วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ม็อบประชาธิปัตย์สุดชั่ว! ตามด่าเด็กนักเรียนสตรีวิทยา "ชาติจะชิ....หายอยู่แล้ว ยังมีหน้ามานั่งเรียนอีกเหรอ"


ม็อบประชาธิปัตย์สุดชั่ว! ตามด่าเด็กนักเรียนสตรีวิทยา "ชาติจะชิ....หายอยู่แล้ว ยังมีหน้ามานั่งเรียนอีกเหรอ"


           วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) ม็อบประชาธิปัตย์เลว! ไล่ด่านักเรียนสตรีวิทยาในพันทิพย์ กล่าวหา "ประเทศจะชิบหายอยู่แล้ว ยังมีหน้ามานั่งเรียนอีกเหรอ"


         จากกรณีที่ เว็บพันทิพย์ ได้เผยแพร่ความเห็นของเด็กนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสตรีวิทยา ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุม โดยได้เขียนข้อความไว้ตามลิ้งนี้ http://pantip.com/topic/31196976%20%20%20%E0%
B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD 

           โดยเด็กนักเรียนได้ตั้งข้อสังเกตเพียงว่า เสียงเครื่องขยายเสียงรบกวนการเรียนการสอน ขอให้ลดเสียงในบางเวลา หรือเปิดลำโพงตอนหลังเลิกเรียนได้ไหม


           ปรากฏว่า หลังจากเผยแพร่ข้อความนี้ออกไป กลุ่มผู้สนับสนุนม็อบประชาธิปัตย์ ได้เข้ามากล่าวตำหนิความเห็นนักเรียนคนดังกล่าวอย่างรุนแรง อาทิ "ประเทศจะชิ...หายอยู่แล้ว ยังมีหน้ามานั่งเรียนอีกเหรอ" โดยมีข้อความดังต่อไปนี้ตามภาพ

********************************









"เอม-อุ๊งอิ๊ง" โพสท์ขอบคุณทุกกำลังใจ "อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นใจ!"


"เอม-อุ๊งอิ๊ง" โพสท์ขอบคุณทุกกำลังใจ "อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นใจ!"


         วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) คุณเอม-พินทองทา ชินวัตร และ คุณอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร โพสท์ข้อความผ่านอินสตาแกรม ขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้แก่ครอบครัว "ชินวัตร" ทุกคนอาจมีน้อยใจ ท้อใจ แต่ยังเข้มแข็งไม่ต้องห่วง

คุณเอม-พินทองทา ชินวัตร ได้เขียนข้อความในอินสตาแกรมว่า

         "ขอบคุณทุกๆกำลังใจ ที่มีให้เอมและครอบครัวนะคะ ทุกกำลังใจมีค่ามากๆ ขอบคุณทุกๆ comments ที่คอยปกป้อง ยอมรับมีน้อยใจ ท้อใจบ้าง แต่ยังเข้มแข็งอยู่ค่ะ ไม่ต้องห่วงนะคะ ขอบคุณทุกๆ คนจริงๆค่ะ"

ในขณะที่คุณอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ได้เขียนข้อความเป็นเนื้อเพลงว่า

         "อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นใจ อย่าไปคิดว่ามันเป็นวันสุดท้าย น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย หากไม่รู้จักเจ็บปวด ก็คงไม่ซึ้งถึงความสุขใจ"

LEADING WOMEN: YINGLUCK SHINAWATRA PART 1


LEADING WOMEN: YINGLUCK SHINAWATRA PART 1


LEADING WOMEN: YINGLUCK SHINAWATRA PART 1

           A politician under constant scrutiny, Yingluck Shinawatra, a Thailand’s first female Prime Minister. She decided to enter politics in 2011 following the footsteps of her father and her older brother Thaksin Shinawatra, a former country leader who is removed from power in 2006. Even though Thaksin remains in exile, critics said that he is the one calling the shot. So after two years in offices, has Yingluck left the shadow of her older brother? Is she a leading woman in her own right?

This is my profile of the Thai Prime Minister.

Yingluck Shinawatra stepped onto the political stage in 2011 winning a landslide victory in elections to become Thailand’s first female Prime Minister.


