วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

ข้าหลวงใหญ่สิทธิ UN เรียกร้อง รบ.ไทยใช้ 'อำนาจพิเศษ' อย่างยับยั้งชั่งใจ




Thu, 2015-04-02 17:52


ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหวั่นรัฐบาลไทยประกาศใช้อำนาจที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ชี้เป็นการเปิดประตูสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในระดับที่ร้ายแรง

2 เม.ย. 2558 กรุงเจนีวา - นายซาอิด ราด อัล-ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความหวาดวิตกที่รัฐบาลทหารไทยประกาศใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ซึ่งให้อำนาจอย่างอิสระต่อหัวหน้ารัฐบาลทหาร มาตราดังกล่าวให้อำนาจอย่างกว้างขวางในการบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ทหารต่อพลเรือน และมีแนวโน้มที่จะล้มล้างสิทธิมนุษยชนที่ประกันไว้ในกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รัฐบาลทหารที่นำโดย นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับอนุญาตในการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก และแทนที่โดยอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)

ข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าวว่า “โดยปกติแล้วผมจะแสดงความยินดีอย่างยิ่งเมื่อมีการยกเลิกใช้กฎอัยการศึก และที่ผ่านมาได้ผลักดันอย่างเข้มแข็งให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกในประเทศไทย"

“แต่ผมรู้สึกตื่นตระหนกกับการตัดสินใจที่จะแทนที่กฎอัยการศึกด้วยอำนาจที่มีความรุนแรงยิ่งกว่า ซึ่งให้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบใดๆ จากฝ่ายตุลาการ นี่เป็นการเปิดประตูไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในระดับที่ร้ายแรง ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลรับประกันว่าอำนาจพิเศษนี้แม้ว่าจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ตามจะไม่นำไปใช้อย่างไม่มีความยับยั้ง”

ภายใต้คำสั่งที่ออกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการดำเนินการตามมาตรา 44 เจ้าหน้าที่ทหารที่มียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรีขึ้นไปถูกกำหนดให้เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายอย่างกว้างขวาง รวมถึง การตรวจค้น จับกุม ควบคุมตัว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการ นอกเหนือจากนั้น เจ้าพนักงานดังกล่าวยังมีอำนาจ “กระทำการอื่นใด” ตามที่คสช.มอบหมาย

มาตรา 44 ให้อำนาจแก่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ในการออกคำสั่งซึ่งมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ โดยคำสั่งดังกล่าวและการกระทำการใดๆ ตามคำสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด การละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในประเทศก็จะถูกถือว่าเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่มีช่องทางที่จะตรวจสอบได้เลย เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยได้รับการคุ้มครองที่จะไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย จากการปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ตามคำสั่งดังกล่าว

นายซาอิด กล่าวเพิ่มเติมว่า “คำสั่งของ คสช. ที่ประกาศเมื่อวันพุธยังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยในการออกคําสั่งห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทําให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิดจนกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน เสรีภาพในการชุมนุมยังถูกจำกัดอย่างเข้มงวดต่อไป โดยมีการกำหนดบทลงโทษหนักต่อผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป”

นายซาอิด กล่าวว่า “ผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าวหมายถึงการขจัดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาลในทุกรูปแบบ และทำให้การประกาศยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย”

นายซาอิด กล่าวว่า “ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและนำประเทศกลับสู่การปกครองของพลเรือนตามหลักนิติธรรมโดยเร็ว ตามที่รัฐบาลได้ให้คำมั่นไว้หลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา”

อียูชี้ใช้ 'คำสั่ง 3/2558' แทนอัยการศึก ไม่ทำให้ไทยเป็นประชาธิปไตยขึ้น




Thu, 2015-04-02 23:19


2 เม.ย. 2558 แถลงการณ์โดยโฆษกของนางเฟเดริกา โมเกรินี ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เกี่ยวกับความคืบหน้าในประเทศไทย ระบุว่า สหภาพยุโรปได้เรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้ประเทศไทยมีการยกเลิกกฎอัยการศึกและกลับเข้าสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย การนำคำสั่งเลขที่ 3/2558 มาใช้แทนที่กฎอัยการศึก ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยคืบหน้าเข้าสู่การมีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยที่สามารถตรวจสอบได้

"ศาลทหารนั้นไม่ควรถูกนำมาใช้ในการพิจารณาคดีกับพลเรือน ในฐานะมิตรและหุ้นส่วนของประเทศไทย สหภาพยุโรปขอย้ำว่าหลักนิติธรรมและการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ควรเป็นฐานในกระบวนการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย" แถลงการณ์ระบุ

