วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

200 รายชื่อ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ โดยการแต่งตั้งของ คสช.


          เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2558 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยมีรายละเอียดังนี้ ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ )พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 วรรคสอง บัญญัติให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ดังต่อไปนี้
  •  พลโท กมล สุวภาพ
  •  นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
  •  พลโท กฤษณะ บวรรัตนารักษ์
  •  นายกลินท์ สารสิน
  •  นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด
  •  นายกษิดิศ อาชวคุณ
  •  นายกษิต ภิรมย์
  •  นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา
  •  นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
  •  นายกิตติ กิตติโชควัฒนา
  •  นายกิตติ พิทักษ์นิตินันท์
  •  นายเกรียงยศ สุดลาภา
  •  พลเรือเอก ไกรวุธ วัฒนธรรม
  •  นายขวัญชัย ดวงสถาพร
  •  พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา
  •  นายเข็มชัย ชุติวงศ์
  •  พลโท คณิต แจ่มจันทรา
  •  พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร
  •  พลเอก คณิต อุทิตสาร
  •  นายคณิสสร นาวานุเคราะห์
  •  พลอากาศเอก คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา
  •  นายคำนูณ สิทธิสมาน
  •  นายคุรุจิต นาครทรรพ
  •  หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์
  •  พลเอก จารุเกียรติ ชัยวงษ์
  •  นายจินดา วงศ์สวัสดิ์
  •  พลเอก จิระ โกมุทพงศ์
  •  พลเรือเอก จีรพัฒน์ ปานสกุณ
  •  นายจุมพล สุขมั่น
  •  นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
  •  พลอากาศตรี เฉลิมชัย เครืองาม
  •  นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
  •  นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ
  •  พลเรือเอก ชนินทร์ ชุณหรัชพันธุ์
  •  นายชัย ชิดชอบ
  •  พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล
  •  นายชาญวิทย์ ผลชีวิน
  •  นายชาลี เอียดสกุล
  •  พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
  •  นายชูชัย ศุภวงศ์
  •  นายชูชาติ อินสว่าง
  •  นายชูศักดิ์ เกวี
  •  พลเอก ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์
  •  พลเอก ชูศักดิ์ สันติวรวุฒิ
  •  พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย
  •  นายฐาปบุตร ชมเสวี
  •  พลเอก ฐิติวัจน์ กำลังเอก
  •  นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์
  •  พลเรือเอก ณรงค์พล ณ บางช้าง
  •  พันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันทน์
  •  นายณัฏฐ์ ชพานนท์
  •  นายดำรงค์ พิเดช
  •  นายดุสิต เครืองาม
  •  นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
  •  พลตำรวจโท เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา
  •  นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา
  •  นายตระกูล วินิจนัยภาค
  •  พลตำรวจโท ตรีทศ รณฤทธิวิชัย
  •  นายต่อพงศ์ เสลานนท์
  •  พลตำรวจเอก ไตรรัตน์ อมาตยกุล
  •  นางถวิลวดี บุรีกุล
  •  พลอากาศเอก ทวิเดนศ อังศุสิงห์
  •  นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
  •  ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ
  •  นายธงชัย ลืออดุลย์
  •  พลโท ธงชัย สาระสุข
  •  พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์
  •  นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์
  •  นายธรรมศักดิ์ พงศ์พิชญามาตย์
  •  พลเอก ธวัช จารุกลัส
  •  นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย
  •  นายธวัชชัย ฟักอังกูร
  •  พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
  •  นายธานินทร์ ผะเอม
  •  พลตำรวจโท ธีรจิตร์ อุตมะ
  •  พลอากาศเอก ธีระภาพ เสนะวงษ์
  •  พลเอก นคร สุขประเสริฐ
  •  นางนรรัตน์ พิมเสน
  •  นายนิกร จำนง
  •  นางนินนาท ชลิตานนท์
  •  พลอากาศเอก นิรันดร์ ยิ้มสรวล
  •  นายบวรเวท รุ่งรุจี
  •  นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์
  •  พลโท บัญชา สิทธิวรยศ
  •  นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
  •  พลเรือเอก ประดิษฐ์ ศิริคุปต์
  •  นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
  •  นายประภาศ คงเอียด
  •  นายประมนต์ สุธีวงศ์
  •  ร้อยเอก ประยุทธ เสาวคนธ์
  •  นายประยูร เชี่ยววัฒนา
  •  นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
  •  พลเอก ปราการ ชลยุทธ
  •  นายปรีชา บุตรศรี
  •  พลอากาศเอก ปรีชา ประดับมุข
  •  นางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล
  •  นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
  •  นางสาวปิยะธิดา ประดิษฐบาทุกา
  •  นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
  •  พลอากาศเอก เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว
  •  นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์
