วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทหารเรียก 17 นักกิจกรรมรายงานตัว-คุมโพสต์เฟซบุ๊กร่วมปฏิรูป

นักกิจกรรมภาคประชาสังคมอีสาน ไปรายงานตัวตามที่ทหารเรียกอย่างน้อยเจ็ดราย ทหารถามซักถึงเหตุผลที่ลงชื่อในแถลงการณ์ "ไม่ปฏิรูปใต้ท็อปบูท คสช." พร้อมบังคับให้โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงเรื่องที่ถูกเรียกตัว 
7 พ.ย. 2557 - เวลา 10.00 น. ศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม  นายวิทูวัจน์ ทองบุ 1 ใน 17 ผู้ลงชื่อในแถลงการณ์ไม่ร่วมการปฏิรูป กับรัฐบาลเผด็จการ ของ เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนอีสาน ได้เดินทางไปเข้ารายงานตัวกับกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดมหาสารคาม ที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม โดยมีเพื่อนและญาติเข้าร่วมรับฟังจำนวนห้าคน
หลังจบสิ้นกระบวนการการเข้ารายงานตัวเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. นายวิทูวัจน์ได้เปิดเผยว่าได้มีจดหมายเรียกตัวและมีเจ้าหน้าที่ได้โทรศัพท์ไปหาพ่อของเขาที่อยู่จังหวัดมหาสารคามโดยแจ้งให้เขาเข้ารายงานตัว ส่วนตัวเขากำลังอยู่ที่จังหวัดเลยเมื่อได้รับโทรศัพท์และได้รับการขอร้องจากครอบครัว จึงตัดสินใจเข้ารายงานตัว
โดยรายละเอียดในการรายงานตัวนั้นได้พบและพูดคุยกับ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ สันติบาล และ จนท.ฝ่ายปกครอง ซึ่งถามถึงการมีส่วนร่วมในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว และได้ขอให้เขายุติการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐบาลและ คสช.หากมิเช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย และขอความร่วมมือหากทาง กกล.รส.จ.มหาสารคามเชิญให้เข้าร่วมในการแก้ปัญหาต่างๆในมหาสารคาม
หลังจากการเจรจายุติ นายวิทูวัจน์ ได้ถูกขอให้โพสต์เฟซบุ๊ก ข้อตกลงตามเอกสารที่เจ้าหน้าที่บันทึกมาให้
สำหรับผู้ร่วมลงชื่อรายอื่น  นายบารมี ชัยรัตน์ ได้อัพเดตสถานะ เรื่องการรายงานตัวตามข้อความด้านล่าง
@นายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ ถูกเรียกตัวไปพบที่ มทบ.24 จ.อุดร เมื่อเวลา 08.30 น. และปล่อยตัวมาเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. โดยมี อ.สันติภาพ และชาวบ้านร่วมฟังด้วย ทางทหารแจ้งว่าไม่พอใจข้อความแสดงจุดยืนในแถลงการณ์ 2 ข้อคือ
  • 1. ไม่ยอมรับอำนาจรัฐประหารจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • 2. ไม่ยอมรับกลไกและเครื่องมือที่เกิดจากรัฐประหาร เช่น คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ และปฏิเสธการเข้าร่วมเวทีหรือกระบวนการใด ๆ ที่กำลังจัดทำข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ และให้เขียนความเห็นว่าทำไมถึงออกแถลงการณ์และให้ยืนยันว่าไม่ได้ต้านรัฐประหาร
@นายศิริศักดิ์ สะดวก ถูกโทรตามให้ไปรายงานตัวที่ จ.ร้อยเอ็ด แต่ไม่สะดวกจึงขอเลื่อนไปรายงานตัวที่ค่ายศรีพัชรินทร์ฯ จ.ขอนแก่น เวลาประมาณ 08.30 และปล่อยตัวเวลาประมาณ 11.00 น. โดยถูกสอบถามเรื่องแถลงการณ์ว่าได้ลงชื่อหรือไม่ ทำไมต้องลง และต้องเซ็นยินยอมว่าจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมืองอีก
@นายเดชา คำเบ้าเมือง ประมาณ 13.00 น.วันที่ 4 พ.ย. ทหารโทรไปตามว่าจะเชิญไปคุยเรื่องโปแตส แต่ไม่ว่างเพราะอยู่โรงพยาบาล หลังจากนั้นทหารก็โทรตามอีก จึงไปพบประมาณ 18.00 น. โดย ผบ มทบ.24 เป็นผู้สอบสวนเอง และให้เขียนความเห็น แล้วปล่อยตัวมาประมาณ 19.00 น.
@นายยงยุทธ ดงประถา ทหารไปรับตัวที่บ้าน อ.กุมภวาปี จ.อุดร เอาตัวไป มทบ.24 เมื่อวันที่ 4 พ.ย. เวลาประมาณ 16.00 น. โดยสอบถามเรื่องแถลงการณ์และให้เขียนความเห็นว่าทำไมถึงออกแลงการณ์ และสอบถามว่าไปพูดคุยกันที่ไหน มีใครร่วมออกแถลงการณ์บ้าง โดยให้บอกชื่อคนที่รู้จัก ก็บอกไป 6 คนคือ สุวิทย์ จักรพงษ์ เลิศศักดิ์ ปัญญา ศิริศักดิ์และศักดา
@นายณัฐพล ราชมี ทหารโทรตามเมื่อวันที่ 4 และไปรายงานตัวที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 5 เวลาประมาณ 09.00 น. และปล่อยตัวมาประมาณ 12.00 น. แต่ไม่เปิดเผยรายละเอียด
@นายปัญญา คำลาภ ทหารไปตามตัวที่บ้านที่อุดร แต่ไม่พบตัวทราบว่าไปทำงานอยู่ศรีสะเกษ ทหารจึงประสานงานไปและนัดหมายว่าวันที่ 6 พ.ย.เวลา 09.00 น.จะเข้าไปพบที่สถานที่ทำงาน

 
ระหว่างการเจรจา จนท. ทหาร นายหนึ่งได้ถามนายวิทูวัจน์ว่า แถลงการณดังกล่าวได้ถูกส่งมาจากเว็บไซต์ประชาไทหรือไม่. นายวิทูวัจน์ตอบว่าไม่ได้มาจากประชาไท แต่มาจากอีเมล์ที่ถูกส่งต่อกันมาระหว่างการเจรจา จนท. ทหาร นายหนึ่งได้ถามนายวิทูวัจน์ว่า แถลงการณดังกล่าวได้ถูกส่งมาจากเว็บไซต์ประชาไทหรือไม่. นายวิทูวัจน์ตอบว่าไม่ได้มาจากประชาไท แต่มาจากอีเมล์ที่ถูกส่งต่อกันมา

ข้อเสนอ "อภิรัฐมนตรี" ไม่ใช่ข้อเสนอจากสถาบันพระปกเกล้า


กรณีที่มีข้อเสนอตั้ง "อภิรัฐมนตรี" อยู่เหนือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ เป็น "รัฏฐาภิบาล" ชี้ขาดเมื่อ 3 อำนาจขัดแย้งกันนั้น พบว่าไม่ใช่ข้อเสนอจากสถาบันพระปกเกล้า แต่เป็นข้อเสนอของนักวิชาการ ม.รังสิต 'สุรพล ศรีวิทยา' ที่นำเสนอในกลุ่มย่อยของการประชุมวิชาการประจำปีของสถาบันพระปกเกล้า
8 พ.ย. 2557 - กรณีที่ในวงเสวนาของการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 16 ประจำปี 2557 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 6-8 พ.ย. ที่โรงแรมเซ็นทาราศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ มีนักวิชาการผู้หนึ่งเสนอตั้ง "อภิรัฐมนตรี" เป็นอีกดุลอำนาจ นอกเหนือจากฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการนั้น ตามที่มีการนำเสนอในมติชนออนไลน์นั้น
ล่าสุดผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบว่า ข้อเสนอดังกล่าว เป็นการนำเสนอเมื่อวันที่ 7 พ.ย. ในการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 เรื่อง การสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ โดยมีผู้นำเสนอบทความหลายราย และหนึ่งในผู้นำเสนอบทความคือ สุรพล ศรีวิทยา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำเสนอหัวข้อ "การปฎิรูปโครงสร้างดุลอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบอำนาจ จตุอธิปัตย์"
โดยสุรพลมีข้อเสนอให้มีอภิรัฐมนตรีให้เป็นอีกดุลอำนาจหนึ่ง นอกเหนือจากอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย คือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยเสนอให้ อภิรัฐมนตรีมีอำนาจมากที่สุดในฐานะ "รัฏฐาภิบาล" เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาเมื่อ 3 อำนาจอธิปไตยมีความขัดแย้งกัน อภิรัฐมนตรี จะเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาด
หลังจากนั้น ปณิธาน วัฒนายากร ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการอภิปรายและสรุปการประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าว ต่อมาได้มานำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยในการประชุมวันที่ 8 พ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ไม่ใช่ข้อเสนอจากสถาบันพระปกเกล้าแต่อย่างใด
เคยเสนอ "ประชาภิวัฒน์เพื่อปฏิรูประเทศไทยโดยสันติวิธี"
อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 กรุงเทพธุรกิจ เคยเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกของสุรพล หัวข้อ "ประชาภิวัฒน์เพื่อปฏิรูปประเทศไทยโดยสันติวิธี" เสนอให้พรรคการเมืองทุกพรรคไม่ลงเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 และให้ร่วมมือกับ กปปส. หาผู้สมัครเลือกตั้งคนกลางจากกลุ่มอาชีพ ไม่สังกัดพรรคการเมือง จำนวน 800 คน เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศเลือกเป็นสมาชิก "สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย" จำนวน 400 คน เพื่อทำการปฏิรูปประเทศในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านที่เรียกว่า "การอภิวัฒน์โดยสันติของประชาชน"
โดยให้สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย "เลือกตั้งคัดสรร" สมาชิก "สภาประชามนตรี" จำนวน 99 คน ร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และให้สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยเลือกตั้งคัดสรร "นายกรัฐมนตรีเฉพาะกาล" และ "คณะรัฐมนตรีเฉพาะกาล" เป็นคนกลางอิสระไม่สังกัดพรรคการเมือง ปฏิรูปประเทศไทยให้เสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาที่กำหนด

ชวน หลีกภัยรู้สึกชื่นใจเมื่อเห็น 'กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ' เชื่อจะไม่พา ปชต.ถอยหลัง


ชวน หลีกภัย ระบุเพราะมีคนใช้อำนาจเกินขอบเขตจึงเป็นสาเหตุรัฐประหาร - เชื่อ กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญจะไม่พาประชาธิปไตยถอยหลัง แต่บ้านเมืองมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ดังนั้นอย่าหวังว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้คนที่เข้ามาเป็นคนดีทั้งหมด แต่จะต้องสร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุลในรัฐสภา
7 พ.ย. 2557 - เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นในหัวข้อ "บทเรียนสู่อนาคตเพื่อประชาธิปไตยไทยที่มีคุณภาพ" ในงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าว่า ปัญหาหลายเรื่องไม่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือ รัฐธรรมนูญ แต่มาจากตัวบุคคลที่ใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งเป็นสาเหตุการยึดอำนาจครั้งล่าสุด แต่เมื่อเห็นหน้าตาของบุคคลที่มาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญรู้สึกชื่นใจเพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้จะไม่พาประชาธิปไตยถอยหลัง แต่บ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ดังนั้นอย่าหวังว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้คนเข้ามาเป็นคนดีทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้จึงต้องสร้างกลไกเข้ามาตรวจสอบดุลอำนาจในระบบรัฐสภาเพราะที่ผ่านมานักการเมืองหลายคนไม่ใช่นักการเมืองมืออาชีพ แต่เป็นมืออาชีพทางอื่นที่เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตัวในเชิงธุรกิจ
นายชวน กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ที่เป็นตัวอย่างชัดเจนถึงการใช้อำนาจบริหารที่เกินขอบเขต คือ นโยบายภาคใต้ในปี 2544 และเป็นสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น รวมไปถึงองค์กรตรวจสอบฝ่ายบริหารมีปัญหา วุฒิสภาไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจได้ เพราะไปรับเงินจากรัฐบาล กระทบต่อไปยังการคัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่อย่างล้มเหลวเพราะฝ่ายบริหารเข้าไปแทรกแซง แต่ยังดีที่สถาบันตุลาการของไทยยังมีความเข้มแข็ง