แอมเนสตี้ชี้คำสั่ง 'แทนที่' อัยการศึกเป็นการต่อใบอนุญาตละเมิดสิทธิมนุษยชน



Fri, 2015-04-03 17:37
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้ว่า การประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในประเทศไทย และการประกาศใช้มาตรการใหม่แทนที่ เป็นการกระทำที่ไม่มีความจริงใจ เพื่อรักษาอำนาจของกองทัพ

3 เม.ย. 2558 ริชาร์ด เบนเน็ตต์ (Richard Bennett) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดว่าการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นเรื่องน่ายินดี แต่กลับเป็นการกระทำเพื่อมอบอำนาจให้ตนเองและเจ้าหน้าที่ทหารของเขาอย่างกว้างขวาง เพื่อละเมิดสิทธิที่จะมีอิสรภาพ และเสรีภาพในการแสดงความเห็น การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบอย่างต่อเนื่อง

“ประชาคมนานาชาติต้องไม่ถูกหลอกโดยการกระทำที่ขาดความจริงใจ เพื่อรักษาอำนาจของกองทัพ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความพยายามที่จะคลุมม่านเพื่อปิดบังความตั้งใจที่จะใช้กำลังทหารเพื่อปราบปรามผู้มีความเห็นต่างจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งใหม่นี้ และให้ฟื้นฟูหลักนิติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบั่นทอนลงอย่างมากหลังการทำรัฐประหารในปี 2557

ในคำสั่งใหม่ดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้อำนาจตนเองในการแต่งตั้งข้าราชการทหารเป็น “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” ซึ่งจะมีอำนาจในทางปฏิบัติทั้งหมดเช่นเดียวกับที่เจ้าหน้าที่กองทัพได้รับตามกฎอัยการศึก อำนาจตามคำสั่งใหม่นี้รวมถึง

- การเอาผิดทางอาญาอย่างหนักกับกรณี “การรวมตัวทางการเมือง” แม้จะเป็นการรวมตัวโดยสงบของบุคคลห้าคนหรือมากกว่าขึ้นไป

- ให้อำนาจควบคุมตัวบุคคลโดยไม่ต้องมีหมายจับ ไม่ต้องตั้งข้อหา และไม่ได้รับการไต่สวนจากศาล โดยให้คุมตัวไปไว้ในสถานที่ที่ไม่เป็นทางการได้นานถึงเจ็ดวัน จากนั้นยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวได้

- อำนาจในการค้นอาคารบ้านเรือนโดยไม่ต้องมีหมายค้น

- อำนาจในการห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้อความจากทวิตเตอร์จนถึงหนังสือ ในกรณีที่ถูกพิจารณาว่าอาจ “ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว” หรือเกิด “ความเข้าใจผิดจนกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ”

- คงการไต่สวนพลเรือนในศาลทหารต่อไปสำหรับกรณี “ความผิดเรื่องความมั่นคง” รวมทั้งคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างสันติ

ข้าหลวงใหญ่สิทธิ UN เรียกร้อง รบ.ไทยใช้ 'อำนาจพิเศษ' อย่างยับยั้งชั่งใจ


Thu, 2015-04-02 17:52


ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหวั่นรัฐบาลไทยประกาศใช้อำนาจที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ชี้เป็นการเปิดประตูสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในระดับที่ร้ายแรง

2 เม.ย. 2558 กรุงเจนีวา - นายซาอิด ราด อัล-ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความหวาดวิตกที่รัฐบาลทหารไทยประกาศใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ซึ่งให้อำนาจอย่างอิสระต่อหัวหน้ารัฐบาลทหาร มาตราดังกล่าวให้อำนาจอย่างกว้างขวางในการบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ทหารต่อพลเรือน และมีแนวโน้มที่จะล้มล้างสิทธิมนุษยชนที่ประกันไว้ในกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รัฐบาลทหารที่นำโดย นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับอนุญาตในการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก และแทนที่โดยอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)

ข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าวว่า “โดยปกติแล้วผมจะแสดงความยินดีอย่างยิ่งเมื่อมีการยกเลิกใช้กฎอัยการศึก และที่ผ่านมาได้ผลักดันอย่างเข้มแข็งให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกในประเทศไทย"

