วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปรองดอง สมานฉันท์ แบบนครนายก





Rhabhin Thinsarepab ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 รูป


             ภาพกิจกรรมปรองดองสมานฉันท์ที่หอประชุมอำเภอเมืองนครนายก เช้าประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน บ่ายปรองดองสมานฉันท์ ที่อื่นเค้าทำแบบนี้กันบ้างไม๊ คาดว่ามีที่เดียว นครนายก ONLY !!
สติปัญญาของข้าราชการคนที่ คสช.กำลังจะขึ้นเงินเดือนให้ !! พี่น้องประชาชนคน

  •         เล่น FB จงแหกพระเนตรท่านดูซิครับ มันคิดได้แค่นี้...ประชาชนหาเช้ากินค่ำ จะตายห่าอยู่แล้ว มันไม่คิด ปฏิรูปพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย...มันทำ..ข้าราชการประชา นิยม โดยใช้เงินมหาศาล ( เงินที่ได้มาจากการปล้นประชาชน ) และเงินนั้นมันจะเป็นรายจ่ายประจำ..ทุกเดือนต้องจ่าย..แล้วหารายได้จากไหน ?แม่ง เดี๋ยวมันก็ไปรีดเอาจากกระเป๋าคนทั่วไปให้จ่าย vat 10% เดี๋ยวมันก็จะไปบีบเอากับ อะไรดี...? ก็พวกภาษีจากการซื้อสินค้าของประชาชนนะสิ..!!! ภาษีที่ดินของคนรวย

         มันก็เก็บแบบขี้แมว ภาษีเบียร์เหล้า ยาบุหรี่ก็โครตถูกเก็บได้เงินไม่พอคอรัปชั่นไม่พอ แดก....ถึงตอนนี้จะมีการหยุดขึ้นเงินไปช่วงบางขณะเพราะอ้างว่าไม่มีเงิน แต่เดวไอ้สิ่งไหนที่เคยยาหอมไว้เดวมันก็เป็นจริง...ยกเว้นเรื่องความยุติธรรมของประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ...เอาน้ำมัน และทรัพยากรสำหรับลูกหลานกรูคืนมา !

ศาลทหารเชียงรายเลื่อนสอบคำให้การคดี 112 ‘ชาวนา’ ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์

1404876784203
10 พ.ย.2557 ศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย นัดสอบคำให้การคดีหมายเลขดำที่ 8ก./2557 ระหว่างอัยการศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย กับ นายสมัคร (ขอสงวนนามสกุล) ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดฐานพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะหรือหมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันควร (ดูรายงานข่าวก่อนหน้านี้) แต่เนื่องจากทนายจำเลยได้ยื่นขอเอกสารประวัติการรักษาอาการป่วยทางจิตของจำเลยเพื่อจะนำมาประกอบให้ศาลพิจารณา และศาลเห็นว่ายังไม่ได้ระบุเอกสารที่ต้องการให้ชัดเจน ศาลจึงให้เลื่อนการสอบคำให้การไปเป็นวันที่ 11 ธ.ค.57
ก่อนหน้านี้ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารประวัติการรักษาทางการแพทย์ และเวชระเบียนของจำเลยจากโรงพยาบาลที่จำเลยเคยรักษาอาการป่วยทางจิตมาก่อน ได้แก่ โรงพยาบาลเทิง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และสถานพยาบาลเรือนจำกลางเชียงราย แต่ศาลเห็นว่าในคำร้องยังไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการเอกสารอะไรบ้างเพิ่มเติม จึงขอให้ทนายยื่นคำร้องใหม่ต่อศาลภายใน 7 วัน รวมทั้งให้แสดงเอกสารหลักฐานประกอบด้วยว่าจำเลยเคยรักษาอาการป่วยในโรงพยาบาลดังกล่าวจริง พร้อมนัดสอบคำให้การใหม่เป็นวันที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 8.30 น.
ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้แจ้งด้วยว่าการเข้าไปยังศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ภายในค่ายเม็งรายมหาราชในวันนี้ เจ้าหน้าที่ทหารมีการตรวจตราอย่างเข้มงวด โดยไม่ให้คนภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าไปยังศาล และยังมีการให้เซ็นเอกสารแต่งตั้งทนายความในคดีนี้ใหม่อีกครั้งด้วย อีกทั้งเนื่องจากวันนี้เป็นการนัดศาลในช่วงบ่าย จำเลยจึงถูกนำตัวมาศาลหลังเที่ยงไปแล้วโดยไม่ได้รับประทานอาหารกลางวัน แต่ก็มีผู้มาติดต่อราชการที่ศาลทหารได้ช่วยแบ่งปันอาหารให้
สำหรับนายสมัคร อายุ 48 ปี ประกอบอาชีพทำนา อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านป่าสัก อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เขาถูกจับกุมเมื่อกลางดึกวันที่ 8 ก.ค.57 โดยตำรวจสายตรวจพร้อมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมกันเข้าจับกุม หลังได้รับแจ้งว่ามีเหตุคนทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ที่ได้จัดสร้างไว้บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้าน ก่อนถูกนำตัวส่งไปยังสถานีตำรวจภูธรเทิง และเนื่องจากกรณีนี้เกิดขึ้นภายหลังประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 25 พ.ค.57 ที่ระบุให้อำนาจศาลทหารในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญาตั้งแต่มาตรา 107-112 นายสมัครจึงถูกนำตัวมาดำเนินคดีในศาลทหาร นอกจากนั้น นายสมัครมีฐานะยากจน จึงไม่มีเงินสำหรับการยื่นประกันตัว จึงถูกคุมขังในเรือนจำมาจนถึงปัจจุบัน

