วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

มื่อศาลยุติธรรม (ไทย) ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าศาลเจ้า

เมื่อศาลยุติธรรม (ไทย) ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าศาลเจ้า
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 3 บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งหน่วยงานตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม

จากบทบัญญัติดังกล่าวของรัฐธรรมนูญทำให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่ตามหลักของการไม่รวบอำนาจไว้ที่บุคคลคนเดียวหรือองค์กรเดียวอย่างชัดเจน นั่นคือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ว่าทั้งสามองค์กรดังกล่าวมีฐานอำนาจที่มาจากประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในทางกฎหมายของรัฐไทย โดยแต่ละองค์กรต่างทำหน้าที่ของตนที่ได้บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ

กรณีของรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีนั้นผู้เขียนจะขอละไว้ไม่พูดถึงในกรณีนี้เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถทำการตรวจสอบผู้แทนของตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งสื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสององค์กรกับประชาชนอย่างชัดเจนแต่ในกรณีของศาลนั้นเราเพิ่งจะได้เห็นการออกมาตอบโต้บทความของนักวิชาการต่างๆไม่ว่าจะโดยอธิบดีศาสลอาญาหรือแม้แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง จึงเป็นที่น่าคิดว่าเมื่อศาลเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยแล้วนั้นเหตุใดศาลจึงตั้งตัวเองให้มีความศักดิ์สิทธิยิ่งกว่าอีกสององค์กรข้างต้น

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาศาลอาญาได้มีคำวินิจฉัยในคดีความผิดเกี่ยวกับมาตรา 112 ของนาย สมยศ  โดยศาลได้ตัดสินให้นาย สมยศ มีความผิดตามฟ้องและลงโทษจำคุกเป็นเวลาสิบปีสำหรับความผิดตามมาตรา112 หลังจากศาลได้มีคำวินิจฉัยนี้ได้มีปฏิกริยาจากสาธารณชนเป็นวงกว้างทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในส่วนที่เห็นด้วยนั้นผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงแต่ในส่วนของความเห็นแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลนั้นในบางความเห็นแย้งศาลกลับออกมาตอบโต้ว่าเป็นการ หมิ่นศาลละเมิดอำนาจศาลเช่น จดหมายเปิดผนึกของนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระเป็นต้น นอกจากนี้ในกรณีของนาย อำพน หรือ อากงนั้น ศาลได้เคยออกมาตอบโต้แล้วครั้งหนึ่งซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ผู้คนจำนวนมาก จึงทำให้ต้องกลับมานั่งทบทวนกันในทางหลักกฎหมายว่าเหตุใดเราสามารถวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลได้ทั้งทางตรงทางอ้อม ทั้งสุภาพและหยาบคายเราสามารถวิจารณ์การทำหน้าที่ของผู้แทนของเราได้เช่นเดียวกัน

แต่ในกรณีของศาลนั้นกลับมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าวิจารณ์ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักวิชาและวันดีคืนดีผู้วิจารณ์อาจโดนข้อหาหมิ่นศาลซึ่งเป็นกรณีที่ค่อนข้างน่าขบขันเนื่องจากคนวินิจฉัยก็ดี นั่นคือองค์กรศาลยุติธรรมเองเหมือนกับเป็นการประมานว่า อย่าวิจารณ์ข้านะข้ามีกฎหมายคุ้มครองและข้าเองเป็นคนที่ใช้กฎหมายนั้นตัดสินพวกเจ้า

ปัญหาที่ต้องนำมาขบคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจของศาลนั้นในทางตำราเรียนแล้วนั้นศาลถือเองว่าคำวินิจฉัยของศาลถูกควบคุมโดยทางดิ่ง (vertical) อยู่แล้วโดยการควบคุมแบบเป็นลำดับชั้นจากชั้นต้นไปจนถึงชั้นสูง ไม่มีการควบคุมจากภายนอกทำให้ศาลเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอิสระไม่ยึดโดยงกับอาณัติใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งต่างจากรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีที่สามารถถูกตรวจสอบได้ทั้งจากภายในและภายนอก ทีนี้เมื่อเกิดคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ จะมีกระบวนการอย่างไรในการควบคุมหรือเอาแค่การตรวจสอบก็พอเพื่อที่จะตรวจสอบได้ว่า คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลนั้น น่าเชื่อถือ และ ยุติธรรม สำหรับใคร  ทั้งที่มีข้อเสนอจากนักวิชาการจำนวนมากเรียกร้องขอให้ศาลมีจุดเกาะเกี่ยวหรือจุดเชื่อมโยงกับประชาชนแต่ข้อเสนอนี้เสมือนการผายลมเพราะไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรจากองค์กรศาลเอง