'บวรศักดิ์' ชี้ รธน.ใหม่ไม่เลือกนายก-ครม.โดยตรง ต้องทำประชามติหลังยกร่างเสร็จ

"บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ชี้รัฐธรรมนูญใหม่เนื้อหาต้องไม่มาก แบ่งเป็น 4 ภาค เน้นการตรวจสอบถ่วงดุล ไม่มีนายกรัฐมนตรี-ครม. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเมื่อร่างเสร็จต้องทำประชามติ
 
8 พ.ย. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาปิดการประชุมเชิงวิชาการครั้งที่ 16 “8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย พลวัตแห่งดุลอำนาจ” ว่า ปัญหาความเป็นประชาธิปไตยของประเทศที่ผ่านมา คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ความไม่สมดุลในการจัดสรรอำนาจ รวมถึงความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งการทำให้เกิดประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ โจทย์ใหญ่คือจะต้องทำให้ประชาชนของประเทศมีอิสระทางเศรษฐกิจ พึ่งพาตนเองได้ เพื่อที่จะทำให้เกิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างแท้จริงในทุกเรื่อง และไม่ตกเป็นเครื่องมือประชานิยมของรัฐบาลต่างๆที่ออกมา ในการสร้างระบบอุปถัมภ์ เพื่อให้กลับไปใช้อำนาจทางการเมืองได้อีก
 
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะไม่หยิบยก รัฐธรรมนูญ ปี 2540และ 2550 มาเป็นแบบร่าง เพราะปัญหาแตกต่างกัน จึงถือเป็นครั้งแรกที่ต้องตอบโจทย์เรื่องการสร้างความปรองดอง สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งลดความขัดแย้งด้วย แต่รัฐธรรมนูญจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้โดยตรง แต่จะเป็นการวางโครงสร้าง กลไก กระบวนการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความปรองดอง และป้องกันความขัดแย้งในอนาคต นอกจากนี้ ควรร่วมกันสร้างดุลอำนาจใหม่ ให้เกิดความสมดุล โดยฝ่ายบริหารจะต้องมีอำนาจเข้มแข็งตามสมควร ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องมีอิสระในการตรวจสอบรัฐบาลได้ และเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของ ส.ส.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่มีบทบัญญัติที่ให้พรรคการเมือง สามารถถอด ส.ส. ที่ขัดมติพรรคได้ และจะไม่ให้มีนายกรัฐมนตรีหรือ คณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
 
นายบวรศักดิ์ ยังมองว่าโครงสร้างทางการเมืองที่ดีนั้น ต้องนำทุกภาคส่วนในสังคมมาอยู่ในโครงสร้างทางการเมือง และนอกจากสภาผู้แทนราษฏรแล้ว ควรมีสภาพหุนิยมที่มาจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อมากลั่นกรองกฏหมายแต่ไม่มีอำนาจในการถอดถอนนักการเมือง อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ควรมีเนื้อหาที่ยาวมาก มีเฉพาะหลักการสำคัญ 4 ภาค คือ 1.พระมหากษัตริย์และประชาชน 2.ศาลยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรม ซึ่ง 2 เรื่องแรกแก้ไขยากมาก 3.ผู้นำทางการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง 4.การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และเมื่อร่างรัฐธรรมนูญ เสร็จสิ้นแล้วต้องให้ประชาชนทำประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่ เพื่อเป็นการยืนยันว่า รธน. ฉบับใหม่จะเป็นสัญญาประชาคมอย่างแท้จริง
 
นายบวรศักดิ์ ยังปฏิเสธว่าในระหว่างการสัมมนาที่มีการนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการตั้งอภิรัฐมนตรีเป็นดุลอำนาจที่4 นอกเหนือจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่แนวคิดของสถาบันพระปกเกล้า เป็นเพียงข้อเสนอหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น

ทหารสกัดชาวบ้านชูปฏิรูปที่ดินห้ามเดินเข้ากรุง-จับทันทีที่ก้าวเท้ารณรงค์

สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนืออ่านคำประกาศเจตนารมณ์ "เดิน ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย" ที่วัดสวนดอก ก่อนเริ่มการเดินรณรงค์ (ที่มาของภาพ: เพจพลิกฟื้นผืนดินไทย)
ชาวบ้านหลายเครือข่ายเริ่ม "เดิน ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย" จากเชียงใหม่มุ่งเข้า กทม. ชูปฏิรูปที่ดิน-ล้มแผนแม่บทป่าไม้ที่ขัดขวางคนอยู่กับป่า ทหาร มทบ.33 สกัดตั้งแต่หน้าวัดสวนดอกระบุขัดกฎอัยการศึก พร้อมจับชาวบ้าน 4 คนรวม "ประภาส ปิ่นตบแต่ง" หลังก้าวเท้าจากวัดไม่ถึง 50 เมตร ก่อนยอมปล่อยตัว ล่าสุดขอเจรจาให้ 'ม.ล.ปนัดดา-พล.อ.ดาวพงศ์' มาพูดคุย
9 พ.ย. 2557 - เฟซบุ๊คเพจ "พลิกฟื้นผืนดินไทย" รายงานว่า ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ.33) ได้ห้ามไม่ให้สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และกลุ่มประชาสังคมต่างๆ ทำกิจกรรม "เดิน ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย" โดยระบุว่าขัดต่อกฎอัยการศึก และช่วงบ่ายทหารได้การจับกุมผู้พยายามเดินรณรงค์ ก่อนมีการเจรจาให้ปล่อยตัว
นาทีจับกุม "ประภาส ปิ่นตบแต่ง" และชาวบ้าน 4 คน ที่เดินรณรงค์ "เดิน ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย" จากเชียงใหม่เข้ากรุงเทพมหานคร (ที่มาของภาพ: เพจพลิกฟื้นผืนดินไทย)
สำหรับการรณรงค์ดังกล่าววางแผนที่จะเดินเท้าจาก จ.เชียงใหม่ มุ่งสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อรณรงค์ให้มีการปฏิรูปที่ดิน ให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. 64/2557 และ แผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้การบุกรุกที่ดินของรัฐและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เนื่องจากภายใต้แผนแม่บทดังกล่าวได้ส่งผลกระทบกับเกษตรและผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ทำกิน หรือมีกรณีพิพาทที่ดินกับรัฐ โดยเฉพาะการกวาดจับชาวบ้านซึ่งที่ดินถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ
ทั้งนี้ในช่วงเช้ากลุ่มดังกล่าวได้ไปสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ปากทางขึ้นดอยสุเทพ อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการจัดงาน 70 ปีครูบาศรีวิชัย และมีเจ้าหน้าที่ทหารมาวางกำลัง ผู้เดินรณรงค์จึงมาได้รวมกันอยู่ภายในวัดสวนดอก ถ.สุเทพ แต่เจ้าหน้าที่ทหารสังกัด มทบ.33 ก็ตามมาควบคุมสถานการณ์
และเมื่อมารวมกันที่วัดสวนดอก ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "30 ปี แห่งความล้มเหลวการปฏิรูปที่ดินไทย จากนั้นในช่วงเที่ยงมีการเจรจาระหว่างทหารกับผู้จัดการเดินรณรงค์ โดย พ.อ.จิราวัฒน์ จุฬากุล เสนาธิการ มทบ.33 เจรจาขอให้กลุ่มเดินรณรงค์ดังกล่าวยุติกิจกรรม
ต่อมาเวลา 13.00 น. นายดิเรก กองเงิน นำอาสาสมัครชุดแรกรวม 5 คน เดินเท้าออกจากวัดสวนดอก แต่ทหารสกัดตั้งแต่ประตูวัดสวนดอก ต่อมาอีก 10 นาที ประภาส ปิ่นตบแต่ง และอาสาสมัครรวม 4 คน เดินเท้าออกจากวัดสวนดอกเช่นกัน และถูกทหารจับกุมทันที
ทั้งนี้ในเวลา 13.30 น. มีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม และมีการเจรจาระหว่างทหารกับกลุ่มเดินรณรงค์ภายในวัดสวนดอก และมีข้อเสนอให้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ดาวพงศ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาเจรจาที่เชียงใหม่ เพื่อทบทวนยกเลิกแผนบทป่าไม้ ที่ส่งผลกระทบทำให้คนไม่สามารถอยู่ร่วมกับป่า
ทั้งนี้ในแถลงการณ์ของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือระบุด้วยว่า "กว่า 53 ปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายการบริหารประเทศที่เต็มด้วยการเอื้อประโยชน์ให้แก่นักการเมือง ชนชั้นนำ ผู้มีอำนาจรัฐ ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความไม่เป็นธรรมในจัดสรรทรัพยากรให้ประชาชนทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะนโยบายการจัดการที่ดินที่ผู้มีอำนาจส่วนน้อยสามารถเข้าถึงการถือครองที่ดินอย่างเสรี กีดกันคนยากจนคนส่วนใหญ่ของชาติไม่สามารถเข้าถึงการครองที่ดินได้ กลายเป็นผู้ไม่มีความมั่นคงที่ดิน คนจน ผู้ยากไร้ ไม่มีที่ทำกินเพียงพอ"
"ภายใต้การบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาคุมอำนาจการปกครองนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่เข้ามาควบคุมสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติสุข ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทุกฝ่ายนั้น เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐ รวมทั้ง สกน.ได้ยื่นหนังสือเพื่อให้คณะ คสช. และรัฐบาล ผู้มีอำนาจรัฐในปัจจุบัน เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ แต่การแก้ปัญหาไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ขณะเดียวกัน แผนแม่บทป่าไม้ของ คสช.ได้สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้คนที่อยู่ในเขตป่าในพื้นที่ภาคเหนือจนไม่สามารถดำรงชีพอย่างปกติสุขได้ สกน.ในนามของผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐ เราขอประกาศเดินเท้าทางไกลรณรงค์ “ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย” เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลในปัจจุบัน เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนในพื้นที่ ทบทวนแผนแม่บทป่าไม้ ออกกฎหมายปฎิรูปที่ดินเพื่อคนจน 4 ฉบับโดยเร็ว" ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ สกน. ระบุ
สำหรับกิจกรรม “ก้าว แลก เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย” สกน. ยังมีเป้าหมาย “หยุด 1+4” ได้แก่ หยุดแผนแม่บทป่าไม้ฯ และสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติกฎหมาย 4 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน ร่าง พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน และร่าง พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม

ผบ.ทบ.ขอให้กลุ่มต่างๆ เคลื่อนไหวตามกรอบ-นอกกรอบจะเกิดสภาพไม่สามัคคี


พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ระบุมีผู้เห็นต่างจากรัฐบาลถือเป็นเรื่องปกติ และนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ไปทำความเข้าใจแล้ว แต่ละกลุ่มหากจะเคลื่อนไหวให้ขออนุญาต คสช. ก่อน สำหรับความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปให้มาเสนอผ่านช่องทาง สปช. - ยันมาตรา 44 ยังไม่นำมาใช้ สั่งแม่ทัพ 4 เพิ่มการดูแลกำลังพล หลังเกิดเหตุทำร้ายกันเองจนเสียชีวิต อาจเครียดจากการทำงาน ให้อนุศาสนาจารย์ จิตแพทย์พูดคุย
11 พ.ย. 2557 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกระแสข่าวกลุ่มเคลื่อนไหว หรือ คลื่นใต้น้ำ ต่อต้านรัฐบาลว่า เป็นเรื่องปกติที่มีผู้เห็นต่างกับการทำงานของรัฐบาล ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วงซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้พยายามเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนผ่านสื่อต่างๆ โดยได้มอบนโยบายเพิ่มเติมไปยังหน่วยในพื้นที่ให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม ซึ่งมองว่าจะไม่มีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ยอมรับว่ามีการเคลื่อนไหวในลักษณะการพูดคุย และเสวนากันในแต่ละกลุ่มในบางพื้นที่ ซึ่งตามกฏหมายขณะนี้ต้องขออนุญาตจาก คสช.ก่อน โดยที่ผ่านมามีการกระทำลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่ได้ทำความเข้าใจไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องการให้แต่ละกลุ่มเข้ามาให้ความเห็นในการปฏิรูปประเทศร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มากกว่า แม้จะไม่มีรายชื่ออยู่ในคณะของ สปช. สามารถเสนอได้ เพื่อให้เข้าสู่แนวทางตามกรอบที่ถูกต้อง เพราะการกระทำนอกกรอบ อาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความสามัคคีได้
รมช.กลาโหม และ ผบ.ทบ.กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น เป็นเพียงการบอกว่า คสช.สามารถทำได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการใช้อำนาจดังกล่าว และให้เน้นทำความเข้าใจกับผู้ที่เห็นต่างมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่พยายามทำมาตลอด ซึ่งส่วนตัวในฐานะเลขาธิการ คสช. ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีไม่ปิดกั้นความคิดจากฝ่ายใด เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นที่ยอมรับ
ระบุทหารใต้ทำร้ายกันเองอาจเครียดจากงาน
จากกรณีเกิดเหตุทหารเหตุยิงกันเองภายในค่ายลูกเสือเดชานุชิต ต.บ่อทอง อ.หนอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ประกอบด้วย 
  • 1. จ.ส.อ.สุมิตร  ปกพันธ์ อายุ 48 ปี สังกัด มทบ.22  
  • 2. ส.ท.ทองมุก พิลออน สังกัด ร.8  
  • 3. ส.ท.โชคนิพัทธ์  ดวงจำปา อายุ 33 ปี สังกัด ทัพน้อย 2 และ
  • 4. จ.ส.อ.เดชาทศ  มาลัยรัตน์ ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตที่โรงพยาบาลปัตตานี 
 ส่วนทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ได้แก่ ส.ท.กำพล กันหาวาตี อายุ 30 ปี, จ.ส.อ.เดชาทศ วลัยรัตน์ อายุ 33 ปี และพลทหารทวีเวชย์ สิงฆมณี อายุ 21 ปี นั้น วันนี้ (7 พ.ย.) สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.อ.อุดมเดช ได้กล่าวถึงกรณีเหตุกำลังพลทางภาคใต้ก่อเหตุทำร้ายกันจนเสียชีวิตว่า เป็นเรื่อที่น่าเสียใจ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจมาจากการเผชิญกับงานหนัก และมีปัญหาส่วนตัวรุมเร้า
 
“เมื่อเช้าได้สั่งการเมื่อเช้านี้ไปยังแม่ทัพภาค 4 ให้ดูแลกำลังพล โดยจัดอนุศาสนาจารย์และจิตแพทย์เข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจเพิ่มเติม รวมถึงจัดชุดจิตแพทย์จากชุดที่ลงไปดูแแลประชาชนให้มาดูแลทหารด้วย ส่วนการสอบสวนหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้สั่งการไปแล้วเช่นกัน” ผู้บัญชาการทหารบก กล่าว

ประยุทธ์ ระบุเห็นหมดว่าใครกล่าวให้ร้ายในโซเชียลมีเดีย


"คืนความสุขให้คนในชาติ" พล.อ.ประยุทธ์ ระบุยังไม่อยากเห็นการโต้แย้งเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะยังไม่ได้ร่างมาสักบรรทัด วันลอยกระทงเห็นเด็กๆ ใส่ชุดไทยก็อดยิ้มไม่ได้เพราะชอบเห็นคนแต่งชุดไทย ไม่ใช่เป็นคนโบราณแต่บางวันก็ต้องแต่งให้เหมาะสม ระบุรัฐบาลได้กำลังใจจากพ่อแม่พี่น้องจึงทำงานเต็มที่ ส่วนใครผิดใครถูกขอให้แจ้งเข้ามา แล้วจะสอบสวนให้
7 พ.ย. 2557 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 20.15 น. โดยมีรายละเอียดตามที่รายงานในเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ดังนี้
สวัสดีพ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ผมได้กล่าวถึงคุณลุงสอิ้ง หาญประโคน ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี โดยการวิ่งและเดินเท้า มาถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราช วันนี้ก็มีเยาวชนรุ่นใหม่ 2 ท่าน คือ คุณอังกูร ธนภาณุวงศ์ และ คุณฐานิศ จันทร์คำ ชาวอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ก็ได้แสดงออกในสิ่งที่ดี ๆ เช่นเดียวกัน เป็นการทำตามความฝันที่ว่า “วันหนึ่งจะปั่นจักรยานไปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”บนเส้นทางสายฝัน (หลังสวน – โรงพยาบาลศิริราช) ระยะทาง 529 กิโลเมตร ผมก็คิดว่าปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่น่ายินดีของสังคมไทย ที่เยาวชนรุ่นใหม่ก็ยังคงมีความจงรักภักดี ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และตระหนักอยู่ว่าพวกเราอยู่ดี กินดี มีความสุข ได้ทุกวันนี้ก็มีผลมาจากในหลวงฯ ของเราได้ทรงวางรากฐาน ในการพัฒนาประเทศให้กับพวกเขาโดยมีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เล่าขานสืบต่อกันมา และปลูกฝังให้คนในครอบครัวด้วย
หลายส่วนราชการก็ได้ดำเนินงานตามแนวทางพระราชดำริเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน ผมขอชื่นชมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ได้กรุณาเสียสละทุ่มเททำงานแก้ไขปัญหาของชาติ สร้างความเข้มแข็งในหน่วยงานของตนเอง ในส่วนของราชการ อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ดำเนินโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 จังหวัดสุพรรณบุรี มาเป็นต้นแบบ เนื่องจากนักเรียนในเขตพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีสัมฤทธิผลทางการเรียน มีคะแนนสูงขึ้น คะแนนสอบ NT และ O-Net เพิ่มเป็นสองเท่า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ทั้งนี้ จะนำไปขยายผลในโรงเรียนเป้าหมาย คือโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน จำนวน 15,369 โรงเรียนทั่วประเทศ ขณะนี้โรงเรียนเป้าหมายทั้งหมดได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่สองนี้ด้วยการรับสัญญาณทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีครูสอนครบทุกชั้นทุกวิชา เป็นการแก้ปัญหาให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนครู มีครูสอนไม่ครบชั้น ไม่ตรงวิชาเอก ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย 15,000 กว่าโรงนั้น ซึ่งมีจำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้าน 2 หมื่นคน จะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ได้เรียนกับครูคนเดียวกัน คุณภาพเดียวกันไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดของประเทศไทย อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนครู ยกระดับมาตรฐานการสอน การเรียน ในพื้นที่ที่ห่างไกลก็คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ครูในพื้นที่ก็ต้องนำมาประยุกต์ นำมาเพิ่มเติมให้
โครงการนี้ เป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2557 นี้ด้วย
สำหรับการดำเนินงานของรัฐบาลในห้วงที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่าหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการทุกคนต้องทำงานหนักขึ้น ในส่วนที่ไม่ดี มีคำกล่าวหาอยู่ตามโซเชียลต่าง ๆ ก็ไปว่ากันอีกที คนดี ๆ มีอีกมากให้กำลังใจเขาก็ทุกคนทำงานหนักขึ้น โดยความร่วมมือของประชาชนและทุกภาคส่วน ช่วยกันบูรณะซ่อมแซมประเทศของเราที่อาจจะมีการชำรุดทรุดโทรมอยู่บ้าง ประกอบกับการพัฒนาที่ชะลอตัว ด้วยความไม่สงบทางการเมือง ในเมืองไทยผมคิดว่าเกิน 10 ปี ที่ทำให้มีปัญหามาโดยตลอด ผมต้องขอขอบคุณและขอความร่วมมือต่อไปอีกให้ทุกคนได้จดจำไว้ว่าเราเคยเสียกรุงมาแล้ว 2 ครั้ง เนื่องจาก “การขาดความสามัคคี” ของคนในชาติ
วันนี้ถ้าเรายังมีความขัดแย้งกันอยู่ ไม่มีการปรองดอง ไม่ไว้ใจกัน ประเทศก็จะเป็นเหมือนคนป่วย ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคอร์รัปชั่น ยาเสพติด การก่อการร้าย ซึ่งในส่วนของผู้กระทำความผิดกฎหมายนั้น ขอให้แยกเป็นประเด็นในเรื่องของการแก้ไข หรือการดำเนินการทางกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม และได้รับความพึ่งพอใจ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ ถ้านำทุกอย่างมาปนกันหมด แก้อะไรไม่ได้สักอย่าง บ้านเมืองก็มีปัญหาหมด ผมไม่ได้ต้องการว่า จะให้กฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรม ไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง ใครผิดก็ว่ากันไป ใครถูกก็ว่าไปตามถูก
ผมขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการเตือนสติ และชี้แนะเทคนิคการทำงานร่วมกัน ว่า “รู้ รัก สามัคคี”
"รู้" คือ ปัญญา มีความรู้ความเข้าใจในงานที่จะต้องทำ  "รัก" คือ การมีความรัก ความพอใจในงานที่จะต้องทำนั้น  และ “สามัคคี” คือ การร่วมกันทำงานด้วยความจริงใจ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง
เหล่านี้ขอให้ทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการสร้างความเชื่อมั่น ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อวันที่ 30-31 ตุลาคม ที่ผ่านมา พี่น้องคงได้รับทราบแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ โอกาสนี้ผมได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เพื่อถวายพระพรเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 10 ปี และแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษไทยมาโดยตลอด
ส่วนเรื่องที่ผมอยากจะเน้นคือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญคือ การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งไม่ได้ผิดกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเรื่องการทำความเข้าร่วมกันเกี่ยวกับ “การร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์” เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงปัญหาที่นับวันจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ก็จะมีผลในเรื่องของการค้าขายสินค้าทุกประเภทด้วย มีพันธสัญญามากมายไม่ว่าจะเป็นการค้าขายผลิตผลทางการเกษตร สัตว์น้ำ ประมง อะไรก็แล้วแต่ มีกติกามากมาย ถ้าเราไม่ดูแลเรื่องการค้ามนุษย์ ไม่ดูแลในเรื่องของการประมงที่ทำถูกกฎหมาย เราก็จะถูกสะกัดกั้นในการนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในต่างประเทศ วันนี้เราก็แก้ในทุกมิติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดตั้งคณะทีมไทยไปชี้แจ้งที่สหภาพยุโรป อาจจะมีปัญหาเรื่องการค้าขายสัตว์น้ำ ซึ่งแนวโน้มก็มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ช่วงนี้ต้องใช้เวลาในการแก้ไขทั้งหมด เพราะสะสมมาหลายปีแล้ว
การลงนามในครั้งนี้ เป็นการปรับแก้ไขบันทึกความเข้าใจเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นให้เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะคนไม่ดีมีมากขึ้น และมีวิธีการใหม่ ๆ มา ในการที่จะมีการค้ามนุษย์ มีการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเราก็ทำมาโดยตลอด แต่ก่อนนี้ไม่เคยทำได้ถึงขนาดนี้ วันนี้เราทำมาได้จดทะเบียน มีขึ้นทะเบียนมากว่าล้านคน และส่วนใหญ่เป็นแรงงานกัมพูชาเกินครั้งประมาณ 6 แสนคน เพราะประเด็นเหล่านี้นอกจากจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงแล้วจากรอบบ้าน ก็ยังเป็นปัญหาสำคัญในภูมิภาคและประชาคมโลกอีกด้วย ผมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คอยกำกับดูแล และเดินหน้ามาตรการต่าง ๆ เป็นการเร่งด่วน ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ใครที่มีข้อมูลอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในเรื่องนี้ ผมขอให้ข้อมูลที่ละเอียดถี่ถ้วนมา บางครั้งเป็นการกล่าวอ้างมา บางครั้งก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ก็ขอให้แจ้งรัฐบาลทราบ อาจจะผ่านศูนย์ดำรงธรรมในทุกพื้นที่ได้
ในการเยือนครั้งนี้ มีการลงนามบันทึกความเข้าใจอีก 2 เรื่อง ได้แก่ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเราทั้ง 2 ประเทศนั้นก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ถ้าสามารถที่จะเป็นแพ็คเก็จร่วมกันได้ก็น่าจะทำ ต่างคนต่างสงเสริมซึ่งกันและกัน เพราะเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน และความร่วมมือในเรื่องของการเชื่อมต่อเครือข่ายเส้นทางรถไฟ อันนี้เป็นหลักการแนวทางที่จะต้องเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ เรียกว่า Connectivity ทั้งรถไฟ ทั้งถนน ทั้งการจราจร หรือการขนส่งเคลื่อนย้างทางอากาศด้วย วันนี้เราก็มีแผนงานที่จะต้องปรับปรุงเรื่องเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน และเชื่อมต่อประชาคมอื่น ๆ อีกด้วย อันนี้อยู่ในแผนงานของรัฐบาลในเวลานี้ ขอให้มั่นใจและไว้ใจในการทำงาน ทั้ง 3 เรื่องเหล่านี้จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาให้กระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เราต้องไม่มีความขัดแย้งกันอีกต่อไป
เมื่อต้นสัปดาห์ ผมได้มีโอกาสต้อนรับนาย Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยแห่งสหราชอาณาจักร ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์และความคืบหน้า ในการดำเนินงานของรัฐบาลที่มุ้งเน้นความโปร่งใสทันเวลาในการบริหารประเทศเพื่อจะเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ นาย Tony Blair  ได้แสดงความเข้าใจถึงปัญหาและพูดถึงความ ท้าทายที่รัฐบาลกำลังเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ท่านได้กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยนั้นหยั่งรากลึกสลับซ้ำซ้อนมากเกินกว่าที่ทุกคนจะเข้าใจง่าย ๆ สิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำคือทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าไปได้ พร้อมกับการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ด้วย เช่น การศึกษา สังคม สาธารณสุขให้มากที่สุดภายในรัฐบาลปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการมีประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
นอกจากนั้น อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนและผลการดำเนินงานให้กับประชาคมโลกต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ซึ่งขณะนี้เราก็ให้ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ทุกกระทรวง ในส่วนของรัฐบาลก็มีการชี้แจงอย่างต่อเนื่อง ทั้งเอกสารและวาจาไปยังสถานทูตทุกส่วน สื่อ หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ก็ส่งไปหมด อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะไปทำความเข้าใจให้เราอย่างไร ก็ไม่เป็นไรเราก็จะพยายามต่อไป ไม่อย่างนั้นประชาคมโลกอาจจะไม่มั่นใจและเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และคาดหวังว่าเมื่อไหร่ที่เราจะไปสู่การเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ในเวลาที่เหมาะสม สุดท้ายนี้ผมในนามของรัฐบาลและประชาชนคนไทยทุกคน ก็ได้แสดงความขอบคุณในความเข้าใจและกำลังใจที่ท่าน Tony Blair ให้กับประเทศเรามาโดยตลอด
นอกจากนั้น ผมได้ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจสหรัฐฯ - อาเซียน (USABC)  ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนประเด็นทางเศรษฐกิจและการลงทุนในไทย ผมได้ยืนยันกับผู้แทนจาก 34 บริษัทขนาดใหญ่ที่เข้ามาร่วมหารือว่ารัฐบาลยินดี พร้อมให้การสนับสนุนการประกอบธุรกิจการลงทุนในประเทศ โดยจะรักษาผลประโยชน์ของทุกส่วนอย่างดีที่สุด อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศและคนไทยด้วย ผมก็อยากเห็นความก้าวหน้าของบุคลากรไทย และเทคโนโลยีต่าง ๆ    ใหม่ ๆ ภายในประเทศ รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนา ก็ล้วนจะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ซึ่งจะเกิดขึ้นไปพร้อมกับการลงทุนต่าง ๆ ผมก็เรียนว่าตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มานั้น ทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลได้พยายามดูแลผลประโยชน์ของประเทศเพื่อนบ้าน และต่างชาติมาโดยตลอด พยายามที่จะเอื้อประโยชน์ในการลงทุน แต่ประเทศไทยก็ต้องได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม โดยการกำหนดหลักการต่าง ๆ ของ BOI หลักการต่าง ๆ ในเรื่องของกองทุน การส่งเสริม SME อะไรเหล่านั้น ก็มีมาทุกเรื่อง ประมาณ 11 คณะได้ที่ทำมาในขณะนี้ ตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อจะขับเคลื่อนในด้านเศรษฐกิจในภาพใหญ่ภาพรวมกับประชาคมโลก ที่สำคัญคือการแก้ไขข้อติดขัดต่าง ๆ ในด้านการประกอบธุรกิจและการลงทุน
วันนี้ก็น่ายินดีว่า เราได้รับการจัดลำดับในประเทศที่น่าลงทุนในอันดับที่ดีขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนทุกขนาดของนักธุรกิจต่างชาติและไทย อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการท่านใดมีปัญหาขัดข้องหรือมีข้อเสนอแนะ ก็ขอให้แจ้งรัฐบาลทราบ เรายินดีเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องนี้ผมอยากให้นักลงทุนของไทย ถ้าสามารถขึ้นทะเบียนได้ว่าพร้อมที่จะลงทุนเรื่องต่าง ๆ ในภูมิภาคที่ไหน กระทรวงไหน ก็ขอให้ขึ้นทะเบียนไว้ที่ BOI ก็ได้จะได้เชื่อมต่อให้กับทุกประเทศที่เขาอาจจะมีความต้องการในธุรกิจที่ท่านต้องการอยู่จะได้เร็วขึ้น จะได้เร่งดำเนินการให้ทันเวลา ทั้งนี้เราต้องขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจในประเทศเรา และเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพื่อให้อาเซียนเข้มแข็ง ผมมองอย่างนั้น เพราะฉะนั้นใครที่มีความคิดเห็นอย่างอื่นก็ลองเสนอมา อยากใช้คำว่าไทย+1 หรือประเทศเพื่อนบ้าน+1 คือไทยอะไรทำนองนี้ อันนี้คือหลักการที่ผมได้ให้นโยบายไปแล้ว
เรื่องนักลงทุนสหรัฐอเมริกานั้น ได้ให้ความสนใจลงทุนในเรื่องของพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน ไอที และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทางการแพทย์ อีกด้วย อยากให้เราเป็น HUB ในเรื่องนั้นเรื่องนี้ หลาย ๆ เรื่อง เราก็ต้องหารือกันต่อไปว่าจะทำอย่างไรจะเกิดได้อย่างยั่งยืน และก็เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนไทยด้วย
เรื่องความสนใจอื่น ๆ เรื่องสำคัญคือเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลอีโคโนมี และคาดหวังว่าจะได้มาร่วมงานกับไทยในอนาคตอีกด้วย
เรื่องต่อไปก็คือ การร่วมงานกับไทยในอนาคตนั้น ทุกสมาคมในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือยุโรป ก็อยากร่วมงานกับไทยโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง และมีแผนในการลงทุน เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างความมั่นใจให้เขาด้วย ถ้าเราขัดแย้งกันอยู่ก็ไม่น่าลงทุน ไม่มีเสถียรภาพเหมือนเดิม ก็ให้นึกถึงประเทศชาติ เศรษฐกิจต้องมาจากใหญ่ลงมาเล็ก ถ้าลงทุนไม่ดี ต่างชาติไม่เชื่อมั่น เราก็ขายของเขาไม่ได้ เขาไม่ลงทุนในประเทศเรา แล้วเศรษฐกิจเราจะดีได้อย่างไร เพราะเชื่อมโยงกันไปหมด ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และประเทศเราส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจ SME ทั้งสิ้น
ด้านเศรษฐกิจ ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัว หลายประชาคมก็ดีขึ้น บางประชาคมก็ยังชะลอตัวอยู่ ก็ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในการส่งออก นี่คือต้องเข้าใจในภาพใหญ่ก่อนว่า ปีนี้อย่างไรก็ตาม เราพยายามจะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของเราเดินหน้าไปให้ได้ อย่างน้อยก็ในอันดับที่ไม่ให้เกิดความเดือดร้อน ซึ่งโยงไปกับเรื่องกฎหมาย เรื่องพันธสัญญา กติกาต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีการปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานาน วันนี้เราพยายามไปรื้อทุกอย่าง อาจจะวุ่นวายไป อาจจะได้รับความไม่พอใจบ้าง สำหรับผู้ประกอบการ แต่ผมทำเพื่ออนาคต เพื่อเราจะได้ขายกับเขาได้ต่อไป ไม่อย่างนั้นขายเขาไม่ได้แล้วจะไปขายที่ไหน
อยากให้พี่น้องประชาชนทราบว่า สัญญาณการส่งออกของไทยในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และตลาดอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในส่วนของการท่องเที่ยวไทย แม้ว่าจะดูยังชะลอตัวอยู่ แต่จากข้อมูลยอดของการจองห้องพักล่วงหน้าในห้วงที่ผ่านมา มีการส่งสัญญาณดีขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม คาดว่าในปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประมาณการว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศไทยทั้งปีจะมีจำนวนมากกว่า 25.5 ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปถึง 6.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 350,000 คน ก็ขอให้พี่น้องชาวไทย ช่วยกันแสดงไมตรีจิตต่อนักท่องเที่ยวให้เขาประทับใจ และกลับมาเที่ยวเมืองไทยหลายๆ ครั้งกันด้วย  อย่างเช่น นายทองศิลป์ มีทองแสน โชเฟอร์แท๊กซี่เก็บกระเป๋าเงิน และติดตามคืนให้กับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ซึ่งการกระทำแบบนี้ มีหลายคนด้วยกัน อาจจะกล่าวได้ไม่ครบ มีผลต่อชื่อเสียงของประเทศทั้งสิ้น และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในทางอ้อมอีกด้วย
ผมอยากให้ทุกท่านมั่นใจว่ารัฐบาลกำลังเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ทั้งการผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 2557 ที่กำลังทยอยลงไปที่ติดขั้นตอนการใช้จ่ายงบประมาณอยู่ ทุกคนทราบอยู่แล้ว ก็เร่งรัดลงไปแล้ว และก็เร่งกระบวนการใช้จ่ายงบปี 2558 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำเม็ดเงินสู่มือประชาชน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การส่งเสริมการลงทุน การสร้างแรงงานที่มีทักษะ และที่สำคัญคือต้องเตรียมพร้อมการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม หลายโครงการจะเริ่มลงทุนในปีหน้า ทำให้มีผลต่อการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ช่วงนี้ก็คงเป็นช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ในไตรมาสที่ 4 แล้วก็ไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ก็จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น ช่วงนี้คงต้องระมัดระวัง อดทน แล้วก็ใช้หลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คืออยู่อย่างพอเพียง แต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องให้มีมากใช้มาก เพื่อจะได้ช่วยกันหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศให้ขับเคลื่อนไปได้ดีขึ้น ช่วยคนจนก็ต้องเสียสละ คนรวยต้องเสียสละกันบ้าง ก็ใช้จ่ายออกมาช่วยคนจนมาก ๆ ขึ้น จะได้ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน
ทางรัฐบาลไม่ว่าจะหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐของเอกชนที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ได้มีการพบปะหารือ สร้างความมั่นใจกับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ส่วนใหญ่มีความมั่นใจในเศรษฐกิจไทย และมองว่าไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในเชิงกลยุทธ์การลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือ emerging markets
ผมมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะคลี่คลายในปีหน้า และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานด้านเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว รวมทั้งความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกันของรัฐ ประชาชนทุกคน หน่วยงานทุกภาคส่วน หากทุกอย่างเป็นปัจจัยบวกแล้วรวมความถึงการมีเสถียรภาพของประเทศของรัฐบาลด้วย เราก็มีโอกาสกลับเข้าสู่ตลาดแข่งขันในเวทีโลกของเรา ซึ่งก็มีอนาคตที่น่าจะสดใส
ในส่วนของการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ลิตรละ 50 สตางค์ในเดือนนี้ เป็นการปรับขึ้นตามขั้นตอนเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาดสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เป็นการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป แบบขั้นบันได ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน รัฐบาลก็พยายามให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อพี่น้องประชาชน คงทราบดีนะครับ ผมก็ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ไปเตรียมมาตรการดูแลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก็ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนผู้ประกอบการการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการผลิตที่ใช้อุปโภคบริโภค อย่าไปขึ้นราคาจนมากจนเกินไป อ้างเหตุผลในเรื่องของการขึ้นราคาพลังงานแล้วไปบวก 5 , 6 บาท  สิบบาทนี่ผมไม่ได้ ให้กระทรวงพาณิชย์ไปกำกับดูแล ไปควบคุมถ้าใครฉวยโอกาสก็ต้องลงโทษตามกฎหมาย ข้าวของทุกอย่างอาจจะแพงมากขึ้น ผมได้ข่าวว่าเรื่องอาหารจานด่วนเพิ่มอีก 10 บาท 15 บาท ผมว่าไม่ใช่ ขึ้นมา 50 สตางค์ไปขึ้น 5 บาท ไม่รู้กี่เปอร์เซ็นต์ ช่วยกันนึกถึงคนอื่นเขาด้วย คนกลางก็อย่าเอาเปรียบคนอื่นเขามากเกินไปยอมเสียสละกำไรลงบ้าง ประชาชนจะได้ไม่เดือดร้อน เพราะเขาเป็นผู้รับผลประโยชน์ ถ้าแพงเขาก็ไม่มีเงินใช้จ่าย เอาขายมากดีกว่า ดีกว่าที่จะไปขายแพง ๆ แล้วขายน้อยคนก็ไม่รับประทาน ขอให้ทุกคนช่วยกันให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน ถ้าใครขายแพงก็อย่าไปรับประทานเขา ก็แค่นั้นเองไปหาร้านดี ๆ ช่วยกันด้วย กระทรวงพาณิชย์ต้องเป็นหลักนะครับ
การแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรนั้น รัฐบาลก็พยายามแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน ก็ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกร  นายทุน พ่อค้าคนกลาง รัฐ  เอกชน  ประชาชนทุกภาคส่วน คงต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมืออีกระยะหนึ่ง ร่วมมือกัน รัฐบาลก็ดำเนินการเพื่อให้แก้ปัญหาในเบื้องต้น ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ได้ให้เงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนา ผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท เป็นการช่วยเหลือพี่น้องชาวนากว่า 165,000 ราย  ก็จะมีการทยอยจ่ายเงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนาจนครบ
อันนี้เป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้นเอง เฉพาะปีนี้ ก็ขอให้สบายใจว่า ในส่วนของเงินช่วยชาวนา สวนยางอีกนั้น  ก็เป็นการช่วยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นก็ลด  ๆ กันลงไปหน่อย ช่วยกันว่าเรามีมาตรการอย่างไร รัฐว่าอย่างไร ก็ร่วมมือกันท่านก็ต้องอดทนรอเวลา ขณะนี้เราก็พยายามที่จะราคาไปอยู่ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรนั้นสูงขึ้น  มีผลมาจากนอกประเทศด้วย เพราะเป็นตลาดส่งออกของเรา ข้าวเราผลิตได้เป็นจำนวนมาก วันนี้เราก็ส่งข้าวออกเป็นลำดับที่ 1 ของโลก ในปีนี้ ตอนนี้ยอดก็สูงแล้วแต่ราคายังไม่สูงมากนัก แต่ก็ต้องพยายามต่อ
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการหลาย ๆ อย่างไปแล้ว แล้วขณะนี้ในเรื่องของการช่วยเหลือนั้น ก็กำลังจัดทำทะเบียนผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินให้ถูกต้อง ใครที่ไม่สุจริตก็ต้องถูกลงโทษตามมาตรการทางกฎหมาย เพราะฉะนั้นก็ขอพี่น้องชาวนานั้น ก็อย่าไปฟังคำกล่าวอ้างของใครต่าง ๆ นานา ว่าจะได้เงินก่อนเงินหลังแล้วไปจ่ายเงินให้เขาก่อน แบ่งเงินบางส่วน เหล่านี้ไม่ได้เพราะว่า รัฐบาลตั้งใจให้กับผู้ที่ทำนาจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนาเช่า เช่านาหรือนาตัวเองไม่รู้ ต้องเป็นคนที่รักษาผลประโยชน์ตัวเองอย่าให้คนอื่นเขามาเอาผลประโยชน์เราไป แล้วเราก็ต้องไปเป็นหนี้เป็นสินคนเขาต่อไปไม่ได้ เราไปช่วยเท่านั้นเอง
ในส่วนของการทยอยจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวสวนยาง ก็เร็ว ๆ กำลังดำเนินการอยู่ก็เรื่องทะเบียน เรื่องต่าง ๆ ยังไม่เรียบร้อย มีทั้งในพื้นที่ นอกพื้นที่ ผิดกฎหมาย ถูกกฎหมาย ช้าอย่างนี้เพราะมีการกระทำผิดกฎหมายเสร็จแล้วเราก็ไม่อยากใช้กฎหมายมากจนเกินไป เพราะว่าส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนคนจนเดือดร้อน เพราะฉะนั้นใครมีที่ มีทางก็อย่าไปขาย อย่าไปขายต่อ อดทนทำต่อไปเชื่อฟังคำแนะนำของรัฐ เราจะเร่งในเรื่องตรงโน่นถ้ารีบขายที่ ขายทางให้คนอื่นเขาไปหมด เราก็ไม่มีที่ทำกินอีก ก็ต้องไปร้องเรียนหาที่ทำกินแล้วไปบุกรุกป่าคนรวยก็มาซื้อไปอีก นี่เป็นแบบนี้
ฉะนั้นในเรื่องของการจัดสรรที่ดินทำกิน การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกร เราสำรวจและพบข้อเท็จจริงว่า 7 ลักษณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานมา ปัญหาการไร้ที่ดินทำกิน  ปัญหาความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สงวนของรัฐ  ปัญหาการใช้ที่ดินไม่เต็มศักยภาพ ปัญหาการถือครองที่ดินขนาดใหญ่ ปัญหาการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาการบริหารจัดการที่ดินปัญหาต่าง ๆ แล้วก็ในเรื่องของการทุจริต แล้วก็นำที่ดินที่ให้ไปแล้วไปขายต่อทำนองนี้ ก็ต้องมีการสอบตรวจทั้งหมดหลาย ๆ อย่าง เป็นปัญหาที่มีความส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ เชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ จำนวนมาก ต้องแก้ไขพร้อม ๆ กัน แก้ด้วยกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งไม่ได้ ประชาชนเดือดร้อน เพราะฉะนั้น ความซับซ้อนดังกล่าวนั้น รัฐบาลก็กำหนดแนวทางแก้ปัญหาแบบบูรณาการ โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 เพื่อจะบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ อย่างครบวงจร
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันก็คือ การจัดสรรที่ดินให้กับผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ทำกิน ที่ต้องตรวจสอบ ที่ต้องตรวจสอบก่อนเพื่อความถูกต้องไม่ใช่เป็นการให้เปล่า ไม่ได้ยกให้ใคร ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ เป็นการอนุญาตให้ประกอบอาชีพตามเงื่อนไขที่กำหนดกรรมสิทธิ์ที่ดินยังคงเป็นของรัฐ แล้วที่ดินที่ได้รับการจัดสรรนั้นจะต้องถึงมือประชาชนผู้ที่ไม่มีที่ทำกินมารวมกลุ่มกัน ออกแปลง แล้วก็รัฐก็จะดูแลบางส่วนให้ เพราะฉะนั้นเมื่อผลประโยชน์ออกมาก็แบ่งปันกัน เพราะเราใช้พื้นที่ของหลวงก็เหมือนกับเช่าคล้าย ๆ กันแต่ก็ออกแรงไปด้วย ก็ทำนา ทำไร่ ปลูกพืชสวนไปด้วย ก็เป็นสัดส่วนที่น่าจะพอให้พี่น้องประชาชนที่ไม่มีที่ทำกินพออยู่ได้ อย่างที่กล่าวอ้างกันมาว่า ไม่มีที่ทำกินจะให้ทำอะไรนี่เราเป็นห่วงเรื่องเหล่านี้ ก็ไม่อยากให้ตกถึงมือนายทุน เพราะฉะนั้นใน 50 ปีที่ผ่านมา ผืนป่าเราลดลงจาก 171 ล้านไร่ เหลือเพียง 102 ล้านไร่ จะต้องไม่มีบุกรุกอีก102 นี่ ก็ต้องรักษาไว้ยิ่งชีวิตกัน ทุกคนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่หายไปจะทำอย่างไรก็ไปหามาตรการมา 171 - 102 มีเท่าไรตรงนั้นถูกต้องแค่ไหน ใครบุกรุกก็ไปเคลียร์ทางกฎหมายมา แล้วจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่มีที่ทำกินเขาได้มีที่ทำกินต้องคิดใหม่ทั้งหมด ถ้าใช้กฎหมายอย่างเดียวก็เดินหน้าไปไม่ได้ คนก็ยากจนไปเรื่อย ๆ ที่ก็ไม่มีก็ต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มา ก็ให้เวลาเราหน่อย จำเป็นต้องกำหนดมาตรการเพื่อจะรักษาต้นน้ำ อนุรักษ์ระบบนิเวศให้กับคนรุ่นหลังของคนไทย และเป็นปอดของโลกของอาเซียนด้วย ในลำดับแรก
เรื่องพลังงาน การบริหารงานด้านพลังงาน มีอยู่หลายประเด็นซึ่งอาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน ผมก็เรียนว่าอยากจะให้ได้ข้อสรุปสักทีว่าเราจะทำอย่างไร จะเดินหน้าไปอย่างไร เพราะรัฐบาลมีความรับผิดชอบในเรื่องของการจะต้องไม่ให้เกิดวิกฤตพลังงานในอนาคต ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต้องคิดแบบนี้ รัฐบาลผมก็คิดแบบนี้ว่า ทำอย่างไรเราจะมีความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน ในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ บางประเทศไม่มีน้ำมันแล้วก็ทำไมมีความมั่นคง เขามีวิธีการอื่น เขามีเศรษฐกิจที่ดี มีเงินมากมาย ประชากรมีรายได้สูงเขาก็ไปซื้อได้ จะแพงเท่าไรเขาก็ซื้อได้ รัฐก็ดูแลน้อย แต่บ้านเราไม่ใช่แบบนั้น ถ้าเศรษฐกิจดี คนดีแล้ว โอเค ทำได้ แต่ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ ส่วนใหญ่เราเป็นเกษตรกรรม ในส่วนใหญ่คนมีรายได้น้อยมากมาย เพราะฉะนั้นปัญหาอยู่ที่ ปัญหาการบริหารจัดการและตามกำหนดนโยบายที่จะต้องไม่ขาดความต่อเนื่อง ต้องมีความชัดเจนในเรื่องของการลงทุนเพื่อจะหาแหล่งพลังงานสร้างความเชื่อมั่นให้คนมาลงทุน ไม่ใช่เราก็ไม่มีศักยภาพ เขาก็ไม่มั่นใจในการลงทุนแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไปในวันหน้า ตราบใดที่รายได้ต่อหัวรายได้ GDP  ของเราก็ยังต่ำอยู่ขณะนี้ ไม่ได้สูงเท่าเทียมกับประเทศที่มีการกล่าวอ้างเขาไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนเลยจากพลังงาน คนละเรื่องกัน
สำหรับการบริโภคในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา 7 ปีนี้ มีความไม่มีเสถียรภาพด้านการเมือง ปัญหาความไม่สมดุลเรื่องสัดส่วนการผลิตและการนำเข้าพลังงานของประเทศ ซึ่งเราต้องนำเข้าพลังงานมากกว่าที่เราผลิตได้เอง มูลค่าการนำเข้าพลังงานทุกประเภทมากกว่า 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี ก็นำมาคิดว่างบประมาณเรามีเท่าไร 2.575 ล้านบาท แต่ละปีนำเข้ามาปีละ 1.4 ล้านล้านเกือบเท่าไรเกือบครึ่งของงบประมาณประเทศ สูญเสียไปก็ต้องระมัดระวัง สำหรับจะไปเทียบกับข้าวเงินจำนวนนี้เท่ากับเราต้องขายข้าวไปถึง 16 ปีถึงจะได้เงินแลกกับเชื้อเพลิงที่เราซื้อมาทุกปี เพราะฉะนั้นก็สนับสนุนให้ทุกคนประหยัด ประหยัดพลังงาน ถ้าถูกมากก็ใช้กันมาก อันนี้ขนาดบ่นว่าแพง ก็ยังใช้กันมากมาย คราวนี้ก็ต้องไปดูเรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ดี ต้องไปดูเรื่องการขนส่งมวลชน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถไฟฟ้า คือเกี่ยวข้องกันไปหมดรัฐบาลเขามองในภาพกว้างทั้งหมดก็ต้องแก้ ๆ สรุปแก้กันทุกวัน จะเสร็จใน 5 วัน 10 วัน หรือ 1 เดือน 2 เดือนไม่ได้ ต้องมีระยะสั้นระยะยาวต่อไป อันนี้ต้องให้เวลาในการแก้ เพราะสิ่งนี่ไม่ได้ทำมาที่ผ่านมากี่ปีมาแล้วไม่ได้ทำให้ชัดเจน การลงทุนก็เกิดขึ้นไม่ได้ รายได้รัฐก็ไม่มีแล้วทุกคนก็ต้องการการบริการสาธารณะที่ดีกว่าเดิม ไปไม่ได้หรอกต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจซึ่งกันละกันก่อน เราสร้างความมีเสถียรภาพ สร้างความน่าอยู่น่าลงทุนให้กับประเทศสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผลิตคนมาให้รองรับสิ่งที่ตลาดต้องการ แรงงานต้องการทำนองนี้ก็ได้สั่งการไปหมดแล้ว ทุกกระทรวงก็รับนโยบายไป
วันนี้ที่บอกว่า นำน้ำมันเข้ามาเป็นน้ำมันดิบ 85%  ถ่านหิน ลิกไนต์ 70%  ก๊าซธรรมชาติ 20%  น้ำมันสำเร็จรูป 10% ไฟฟ้า 4% ไฟฟ้านี้คือซื้อไฟฟ้าเขาเข้ามา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขของสัดส่วนการนำเข้าพลังงานอาจจะบอกว่าก๊าซ 20% แต่ 20% นั้นนำไปใช้อะไรบ้างวันนี้ไปใช้ในสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นหรือราคาบิดเบือนก็ทำให้ใช้มากขึ้น นำไปเผาสร้างโรง สร้างพลังงานไฟฟ้าบ้างอะไรบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนทั้งหมดสัดส่วนการใช้พลังงานโรงไฟฟ้าจะต้องมีแก๊ส มีลม มีแสงแดด ตอนนี้ทุกอย่างทำแผนพลังงานใหม่หมดแล้ว ก็ต้องช่วยกัน
ปริมาณก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันนั้นเราเคยผลิตได้เอง 80% นำเข้า 20%  แต่อีก 8 ปีข้างหน้า ถ้าเราไม่มีการลงทุน ผมไม่ได้ความว่าจะไม่มีอะไรเลยเดี๋ยวก็หาขุดหาสำรวจไปก็เจอ แต่ถ้าเราไม่มีการลงทุนล่วงหน้าไม่ทันการไง ถึงว่าจะมีบางบ่อบางแหล่งยังอยู่แต่ก็น้อยลง ๆ แล้วในระหว่างการลงทุนใหม่ยังไม่เกิดแล้วหมดอีกทีจะทำอย่างไร ไม่ได้หมดพร้อมกันอยู่แล้ว แต่ตอนนี่ 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 หมดก่อนก็หาทางสำรวจให้ได้ กลุ่มที่ 2 กำลังใกล้จะหมดไม่กี่ปีแต่ต้องไปดูทั้งหมดจะหมดจากประเทศไทยเมื่อไร ไปหาข้อมูลให้ชัดเจนกันมาและก็ทำความเข้าใจกันด้วย ไม่อย่างนั้นเราต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติ 100% เลย ถ้า 100% เข้ามาราคาก็สูงมากกว่านี้อีก ก็มีผลกระทบไปถึงการประกอบการ การให้การบริการไฟฟ้า ปะปา เพราะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น ใช้แก๊ส วันนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนโรงงานไฟฟ้าจากโรงงานใช้แก๊ส สร้างพลังงานไปหมุนมอเตอร์ จุลเลเตอร์อะไรนี่ก็ต้องเปลี่ยนจากก๊าซมาเป็นถ่านหินได้ไหม ถ่านหินก็บอกว่ามีอันตรายก็ต้องไปหาว่าถ่านหินไหนไม่มีอันตรายหรือวิธีการของโรงงานเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือมีตรงไหนที่ไม่ทำให้ลดอันตรายลงไปได้ แต่ถ้าอะไรก็ไม่ได้เลยสักอย่างและผมถามว่าจะนำพลังงานมาจากไหน นำไฟฟ้ามาจากไหน ผมไม่รู้เหมือนกัน ก็คือต้องไปคิดกันมาด้วย
สำหรับในการเจาะสำรวจปิโตเลียมนั้น ตามข้อมูลพื้นฐานก็พอมีเหลือ พอทราบได้จากดาวเทียม จากเครื่องมือสำรวจบ้าง จะเจาะไปลึกขนาดไหนไม่รู้ จะเจอหรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็ต้องเสี่ยงกันเอาเอง ภาคเอกชนก็ต้องเสี่ยง รัฐก็หาวิธีการที่เหมาะสมว่าจะเสี่ยงด้วยหรือเปล่า ผลประโยชน์จะพอเพียงกันไหมก็ไปว่ากันมา วันนี้ต้องเห็นใจว่ารัฐบาลต้องเดินหน้าเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วย กระทรวงพลังงานเขาก็ต้องรับผิดชอบ วันหน้าเดี๋ยวไม่มีแก๊สก็จะโทษกลับมาที่นี่อีก เพราะฉะนั้นถ้าเกิดขึ้นมาไม่ได้ก็คิดว่าต้องรับผิดชอบด้วยกัน ใครที่ไม่เห็นด้วย ก็กรุณาอาจต้องลงชื่อกันไว้ว่าไม่เห็นด้วย ถ้าเกิดขึ้นไม่ได้ แล้ววันหน้าอีก 10 ปี 8 ปี วันหน้าถ้าเกิดปัญหา ท่านต้องมารับผิดชอบด้วยกับพวกเราด้วยแล้วกัน ได้ไหม
ในการสำรวจถึงผลิตใช้ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี เพราะต้องเตรียมเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือถึงแม้จะบริษัทเดิมก็ต้องมีค่าเคลื่อนย้ายเครื่องไม้เครื่องมือของเขา หรือหาเครื่องมือใหม่มาหรือเจาะไม่เจอก็ต้องเจาะลึกกว่าเดิม วิธีการใหม่อะไรใหม่ก็ต้องลงทุนใหม่ ไม่ใช่ว่าเอื้อประโยชน์กับใครทั้งสิ้นก็ไปดูสิครับใครที่อยู่ว่าง ๆ ก็เข้ามาทุกบริษัทท่านจะนำใครมาแข่งกับบริษัทที่ทำอยู่แล้วเดิมท่านก็ไปหามา ไปช่วยกันเรียกว่าไม่ใช่ไปผลักเขาออกไปหมดแล้วก็เหลือแต่เหล่านี้มาทำ ไม่ใช่รัฐบาลเปิดฟรีทั้งหมด เพราะฉะนั้นต้องรีบดำเนินการสำรวจ ก็ขอทำความเข้าใจกันให้ดีให้ได้ ก่อนที่ประเทศจะประสบวิกฤตพลังงาน สิ่งสำคัญ ทุกคนต้องเรียนรู้ ต้องตระหนักและต้องตื่นตัว กรณีถ้ามีปัญหาพลังงาน เราจะทำให้ธุรกิจทุกอย่างเดินหน้าไม่ได้หมด ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ พูดง่าย ๆ ไม่เช่นนั้นลูกหลานไทยจะลำบากในอนาคต
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ในข้อสังเกตของผมเอง ผมก็ได้พูดกับรัฐบาลว่า รัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา มักจะร่างขึ้นมาจากเหตุผลหลัก ก็คือเพื่อจะควบคุมกำกับดูแล หรือไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง สาระใจความบางครั้งก็เหมือนกับประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป หรือว่ามองไม่ออกประชาชนจะได้ประโยชน์จากตรงไหน เพราะฉะนั้นก็พูดใน ครม.ว่า ช่วยกันดูว่าจะทำอย่างไร เพราะเรามีการตั้งคณะกรรมการติดตามอยู่แล้ว ในเรื่องนี้ว่าประชาชนมีส่วนร่วมได้ตรงไหน แล้วก็ผลประโยชน์จอยู่กับประชาชนมากหรือน้อยทุกอย่าง ถ้าเรามีศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชนทุกงานทุกกระทรวง ประชาชนคือศูนย์กลางจะคิดออกหมด ไม่ใช่นำมาเพื่อความขัดแย้ง ไม่ใช่นำมาเพื่อให้มีการต่อสู้กันอีกในวันหน้า ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจากกฎหมาย มาจากรัฐธรรมนูญ วันนี้ก็ต้องยอมรับกันว่ามันเป็นกติกาก็ต้องเดินกันต่อไป
ผมไม่อยากให้เกิดการโต้แย้งกันอีกในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ วันนี้ยังไม่เห็นสักบรรทัดเลย วันนี้ก็มาคาดการณ์อย่างนั้น อย่างนี้ ประชาชนเป็นศูนย์กลางดีกว่า ต่อไปก็จะได้มาดูว่าเราจะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างไร โปร่งใสอย่างไร มีประสิทธิภาพอย่างไร ย้อนกลับไปที่กระบวนการบริหาร ถ้าปลายทางของรัฐธรรมนูญ ปลายทางของกฎหมาย ดูว่าประชาชนจะเป็นคนได้ ย้อนกลับมากระบวนการจะมาอย่างไร คนใช้อำนาจจะเป็นอย่างไร ผมว่าอย่างนั้นจะดีกว่า อันนี้คือหลักการ จะผิดหรือถูกผมไม่รู้ แต่ผมคิดแบบนี้ ผมไม่ได้ให้ใครมาคิดตามผมด้วย ถ้าใครคิดว่าไม่ใช่ก็บอกมา ฉะนั้นจะต้องไม่ใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ สร้างความขัดแย้ง ทั้ง 2 ฝ่าย หรือ 3 ฝ่าย ที่ผ่านมาจะด้วยเหตุผลที่ดีหรือไม่ดี ก็กฎหมายว่ามา แต่มีการนำประชาชนบางส่วนให้เกิดความบาดเจ็บสูญเสีย เหล่านี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง
ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปแล้ว รัฐบาลและ คสช. ก็จะเร่งผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่มีอยู่ และก็ได้มีการอนุมัติรายชื่อคณะกรรมาธิการฯ มีการจัดตั้งโดยสภาปฏิรูปฯ ไปเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมร่วม ครม. คสช. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานั้น ครั้งที่ 2 ก็ได้พูดคุยหลายเรื่องหลายประเด็นในเรื่องของงานทั้ง 3 งาน เรื่องงานบริหารราชการแผ่นดิน งานปฏิรูป งานรักษาความสงบเรียบร้อย มีหลายเรื่องที่มีการพูดคุยระหว่าง คสช. และ ครม. ก็ไม่ได้ทับซ้อนอำนาจกัน อะไรที่ คสช. ช่วยได้ คสช. ก็จะช่วยเต็มที่ ภายในกรอบของกฎหมายหรืออำนาจที่มีอยู่อย่างถูกต้องและชอบธรรม ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นของ สปช. นั้น ก็คือเป็นกรอบที่ 2 ตามที่กำหนดไว้แล้วเดิม ก็จะมีการตั้งมารับฟังความคิดเห็นอีก และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญนี้ต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วัน หลังจากนั้นในระหว่างนี้ก็จะมีการรับฟังมาตลอดทุกช่องทาง แต่ถ้าไปทำที่อื่นมาก็ค่อนข้างจะลำบาก เพราะช่องทางไม่ใช่ ก็พยายามเข้าหาช่องทางแล้วกัน ผมทราบทุกคนมีความคิดเห็น และทุกคนก็มีส่วนเข้าไปเป็น สนช. ก็มี สปช. ก็มี เพราะฉะนั้นไม่สามารถเข้าไปทั้งหมดได้ เมื่อไม่ได้ก็ต้องไปหาช่องทางให้เข้ากับช่องทาง คือถ้าพูดข้างนอกกับข้างในไม่ตรงกันเลย แล้วจะฟังอันไหน พอข้างในตัดสินมาอย่างนี้ ข้างนอกก็ไม่รับอีก ผมว่าท่านต้องไปคุยกันมาให้ได้ เราต้องรวมกันให้ได้ ผมเข้าใจว่าทุกท่านตั้งใจ มีแนวคิดที่ดี ข้อเสนอแนะที่ดี แต่อย่างลืมว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่จะบอกว่าทำไมไม่ได้เข้ามา มีกฎหมายอยู่ข้อหนึ่งเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ เข้าเล่นการเมืองไม่ได้หรือเข้าสู่การเมืองไม่ได้ 2 ปี เขาถึงไม่เข้ามากัน เขาถึงไปพูดกันอยู่ข้างนอกพอสมควร ก็ไปดูข้อเท็จจริงว่าเป็นอะไร เป็นเพราะอะไร ผมไม่ได้ไปปิดกั้นใครทั้งสิ้น แต่ต้องการให้เข้ามาทุกพวกทุกฝ่าย แต่เป็นประเด็นของการเมืองต่อไปในอนาคตอีก 2 ปี ผมเข้าใจในเรื่องนี้ก็จะหาทางให้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด
เรื่องการให้มีส่วนร่วมใน สปช. ก็เรียนไปแล้วว่า รัฐบาลตั้งมีทั้งที่ปรึกษา มีทั้งอีก 2- 3 อัน ตามของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) บ้าง ตามของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ทำไปตามนั้น เดี๋ยวหน่วยงานเขาชี้แจง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงไป มีข้อเสนออะไรก็เสนอมา
สำหรับเรื่องการปรองดองสมานฉันท์นั้น ก็มีปัญหาอยู่หลายประการด้วยกัน หลายคนก็เป็นห่วงว่าจะทำได้หรือไม่ได้ เรียนว่ามีคำกล่าวของท่านผู้รู้ชาวต่างประเทศท่านหนึ่ง ผมเรียนท่านก็ได้ ท่าน “Tony Blair” ได้เคยกล่าวไว้ว่า
1.การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก  2. สังคมจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่พูดถึงการปรองดอง ยอมรับความแตกต่างและความไม่พอใจ 3. เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ การปรองดองจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุยลึกลงไปในประเด็นความยุติธรรมและความสมดุล 4. การปรองดองจะต้องมาจากประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับความเท่าเทียมไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
คำว่า ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม ทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรม เพื่อให้คนในสังคมยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้น การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเมืองสามารถนำมาซึ่งนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง มีความโปร่งใส และระบบธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และนำไปสู่ความปรองดองได้ง่ายขึ้น
5. การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น ให้เขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น
ก็ขอให้ทุกท่านได้นำไปพิจารณา ไตร่ตรอง ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เราจะทำอย่างไร นี้เป็นชาวต่างประเทศพูด และเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับกันทั้งโลก เขาพูดมาแบบนี้ ผมคิดว่าก็น่าคิด น่าจะนำมาเป็นวิธีการส่วนหนึ่งในการทำงานของเรา แต่ก็ต้องปรับให้ตรงกับบ้านเมืองของเราด้วย แต่ผมคิดว่าก็ถูกต้องทั้งหมด จะทำให้ได้ก็แล้วกัน วันนี้พยายามทำทุกอัน เพราะฉะนั้นเราต้องให้เกิดความสมานฉันท์อย่างยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะตอนนี้หรือนำเรื่องปรองดองกับเรื่องผิดกฎหมาย เรื่องคดีความ ปนกันไปหมด ก็แกะอะไรกันไม่ออกสักเรื่อง กฎหมายก็ให้กฎหมายเขาทำงานกันไป ปรองดองก็ต้องเดินหน้าสร้างสังคมปรองดองกันให้ได้ รัฐบาลก็ขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จิตวิทยา และก็เตรียมการเลือกตั้งให้ได้ ตอนนี้ปัญหาเรื่องกฎหมาย เรื่องความผิด ความถูก ตีกันอยู่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ประเทศชาติสำคัญกว่า สำคัญที่สุด คนผิดก็ไปสู้คดีกันมา ก็ตัดสินออกมาแล้วกัน ตามกฎหมายเขาว่าอย่างไร ก็ฟังเหตุฟังผลกัน แต่ถ้าทะเลาะกันเรื่องความผิดตรงนี้ แล้วบอกว่ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนี้ รัฐบาลก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ก็ทำเพื่อช่วย 2 กลุ่ม 3 กลุ่มนี้หรือเปล่า ขับเคลื่อนอะไรก็ไม่ต้องขับเคลื่อน เศรษฐกิจก็ปล่อยเป็นอย่างนี้ คนไม่มีอะไรกินก็ช่างเขา หรืออย่างไรผมไม่เข้าใจ ผมถามท่านก็แล้วกัน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำมาหลายเรื่อง ที่ดำเนินการไปแล้วเป็นรูปธรรม ท่านไปดูว่าทำอะไร ช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาภาระเบื้องต้น ข้าว ยางพารา อ้อย ลดต้นทุนการผลิต ก็เริ่มต้นทำให้ บริหารจัดการเรื่องราคา จัดหาตลาด พบปะทุกประเทศ พูดหมดในประชาคมโลก
การจัดระเบียบสังคม การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว การจดทะเบียน – จัดระเบียบคิวรถตู้ วินมอร์เตอร์ไซค์ จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย ชายหาด สถานที่บริการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เพื่อให้ประเทศเราน่าท่องเที่ยว เกิดความไว้วางใจ การปราบปรามผู้ใช้อาวุธสงครามผู้มีอิทธิพล ซึ่งตำรวจกำลังส่งฟ้องอยู่ ตั้งหลายคน คดีทั้งหมด ก็นำเข้าสู่ระบบทั้งหมด ไม่ต้องกลัว ก็สอบสวนไป ก็สู้คดีกันไป ผมก็ไปเร่งรัดอะไรไม่ได้ เป็นเรื่องของกฎหมาย ใครทำให้เดือดร้อนมากหรือรุนแรงมาก เขาก็ต้องพิจารณาก่อน ผมว่า หลักการเขาว่าอย่างไร
การปล่อยเงินกู้นอกระบบ เรากำลังคิดอยู่ว่าจะลดหนี้ภาคประชาชนอย่างไร หนี้ครัวเรือนอย่างไร ไม่ใช่แก้กันง่าย ๆ สะสมมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้มันลงมาที่นี้หมด ก็ต้องแก้ให้ได้เหมือนกัน แต่ต้องใช้เวลาในระยะยาว วันนี้ก็พยายามจะออกกฎหมาย เพื่อให้คุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ – ลูกหนี้ มากมายซับซ้อน
เรื่องการผลักดันการใช้งบประมาณปี 2557 เรียนไปแล้ว และการจัดทำงบประมาณปี 2558 ที่ติดขัดอยู่ ทั้งหมดทำเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่การคาดเดาการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบต่าง ๆ อีกมากมาย ปลายปีนี้จะออกไปทั้งหมด ในไตรมาสสุดท้าย และไตรมาสหนึ่งของต้นปีหน้า จะได้เดินไปได้ เพราะฉะนั้นเหลือเวลาอีกประมาณเดือนหนึ่ง ทุกคนก็ต้องเตรียมการอะไรให้เรียบร้อย แผนงาน โครงการ ผมติดตามจากทุกกระทรวง เขาก็พร้อมอยู่แล้ว ฉะนั้นเงินก็ต้องใช้ระบบการโอน การเบิกจ่ายไปตามขั้นตอนระเบียบราชการ ไม่ใช่ควักกระเป๋าซ้ายจ่ายกระเป๋าขวา วันนี้พรุ่งนี้ใช้ได้ ไม่ใช่ ต้องตรวจสอบอีกอะไรอีก ผมว่าอีกเล็กน้อย ส่วนใหญ่ก็ลงไปหมดแล้วในไตรมาสสุดท้าย ไตรมาสที่หนึ่งเตรียมการไว้แล้ว
ปัญหาทางการเมือง ไม่น่าจะเกิด ขอร้องพวกเรา ถ้ายังต่อสู้กันเรื่องนี้แล้ว ทำให้บ้านเมืองไปไม่ได้ เราพยายามทำทุกอย่างให้บ้านเมืองสงบ แต่ก็มีคนที่ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ โดยการนำเรื่องนี้มาปนเรื่องนี้ต่าง ๆ ประชาชนที่เหลือก็แบ่งแยกเอาแล้วกัน ผมเรียนไปแล้วว่าต้องมีสติในการรับรู้รับทราบ แล้วเราก็ออกมาเคลื่อนไหวกันอะไรกัน ทำไม่ได้ก็ต้องกลับไปปัญหาเดิมอีก
การส่งเสริมการลงทุน BOI ต่าง ๆ อนุมัติไปแล้วกว่า 100 โครงการ ก็เร่งอนุมัติไป เป็นการลงทุนของต่างประเทศ และในประเทศที่จะขยายกิจการด้วย ทั้งในประเทศไปลงทุนที่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย ไม่ใช่เงินของรัฐบาลทั้งสิ้น เราเพียงแต่อนุมัติสิทธิประโยชน์ เขามีการปรับปรุงทุกอย่าง เพื่อจะสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้คนของเราเข้มแข็งไปข้างนอก บอกแล้วไทย+1 อาเซียน+1 มาที่ไทย
การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มีไปแล้ว ใช้เวลาทั้งสิ้น การเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศและประชาคมโลก วันนี้กระทรวงการต่างประเทศต้องทำทั้ง 2 หน้าที่คือ ทางด้านพาณิชย์ด้วยคือ ทำอย่างไรให้เข้าใจราคาสินค้าเกษตร การลงทุนต่าง ๆ ผมให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นมิติใหม่ทั้งหมด นอกจากความสัมพันธ์อย่างเดียว
ในเรื่องของการรณรงค์สร้างความปรองดอง เราได้มีการจัดตั้ง อีกอย่างคือถือในเรื่องของการรณรงค์สร้างความปรองดอง ก็คงมี กอ.รมน. เป็นหลัก และ คสช. ก็จะรับหน้าที่ไปร่วมกับหน่วยงานพลเรือน ตำรวจ ทหาร และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) องค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งของแต่ละกระทรวง ไปช่วยกันด้วยแล้วกัน ครู อาจารย์ บางทีผมเห็นใน Social Media เขาเขียนมาว่า ครูโรงเรียนนั้น โรงเรียนนี้ก็ยังพูดเรื่องการเมืองที่ไม่ค่อยน่ารัก ฝากไว้ด้วยแล้วกัน คนดีเขามีมากมาย เขาต้องการให้ประเทศชาติไปข้างหน้า
ในเรื่องของต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนของประเทศไทยในต่างประเทศด้วย AEC Business Support Center ผมได้สั่งการไปแล้ว และได้ดำเนินการไปแล้วโดยกระทรวงการต่างประเทศ ท่านรองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแล เช่น สถานทูตไทยในเมียนมาร์และกัมพูชา เป็นที่พบปะ พูดคุย เจรจาธุรกิจของภาคเอกชนไทยและภาคเอกชนต่างชาติที่สนใจทำธุรกิจกับไทย กับคนไทย นอกจากนั้น สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยทั้ง 96 แห่งทั่วโลก กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง “มุมประเทศไทย (Thai Corner)” เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทย จัดแสดงสินค้าไทย สินค้า OTOP สินค้าศิลปาชีพในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ เอกสารเผยแพร่ข้อมูลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศไทย ทั้งแหล่งท่องเที่ยว แหล่งช็อปปิ้งวัฒนธรรม และโอกาสลู่ทางการค้าการลงทุน
การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด วันนี้มีประชาชนมาใช้บริการกว่า 2 แสนรายการ รวมทั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สิ่งที่จะเดินเนินการต่อไปในขณะนี้คือ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนการใช้จ่ายงบประมาณปี 2558 ให้ใช้ได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก การเสริมสร้างความปรองดอง การส่งเสริมการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ คู่ขนานไปกับการทำงานของ สปช. การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับพันธสัญญา และความจำเป็น และมีความทันสมัย การดำเนินการทุกมิติให้อยู่ในกรอบ Road Map ที่ คสช. ได้กำหนดไว้ การเร่งแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกรอบการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น การจัดตั้งหมู่บ้านเสริมความมั่นคง 162 หมู่บ้าน การจัดตั้งชุดคุ้มครองตำบลและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน รับผิดชอบเส้นทาง ดูแลครู โรงเรียน พร้อมทั้งจัดชุดเคลื่อนที่เร็วในหมู่บ้าน และการจัดตั้งศูนย์วิทยุระดับตำบล สิ่งนี้เป็นเรื่องของการเฝ้าระวัง การรักษาความปลอดภัย เพราะเราไม่ได้ไปทำร้ายใคร เราไปดูแลคนบริสุทธิ์ แต่มีผู้ที่ทำผิดกฎหมายอาญา มาทำร้าย มาฆ่าคนอยู่แบบนี้ จะให้ทำอย่างไร ก็ต้องมีกำลังไปดูแล จัดตั้งอาสาสมัคร (อส.) อะไรเพิ่มเติม เพราะกำลังเหล่านี้จะต้องรับผิดชอบ เมื่อทหารทั้งหมดที่อยู่นอกพื้นที่ถอนกำลังกลับ มีศูนย์วิทยุระดับตำบล เพิ่มเติมให้การรายงานเหตุการณ์ให้เร็วขึ้น มีการประสาน มีการบูรณาการระดับพื้นที่
ขณะนี้ผมได้สั่งการตั้งผู้ขับเคลื่อนบูรณาการในระดับพื้นที่ขึ้นมาอีก ให้ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีช่วยฯ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (รอง ผอ.รมน.) รับไปแล้ว ไปแก้ว่าจะทำอย่างไร นำพลตำรวจ ทหารมาขับเคลื่อนงานทุกกระทรวงที่ผมสั่งลงไปแล้ว ทุกกระทรวงเมื่อรับไปแล้วก็มีแท่งของตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องไปขับเคลื่อนข้างล่างด้วย วันนี้ข้างบนมีแล้ว ข้างล่างจะทำอย่างไร ก็ไปผลักดันให้ลงในพื้นที่ที่ต้องการ พื้นที่ที่มีปัญหา จะได้เกิด Impact ออกมาให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็กระจายหมด ก็ไม่ได้เรื่องอีกเหมือนเดิม เร่งไปแล้ว เมื่อวันที่ผ่านมาก็ได้พูดกับรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยไปแล้ว ท่านก็ดีใจมากที่จะได้มีคนไปช่วยกันขับเคลื่อนใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในอำเภอ จังหวัดต่าง ๆ ผมจะเน้นบทบาทภาคใต้ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) อำเภอ นายอำเภอเป็นหลัก ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ก็สนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งในหน้าที่ อะไรก็แล้วแต่ให้เข้มแข็งขึ้นโดยเร็ว เพิ่มศักยภาพให้ได้
ในเรื่องของการส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีประชาคมอาเซียน หลายเรื่อง การพูดคุยสันติภาพอะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องดำเนินการต่อไป นี้ก็มีแผนจะไปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านในเร็ว ๆ นี้ คงมีการพูดคุยก็เป็นการเดิน Track คู่กันไปกับการพัฒนา กับการรักษาความปลอดภัย การสร้างความเข้าใจ การประชาสัมพันธ์ เราต่างมีคำถามทั้งหมด ทำให้เกิดผลงานได้โดยเร็ว สงสารพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน บาดเจ็บ สูญเสีย เจ้าหน้าที่ก็สูญเสีย เพราะว่ามีคนที่ไม่เข้าใจอยู่ ก็ต้องไปทำอย่างไรให้เขาเข้าใจ มาพูดกันคุยกันให้รู้เรื่อง คนไทยด้วยกันทั้งนั้น
ขอขอบคุณ ประชาชน ส่วนราชการ ภาคธุรกิจเอกชน สื่อมวลชนทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันในการขับเคลื่อนประเทศ ขอให้ท่านร่วมกัน ทุ่มเท วางรากฐานต่าง ๆ ให้มั่นคง สร้างความรักความสามัคคี ทั้งในชุมชน ในขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ให้เรียบร้อย เราจะได้ร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
เมื่อวานนั้น “วันลอยกระทง” ผมได้เห็นเด็ก ๆ ใส่ชุดไทยไปโรงเรียนกัน เห็นแล้วก็น่ารัก ก็อดอมยิ้มไม่ได้เหมือนกัน ชอบเห็นคนไทยแต่งตัวแบบนั้น ไม่ใช่ว่าผมโบราณ แต่บางเวลาบางครั้งก็แต่งบ้างไม่เป็นไร จะแต่งสมัยใหม่ผมก็ไม่ได้ไปขัดแย้งกับท่าน บางวันก็ต้องแต่งให้เหมาะสม งานวัฒนธรรมก็แต่งให้เรียบร้อยเป็นไทย ๆ คนเขาชอบมาเที่ยว วันอื่น ๆ ท่านอยากจะแต่งอะไรก็แต่งไป อย่าให้ประเจิดประเจ้อก็แล้วกัน
ในส่วนของนักกีฬาเอเชียนบีชเกมส์ ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้มีการแข่งขัน แล้วได้จัดหางบประมาณให้ เมื่อวานก็มีมาพบปะพูดคุยกัน ผมก็ให้กำลังใจไปแล้ว จะกำลังจะเริ่มแข่งขันที่ภูเก็ต ในวันศุกร์หน้า ก็ขอเป็นกำลังใจ ขอให้พี่น้องประชาชนส่งกำลังใจไปเชียร์นักกีฬาด้วย ทุกคนมีความตั้งใจ เรื่องจักรยานก็เหมือนกันเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ก็ขอให้ใช้กันต่อไป วันนี้ก็เร่งรัดในเรื่องของการทำเส้นทางจักรยานเพิ่ม มีการจัดทำขบวนจักรยานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ใกล้ ๆ อย่างน้อยก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
เรื่องขยะ เหมือนกัน ขยะก็มีหลายประเภท อันตราย จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ก็ต้องสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ อีกมากมาย เดือดร้อนไปหมด เพราะฉะนั้นขยะ ถ้ากำจัดไม่ได้ แยกขยะไม่ได้ ขนย้ายไม่ได้ แล้วก็ไปเผาหรือฝังกลบ หรือจะทำโรงขยะ โรงไฟฟ้าขยะไม่ได้ แล้วขยะจะไปไหน ก็จะกองสุมไปเรื่อย ๆ 7 แสนตัน ปีหนึ่ง วันนี้ก็สะสมเป็นกองหนาอยู่ที่หลาย ๆ จังหวัด ทุกจังหวัดมีหมดขยะใหญ่ ๆ ลองดูตัวอย่างต่างประเทศที่ดูในโทรทัศน์ ผมพูดประเทศก็ได้ ประเทศเกาหลีใต้ เขามีกองขยะมหาศาลสูงท่วมหัวเป็นภูเขาเหล่ากาเลย เมื่อไม่กีปีมานี้ แล้วเขาใช้วิธีการ ควรไปดูเขาเหมือนกันว่าเขาทำอย่างไร แล้วปรากฎว่าวันนี้บนนั้นเป็นภูเขามีต้นไม้ขึ้น มีสถานที่ท่องเที่ยว มีลานตากอากาศ มีที่มากางเต้นท์ มีที่ทำอาหาร ครอบครัวมาเป็นที่ในเมือง ในกรุงโซล
ทำไมเขาทำได้ ผมว่าต้องมาจากความร่วมมือร่วมใจกัน ถ้าทุกคนยังคงถือของตัวเองว่า อันนี้ใช่ อันนี้ไม่ใช่ มาตลอดไม่ได้ ต้องหาตรงกลางให้เจอ แล้วพอรับกันได้ อันนี้พอเห็นต่างกันแล้วก็ขัดแย้งกันหมดเลย จะให้นำอันนี้ คนนี้ก็จะเอาอันนี้ ไม่มีทางจะหากันอย่างนี้ได้เลย ผมก็ฝากถามท่านไปเลยแล้วกันทุกคน แล้วคนไทยทุกคนที่เหลืออยู่ ที่ไม่ได้อยู่ในท่ามกลางความขัดแย้ง เขาจะอยู่ตรงไหน นึกถึงเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นทำอะไรก็ตามไม่ว่าจะฝ่ายการเมือง ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายอะไรก็แล้วแต่ ทั้งหมด ถ้าเราคิดว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางจะหาคำตอบได้ทั้งหมด ว่าท่านจะทำอย่างไรกันต่อไปในวันนี้วันหน้า ผมก็ทำเต็มที่แล้ว ก็ยังมีกำลังใจที่จะทำอยู่จากพ่อแม่พี่น้องที่ให้ผมมา ก็ทำเต็มที่ เพราะว่าเป็นอนาคตของประเทศชาติ ก็ให้กำลังใจกับรัฐบาลกับรัฐมนตรีทุกรัฐมนตรีด้วย การว่ากล่าวให้ร้ายตาม Social Media ผมเห็นหมด ก็มีการตรวจสอบอยู่แล้ว อย่ากังวล ก็แจ้งมาได้ ใครผิดใครถูก แจ้งมาอย่าเขียนจนเสียหาย อย่างนี้ไม่ได้เขาไม่มีโอกาสแก้ตัว บอกผมมาส่งรายละเอียดมาให้ชัดเจน ผมจะได้สอบสวนดำเนินคดี แค่นั้นเองจะยากตรงไหน แต่จะเขียน Social Media นี้ไม่ได้ ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทุกคนก็อาสาสมัครกันเข้ามาทั้งนั้น แต่ทั้งนี้อยู่ที่ขั้นตอนกระบวนการที่คนหลาย ๆ คนที่ต้องทำอะไรนี้ เขาซื่อสัตย์ไหม เราต้องสร้างให้เขาเข้มแข็ง วันนี้เราต้องสร้างข้าราชการให้เข้มแข็ง คนไม่ดีจะได้อยู่ไม่ได้ ผมจะรู้ได้ไหม นี้ดีไม่ดี ข้าราชการตั้งกี่แสนกี่ล้านคน ก็ต้องใช้ระบบในการคัดกรอง ไปว่ากันมาให้ได้ คนดีก็ต้องอย่าให้คนไม่ดีเข้ามา แต่อย่าไปทะเลาะเบาะแว้งกัน ขอบคุณ สวัสดีครับ