วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เกี้ยเซียะหรือกลียุค อ่านวิกฤติการณ์สยามประเทศ ยามเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน

ชาญวิทย์-เกษียร : เกี้ยเซียะหรือกลียุค อ่านวิกฤติการณ์สยามประเทศ ยามเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน


        เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 56 ที่ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ราชดำเนิน กรุงเทพฯ ชมรมโดมรวมใจจัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ "เกี้ยเซียะ หรือ กลียุค: อ่านวิกฤตการณ์สยามประเทศ ยามเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน" โดยมีวิทยากรคือ ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ ดำเนินรายการ โดย คำ ผกา  ซึ่งการเสวนานี้ระบุด้วยว่ารายได้ส่วนหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่าย ชมรมโดมรวมใจจะนำไปสมทบทุนสร้างอนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์ ที่จังหวัดสกลนคร
0000
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
“..โดยย่อเราน่าจะมีเวลาหายใจได้คล่องขึ้น แล้วก็เตรียมตัวเตรียมใจกันไว้ให้ดีกับเวลาเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะมาถึง
การต่อรองช่วงชิงระหว่างอำนาจเดิมบารมีเดิมกับอำนาจใหม่บารมีใหม่
โดยมีคนใหม่ๆ ตัวแทนใหม่ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรนั้นจ้องมองดูและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมคิดว่าฝ่ายใดอึดฝ่ายใดทนฝ่ายนั้นชนะ เวลาของการเปลี่ยนผ่านกำลังจะมาถึง
สายธารของประวัติศาสตร์จะเป็นผู้บอกกับเรา
กาลเวลา ความเป็นอนิจจัง ความไม่เที่ยง จะเป็นตัวตอบปัญหาทั้งหมด”

 

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : TIMES THEY ARE A-CHANGIN'

พระบิดาของประวัติศาสตร์ไทย คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวเอาไว้เมื่อปี 2470 ก่อนหน้าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ท่านบอกว่า คนไทยมีคุณลักษณะพิเศษอยู่ 3 ประการ และท่านก็ให้เป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่า
1. คือ “Love of national independence” หรือ ความรักในเอกราช
2. คือ “Toleration” แปลเป็นบาลีว่า “วิหิงสา”
3. คือ “Power of Assimilation” แปลว่าประสานประโยชน์

อันนี้เป็นคุณสมบัติพิเศษของชนชาติสยาม อันนี้เป็นตัวตั้งในการที่จะคุยเรื่อง "เกี้ยเซียะ หรือ กลียุค” อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็จะครบ 40 ปี 14 ตุลา 2516 อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็จะครบ 37 ปี หลัง 6 ตุลา 2519 ฯลฯ ด้วยคำถามเก่าๆ กับทางออกที่ดูจะเลือนราง และก็ยังอยู่กับเราราวกับว่าบ้านเมืองของเราจะเปลี่ยนไม่ผ่าน และก็ยังมีคนจำนวนมากที่ยังตกเป็นเหยื่ออธรรมอยู่