ตัวอย่างของความน่าเชื่อถือของคำวินิจฉัยของศาลเช่น ในกรณีของนาย อำพล ศาลกล่าวว่า "แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้อง...ก็ตาม แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากผู้ที่กระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรงดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ ทั้งจะอาศัยโอกาสกระทำเมื่อไม่มีผู้ใดรู้เห็น จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลจากพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีที่โจทก์นำสืบเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นถึงการกระทำและเจตนาซึ่งอยู่ภายใน ซึ่งจากพยานเหตุแวดล้อมกรณีที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมดนั้น ก็สามารถนำสืบแสดงให้เห็นถึงพฤติการณ์ทั้งหมดซึ่งบ่งชี้อย่างใกล้ชิดและสมเหตุสมผลโดยไม่มีข้อพิรุธใด ๆ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมดประกอบกันจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า ในช่วงเวลาเกิดเหตุ จำเลยเป็นผู้ส่งข้อความทั้งสี่ข้อความตามฟ้อง...ซึ่งข้อความดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นการดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท โดยประการที่จะน่าทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง...ข้อความดังกล่าวล้วนไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริงที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งประเทศว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา...จำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง"

คำวินิจฉัยนี้มีปัญหาอะไร หากคนที่เรียนกฎหมายหรือทราบหลักการพื้นฐานกฎหมายจะทราบว่าใน ทางกฎหมายอาญานั้น มีหลักอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า  Beyond the reasonable doubt หรือการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย แต่จากคำวินิจฉัยนี้แสดงให้เห็นว่าศาลเองไม่ได้เดินไปตามหลักนี้แต่กลับให้เหตุผลไปในอีกทิศทางหนึ่งซึ่งไม่สามารถหาตรรกของคำวินิจฉัยนี้ได้เลยครั้นจะรออุทธรณ์ก็สายไปเสียแล้วเพราะนายอำพน หรืออากงได้เสียชีวิตไปแล้ว ปล่อยให้คำพิพากษานี้คาใจและเป็นข้อกังขาแก่สังคมมาจนปัจจุบัน ปัญหาคือการให้คำอรรถาอธิบายของศาลแก่สาธารณชนนั้นเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่หากสาธารณชนไม่เห็นด้วยจะวิจารณ์ได้หรือไม่

กรณีล่าสุดศาลได้ออกมาตอบโต้นายวีรพัฒน์ นักกฎหมายอิสระที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการคุกคามเสรีภาพของนายวีระพัฒน์อย่างชัดเจนด้วยการประกาศว่าจะนำเอายุทธโธปกรณ์ทั้งหมดมาเช็คนายวีรพัฒน์ ศาลอ้างว่าหากเป็นการวิจารณ์ทางวิชาการศาลสามารถรับได้ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ คำว่า วิชาการ ของศาลนั้น ศาลท่านตีความอย่างไร ด้วยความเคารพต่อศาล(ผู้เขียนต้องแสดงความเคารพต่อศาลให้เห็นก่อนเพราะผู้เขียนเป็นเพียงนักเรียนกฎหมายที่ยังรักตัวกลัวอยู่) คำว่าวิชาการนั้น อาจมีได้หลายความหมายแต่หากพูดกันแบบชาวบ้านนั่นก็คือการอ้างอิงจากหลักวิชา ที่ได้ร่ำเรียนมาทั้งจากหนังสือและจากครูอาจารย์ผู้สอน แน่นอนว่าศาลได้ให้เหตุผลว่าศาลยอมรับคำวิจารณ์เเต่ต้องเป็นในวงกว้างไม่ใช่เเเค่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่มีอคติต่อศาล ในวงกว้าง รวมถึงประชาชน เเละผู้ที่เข้าใจถึงระบบการทำงานของศาล