ศาลทหารเชียงใหม่ไม่ให้ประกัน “แม่ครัว” ทำอาหารเลี้ยงเสื้อแดง-ข้อหาครอบครองอาวุธ


ศาลทหารเชียงใหม่เลื่อนสอบคำให้การคดีแม่ครัวลำพูน ช่วยทำอาหารเลี้ยงเสื้อแดงกลับจากชุมนุมอักษะ ผิดฐานครอบครองอาวุธผิดกฎหมาย หลังทนายยื่นขอให้วินิจฉัยเขตอำนาจศาลใหม่ เจ้าตัวครวญถูกควบคุมตัวโดยไม่รู้เห็น ต้องรักษาอาการป่วยในคุกโดยไม่ได้ประกัน
เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่ ได้นัดสอบคำให้การในคดีหมายเลขดำที่ 27ก./2557 ซึ่งพนักงานอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 33 ได้ฟ้องนางเสาวณี อินต๊ะหล่อ ในข้อหาความผิดตามพ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 โดยก่อนการพิจารณา ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเขตอำนาจศาลทหารในการพิจารณาคดีนี้ ศาลจึงได้สั่งให้เลื่อนการสอบคำให้การจำเลยออกไปก่อน เพื่อรอฟังคำสั่งเรื่องเขตอำนาจศาลอีกครั้งหนึ่ง โดยศาลยังมิได้นัดหมายวันฟังคำสั่งแต่อย่างใด
สำหรับเหตุในคดีนี้ เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 26 พ.ค.57 เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้เข้าตรวจค้นภายในสวนลำไยแห่งหนึ่ง บริเวณตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยอ้างว่าบริเวณสวนลำไยดังกล่าว มีการฝึกการใช้อาวุธของกลุ่มการ์ดผู้ชุมนุมทางการเมือง และได้พบชายฉกรรจ์ 5 คน ซึ่งเมื่อเห็นเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไป ทั้งหมดต่างพากันวิ่งหลบหนี
ก่อนที่เจ้าหน้าที่ทหารจะสามารถควบคุมตัวนายไพรัช สิงห์คำ อายุ 38 ปี และนางเสาวณี อินต๊ะหล่อ อายุ 50 ปี รวมทั้งมีการตรวจค้น พบอาวุธปืนยาวแบบไทยประดิษฐ์ 3 กระบอก อาวุธปืนสั้นดัดแปลง ขนาด .22 เครื่องกระสุนจำนวนหนึ่ง เสื้อเกราะกันกระสุน 8 ตัว วิทยุสื่อสาร และสัญลักษณ์เสื้อหรือป้ายเกี่ยวกับคนเสื้อแดงอีกจำนวนหนึ่ง (ดูรายงานข่าวก่อนหน้านี้)
นางเสาวณี อินต๊ะหล่อ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าตนมิใช่คนเฝ้าสวนลำไย มิใช่ภรรยาของนายสมพงษ์ พันธะจักร ที่วิ่งหลบหนีไปหลังการเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตามที่เป็นข่าวในช่วงหลังรัฐประหารแต่อย่างใด และยังไม่เคยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองใดๆ มาก่อน เป็นแต่เพียงคนทำอาหารในร้านอาหารในจังหวัดลำพูน และในช่วงหลังการรัฐประหาร ได้รับการว่าจ้างจากเจ้าของสวนให้มาทำกับข้าวเลี้ยงกลุ่มคนเสื้อแดงที่เดินทางกลับจากการชุมนุมที่ถนนอักษะ
จนในวันที่ 26 พ.ค.57 ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจบุกเข้าตรวจค้นสวนลำไย และกลุ่มชายเสื้อแดงจำนวนหนึ่งได้วิ่งหลบหนีไป แต่ตนมีอาการป่วยอยู่ คิดว่าตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และมิได้กระทำความผิดอันใด จึงมิได้หลบหนีไปด้วย ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไว้
