วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การ์ดม็อบกองทัพประชาชนโชว์สันดานถ่อย ไล่กระทืบกันเอง

การ์ดม็อบกองทัพประชาชนโชว์สันดานถ่อย ไล่กระทืบกันเอง 



         4 สิงหาคม 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.00 น. ได้เกิดเหตุการ์ดกับกองทัพประชาชน โชว์สันดานถ่อย ไล่กระทืบและชกต่อยกันเอง บริเวณ สนามหญ้าหน้าลานพระรูปพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก่อนจะมีหญิงชรา พยายามเข้ามาห้าม ทั้งนี้ จากการสอบถามชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ระบุว่า ยังไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้เริ่มลงมือก่อน แต่คาดว่าน่าจะตกลงเรื่องผลประโยชน์ไม่ลงตัว หรือไปทราบเรื่องไม่ดีภายในม็อบและต้องการปิดปากหรือล้างแค้นกัน

        ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ประชาชนที่ร่วมชุมนุมบริเวณดังกล่าว ต่างพากันแยกย้ายกลับบ้าน เนื่องจากเกรงว่าคืนนี้ การ์ดทั้ง 2 ฝ่าย อาจจะนำพรรคพวกของตนเองเข้าปะทะกันอีกรอบ ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเช้าที่ผ่านมาที่เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครตรวจยึดท่อนเหล็กภายในพื้นที่ชุมนุมก่อนที่จะย้ายมาจากสนามหลวงเพื่อมาสมทบกับผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าว


ม็อบสวนลุมฯ หงอย! 3 ทุ่มแล้วยังบางตา

ม็อบสวนลุมฯ หงอย! 3 ทุ่มแล้วยังบางตา แม่ค้าบ่นขายไม่ดีเพราะม็อบโดนกดค่าตัววันละ 500 บาท


ภาพบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนที่สวนลุมพินีในวันแรกเป็นไปอย่างเงียบเหงา ทีมงานได้เข้าไปเดินสำรวจเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. พบกว่าคนชุมนุมบางตา มีแต่เต้นท์เปล่าให้คนนั่งหลบแดดหลบฝน ร้านค้าอาหารจำนวนมากเข้าไปขายอาหาร แต่แม่ค้าต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ขายไม่ดีเพราะม็อบนี้ยังไม่จ่ายเงิน แหล่งข่าวกล่าวว่า ม็อบนี้มีค่าจ้างหัวละ 500 บาทต่อวัน กรณีที่อยู่สวนลุม แต่หากต้องเดินทางไปข้างนอกเช่นทำเนียบฯ หรือ รัฐสภา ค่าจ้างจะเพิ่มเป็นวันละ 1000 บาททันที เบื้องต้นรับงานแค่ 3 วันก่อนแล้วค่อยตกลงอีกครั้งว่าจะสมัครใจลุยหรือไม่อย่างไร เพราะหลายคนบ่นว่าให้ไปปะทะ แต่จ่ายแค่วันละพันบาท ไม่คุ้มเลย







  





ดร.จารุพรรณ" แถลงยื่นหนังสือถึงสถานทูต ชี้ม็อบใสร้ายรัฐบาล

ดร.จารุพรรณ" แถลงยื่นหนังสือถึงสถานทูต ชี้ม็อบใสร้ายรัฐบาล



กราบเรียน ท่านเอกอัครราชทูต

           สืบเนื่องจากการที่กลุ่มผู้ประท้วง ในนาม "กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ" ได้มีการชุมนุมขึ้นที่สวนลุมพินี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยมีสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุนและร่วมปราศรัยบนเวที รวมทั้งมีการจัดเวที "ผ่าความจริง" ของพรรคประชาธิปัตย์คู่ขนานกันไปกับเวทีของกองทัพประชาชนฯ ซึ่งโดยแรกเริ่มเดิมที ทั้งสองกลุ่มมีการประกาศปลุกระดมชักชวนให้ประชาชนออกมาต่อต้าน การพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐสภา แต่จากการสังเกตการณ์เนื้อหาบนเวทีของทั้ง กองทัพประชาชนฯ และ พรรคประชาธิปัตย์ กลับมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันคือ กล่าวหาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมีความต้องการที่ล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มากกว่าข้ออ้างว่าต้องการยับยั้งการพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