ประเด็นนี้ ผู้เขียนอยากจะบอกกับศาลว่าในวงกว้างรวมถึงประชาชนและผู้ที่เข้าใจถึงระบบการทำงานของศาล นั้นมีกี่คน เมื่อการทำงานของศาลนั้นตัวศาลเองเป็นองค์กรปิดที่ไม่ยอมเปิดให้องค์กรภายนอกเข้าไปตรวจสอบ แล้วคำว่าวงกว้างนี่หมายถึงใครครับ ด้วยความเคารพ หากศาลไม่เปิดองค์กรให้ประชาชนเข้าใจการทำงานนั่นหมายความว่าประชาชนตาดำๆไม่มีสิทธิ์วิจารณ์ศาลได้เลย นี่ขนาดนักวิชาการยังโดนศาลขู่สักขนาดนี้ แล้วชาวบ้านจะเหลือเหรอครับนายท่าน แม้ท่านจะอ้างว่าใน กต เองมีผู้ทรงตุณวุิฒิที่ตั้งมาจากวุฒิสภา แต่ท่านพิจารณาสัดส่วนก่อนครับว่ามีจำนวนเท่าไหร่และคนนอกนั้นเป็นใครมาก่อน

ต่อข้อหาหมิ่นศาลนั้น คำว่าหมิ่นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก็ว่า. ในจดหมายเปิดผนึกของนายวีระพัฒน์เองนั้นผู้เขียนอ่านแล้วยังไม่มีการแสดงข้อความว่ามีลักษณะที่ศาลกล่าวอ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลเองก็ยังทรงสิทธิ์ในการตีความซึ่งผู้เขียนก็เคารพในจุดนี้

เมื่อศาลเองยกตัวเองให้เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนศาลก็พึงที่จะยอมรับคำวิจารณ์ทั้งแง่ดีและแง่ร้ายและนำไปปรับปรุงและพัฒนาองค์กรเพื่อให้ตัวศาลเองมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนได้อย่างแท้จริง และยิ่งในกรณีล่าสุดนั้นผู้เขียนเข้าใจ(เอง)ว่านานาชาติและนายวีรพัฒน์เองต้องการวิจารณ์มาตรา 112เกี่ยวกับความสมเหตุสมผลทั้งหลายในแง่ปรัชญาและแนวคิดแต่ศาลกลับตีความไปได้ว่าอาจเป็นการหมิ่นศาล ผู้เขียนเกรงว่าอีกหน่อยศาลจะหมดซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และความยุติธรรมไปมากกว่านี้ เมื่อศาลลงมาเป็นผู้เล่นเสียเอง ผู้เขียนขอฝากบทกลอนไว้ถึงศาลดังนี้ อันนินทากาเร เหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้องค์พระปฏิมายังราคิน คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา หวังว่าหากศาลได้อ่านบทกลอนนี้แล้วศาลควรที่จะยอมรับคำวิจารณ์และนำไปพัฒนาตัวองค์กรให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง

สุดท้ายนี้ผู้เขียนมักจะนึกถึงคำขอท้ายฟ้องว่า โจทก์ไม่มีหนทางอื่นจะบรรเทาความเสียหายได้จึงมาขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง หากศาลยังถือตนว่าตนเองศักดิ์สิทธิใครก็วิจารณ์ไม่ได้แล้วไซร้ อีกหน่อยหากประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำเห็นว่าศาลสร้างความศักดิ์สิทธิด้วยวิธีการเช่นนี้อีกหน่อยศาลคงได้เป็นที่พึ่งของประชากรผู้หวังรวยทางลัดอีกประการเป็นแน่โดยการนำเอาแป้งมาทาตามใต้ถุนบันไดรั้วของศาลเพื่อหาเลขเด็ดเฉกเช่นที่เคยทำมากับบรรดาศาลเจ้าต่างที่ว่าศักดิ์สิทธินักหนา ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

ด้วยความเคารพ



แจ้งข้อหา มาร์ค-สุเทพ ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนา

แจ้งข้อหา มาร์ค-สุเทพ ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนา


Pic_311375

            นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เผย ที่ประชุมมีมติแจ้งข้ออภิสิทธิ์-สุเทพ ข้อหา ''ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล'' เตรียมทำหนังสือเรียกเจ้าตัวรับทราบข้อหา 12 ธ.ค. ...



          เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนกรณีการตายของผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองเมื่อ เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 จำนวน 89 ศพ ได้แถลงผลการประชุมของคณะพนักงานสอบสวนอันประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย คือ ดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการ ว่าที่ประชุมมีมติร่วมกันให้ดำเนินการแจ้งขอหากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสูงสุด ศอฉ. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอฉ. ว่าร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59,83,84,และ 288 โดยศาลยุติธรรมได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ในคดีการไต่สวนเหตุการณ์ตายของนายพัน คำกองว่า การตายของนายพัน เกิดจากการถูกกระสุนปืนของทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการตามคำสั่งของ ศอฉ. และศาลยุติธรรมได้ส่งสำนวนการพิจารณาไต่สวนทั้งหมดพร้อมคำสั่งมายังตำรวจ นครบาลและถึงดีเอสไอในที่สุด ซึ่งคณะพนักงานสอบสวนจำเป็นต้องยึดถือเอาข้อเท็จจริงอันเป็นยุติโดยการไต่ สวนของศาลดังกล่าว

            นายธาริต กล่าวต่อไปว่า พยานหลักฐานอันสำคัญที่ทำให้คณะพนักงานสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย ต้องมีมติให้แจ้งข้อหาแก่บุคคลทั้งสองมาจากพยานที่ได้มีการไต่สวนและคำสั่ง ของศาลดังกล่าว รวมทั้งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติม เช่น การสั่งใช้กำลังทหารที่มีอาวุธปืนเข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม การสั่งใช้อาวุธปืน การสั่งใช้พลซุ่มยิง และการออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากนายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ. และได้อ้างไว้ว่าเกิดจากการสั่งการของนายกรัฐมนตรี



            “ประการสำคัญคือการสั่งการของบุคคลทั้งสองกระทำอย่างต่อเนื่องหลายครา แม้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนแล้วก็หาได้ระงับยับยั้งหรือใช้แนวทางอื่น ใดแต่อย่างใดไม่ รวมถึงพยานแวดล้อมกรณีอื่นๆอีก จึงเป็นการบ่งชี้ได้ว่าเป็นเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าการร่วมกันสั่งการเช่นนั้น ย่อมทำให้เกิดการตายของประชาชนจำนวนมากและต่อเนื่องกันหลายวัน”

           ส่วนทหารที่ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่นั้น ศาลก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใด และโดยผลการสอบสวนก็ไม่อาจระบุตัวตนได้ด้วย แต่ก้ได้รับผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 ว่าเมื่อเป็นการปฏิบัติตามสั่งการซึ่งเชื่อว่าต้องปฏิบัติก็ย่อมได้รับการ คุ้มครองโดยไม่ต้องได้รับโทษ ดังนั้น ในชั้นนี้จึงไม่แจ้งข้อหาแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

            นายธาริต กล่าวว่า ตนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนก็ได้ลงนามในหนังสือแจ้งให้บุคคลทั้งสองมารับ ทราบข้อกล่าวหาและทำการสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาแล้ว โดยได้มีการนัดหมายให้มาพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในวันที่ 12 ธ.ค. เวลา 14.00 น. เมื่อรับทราบข้อกล่าวหาแล้วก็จะใช้ดุลพินิจปล่อยตัวไปโดยไม่ขอศาลฝากขัง เนื่องจากทั้งสองเป็นอดีตข้าราชการการเมืองชั้นผู้ใหญ่ จึงมีการออกหนังสือเชิญแทนหมายเรียก และเชื่อว่าบุคคลทั้งสองจะมาตามนัดหมายโดยไม่ถ่วงเวลาจนเปิดประชุมสภาผู้แทน ราษฎรในวันที่ 21 ธ.ค.

ย้อนรอย ความชั่วช้าของประชาธิเปรต"

ข่าวชุด  ย้อนรอย ความชั่วช้าของประชาธิเปรต" 
อภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่รอดคดี396โรงพัก *ธาริต* ชี้เข้าข่ายความผิดฮั้วประมูล และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ 



           เมื่อวันที่ 27 ก.พ.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. เปิดเผยความคืบหน้าปัญหาการก่อสร้างสถานีตำรวจ 396 แห่งว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่มีความคืบหน้าไปมากแล้ว การจะบอกเลิกสัญญาได้ ต้องดูว่าวันที่ 14 มี.ค.ตามที่สัญญาระบุจะต้องส่งมอบงานให้นั้น บริษัทผู้รับเหมาสามารถส่งมอบงานได้หรือไม่ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญมาก เพราะว่าต้องดำเนินการภายใต้สัญญาและกฎหมาย และดูว่ามีการทิ้งงานอย่างไรบ้าง หรือเช่าช่วงอย่างไรบ้าง แต่ประเด็นคือไม่สามารถส่งมอบงานให้ตามกำหนดเวลาได้ ซึ่งตนมีหน้าที่บริหารต้องเร่งรัดส่งมอบงานมาให้เร็วที่สุด
 
          พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการที่จะประกวดราคาใหม่ ซึ่งก็มีความยุ่งยาก เนื่องจากว่าเราต้องเตรียมการภายหลังถ้าบริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถส่งมอบงาน ได้ จึงต้องดำเนินการอีกช่องทางเพื่อให้แต่ละโรงพักสามารถทำงานได้ รวมถึงตั้งทีมสอบสวนว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียหายอย่างไร โดยนำผลสอบสวนไปประกอบกับประเด็นผู้รับเหมาสามารถส่งงานได้ทันตามกำหนดหรือ ไม่ด้วย
 
           “ขณะเดียวกันผมและพล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร. ร่วมกันพิจาณาให้โรงพักที่ถูกรื้อได้ปรับปรุงโรงพักชั่วคราวขึ้นมา เพื่อสามารถทำงานได้ โดยจัดงบประมาณสนับสนุนสำหรับโรงพักที่ถูกรื้อ 300,000 บาท และโรงพักที่ไม่ถูกรื้อ 100,000 บาท อย่างไรก็ตามได้ประกาศแนวทางปฏิบัติไว้ มีเกณฑ์ประเมินผล และมีการแข่งขันอีก 3 เดือน ว่าโรงพักใดจะเป็นโรงพักดีเด่น สามารถนำหน่วยได้ดีมาก ก็จะมีรางวัลให้ ภายหลังจากเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ไปตรวจเยี่ยมโรงพักชั่วคราวที่บช.ภาค 1 สภ.คลองห้า บช.ภาค 3 สภ.สูงเนิน เริ่มมีการขับเคลื่อนและมีกาปรับปรุงมากขึ้นแล้ว”ผบ.ตร. กล่าว
 
 วันเดียวกันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แถลงความคืบหน้าผลสืบสวนสอบสวนโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ(ทด แทน) 396 หลัง ว่า คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตั้งประเด็นสอบสวนไว้ 2 ประเด็น คือ 1.ประเด็นการกระทำความผิด ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552 และ 2.ประเด็นบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด หรือบริษัทพีซีซีฯ มีพฤติการณ์ โดยการหลอกลวงด้วยความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงได้ไปซึ่งเงินงบประมาณของแผ่นดิน จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือทำให้ผู้รับเหมาช่วงงานก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทนได้รับความเสียหายจากการ ถูกหลอกลวง
 
          นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นกระทำความผิด ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของพยานเอกสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร เอกสารทางการเงิน นอกจากนี้ต้องตรวจสอบความถูกต้องของมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากสำนักงบประมาณเคยเสนอต่อครม.ว่า หากมีการกระจายการจัดซื้อจัดจ้างไปยังหน่วยงานตามพื้นที่จะทำให้โครงการ สำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(กวพ.อ.)มี หนังสือตอบข้อหารือกรณีที่บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ร้องเรียนขอความเป็นธรรมในการประมูลงานโครงการดังกล่าว โดยมีข้อสังเกตว่าครม.มีมติให้กระจายการจัดซื้อจัดจ้างไปยังหน่วยงานตาม พื้นที่ที่จะดำเนินการจะทำให้โครงการสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น
 
          นายธาริต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบพยานหลักฐานสำคัญคือโครงการดังกล่าวนำเรื่องเข้าครม.วันที่ 17 ก.พ. 2552 ต่อมาครม.เห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงบประมาณ ให้จัดจ้างเป็นรายภาค จากนั้นปลายปี 2552 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตนายกรัฐมนตรี อนุมัติยกเลิกรายภาค และให้รวมสัญญาเป็นรายเดียว ซึ่งมีหลายบริษัทคัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งปี 2554 บริษัทซินเท็คฯ ร้องเรียนไปยังกวพ.อ.ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และแจ้งมติไปให้ผบ.ตร.รับทราบ
 
