วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การนิรโทษกรรม

ประวัติศาสตร์กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การนิรโทษกรรม

                             

ความเป็นมาของประมวลกฎหมายอาญา ม.112


         ในอดีตการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งอำนาจการปกครองทั้งหมดเป็นของกษัตริย์และพระราชทายาท สยามมีหนังสือพิมพ์ภาษาสยามฉบับแรกคือ หนังสือจดหมายเหตุ (The Bangkok Recorder) ซึ่งดำเนินการโดย แดน บีช แบรดลีย์ (หมอบรัดเลย์) ตั้งแต่ปี 2387 (สมัย ร.3) แม้จะเปิดๆปิดๆหลายครั้ง และส่วนใหญ่จะลงข่าวต่างประเทศมากกว่าข่าวในประเทศ แต่ก็ถือเป็นเป็นปฐมบทแรกของวงการสื่อมวลชนสยาม ในรัชสมัยของ ร.5 มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นหลายฉบับ สื่อมวลชนเหล่านี้เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายต่างๆของรัฐบาลในหนังสือพิมพ์มากขึ้น

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto6/bphoto412.JPG
        1 มิ.ย. 2451 ร.5 ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพอยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า
"มาตรา 98 ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวก็ดี ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 5,000 บาท ด้วยอีกโสตหนึ่ง

         มาตรา 100 ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 2,000 บาทด้วยอีกโสตหนึ่ง" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ)

        กฎหมาย 2 มาตรานี้ถือเป็นกฎหมายแรกที่มีบทลงโทษการกระทำที่เป็นการอาฆาต/หมิ่นประมาท ต่อกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร, ผู้สำเร็จราชการ, พระราชทายาทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นผู้ใดที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบาย การบริหารประเทศของกษัตริย์, พระราชินี, พระราชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อ การละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ กฎหมาย 2 มาตรานี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง "การดูหมิ่น" และมีการแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ระดับคือ มาตรา 98 ให้ความคุ้มครองกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการเฉพาะในปัจจุบัน ส่วนมาตรา 100 ให้ความคุ้มครองพระราชวงศ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีมาตรา 10 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในสยามด้วย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับ) แต่ไม่มี โทษขั้นต่ำ โดยมีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาทซึ่งถือเป็นโทษที่สูงมากในสมัยนั้น เมื่อเทียบกับค่าเงินสมัยปัจจุบันคง สูงเท่ากับเงินหลายแสนบาทเลยทีเดียว หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็ ต้องปรับใช้มาตรา 18 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า

         "มาตรา 18 ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ปรับ แลมิใช้ค่าปรับภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ให้ยึดทรัพย์สมบัติมันใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นให้เอาตัวมันจำคุกแทนค่าปรับ 

         แลการจำคุกแทนค่าปรับเช่นนี้ ท่านกำหนดเปนอัตราไว้ว่า ให้จำวันหนึ่งแทนค่าปรับบาทหนึ่ง เปนประมาณ แต่ห้ามมิให้จำคุกด้วยโทษฐานนี้เกินกว่าปีหนึ่งขึ้นไป" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ)

        ผู้เขียนเห็นว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้แม้โทษจำคุกจะไม่สูงเท่ากับกฎหมายในปัจจุบัน แต่โทษปรับรุนแรงมาก ผู้ต้องหาหลายคนอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวเลยทีเดียว และหากไม่มีเงินชำระค่าปรับหรือชำระค่าปรับไม่ครบยังต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับ อีกในอัตรา 1 วันต่อ 1 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้น่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากฎหมายในปัจจุบัน


       ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่กษัตริย์อีกต่อไป แต่อยู่ในมือของคณะราษฎรแทน

        13 พ.ย. 2499 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 และยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพอยู่ในมาตรา 112 ซึ่งระบุว่า
http://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/13860/SOP-DIP_P_402379_0001.pdf.jpg?sequence=2

         "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี"
กฎหมายมาตรานี้ต่างจากกฎหมายเดิม เนื่องจากมีการครอบคลุมถึง "การดูหมิ่น" ด้วย แต่กลับลดจำนวนผู้ถูกคุ้มครองให้เหลือเพียงกษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้นจึงเท่ากับเป็นการยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100

         ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายมาตรานี้มีการยกเลิกโทษปรับซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 100 ปีค่าของเงินก็ลดลงจนทำให้โทษปรับ 5,000 บาทอาจไม่น่ากลัวเท่ากับในอดีตอีกต่อไป แต่ไม่มีการเพิ่มโทษจำคุกหรือกำหนดโทษขั้นต่ำแต่อย่างใด ดังนั้นกฎหมายนี้จึงถือเป็นการลดโทษ นับเป็นครั้งแรกที่ไม่มีโทษปรับสำหรับมาตรานี้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 7 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษ ในไทยด้วย

        6 ต.ค. 2519 นักศึกษา/ประชาชนใน ม.ธรรมศาสตร์ จำนวนมากถูกจับกุม ผู้ต้องหาบางคนถูกกล่าวหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112 จากการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม ต่อมาเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในคืนเดียวกัน

        21 ต.ค. 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 ซึ่งสาระสำคัญในข้อ  1 กำหนดให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นดังนี้

        "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี"

       คำสั่งฉบับนี้เป็นการเพิ่มโทษจำคุกจาก 7 ปีเป็น 3-15 ปี หรือเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวเลยทีเดียว และมีการกำหนดโทษขั้นต่ำด้วย นับเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มโทษและกำหนดโทษขั้นต่ำสำหรับมาตรานี้ ดังนั้นคำสั่งนี้จึงถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงที่สุดของกฎหมายนี้
หลังการรัฐประหาร 2549 มีผู้ต้องหาจำนวนมากถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112 หลายฝ่ายมีความเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงมาตรานี้หรือเพิ่ม มาตราใหม่ ในปี 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

      "ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1 ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ มาตรา 112/1 และ มาตรา 112/2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 1/1

ผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์

        มาตรา 112/1 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        มาตรา 112/2 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม ม.112 อีก 2 มาตรา เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครอง โดย 2 มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลสามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้) ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร แถมยังมีการกำหนดโทษขั้นต่ำอีกด้วย กฎหมาย 2 มาตรานี้เป็นการขยายขอบเขตในการคุ้มครอง โดยมาตรา 112/1 ให้ความคุ้มครองถึงพระราชทายาทในปัจจุบัน (ไม่รวมอดีต) คล้ายกับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100 ส่วนมาตรา 112/2 ให้ครอบคลุมถึงองคมนตรีและผู้แทนพระองค์

          ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องแปลกที่มาตรา 112/2 ให้ความคุ้มครองประธานองคมนตรี, องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ (ตำแหน่งเหล่านี้อาจเป็นบุคคลธรรมดา) เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระราชทายาท หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็ ต้องปรับใช้มาตรา 30 หรือ 30/1 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า

         "มาตรา 30 ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกำหนด 1 ปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้

         มาตรา 30/1 ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 80,000 บาท ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทน ค่าปรับ"

        จาก 2 มาตรานี้เห็นได้ว่า หากผู้ต้องหาถูกปรับต่ำกว่า 80,000 บาทและไม่สามารถจ่ายค่าปรับ/จ่ายค่าปรับไม่ครบ จะต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับในอัตรา 1 วันต่อ 200 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ส่วนโทษปรับที่สูงกว่า 80,000 บาทอาจถูกจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ถูกปรับต่ำกว่า 80,000 บาทสามารถขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนได้

         เนื่องจากมีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นจำนวนมากทั้งจากใน ประเทศ-ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนมองว่า บางมาตราไม่เหมาะสมที่บุคคลธรรมดาจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับพระบรม วงศานุวงศ์จนทำให้ สนช. ต้องยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด

        ปี 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

       "ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา 112/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

        มาตรา 112/1 ผู้ใดรู้ว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา 112 ไม่นำความเข้าแจ้งต่อพนักงานสอบสวน แต่กลับนำความไปกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายต่อหน้าธารกำนัลหรือประชาชนว่ามีการ กระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 นั้น"

       ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม ม.112 อีก 1 มาตรา เพื่อลงโทษผู้ที่ใช้ ม.112 กล่าวร้ายผู้อื่นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยใช้บทลงโทษเดียวกับ ม.112 แต่หลายฝ่ายมองว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้ ม.112 เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดผู้นำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด
ปี 2554 คณะนิติราษฎรนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า

        "มาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

        มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นลักษณะ ... ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา... มาตรา...มาตรา... มาตรา... มาตรา... มาตรา... และมาตรา... แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ลักษณะ ...

        ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

        มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้ กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้ กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       มาตรา ... ผู้ใด ติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

        มาตรา ... ในกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามลักษณะ... ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

       ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็น เรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวแล้วแต่กรณี และการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์
มาตรา ... ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหา กษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้สานักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษว่ามี การกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”

        ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการนำเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และให้เพิ่มลักษณะใหม่คือ "ลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" แทน ลักษณะนี้มี 7 มาตรา โดยแยกการหมิ่นประมาทและดูหมิ่น/อาฆาตมาดร้ายออกจากกัน แยกกษัตริย์และพระราชินี/รัชทายาท/ผู้สำเร็จราชการออกจากกัน นอกจากนี้ยังเพิ่มการกระทำโดยการโฆษณา รวมทั้งยังมีการกำหนดการกระทำที่ไม่เป็นความผิดและผู้ที่มีอำนาจในการกล่าว โทษอีกด้วย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 7 มาตรานี้เป็นลดโทษ ม.112 จากเดิมมากกว่าครึ่ง แต่เพิ่มโทษปรับเข้าไปแทน ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร โดยไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำของทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ


       29 พ.ค. 2555 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก 112) สามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กว่า 40,000 คนเพื่อยื่นต่อรัฐสภาได้สำเร็จ แต่รัฐสภาปฏิเสธการรับพิจารณา โดยอ้างว่า ม.112 อยู่ในหมวด 2 ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจประชาชนในการแก้ไขได้ในเวลาต่อมา

       ปี 2555 สมยศ พฤกษาเกษมสุข (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตรสาร Voice of Taksin) และผู้เขียน (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112 จากการเป็นผู้จำหน่ายวีดีทัศน์รายการ Foreign Correspondent และเอกสาร Wikileaks) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่

      10 ต.ค. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยที่ 28-29/2555 (สมยศและผู้เขียนยื่นคำร้องแยกกัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารวมกัน) โดยวินิจฉัยว่า ม.112 ไม่ขัดแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง (เป็นไปตามหลักนิติธรรม), มาตรา 8 (สอดคล้องกับการให้ความคุ้มครองกษัตริย์), มาตรา 29 (เป็นการกำหนดโทษเท่าที่จำเป็นและไม่ได้มุ่งหมายให้บังคับเป็นการเจาะจง) และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง-สอง (ไม่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น) แต่อย่างใด ดังนั้น ม.112 จึงยังมีผลบังคับใช้ต่อไป

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550


        พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นร่างกฎหมายที่นำเสนอในสมัยของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เกิดการรัฐประหารขึ้นก่อน การพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้จึงต้องยุติลง

       ต่อมารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อใน สนช. จนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2550 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า

       "มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

      (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

      (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

      มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14"

       พ.ร.บ. 2 มาตรานี้เป็นความพยายามของฝ่ายผู้ปกครองที่จะออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมการ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอินเตอร์เน็ต โดยที่ ม.112 ไม่สามารถเอาผิดได้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 17 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษ ในไทยด้วยเช่นเดียวกับ ม.112