           นอกจากนั้น กองทัพประชาชนฯ ยังได้ส่งจดหมายไปยังท่านเอกอัครราชทูต โดยมีเนื้อหาที่เป็นการใส่ร้ายรัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยปราศจากหลักฐานข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกร้องให้ท่านเอกอัครราชทูตฯ สื่อสารข้อมูลเท็จเหล่านั้น ไปยังรัฐบาลในประเทศของท่านด้วยนั้น

           ข้าพเจ้า ในฐานะตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง ในฟากฝั่งรัฐบาล ต้องกราบขออภัยต่อกรณีของการเรียกร้องของ กองทัพประชาชนฯ ด้วย การเรียกร้องนั้น เป็นการเรียกร้องที่ปราศจากวุฒิภาวะ เพราะเป็นการสื่อสารข้อมูล ที่แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่พวกเขาสนับสนุน ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ และการเรียกร้องให้ท่านเอกอัครราชทูต สื่อสารจินตนาการอันบกพร่องของพวกเขาต่อไปยังนานาประเทศ เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียภาพลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขอเรียนว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยมิได้มีความคิดความต้องการเช่นนั้น

            ข้อกล่าวหาในจดหมายของ กองทัพประชาชนฯ โดยส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่วกวน แสดงถึงตรรกะที่สับสน และไม่ได้มีเนื้อหารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่ได้ระบุว่ามีความบกพร่องในเนื้อหาตรงไหน? อย่างไร?ถึงต้องปลุกระดมมวลชนออกมาต่อต้าน มีเพียงแต่ย้ำว่า กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ต้องการระบอบทักษิณ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจะสรุปให้เป็นประเด็น ดังต่อไปนี้

              1.     การกล่าวหาว่ารัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นการกล่าวหาที่เกินเลย การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอภิสิทธิ์ และผู้ที่จัดการเลือกตั้ง คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีที่มาจากการสรรหาของ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกา ตัวแทนศาลฎีกา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้าน การเลือกตั้งมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันนั้น ไม่ได้เข้ามาโดยง่ายดาย หากแต่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างแท้จริง และแม้การเลือกตั้งที่ผ่านมาจะอยู่ในบรรยากาศที่บ้านเมืองเปี่ยมไปด้วยวิกฤต ที่เรียกว่า 2 มาตรฐาน แต่พรรคเพื่อไทยยังได้ที่นั่งในสภาฯ ถึง 265 ที่นั่ง จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง ถือว่าได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างท่วมท้นจริง ๆ ดังนั้นการกล่าวหาว่ามีที่มาโดยไม่ชอบธรรมนั้นเป็นการกล่าวหาที่เกินเลย

             2.     การกล่าวหาเรื่อง โครงการจำนำข้าว, โครงการโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ และโครงการอื่น ๆ ของรัฐบาล ว่าเป็นการสร้างผลประโยชน์ให้พวกพ้องนั้น เป็นการกล่าวหาที่ดูหมิ่นเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เลือกพรรคเพื่อไทยให้เป็นรัฐบาล พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง ว่าหลังจากที่เป็นรัฐบาล จะดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ข้างต้น ตามที่ได้หาเสียงไว้ ทั้งนี้โครงการดังกล่าว พรรคเพื่อไทยได้ทำการศึกษาวิจัยโดยละเอียด และยืนยันว่าเป็นโครงการที่ตอบสนองเจตนารมณ์ของประชาชน ทั้งนี้เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน โดยมุ่งเน้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนำข้าวคือ ชาวนาผู้ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติซึ่งยังยากจนอยู่ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ให้พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถปลดหนี้ครัวเรือน ก็เพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต ดังนั้น การกล่าวหาว่าโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นโครงการเพื่อพวกพ้องของตน เป็นตรรกะที่สวนทางกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง

             3.     การกล่าวหาว่า โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลจะเกิดการคอร์รัปชั่น เป็นการกล่าวหาล่วงหน้าที่ปราศจากหลักฐาน เนื่องจากโครงการจำนำข้าวอยู่ในช่วงระหว่างดำเนินการ ขณะนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ท่านมีนโยบายและการควบคุมอย่างเข้มงวด และกระทรวงพาณิชย์พร้อมให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยต่อประชาชน
หรือในกรณี โครงการโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ ซึ่งยังไม่มีการลงทุนแต่อย่างใด การกล่าวหาล่วงหน้า ถือเป็นการหมิ่นประมาทรัฐบาลอย่างร้ายแรง ซึ่งในขณะนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีความพยายามที่จะสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ผ่านงานประชุมสัมมนาหลายครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ซักถาม เข้าถึงข้อมูลทางตรงตลอดมา
รวมทั้งการบริหารงานและการดำเนินงานของรัฐบาลในการจัดซื้อจัดจ้าง จะมีคณะกรรมการควบคุมดูแลภายใต้ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปฏิบัติอย่างนี้เรื่อยมาทุกรัฐบาล ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และตรวจสอบได้ตลอดเวลาการกล่าวหารัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ว่ามีคอร์รัปชั่น ต้องกล่าวหาบนหลักฐานข้อมูลที่พิสูจน์ได้ ดังที่พรรคเพื่อไทยเคยแสดงหลักฐานอย่างชัดแจ้งถึงการคอร์รัปชั่นในรัฐบาล อภิสิทธิ์ ในโครงการไทยเข้มแข็ง โครงการครุภัณฑ์การศึกษา โครงการสร้างโรงพัก เป็นต้น

            4.     การกล่าวหาว่าการกู้เงินของรัฐบาลจะขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองนั้น ไม่เป็นความจริง การกู้เงินของรัฐบาลอยู่ภายใต้กฎหมาย ซึ่งมีข้อกำหนดถึงสัดส่วนของการกู้ยืมเงินของรัฐบาลที่กฎหมายอนุญาตไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรัฐบาลมีสำนักงานกฤษฎีกา เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายตรวจสอบความถูกต้องทางกฎหมายตั้งแต่ต้น ก่อนที่นำเสนอต่อรัฐสภา

            5.     การกล่าวหาว่า รัฐบาล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำงานเพื่อคนคนเดียว คือ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร นั้น เป็นการกล่าวหาที่เลื่อนลอย เพราะพรรคเพื่อไทยได้รับความไว้วางใจจากคนส่วนใหญ่ให้บริหารประเทศ พรรคเพื่อไทยยอมรับตลอดมาว่า ฯพณฯ ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาของพรรค ท่านได้เสนอแนะนโยบายที่สร้างสรรค์ให้แก่พรรค ซึ่งอันที่จริง ท่านก็ได้ความคิดมาจากการรับฟังเสียงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้นนโยบายของพรรคเพื่อไทยจึงเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชน ผ่านการประมวลข้อมูลจาก ฯพณฯ ทักษิณ และทีมงานของพรรคเพื่อไทย ดังนั้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงทำงานเพื่อคนทุกคนในประเทศไทย ไม่ใช่เพื่อคนคนเดียว เป็นการกล่าวหาที่ปราศจากน้ำหนักโดยสิ้นเชิง

             6.     การที่ กองทัพประชาชน และ พรรคประชาธิปัตย์ นิยามว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข,รัฐบาลที่มีนโยบายที่ตอบสนองเจตนารมณ์ส่วนใหญ่ของประเทศ, รัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างระบอบประชาธิปไตย สร้างนิติรัฐ นิติธรรม, รัฐบาลที่พยายามลดความเหลื่อมล้ำในสังคม คือ รัฐบาลในระบอบทักษิณ ก็มิได้หมายความว่า กองทัพประชาชนจะยกย่อง นายกทักษิณให้เป็นตัวแทนประชาธิปไตย หากแต่เป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะล้มล้างประชาธิปไตย ด้วยเทคนิคการใช้ภาษา ให้คนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด

            ซึ่งครั้งหนึ่งคนเหล่านี้เคยกระทำสำเร็จมาแล้ว จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย และคนไทยในขณะนั้นสับสนถึงขั้นสนับสนุนการรัฐประหารไปก็มี และบัดนี้ ก็ยังมีความพยายามอยู่เช่นเดิม ในการใช้วาทกรรมต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งในความเป็นจริงเป็นข้ออ้าง ที่จะล้มล้างประชาธิปไตย ล้มล้างการเลือกตั้งของประชาชนนั่นเอง

             บัดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีจุดยืนที่ชัดเจน ที่จะต่อต้านการล้มล้างประชาธิปไตยและการรัฐประหารทุกรูปแบบ รวมทั้ง มีจุดยืนที่จะต่อต้านต่อระบอบอภิสิทธิ์ชน ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการทรราชที่เคยสังหารหมู่ประชาชนที่เรียกร้องการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ที่เจ็บปวดต่อระบอบอภิสิทธิ์ชน ที่เป็นระบอบ 2 มาตรฐาน อันปราศจากการเคารพหลักนิติรัฐ นิติธรรม และปราศจากการเคารพกันซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

             จากตัวอย่างที่เห็นได้ชัด จากการที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมชุมนุมเรียกร้องการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ที่ต้องคดีจากข้อหาต่าง ๆ ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากการที่ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกันตัว และพวกเขาถูกคุมขังมานานถึง 3 ปี โดยไม่มีทีท่าว่าจะได้รับการประกันตัวแต่อย่างใด ในขณะนี้คู่ขัดแย้ง ได้กระทำผิดในข้อหากบฏและก่อการร้ายในการยึดทำเนียบรัฐบาลและทำลายข้าวของราชการนานถึง 7 เดือน ยึดสนามบิน พกพาอาวุธ สังหารและทำร้ายเจ้าพนักงาน กลับได้รับการประกันตัว และไม่ต้องถูกคุมขังเลยแม้สักวันเดียว

              ดังนั้นฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะตัวแทนของประชาชน จึงต้องเข้ามาแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่เป็นปรากฏการณ์ที่ขัดต่อหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ ที่ว่าด้วยการเคารพกันซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาค ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงมีความจำเป็นต้องนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้ามาพิจารณาในรัฐสภาฯ ที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย

              ข้าพเจ้าจึงขอชี้แจงมา ณ ที่นี้ ว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มิใช่ต้นเหตุของความขัดแย้งในประเทศ หากแต่เกิดจากกลุ่มคนที่มุ่งมั่นจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอ่อนแอ เพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ซึ่งเป็นการกระทำซ้ำซาก ครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และทุกครั้งจะมียุยงให้กองทัพกระทำการรัฐประหาร และพวกเขาจะได้รับผลประโยชน์จากการรัฐประหารเข้ามาเป็นรัฐบาล และทุกครั้งจะก่อปัญหาให้เกิดความไม่เป็นธรรม 2 มาตรฐาน ที่หมักหมมในประเทศไทยมายาวนาน

               และในครั้งนี้ ความพยายามในการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ยังคงดำรงอยู่ ถึงแม้ว่า การยุยงให้กองทัพก่อการรัฐประหาร จะมีความยากลำบากมากขึ้นก็ตาม แต่ผลพวงแห่งความไม่เป็นธรรมจากการรัฐประหาร ก็ยังหลงเหลืออยู่ในรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญที่ไม่เคารพต่อหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ รัฐธรรมนูญที่ปราศจากสมดุลของอำนาจทั้งสาม

             ทุกวันนี้ ประชาชนคนไทยยังไม่รู้สึกว่าพวกเขาได้รับความเป็นธรรมในชีวิต และไม่รู้สึกว่าพวกเขาเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ในการที่จะตรวจสอบบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความเป็นธรรมในบ้านเมือง

             ตุลาการรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ และครึ่งหนึ่งของจำนวนวุฒิสมาชิก มีที่มา จากคนกลุ่มเดียวกัน ไม่มีกลไกที่ยึดโยงกับประชาชนเลย ประชาชนไม่มีทางใดที่จะสะท้อนความคิดหรือสัมผัสอธิปไตยจากคนกลุ่มนี้ และไม่มีทางตรวจสอบถอดถอนได้เลยแม้แต่น้อย จึงมีความพยายามจากตัวแทนประชาชนที่ต้องการเห็นประชาธิปไตย ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจต่าง ๆ กลับมายึดโยงกับประชาชน ซึ่งไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะกระทำการใด ๆ ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็จะไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มที่ต้องการรักษาระบอบอภิสิทธิ์ชนไว้ ไม่ว่าในวันที่ 7 สิงหาคม 2556 จะมีการพิจารณา พ.ร.บ. นิรโทษกรรม หรือไม่ กลุ่มอภิสิทธิ์ชนก็จะออกมาต่อต้านล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอยู่ดี ซึ่งหากมีความจำเป็น เราก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายอาญาแผ่นดินตามความเหมาะสม ซึ่งข้าพเจ้าได้แนบข้อมูลในข้อกฎหมายมานี้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับท่านว่าเราจะยึดมั่นในกฎหมายบ้านเมือง เพื่อให้ประชาธิปไตยเดินหน้าต่อไปได้

            สุดท้าย ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า การพิจารณากฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐสภา พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจะยึดมั่นในกระบวนการตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของการประชุมของรัฐสภาอย่างเคร่งครัด ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้าพเจ้าก็เชื่อมั่นว่าจะควบคุมให้บ้านเมืองอยู่ในความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนมีประสบการณ์มาอย่างดี เชื่อว่าท่านเหล่านั้นจะทำงานอยู่ภายใต้กฎหมายของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัดเช่นกัน

           ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราในฐานะตัวแทนประชาชน จะสามารถนำพาประเทศให้ผ่านพ้นเหตุการณ์ความวุ่นวาย ได้อย่างที่ผ่าน ๆ มา ดังเดิม ขอให้ท่านเอกอัครราชทูตเชื่อมั่นในรัฐบาลและรัฐสภาที่เป็นตัวแทนที่แท้

            ข้าพเจ้าขอขอบคุณ นานาอารยประเทศที่ให้ความสนับสนุนต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และพร้อมที่จะร่วมต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบในประเทศไทย เพราะความเข้มแข็งของประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้น ยังหมายถึง ความเข้มแข็งของประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของคุณค่าแห่งประชาชนในภูมิภาคอาเซียนด้วยเช่นกัน

ด้วยความนับถือ
ดร. จารุพรรณ กุลดิลก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

ม็อบตังค์ทอนสุดอลเวง! บุกถีบผู้ปราศรัย ตกเวที

ม็อบตังค์ทอนสุดอลเวง! "เท้าดี" บุกถีบผู้ปราศรัย ตกเวที



5 สิงหาคม 2556 go6TV - เหตุวุ่นวายเกิดขึ้นบ่ายวันนี้ ในช่วงที่สื่อมวลชนกำลังสัมภาษณ์ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเดินทางมาสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่ม "ม็อบตังค์ทอน"ที่สวนลุมพินี ปรากฎว่าเกิดเหตุชุลมุนขึ้นบนเวทีปราศรัย โดยมีชายไม่ทราบชื่อ ใส่เสื้อเชิ๊ตสีขาว กางเกงขายาวสีดำ ขึ้นไปบนเวทีและถีบผู้ปราศรัยตกเวที จากนั้นจึงเกิดการตะลุมบอนกันบนเวที ทำให้การ์ดและผู้ร่วมชุมนุมแตกฮือ กรูเข้าไปจับตัว และทำร้ายชายคนดังกล่าว แต่ขณะที่กำลังชุลมุน ชายผู้ก่อเหตุได้กระโดดลงจากเวที และวิ่งลอดใต้เวทีออกจากพื้นที่ชุมนุม หลบหนีเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีการ์ดของกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งวิ่งติดตามไปจับตัว แต่ถูก รปภ.ของโรงพยาบาลและกลุ่มญาติผู้ป่วยสกัด และขับไล่การ์ดของกลุ่มผู้ชุมนุมให้ออกไปจากพื้นที่โรงพยาบาล โดยระบุว่าหากจะเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ทำไป แต่อย่าเข้ามาวุ่นวายในโรงพยาบาล โดยกลุ่มผู้ชุมนุมต่างไม่พอใจในการกระทำดังกล่าว และด่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทางกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้เปิดเผยว่า ผู้ปราศรัยที่ถูกถีบตกเวทีดังกล่าวเป็นผู้ใด