New to politics, she was criticized for handling the flood that devastated the country just weeks after she took office.

Now more than two years after she stepped onto the global stage, Yingluck Shinawatra says she wants to be judged by her achievements.

PM: “A lot of key stakeholders so you may have to make sure that you keep all the stakeholders happy.”


Her government raised the country minimum wage.

She’s even taken on the job of Defense Minister. Just one of the challenges she says she’s uniquely qualified to handle because she’s a woman.

PM: “Female will be more concern on the morale and the supporting, and also building the teamwork.”

But Yingluck Shinawatra has been unable to bridge the deep political divide in her country. She’s the youngest sister of the former Prime Minister who’s now living in exile but her critics say he is still calling the shots.

Kristie: “How do you respond to that?”

PM: “Just think that okay we have to work harder to show and to prove. But now two years, I think less criticized about this because if I'm relying on him, I don't think I can be survived to handle during, especially during the floods, or during the hard time.

Kristie: you're saying you've proven yourself
PM: “I think I proved myself but people will trust me or not.

Under scrutiny, not only because of her family history but for everything from her trip abroad to her fashion choices.
One of Yingluck Shinawatra’s priority, improving opportunities for women and children, and recognizing their accomplishments while weathering a tough political environment.

As she launched "SMART LADY THAILAND”, a reality TV show that her government says is meant to empower young women,
Prompted a jab from the opposition leader about a “stupid lady”.
While Abhisit Vejjajiva later said the remark was not directed to the Prime Minister and not intended as an insult to women, her supporters call it “sexist”.

PM: “I don't want to interpret what he means, but only thing that I would like to tell that, please give chance for all ladies or Thai people whoever give the negative. we think that this is the opportunity for us to talk the positive way.”

That approach grasps a political strategy for those to what she sees as her signature style.

PM “People don’t expect you to play the politic. People expect you to run the country with the sincerity and also doing hard effort as much as you can to deliver what we promised to the Thai people

CNN สัมภาษณ์พิเศษ "นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตอนที่ 1 : ย้ำจุดยืน "ประชาชน ไม่ได้เลือกดิฉันมาเล่นการเมือง แต่เลือกดิฉันมาบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้า"


CNN สัมภาษณ์พิเศษ "นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตอนที่ 1 : ย้ำจุดยืน "ประชาชน ไม่ได้เลือกดิฉันมาเล่นการเมือง แต่เลือกดิฉันมาบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้า"


         
          “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ นักการเมืองหญิงผู้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด เธอเข้าสู่การเมืองในปี 2011 ตามรอยเท้าของพ่อ และ พี่ชาย “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกออกจากอำนาจในปี 2006 ถึงแม้ว่า “ทักษิณ” จะยังคงลี้ภัยทางการเมือง นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าเขายังคงเป็นผู้ตัดสินใจ

         “ยิ่งลักษณ์” ออกจากเงาของพี่ชายหลัง 2 ปีในการทำงานเป็นรัฐบาลแล้วหรือไม่ และ เธอเป็นผู้นำหญิงตัวจริงหรือไม่ นี่คือประวัติของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ของดิฉัน

         “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก้าวสู่เวทีการเมืองในปี 2011 กับชัยชนะในการเลือกตั้งเสียงด้วยคะแนนเสียงข้างมาก จนกลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

        ในความเป็นมือใหม่ทางการเมือง เธอถูกวิพากษ์ วิจารณ์ว่าล้มเหลวในการบริหารจัดการมหาอุทกภัยใหญ่ที่โจมตีประเทศหลังได้รับหน้าที่เป็นรัฐบาลได้เพียง 2 อาทิตย์

        ปัจจุบัน หลัง 2 ปีที่เธอได้ก้าวเข้าสู่เวทีโลก “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” กล่าวว่าอยากให้ตัดสินเธอจากผลงานรัฐบาล

         นายกรัฐมนตรี : การบริหารประเทศต้องเกี่ยวข้องกับหลายภาค ดังนั้นจึงต้องทำให้ทุกคนพอใจ

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยกระดับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศ

         เธอ กระทั่ง รับหน้าที่ในบทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหนึ่งในหน้าที่ที่ท้าทาย ซึ่งเธอกล่าวว่าเป็นหน้าที่ที่เธอควรจะรับเพราะเป็นผู้หญิง