ตอบคำถามว่าจะเกี้ยเซียะ หรือ กลียุค ขอฟันธงว่า “เกี้ยเซียะ” เพราะตรงกับวัตรปฏิบัติของชนชั้นนำไทยชาวกรุง หรือผู้ที่ได้มาชุบตัวเป็นชาวกรุง “เกี้ยเซียะ” ก็คือ
“การจัดการปัญหาทางการเมืองด้วยการไกล่เกลี่ยประ ณีประนอม เจรจาต่อรอง ประสานหรือจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัวในหมู่ชนชั้นนำของสังคม เพื่อรักษาอภิสิทธิ์หรือสถานะดั้งเดิมของพวกตนไว้ ซึ่งนอกจากจะไม่ก่อประโยชน์อันใดต่อประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย”
อันนี้เป็นคำนิยามศัพท์จากเฟซบุ๊กแฟนเพจ “พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย” ซึ่งน่าสนใจมาก ในพจนานุกรมฯ ยังบอกด้วยว่า
“นี้คือวิธีการยอดนิยมในการแก้ปัญหาทางการเมืองของ ประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน. ใช้ในความหมายนี้ครั้งแรกโดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากอาเจ๊ข้างมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์”
สรุปนี่เป็นวิธีการแบบไทยๆ เชื้อสายจีน บวกกับความเป็นพุทธแบบเถรวาท แบบไทยๆ
ส่วน “กลียุค” นั้นไม่น่าจะเป็นกลียุคอย่างที่หวั่นวิตกกัน หลายคนมักเอาเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยามาอ่านอยู่เรื่อยที่ว่า
“...จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ. คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพท อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน. มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองนั้นจะออกไปสู่ไพร...จะบังเกิดทรพิษมิคสัญญี ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน กรุงประเทศราชธานี จะเกิดการกุลีทุกแห่งหน จะอ้างว้างอกใจทั้งไพร่พล จะสาละวนทั่วโลกหญิงชาย จะร้อนอกสมณาประชาราษฎร์ จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ..”
ฟังดูแล้วก็น่ากลัวมากถ้าเราดูจากคำพยากรณ์เพลงยาวของกรุงศรีอยุธยา แต่ตนคิดว่าวิธีอธิบายของอยุธยาว่ามันเป็น “กลียุค” ที่เป็นลักษณะฮินดูหรือพราหมณ์ เป็นภาพสะท้อนที่เราจะเห็นได้จากปราสาทขอม ที่ปราสาทเขาพระวิหารหรือพนมรุ้งมากกว่าที่จะเห็นตามวัดแบบไทยๆ และเถรวาทแบบไทย แต่สังคมไทยก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีวิกฤต ที่เราจะฝ่าข้ามไปโดยไม่เสียเลือดเนื้อนั้น คือว่าไม่ใช่ แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าการต่อรองอำนาจจะจำกัดอยู่แค่ชนชั้นนำที่เป็นการต่อ รองระหว่างอำนาจเดิม บารมีเดิม กับอำนาจใหม่ บารมีใหม่ ซึ่งไม่ใช่แล้วในตอนนี้ ถ้าเรามองไปรอบๆ มองไป นอกกรุงเทพ จะเห็นว่าตอนนี้มีกลุ่มคนชั้นใหม่ที่เกิดขึ้นมา จะเป็นชาวกรุงก็ไม่ใช่ จะเป็นชาวบ้านก็ไม่เชิง กลุ่มนี้เป็นลูกผสมระหว่างเมืองกับชนบทบางคนอาจบอกว่าเป็น “ru-ban” อาจจะใช้ “ชาวบ้านกรุง” หรือ “ชาวกรุงบ้าน” กลุ่มนี้ที่เข้ามาต่อรองกับชนชั้นนำเดิมๆ และชนชั้นนำใหม่ๆ ของสยามประเทศไทย

เพราะฉะนั้นวิกฤตทางการเมือง ในแบบเรียนของกระทรวงก็มักจะมองว่าเราไม่ค่อยจะมีปัญหา แต่ว่าถ้าเราจะดูลึกๆ เราจะเห็นมาตั้งแต่กบฏประชาธิปไตย รศ.130 เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเมื่อ 80 ปืที่ผ่านมาในการปฏิวัติประชาธิปไตย 2475 มาจนกระทั่งผ่านรัฐประหารนับครั้งไม่ถ้วน รวมถึงอาชญากรรมของรัฐครั้งใหญ่ๆ 4 ครั้ง คือ 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 พฤษภาเลือด 2535 และล่าสุดคือ เมษา-พฤษภาอำมหิต 2553
คิดว่าเราได้บทเรียนทางประวัติศาสตร์ใน 100 ปีที่ผ่านมานั้นมีมหันตภัยและมันก็ยังไม่หมดไป และเราก็ได้เรียนรู้ว่าประวัติศาสตร์ไทยของเราที่มีไว้ให้เรียนกันนั้น ให้ลืมมากกว่าให้จำ มีไว้ให้ไม่เรียนรู้มากกว่าให้เรียนรู้ ผมอยากจะเชื่อว่ามันจะต้องซ้ำรอยอีกหลายต่อหลายครั้ง กว่าเราจะข้ามไปได้