  •  นายพนม ศรศิลป์
  •  นายพรชัย ตระกูลวรานนท์
  •  คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
  •  นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์
  •  พลเอก พหล สง่าเนตร
  •  พลเอก พอพล มณีรินทร์
  •  พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
  •  พลตำรวจตรี พิสิษฐ์ เปาอินทร์
  •  นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต
  •  นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
  •  พลเอก ภิญโญ แก้วปลั่ง
  •  พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ
  •  พลอากาศเอก มนัส รูปขจร
  •  นายมนู เลียวไพโรจน์
  •  นางมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์
  •  นางเมธินี เทพมณี
  •  พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
  •  พลเรือเอก ยุทธนา เกิดด้วยบุญ
  •  พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
  •  นางรวีวรรณ ภูริเดช
  •  นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์
  •  พลเอก รัชกฤต กาญจนวัฒน์
  •  พลตำรวจเอก เรืองศักดิ์ จริตเอก
  •  นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต
  •  พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
  •  นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ
  •  พลตำรวจเอก วรพงษ์ ชิวปรีชา
  •  นายวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ
  •  พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย
  •  นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
  •  พลโท วราห์ บุญญะสิทธิ์
  •  นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ
  •  พลเอก วัฒนา สรรพานิช
  •  พลอากาศเอก วัธน มณีนัย
  •  นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย
  •  นายวันชัย สอนศิริ
  •  นายวัลลภ พริ้งพงษ์
  •  พลเอก วิชิต ยาทิพย์
  •  นายวิเชียร ชวลิต
  •  พลเอก วิเชียร ศิริสุนทร
  •  นายวิทยา แก้วภราดัย
  •  นายวินัย ดะห์ลัน
  •  นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
  •  นายวิรัช ชินวินิจกุล
  •  นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร
  •  นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
  •  พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
  •  นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม
  •  พลตำรวจโท ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
  •  นายศานิตย์ นาคสุขศรี
  •  นายศิริชัย ไม้งาม
  •  นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
  •  พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์
  •  นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
  •  นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์
  •  นายสมชัย ฤชุพันธุ์
  •  นายสมชาย พฤฒิกัลป์
  •  พลโท สมชาย ลิ้นประเสริฐ
  •  นายสมเดช นิลพันธุ์
  •  นายสมพงษ์ สระกวี
  •  นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์
  •  พลเอก สราวุฒิ ชลออยู่
  •  พลโท สสิน ทองภักดี
  •  นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
  •  นายสันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์
  •  พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง
  •  นายสุชน ชาลีเครือ
  •  พันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล
  •  นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์
  •  นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล
  •  พลโท สุรเดช เฟื่องเจริญ
  •  นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
  •  พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์
  •  นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์
  •  พลตำรวจโท สุวิระ ทรงเมตตา
  •  นายเสรี สุวรรณภานนท์
  •  นายเสรี อติภัทธะ
  •  นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์
  •  พลอากาศเอก อนาวิล ภิรมย์รัตน์
  •  พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี
  •  นายอนุสรณ์ จิรพงศ์
  •  นายอนุสิษฐ คุณากร
  •  นายอภิชาต จงสกุล
  •  พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ
  •  นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์
  •  พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
  •  นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม
  •  นายอรุณ จิรชวาลา
  •  นายอลงกรณ์ พลบุตร
  •  นายอิศรา ศานติศาสน์
  •  นายอัครินทร์ เลิศกิจชัยศิริ
  •  นายอับดุลฮาลิม มินซาร์
  •  พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
  •  พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์
  •  พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
  •  พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน
  •  นายอำพล จินดาวัฒนะ
  •  นายอุทัย เลาหวิเชียร
  •  พลเอก เอกชัย จันทร์ศรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พุทธศักราช 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