        นายกรัฐมนตรี : ผู้หญิงจะมีความใส่ใจในรายละเอียด ยึดมั่นในคุณธรรม และการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

         อย่างไรก็ตาม “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ยังไม่สามารถสมานรอยร้าวลึกทางการเมืองที่แบ่งแยกประเทศของเธอได้ เธอยังเป็นน้องสาวคนเล็กของอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งลี้ภัยทางการเมืองอยู่นอกประเทศในขณะนี้ และนักวิเคาะห์หลายคนยังคงว่าอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตัดสินใจ

คริสตี้ : แล้วคุณได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี : ดิฉันคิดว่าเราต้องทำงานหนัก เพื่อพิสูจน์ตนเอง ซึ่งนี่ก็ผ่านมาแล้วสองปี ดิฉันคิดว่าเสียงวิจารณ์เรื่องที่ต้องพึ่งพี่ชายเริ่มลดน้อยลงไปมาก เพราะดิฉันสามารถฟันฝ่าสถานการณ์หนักๆ เช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้ว

คริสตี้ : คุณคิดว่าคุณได้พิสูจน์ตัวคุณแล้ว

นายกรัฐมนตรี : ดิฉันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วแต่ขึ้นอยู่กับว่าคนทั่วไปจะเชื่อดิฉันหรือไม่

         ยิ่งลักษณ์เป็นเป้าสายตาตลอด ไม่ใช่เพียงเพราะประวัติของครอบครัวเธอเท่านั้น แต่เป็นทุกสิ่งที่ทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเธอทั้งการเดินทางไปต่างประเทศ แฟชั่นของเธอ

         สิ่งสำคัญเร่งด่วนของยิ่งลักษณ์คือการเพิ่มโอกาสให้กับผู้หญิงและเด็กให้มีที่ยืนและเป็นที่ยอมรับในสังคม ขณะเดียวกันเธอก็ต้องฝ่าฟันสถานการณ์การเมืองที่เข้มข้น

          เธอได้เปิดตัวโครงการ Smart Lady Thailand ซึ่งเป็นรายการเรียลลิตี้ทีวีที่รัฐบาลภายใต้การนำของเธอบอกว่าเป็นโครงการเพิ่มศักยภาพให้ผู้หญิง แต่ก็ถูกวิจารณ์จากผู้นำฝ่ายค้านว่าเป็น Stupid Lady

          แม้ว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะกล่าวภายหลังว่าคำพูดดังกล่าวไม่ได้หมายถึงตัวนายกรัฐมนตรีและไม่ได้ดูถูกผู้หญิง แต่กลุ่มคนผู้สนับสนุนเธอก็กล่าวว่านั่นเป็นการเหยียดเพศ

         นายกรัฐมนตรี : ดิฉันไม่อยากตีความว่าคุณอภิสิทธิ์หมายถึงอะไร สิ่งเดียวที่ดิฉันอยากบอกคือขอให้โอกาสผู้หญิงไทยทุกคนบ้างเถอะ ผู้หญิงถูกมองในแง่ลบมามาก นี่จะเป็นโอกาสที่เราจะได้นำเสนอในด้านดีๆ กันบ้าง

          แม้ว่าหลายคนอาจจะมองว่านี่คือกลยุทธทางการเมืองแต่อาจจะมองได้ว่านี่คือแนวทางการเมืองของเธอที่เป็นเอกลักษณ์

         นายกรัฐมนตรี : ประชาชนไม่ได้คาดหวังให้คุณมาเล่นการเมือง แต่พวกเขาคาดหวังให้เข้ามาบริหารประเทศ ดิฉันจึงมุ่งมั่นทำงานหนักด้วยความจริงใจเพื่อที่จะทำตาสิ่งที่ได้ให้สัญญาไว้กับประชาชน

"วุฒิสมาชิกสายเลือกตั้ง" ประกาศไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อเปิดทางออกให้ประเทศ


"วุฒิสมาชิกสายเลือกตั้ง" ประกาศไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
เพื่อเปิดทางออกให้ประเทศ




           เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 เวลา 15.15 น.ที่รัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา (ส.ว.) นำ ส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี ฯลฯ ร่วมกันแถลงข่าวยืนยันว่า ส.ว.จะยับยั้งหรือไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมือง

"นายกรัฐมนตรี" ให้วุฒิสมาชิกใช้ดุลยพินิจเต็มที่ ตามกระบวนการประชาธิปไตย!