       ปี 2554 รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ....... เพื่อยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับเดิม และใช้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่แทน ทั้งที่ พ.ร.บ. ฉบับเดิมมีผลบังคับใช้เพียงไม่ถึง 4 ปี สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่มาตรา 24 ซึ่งมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ส่วนมาตรา 27 เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 โดยกำหนดห้ามมิให้ลงโทษผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า ผู้นั้นจงใจสนับสนุนหรือละเว้นไม่ดำเนินการแก้ไขซึ่งการเผยแพร่ข้อมูล คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 24 นอกจากนี้ยังมีมาตรา 29 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษ ในไทยเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 17 ด้วย แม้ว่ามาตรา 27 ของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ดูเหมือนจะดีกว่า พ.ร.บ. ฉบับเก่า แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กลับแฝงวาระซ่อนเร้นมากมาย เช่น พ.ร.บ. ฉบับเก่าสามารถเอาผิดเฉพาะผู้กระทำ, ผู้เผยแพร่ และผู้ดูแลระบบเท่านั้น แต่ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่กลับครอบคลุมไปถึงผู้ครอบครองไฟล์เหล่านี้ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ ตาม
หากร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ผู้เขียนเชื่อว่าจะต้องมีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เข้าข่ายกระทำความผิด เหล่านี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่จึงถูกต่อต้านอย่างหนักจากทุกฝ่ายจนรัฐบาลต้องยอมถอนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ออกไปในที่สุด

        ปี 2555 คธา (สงวนนามสกุล) (ผู้ต้องหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) จากการโพสต์ข้อความในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอ ให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่

      13 ก.ย. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องฉบับนี้ เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นมุ่งคุ้มครองความมั่นคงประเทศ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวมซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม และการกำหนดความผิดทางอาญาแก่บุคคลตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ถูกต้อง และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (3) คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

การนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

      ผู้เขียนพิจารณาถึง กฎหมายนิรโทษกรรมในอดีตที่ผ่านมาพบว่า มี กฎหมายนิรโทษกรรม 3 ฉบับที่เข้าข่ายนิรโทษกรรมให้กับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่ไม่มีฉบับใดเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยว กับคอมพิวเตอร์

      24 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข โดยเข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการ และควบคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์, เจ้านายชั้นสูง และข้าราชการฝ่ายรัฐบาลไปอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน ต่อมา พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นประกาศถึงจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และการสถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม การกระทำและประกาศคณะราษฎรฉบับนี้ถูกฝ่ายที่ผู้นิยมระบอบเดิมมองว่าเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

 http://th.image.ohozaa.com/i/6b7/o8h10.jpg
        ขณะนั้น ร.7 ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจสำเร็จจึงมอบหมายให้ น.ต.หลวงศุภชลาศัย นำหนังสือกราบบังคมทูลให้ ร.7 เสด็จกลับสู่พระนครเพื่อกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร

        26 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรนำโดย พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ, พ.ต.หลวงวีระโยธิน, หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ ณ บางช้าง, สงวน ตุลารักษ์ และ พล.ร.ต.พระศรยุทธเสนี เข้าเฝ้า ร.7 การเจรจาเป็นไปอย่างเคร่งเครียด คณะราษฎรยื่นข้อเสนอให้ ร.7 ทรงยอมรับรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร เพื่อที่ ร.7 จะได้ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป นอกจากนี้คณะราษฎรยังเจรจาขอให้ ร.7 ทรงพระราชทานอภัยโทษต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรในครั้งนี้ด้วย ร.7 ทรงยอมลงพระนามใน พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2475 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

        "บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้น ไม่ว่าของบุคคลใดๆในคณะราษฎรนี้ หากว่าจะเป็นการละเมิดบทกฎหมายใดๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย"

      จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคณะราษฎรในทุกข้อกล่าวหา รวมทั้งกฎหมายลักษณะอาญา  ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ด้วย พ.ร.ก. ฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ


       ปี 2519 บุญชาติ เสถียรธรรมมณี ผู้จัดการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม ถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและข้อหาอื่น (คดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา) เขาเลือกที่จะต่อสู้คดีนี้โดยไม่ได้รับการประกันตัว

      15 ก.ย. 2521 รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการนิร-โทษกรรมการหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพอยู่ในมาตรา 4 ซึ่งระบุว่า

      "มาตรา 4 ให้ศาลทหารกรุงเทพดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำ ที่ 253ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19) และให้ศาลอาญาดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา"

       จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา ซึ่งเป็นคดีละเมิด ม.112 ส่งผลให้ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากศาลโดยไม่มีคำพิพากษาใดๆ บุญชาติ เสถียรธรรมมณี จึงได้รับการปล่อยตัวในที่สุด
24 ส.ค. 2532 รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช อาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็น คอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 โดยมีสาระสำคัญอยู่ในมาตรา 3 คือ

        "บรรดาการกระทำของบุคคลใด ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2531 หากการกระทำนั้นเป็นความผิดดังต่อไปนี้

 (1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา
 (2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
 (3) ความผิดฐานอื่นที่เป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม (1) หรือ (2) 


       ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง”

      แม้ว่าสาระในมาตรานี้ (1) ดูเหมือนเป็นการนิรโทษกรรมให้กับการละเมิด ม.112 แต่ผู้เขียนไม่พบว่า มีผู้ใดได้รับการนิรโทษกรรมโดยตรงจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้

       13 ก.ค. 2529 วีระ มุสิกพงศ์ กล่าวปราศรัยหาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่ อ.สตึก และ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ การปราศรัยของเขาถูกกล่าวหาละเมิด ม.112 ในเวลาต่อมา

      22 ก.ค. 2531 ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปีในข้อกล่าวหาละเมิด ม.112 แต่เขาได้รับการพระราชทานอภัยโทษหลังจากถูกจำคุกเพียงกว่า 1 เดือน พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมโดยตรงให้กับเขา แต่เป็นการนิรโทษกรรมทางอ้อม เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุให้บุคคลที่เคยต้องโทษละเมิด ม.112 ถูกล้างโทษเสมือนไม่เคยต้องโทษมาก่อน ส่งผลให้เขาสามารถกลับเข้าสู่การเมืองได้อีกครั้ง

        นอกจากนี้ยังมีการนิรโทษกรรมผ่านทางการขอพระราชทานอภัยโทษ ทั้งการถวายฎีกาเป็นรายบุคคล (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259) เช่น สุวิชา ท่าค้อ (2553) และ เลอพงษ์ หรือ โจ กอร์ดอน (2555) และการตรา พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ) เช่น สุริยันต์ และ สุชาติ นาคบางไทร (พ.ร.ก.พระราชทานอภัยโทษ 2555)

ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม 2555-2556


        กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 8 ฉบับที่นำเสนอจากหลายฝ่ายในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีแม้แต่ฉบับเดียวที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญา ม.112/พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด แต่จะสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรม เหล่านี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็อาจไม่ถูกต้องนัก

        ผู้เขียนพิจารณาร่าง กฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 8 ฉบับพบว่า มีร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่น่าสนใจคือ ร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ เพื่อการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง (นำเสนอโดยคณะนิติราษฎร์ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 19 ก.ย. 2549-9 พ.ค. 2554) และร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการ เมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554 (นำเสนอโดย นปช. ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 1 ม.ค. 2550-31 ธ.ค. 2554)

        ร่างกฎหมายของคณะนิติราษฎร์ มาตรา 291/3 มีข้อความที่ระบุว่า "การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ เมือง" และร่างกฎหมายของ นปช. มาตรา 3 มีข้อความที่ระบุว่า "กระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง" เมื่อพิจารณาข้อความทั้ง 2 นี้ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ใช่ว่าทุกกรณีของการ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้

        ปี 2552 คธา อดีตโบรกเกอร์บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งถูกกล่าวหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ด้วยการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระเจ้าอยู่หัวใน เว็บไซด์แห่งหนึ่ง

       ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" และอยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ แต่คำให้การในคดีของเขาไม่ปรากฏว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้

        ปี 2546 บัณฑิต อานียา นามแฝงของนักแปลอิสระ ซึ่งปราศรัยในงาน "กฎหมายพรรคการเมือง: โอกาสและข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาพรรคการเมือง" ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนำเอกสาร 2 ฉบับแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมงาน ต่อมาเขาถูกกล่าวหาว่า กระทำการละเมิด ม.112 ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" แต่ไม่อยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ และไม่มีมูลเหตุมาจากการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองแต่อย่างใด ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้เช่นเดียวกัน

ถาม สมศักดิ์ เจียมฯ: ทำไมต้องเถียงกันเรื่อง"ยกเลิก”หรือ“แก้ไข" ม.112


วาด รวี ถาม สมศักดิ์ เจียมฯ: ทำไมต้องเถียงกันเรื่อง"ยกเลิก”หรือ“แก้ไข" ม.112


         บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อตั้งคำถามและวิพากษ์ความคิดของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลที่วิจารณ์ข้อเสนอเรื่อง 112 ของคณะนิติราษฎร์และ ครก.112 ในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา ตลอดเวลาที่สมศักดิ์วิจารณ์ข้อเสนอเรื่อง 112 ของคณะนิติราษฎร์ มีประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น คือ สมศักดิ์เห็นว่าข้อเสนอที่ถูกต้องนั้นคือการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 เท่านั้น เพื่อยืนยันว่า “กฎหมายที่ดีพอสำหรับคนธรรมดา ก็ต้องดีพอสำหรับเจ้า” และข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์มาจากฐานคิดเดียวกับรอยัลลิสต์คือ “เจ้าไม่เท่ากับคนธรรมดา”
โปรดสังเกตว่าข้อวิจารณ์นิติราษฎร์และ ครก.112 ของสมศักดิ์นั้น มองไม่เห็นข้อเท็จจริงสำคัญอันหนึ่ง  คือ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะภายใต้การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างที่เป็นอยู่ ทุกคนล้วนถูกบังคับให้ต้องเสนอภายใต้กรอบของระบอบ constitutional monarchy ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ตัวสมศักดิ์เองซึ่งอ้างอยู่ตลอดเวลาว่า ข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของตนนั้น เป็นไปเพื่อทำให้สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันสมัยใหม่

        พูดง่าย ๆ คือสมศักดิ์เองก็อ้างอยู่เสมอว่าตัวเองกำลังเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว (สมศักดิ์พูดหลายครั้งว่าเป็นไปเพื่อเป็น “ผลดี” ต่อสถาบันกษัตริย์เอง รวมทั้งในการพูดครั้งหลังสุดที่งาน 80 ปี ส.ศิวรักษ์)

        คำถามก็คือ ข้อเสนอ 8 ข้อของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่ตั้งอยู่บนฐานคิดของรอยัลลิสต์กระนั้นหรือ? (ยังเสนอให้มีสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันประมุขของประเทศ)
ข้อเสนอของสมศักดิ์มีความแตกต่างอย่างไรกับข้อเสนอของคณะนิติ ราษฎร์ ในเมื่อทั้งสองข้อเสนอตั้งอยู่บนฐานคิดว่าให้มีสถาบันกษัตริย์ (และรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ในระยะยาวในกรณีของสมศักดิ์)

        โปรดสังเกตว่า เหตุผลที่เสนอให้แก้ไข 112 ของคณะนิติราษฎร์นั้นเป็นเหตุผลในทางกฎหมาย โดยให้สถาบันกษัตริย์ (ตามกรอบเดิมคือ กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ถือเป็นสถาบันประมุขที่อาจทำหน้าที่เป็นตัวแทน (representative) รัฐ ดังนั้นจึงให้มีการแยกแยะกฎหมายไว้ต่างหาก และให้โทษเฉพาะตำแหน่งกษัตริย์มากกว่าคนธรรมดาอยู่ 1 ปี ส่วนเหตุผลของสมศักดิ์ที่ให้ยกเลิกนั้นคือ เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นสมัยใหม่ (ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนหรือเป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์เอง – คำพูดของสมศักดิ์เองที่อ้างอยู่เสมอ)

        ถามตรง ๆ ว่าเหตุผลใครเป็นรอยัลลิสต์มากกว่ากัน? สามารถพิสูจน์สิ่งนี้ภายใต้สภาพบังคับปัจจุบันได้ไหม?