จอนหวัง ประยุทธ์เข้าใจ 'หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า' เป็นจุดแข็งของไทย


'จอน' หวัง 'ประยุทธ์' เข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นจุดแข็งของไทย หลังร่วมประชุมยูเอ็น ย้ำคำกล่าวนายกฯ ต่อที่ประชุมถือเป็นพันธสัญญาต้องปฏิบัติตาม ชี้ส่วนตัวคาดหวังกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตหรือภาคประชาชนในการขับเคลื่อนพัฒนาระบบมากกว่า แต่ในรัฐบาลนี้อย่างน้อยต้องไม่ทำให้ระบบแย่ลง
5 ต.ค. 2558 จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงคำกล่าวถ้อยแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมว่าด้วยเส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : การส่งเสริมความเท่าเทียมในบริบทสุขภาพโลกและความมั่นคงของมนุษย์ในช่วงการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 (The Path towards Universal Health Coverage: The Promotion of Equitable Global Health and Human Security in the Post-2015 Development Era) ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาว่า การกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ดี โดยขัดแย้งกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคำถามถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งจากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ เชื่อว่านายกฯ เห็นว่านานาชาติต่างชื่นชมการดำเนินนโยบายนี้ของประเทศไทยมาโดยตลอด เพราะเป็นนโยบายที่ดีช่วยให้คนเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งยังเป็นตัวอย่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถจัดตั้งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้สำเร็จ
“ผมหวังว่านายกรัฐมนตรีจะเปลี่ยนแนวคิดหรือเข้าใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น ไม่มองเป็นภาระงบประมาณประเทศ และคงได้เห็นว่าประเทศต่างๆ ในโลกเขาชื่นชมประเทศไทยในเรื่องนี้อย่างมากที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของประชาชน” ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าว
จอน กล่าวต่อว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ส่วนตัวหวังว่าท่านจะมีความเข้าใจและส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดการพัฒนาและยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีประเด็นที่ยังเป็นห่วงคือ การหาแหล่งงบประมาณอื่นเพื่อนำมาสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะการร่วมจ่าย เพราะหากดำเนินการอย่างไม่ระวังจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในฐานะผู้รับบริการได้ อย่างการร่วมจ่าย ณ จุดบริการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษาได้ หรือหากเป็นการเก็บภาษีหรือร่วมจ่ายเฉพาะผู้มีรายได้ก็จะเกิดระบบวัดความจน เป็นการทำลายศักดิ์ศรีผู้มารับบริการ เพราะต้องมีการพิสูจน์ความจนถึงได้รับการยกเว้นจัดเก็บ ซึ่งเท่าที่ดูระบบภาษีที่จัดเก็บขณะนี้มองว่ายังสามารถเดินหน้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้โดยยังไม่ต้องจัดเก็บพิเศษเพิ่มเติม เพราะหากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายสุขภาพต่อจีดีพีแล้ว ประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น
“ในระบบภาษีที่จัดเก็บและจัดสรรงบประมาณนั้น ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไทยจะให้ความสำคัญเรื่องใด ซึ่งในความเห็นผมคิดว่า เรื่องสุขภาพและการศึกษาเป็นอันดับแรกที่รัฐต้องลงทุนในการใช้จ่ายจากภาษีนี้ ดังนั้นเราน่าจะมีวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่นมากกว่า และเท่าที่ดูการลงทุนสุขภาพในประเทศขณะนี้มองว่าเรายังลงทุนน้อยไปด้วยซ้ำ” ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าว
ส่วนกรณีนายกรัฐมนตรีกล่าวในเวทีการประชุมว่า จะสนับสนุนยกระดับคุณภาพสาธารณสุขและสุขภาพประชาชน พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จอน กล่าวว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีพูดอะไรไว้ในเวทีระดับสากลถือเป็นพันธสัญญาและขอให้ทำจริง ซึ่งตนเองก็หวังที่จะได้เห็นการพัฒนาระบบเกิดขึ้นตามที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้ หรืออย่างน้อยรัฐบาลชุดนี้ต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือทำให้แย่งลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ห่วงและติดตามมาตลอด ทั้งนี้ส่วนตัวคาดหวังกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตหรือภาคประชาชนในการขับเคลื่อนพัฒนาระบบมากกว่า แต่ในรัฐบาลนี้อย่างน้อยต้องไม่ทำให้ระบบแย่ลง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่นายกรัฐมนตรีหยิบยกระบบหลักประกันสุขภาพถ้วหน้าพูดในเวทีโลก แสดงว่าเป็นจุดแข็งของไทยและเป็นต้นแบบการดำเนินระบบให้กับประเทศต่างๆ ได้ จอน กล่าวว่า เราได้รับการชื่นชมจากองค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก โดยมักยกประเทศไทยเป็นตัวอย่างการดำเนินระบบรักษาพยาบาลในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ช่วยให้คนทั้งประเทศเข้าถึงบริการได้ ซึ่งที่ผ่านมายังมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ จากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเข้าดูงานในเรื่องนี้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอย่างน้อยนายกรัฐมนตรีคงจะเห็นในเรื่องเหล่านี้จากการเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติครั้งนี้