"นายกรัฐมนตรี" ให้วุฒิสมาชิกใช้ดุลยพินิจเต็มที่ ตามกระบวนการประชาธิปไตย!



           5 พฤศจิกายน 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงข่าวกับสื่อมวลชนกรณี การออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อเวลา 12.20น. หน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต่อจากนี้เป็นเรื่องของวุฒิสภาที่จะเป็นผู้พิจารณา เพื่อให้กระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามกระบวนการประชาธิปไตย โดยผลจะเป็นอย่างไรทุกฝ่ายน้อมรับ นอกจากนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ยังเรียกร้องให้หยุดปลุกม๊อบ บิดเบือนกฎหมายสร้างความขัดแย้ง ย้ำไม่ใช่กฏหมายทางการเงิน และไม่ใช่กฏหมายล้างผิดคนทุจริต เพราะ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยกโทษให้ผู้ได้รับผลพวงการรัฐประหาร และผู้ถูกกล่าวหากระทำต่อร่างกายและทรัพย์สิน รัฐจะไม่ใช้เสียงข้างมาก เป้าหมายคือปรองดอง วอนทุกฝ่ายลดอคติ

          ทั้งนี้ เฟสบุ๊ก https://www.facebook.com/Y.Shinawatra ได้โพสต์คำกล่าวของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อร่าง พระราชบัญญัติ นิรโทษกรรมฯ โดยมีเนื้อหาดังนี้

กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพรัก

          จากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาร่วม ๑๐ ปีได้สร้างความบอบช้ำให้กับประเทศอย่างมาก และเมื่อดิฉันได้รับเลือกตั้งเข้ามา ดิฉันเชื่อว่าคนไทยทุกคนเห็นตรงกันว่าหากความขัดแย้งดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปจะเป็นการบั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปไม่ได้

         ดังนั้น นับแต่ที่รัฐบาลนี้ได้เข้ามาบริหารประเทศ ดิฉันได้ประกาศที่จะใช้นโยบายอย่างชัดแจ้งว่าจะร่วมกันสร้างความปรองดองของคนในชาติโดย ยึดหลักนิติธรรม และต้องการให้กลไกอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยได้แก่นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เป็นไปโดยสมดุล ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ซึ่งเจตจำนงค์ของรัฐบาลนั้นต้องการที่จะเห็นความปรองดอง ความสมานฉันท์ของคนในชาติอย่างไม่ลดละ จนในที่สุดเมื่อเร็วๆนี้ดิฉันก็ได้เสนอแนวทางในการสร้างเวทีปฏิรูปการเมืองร่วมกับทุกฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างและความเห็นที่หลากหลาย อันเป็นกลไกหนึ่งในหลายๆกลไกที่หวังว่าจะร่วมสร้างความปรองดองและความสมานฉันท์ได้

          ในขณะเดียวกัน ภายใต้กลไกที่สมดุลของอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะทำให้เห็นได้ในหลายๆเวลาว่าเมื่อฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่างกฏหมายต่างๆหรือแม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในซีกของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรีก็มิได้ก้าวก่ายกลไกการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเลย จนกระทั่งดิฉันเองกลับถูกกล่าวหาว่าละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วดิฉันต้องการให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่

         สำหรับการที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันนั้น

          โดยข้อเท็จจริงแล้วในหลายประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองถึงขั้นรุนแรง มีการเสียชีวิตและการสูญเสียทรัพย์สินนั้น ก็มีการนิรโทษกรรมมาก่อนและเป็นบทเรียนที่ประเทศไทยต้องศึกษา และหลักของการนิรโทษกรรมนั้น ก็เป็นทางออกทางหนึ่งที่ควรพิจารณา เพราะหากทุกฝ่ายเรียนรู้ที่จะให้อภัยซึ่งกันและกันแล้ว ดิฉันเชื่อว่าความขัดแย้งย่อมลดลง ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