         “หลักการ” อะไรที่สมศักดิ์เอามาประเมิน (ว่าข้อเสนอ 112 ของนิติราษฎร์เป็นประชาธิปไตยหรือไม่) ภายใต้สภาพบังคับของระบอบ constitutional monarchy ?
ถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่สมศักดิ์เองและปัญญาชนที่เคลื่อนไหวในเรื่อง 112 ทราบกันดีอยู่แก่ใจก็คือ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันนี้ กรอบการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองเดียวที่เสนอได้ก็คือกรอบของระบอบ constitutional monarchy ไม่สามารถเสนอระบอบอื่นนอกเหนือจากนี้ได้ ทั้งที่ในสังคมประชาธิปไตยย่อมเป็นเรื่องปรกติที่ประชาชนจะมีความเห็นหรือ แสดงออกว่าอยากให้มีระบอบการปกครองแบบใดก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น constitutional monarchy เท่านั้น ดังนั้นข้อเสนอทุกข้อเสนอย่อมถูกบังคับ (ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่) ให้ต้องเสนอในกรอบของรอยัลลิสต์ (คือต้องมีสถาบันกษัตริย์) ไม่มากก็น้อย


         ถามว่าภายใต้สภาพบังคับแบบนี้ การที่สมศักดิ์วิจารณ์ข้อเสนอของนิติราษฎร์ว่าเป็นรอยัลลิสต์นี้ ขัดแย้งกับตัวเองหรือไม่? มองไม่เห็นสภาพบังคับ และมองไม่เห็น “ความเป็นรอยัลลิสต์” ในข้อเสนอ 8 ข้อของตนเองหรือ?

        สถาบันกษัตริย์นั้นเป็นสถาบันที่ “ไม่เท่ากับคนธรรมดา” โดยธรรมชาติ (ไม่เช่นนั้นจะเรียกสถาบันกษัตริย์ได้อย่างไร?) และความสืบเนื่องของสถาบันกษัตริย์ (สายตระกูล) ก็เป็นอะไรที่ขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตยโดยธรรมชาติ นี่เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้น เนื้อหาที่แท้จริงของการพยายามปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยภายใต้กรอบของระบอบ constitutional monarchy นั้นก็คือ การที่คุณกำลังพยายามเสนอให้สิ่งที่ขัดแย้งกับประชาธิปไตยโดยธรรมชาติสามารถอยู่ภายใต้หลักประชาธิปไตย (ทุกคนเท่ากัน) ได้ นี่คือโจทย์ ถ้าคุณยังต้องการเสนอในที่สาธารณะโดยถูกกฎหมาย โจทย์ก็คือ คุณจะเสนออย่างไรให้สิ่งที่ไม่เท่ากันโดยธรรมชาตินี้ ดำรงอยู่ได้โดยไม่ละเมิดความเท่าเทียมกันภายใต้หลักการประชาธิปไตย

           เพราะฉะนั้น หากจะวิจารณ์ข้อเสนอเรื่อง 112 ของคณะนิติราษฎร์และ ครก.112 ว่า “ไม่เป็นประชาธิปไตย” (สมศักดิ์ใช้คำนี้ในเฟซบุค) อย่างไร คุณก็ต้องประเมินบนฐานคิดภายใต้สภาพบังคับคือ “จะทำให้สถาบัน กษัตริย์ดำรงอยู่ หรือ ทำให้สถาบันที่โดยธรรมชาติไม่เท่ากับคนธรรมดา ดำรงอยู่ภายใต้หลักประชาธิปไตย (ทุกคนเท่ากัน)” อย่างไร  ไม่ใช่หลักว่า “ทำให้เจ้าเท่ากับคนธรรมดา” อย่างไร

       การเสนอให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 และให้ใช้กฎหมายร่วมกับคนธรรมดาก็คือหนทางหนึ่ง การเสนอให้ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นกษัตริย์โดยใช้โครงสร้างเดียวกับกฎหมายที่ใช้ กับคนธรรมดาดังเช่นร่างกฎหมายที่นิติราษฎร์เสนอก็คือหนทางหนึ่ง  แต่การจะบอกว่าหนทางไหนผิด หนทางไหนถูก สามารถบอกได้โดยใช้หลัก “เจ้าเท่ากับคนธรรมดา” ได้กระนั้นหรือ?

       ถ้าจะบอกว่าใช้หลัก “เจ้าเท่ากับคนธรรมดา” มาเป็นตัวชี้วัด ถามว่า แล้วการเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 8 ข้อของสมศักดิ์ เป็นการเสนอให้ “เจ้าเท่ากับคนธรรมดา” อย่างไร ในเมื่อสุดท้ายแล้วสาระของข้อเสนอก็คือยังคงมี “เจ้า” (ไม่ใช่คนธรรมดา) อยู่ จะเห็นได้ว่า ถ้าจะ apply หลักให้เจ้าเท่ากับคนธรรมดาจริง ๆ ก็คือต้อง “ไม่มีเจ้า” นั่นก็เท่ากับเป็นการเสนอระบอบอื่นที่ไม่ใช่ constitutional monarchy แต่เสนอไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย ในเมื่ออยู่ในสภาพที่เสนอไม่ได้แล้วจะเอาหลักนี้มาประเมินได้อย่างไร?


         ภายใต้ระบอบ constitutional monarchy คุณจะวัดว่าแนวคิดหรือข้อเสนอใด เป็น หรือ ไม่เป็น ประชาธิปไตย คุณใช้หลัก “เจ้าเท่ากับคนธรรมดา” มาเป็นตัวชี้วัดไม่ได้ เพราะโดยสภาพของระบอบไม่อนุญาตให้หลักนี้ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น หลักที่ถูกต้องในการชี้วัดคือ “เจ้าจะอยู่กับคนธรรมดาได้อย่างไร” นี่คือคำถามที่แท้จริงของสถานการณ์ที่กำลังถูกบังคับ

         แต่สมศักดิ์ก็วิจารณ์ร่างแก้ไข 112 ของนิติราษฎร์โดยใช้หลัก “เจ้าเท่ากับคนธรรมดา” มาตลอด โดยไม่ตระหนักเลยว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อเสนอของตัวเอง ในกรณีข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สาระของข้อเสนอทั้ง 8 ข้อ นั้น ถึงที่สุดยังคงเป็นการเสนอให้มี “สถานภาพที่ไม่เท่ากับคนธรรมดา” อยู่นั่นเอง ไม่ใช่ข้อเสนอที่ให้ “เจ้าเท่ากับคนธรรมดา”  จริง ๆ (ไม่มีเจ้า)  เพราะเสนอไม่ได้ ในเมื่อรู้ว่าตัวเองเสนอไม่ได้ รู้ว่ากรอบบังคับคืออะไร หลักไหนที่ไม่สามารถใช้ได้โดยตลอด แล้วทำไมจึงใช้หลักนั้นมาประเมินข้อเสนอของคนอื่น? (โดยยกเว้นตัวเอง)

         ภายใต้การบังคับนี้ เราจะสามารถตัดสินได้ว่า ข้อเสนอเรื่อง 112 ของคณะนิติราษฎร์ เป็น หรือ ไม่เป็น รอยัลลิสต์ เช่นนั้นหรือ? ตราบใดที่กรอบเดียวที่เสนอได้คือ constitutional monarchy  และในเมื่อตัวกฎหมายที่เสนอนั้นก็มีดีกรีของความเป็นประชาธิปไตยไม่น้อยไป กว่ากฎหมายที่มีอยู่ในประเทศที่ (ใช้กรอบเดียวกันและ) ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตย คุณจะประเมินว่าร่างกฎหมายนี้เป็นการเสนอที่ผิดด้วยหลักอะไร?

          วิวาทะเรื่อง “ยกเลิก” หรือ “แก้ไข” กฎหมายอาญามาตรา 112 นี้มีสภาพที่ paradox เหมือนกับการพยายามเปิดล็อกประตูเพื่อเอากุญแจที่อยู่ในประตู กล่าวคือ เป็นการกระทำเพื่อจุดมุ่งหมายที่หากกระทำสำเร็จแล้วจุดหมายนั้นก็จะกลายเป็น สิ่งที่ไร้ความหมายโดยทันที หากว่าสามารถ “เปิด” ประตูได้ การได้มาซึ่ง “กุญแจ” ก็ไม่มีความหมาย ในขณะที่ระหว่างที่พยายามเปิดประตูเรากลับคิดถึง “กุญแจ” อยู่ตลอดเวลา สังเกตว่าในประเทศยุโรปที่มีกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ใน “มาตรฐานเดียวกับร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์” การ “ยกเลิก” กฎหมายฯ ไม่เป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองที่จะส่งผลกับความเป็นประชาธิปไตยเลยแม้แต่ น้อย ในกรณีของไทย ความ paradox คือ ถ้าเมื่อไรที่สังคมสามารถแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายนี้ได้ นั่นก็เท่ากับสังคมนี้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าปัจจุบัน (มาก) และอาจจะมากถึงจุดที่ว่า การยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกต่อไป ขณะเดียวกันในสภาพปัจจุบันที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยก็ทำให้การแก้ไขหรือยก เลิกกฎหมายนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง (ยิ่งไม่สามารถเปิดประตูกุญแจก็ยิ่งสำคัญ) หากเราเข้าใจสภาวะที่ paradox นี้ ก็จะเห็นว่า การโต้เถียงกันเรื่อง “ยกเลิก” หรือ “แก้ไข” กฎหมายอาญามาตรา 112 นี้เป็นสิ่งที่สูญเปล่า และไม่ใช่ประเด็นสำคัญของสถานการณ์ เพราะประเด็นสำคัญคือ “ความเป็นประชาธิปไตย” ไม่ว่าจะได้มาก่อนหรือหลังการ “แก้ไข” หรือ “ยกเลิก” กฎหมาย (ประเด็นคือ ความสามารถที่จะเปิดประตู ไม่ใช่การได้กุญแจ)

         คำถามที่ผมอยากจะถามสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คือ ประเด็นของการถกเถียงเรื่อง “ยกเลิก” หรือ “แก้ไข” กฎหมายอาญามาตรา 112 ในสภาพแบบนี้ สภาพที่ถูกบังคับให้เสนอได้เพียงกรอบเดียว และสภาพที่มีความเป็น paradox นี้ คืออะไร จะเถียงกันเพื่ออะไร?



จากบทความเดิมชื่อ: ถามสมศักดิ์ เจียมฯ: ภายใต้สภาพบังคับของระบอบ constitutional monarchy  และความ paradox ของสถานการณ์กฎหมายอาญามาตรา 112 จะเถียงกันเรื่อง “ยกเลิก” หรือ “แก้ไข” เพื่ออะไร?