สมัยอภิสิทธิ์ ประชาธิปัตย์ ก็ประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง

"หมวดเจี๊ยบ" ตอก "อภิสิทธิ์" สมัยประชาธิปัตย์ ก็ประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง


5 สิงหาคม 2556 go6TV - ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคง ไม่ได้สวนทางกับคำว่าปรองดอง อย่างที่ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหา แต่รัฐบาลต้องการให้มีกฎหมายคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ในการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการป้องกันบุคคลไม่หวังดี ที่อาจสร้างสถานการณ์ที่จะนำไปสู่ความรุนแรงเท่านั้น

เพราะที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลต่าง ๆ ได้แสดงจุดยืนร่วมกันในการเรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมบนท้องถนน และหลายครั้งมีนัยยะเรียกร้องการรัฐประหาร ทำให้สังคมวิตกว่าอาจเกิดเหตุแทรกซ้อนที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง รัฐบาลจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมว่าจะดูแลความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนได้


นอกจากนี้ การประกาศใช้ พ.ร.บ. มั่นคง ในครั้งนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ได้แตกต่างจากแนวทางที่รัฐบาลในอดีตเคยปฏิบัติมา เพราะในสมัยรัฐบาล นาย อภิสิทธิ์ ก็มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคง หลายครั้งเช่นกัน


นอกจากนี้ การประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง นั้น ก็เป็นคนละเรื่องกันกับการสร้างความปรองดอง จึงขอให้ นาย อภิสิทธิ์ เลิกนำสองประเด็นนี้ มาปะปนกัน และขอให้หยุดกล่าวหาทำนองว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่จริงใจต่อกระบวนการปรองดอง หรือกระทำการฉ้อฉลต่อรัฐสภา เพราะที่จริงแล้ว อาจเป็นพรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่เป็นฝ่ายไม่จริงใจกับระบอบประชาธิปไตยและกำลังทำลายระบอบรัฐสภา


ทั้งนี้ หากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ นิรโทษกรรม ก็เป็นสิทธิ์ที่จะคัดค้านได้ แต่ควรใช้กลไกรัฐสภาในการแสดงออก ไม่ใช่จ้องแต่จะเล่นเกมส์การเมืองนอกสภาฯ โดยการล้างสมองหรือปลุกระดมประชาชน ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง เพราะจะเป็นการทำลายระบอบรัฐสภาและเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย 


ขณะที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากต่างแสดงความเห็นตำหนิพรรคประชาธิปัตย์ บ้างก็เปรียบเทียบว่า สมัยรัฐบาลเพื่อไทย มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. มั่นคง เพียง 2 ครั้ง ขณะที่สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. มั่นคง ถึง 5 ครั้ง

สลิ่มผวา!!! กดแชร์-ไลค์กระทบความมั่นคง ผิดแน่

สลิ่มผวาหนัก!!! ที่ปรึกษากฎหมายยืนยัน กดแชร์-ไลค์มั่วกระทบความมั่นคง ผิดแน่

ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชี้ปล่อยข่าวลือผิดแน่ ส่วนคนกดไลก์หากเป็นข้อความหมิ่นสถาบัน-ความมั่นคงผิดชัดเจน พร้อมยัน พ.ร.บ.คอมพ์ ไม่มีจุดประสงค์ลิดรอนเสรีภาพ