          แต่ที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ที่จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา มีพี่น้องประชาชน จำนวนนับร้อยที่ต้องสูญเสียชีวิตและอีกหลายพันคนที่ได้รับบาดเจ็บจากความรุนแรงที่มาจากความขัดแย้งที่มีต้นตอจากความคิดล้มล้างรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย

          ดังนั้น การนิรโทษกรรมไม่ได้หมายความว่า ให้เราจะลืมบทเรียนอันเจ็บปวด เราทุกคนต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจเพื่อไม่ให้ลูกหลานของเราต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนี้อีก ขณะเดียวกัน ต้องร่วมมือกันให้ประเทศเดินหน้าได้ เราจะมาติดหล่มจนประเทศชาติต้องอยู่ในวังวนแห่งความขัดแย้งต่อไปไม่ได้

        และหากจะให้บ้านเมืองสงบ การให้อภัยนั้นต้องปราศจากอคติ ไม่ใช้อารมณ์ และเปิดใจกว้างให้ทุกฝ่ายของความขัดแย้ง มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ซึ่งดิฉันเข้าใจดีว่าทำใจได้ยาก แต่เราต้องคิดถึงประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าความเจ็บปวดส่วนตน

        มาถึงวันนี้ มีปัญหาว่าร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเสร็จแล้วนั้น ได้มีการนำเสนอสู่การพิจารณาของวุฒิสภาซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และกลไกปกติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างหนัก จนเกิดข้อขัดแย้งของคนในชาติหลายกลุ่ม หลายสถาบัน แม้กระทั่งระหว่างพรรคการเมืองและภายในพรรคการเมืองด้วยกัน ตลอดจนประชาชนในหลายหมู่เหล่า

          อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพรบ.ดังกล่าวแล้ว ยังเห็นได้ว่ามีคนไทยหลายกลุ่มที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และยังไม่พร้อมที่จะให้อภัย ทั้งยังมีทีท่าที่จะเป็นบ่อเกิดแห่งความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

           ดิฉันไม่อยากเห็นการนำพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ทำให้เกิดข้อถกเถียงและมีการให้ข้อมูลที่สับสนและถูกบิดเบือน โดยมีเจตนาที่จะล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง

          การบิดเบือนนั้นทำให้มีเกิดความเข้าใจผิดว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายการเงิน เพราะหากเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรีต้องลงนามรับรอง ซึ่งดิฉันไม่เคยลงนามใดๆ


        ที่สำคัญมีความพยายามที่จะบิดเบือนว่ากฎหมายจะกลบเกลื่อนการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับ พรบ.นิรโทษกรรม ซึ่ง พรบ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ยกโทษให้ผู้ได้รับผลพวงทางการเมือง การรัฐประหารที่ไม่อยู่ในหลักนิติธรรม รวมทั้งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน

        ดิฉันขอยืนยันว่ารัฐบาลนี้จะทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และจะไม่ใช้เสียงข้างมากมาฝืนความรู้สึกของประชาชนโดยเด็ดขาด เพราะรัฐบาลของดิฉันเป็นรัฐบาลของประชาชนทุกคน และย่อมต้องฟังเสียงทั้งที่สนับสนุนและเสียงคัดค้าน

         เป้าหมายของรัฐบาลชุดนี้คือการสร้างความปรองดองและทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ภายใต้วิถีทางประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยใช้เหตุและผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์

         ภายใต้บรรยากาศของความขัดแย้งที่ปะทุอยู่นี้ รัฐบาลเห็นว่าทุกฝ่ายน่าที่จะหยุดคิด หยุดการกระทำที่จะสร้างความแตกแยกต่อไป

         ทั้งนี้ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หากถือตามขั้นตอนกระบวนการของกฎหมาย อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา

         ดิฉันจึงใคร่ขอเสนอให้วุฒิสภาโดยวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนจากการแต่งตั้งและการเลือกตั้ง ทั้งจากกลุ่มเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลได้กรุณาใช้ดุลยพินิจอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าวุฒิสภานั้นไม่มีใครก้าวก่ายได้ ได้โปรดใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา โดยอาศัยพื้นฐานความปรองดอง ความเมตตาธรรมกับผู้ที่เดือดร้อนและผู้ที่เจ็บปวดมาเป็นเวลานานให้ได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาค

         ซึ่งการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และไม่ว่าวุฒิสภาจะตัดสินใจอย่างไร จะไม่เห็นด้วยและยับยั้งกฎหมาย หรือมีการแก้ไขก็ตาม ดิฉันเชื่อว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ลงคะแนนผ่านร่าง พรบ.ฉบับนั้นไปแล้ว จะยอมรับการตัดสินใจนั้นด้วยเหตุด้วยผลเพื่อความปรองดองของคนในชาติเช่นกัน

        ทั้งนี้กระบวนการทั้งหมดจะเป็นไปตามครรลองของประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันเป็นเป้าหมายหลักที่เราต้องช่วยกันรักษาไว้ เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนคนไทยทุกคน

        สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณทุกฝ่ายได้ทำงานอย่างหนักในฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อสนับสนุนแนวทางปรองดอง ถือว่าทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถแล้ว เพื่อประเทศชาติ และขอให้ใช้เวลาต่อจากนี้เป็นเวลาของคนไทยทุกคนที่ต้องร่วมกันคิดและร่วมกันตัดสินใจในการพิจารณาแนวทางเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยไม่มีอคติและไม่ใช้อารมณ์ ด้วยใจที่เปิดรับและเห็นอกเห็นใจอันเป็นพื้นฐานของความปรองดองที่ประชาชนคนไทยต้องการ

ขอบคุณค่ะ

"พ.ต.ท.ทักษิณ" ย้ำไม่เอาเงินคืน ชี้ พรบ.นิรโทษกรรม ยุติความขัดแย้งได้


"พ.ต.ท.ทักษิณ" ย้ำไม่เอาเงินคืน ชี้ พรบ.นิรโทษกรรม ยุติความขัดแย้งได้


           วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) -หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื้อหาถึงข้อครหา ของผลการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทำให้พ้นผิดทั้งหมดว่า

          "วันนี้พรรคเพื่อไทยนำเสนอมีวัตถุประสงค์หลัก ต้องการยุติความขัดแย้งในสังคม คืนความยุติธรรมกลับไปเริ่มต้นกันใหม่ ถ้าไม่เลิกทะเลาะกัน ปล่อยไปอย่างนี้ก็ไม่มีปัญหา ไม่ได้สนใจ แม้จะลำบากอยู่คนเดียวก็ทนได้ เรื่องเอาเงินคืนไม่เคยคิด ไม่ห่วงที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ได้กลัวเพราะไม่ได้ทำผิด อย่าไปหลงเชื่อประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์พูด กล้าพูดเลยว่าเป็นการหลอกคน กทม.และคนชั้นสูงมาตลอด ทำให้สังคมตกใจกลัว กำลังถูกต้ม วันนี้สังคมไทยขี้ตกใจ แต่วันนี้เราต้องการเห็นความยุติธรรมของบ้านเมือง แม้ไม่ได้กลับประเทศ ไม่ได้เงินก็ไม่เป็นไร แต่อยากให้บ้านเมืองยุติความขัดแย้ง"


เมื่อถามว่า จุดยืนวันนี้ต้องการขอความเป็นธรรมใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่า

           "ส่วนตัวขอเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ไม่ใช่ตั้งคนที่เป็นปฏิปักษ์มาสอบสวน ตอนนี้ขอให้ความขัดแย้งจบไปก่อน เรื่องของตนเอาไว้ทีหลัง และอย่าตกเป็นเครื่องมือของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนจะกลับประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องเล็ก ยอมที่จะทนเหงา ต้องเครียดและเจ็บป่วยอยู่คนเดียว เมื่อหายแล้วก็พร้อมทำงานให้บ้านเมืองตลอดเวลา ทนมา 7 ปี จะอดทนต่อไป ไม่มีปัญหา ขอให้บ้านเมืองได้ข้อยุติ และทำอย่างไรให้คนป่วยสองคนคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ หันกลับมาพูดคุยให้บ้านเมืองไปได้ จะเอาอย่างไงก็บอกมา หรือต้องให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ เท่านั้นบ้านเมืองถึงจะไปได้ ถ้านายอภิสิทธิ์ไม่ได้เป็นนายกฯบ้านเมืองจะตายหรืออย่างไร"

