดงออกอย่างใดจะผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งขัดต่อหลักการของกฎหมายอาญาที่ต้องชัดเจนแน่นอนให้ประชาชนสามารถทราบถึงขอบเขตของสิทธิเสรีภาพได้ ส่วนการแสดงออกด้วยถ้อยคำที่ "หยาบคาย" นั้น ตามปกติแล้วแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่ก็ไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย การบัญญัติมาตรา 61 วรรคสองเช่นนี้ จึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินขอบเขต โดยไม่มีเหตุอันสมควร
บทกำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 61 วรรคสอง เป็นโทษที่รุนแรงเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำที่เป็นเพียงแค่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยสงบ ปราศจากความรุนแรง อัตราโทษจำคุกไม่เกินสิบปีนั้นเทียบได้กับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท หรือฐานทำให้หญิงแท้งลูกและถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ 320 ส่วนการกำหนดโทษขั้นต่ำของการกระทำตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปก็รุนแรงเกินไปอีกเช่นกัน โดยเทียบได้กับความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร หรือความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 284 และมาตรา 338 ขณะที่ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 มีโทษสูงสุด คือ จำคุกไม่เกินเจ็ดปีเท่านั้น
ในทางปฏิบัติยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกด้วยว่า หลังพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศใช้ เจ้าหน้าที่รัฐตีความกฎหมายอย่างกว้าง โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2559 มีการรื้อนิทรรศการการเมืองเรื่องรัฐธรรมนูญของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีการพยายามจับกุมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลที่แจกเอกสารรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสองครั้งเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ระบุเหตุผลให้แน่ชัดว่าขัดต่อกฎหมายอย่างไร และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559 กรรมการการเลือกตั้งก็เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่อมาในวันเดียวกันตำรวจแถลงข่าวการจับกุมดำเนินคดีกับผู้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กดังกล่าว
ผู้ร้องขอเรียนเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะเดินหน้าเข้าสู่การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรอบด้านเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ บรรยากาศของสังคมที่เปิดกว้างสำหรับการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นในหมู่ประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง หากมีผู้ใดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นใดก็จำเป็นที่จะต้องมีเสรีภาพในการเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่อสาธารณะ รวมทั้งเสรีภาพที่จะรณรงค์สนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สาธารณชนได้เรียนรู้เข้าใจข้อดีข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญก่อนร่วมกันลงเสียงประชามติ แต่บรรยากาศที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เมื่อประชาชนไม่มั่นใจถึงขอบเขตสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นหรือรรณรงค์ภายใต้พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 วรรคสองและวรรคสี่ ซึ่งมีความคลุมเครือ ประกอบกับการกระทำผิดมาตราดังกล่าวมีโทษสูงมาก ประชาชนทั่วไปจึงเกิดความเกรงกลัวในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะที่รัฐบาลเดินหน้าสื่อสารข้อมูลฝ่ายเดียวส่วนประชาชนที่เห็นต่างกลับถูกกดดันด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ให้แสดงความเห็น ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ มีแต่จะส่งผลให้การทำประชามมติที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 สูญเสียความชอบธรรม
เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ จึงถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้รับการรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับที่ประเทศไทยลงนามเข้าเป็นภาคี เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) จึงย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 4 ด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ซึ่งมีอำนาจปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ประกอบกับประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ผู้ร้องตามรายชื่อข้างท้ายนี้ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 245 (1) และรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 45 ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 วรรคสองและวรรคสี่ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และสร้างบรรยากาศของสังคมไปสู่การทำประชามติที่มีคุณภาพ
รายชื่อผู้ร่วมลงนาม
1)        จอน  อึ๊งภากรณ์   ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน, อดีตสมาชิกวุฒิสภา
2)        นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ  อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา
3)        ไกรศักดิ์  ชุณหะวัณ  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อดีตสมาชิกวุฒิสภา
4)        สุนี  ไชยรส  อดีตกรรมการปฎิรูปกฎหมาย, อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
5)        ไพโรจน์  พลเพชร  อดีตกรรมการปฎิรูปกฎหมาย
6)        โคทม  อารียา  อดีตกรรมการเลือกตั้ง
7)        ศรีสุวรรณ  ควรขจร  ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
8)        โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์  รองศาสตราจารย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9)        คาริน่า โชติรวี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10)      ฉลอง  สุนทราวาณิชย์  รองศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11)      เกษม  เพ็ญภินันท์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
12)      ฉันทนา  หวันแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13)      สุริชัย  หวันแก้ว  ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
14)      เดชา  ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15)      นฤมล  ทับจุมพล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16)      ณัฐพล  ตันตระกูลทรัพย์  นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17)      บาหยัน  อิ่มสำราญ  รองศาสตราจารย์ คณะอักศรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
18)      สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ  อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19)      เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์  อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
20)      พิพัฒน์  สุยะ  อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
21)      ชาญณรงค์  บุญหนุน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
22)      คมกฤช  อุ่ยเต็กเค่ง  ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
23)      นาตยา  อยู่คง  อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
24)      ศราวุฒิ  ประทุมราช กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