6 กรกฏาคม 2556 go6TV - นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า กล่าวถึงกรณีกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) แจ้งข้อกล่าวหาผู้โพสต์ข้อความในลักษณะข่าวลือว่าจะมีการปฏิวัติ เพื่อชี้นำให้ประชาชนตื่นตระหนกโดยการกักตุนอาหารและน้ำ อีกทั้งยังโพสต์ข้อความที่อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายของบ้านเมือง ระบุว่า การโพสต์ข้อความ ถ้าเป็นข้อความที่คล้ายกับการปล่อยข่าวที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น จะปฏิวัติรัฐประหารแล้ว หรือว่าก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือปล่อยข่าวที่มีผลเสียต่อความมั่นคง ก็คงต้องใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) (2) และ (3) เอาเข้ามาเพื่อที่จะดำเนินคดี

ถ้าจะผิดตาม (1) หมายความว่า เราแสดงความคิดเห็น แล้วเราไปตัดต่อภาพหรือข้อความบิดเบือนจากข้อเท็จจริง ส่วน (2) คือการใช้ข้อความปลอม ข้อมูลปลอมที่เราได้มา แล้วบอกให้ประชาชนตื่นตระหนกตกใจ ส่วน (3) คือเกี่ยวข้องกับความมั่นคงซึ่งระบุไว้ในกฎหมายอาญา ต้องระมัดระวังอย่าให้ไปผิดกฎหมายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เมื่อถามว่า เมื่อมีผู้ได้รับข่าวลือแล้วมีการส่งต่อโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจเข้าข่ายมีความผิดเหมือนกัน นายไพบูลย์ กล่าวว่า อาจจะมีปัญหาเรื่องความผิด คนที่รับข้อความต้องระมัดระวังในเรื่องการแชร์หรือส่งต่อ ซึ่งผิดกฎหมาย (4) หรือ (5) ซึ่งเป็นการเผยแพร่ ส่งต่อ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่ามันผิด มันปลอม  ถ้ารู้แล้วยังแชร์ต่อมันก็ผิด ในกรณีที่เกิดความตื่นตระหนกตกใจโดยที่เราไม่รู้ ก็ต้องพิสูจน์เรื่องเจตนาว่าเราดูข้อความแล้วคิดว่ายังไง เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์เจตนาเป็นหลัก

นายไพบูลย์ กล่าวว่า ในเรื่องการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่เราทำได้ แต่จะต้องไม่เป็นการตัดต่อข้อความคนอื่น หรือเผยแพร่ส่งต่อข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้วว่าไม่จริง หรืออาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคง ซึ่งต้องระมัดระวังในเรื่องของการแชร์หรือส่งต่อ เพราะอาจจะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ 

เมื่อถามว่า การส่งต่อข้อความในแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งไม่มีใครเห็นนอกจากตัวเรากับเพื่อน มีความผิดหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ส่งผ่านสื่ออะไรก็ผิดหมด เพียงแต่ว่าเขาจะได้ข้อมูลหลักฐานหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เมื่อถามว่า ทางตำรวจจะมีการดำเนินคดี เข้าข่ายไปถึงผู้ที่กด “ถูกใจ” หรือกด “Like” (ไลค์) ข้อความที่ผิดกฎหมายในเฟซบุ๊กหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า กรณีที่ข้อความนั้นเป็นเรื่องหมิ่นสถาบัน หรือว่าเกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรง การกดไลค์ก็อาจจะมีปัญหาถูกดำเนินคดีได้ ซึ่งอาจเป็นได้ในฐานะผู้สนับสนุน หากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหรือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อมองว่า ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคง ก็มีช่องที่เจ้าหน้าที่สามารถเป็นข้ออ้างในการเอาผิดได้ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นช่องที่สามารถทำได้ ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นตัว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในฐานะคนที่ร่างกฎหมายเก่า โดยหลักการ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่ใช้ในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสถาบัน หรือความมั่นคงของชาติโดยตรง การไปกดไลค์ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนและอาจถูกดำเนินคดีได้

นอกจากนี้ นายไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไม่ได้ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอยู่แล้ว แต่ในการแสดงความคิดเห็นต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะคอมเมนต์ที่เราเขียนไปต้องดู และถ้าเซฟตัวเองก่อนก็น่าจะมีข้อความว่าเป็นเรื่องที่เป็นความจริงหรือไม่ ซึ่งต่างกันตรงที่เจตนาซึ่งพิสูจน์กันลำบาก ถ้าโดยทฤษฎีเวลาเราส่งข้อมูลผิดๆ เขาก็ดำเนินคดีเราได้อยู่แล้ว แต่จะผิดกฎหมายหรือเปล่าก็พิสูจน์เจตนากัน

ม๊อบตังค์ทอน พยัคร้ายไทยถีบ

หลอนหนัก! แกนนำม็อบตังค์ทอนผวาโดนถีบซ้ำ ย้ายเวทีมุดรูหนีเข้าสวนลุมฯ


เมื่อเวลา 00.30 น. วันที่ 6 ส.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่ม "ม็อบตังค์ทอน" ที่สวมลุมพินี หน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.6 ว่า ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้ระดมกำลังช่วยกันเคลื่อนย้ายเต็นท์ขนาดใหญ่ เต็นท์สำหรับใช้เป็นที่พัก และเวทีปราศรัย พร้อมเครื่องขยายเสียง จากบริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.6 เข้าสู่ด้านในของสวนลุมพินี สาเหตุที่ต้องเคลื่อนย้ายเวทีปราศรัย ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ปราศรัย เพราะเกรงว่า จะถูก "เท้าดี" ขึ้นเวทีเข้าไปถีบตกเวทีแบบเหตุการณ์เมื่อวานนี้อีก

ภาพเหตุการณ์ชุลมุน บนเวทีปราศรัย "ม็อบตังค์ทอน" วานนี้





ข่าวที่เกี่ยวข้อง
go6TV - ม็อบตังค์ทอนสุดอลเวง! "เท้าดี" บุกถีบผู้ปราศรัย ตกเวที
go6TV Community Page - ม็อบตังค์ทอน ถ่อย! ทำลายประตูบุกเข้าสวนลุม
go6TV Youtube - ม็อบตังค์ทอนไล่กระทืบ

ศาลตัดสิน 6 ศพวัดปทุมฯ เสียชีวิตจากทหาร ไม่มีชายชุดดำ!!!

ศาลตัดสิน 6 ศพวัดปทุมฯ เสียชีวิตจากทหาร ไม่มีชายชุดดำ!!!



วันนี้ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอ่านคำสั่งกรณี ไต่สวนคําร้องชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงาน อัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคําร้องขอให้ ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1, นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแห่ง ผู้เสียชีวิตที่ 2, นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ผู้เสีย ชีวิตที่ 3, นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับ รถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4, น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5, และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 โดยทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตที่วัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายก รัฐมนตรี

         ศาลสั่งว่าผู้ตายที่ 1,3-6 ถึงแก่ความตายเนื่องจากกระสุนปืน .223 จากทหารกองพันจู่โจมพิเศษที่ 3 ค่ายเอรวัญ จ.ลพบุรี ที่ประจำอยู่บริเวณรางรถไฟฟ้า BTS หน้าวัดปทุมฯ ขณะเกิดเหตุ ส่วนผู้ตายที่ 2 ตายจากกระสุน .223 จากกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ที่ประจำการอยู่บริเวณถนนพระราม 1 ช่วงเกิดเหตุ ภายใต้คำสั่งของ ศอฉ. 

          และผลการตรวจจากสถาบันนิติวิทยาศาสตรไม่พบร่องรอยการยิงปืนของมือทั้ง 6 ศพ จึงเชื่อว่าทั้ง 6 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อาวุธปืน รวมทั้งขณะเกิดเหตุมีด่านเจ้าหน้าที่ตรวจค้นอาวุธแน่นหน้า นอกจากนี้ศาลยังระบุด้วยว่าไม่มีชายชุดดำในที่เกิดเหตุ และศาลได้สั่งให้ส่งคำสั่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีต่อไป