“แต่ผมรู้สึกตื่นตระหนกกับการตัดสินใจที่จะแทนที่กฎอัยการศึกด้วยอำนาจที่มีความรุนแรงยิ่งกว่า ซึ่งให้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบใดๆ จากฝ่ายตุลาการ นี่เป็นการเปิดประตูไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในระดับที่ร้ายแรง ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลรับประกันว่าอำนาจพิเศษนี้แม้ว่าจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ตามจะไม่นำไปใช้อย่างไม่มีความยับยั้ง”

ภายใต้คำสั่งที่ออกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการดำเนินการตามมาตรา 44 เจ้าหน้าที่ทหารที่มียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรีขึ้นไปถูกกำหนดให้เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายอย่างกว้างขวาง รวมถึง การตรวจค้น จับกุม ควบคุมตัว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการ นอกเหนือจากนั้น เจ้าพนักงานดังกล่าวยังมีอำนาจ “กระทำการอื่นใด” ตามที่คสช.มอบหมาย

มาตรา 44 ให้อำนาจแก่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ในการออกคำสั่งซึ่งมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ โดยคำสั่งดังกล่าวและการกระทำการใดๆ ตามคำสั่งนี้ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด การละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในประเทศก็จะถูกถือว่าเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่มีช่องทางที่จะตรวจสอบได้เลย เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยได้รับการคุ้มครองที่จะไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย จากการปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ตามคำสั่งดังกล่าว

นายซาอิด กล่าวเพิ่มเติมว่า “คำสั่งของ คสช. ที่ประกาศเมื่อวันพุธยังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยในการออกคําสั่งห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทําให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิดจนกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน เสรีภาพในการชุมนุมยังถูกจำกัดอย่างเข้มงวดต่อไป โดยมีการกำหนดบทลงโทษหนักต่อผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป”

นายซาอิด กล่าวว่า “ผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าวหมายถึงการขจัดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาลในทุกรูปแบบ และทำให้การประกาศยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย”

นายซาอิด กล่าวว่า “ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและนำประเทศกลับสู่การปกครองของพลเรือนตามหลักนิติธรรมโดยเร็ว ตามที่รัฐบาลได้ให้คำมั่นไว้หลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา”

4 องค์กรวิชาชีพสื่อแถลงการณ์กรณีคำสั่ง 3/2558 แนะออกนโยบายให้ชัด ห่วงกระทบสิทธิพื้นฐาน


4 องค์กรวิชาชีพสื่อฯ ออกแถลงการณ์ร่วมต่อคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 3/2558


วันนี้ (2 เม.ย.2558) 4 องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน ออกแถลงการณ์ร่วมโดยแสดงความกังวลต่อคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 ชี้กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนมากกว่าการใช้กฎอัยการศึก พร้อมขอให้หัวหน้า คสช.ให้นโยบายที่ชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน หวั่นใช้อำนาจเกินขอบเขตทำประชาชนหวาดกลัวขัดเจตนารมณ์ของคำสั่ง

แถลงการณ์ร่วม 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่อคำสั่งที่ 3/2558 ของหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ

ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งที่ 3/2558 โดยในข้อ 5 ของคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า ให้อำนาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด และได้กำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น คำสั่งนี้มีเนื้อหาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้นกว่ากฎอัยการศึก

ในส่วนของประชาชนทั่วไปนั้นถ้าการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียใดถูกตีความว่า เป็นการกระทำตามข้อ 5 เป็นข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารฯลฯ ต้องได้รับโทษดังกล่าว ส่วนสื่อมวลชนก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน

4 องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเห็นร่วมกันว่าการออกคำสั่งในข้อดังกล่าว เป็นการให้ดุลพินิจกับเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างกว้างขวาง หากไม่มีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจว่าข้อความใดทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด จนกระทบต่อความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น อาจนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคำสั่ง

4 องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน มีความเห็นร่วมกันว่า หัวหน้า คสช. ควรให้นโยบายที่ชัดเจนต่อเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย หรือกำหนดมาตรการหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยตามอำนาจในวรรคสองของข้อ 5 ที่ชัดเจน เพื่อประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนทุกแขนงซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งดังกล่าว จะได้มีความสบายใจขึ้นว่าการใช้อำนาจตามบทบัญญัติ มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ดังที่หัวหน้า คสช.ให้สัญญาประชาคมไว้ เพราะคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน ขอแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจดังกล่าวว่าควรเป็นไปอย่างรอบคอบและระมัดระวังอย่างถึงที่สุด เพราะกรณีนี้น่าจะกระทบต่อการประเมินสถานะของประเทศในด้านสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนของประชาคมโลก และจะเป็นปัญหาที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงในวันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลกวันที่ 3 พ.ค.2558