10 เมษา ผบ.ทบ.จี้ธาริตหาคนยิงทหาร ภรรยา ‘ร่มเกล้า’ วอนดีเอสไออย่าถอยหลัง

10 เมษา ผบ.ทบ.จี้ธาริตหาคนยิงทหาร ภรรยา ‘ร่มเกล้า’ วอนดีเอสไออย่าถอยหลัง

          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จี้ ‘ธาริต’ แจงคดีทหารดับ 10 เม.ย. 53 ลั่นหาคนผิดให้ได้ ชี้จนท.-ปชช.ต่างสูญเสีย ภรรยา ‘ร่มเกล้า’ นำญาติทหารผู้เสียชีวิตทำบุญ วอนดีเอสไอนำหลักฐานทุกฝ่ายพิจารณา สังคมเลิกเสพติดความรุนแรง ‘อนุพงษ์-พะจุณณ์-นพ.ตุลย์’ ร่วมทำบุญ

         10 เม.ย. 56 ข่าวสดออนไลน์  รายงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ กลุ่ม นปช. มีการชุมนุมในวันครบรอบ 3 ปี เพื่อรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย.53 ว่า ก็รำลึกไป เพราะมีคนสูญเสียและตนก็รำลึกอยู่เหมือนกัน เพราะทหารก็สูญเสียและต้องไปหาว่าใครเป็นคนทำ อย่ามาพูดเพียงฝ่ายเดียว ตนไม่อยากทะเลาะขัดแย้งกับใคร แต่ตนต้องให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่และลูกน้องของตน ที่มีทั้ง ตำรวจ พลเรือน ทหาร ที่สูญเสียว่าใครทำ หากรำลึกตนก็รำลึกเหมือนกัน ถ้ายังไม่จบก็ไม่จบ
ส่วนความคืบหน้าคดีของกำลังพลที่บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้นกำลังดำเนินการอ ยู่ เพราะได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสูญเสียจากเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 ให้ช่วยติดตาม โดยตนจะให้คณะทำงานที่ปรึกษาทางกฎหมายของกองทัพบกทำหนังสือถึงกรมสอบสวน พิเศษ(ดีเอสไอ) ชี้แจงความก้าวหน้าของคดีดังกล่าวด้วย เพราะจะรู้สึกเหมือนเราไม่ได้ดูแลผู้บังคับบัญชา ความจริงแล้วเราพยายามเร่งรัดติดตาม แต่รู้สึกไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไหร่ ต้องหาให้ได้ว่าใครทำ หากฝ่ายหนึ่งบอกไม่ได้ทำ ก็ต้องมีอีกฝ่ายที่ทำ ต้องหามา เพราะทหารก็เป็นประชาชนเหมือนกัน

ภรรยา ‘ร่มเกล้า’ นำญาติทหารผู้เสียชีวิตทำบุญ วอนดีเอสไอนำหลักฐานทุกฝ่ายพิจารณา

        คมชัดลึกออนไลน์ รายงาน ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 เม.ย.2556 นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (รองเสธ.พล.ร.2 รอ.) พร้อมครอบครัว ได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในโอกาสครบรอบ 3 ปีของการเสียชีวิตพล.อ.ร่มเกล้าและทหารที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยและขอคืนพื้นจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณสี่แยกคอกวัว และหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2553
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภาพจากเฟซบุ๊ก 'Wassana Nanuam'

         โดยมีอดีตผู้บังคับบัญชาของพล.อ.ร่มเกล้ามาร่วมงานด้วยอาทิ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพน้อยที่ 1 และอดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์(ผบ.พล.ร.2รอ.) พ.อ.เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21รอ.) รวมถึงเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 25 นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญต่างๆมาร่วมงานด้วยอาทิ พล.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี นพ.ตุลย์ ศรีสมวงศ์ แกนนำเสื้อหลากสี

         นางนิชา กล่าวว่า เหตุการณ์ผ่านไป 3 ปี คดีของพล.อ.ร่มเกล้ายังไม่คืบหน้า ซึ่งผลสรุปของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ระบุว่ามีพยานและ เอกสารจำนวนมากไม่ถูกนำมาประกอบคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยปีแรกดีเอสไอแถลงว่า พ.อ.ร่มเกล้าเสียชีวิตจาก นปช. จากนั้นมาเปลี่ยนเป็นฝีมือของชายชุดดำ ต่อมาเปลี่ยนมาสรุปว่าไม่สามารถสืบหาพยานหลักฐานได้

         "ดีเอสไอต้องทำความกระจ่างให้กับเราและสังคมว่าเพราะอะไร การแถลงทิศทางคดีถึงเป็นไปในทางที่ถอยหลัง ผลสรุปของคณะกรรมาธิการฯ ประเด็นหนึ่ง คือ การคืนความชอบธรรมให้กับเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งไม่ได้ตั้งใจ ที่จะใช้อาวุธ คือกรณีที่ช่างภาพญี่ปุ่น และนายวสันต์ ภู่ทอง ไม่ได้เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร เรามายืนอยู่ตรงนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว ทุกคนรู้สึกเบื่อ เหนื่อย ท้อ หวังว่าปีหน้าไม่ต้องกลับมายืนอยู่ตรงนี้และคุยเรื่องนี้อีก"  นางนิชา กล่าวและว่า

         ผู้เสียชีวิตทุกคนมีคุณค่าเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นทหารยศใด หรือ พี่น้องสีใด แต่ที่จำเป็นต้องหยิบคดี พ.อ.ร่มเกล้า ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการเรียกร้องความยุติธรรม และเรียกร้องให้สังคมไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา เป็นหลักประกันในอนาคตว่าสังคมไทยไม่เสพติดการใช้ความรุนแรง และหากรัฐบาลตั้งใจ จริงใจที่ทำให้เรื่องนี้ให้คลี่คลายไปได้ก็เป็นสิ่งที่เรารอคอย ก็จะสร้างความเชื่อมั่นต่อคนในสังคมต่อระบบนิติรัฐ อยากขอร้องให้รัฐบาล และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในเรื่องการติดตามคดี

        "ส่วนที่มองว่าผู้นำกองทัพอาจจะมีท่าทีอ่อนลงในการช่วยเหลือผู้ใต้บังคับ บัญชานั้น คิดว่าสังคมทหารมีความใกล้ชิด และ เป็นครอบครัวเดียวกัน ในงานทำบุญวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ร่วมเป็นเจ้าภาพให้กับพี่น้องที่เสียชีวิตในวันนี้ด้วย แม้ท่านจะไม่ได้มาเอง ส่วนตัวเชื่อมั่นต่อผู้บังคับบัญชาของพล.อ.ร่มเกล้า" นางนิชา กล่าว

รายงาน: 3 ปี 10 เมษา ภาพรวมไต่สวนการตาย และเรื่องเล่าจากคำเบิกความ


          ผู้คนทั่วไปน่าจะยังจดจำเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ได้ในฐานะหนึ่งในเหตุการณ์ความรุนแรงในยุคการเมืองสมัยใหม่ มันเป็น “จุดแตกหักแรก” ที่เกิดความสูญเสียชีวิตมากมายในพื้นที่ทางการเมืองเดิมๆ บริเวณใกล้ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ผ่านไป 3 ปี สถานการณ์การเมืองเริ่มเข้าสู่ความมีเสถียรภาพ มีประเด็นร้อนต่างๆ เข้ามาสู่ความสนใจของเรามากมาย แต่ในวาระ 10 เมษายน ถือเป็นโอกาสที่จะทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง ในแง่มุมของการประมวลภาพ “กระบวนการยุติธรรม” ที่เกี่ยวข้องกับความตายทางการเมืองครั้งนี้

       เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 25 ราย เป็นประชาชน 20 ราย ทหาร 5 ราย (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบด้านล่าง)  แต่รายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ .ค.2553 หรือ ศปช. รายงานเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย คือ

           1.นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ อายุ 54 ปี ถูกยิงด้วยเอ็ม 16 ที่ลำคอในเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 และได้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลกลางเสียชีวิตเมื่อ 15 พ.ค.53

           2.นายอนันท์ ชินสงคราม อายุ 38 ปี โดนแก๊สน้ำตาที่สะพานมัฆวานในช่วงบ่าย หลังจากนั้นมีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หมอวินิจฉัยว่ามีอาการปอดอักเสบ จากนั้นป่วยจนทำงานไม่ได้ และเสียชีวิตจากอาการปอดติดเชื้อเมื่อวันที่ 6 ต.ค.53

         โดยส่วนใหญ่เสียชีวิตใน 2 จุดหลัก ได้แก่ ถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว และ ถนนดินสอ บริเวณโรงเรียนสตรีวิทยา ในเหตุการณ์มี “ชายชุดดำ” โผล่เข้ามาด้วยทำให้ลำดับเวลาของการเสียชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งรายงานของแต่ละองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ก็มีส่วนสำคัญบางจุด ก็ยังไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นจากปากคำประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุและข้อมูลของศูนย์ข้อมูล ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการการสลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.) ก็ระบุตรงกันว่าเริ่มมีผู้ชุมนุมถูกยิงเสียชีวิตทั้งแต่ช่วงหัวค่ำก่อนการ ปรากฏตัวของชายชุดดำ


       นอกจากนี้แล้ว ในจำนวน 25 รายนั้น ยังมีผู้เสียชีวิต 1 รายคือ นายเกรียงไกร คำน้อย ที่ถูกยิงตั้งแต่ช่วงบ่ายที่มีการปะทะกันที่บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ และอีก 1 รายคือ นายมนต์ชัย แซ่จอง  ถูกแก๊สน้ำตาและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

       ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด มีส่วนที่อยู่ในขั้นต่อนของการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ หรือที่เรียกว่า ไต่สวนการตายแล้ว 5 ราย แยกเป็น 2 คดี

       คดีแรก  ประกอบด้วย ฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ชาวญี่ปุ่น ช่างภาพรอยเตอร์ , วสันต์ ภู่ทอง, ทศชัย เมฆงามฟ้า

        คดีที่สอง ประกอบด้วย จรูญ ฉายแม้น , สยาม วัฒนานุกูล

         โดยทั้งสองคดีนี้ใช้พยานร่วมกัน แต่เหตุที่ไม่อาจรวมกันได้เนื่องจากตำรวจส่งเรื่องให้อัยการล่าช้ากว่ากันมาก

        อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคือ คดีของ มานะ อาจราญ ซึ่งนับเป็นคดีเดียวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ที่ศาลมีคำสั่งแล้วว่า “เสียชีวิตโดยไม่ทราบผู้ยิง”


         มานะ อาจราญ เสียชีวิตขณะอายุ 24 ปี เป็นพนักงานสวนสัตว์ดุสิต (เขาดิน) ถูกยิงที่ศีรษะกลางดึกของวันที่ 10 เม.ย.53 ภายในสวนสัตว์ขณะที่เพิ่งออกเวรจากการเฝ้าบ่อเต่าและเกิดเหตุการณ์ชุลมุน ขึ้นพอดี

        คดีของมานะนับเป็นกรณีที่ 2 ที่ศาลมีคำสั่งไม่ทราบผู้ยิง ส่วนคดีแรกคือ คดีของนายบุญมี เริ่มสุข

        ส่วนการไต่สวนการตายอีก 4 กรณีก่อนหน้านั้นส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์บริเวณถนนพระราม 4 ในช่วงเดือนพฤกษภาคมปีเดียวกัน โดยศาลมีคำสั่งชัดเจนว่ากระสุนมาจากทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่ คือ นายคำ พันกอง, นายชาญณรงค์ พลสีลา, นายชาติชาย ชาเหลา, ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ น้องอีซา