เมื่อถามว่า สั่งให้ผลักดันนิรโทษกรรมทะลุซอยหรือการสั่งการต่างๆ เป็นเพียงข้อกล่าวหาใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่า

        "ไม่เคย สาบานได้ ประเด็นต่างๆ ขอให้ทุกคนกลืนเลือดคนละหน่อย แต่เมื่อไม่เอาก็ไม่เป็นไร วันนี้ขณะนี้ตามกระบวนการของกฎหมายต้องเข้าสู่วุฒิสภาที่มี ส.ว.มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ขอให้ไปคว่ำที่วุฒิสภาได้เลย เพราะ ส.ว.มาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง ไม่มีปัญหาหากไม่ต้องการเห็นข้อยุติ เห็นบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ก็ไม่ต้องเอา ไม่เป็นอะไร เมื่อถามว่า วันนี้การชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่าทั้งนั้นแหละ กลัวจะกลับประเทศ แม้ขณะที่ยังไม่กลับก็ยังกลัวแพ้เลือกตั้ง เมื่อถามว่า บางฝ่ายกลัวท่านจะกลับมาแก้แค้น พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่าไม่มี วันนี้คนที่เคยทำร้ายตน แต่ละคนก็กลับมาหา อยากฝากบอกฝ่ายที่สนับสนุนว่าอย่าคิดว่าอยู่เมืองนอกแล้วมีความสุข แต่เมื่อเป็นผู้นำจะแสดงความอ่อนแอให้เห็นไม่ได้"
        พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวอีกว่า ขอฝากให้ทุกคนยอมกลืนเลือดคนละหน่อย หันหน้าเข้าหากัน ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองไม่มีทางยุติ และวันนี้คนที่ถูกติดคุกคือคนจน ที่ไม่มีปากเสียง อย่าให้ความขัดแย้งลุกลามจนไปถึงความเป็นชนชั้น เมื่อถามถึงจุดนี้ต้องถอยคนละก้าวแล้วหรือเปล่า พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่าใช่ครับ จะเอาชนะคะคานกันไม่ได้ ถอยคนละก้าวให้บ้านเมืองไปกันได้ อย่าเอาประเด็นนิรโทษกรรมไปอ้าง เพราะถ้าปัญหาบ้านเมืองยุติได้ เศรษฐกิจก็จะไปได้ดี เมื่อถามว่า เคยทำความเข้าใจกับแกนนำเสื้อแดงหรือเปล่า พ.ต.ท.ทักษิณตอบว่า บางทีคนเราถึงจุดหนึ่งความคิดอาจไม่ตรงกัน ความคิดที่ได้โยนออกไปเรื่องนิรโทษกรรม หากไม่เอาก็ไม่เป็นไร ถ้าบอกให้ถอยก็ถอย ไม่มีปัญหาไม่ต้องห่วง แต่ต่อไปนี้ถ้าขบวนการทางสภาฯ สู้ขบวนการเดินขบวนไม่ได้ ก็คงไม่ต้องมีสภาฯกันแล้ว

คลิป "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" เปิดใจจากนอร์เวย์ทุกเรื่อง


คลิป "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" เปิดใจจากนอร์เวย์ทุกเรื่อง




วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวในงานชุมนุมคนรักประชาธิปไตยนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 ตามเวลาท้องถิ่น ได้กล่าวถึงทุกฝ่ายว่า เราทุกฝ่ายทะเลาะกันมาพอแล้ว ประชาชนเดือดร้อนขาดโอกาส นี่แปดปีแล้ว มันเสียเวลาไปเกือบศตวรรษแล้ว ลูกหลานที่กำลังจะเติบโตมาในสังคมที่มีแต่ปัญหา มีแต่ความขัดแย้ง ไม่มีอนาคต หลงอดีต ไม่ดูไม่คิดถึงอนาคตของชาติ คิดถึงแต่อนาคตตัวเองเมื่อไหร่ได้เป็นรัฐบาล ดังนั้น จึงอยากขอว่าให้พอได้แล้ว เลิกทะเลาะได้แล้ว