รัฐประหารยังเป็นสิ่งที่ไม่หมดได้ในเมืองไทยของเรา แม้ว่าการรัฐประหารโดยกำลังทหารจะเป็นไปได้ยากในช่วงสมัยปัจจุบันหรือรัช สมัยปัจจุบันก็ตาม คิดว่ารัฐประหารในรูปแบบอื่นๆ ที่เรารู้จัก ในแง่ของการใช้ศาลหรือตุลาการภิวัฒน์เป็นสิ่งที่ยังมีความเป็นไปได้ต่อตอน นี้ สถานการณ์การเมืองไทยภายในได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเลือกตั้งมาหลายต่อหลายครั้ง และล่าสุดการที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ใหม่มากๆ การเมืองของอาเซียก็เปลี่ยนไปเยอะทีเดียว โดยเฉพาะกรณีของพม่า และที่สำคัญการเมืองระดับโลก ซึ่งไม่น่าจะเอื้ออำนวยให้กับวิธีการเก่าๆ ที่ใช้กันมา
โดยย่อเราน่าจะมีเวลาหายใจได้คล่องขึ้น และก็เตรียมตัวเตรียมใจกันไว้ให้ดีกับเวลาเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะมาถึง การต่อรองช่วงชิงระหว่างอำนาจเดิมบารมีเดิมกับอำนาจใหม่บารมีใหม่โดยมีคน ใหม่ๆ ตัวแทนใหม่ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรนั้นจ้องมองดูและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ผมคิดว่าฝ่ายใดอึดฝ่ายใดทนฝ่ายนั้นชนะ เวลาของการเปลี่ยนผ่านกำลังจะมาถึง สายธารของประวัติศาสตร์จะเป็นผู้บอกกับเรา กาลเวลา ความเป็นอนิจจัง ความไม่เที่ยง จะเป็นตัวตอบปัญหาทั้งหมด

ขอจบด้วยชื่อเพลงของบ็อบ ดีแลน (Bob Dylan) ที่บอกว่า "The Times They Are a-Changin"

คลิปวิดีโอ ช่วงชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าว โดย Prainn Rakthai
เกษียร เตชะพีระ

“..ในช่วงที่เปลี่ยนจากประเทศรายได้ปานกลางระดับบนไปเป็นรายได้สูงนั้น กระแสมวลชนขึ้น
ต้องการเสรีภาพมากขึ้น ต้องการประชาธิปไตยมากขึ้น คุณจะเอาทุนนิยมมากขึ้น
มันเรียกร้องประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง
เพราะถ้าประชาธิปไตยน้อยลงมันจะทำซ้ำอย่างที่สฤษดิ์ทำคือ หาร
กล่าวคือพัฒนาเสร็จความเหลื่อมล้ำยิ่งมาก
สมัยประชาธิปไตยครึ่งใบดีขึ้นมาหน่อยแต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ บทเรียนที่เราน่าจะสรุปได้จากการกระโดดใหญ่ 2 ครั้ง
คือ จะพัฒนาทุนนิยมจะต้องมีประชาธิปไตยมากขึ้นเพื่อประกันให้การกระจายรายได้เกิดด้วย
ให้การกระจายโอกาสเกิดจริงด้วย ถ้าไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีช่องทางให้คนข้างล่างได้ร้อง
การเติบโตทางเศรษฐกิจมันจะถูกรวมศูนย์ผลประโยชน์รายได้ไปอยู่ที่คนข้างบนหมด
และมันก็จะสอดรับกับการเกี้ยเซียะของอีลิท
ดังนั้นมันสำคัญในเรื่องการผลักให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง”

 

เกษียร เตชะพีระ: พัฒนาทุนนิยมต้องมีประชาธิปไตยมากขึ้นเพื่อประกันให้เกิดกระจายรายได้