         มาโนช อาจราญ พ่อของเขาเคยเบิกความต่อศาลว่า เชื่อว่าความตายของบุตรชายเกิดจากการกระทำของทหาร เนื่องจากในวันดังกล่าวทหารเข้ามาในสวนสัตว์และถืออาวุธปืนเอ็ม 16 เข้ามาด้วย อย่างไรก็ตาม ที่่ผ่านมาได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำนวน 400,000 บาท กองคลัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 50,000 บาท ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 30,000 บาท และจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 7.2 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายสองงวด จึงไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มและไม่ติดใจดำเนินคดีต่อ (อ่านข่าวที่นี่)

         พลอากาศตรี นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพมานะ ระบุว่า มานะเสียชีวิตจากการถูกกระสุนปืนลูกโดด ที่มีความเร็วสูงที่บริเวณศีรษะ ทำลายเนื้อสมองฉีกขาด ในทางปฏิบัติกระสุนชนิดดังกล่าวจะพบในปืนที่ใช้ในการสงคราม เช่น ปืนเอ็ม 16 และปืนอาก้า  (อ่านข่าวที่นี่)

         “บาดแผนกระสุนปืนลูกโดด 1 แห่ง เข้าที่ศีรษะซีกขวาหลัง กะโหลกศีรษะแตกหลายชิ้นกระจายทั่วกะโหลก เนื้อสมองฉีก เลือดออกใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นในกระจายไปทั่วสมอง”

          แพทย์เบิกความ  เหตุการณ์ในค่ำคืนนั้นเกิดขึ้นหลังจากความรุนแรงที่ถนนดินสอและสี่แยกคอก วัวในช่วงหัวค่ำจบลงแล้ว แต่ยังมีทหารอีก 4 กองร้อยพักอยู่ในลานจอดรถของสวนสัตว์ดุสิต จนกระทั่งกลางดึกก็เกิดความวุ่นวายเมื่อทหารบริเวณนั้นวิ่งหนี “อะไรบางอย่าง” จากลานจอดรถด้านนอกเข้าสู่ด้านในสวนสัตว์

         ร.ต.ต.ณรงค์ คำโพนรัตน์ ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกองร้อยปราบจลาจลในวันเกิดเหตุ เบิกความไว้ว่า ทหารเริ่มเข้ามาบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ตั้งแต่เวลา 18.00 น. มีทั้งสิ้น 4 กองร้อย กองร้อยละ 120 นาย อาวุธประจำกายประกอบด้วย ปืนเอ็ม-16 ปืนทาโว่ (TAR-21 หรือ Tavor) ปืนลูกซอง และกระบอง ต่อมาในเวลาประมาณ 23.00 น. ขณะผูกเปลนอนอยู่ใต้ต้นโพธิ์สวนสัตว์ดุสิตใกล้ลานจอดรถ ทหารได้วิ่งเข้ามาจากประตูทางเข้าสวนสัตว์ฝั่งรัฐสภา ถือปืนวิ่งเข้ามา ต่างคนต่างหลบที่ลานจอดรถ ชนเก้าอี้ระเนระนาด จากนั้นก็มีเสียงปืนดังขึ้น ทหารที่นอนหมอบอยู่ได้ยิงปืนในทิศทางเฉียงขึ้นฟ้า 45 องศา พยานได้ยินเสียงปืนมาจากรอบทิศทาง ดังเป็นชุดๆ เงียบไปสักพักหนึ่งก็ดังขึ้นมาอีก จากนั้นทหารก็สั่งว่า "แนวยิงให้หยุดยิง" เสียงปืนซึ่งดังเป็นเวลา 30 นาทีจึงสงบลง

          ขณะที่ รปภ.ของสวนสัตว์เบิกความไว้ว่า  เวลาประมาณ  23.00 น. ทหารตะโกนว่า "มันมาแล้ว" ทหารด้านนอกสวนสัตว์ได้วิ่งเข้าไปในสวนสัตว์และได้ยินเสียงปืนมาจากข้างนอก ส่วนทหารหลบอยู่ในอาคารจอดรถ ที่วิ่งเข้าไปในสวนสัตว์ก็มี และยังมีทหารที่นอนหมอบอยู่ด้วยกันที่ยิงปืนประจำกายไปทางรัฐสภา นอกจากนี้ในกล้องวงจรปิด เมื่อเปิดดูพบว่ามีรถกระบะคันหนึ่งขับมุ่งหน้ามาทางพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วขับกลับไป แต่ไม่สามารถยืนยันว่าคนที่อยู่ในรถมีลักษณะอย่างไร และมีอาวุธหรือไม่

         ส่วนเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ พ.ต.ท.สราวุธ บุญศิริโยธิน เบิกความว่า จากการสอบสวนเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่ พร้อมระบุว่า คืนเกิดเหตุ เวลาประมาณ 23.00-23.30น. ขณะทหารหลายร้อยนาย ซึ่งบางส่วนพักใต้อาคารจอดรถสวนสัตว์ บางส่วนกั้นรถอยู่ที่ถนนอู่ทองใน มีรถกระบะสีเข้ม วิ่งจากแยกอู่ทองในผ่านสวนสัตว์ ไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ครู่หนึ่งแล่นกลับมาชะลอตรงข้ามประตูทางเข้าสวนสัตว์ หน้ารัฐสภา จากนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ทหารแตกตื่นวิ่งเข้าสวนสัตว์

         ขณะที่ปากของทหารนั้น มีทั้งระดับปฏิบัติการและผู้บังคับบัญชาซึ่งมาจากค่ายสุรนารี
ร.ท.จักรพันธ์ ตัณฑสมบูรณ์ ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารปืนใหญ่ อยู่ที่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่สอง ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา เบิกความไว้ว่า ขณะกำลังพลได้พักบริเวณอาคารจอดรถของสวนสัตว์ดุสิต หลังพักได้ 15 นาที ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 1 นัดจากฝั่งสภา กำลังพลที่อยู่ด้านหน้าประตูวิ่งเข้ามาด้านในที่จอดรถบอกว่า "มันมาแล้ว" ทำให้กำลังพลที่พักอยู่วิ่งไปหลบทางด้านหลัง ระหว่างนั้น ได้ยินเสียงปืนเป็นระยะ ไม่ทราบทิศทาง แต่แยกได้ว่าเป็นเสียงปืนเล็ก ไม่ใช่ปืนกล พร้อมยืนยันว่าเฉพาะกองร้อยของเขาไม่มีการยิงตอบโต้เพราะเจ้าหน้าที่ที่มี ปืนจะยิงเมื่อได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยนอกจากกองร้อยของตนแล้วก็มีกองอื่นที่เข้ามาพักพร้อมกัน

         นอกเหนือจากนั้น ยังมีการตรวจพบหลักฐานในคดี คือ ปลอกกระสุน .223 จำนวน 2 ปลอกตกอยู่ห่างจากจุดพบศพ 25 เมตร และพบโล่ปราบจลาจล กระบอง และเสื้อสีเขียวระบุชื่อ "บารมี ชีพไธสง" ในที่เกิดเหตุ

         พ.ต.อ.ณัฎฐ์ บูรณศิริ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. เบิกความ กระสุนขนาด 5.56 มม. หรือ .223 ใช้ได้กับปืน M16 HK33 ซึ่งทั้งทหารและตำรวจมี และใช้ได้กับทราโว่ ซึ่งมีแต่ทหารเท่านั้นที่มีใช้ ส่วนอาก้านั้นใช้ไม่ได้

         พ.ต.ท.มานิต เกษมศิริ รอง ผกก.สน.ดุสิต ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า  มีการขออาวุธปืนจากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 ซึ่งมีการเบิกจ่ายปืน M16 จำนวน 29 กระบอกมาใช้ในช่วงดังกล่าว แต่พบว่าปลอกกระสุนไม่ได้มาจากปืนทั้ง 29 กระบอก ทั้งนี้ ในช่วงดังกล่าว ทหารแจ้งว่าอาวุธปืนที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ถูกแย่งปืนไป โดยได้แจ้งความไว้ด้วย แต่ภายหลังก็ตรวจยึดคืนได้จากสถานที่ชุมนุมของ นปช.

         อดีตพลทหารบารมี ชีพไธสง ซึ่งมีของกลางที่ระบุชื่อของเขาตกในที่เกิดเหตุ เบิกความว่า  หลังเหตุการณ์วุ่นวายจบลง เมื่อมีการรวมตัวเพื่อเช็คยอดคนและอาวุธ ปรากฏว่ากระบองของตนหายไปตอนไหนไม่ทราบ โดยก่อนหน้านั้นพกไว้ที่เอว ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุ ดีเอสไอเคยมาสอบที่กองพัน เนื่องจากพบเสื้อลายพรางชุดฝึกมีชื่อของตนตกอยู่ในที่เกิดเหตุ ซึ่งได้ให้การว่าเป็นเสื้อที่นายนพพลหยิบผิดไป

         อดีตพลทหารนพพล ป้ายนอก  ซึ่งถูกพาดพิง เบิกความว่า เวลาประมาณ 23.00น. ได้ยินเสียงปืน 1 นัด และมีทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ วิ่งเข้ามา ตนเองได้หยิบเสื้อฝึกและชุดเกราะวิ่งไปทางด้านหลัง เสื้อฝึกซึ่งเป็นของพลทหารบารมี ชีพไธสง ที่เขาหยิบผิดมานั้นไปเกี่ยวกับเก้าอี้จึงทิ้งไว้  เมื่อไปถึงริมสระน้ำเห็นชายคนหนึ่งเดินมาจากรถมอเตอร์ไซค์มาที่ช่องขายตั๋ว ซึ่งอยู่ด้านขวามือที่เขาหมอบอยู่ ชายคนดังกล่าวสวมเสื้อสีขาว กางเกงยีนส์สีฟ้า พร้อมพูดว่า “มึงจะออกมาหรือไม่ออกมา ไม่ออกมากูจะยิง”  ซึ่งไม่ทราบว่าพูดกับใคร พอพูดจบชายคนดังกล่าวก็ยิงปืนพกสั้นสีเงินเฉียงขึ้นฟ้า 3 นัด เมื่อเห็นท่าไม่ดีเขาจึงถอยลงสระ จากนั้นก็ไม่เห็นชายคนนั้นอีกเพราะปูนที่ขอบสระบังไว้ แช่น้ำอยู่เกือบชั่วโมงจึงมีทหารจากกองพันอื่นมาเรียกให้ขึ้นไป    (อ่านข่าวที่นี่)

        จากคำเบิกความของอดีตพลทหารฯ นพพล ป้ายนอก นับเป็นครั้งแรกที่ปรากฏ “ชายชุดขาว” ในเหตุการณ์ภายในสวนสัตว์ดุสิต และเป็นเหตุผลสำคัญที่ปรากฏในคำพิพากษาของศาล

         อีกส่วนหนึ่งคือคำเบิกความของ พ.ต.ท.สราวุธ บุญศิริโยธิน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ ซึ่งเบิกความเกี่ยวกับการตรวจสอบวิถีกระสุนว่า พบรอยกระสุนปืนที่ต้นหมากเขียวและใบวาสนา ซึ่งมีความสูงในระดับเดียวกับความสูงของศีรษะผู้ตาย เมื่อลองลากดูพบว่าเป็นแนวเดียวกันไปถึงบริเวณที่พบปลอกกระสุนและบริเวณที่ ทหารหมอบอยู่ จากวิถีกระสุนคาดว่าเป็นการยิงในท่ายืน และไม่สามารถยิงจากระยะไกลได้ เพราะมีซุ้มใหญ่และต้นไม้บัง วันดังกล่าวไม่มีรายงานว่ามีบุคคลตกค้างในสวนสัตว์

