วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผ่านวาระแรก พ.ร.บ.ประชามติ สนช.นัดโหวตวาระ 2-3 วันที่ 7 เม.ย.


18 มี.ค.2559  มีรายงานข่าวว่า ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ โดยมีผู้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าร่วมประชุมด้วย
สมาชิกลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ในวาระ 1 โดยโหวตรับด้วยคะแนน 153 : 0 งดออกเสียง 5 พร้อมตั้งกมธ.วิสามัญ จำนวน 21 คน แปรญัตติภายใน 5 วัน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน ภายใน 20 วัน และให้ประชุมนัดแรกในวันนี้เวลา 14.00 น.
การหน้าการลงมติ นายวิษณุ ได้ชี้แจงที่ประชุมว่า หลังจากสนช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม 2557 ไปแล้วและขณะนี้อยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นต้องจัดให้มีกฎหมายออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจัดทำอยู่ จากการหารือกับกกต. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการออกเสียงประชามติและเป็นผู้จัดทำยกร่าง พ.ร.บ.ประชามติทั้งหมด คาดว่าจะดำเนินการได้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้  ทั้งนี้ ด้วยความเร่งรัดของเวลาที่กกต.มีเวลาเพียง 7 วัน หลังจากสัปดาห์ก่อนที่สนช.เห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ดังนั้น เมื่อพ.ร.บ.ได้ส่งมายังรัฐบาล จะให้กฤษฎีกาตรวจสอบละเอียดก็ยากเพราะเวลาจำกัด รัฐบาลจึงตัดสินใจส่งมายังสนช.เพื่อให้มาแก้ในชั้นกมธ. จึงเป็นธรรมดาที่อาจพบสิ่งไม่เหมาะสม หรือข้อบกพร่อง
วิษณุ กล่าวว่า ครม.เห็นว่าเรื่องนี้มีความเร่งด่วน จึงไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมออกมาก่อน ส่วนการเริ่มบังคับใช้กฎหมายประชามตินั้นจะใช้ได้เมื่อรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมีผลบังคับใช้แล้ว โดยเนื้อหาของกฎหมายประชามติจะกำหนดกติกาทั้งคุณลักษณะต้องห้าม วิธีการออกเสียง บัตรลงคะแนน และการนับคะแนน รวมไปถึงกรณีเกิดการขัดขวางการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยไม่เรียบร้อย จึงต้องให้อำนาจ กกต.ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิษณุกล่าวอีกว่า แนวคิดการกำหนดหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ นำมาจากหลัก 3 ประการ 1.นำมาจากพ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติปี 2552 แต่จะเอามาใช้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นประชามติเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ แต่มีสาระบางอย่างที่นำมาใช้ได้
2.นำมาจากประกาศหรือระเบียบที่ กกต.ได้ยกร่างมาก่อนแล้ว สมัยร่างรัฐธรรมนูญนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ 3. การรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะชนที่
ในการอภิปรายเพื่อแสดงความคิดเห็นของสมาชิก นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ อภิปรายว่า เข้าใจความรีบเร่งของรัฐบาล และวิปสนช.ได้กำหนดพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวันที่ 7 เม.ย.นี้
นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิก สนช. อภิปรายว่า ในการทำประชามติครั้งนี้เป็นการทำในสถานการณ์พิเศษ ทำให้สังคมและรัฐบาลมีความกังวล ว่าการแสดงความเห็นรับหรือไม่รับจะนำมาสู่มาความไม่สงบเรียบร้อย แต่เรื่องดังกล่าวต้องมีการถกเถียงกว้างขวาง แม้กฎหมายเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นกว้างขวาง แต่มีกระแสข่าวเอาโทษผู้รณรงค์บิดเบือน ให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากรัฐบาลชี้แจงไม่ชัดเจน อาจทำให้เข้าใจว่า รัฐบาลปิดโอกาสในการเผยแพร่
นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิก สนช. อภิปรายแสดงความห่วงใยในบทลงโทษแม้จะเข้าใจเหตุผล คสช.ที่เป็นห่วงว่าการเลือกตั้งไม่สงบจึงกำหนดโทษไว้สูง อย่างไรก็ตามยังมีข้อกังวล เช่น มาตรา 60 ผู้ใดทำลายบัตรออกเสียง ทำให้ชำรุด มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท เรื่องนี้เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดอาจเผลอทำชำรุดเสียหาย, มาตรา 63 การจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิออกเสียงไปคูหา มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับ 2 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เรื่องนี้เป็นห่วงดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าอย่างไหนจึงเป็นการจัดตั้ง บางทีหมู่บ้านหนึ่งอาจมีรถไม่กี่คันและอาศัยรถกันไป
นายชาญวิทย์ วสยางกูร สมาชิก สนช. ระบุว่า มาตรา 14 (1) ให้ผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการออกเสียง ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ผอ.เลือกตั้งมีระดับแค่ซีแปด หรือผู้ชำนาญการพิเศษ ไม่สามารถสั่งหรือขอความร่วมมือในการทำงานในระดับที่สูงกว่าได้ ในทางปฏิบัติจึงได้ผลไม่เต็มที่ ดังนั้น อยากให้เปลี่ยนมาตราดังกล่าว โดยแก้ไขให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่แทน อย่างไรก็ตาม อยากถามกกต.ที่ระบุการลงคะแนนเสียงตามาตรา 39 ด้วยเครื่องลงคะแนน ลักษณะเครื่อง ขั้นตอนวิธีการลงคะแนนเป็นอย่างไร ระเบียบว่าด้วยเครื่องลงคะแนนจัดทำหรือยัง เครื่องมีจำนวนเท่าไร เรื่องนี้อาจก่อความสับสนและเป็นปัญหามาก ดังนั้น ควรรอให้มีความพร้อมก่อน
จากนั้นที่ประชุมสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้เครื่องลงคะแนน หลายคนอยากให้ใช้วิธีการลงคะแนนแบบเดิมด้วยการกาบัตรลงคะแนน
นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องของการใช้เครื่องลงคะแนน เป็นสิ่งที่รัฐบาลเป็นห่วง เพราะเป็นครั้งแรกที่จะนำมาใช้ในการลงประชามติ ปกติการใช้เครื่องลงคะแนนควรใช้กับการเลือกตั้งท้องถิ่น และใช้บางพื้นที่เท่านั้น

รายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. จำนวน 21 คน
ครม.เสนอ 4 คน
  • 1. นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการ กกต.
  • 2. นายณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเลือกตั้ง
  • 3. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคระกรรมการกฤษฎีกา
  • 4. นายพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์

กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคระกรรมการกฤษฎีกา สมาชิก สนช. เสนอ 17 คน
  • 5. นายกล้านรงค์ จันทิก (กมธ. การเมือง)
  • 6. รองศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (กมธ. การเมือง)
  • 7. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ (กมธ. การบริหารราชการแผ่นดิน)
  • 8. คุณพรทิพย์ จาละ (กมธ. การบริหารราชการแผ่นดิน)
  • 9. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ (กมธ. การกฎหมายฯ)
  • 10. นายธานี อ่อนละเอียด (กมธ. การกฎหมายฯ)
  • 11. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง (กมธ. การปกครองท้องถิ่น)
  • 12. พลเอก ศุภวุฒิ อุตมะ (กมธ. การปกครองท้องถิ่น)
  • 13. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (สนช.)
  • 14. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม (สนช.)
  • 15. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ (สนช.)
  • 16. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา (สนช.)
  • 17. นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ สำนักอัยการสูงสุด
  • 18. รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย สถาบันพระปกเกล้า
  • 19. นายสกุล สื่อทรงธรรม มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย
  • 20. นายสุชาติ ชมกุล สภาทนายความ
  • 21. นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ สำนักงานศาลยุติธรรม

ผู้เสนอ นางสุวิมล ภูมิสิงหราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น