ผมอยากเอา “เกี้ยเซียะ หรือ กลียุค” ไปวางอยู่บนการเปลี่ยนผ่าน 2 อัน ด้านหนึ่งในทางการเมือง อีกด้านหนึ่งในทางเศรษฐกิจ

ในทางการเมือง คือการเปลี่ยนผ่านที่เกี่ยวกับกระบวนการที่คนจำนวนมากในชนบทเลิกเป็นชาวนา ซึ่งเป็นโจทย์ที่ใหญ่มาก และจะอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ไม่ว่าชนชั้นนำจะเกี้ยเซียะกันหรือไม่ก็ตาม

ในแง่ของเศรษฐกิจ จากยุทธศาสตร์ใหญ่ที่รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์อยากจะทำคือ กระบวนการที่พยายามที่จะผลักเศรษฐกิจของไทยให้พ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง คือเราเลิกเป็นประเทศรายได้จนมาพักใหญ่แล้ว ตอนนี้เราถูกจัดอยู่ในประเทศรายได้ปานกลาง แล้วก็เป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลยิ่งลักษณที่จะผลักให้เราเดินไปเป็น ประเทศรายได้สูง “แหม่! ฟังแล้วมันปลาบปลื้ม” ภายในเวลาไม่เกิน 5-10 ปีนี้ ผมคิดว่านี่เป็นการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

ส่วนกรอบใหญ่ที่ล้อมการเกี้ยเซียะ หรือ กลียุค คือ 3 แนวโน้มสำคัญในกระบวนการประวัติศาสตร์ใหญ่ๆ 3 กระบวน ซึ่ง 3 แนวโน้มใหญ่ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาการเมืองมีการเปลี่ยน 3 เรื่องใหญ่

1. อำนาจย้ายที่ มันยังย้ายไม่สุดแต่เริ่มย้ายแล้ว และไม่คิดว่ามันจะถอยหลังกลับได้ แม้จะมีความพยายามจะดึงจะถ่วงไว้ก็ตาม คือ อำนาจรัฐเริ่มย้ายจากชนชั้นนำแบบเก่าที่เราเรียกหรือใช้ภาษาการเมืองว่า “อำมาตย์” ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไปสู่ชนชั้นนำกลุ่มใหม่ซึ่งเป็น “นักธุรกิจการเมือง” และมาจากการเลือกตั้ง

2. หน้าตาการเมืองเปลี่ยน สาเหตุที่สำคัญจากชนชั้นนำทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งกำลังแย่งอำนาจกัน ค้นพบว่า “กูโค่นมึงไม่ลง” ต่างฝ่ายต่างค้นพบว่าลำพังตัวเองไม่สามารถเอาอีกฝ่ายลงหรือหยุดได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจึงไปเอามวลชนมาเข้าร่วม ฝ่ายอำมาตย์ก็สร้างกระบวนการหรืออุดหนุนขบวนการเสื้อเหลือง ฝ่ายคุณทักษิณก็สนับสนุนและเข้าไปร่วมกับขบวนการมวลชนเสื้อแดง ผลของมันไม่ได้แปลว่าชนชั้นนำทั้ง 2 ฝ่ายคุมขบวนของตนได้หมด จะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงก็ดีเขามีข้อเรียกร้องต้องการความมุ่งหวังทาง การเมืองของเขาที่ต่างหากจากรัฐบาลหรือฝ่ายอำมาตย์อยู่ แต่ไม่ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม การเมืองแบบนั่งอยู่ในหมู่ชนชั้นนำจบแล้ว ไม่ ว่าฝั่งไหนจะชนะหรือแพ้ การเมืองเดินไปในรูปแบบการต่อสู้ที่มวลชนอยู่ตรงนั้นแน่ๆ เรียกว่า Mass politics คุณไล่คนเหล่านี้ออกไปไม่ได้ แม้ว่าคุณจะเกลียดชังเขาปานใดก็ตาม

3. นโยบายเศรษฐกิจเปลี่ยน หลายสิบปีตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ พ.ศ.2504 เรื่องหลักสำคัญคือนโยบายการเติบโต การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทุ่มเททรัพย์สิน ทรัพยากร แรงงานทั้งหมดที่เรามีเพื่อผลักให้เศรษฐกิจโตเร็วมาก สิ่งที่เราหายไปในระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจก็คือผลได้มันกระจุก มันไม่ได้กระจายไปให้คนอย่างทั่วถึง ความ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยรัฐบาลทักษิณก็คือ เริ่มกระบวนการกระจายดอกผลทางเศรษฐกิจไปให้คนที่ไม่เคยได้มาก่อน นั่นก็คือบรรดาคนชั้นล่างทั้งหลาย เพราะฉะนั้นอันที่ 3 ที่เกิดก็คือกิด การกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ รายได้ทางเศรษฐกิจลงไปสู่ชนชั้นล่างมากขึ้น นโยบายเศรษฐกิจแบบเทคโนแครตกำหนด เอะอะอะไรก็แล้วแต่ผู้เชียวชาญ เอะอะอะไรก็แล้วแต่สภาพัฒน์ ได้กลายเป็นนโยบายที่เขาด่ากันทั้งบ้านทั้งเมือง  “นโยบายประชานิยม” นับวันวิธีการวางนโยบายเศรษฐกิจแบบเทคโนแครตพูดฝ่ายเดียวมันจะเป็นไปไม่ได้ และจะมีน้อยลงเรื่อยๆ นโยบายทิศทางหลักก็คือต้องคิดถึงคนข้างล่างได้อะไรบ้างและพยายามผลักดัน นโยบายทางเศรษฐกิจที่กระจายความมั่งคั่งลงไปข้างล่างมากขึ้น

ทั้ง 3 อย่างนี้มันเกิดขึ้นในกรอบการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ กระบวนการใหญ่ๆ 3 กระบวนการ ซึ่งมันไม่ใช่เกิดขึ้นแบบปีเดียวหรือไม่กี่ปีเห็นผล แต่ 3 อย่างที่ล้อมและทำให้แนวโน้มทั้ง 3 อันข้างต้นมันคลีคลายไปในแบบที่เราเห็น โดย 3 กระบวนการใหญ่ ประกอบด้วย

1. กระบวนการที่คนชนบทเลิกเป็นชาวนา เริ่มต้น พ.ศ.2530 มาถึงปัจจุบัน ประมาณ 25 ปี

2. กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย หลัง 14 ตุลา 16 ถ้าถือสูตรของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ถ้าถือสูตรของเพื่อนรักผมคือคุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แกก็จะบอกว่าเริ่มจริงประมาณ 2535 แต่ไม่ว่าจะเริ่มตอนไหน กระบวนการประชาธิปไตย ทั้งในระดับโลกที่สงครามเย็นจบแล้ว ทุกประเทศยอมรับประชาธิปไตย กระแสประชาธิปไตยพัดในระดับโลก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาระบอบเผด็จการอีกต่อไป จึงเป็นกระแสที่คลี่คลายเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

3. การเกิดขึ้นของพระราชอำนาจนำ คือการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่เอาตามอาจารย์ธงชัย(วินิจจะกูล) หลัง 14 ตุลา 16 ถ้าเอาตามอาจารย์สมศักดิ์(เจียมธีรสกุล)ก็เริ่มต้นตั้งแต่ 2535 กลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคมการเมืองและรัฐไทย กลุ่มพลังที่อาจจะคุกคามสถาบันกษัตริย์ได้ถ้าเราดูตัวอย่างอย่างประเทศ เพื่อนบ้านในเอเชีย ในเขมรที่โค่นกษัตริย์นั้นคือ ลอน นอล ซึ่งเป็นทหาร นอกจากทหารแล้วใครที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ คือพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าจะเป็นในลาวหรือย้อนหลังกลับไปในรัสเซีย หรือไม่ก็คือกลุ่มนายทุนชนชั้นกลาง อย่างจีนในกรณี ซุน ยัตเซ็น สถาบันกษัตริย์ในโลกสมัยใหม่และดูจากประเทศที่ล้อมเราภัยคุกคามมาจากพลัง 3 กลุ่มนี้ ทั้ง 3 พลังนี้ในรอบ 20 กว่าปีในเมืองไทยจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์ก็เลิกกิจการไปแล้ว ทหารก็เปลี่ยนจากทหารของชาติเป็นทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนชนชั้นกลางก็เป็นสลิ่ม รัก ม.112

พระราชอำนาจนำ กล่าวคือในหลวงเป็นประมุขไม่ทรงมีอำนาจบริหารทางการเมือง แต่ทรงนำทั้งสังคมและรัฐ ข้อคิด พระราชดำริ ของพระองค์สามารถโน้มน้าวจูงใจให้สังคมการเมืองและรัฐเดินตามได้โดยไม่ต้อง บังคับ

3 อันนี้มาร้อยเข้ากัน คือ การเลิกเป็นชาวนาที่เป็นคนชนบท สร้างคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นลูกค้าหน้าใหม่และต้องการส่วนแบ่งอำนาจการเมือง สัดส่วนประชากรภาคชนบทกับสัดส่วนแรงงานภาคเกษตร ตั้งแต่ปี 1987-2009 คนชนบทนั้นจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ปี 1987 คนชนบทเป็นคนจำนวน 70% ของจำนวนคนไทยทั้งประเทศ ปี 1997 เหลือ 69% ปี 2007 เหลือ 67% ปี 2009 เหลือ 66% สัดส่วนของคนที่อยู่ในภาคเกษตรเป็นชาวนาชาวไร่ ในปี 1987 ขณะที่คนชนบทมีอยู่ 70% ของคนไทยทั้งหมด คนไทยทั้งหมดที่ทำงานเกษตรมีเพียงแค่ 64% ปี 1997 ขณะที่คนไทยเป็นคนชนบท 69% คนไทยที่ทำงานภาคเกษตรเหลือแค่ 50% และปี 2007 ขณะที่คนไทยอยู่ในชนบท 67% คนไทยที่ทำงานภาคเกษตรเหลือแค่ 41% ความต่างระหว่าง 2 ตัวเลขนี้คือคนที่อยู่ชนบทแล้วเลิกเป็นชาวนา นี่คือกลุ่มลูกค้าสำคัญทางการเมือง คือฐานเสียงที่อยู่ในชนบทของพรรคเพื่อไทย ของพรรคไทยรักไทย ของพรรคพลังประชาชน ของคุณทักษิณ