ต่อมา จึงได้ถูกนำตัวไปควบคุมยังค่ายทหารที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 1 คืน โดยเจ้าหน้าที่มิได้มีการข่มขู่คุกคาม แต่มีการสอบสวนถึงความสัมพันธ์กับกลุ่มการ์ดเสื้อแดง ก่อนปล่อยตัวออกมา และในวันต่อมา (28 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจภูธรเหมืองจี้จะเรียกเธอไปสอบปากคำ ก่อนมีการแจ้งข้อกล่าวหาการครอบครองอาวุธโดยผิดกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่มิได้มีการควบคุมตัวเธอไว้ และไม้ได้มีการดำเนินคดีกับนายไพรัช ที่ถูกทหารควบคุมตัวมาด้วยแต่อย่างใด
จากนั้น พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการจังหวัดลำพูน ก่อนที่อัยการพลเรือนจะมีความเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามประกาศคสช.ฉบับที่ 50/2557 จึงมีการส่งคดีมาที่อัยการศาลทหาร จนเมื่อวันที่ 15 ก.ย. เสาวณีได้ไปรายงานตัวต่อศาล และถูกควบคุมตัวไว้ ต้องอยู่ภายในเรือนจำมานับแต่นั้น
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทนายจำเลยได้ยื่นขอประกันตัวจำเลยมาแล้ว 3 ครั้ง โดยศาลวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่ได้รับการประกันตัว และเมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ภายหลังการยื่นคำร้องขอวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล ทนายจำเลยได้ยื่นขอประกันตัวจำเลยเป็นครั้งที่ 3 ด้วยหลักทรัพย์จำนวน 200,000 บาท พร้อมกับยื่นใบรับรองแพทย์ และเอกสารการรักษาอาการป่วยต่างๆ ของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล แต่ศาลทหารยังคงไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง
เสาวณีกล่าวเพิ่มเติมว่าเธอถูกควบคุมตัวโดยตนเองมิได้ชี้แจงถึงข้อเท็จจริง เธอมิได้รู้เห็นถึงอาวุธของกลางใดๆ ตามที่ถูกกล่าวหา อีกทั้งยังมีโรคประจำตัวหลายโรค ทั้งโรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน และโรคเลือด ทำให้การรักษาดูแลอาการเหล่านี้ภายในเรือนจำเป็นไปอย่างยากลำบาก และยังมีภาระต้องเลี้ยงดูลูกคนเล็ก ซึ่งมีอายุเพียง 10 ปี
สำหรับคำฟ้องในคดีนี้ ได้ระบุว่าจำเลยได้ร่วมกันมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย, ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต, ร่วมกันมีซึ่งยุทธภัณฑ์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และร่วมกันมีใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ทั้งนี้ ประกาศคสช.ฉบับที่ 50/2557 ลงวันที่ 30 พ.ค.57 ได้ระบุให้การกระทําความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ไม่ว่าจะมีข้อหาว่ากระทำผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ที่กระทําตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.57 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป ให้เป็นคดีอยู่ในอํานาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา