วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สาระ+ภาพ 62 ประเทศ มีใครบ้างติดป้ายเหลือง-แดง เตือนประชาชนเรื่องการเดินทางมาไทย



เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานระบุกระทรวงการต่างประเทศของไทย เผยรายชื่อประเทศและเขตการปกครองที่มีการประกาศเตือน เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทยแล้ว มี 62 ประเทศทั่วโลก
โดยประเทศที่ประกาศให้ "หลีกเลี่ยงการเดินทางมายังประเทศไทย หากไม่จำเป็น" ในระดับ "สีแดง" (avoid non-essential travel) มีทั้งสิ้น 19 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, สเปน, อิตาลี, ฟินแลนด์, รัสเซีย, กรีซ, ฮังการี, มอลตา, อิหร่าน, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สปป.ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, โครเอเชีย และไซปรัส
โดยอีก 43 ประเทศนั้น ได้แจ้งเตือน "ให้ใช้ความระมัดระวังในการเดินทางในประเทศไทยโดยให้เฝ้าติดตามสถานการณ์ และหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมนุม" ในระดับ “สีเหลือง" (warning /exercise caution/monitor situation/avoid certain sites) ได้แก่ แคนาดา, เม็กซิโก,บราซิล, ชิลี, อังกฤษ, ไอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ออสเตรีย, โปรตุเกส, สวิตเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, สวีเดน, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, ลิทัวเนีย, นอร์เวย์, โปแลนด์, สาธารณรัฐเช็ก, โรมาเนีย, ลัตเวีย, เอสโตเนีย, สโลวัก, ลักเซมเบิร์ก, ตุรกี, อินเดีย, คูเวต, กาตาร์, ซาอุดีอารเบีย, แอฟริกาใต้, เคนยา, ไนจีเรีย, อิสราเอล, คาซัคสถาน, มัลดีฟส์, ญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน, มาเก๊า, อินโดนีเซีย, บรูไน, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

นักวิชาการเชียงใหม่ร่วมเข้า "หารือ" กับทหารที่ค่ายกาวิละหลังได้รับเชิญจากทหาร-ตำรวจ



2 มิ.ย. 2557 - เวลา 13.00 น. ทีมนักวิชาการและนักเขียนหลายสิบคนในจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเข้าร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ทหาร ที่กองบังคับการกรมทหารราบที่ 7 ค่ายกาวิละ รายชื่อนักวิชาการบางส่วน เช่น อานันท์ กาญจนพันธุ์ ไชยันต์ รัชชกูล ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สมชาย ปรีชาศิลปกุล ภัควดี วีระภาสพงษ์ สุชาติ เศรษฐมาลินี วรวิทย์ เจริญเลิศ ไพสิฐ พานิชกุล พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ เป็นต้น
โดยก่อนหน้านี้ นักวิชาการในเชียงใหม่หลายคน โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ถูกทหารไปเชิญตัวถึงที่บ้าน บางส่วนทหารได้ติดต่อมาทางมหาวิทยาลัยเพื่อ "เชิญ" ไปพูดคุยทีละคน นักวิชาการดังกล่าวจึงได้รวมตัวและไปที่ค่ายกาวิละพร้อมกันในวันนี้ ทั้งนี้ ยังมีนักวิชาการบางส่วนที่ได้รับเชิญแต่ไม่สามารถไปได้เนื่องจากยังอยู่ต่างประเทศ
ทั้งนี้ นักวิชาการในกลุ่มดังกล่าว มีเพียงเก่งกิจ กิติเรียงลาภเท่านั้นที่มีชื่ออยู่ในคำสั่งรายงานตัวของ คสช. ซึ่งวันนี้ได้เดินทางไปรายงานตัวที่สโมสรกองทัพบกแล้ว
ล่าสุด เวลา 14.20 น. ทีมนักวิชาการหารือแสดงความเห็นต่อเจ้าหน้าที่ทหารในส่วนกรมทหารราบที่ 7 เสร็จสิ้น และเดินทางมาที่อาคารของมณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ. 33) บริเวณใกล้ๆ กัน หารือกับ พล.ต.ศรายุทธ รังษี ผบ.มทบ. 33 เพื่อหารือเรื่องลิสต์รายชื่อนักวิชาการที่ทางทหารมีการเชิญตัว
ทั้งนี้อานันท์ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ภายหลังกลุ่มนักวิชาการ นักเขียน หารือภายในกรมทหารราบที่ 7 เผยยังไม่มีความชัดเจนจากทหารว่าช่วงนี้สามารถเคลื่อนไหวเรื่องอะไรได้บ้าง โดยอานันท์ยังกล่าวว่าในส่วนของนักวิชาการนั้น "ได้แจ้งให้ทางกองทัพทราบว่าพวกเราคงต้องสนับสนุนประชาธิปไตย" และได้แสดงความห่วงใยกรณีที่มีนักวิชาการและบุคคลจำนวนมากอยู่ในรายชื่อเรียกควบคุมตัวของทหารในพื้นที่

สมาคมนักข่าวฯ จี้ตำรวจหยุดปลอมตัวเป็นสื่อฯ ปะปนเพื่อจับผู้ชุมนุม




โฆษกสมาคมนักข่าวฯจี้ ตร.หยุดปลอมตัวเป็นสื่อมวลชน ปะปนเพื่อจับผู้ชุมนุม ชี้กระทบต่อความปลอดภัยของสื่อโดยรวม เตรียมหาช่องทางทางกฎหมายดำเนินการ หากไม่ยุตินำปลอกแขนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เตือนสื่อเคารพต่อวิชาชีพสูญหายให้แจ้งสมาคมต้นสังกัดทันที ไม่นำปลอกแขนไปให้ผู้อื่นใช้แทน เตรียมรื้อระบบทำปลอกแขนใหม่เร็วๆ นี้
2 มิ.ย.2557 นายมานพ ทิพย์โอสถ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ในฐานะโฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีคลิปวิดีโอเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบสวมปลอมแขนสีเขียวอ่อน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์  วิทยุ โทรทัศน์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการชุมนุมทางการเมือง เข้าจับกุมผู้ชุมนุมรายหนี่งนั้น ถือเป็นภาพที่สมาคมนักข่าวฯ ไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการปฏิบัติการดังกล่าวมีสัญลักษณ์ของสื่อมวลชนไปปรากฏอยู่ด้วย การกระทำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของผู้สื่อข่าวและช่างภาพ ทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนโดยรวม
นายมานพ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รักษาราชการแทน ผบ.ตร.และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร.ที่ดูแลการชุมนุม ให้สั่งการให้มีการทบทวนการปลอมแปลงตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะดังกล่าว เพื่อเข้าทำการจับกุมบุคคล หรือหาข่าวในพื้นที่การชุมนุม เพราะส่งผลอย่างยิ่งต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนภาคสนาม อีกทั้งยังถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติสื่อมวลชน เพราะปลอกแขนดังกล่าวมีตราสัญลักษณ์ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ติดอยู่ มีการผลิตและมีหมายเลขของบุคคลตลอดจนสังกัดปรากฏอยู่ในระบบการแจกจ่าย เพื่อให้การทำงานของสื่อมวลชนเป็นไปอย่างเปิดเผยในพื้นที่การชุมนุมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
“ตำรวจมีวิธีการปลอมแปลงตัวเพื่อจับกุมหรือหาข่าวได้หลายวิธี แต่การใช้วิธีดังกล่าวส่งผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างยิ่ง หากยังไม่ทบทวน สมาคมนักข่าวฯ จะพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน นำปลอกแขนของสื่อไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ต่อไปในทุกกรณี” โฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กล่าว
โฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กล่าวด้วยว่า สองสมาคมวิชาชีพสื่อจะร่วมกันออกแบบปลอกแขนของสื่อมวลชนใหม่ เพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลง มีความคงทน และระบุตัวบุคคลอย่างชัดเจนในเร็วๆ นี้ และขอเรียกร้องให้เพื่อนสื่อมวลชนรักษาปลอกแขนแห่งวิชาชีพไว้อย่างดี หากสูญหายให้รีบแจ้งสมาคมต้นสังกัดทันที และขอความร่วมมือเพื่อนสื่อมวลชนงดนำปลอกแขนไปให้แหล่งข่าวด้านความมั่นคง หรือบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเกียรติภูมิต่อวิชาชีพสื่อโดยรวม

นักกิจกรรมในมาเลย์ประท้วงรัฐประหารไทยที่หน้าสถานทูตไทยในกัวลาลัมเปอร์



2 มิ.ย. 2557 กลุ่มนักกิจกรรม 25 องค์กรในมาเลเซีย รวมตัวกันต่อต้านระบอบทหาร เรียกร้องคณะรัฐประหารไทยคืนประชาธิปไตยและยกเลิกกฎอัยการศึกทันที
ทั้งนี้ กลุ่มนักกิจกรรมในมาเลเซียได้รวมตัวกันที่หน้าสถานทูตไทย เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ห้วหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านสถานทูตไทยในกัวลาลัมเปอร์ ประณามการรัฐประหารและการควบคุมตัวนักกิจกรรม นักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้สื่อข่าว  โดยมีข้อเรียกร้อง 7 ข้อหลักได้แก่
  • 1 .ให้ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยทันที และทหารต้องกลับสู่กรมกอง เปิดทางให้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • 2 นำรัฐธรรมนูญกลับมาใช้ คืนสิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน
  • 3 ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  หยุดจับกุมนักกิจกรรมทางการเมืองและประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม
  • 4 เคารพเสรีภาพสื่อและยินยอมให้สื่อได้ทำงานอย่างอิสระโดยปราศจากการคุกคามและเซนเซอร์
  • 5 เรียกร้องให้คู่ขัดแย้งทางการเมืองทั้งสองขั้วหันหน้าเข้าสู่การเจรจาเพื่อหาทางออกจากวิกฤตการเมือง
  • 6 รัฐบาลในอาเซียนต้องเรียกร้องให้คณะรัฐบาลทหารในไทยยุติการทำรัฐประหาร
  • 7 ประชาชาสังคมนานาชาติและสหภาพแรงงานต้องต่อต้านคณะรัฐบาลทหาร และสนับสนุนการฟื้นฟูประชาธิปไตยและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย

จดหมายเปิดผนักดังกล่าวระบุด้วยว่า กลุ่มนักกิจกรรมในมาเลเซียที่ร่วมกันลงชื่อต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้ จะยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาชนไทยทั้ง ที่อยู่ทั้งในและนอกประเทศไทยผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของไทย
000
JUNE 2, 2014
Gen. Prayuth Chan-Ocha
National Council for Peace and Order
Via
H.E. Mr. Krit Kraichitti
Ambassador
Royal Thai Embassy
206, Jalan Ampang, Kuala Lumpur,
50450, Kuala Lumpur, WP Kuala Lumpur,
Malaysia
RESTORE DEMOCRACY IN THAILAND: ILLEGITIMATE MILITARY JUNTA STEP DOWN IMMEDIATELY
We the undersigned civil society organizations, trade unions and democratic movements in Malaysia demand that the military rule in Thailand be immediately ended and democracy be restored. The political crisis in Thailand should be resolved in a democratic and peaceful manner where the people of Thailand will be able to participate in the fullest sense in determining the future of the country. 
We have seen that all experiences with military juntas all over the world have spelled the death of democracy. Military rule and repression is not the solution to resolve the current political impasse in Thailand, but rather to fuel it further, at the expense of all Thai people, especially the workers, farmers and other working people.
Since the announcement of the martial law on 20 May and the military take over on 22 May, the constitution of Thailand has been suspended. This effectively gives the military unlimited powers to restrict human rights and fundamental freedoms guaranteed in the constitution and replace them with martial law provisions. Under the martial law, the military can prohibit any activity, censor the media, outlaw meetings and assemblies, search and seize any item, occupy areas, and detain people without charge for up to seven days. We are extremely concerned with the massive human rights violations that are taking place now and this certainly does not help to improve the political situation in Thailand.
Press freedom has been severely undermined by the military regime with the soldiers taking over television and radio stations, censorship of print media and threats to close down social media. While this is not only preventing the Thai people to access information crucial on the political development in Thailand and to make an informed decision, it is also censoring information and news reporting that are critical of the military takeover and the monarchy that plays a pivotal role in  Thai politics. 
There have been mass arrests as well and these included wide sections of Thai civil society and political parties. Among those arrested are trade unionists, mass organization leaders, political party leaders from both the contending political parties, journalists, academics, ex-political prisoners and even the families of current political detainees, such as the wife and son of Somyot Phueksakasemsuk, who were convicted for lese majeste. As most of these detainees are held at undisclosed locations and have no access to their families and lawyers, this raises grave concerns on their well-being given that they are totally at the mercy of the military and the action of the military cannot be challenged under the martial law. We condemn these arbitrary arrests and the incommunicado detention.
Furthermore, all protest and peaceful assemblies have been banned and clamped down by the military, including those critical of the military coup. The Commander in Chief of the Royal Thai Army, General Prayuth Chan-ocha has warned that stricter action will be taken against those that continue to defy the military orders.   
In addition, the military junta has issued orders for lese majeste cases to be tried in a military court instead of civil court. Violation of the junta’s orders will also be tried in military court. This severely undermines the right to independent and fair trial of the Thai people, the independence of the judiciary and the rule of law. 
Such a wide net cast over the Thai peoples is clearly indicative of the military regime’s intention to silence all critics of the military coup and the monarchy.
We reject the military junta’s justification that the coup is to restore peace and order. This is totally unacceptable and we as members of the international community and members of ASEAN demand the following:
  • 1. Repeal the martial law immediately, and all soldiers should return to their barracks and the elected government should be restored.
  • 2.  Reinstate the Constitution of Thailand and rights and fundamental freedoms of the people
  • 3. Release all political detainees, including those held under the insidious lese-majeste law and stop the arrests of all political dissidents and people calling for democracy and justice.
  • 4. Respect press freedom and allow the media to operate freely without harassment and censorship.
  • 5 The two sides of the political divides in Thailand to return to political negotiations in order to find a solution to the political crisis.
  • 6. ASEAN governments to urge the military regime to end the coup in Thailand.
  • 7. Global civil society and trade unions to oppose the military regime and support the restoration of democracy in Thailand.

We stand in solidarity with all the people, inside and outside Thailand, who continue to stand and struggle for democracy in Thailand.
End Martial Law, Restore Democracy!
Endorsing organizations:
  • 1. Malaysian Support Group for Democracy in Thailand
  • 2. Persatuan Sahabat Wanita Selangor
  • 3. Suara Rakyat Malaysia (SUARAM)
  • 4. Damn the dams
  • 5. Peoples Green Coalition
  • 6. Persatuan Komuniti Prihatin Selangor & KL
  • 7. Selangor and KL Chinese Assembly Hall Youth Section
  • 8. Knowledge and Rights with Young people through Safer Spaces (KRYSS)
  • 9. Parti Sosialis Malaysia (PSM)
  • 10. Dignity International
  • 11. Asia Floor Wage Alliance
  • 12. Pax Romana ICMICA
  • 13. North South Initiative
  • 14. Women’s Aid Organization (WAO)
  • 15. Jaringan Orang Tertindas (JERIT)
  • 16. Writer Alliance for Media Independence
  • 17. Malaysians Against Death Penalty and Torture (MADPET)
  • 18. Persatuan Kesedaran Komuniti Selangor (EMPOWER)
  • 19. Saya Anak Bangsa Malaysia
  • 20. Tenganita
  • 21. Malaysia Youth & Students Democratic Movement (DEMA)
  • 22. Civil Rights Committee of Selangor and Kuala Lumpur Chinese Assembly Hall
  • 23. Malaysia Trade Union Congress (MTUC)
  • 24. National Indian Action Team (NIAT)
  • 25. Pusat Komas

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย ร่อน จม.ถึง คสช. ขอช่วยคุ้มครองความปลอดภัยชาวบ้าน



           1 มิ.ย.2557 กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ส่งจดหมายเปิดผนึก ด่วนที่สุด ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย, พล.ต.ต. ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเลย และ พ.ต.อ.สมหมาย ศรีคำแดง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังสะพุง เรื่อง ขอความคุ้มครองชาวบ้าน พยานและผู้เสียหาย กรณีคดี คืน 15 พฤษภาทมิฬ เนื่องจากทราบข่าวว่ามีการจ้างวานให้สังหารแกนนำกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ภายในวันที่ 30 พ.ค. หรือภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยในคืนวันที่ 30-31 พ.ค. มีบุคคลน่าสงสัยพร้อมอาวุธปืนเข้ามาในบริเวณหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านทั้ง 6 หมู่บ้านไม่กล้าออกจากบ้านกรีดยาง และไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติสุขได้อีกต่อไป จึงขอให้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาคุ้มครองชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน แกนนำ พยานและผู้เสียหายที่ถูกทำร้ายร่างกายจากการขนแร่ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในคืนที่ 15 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาด้วย

ด่วนที่สุด
จดหมายเปิดผนึก
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด
14 หมู่ 3 บ้านนาหนองบง
ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย 42130
วันที่ 1 มิถุนายน 2557

เรื่อง ขอความคุ้มครองชาวบ้าน พยานและผู้เสียหาย กรณีคดี คืน 15 พฤษภาทมิฬ
เรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
        ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
        พล.ต.ต. ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเลย
        พ.ต.อ.สมหมาย ศรีคำแดง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังสะพุง

             เนื่องจากเมื่อบ่ายวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้ทราบข่าวจากสายข่าวที่เชื่อถือว่าได้มีนายหน้าว่าจ้างมือปืนให้สังหารแกนนำกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดที่คัดค้านเหมืองทองคำ ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด
             รายละเอียดระบุว่า มีการส่งมือปืนเข้ามาสอดส่องในหมู่บ้านนาหนองบงคุ้มใหญ่ และหมู่บ้านนาหนองบงคุ้มน้อย เป็นเวลา 2 วันแล้ว (28 – 29 พฤษภาคม 2557) ตามคำสั่งให้สังหารแกนนำกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด โดยจะจ่ายค่าจ้างเป็นค่าหัวแกนนำ หัวละ 3 แสนบาท ให้กับมือปืน และให้จัดการให้เรียบร้อยภายในคืนที่ 30 พฤษภาคม 2557 หรือให้จบงานภายใน 1 อาทิตย์
              ต่อมา ในคืนที่ 30 พฤษภาคม 2557 มีชายฉกรรจ์ 5-6 คน พร้อมอาวุธปืนครบมือซ่องสุมอยู่บริเวณหมู่บ้าน ต่อมา คืนที่ 31 พฤษภาคม 2557 รถกระบะสีดำสี่ประตู พร้อมอาวุธปืนครบขับวนเวียนอยู่รอบๆ หมู่บ้าน
             เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ชาวบ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน หวาดกลัว ไม่กล้าออกจากบ้านกรีดยาง ทุกๆ บ้านจะปิดไฟปิดประตูเงียบตั้งแต่พระอาทิตย์เริ่มตกดินไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติสุขได้อีกต่อไป
            ทางกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาคุ้มครองชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน แกนนำ พยานและผู้เสียหายที่ถูกทำร้ายร่างกายจากการขนแร่ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในคืนที่ 15 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านดำเนินการโดยเร่งด่วน
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด
1 มิถุนายน 2557

รอง ผบ.ตร.ชี้แจงเหตุอุ้มผู้ชุมนุมขึ้นแท็กซี่ไม่ใช่ตำรวจแต่เป็นสามีพาภรรยากลับบ้าน


รอง ผบ.ตร. เผยขณะนี้ใช้ตำรวจนอกเครื่องแบบมาร์คผู้ชุมนุมไว้ก่อนแล้วจับภายหลัง แต่ปฏิเสธกรณีจับสตรีที่แยกอโศกขึ้นรถแท็กซี่ว่าบุคคลดังกล่าวไม่ใช่ตำรวจ และอาจเป็นเหตุการณ์สามีพาภรรยากลับบ้าน ขณะที่ช่วงกลางวันนี้แถลงที่ บช.น.ว่า ว่าขณะนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญ-ดังนั้นชูมือหรือชู 3 นิ้วก็ผิดกฎอัยการศึก
ภาพจากคลิปเหตุการณ์กลุ่มชายฉกรรจ์ลักพาตัวสุภาพสตรีรายหนึ่งหลังเหตุชุมนุมต้านรัฐประหารที่แยกอโศก เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2557 (ที่มา: บางกอกโพสต์)

2 มิ.ย. 2557 - กรณีที่มีรายงานว่าในการชุมนุมต้านรัฐประหารเมื่อวานนี้ (1 มิ.ย) มีผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมด 6 ราย โดยถูกส่งมาควบคุมตัวที่กองปราบปราม ประกอบด้วย น.ส.วาริน ทินกร อายุ 71 ปี ถูกจับที่แยกราชประสงค์ นอกจากนั้นถูกควบคุมตัวจากแยกอโศก และฟอร์จูนทาวน์ ได้แก่ น.ส.นุชรา สุขแสวงบุญ อายุ 48 ปี น.ส.สุนันทา พ่วงศิริ อายุ 50 ปี นายมงคล แสงสุดา อายุ 43 ปี น.ส.จิราพร วราพิศิษฐ์ อายุ 53 ปี และ นายสุเมศ วิโรจน์ชัยยันต์ อายุ 40 ปี
นอกจากนี้บริเวณริมถนนใกล้โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท เกิดเหตุมีสุภาพสตรีอายุ 40 ปี ถูกชายอย่างน้อย 5 คน รวบตัวหลังเหตุชุมนุมต้านรัฐประหาร โดยสุภาพสตรีคนดังกล่าวขึ้นรถแท็กซี่สีชมพู ป้ายทะเบียนรถ ทข 422 กรุงเทพมหานคร โดยจากคลิปของบางกอกโพสต์ มีชายสามคนยืนคุมสตรี 1 ราย ชายอีก 2 คนนั่งอยู่ในรถแท็กซี่ ทั้งหมดช่วยกันดึงตัวหญิงคนดังกล่าวเข้าไปในรถแท็กซี่ ระบุว่าจะพาไป สน. แต่หญิงขนดังกล่าวขัดขืน ก่อนที่ชายทั้งหมดจะลักพาหญิงคนดังกล่าวไปส่ง สน. ทั้งนี้มีพลเมืองดีเก็บกระเป๋าของหญิงคนดังกล่าวที่ตกในที่เกิดเหตุไว้ได้ ตรวจสอบภายในพบบัตรประชาชน 2 ใบ ระบุชื่อ น.ส.ไพลิน พ่วงศิริ อยู่เขตสวนหลวง กทม. และ น.ส.สุนันทา พ่วงศิริ อยู่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
รอง ผบ.ตร.เผยมี ตร.นอกเครื่องแบบมาร์คผู้ชุมนุม ส่วนกรณีอุ้มขึ้นแท็กซี่เป็นเหตุสามีตามภรรยากลับบ้าน
โดยเช้าวันนี้ในรายการข่าว "เจาะลึกทั่วไทย" ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อผู้ชุมนุมว่า "เราจะไม่ทำการจับกุมผู้ชุมนุมในขณะมีฝูงชนจำนวนมากๆ มีทั้งประชาชน ผู้สื่อข่าว แต่จะใช้ตำรวจนอกเครื่องแบบมาร์คท่าน พอท่านออกจากที่ชุมนุมเราจะจับกุมท่าน เมื่อวานนี้จับกุมได้ 6-7 ราย จากนั้นผู้สื่อข่าวถามว่า "อ๋อ นอกเครื่องแบบที่จับกุมขึ้นแท็กซี่ใช่ไหมครับ" ทำให้ พล.ต.สมยศ ตอบว่า "อันนั้นผมไม่แน่ใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจนะครับ อาจจะเป็นสามีเขาก็ได้ ซึ่งไม่ต้องการให้ผู้ชุมนุมมาชุมนุม ก็เลยพาตัวภรรยาเขากลับบ้าน ส่วนที่เราจับ เราจับโดยที่เปิดเผย และไม่มีการกระทำเช่นนั้น บอกแล้วว่าทหารและตำรวจไม่ปฏิบัติโดยใช้วิธีรุนแรง"
บช.น.ประชุมรับมือ รอง ผบ.ตร.เผยต้องปิดการจราจรเพราะหัวหน้า คสช. ต้องการเลี่ยงเผชิญหน้า
นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานวันนี้ว่า ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มีการประชุมงานด้านความมั่นคง ประเมินสถานการณ์และกรอบการปฏิบัติหน้าที่บริเวณจุดที่มีการชุมนุมต้านรัฐประหาร โดยผู้ที่มาประชุมเช่น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาราชการแทน ผบช.น. และ รอง ผบช.น. ต่างๆ รวมทั้ง พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.ศ. ช่วยราชการรอง ผบช.น. และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง
พล.ต.อ.สมยศ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า  การประชุมดังกล่าวเพื่อประเมินผลการชุมนุม และวางแผนการปฏิบัติในวันต่อๆ ไป ทั้งนี้แนวนโยบายคือการประเมินสถานการณ์ ทหารมีฝ่ายข่าว ตำรวจก็มีฝ่ายข่าว นำมาประเมินร่วมกัน ก่อนกำหนดยุทธวิธี โดยผู้กำหนดยุทธวิธีคือ ทหาร เป็น ผบ.เหตุการณ์ ตำรวจเป็นผู้ให้การสนับสนุน ที่ผ่านมาเมื่อมีการชุมนุม จำเป็นต้องปิดการจราจร เพราะหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเกิดขึ้น ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม หรือทหาร ตำรวจ เราไม่มีความต้องการไปปิดถนน เพราะทำให้ประชาชนเดือดร้อน แต่ที่เราต้องปิดถนนหรือบล็อกพื้นที่ก่อนนั้น เพราะไม่ต้องการให้ผู้ชุมนุมได้ใช้พื้นที่ เพราะรู้ดีว่าเมื่อผู้ชุมนุมเข้าไป แล้วเราเข้าไปทีหลังมันสุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า อาจทำให้สูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ต้องการให้มีเกิดเหตุเช่นนั้นเกิดขึ้น
ตอนนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญ ยืนชูมือหรือชู 3 นิ้วถือว่าผิดกฎอัยการศึก
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายงานด้วยว่า ทั้งนี้มีผู้ถามว่า หากผู้ชุมนุมชูสัญลักษณ์เช่นชู 3 นิ้ว จะถือว่ามีความผิดหรือไม่ พล.ต.อ.สมยศกล่าวว่า การชุมนุมตามรัฐธรรมนูญเดิมที่ถูกพักใช้ บัญญัติว่าการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ไม่เป็นความผิด แต่ขณะนี้ประเทศไทยใช้กฎหมายกฎอัยการศึก การชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จึงถือว่าเป็นความผิด ไม่ว่าท่านจะมียืนชูมือ ชูนิ้วเฉยๆ ก็ถือว่าเป็นความผิด ผู้ชุมนุมหรือประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ไม่ว่าจะมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาเพราะอุดมการณ์ หรือถูกชักชวน หรือถูกจ้าง ต้องทำความเข้าใจว่าการชุมนุมด้วยรัฐธรรมนูญที่ถูกพักไปกับการชุมนุมโดยใช้กฎอัยการศึกมันคละเรื่องกัน จึงถือว่ามีความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประกาศคณะ คสช. ฉบับที่ 49 ออกมาว่า ใครก็ตามที่ให้ใช้สถานที่ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรมหรือสถานที่ใดๆ กับผู้ชุมนุม จะมีความผิดกับประกาศ คสช. ฉบับที่ 49 ในฐานะผู้สนับสนุน (อ่านต่อที่หนังสือพิมพ์ข่าวสด)