        ท้ายที่สุด ศาลมีคำสั่งในคดีนี้ว่า ยังไม่ทราบใครผู้ยิงนายมานะจนเสียชีวิต
“ศาลพิเคราะห์จากการเบิกความที่ผ่านมาว่า ผู้ร้องไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุว่าผู้ยิงเป็นทหารหรือ บุคคลใด ไม่มีพยานยืนยันการใช้อาวุธปืนของทหาร” (อ่านข่าวที่นี่)

           ศาลระบุด้วยว่า แม้มีการนำสืบว่ามีพยานอยู่ใกล้ที่เกิด เหตุแต่ก็ไม่ใช่จุดที่นายมานะถูกยิงเสียชีวิตและไม่ใช่จุดที่พบทหารหมอบอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ที่เข้าเวรคู่กับนายมานะได้วิ่งออกมาหลังได้ยิน เสียงปืนก็พบกับทหารที่หมอบอยู่ ทหารก็ไม่ได้มีท่าทีจะทำร้ายเขา หากทหารกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้ทำร้ายนายมานะ เจ้าหน้าที่อีกคนก็คงถูกยิงเช่นกัน

        นอกจากนี้ ศาลยังให้เหตุผลเกี่ยวกับวิถีกระสุนว่า ผู้ตรวจแนววิถีกระสุนนั้นจำลองแนววิถีกระสุนได้เพียงจุดยิงกว้างๆ ไม่อาจสันนิษฐานว่าเป็นจุดเดียวกับที่ทหารหมอบอยู่ อาจเป็นการยิงมาจากที่อื่นได้อีก ส่วนปลอกกระสุน 2 ปลอกที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุนั้น ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นกระสุนที่ใช้ยิงผู้ตายหรือไม่ เพราะไม่มีหัวกระสุนมาตรวจสอบ และจากการตรวจสอบอาวุธปืน 29 กระบอกที่กองกำลังค่ายสุรนารีเบิกใช้ก็ไม่ตรงกับปลอกในที่เกิดเหตุ


        สำหรับการไต่สวนการตายของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษา ส่วนที่คืบหน้าที่สุดขณะนี้เห็นจะเป็น ชุดคดีของ ฮิโรยูกิ - วสันต์ - ทศชัย ซึ่งเสียชีวิตที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ

        คดีนี้เริ่มกระบวนการไต่สวนมาตั้งแต่ราวเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว และสืบพยานไปแล้วหลายปาก ยังคงเหลือพยานซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ พยานเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่เป็นผู้เชียวชาญการตรวจพิสูจน์และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไป ปฏิบัติหน้าที่ในการชุมนุม รวมถึงพนักงานสอบสวน รวมกันแล้วเหลือไม่เกิน 20 ปาก จึงมีการบริหารคดีโดยกำหนดการสืบพยานอีก 7 นัด ในวันที่ 18 และ 19 มิ.ย.56 ซึ่งจะเป็นพยานฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารเข้าเบิกความ หลังจากนั้นจะเป็นวันที่ 16, 17 และ 24 ก.ค. และ 6, 7 ส.ค. 56
คดีนี้น่าสนใจตรงที่ที่ผ่านมามี “ประจักษ์พยาน” ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ ขึ้นเบิกความหลายราย ซึ่งล้วนระบุไปในทิศทางเดียวกันว่ากระสุนมาจากแนวทหาร เห็นฮิโรยูกิกำลังถ่ายภาพทหารที่บาดเจ็บ 2 ราย และถ่ายภาพผู้ชุมนุมที่ถูกยิงกะโหลกเปิดก่อนเขาจะถูกยิงล้มลง

      ร.ต.ต.ชาตรี อุตสาหรัมย์ จากกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเข้าไปติดตามและหาข่าวในที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุ เบิกความไว้ว่า
เวลา 19.00 น. เศษ ซึ่งขณะนั้นมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมระหว่างทหารกับ นปช. หลังจากนั้นทราบว่าบริเวณสี่แยกคอกวัวมีการปะทะกันเช่นกันจึงได้เดินไป และเดินกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอีกครั้ง เมื่อเดินมาถึงร้านแมคโดนัลด์ซึ่งอยู่บริเวณหัวมุมถนนก่อนเลี้ยวเข้าถนน ดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา พบว่าบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการนำศพคลุมธงชาติ 2 ศพ ในขณะนั้นได้ยินเสียงคล้ายระเบิดและเสียงปืนในลักษณะต่อเนื่อง แต่ไม่ถี่ จากประสบการณ์ เสียงปืนที่ได้ยินเป็นเสียงปืนยาว ส่วนเสียงคล้ายประทัดเห็นว่าเกิดจากการที่กลุ่ม นปช. ใช้ระเบิดขวดที่ทำจากขวดเครื่องดื่มชูกำลังใส่น้ำมันขว้างไปยังที่ทหาร ปฏิบัติการอยู่ จากการสังเกตการณ์ไม่พบมีกลุ่ม นปช. ยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหาร

       จากนั้นได้เดินไปฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรี วิทยาโดยเดินตาม กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีประมาณ 30 กว่าคน บริเวณนั้นมีรถทหารจอดขวางประมาณ 2 คันในลักษณะป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านไปได้ ขณะที่กลุ่ม นปช.ขว้างระเบิดขวดข้ามแนวรถที่ขวางนั้น ก็มีเสียงปืนยาวดังจากแนวหลังรถของทหารที่เป็นลักษณะตอบโต้กันไปมา เห็นกลุ่ม นปช. แบกร่างผู้บาดเจ็บย้อนออกมาทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 2 คน คาดว่าน่าจะถูกกระสุนที่ยิงมาจากหลังแนวรถของทหาร หลังจากนั้นพยานได้เดินกลับไปบริเวณฝั่งหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา โดยยืนบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นกลุ่ม นปช. ได้เดินผลักดันไปถึงกลางถนนดินสอ พยานเห็นเจ้าหน้าที่แต่งกายทหาร โดยเห็นครั้งละ 1 คน ทหารชะโงกหน้าดูเหตุการณ์อยู่บนบาทวิถีข้างถนน ฝั่งไปทางสะพานวันชาติและถืออาวุธปืนยาวที่ปากกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้า ขณะนั้นมีแสงสว่างจากหลอดไฟหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา อาวุธปืนยาวนั้นไม่น่าจะออกมาจากทางด้านข้าง แต่เป็นลักษณะที่พุ่งตรงมายัง นปช. หลังจากที่กลุ่ม นปช.ได้เดินผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา ได้มีเสียงปืนยาวยิงตอบโต้กลับมาทำให้ กลุ่ม นปช. ต้องถอยร่นกลับที่บริเวณหัวถนนดินสออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งระหว่างพยานได้ยืนสังเกตการณ์ที่บริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ขณะนั้นได้ยินเสียงของหนักกระแทกพื้นห่างจากพยาน 1 เมตร และเห็นชายร่างใหญ่ ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ในลักษณะนอนหงาย สะพายกล้องแบบนักข่าว หันมุมกล้องชี้ไปบนท้องฟ้า ร่างนั้นนอนบนบาทวิถีหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาศีรษะหันไปทางโรงเรียน ปลายเท้าชี้ไปทางบ้านเลขที่ 149 ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ในเบื้องต้นจะเข้าไปปฐมพยาบาล แต่เห็นร่างนายฮิโรยูกิมีจุดแดงบริเวณหน้าอกซ้าย จากนั้นจุดแดงดังกล่าวได้ขยายออกและมีเลือดไหล จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาคิดว่าแผลลักษณะนี้เกิดจากอาวุธปืนที่มีความ เร็ว สูง จึงได้ประคองนายฮิโรยูกิ และตะโกนแจ้งให้ผู้ชุมนุมบริเวณนั้นทราบว่ามีนักข่าวถูกยิง ผู้ชุมนุมได้ช่วยกันแบกร่างนายฮิโรยูกิ ไปที่รถพยาบาล ขณะนั้นฮิโรยูกิมีลักษณะตาค้าง

       นายอุดร วรรณสิงห์ แนวร่วม นปช. มีอาชีพทำนา จากจังหวัดร้อยเอ็ด  เบิกความว่า

       เขาเป็นผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณถนนดินสอ กลุ่มผู้ชุมนุมผลักดันทหารให้ออกจากบริเวณนั้น แต่ทหารได้ยิงแก๊สน้ำตาหลายนัดจากหลังรถถังมาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม จึงทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกออก ระหว่างนั้นมีกระแสลมตีแก๊สน้ำตาย้อนกลับไปทางเจ้าหน้าที่ทหารๆ จึงได้ถอยร่นไปทางสะพานวันชาติ ขณะนั้นพยานได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้งท้ายรถหุ้มเกราะของทหาร โดยพยานยืนอยู่บริเวณทางม้าลายปากถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จุดที่ระเบิดลงนั้นห่างจากตัวพยานประมาณ 10 เมตร ทหารก็แตก พากันวิ่งหนีกันไปทางสะพานวันชาติ ส่วนผู้ชุมนุมและพยานก็ได้ตามเข้าไปด้วย พอวิ่งตามไปหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ตรงทางม้าลาย เห็นทหาร 2 นายนอนบาดเจ็บร้องขอความช่อยเหลือบริเวณบาทวิถี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน หลังรถถัง ขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังเข้าไปช่วยเหลือได้ยินเสียงปืนดังจากทางแนวทหารทาง สะพานวันชาติ โดยทหารตั้งแนวทั้ง 2 ข้างบาทวิถี ส่วนตรงกลางจะมีรถถังที่ถอยกลับไปกลับมาอยู่ ทหารจ้องเล็งอาวุธปืนมาทางกลุ่มผู้ชุมนุม เหตุที่สามารถเห็นได้เนื่องจากมีแสงสว่างจากหลอดไฟตามถนน รวมทั้งเห็นประกายไฟซึ่งคาดว่าออกมาจากปลายกระบอกปืนด้วย แนววิถีที่ทหารยิงมานั้นสูงประมาณหน้าอกและศีรษะ จากนั้นมีคนร้องว่า “โดนแล้วๆ” ขณะนั้นตนเองยืนอยู่ตรงทางม้าลายเข้าโรงเรียน ขณะนั้นหันไปดูต้นเสียง เห็นผู้ชายสวมเสื้อสีแดงถือธงแดง ทราบชื่อภายหลังว่านายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2) ล้มลง หันหัวมาทางโรงเรียน นอนตรงทางม้าลายนั้น ปลายเท้าหันไปทางตรงข้ามโรงเรียน ขเห็นเลือดและมันสมองกลิ้งมาที่พยานยืนห่างไปเพียง 3-4 เมตร

        เมื่อเห็นนายวสันต์ล้มลง จึงวิ่งไปหลบที่บริเวณต้นไม้ ต้นที่ 2 หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ขณะนั้นมีชายแบกกล้องในลักษณะนักข่าวมาถ่ายภาพตรงนั้น เดินอยู่หน้าพยานห่างไปประมาณ 3 เมตร ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ พอเสียงปืนดังขึ้น ชายคนดังกล่าวก็ล้มบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ก่อนที่จะล้มชายคนดังกล่าวหันหน้าไปทางทหาร 2 นายที่นอนเจ็บอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน การล้มเป็นการล้มแบบนอนหงาย โดยกระสุนมาจากแนวทหาร เสียงปืนดังและมีประกายไฟพุ่งมาทางชายที่แบกกล้องแล้วก็ล้มลงในจังหวะเดียวกัน
ในระหว่างที่จะเข้าไปช่วยนายฮิโรยูกิ ปรากฏเสียงปืนดังขึ้นอีก พยานจึงหลบเข้าที่เดิม ในระหว่างหมอบหลบเห็นชายอีกคนล้มลงอยู่เลยร่างนายวสันต์ไปทางแนวทหารประมาณ 3 เมตร บนถนนฝั่งตรงข้ามโรงเรียน ทราบชื่อภายหลังว่า