สปสช. เผยผลสำรวจประชาชนพอใจ ‘บัตรทอง’ ปี 58 สูงสุดในรอบ 13 ปี


เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ที่ประชุมได้รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2558 ซึ่งมีการสำรวจเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2546
ปิยะสกล กล่าวว่า ผลการสำรวจปีนี้น่ายินดีที่พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อการได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวมมากกว่าทุกปีที่ทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งปี 2558 ได้ถึง 9.11 คะแนนจากเต็มสิบ เพิ่มจากปี 2557 ที่ได้ 8.86 คะแนน ขณะที่ความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุขทีมีต่อการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพได้ 6.98 คะแนน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 57 ที่ได้ 6.93 คะแนน ผลสำรวจด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ประชาชนร้อยละ 90.4 รับทราบว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิที่ได้รับตามกฎหมาย ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน จากเดิมที่ยังมีการรับรู้ว่าเป็นการสงเคราะห์จากรัฐ และเมื่อสอบถามถึงความพอใจในการไปรับการรักษาพยาบาลครั้งล่าสุด ก็พบว่าพอใจ 4.60 คะแนน จากเต็ม 5 คะแนน โดยเป็นความพอใจทั้งในด้านผลการรักษา การรับฟังของผู้ให้การรักษา คุณภาพต่างๆ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจในส่วนของประชาชน คือ ลดระยะเวลารอรักษา ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ควบคุมค่าใช้จ่ายรักษาไม่ให้สูงเกินไป ขณะที่ข้อเสนอจากบุคลากรสาธารณสุข คือ ให้มีกิจกรรมระหว่างบุคลากรสาธารณสุขกับ สปสช.เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ลดขั้นตอนในการทำงานระหว่างกัน และช่วยสร้างความภูมิใจในวิชาชีพ
“จากผลสำรวจปีนี้ น่ายินดีที่พบว่าประชาชนพึงพอใจต่อสิทธิหลักประกันสุขภาพสูงสุดตั้งแต่ตั้ง สปสช. มา 13 ปี สะท้อนว่าประชาชนเชื่อมั่นประสิทธิภาพและคุณภาพรักษาพยาบาลในระบบ นับเป็นขวัญกำลังใจการทำงาน ของบุคลากรในระบบสาธารณสุข เนื่องจากได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน นโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ให้ความสำคัญกับสิทธิหลักประกันสุขภาพของประชาชน ผลจากการพัฒนาที่พวกเราร่วมมือร่วมใจกันทำมาในรอบ 1 ปี ก็ได้ผลเป็นที่น่ายินดี ประชาชนให้การยอมรับและพึงพอใจ ส่วนความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุขนั้น แม้จะไม่เท่าประชาชน แต่ก็ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งได้มอบให้ สปสช.นำข้อคิดเห็นและผลสำรวจที่ได้ไปปรับปรุงให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจให้มากที่สุด” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การสำรวจปี 2558 นี้ โดยสถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 16,365 คน ครอบคลุม 13 เขต แบ่งเป็น 4 กลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชน 5,524 คน อปท. 402 คน บุคลากรสาธารณสุข 5,228 คน และภาคีเครือข่าย 5,211 คน มีเป้าหมายเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และรับทราบประเด็นที่ประชาชน บุคลากรสาธารณสุข ต้องการให้มีการสนับสนุน รวมทั้งการเสนอปัญหาอุปสรรคที่มีความสำคัญและต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

สำรวจ อดีต สปช. ในสภาขับเคลื่อนฯ ใครโหวตอะไรตอนล้มร่าง รธน.