            นายธาริต กล่าวต่อว่า การกระทำของผู้มีอำนาจในขณะนั้นคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ จึงเป็นการฝ่าฝืนมติครม. ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก จึงเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ฮั้วประมูลฯ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 (เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ) ด้วย ทั้งนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษคาดว่าน่าจะส่งสำนวนการสอบสวนให้คณะกรรมการป.ป.ช. ได้ภายในสัปดาห์หน้า
 
            อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในส่วนประเด็นบริษัทพีซีซีฯนั้น คณะทำงานสอบสวนคดีพิเศษได้รวบรวมพยานหลักฐาน กรณีทุจริตโครงการนี้มาระยะหนึ่งแล้ว มีข้อเท็จจริงและหลักฐานตามสมควรว่าผู้บริหารและบริษัทพีซีซีฯ น่าจะได้กระทำความผิดอาญาฐานร่วมกันฉ้อโกงผู้รับเหมาช่วง โดยมีข้อเท็จจริงสรุปว่าบริษัทพีซีซีฯ ได้ประมูลงานก่อสร้างสถานีตำรวจจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาจำนวน 396 แห่งทั่วประเทศ แต่ได้กระทำผิดเงื่อนไขในสัญญานำเอางานก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนดังกล่าว ไปจ้างผู้รับเหมาช่วงอีกต่อหนึ่ง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้างก่อน ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม ที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาจ้างก่อสร้างตามข้อ 8 ผู้รับเหมาช่วงหรือผู้เสียหายต่างเข้าใจว่าการนำเอางานก่อสร้างของทางราชการ ตำรวจมาจ้างช่วงนั้นสามารถกระทำได้โดยชอบ จึงหลงเชื่อข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งดังกล่าว โดยสุจริตใจ จึงได้ทำสัญญาและลงทุนก่อสร้างโรงพักให้บริษัทพีซีซีฯ ไปก่อนล่วงหน้า แต่ไม่ได้เงินค่าก่อสร้างตามสัญญา โดยที่บริษัทพีซีซีฯ ได้เบิกเงินค่างวดบางส่วนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาแล้ว ตามพฤติการณ์ส่อว่าบริษัทพีซีซีฯไม่มีเจตนาที่จะผูกพันหรือปฏิบัติตามสัญญา กับผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น แต่อาศัยประโยชน์จากสัญญาเป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สินโดยมิ ชอบ ถือว่าบริษัทพีซีซีฯฝ่าฝืนคำสั่งและกระทำผิดสัญญาชัดเจน หลอกผู้รับเหมาช่วงลงทุนสร้างล่วงหน้าไปก่อน แต่ยังไม่ยอมจ่ายเงินให้ แต่บริษัทพีซีซีฯกลับไปเบิกเงินกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
 
           อธิบดีดีเอสไอ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้สร้างโรงพักไปก่อนล่วงหน้าและยังไม่ได้ รับเงินประมาณ 20 ราย ซึ่งได้แจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นประมาณกว่า 69 ล้านบาท อันเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ต้องหยุดการก่อสร้างลง และทำให้ผู้รับเหมาช่วงต้องละทิ้งงานในที่สุด สำหรับผู้บริหารบริษัทพีซีซีฯ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย นายพิบูลย์ อุดมสิทธิกุล, นายวิศณุ วิเศษสิงห์, นายจาตุรงค์ อุดมสิทธิกุล และอาจมีผู้ร่วมก่อให้มีการกระทำผิดเพิ่มอีกบางส่วนด้วย ทั้งนี้พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง หัวหน้าคณะทำงานสอบสวนคดีพิเศษ จะมีหนังสือเชิญผู้บริหารบริษัทพีซีซีฯมารับทราบข้อกล่าวหา ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ซึ่งความผิดคดีนี้เป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระกันตามจำนวนผู้เสียหาย ซึ่งเชื่อว่าจะมีผู้เสียหายอีกหลายรายเข้าแจ้งความเพิ่มขึ้น
 
             ด้านพ.ต.ท.ถวัล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการในภาคอีสานนั้น ทางเจ้าหน้าที่เรียกบริษัทผู้รับเหมาช่วงในฐานะผู้เสียหายเข้าพบ เพื่อให้ข้อมูลประมาณ 20 ราย แต่พอถึงเวลาจริงกลับมาเข้าพบเพียง 2-3 รายเท่านั้น ซึ่งจากการสืบสวนพบว่ามีนักการเมืองท้องถิ่นบางคนให้ความช่วยเหลือบริษัทพี ซีซีฯ โดยกีดกันไม่ให้ผู้รับเหมาช่วงในฐานะผู้เสียหายเข้าให้ข้อมูลต่อดีเอสไอ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทราบตัวผู้กระทำผิดแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณารวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับนักการเมืองท้องถิ่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงผู้อื่นต่อไป
 
             รายงานข่าวแจ้งว่า จากการตรวจสอบพบว่านักการเมืองท้องถิ่นดังกล่าวเป็นอดีตส.จ.อุดรธานี
 
             ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลประชุมครม.ว่า ครม.อนุมัติงบประมาณกลางปี 2556 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามโครงการจัดหาครุภัณฑ์ อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือพิเศษ และอาคารที่พักอาศัยสำหรับชั้นประทวนที่จะบรรจุใหม่ในปี 2556 จำนวน 862 ล้านบาท จากที่ขอมา 4,600 ล้านบาท งบประมาณที่เหลือให้ตั้งเรื่องเป็นงบประมาณประจำปี 2556 เสนอเรื่องกลับมาอีกครั้ง

ก็ไหนว่าก่อการร้ายงัย


ศาลสั่งเทเวศประกันภัยจ่ายเซ็นทรัลเวิลด์กว่า 3 พันล้าน 
ชี้ 19 พ.ค. 53 ไม่ใช่ก่อการร้าย

http://www.pattayadailynews.com/th/wp-content/uploads/2010/05/81.jpg

          หลังเทเวศประกันภัยปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ ‘เซ็นทรัลเวิลด์’ 19 พ.ค.53 โดยอ้าง เพลิงไหม้เกิดจากการก่อการร้าย กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง วันนี้ศาลเเพ่ง ส่งจ่ายกว่า 3 พันล้าน ชี้เหตุดังกล่าวไม่ใช่การก่อการร้าย

         1 มี.ค.56 คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า ศาลเเพ่ง ถนนรัชดาภิเษกมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ผบ.4326/2554 ที่กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัดผู้ประกอบการศูนย์การค้าค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กับพวก รวม 4 ราย ยื่นฟ้อง บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด(มหาชน) เป็นจำเลย คดีคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องประกันภัย เพื่อให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,838,296,969 บาท พร้อมดอกเบี้ย เนื่องจาก บ.เทเวศ ฯ ปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ศูนย์ค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงเหตุการณ์กระชับพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติ ( นปช.) เมื่อเดือน พ.ค.53 ที่ผ่านมา โดย บ.เทเวศ ฯ อ้างเหตุว่าเพลิงไหม้ เกิดจากการก่อการร้าย ซึ่งกรมธรรม์ไม่คุ้มครอง
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า บ.เทเวศ ฯ ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมตามกรมธรรม์ โดยเหตุเพลิงไหม้จากเหตุการณ์เดือน พ.ค.53 ไม่ใช่กรณีก่อการร้ายหรือกรณีอื่นที่อยู่ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์แต่อย่างใด

       จึงพิพากษา ให้ บ.เทเวศ ฯ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวน 2,719,734,979.29 บาท และค่าความเสียหายต่อธุรกิจหยุดชะงักจำนวน 989,848,850.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 31 มี.ค.54 จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ด้วยอีก 60,000 บาท

สำหรับคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์นั้น มีจำเลย 4 คน แบ่งเป็น เยาวชน 2 คนซึ่งได้รับการประกันตัวและต่อมาศาลเยาวชนได้พิพากษายกฟ้องไปเมื่อ 12 ธ.ค. 55  (อ่านที่ศาลยกฟ้อง 2 เยาวชน จำเลยคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เจ้าตัววอนเยียวยา "เรียนและงาน") ส่วนอีก 2 คนเป็นผู้ใหญ่ คือ สายชล แพบัว และ พินิจ จันทร์ณรงค์ ซึ่งทั้งคู่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำมาเกือบ 3 ปีแล้วนั้น ปัจจุบันกระบวนการพิจารณาคดีได้แล้วเสร็จแล้ว และศาลได้นัดพิพากษา 25 มี.ค.นี้

http://prachatai.com/journal/2013/03/45559#sthash.255IyP8D.dpuf