        นายสยาม  วัฒนานุกูล และใกล้ตรงที่ทหารบาดเจ็บ 2 นายนั้นก็มีชายที่ได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ตรงนั้นอีกคน ทราบชื่อภายหลังว่านายจรูญ ฉายแม้น หลังจากนั้นเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงหาทางวิ่งออกจากบริเวณที่เกิด เหตุมาที่ร้านแมคโดนัลด์
(อ่านข่าว ที่นี่  และ ที่นี่ )

       นายเพชรพงษ์ โพธิยะ ประจักษ์พยานอีกคนหนึ่ง เบิกความว่า
ตลอดการ ชุมนุมไม่พบว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง มีแต่หนังสติ๊ก และไม่พบว่ามีการทำลายสถานที่ราชการ หรือเผาทำลายทรัพย์สินแต่อย่างใด ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 18.00 น. เห็นรถหุ้มเกราะ 3 คัน มาจอดบริเวณถนนดินสอ และมีเจ้าหน้าที่เดินตามหลังรถ ถืออาวุธปืนยาว บางนายชี้ปากกระบอกปืนขึ้นฟ้า บางนายชี้ปากกระบอกปืนในแนวระนาบมาทางผู้ชุมนุม ก่อนปะทะกับผู้ชุมนุม แต่ยังไม่ใช้อาวุธปืนยิงเข้ามา

       หลังจากปะทะ กัน 20 นาที กลุ่มนปช.ที่ถอยร่นไปบริเวณอนุสาวรีย์ประชา ธิปไตย รวมตัวผลักดันเจ้าหน้าที่และยึดรถหุ้มเกราะ บางคนใช้ไม้เสียบล้อรถไม่ให้ขับต่อไปได้ บางคนขึ้นไปบนรถหุ้มเกราะ และตะโกนเรียกเจ้าหน้าที่ออกมา ก่อนพาเจ้าหน้าที่ 5 นาย ไปเวทีสะพานผ่านฟ้าฯ เจ้าหน้าที่บางนายในรถหุ้มเกราะแต่งชุดสีดำ ระหว่างที่ผู้ชุมนุมพาไปบนเวทีนั้น ก็มีผู้ชุมนุมถืออาวุธปืนตามหลังไปด้วย แต่ไม่ทราบว่าเอามาจากในรถหุ้มเกราะหรือไม่ จากนั้นพยานและกลุ่มผู้ชุมนุมถ่ายรูปกับรถหุ้มเกราะเป็นที่ระลึก สักพักได้ยินเสียงระเบิด 2 ครั้งติดต่อกัน บริเวณโรงเรียนสตรีวิทยา พยานจึงนั่งหมอบอยู่ข้างรถหุ้มเกราะ ก่อนได้ยินเสียงปืนยิงไล่มาตามพื้นจากฝั่งสะพานวันชาติ

        ขณะนั้นเห็น ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งถูกยิงที่ต้นขา ส่วนผู้ชุมนุมอีกรายโดนยิงที่แขนจนขาดรุ่งริ่ง และเห็นชายที่โบกธงขึ้นไปอยู่บนรถหุ้มเกราะ ก่อนถูกยิงตกลงมา ขณะที่หันหน้าไปทางผู้ชุมนุม ก็เห็นผู้ชุมนุมขว้างขวดน้ำตอบโต้เจ้าหน้าที่ พยานหลบอยู่จนกระทั่งเสียงปืนสงบลงในเวลา 20.30 น. จึงเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมหามร่างของชายคนหนึ่งไปบนเวทีสะพานผ่านฟ้าฯ สภาพกะโหลกศีรษะเปิด ทราบภายหลังว่าเป็นนายวสันต์ และเห็นผู้ชุมนุมหามร่างชายที่มีสัญลักษณ์ค ล้ายผู้สื่อข่าว ไปที่รถพยาบาลที่จอดอยู่บริเวณร้านแมคโดนัลด์ ระหว่างนั้นได้ยินเสียงผู้ชุมนุมตะโกนว่าผู้สื่อข่าวถูกยิงตาย ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ
(อ่านข่าว ที่นี่)


        สำหรับอีกการไต่สวนการตายอีกคดีหนึ่ง คือ กรณีของ จรูญ - สยาม นั้น เพิ่งสืบพยานนัดแรกไปเมื่อ 12-13 มี.ค.ที่ผ่านมา และนัดต่อไปในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ซึ่งจะเป็นวันเดียวกับที่ศาลจะมีคำสั่งคดีไต่สวนการตายของพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ (ยศขณะเสียชีวิต) ซึ่งถูกยิงบริเวณอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อ 28 เม.ย.53

        หนึ่งในพยานที่เบิกความ คือบุตรสาวของจรูญ ฉายแม้น ซึ่งระบุว่า ในวันที่ไปรับศพพ่อเพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนานั้นได้พบกับนายไพบูลย์ อดีตเจ้าหน้าที่ธนาคาร ซึ่งให้ข้อมูลว่า ไปร่วมชุมนุมอยู่หน้า ร.ร.สตรีวิทยา ใกล้กับพ่อ ขณะนั้นมีการปะทะกันระหว่างผู้ร่วมชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหาร แต่ผู้ร่วมชุมนุมไม่มีอาวุธ นายไพบูลย์เป็นคนให้พ่อไปช่วยทหารที่ได้รับบาดเจ็บ แต่พ่อถูกทหารยิงล้มไปหน้า ร.ร.สตรีวิทยา

        นายบดินทร์ วัชโรบล ช่างภาพอิสระจากสมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว ซึ่งบันทึกภาพและถูกยิงบาดเจ็บในเหตุการณ์ ซึ่งมีวิดีโอคลิปเผยแพร่ทางยูทูปด้วยนั้นเบิกความว่า
หลังเคารพธงชาติ ทหารเปิดเพลงชาติ หลังจากนั้นมีรถหกล้อของแกนนำเข้ามา โดยมี พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ เป็นแกนนำมาประจันหน้ากับทหาร โดยวิ่งมาจากทางสะพานผ่านฟ้า พร้อมพูดผ่านเครื่องกระจายเสียงบอกทหารด้วยว่า 'ให้ใจเย็นๆ เราพี่น้องกัน เป็นคนไทยด้วยกัน เราอย่าทำร้ายกันและกัน' และเปิดเพลงเสื้อแดง พยานจึงมีการถ่ายวีดิโอไว้ หลังจากนั้นทหารได้ยิงปืนขู่ขึ้นฟ้าเป็นร้อยๆ นัด ซึ่งพยานอยู่ไกลไม่เกิน 10 เมตร และได้บันทึกทั้งภาพและเสียง โดยขณะนั้นยังไม่มีใครเจ็บหรือตาย หลังจากนั้นผู้ชุมนุมได้กว้างขวดน้ำไปยังแนวทหาร สักพักได้ยินเสียงระเบิด หลังแนวทหารและหลังรถหุ้มเกราะ มีสะเก็ดไฟ ตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอหลังจากนั้นไม่เกิน 10 วินาทีก็มีเสียงดังบริเวณนั้นอีกลูก โดยหลังระเบิดทหารถอยร่นไปทาง สะพานวันชาติ มีผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านหน้าบางส่วนตามกลุ่มทหารเข้าไป แต่พยานยังอยู่จุดเดิมไม่กล้าเข้าไป โดยหลังเสียงระเบิดแล้วมีเสียงปืนบ้าง เสียงปืนนั้นมาจากทิศทางไหน พยานไม่ทราบ จึงยืนถ่ายจากด้านนอก

        หลังจากนั้น เวลาประมาณ 19.00 น.  เห็นมีคนหามคนตายจากด้านในถนนดินสอมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คนตายดังกล่าวศีรษะเปิด พยานได้ถ่ายรูปไว้ หลังจากนั้นเสียงปืนเริ่มเบา พยานจึงเดินเข้าไปดูสภาพด้านใน โดยเลาะด้านขวาถึงหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งตรงนั้นมีทางม้าลาย 2 จุด มีแสงไฟ ขณะยืนถ่ายรูปอยู่นั้นบริเวณหน้าประตูโรงเรียน ข้างหน้ามีคนนอนอยู่บนพื้นถนน 1 คน ซึ่งคิดว่าคงเสียชีวิต และทหารนอนเจ็บ 1 นาย โดยที่ขณะนั้นได้ยินเสียงปืนจากแนวบริเวณสะพานวันชาติ  และเมื่อพยานหันหน้าไปทางนั้น เห็นแสงไฟจากปืนยิงมาทางผู้ชุมนุมที่จะออกไปทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังจากนั้นพยานได้เดินออกไปตามหน่วยพยาบาลเพื่อมาช่วยทหารนอนบาดเจ็บอยู่ โดยพยานได้พบกับอาสาพยาบาลคนหนึ่ง ทราบชื่อภายหลังว่า นายอิทธิกร ตันหยง จึงได้เข้ามาช่วยทหารคนดังกล่าวกับพยาน พร้อมด้วยผู้ชุมนุม 2-3 คนที่ตามมาช่วยด้วย โดยพยานเริ่มช่วยเหลือจากการพยายามแกะรองเท้าเจ้าหน้าที่ทหารคนดังกล่าวและ เอาไม้มาดามขาทหาร ระหว่านั้นทางพยานและผู้ที่เข้ามาช่วยก็พยายามบอกทหารว่าอย่าพึ่งยิงมาทาง ที่เราอยู่  แต่ยังมีเสียงปืนจากแนวทหารเข้ามาอีก จนอิทธิกร ตันหยง ถูกยิงที่เท้า และกระสุนอีกนัดโดนที่ท้องของพยานเองด้วย  (อ่านข่าว ที่นี่)

       ทั้งหมดนี้คือความคืบหน้าของคดีไต่สวนการตายของผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งใน เหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ในขณะที่อีกจำนวนมากยังไม่มีความคืบหน้า  และอาจกล่าวได้ว่า นี่คือเรื่องเล่าผ่าน “คำเบิกความ” หลังม่านฝุ่นที่ตลบฟุ้งได้จางลงไปแล้ว