25)      ฒาลลัศมา จุลเพชร  นิสิตปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26)      อเนกชัย  เรืองรัตนากร นิสิตปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27)      แพร  จิตติพลังศรี  อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28)      ปัญญา  พราหมณ์แก้ว  นิสิตปริญญาโท สหสาขพัฒนามนุษย์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29)      นิติรัตน์  ทรัพย์สมบูรณ์  กรรมการอำนวยการ กลุ่มเพื่อนประชาชน
30)      สุธิลา  ลืนคำ ฝ่ายสตรี กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
31)      สุดท้าย  ต่อโชติ  กรรมการสหภาพแรงงานไทยคูราโบ
32)      เยาวลักษ์  อนุพันธ์  หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
33)      ชำนาญ  จันทร์เรือง  ประธานเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น
34)      จุลศักดิ์  แก้วกาญจน์  สมาชิกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
35)      เลิศศักดิ์  คำคงศักดิ์  ผู้ประสานงาน โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
36)      ส.รัตนมณี  พลกล้า  ผู้ประสานงาน/ทนายความ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
37)      อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์  ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
38)      สายชล  สัตยานุรักษ์  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
39)      เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒวนิช  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
40)      วราภรณ์  เรืองศรี  อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41)      กฤตภัค  งามวาสีนนท์ ผู้ช่วยวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
42)      ไชยันต์  รัชชกูล ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
43)      วุฒิชาติ  ชุ่มสนิท (บินหลา  สันกาลาคีรี) นักเขียน
44)      อรุณวตี ฉัตรเท นักร้อง
45)      เสนาะ  เจริญพร  อาจารย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชานี
46)      ธนาพล  อิ๋วสกุล
47)      สังคม  จิรชูสกุล  ประชาชน
48)      ชโลมใจ  ชยพันธนาการ  ราษฎร
49)      วรพจน์  พันธุ์พงศ์
50)      รณวัฒน์  จันทร์จารุวงศ์
51)      ธีรพล  อันมัย อาจารย์คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
52)      ชูวัส  ฤกษ์ศิริสุข  บรรณาธิการอำนวยการ เว็ปไซต์ประชาไท
53)      ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
54)      พรทิพย์ หงชัย
55)      เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
56)      แววรินทร์ บัวเงิน ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์บ้านแหง จ.ลำปาง
57)      สุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ ผู้แทนกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด
58)      เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
59)      กิตติกาญจน์ หาญกูล
60)      ชุทิมา ชื่นหัวใจ
61)      วัฒนา นาคประดิษฐ์ เจ้าหน้าที่โครงการอาสาสมัครเพื่อนักสิทธิมนุษยชน มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
62)      ศิริพร ฉายเพ็ชร ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
63)      วิบูลย์ บุญภัทรรักษา ทนายความ สำนักงานทนายความวิบูลย์ บุญภัทรรักษา
64)      สุทธิเกียรติ คชโส นักกฎหมาย ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
65)      ธัญญารัศมิ์ สินทรธรรมทัช ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำเหมืองแร่ทองคำพิจิตรและเพชรบูรณ์
66)      คำปิ่น อักษร ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนคนฮักน้ำโขง
67)      ทวีศักดิ์ อินกว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายเชียงรากใหญ่
68)      ณัฐชลี สิงสาวแห ผู้ประสานงานเข้าใจคิด โปรดั๊กชั่น
69)      สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
70)      จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
71)      เอกชัย ไชยนุวัต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
72)      อนันต์ เมืองมูลไชย  ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทย
73)      สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล  เลขาธิการ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
74)      เจษฎาพร ทองงาม  ผู้จัดการกลุ่มพะยูนศรีตรัง
75)      อภิวัฒน์ กวางแก้ว  ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อนเยาวชนอาสาที่อยู่กับเชื้อเอชไอวี
76)      เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่ประสานงานรณรงค์มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
77)      นิมิตร์ เทียนอุดม  ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
78)      จารุณี ศิริพันธุ์  รองผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
79)      กาญจนา แถลงกิจ  เครือข่ายสุขภาพผู้หญิงจังหวัดเชียงใหม่
80)      สารี อ่องสมหวัง
81)      กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสาน FTA Watch (กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน)
82)      เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ในนามของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
83)      สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
84)      ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
85)      สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
86)      กฤษณ์พชร โสมณวัตร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
87)      นัทมน คงเจริญ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88)      วรยุทธ ศรีวรกุล สมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสังคมที่ยุติธรรมและสันติ
89)      สุรัสวดี  หุ่นพยนต์  ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
90)      ศิริจิต  สุนันต๊ะ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
91)      มนตรา  พงษ์นิล อาจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
92)      บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
93)      พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์  อาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
94)      บัณฑิต  ไกรวิจิตร อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
95)      มูฮัมหมัดอิลยาส  หญ้าปรัง  อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
96)      เยาวนิจ กิตติธรกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
97)      ศุภวิทย์  ถาวรบุตร  อาจารย์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
98)      สมิทธิรักษ์  จันทรักษ์  อาจารย์ นักวิชาการอิสระ
99)      ปราโมทย์  ระวิน อาจารย์ นักวิชาการอิสระ
100)   ดวงกมล  จิตร์จำนงค์  ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
101)   เคท  ครั้งพิบูลย์  อาจารย์ นักวิชาการอิสระ
102)   จาตุรงค์  บุณยรัตนสุนทร  ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
103)   พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์  รองศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
104)   นภาพร  อติวานิชพงศ์  รองศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
105)   อนุสรณ์ อุณโณ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
106)   เกษียร  เตชะพีระ ศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
107)   พิชญ์  พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น