เปิดรายชื่อ อดีต สปช. ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 62 ที่นั่ง พบคนไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตำแหน่ง 42 คน ส่วนคนเห็นชอบ ได้ตำแหน่ง 19 คน งดออกเสียง ได้ตำแหน่ง 1 คน

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2558 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยอาศัยอ้างอำนาจตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ )พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 วรรคสอง บัญญัติให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสอง ร้อยคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (อ่านข่าวที่นี่)
ประชาไทสำรวจรายชื่อสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เฉพาะกลุ่มที่มีที่มาจากการเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 62 คน ทั้งนี้ในจำนวน 62 คน มีผู้ที่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด 20 คน ขณะที่ผู้ที่ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด 42 คน และผู้งดออกเสียง 1 คน โดยมีรายชื่อดังนี้

1. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด
ไม่เห็นชอบ
2. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
เห็นชอบ
3. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา
ไม่เห็นชอบ
4. นายเข็มชัย ชุติวงศ์
เห็นชอบ
5. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร
ไม่เห็นชอบ
6. นายคำนูณ สิทธิสมาน
เห็นชอบ
7. นายคุรุจิต นาครทรรพ
ไม่เห็นชอบ
8. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์
ไม่เห็นชอบ
9. นายจุมพล สุขมั่น
เห็นชอบ
10. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
ไม่เห็นชอบ
11. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
ไม่เห็นชอบ
12. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ
ไม่เห็นชอบ
13. นายชัย ชิดชอบ
ไม่เห็นชอบ
14. นายชาลี เอียดสกุล
ไม่เห็นชอบ
15. นายชูชัย ศุภวงศ์
เห็นชอบ
16. นายชูชาติ อินสว่าง
เห็นชอบ
17. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย
ไม่เห็นชอบ
18. พลเอก ฐิติวัจน์ กำลังเอก
ไม่เห็นชอบ
19. นายดำรงค์ พิเดช
ไม่เห็นชอบ
20. นายดุสิต เครืองาม
เห็นชอบ
21. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
22. นางถวิลวดี บุรีกุล
เห็นชอบ
23. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์
ไม่เห็นชอบ
24. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
ไม่เห็นชอบ
25. พลเอก นคร สุขประเสริฐ
เห็นชอบ
26. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์
ไม่เห็นชอบ
27. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
เห็นชอบ
28. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
เห็นชอบ
29. นายประมนต์ สุธีวงศ์
เห็นชอบ
30. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
ไม่เห็นชอบ
31. นายปรีชา บุตรศรี
ไม่เห็นชอบ
32. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
33. พลเอก พอพล มณีรินทร์
ไม่เห็นชอบ
34. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
เห็นชอบ
35. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
ไม่เห็นชอบ
36. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร
ไม่เห็นชอบ
37. นายมนู เลียวไพโรจน์
ไม่เห็นชอบ
38. พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
ไม่เห็นชอบ
39. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ไม่เห็นชอบ
40. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
เห็นชอบ
41. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย
ไม่เห็นชอบ
42. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
ไม่เห็นชอบ
43. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
ไม่เห็นชอบ
44. นายวันชัย สอนศิริ
ไม่เห็นชอบ
45. นายวัลลภ พริ้งพงษ์
ไม่เห็นชอบ
46. พลเอก วิชิต ยาทิพย์
ไม่เห็นชอบ
47. นายวินัย ดะห์ลัน
เห็นชอบ
48. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
ไม่เห็นชอบ
49. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
ไม่เห็นชอบ
50. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม
ไม่เห็นชอบ
51. นายศานิตย์ นาคสุขศรี
เห็นชอบ
52. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ไม่เห็นชอบ
53. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
เห็นชอบ
54. นายสมเดช นิลพันธุ์
ไม่เห็นชอบ
55. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
เห็นชอบ
56. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง
ไม่เห็นชอบ
57. นายเสรี สุวรรณภานนท์
ไม่เห็นชอบ
58. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
ไม่เห็นชอบ
59. นายอลงกรณ์ พลบุตร
เห็นชอบ
60. พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์
ไม่เห็นชอบ
61. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
ไม่เห็นชอบ
62. นายอำพล จินดาวัฒนะ
งดออกเสียง