======================

ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553

  • 1.นายอำพน ตติยรัตน์ 26 ปี กรุงเทพ กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหลังศีรษะ ทะลุด้านหน้า
  • 2.นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร 23 ปี ราชบุรี กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า
  • 3.นายไพรศล ทิพย์ลม 37 ปี ขอนแก่น กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหน้าทะลุท้ายทอย
  • 4.นายสวาท วางาม 43 ปี สุรินทร์ กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหลังทะลุด้านหน้า
  • 5.Mr.Hiroyuri Muramoto 43 ปี ญี่ปุ่น กระสุนปืนยิงทะลุปอดหลอดเลือดแดงใหญ่ เลือดออกในช่องเยื้อหุ้ม หัวใจ
  • 6.นายธวัฒนะชัย กลัดสุข 36 ปี นนทบุรี กระสุนปืนทะลุปอด ตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ ทะลุหลัง (ข้อมูล นปช.ระบุบาดแผลที่ต้นขาซ้าย)
  • 7.นายทศชัย เมฆงามฟ้า 44 ปี กรุงเทพ บาดแผลกระสุนปืนทะลุหัวใจ เข้าหน้าอกซ้ายไปทะลุหลัง
  • 8.นายจรูญ ฉายแม้น 46 ปี กาฬสินธุ์ กระสุนปืนทำลายปอดและตับ เข้าด้านขวาทะลุปอดและตับและทะลุหลัง
  • 9.นายวสันต์ ภู่ทอง 39 ปี สมุทรปราการ กระสุนปืนทำลายสมอง ด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า
  • 10.นายสยาม วัฒนนุกุล 53 ปี นครสวรรค์ กระสุนปืนทะลุช่องอกและปอด เส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด
  • 11.นายคะนึง ฉัตรเท 50 ปี กรุงเทพ กระสุนเข้าซี่โครงขวา เลือดออกที่ช่องท้อง
  • 12.นายเกรียงไกร คำน้อย 23 ปี ชลบุรี ถูกยิง
  • 13.นายบุญธรรม ทองผุย47 ปี ชัยภูมิ สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง (ข้อมูล นปช.ระบุกระสุนปืนเข้าที่ศีรษะ)
  • 14.นายสมศักดิ์ แก้วสาน 34 ปี หนองคาย ถูกแรงอัดกระแทกเข้าที่ท้อง (ข้อมูล นปช.ระบุถูกยิงช่องท้อง เสียโลหิตมาก เส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด)
  • 15.นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ 29 ปี ปทุมธานี แผลที่หน้าอกซ้าย ทะลุหัวใจและปอด
  • 16.นายนภพล เผ่าพนัส 30 ปี ชลบุรี ถูกยิงที่ท้อง
  • 17.นายมานะ อาจราญ 23 ปี เป็นเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตจากวัตถุความเร็วสูงเข้าที่ศีรษะ
  • 18.นายสมิง แตงเพชร 49 ปี นนทบุรี ถูกยิงที่ศีรษะ (ข้อมูล นปช.ระบุสมองบวมช้ำ)
  • 19.นายมนต์ชัย แซ่จอง 54 ปี สมุทรปราการ ระบบการหายใจล้มเหลว โดยผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวถุงลมโป่งพอง และสัมผัสแก๊สน้ำตา
  • 20.นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ 50 ปี  รพ.รามาธิบดี ถูกยิงที่ขาหนีบซ้าย
  • 21.สิบเอกอนุพล หอมมาลี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ
  • 22.พลฯภูริวัฒน์ ประพันธ์  ถูกยิงเสียชีวิตก่อนถึงรพ.
  • 23.ส.ท.อนุพงษ์ เมืองอำพัน
  • 24.พลฯสิงหา อ่อนทรง ถูกยิงเข้าที่หน้าอกซ้าย
  • 25.พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ถูกสะเก็ดระเบิดเข้าที่กระโหลกศีรษะ

       ข้อมูลจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

เตรียมล่า 50,000 ชื่อเสนอร่างนิรโทษกรรมฉบับนิติราษฎร์-ยุบศาลรธน.

กลุ่ม 29 มกราฯ เตรียมล่า 50,000 ชื่อเสนอร่างนิรโทษกรรมฉบับนิติราษฎร์-ยุบศาลรธน.




           เมื่อวันที่ 10 เม.ย.56 เวลาประมาณ 9.00 น. เสื้อแดงกลุ่ม ‘แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง’ รวมตัวที่กำแพงประวัติศาสตร์ 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประมาณ 200 คน ก่อนเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการให้ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษ กรรมนักโทษการเมือง หลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งข้อเสนอแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งหมดให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา แล้วกว่า 2 เดือน โดย เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มดังกล่าวได้ยื่น ‘ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง’ ภายใต้แคมเปญ “29 มกรา หมื่นปลดปล่อย” ร่างนี้เสนอโดย คณะนิติราษฎร์ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ซึ่งเห็นว่าเป็นวิธีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองได้ ครอบคลุมคนที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองทุกฝ่าย รวดเร็วกว่าการเป็นออก พ.ร.บ.
นอกจากร่างนี้แล้วยังมี พ.ร.ก.นิรโทษกรรมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่ง ชาติ(คอ.นธ.) ที่ถูกเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อ กฎหมาย โดยในการทวงถามความคืบหน้าของแนวร่วม 29 มกราครั้งนี้ มีผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นตัวแทนออกมารับหนังสือ


ภาพจากเฟซบุ๊ก RedHard Dang
         สุดา รังกุพันธุ์ ตัวแทนแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง กล่าวถึงเหตุผลในทางถามความคืบหน้าต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ขณะนี้เป็นเวลา 2 เดือนแล้วที่ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา รวมทั้งวันนี้เป็นวันครบรอบ 3 ปีของการสูญเสียในเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 เราร่วมกันรำลึกความเสียหายที่เกิดขึ้น นักโทษการเมืองก็เป็นความเสียหายที่ยังตกค้างอยู่และรอรับการแก้ปัญหาโดย ด่วน จึงได้มีการรวมตัวการทวงถามการทำงานของคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอให้กฤษฎีกาเร่งรัดในการให้ความเห็นเพื่อส่งคืนยังรัฐบาล และทันต่อการประชุมสมัยสภาที่อาจจะสิ้นสุดในวันที่ 28 เม.ย.นี้

         สุดากล่าวว่า ประชาชนที่เข้าร่วมครั้งนี้ส่วนมากเป็นผู้ที่อยู่ในจังหวัดที่มีนักโทษการ เมือง เช่น จ.มุกดาหาร จ.เชียงใหม่ จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นผู้ที่รับรู้ปัญหาเป็นอย่างดีเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของการถูก ละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ก็มีสัญญาณที่ดีคือกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ส.ได้รวมตัวกันยื่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่สภา เพียงแต่ควรที่จะเลื่อนวาระการพิจารณาให้เร็วขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่มีการประชุมสภาทำให้ไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้ไปด้วยซึ่งเป็น เรื่องน่าเสียดาย

          สุดากล่าวอีกว่า ความแตกต่างที่ชัดเจนของร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมของคณะนิติ ราษฎร์ก็คือมีการตั้ง ‘คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง’ ซึ่งคณะกรรมการนี้ก็จะทำให้สังคมมีโอกาสเข้าถึงความเป็นจริงเข้าถึงความ ยุติธรรมอย่างชัดเจน และสามารถที่จะใช้เวลาคลีคลายความขัดแย้งโดยไม่เร่งรัด แต่ในระหว่างที่คณะกรรมการทำงานก็ต้องมีการปล่อยตัวชั่วคราวประชาชนผู้ถูก จับกุมคุมขังโดยทันที เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นทางออกของสังคมไทยที่มีความกังวลในมาตรฐานของกระบวน การยุติธรรม

        “กลุ่มที่เคลื่อนไหวการนิรโทษกรรมทุกกลุ่มไม่ได้ยึดติดกับรูปแบบที่ตัว เองเสนอ ขอเพียงเนื้อหาครอบคลุมผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกละเมิดสิทธิ พลเมืองอย่างร้ายแรงจนเป็นนักโทษการเมือง” สุดากล่าว

         ทั้งนี้ ขณะนี้มีเสื้อแดงที่ถูกคุมขังในเรือนจำอยู่ 32 คน โดยมีผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวทั้งหมด 22 คน ที่เรือนจำหลักสี่ 18 คน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ 2 คน และที่ทัณฑสถานหญิง 1 คน และที่เรือนจำที่เป็นคุกทหารรายล่าสุดอีก 1 คน นอกนั้นเป็นส่วนที่คดีถึงที่สุดแล้ว

สุดา รังกุพันธุ์
        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสิ้นสุดการประชุมของแนวร่วม 29 มกราฯ สุดา เปิดเผยว่า เมื่อเย็นที่ผ่านมามีข่าวออกมาว่าจะมีการปิดประชุมสภาวันที่ 20 เม.ย. ดังนั้นโอกาสที่จะผ่านวาระที่ 1 ของ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของกลุ่ม 40 ส.ส.จึงยาก ทางกลุ่มจึงตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนกันต่อไป โดยจะใช้ช่องทางโดยตรงในการเข้าชื่อเสนอ ร่างกฎหมาย ไม่ต้องพึ่งพาหรือผลักดันให้ ครม.ดำเนินการแทน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงต้องใช้จำนวน 50,000 รายชื่อ

         สุดากล่าวว่า ปัญหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะมีปัญหาเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญด้วย แนวร่วม 29 มกราฯ จึงมีข้อเสนอยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญควบคู่ไปด้วยกันเลย ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญแทน เพื่อเป็นการปรับกลไกใหม่ในการแก้ปัญหาการเมืองไทยที่เป็นผลจากรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยจะมีการล่ารายชื่อในที่ชุมนุมรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ วันที่ 19 พ.ค.นี้

รับคำร้อง ‘บวร’ กรณีแก้รธน.มาตรา 68 ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร'

ศาล รธน.รับคำร้อง ‘บวร’ กรณีแก้รธน.มาตรา 68 ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร' ยื่นยุบ ปชป.

           10 เม.ย.56 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องนายบวร ยสินทร กับคณะ ที่ขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.65 ว่า ประธานรัฐสภากับพะวก 312 คน กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญ ศาลพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย แต่ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากไม่ปรากฏมูลกรณีอันเป็นเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันสมควรเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการชั่วคราว

          โดยศาลฯ ระบุว่าคำร้องนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าผู้ ถูกร้องที่ 2 ถึง 316 เป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่…) พ.ศ.... ต่อประธานสภาผู้ถูกร้องที่ 1 โดยยกเลิกความในรัฐธรรมนูญ ม.68 แล้วเสนอเนื้อความใหม่ที่เป็นการยกเลิกสิทธิของชนชาวไทยในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงออกไป คงเหลือแต่เพียงให้บุคคลผู้ทราบการกระทำเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเพียงประการเดียว และให้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในกรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยเท่านั้น ไม่อาจใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้พ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในลักษณะอื่นนอกเหนือจากการใช้สิทธิและเสรีภาพอันเป็นการลิดรอนสิทธิพิทักษ์ รัฐธรรมนูญของชนชาวไทย มีมูลกรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบตาม ม. 68 วรรคสอง กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ม. 68 วรรคสอง และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 17 (2) ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย


          นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่า ตุลาการเสียงข้างน้อย ได้แก่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ ยังไม่ได้ข้อยุติเพราะยังมีโอกาสที่จะแก้ไขในวาระ 2 ได้อีก ข้อเท็จจริงตามคำร้องจึงเป็นเพียงการคาดการณ์ล่วงหน้า ไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ม.68 วรรคสอง

           นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ม.291 เป็นการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและยังไม่มีมูลกรณีที่จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐ ธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง

          ศาลฯ ได้ให้ผู้ร้องทำสำเนาคำร้องส่งต่อศาลจำนวน 312 ชุด เพื่อส่งให้ผู้ถูกร้องและให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐ ธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และหากไม่ไม่ยื่นภายในกำหนดถือว่าไม่ติดใจ

มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง "เรืองไกร" ยื่นยุบ ปชป.


            วันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.68 ว่า นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ถูกร้องที่ 1 กับคณะ 11 คน และพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 12 กระทำการร่วมกันใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญที่มีการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

         โดยศาลเห็นว่าคำร้องไม่ปรากฏว่ามีการกระทำฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง ดังนั้นคำขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินย่อมตกไปด้วย

         ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 รับคำร้อง นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กรณีขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 64 ว่า “นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ กระทำการที่ส่อไปในทางกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้ อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย การตัดสิทธิบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือไม่”

เรียบเรียงจาก : ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