คนกลุ่มนี้จะนิยามโดยยืมคำของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกคนเหล่านี้ว่า คือคนที่อาจารย์ชาญวิทย์เรียกว่า “ru-ban” อาจารย์นิธิ เรียกว่า คือคนชั้นกลางระดับล่างสุด กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของชนบทไทย ส่วนใหญ่มีรายได้จากงานจ้างและธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่ทำนาทำไร่อีกต่อไป แม้มีรายได้มากกว่าคนจน แต่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเกี่ยวโยงกับนโยบายของรัฐบาล มากกว่าการพึ่งพาธรรมชาติและความสัมพันธ์ที่ดีทางสังคมอย่างที่เคยเป็นมาใน อดีต แปลว่าคนเหล่านี้แคร์แล้วว่ารัฐบาลมีนโยบายจำนำข้าว แคร์แล้วว่ารัฐบาลมีนโยบายสวัสดิการ เงินที่จะมาถึงหมู่บ้านอย่างไร แคร์แล้วว่ารัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับค่าแรงอย่างไร เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ในภาคเกษตรแบบเดิมอีกต่อไปแล้ว คนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เป็นฐานเสียงให้แก่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เขาคือคนของ “Mass politics”
คนกลุ่มนี้ชอบประชาธิปไตยพอดีเลย คล้องเข้ากับการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยพอดีเลย แล้วคนอย่างคุณทักษิณและไทยรักไทยก็เห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นฐานเสียงที่เป็นไป ได้ก็ออกนโยบายที่ไปเกาะเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ ดังนั้นการเลิกเป็นชาวนามันบรรจบกับกระบวนการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย ลูกค้าเจอกับคนขายของพอดี การบรรจบครั้งนี้มันก่อปัญหา เพราะมีกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์จากการไม่เปลี่ยนทางนโยบายดังกล่าว กลุ่มชนชั้นนำเก่า กลุ่มชนชั้นกลางระดับกลางและบนเก่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่แฮปปี้กับการเปลี่ยนนโยบายเหล่านี้ ไม่แฮปปี้กับการเป็นประชานิยม คนกลุ่มนี้ไม่รู้จะอ้างเอาอะไรมาค้านเสียงข้างมากจึงอ้างความจงรักภักดี คือไปบรรจบกับกรอบใหญ่ที่ 3 คือพระราชอำนาจนำ เพราะฉะนั้นการเมืองของคนกลุ่มนี้ก็จะวิ่งไปสู่ข้อถกเถียงสมัยที่เคยเจอตอน 14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุลา 19 คือความคิดเกี่ยวกับเรื่องราชาชาตินิยม ความคิดเกี่ยวกับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเป็นหลักชัย และขยายมาใช้ทางการเมืองเพื่อต้านพวกที่เลิกเป็นชาวนา เพื่อต้านการที่คนกลุ่มนี้จับมือกับทักษิณ แล้วกลายเป็นใช้หรือยึดเอาเวทีประชาธิปไตยไป

ถ้าเราเอาคำถาม “เกี้ยเซียะ หรือ กลียุค” มาวางไว้นี้ คิดว่า “กลียุค” คือแบบ 4-5 ปีที่ผ่านมา คือมีอนาธิปไตยในท้องถนน มีอำนาจนิยมในรัฐบาล เมื่อเจออนาธิปไตยในท้องถนนรัฐบาลปกครองไม่ได้จึงมีแนวโน้มเป็นเผด็จการมาก ขึ้นเรื่อยๆ ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินแทบจะตลอดเวลา เมื่อเจอเหตุการณ์นี้ตลอด 4-5 ปี จึงเกิดอาการคือ “หักศึก” กูเข็ดแล้ว ไม่ไหวแล้วจะอ้วกแตกแล้ว ดังนั้นคำว่า “เกี้ยเซียะ” จึงเกิดขึ้น คือปรากฏการณ์ที่ชนชั้นนำรู้รักสามัคคี ถ้าเรานิยามแบบนี้เกี้ยเซียะแน่ เพราะกระแสรักสงบ หักศึก ไม่ได้แปลว่าเขาเลิกเป็นเหลือง ไม่ได้แปลว่าเขาเลิกเป็นแดง แต่จะให้ไปยึดทำเนียบและยึดสนามบินต่อไม่ไหว หรือจะให้มายึดราชประสงค์ต่อมันไม่ไหวแล้ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนสีแปรธาตุ แต่ว่าวิธีการสู้แบบ 365 วันต่อปีนี่ไม่ไหวแล้ว ดังนั้นเกิดกระแสรักสงบในสังคม

ขณะเดียวกันหมู่มิตรมหาอำนาจต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโอบามา อเมริกา ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น EU เห็นพ้องต้องกันว่าพี่ไทยเบาๆ หน่อย เพราะทั้ง 4 มหาอำนาจนี้ต้องการให้ไทยเป็นหุ้นส่วนเครื่องจักรขับเคลื่อนการเติบโตทาง เศรษฐกิจในอาเซียนในกรอบการเมืองประชาธิปไตย เพราะพวกเขาป่วยกันหมดแล้วในทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเขาหวังพึ่งและพม่าเปิดประเทศพอดี เพราะฉะนั้นเกี้ยเซียะแน่

คำถามคือ “ใครเป็นคนกำหนดเงื่อนไขการเกี้ยเซียะ?”

เท่าที่ดูแนวโน้มที่ผ่านมาจากกระบวนการนี้ คล้ายๆ กับเงื่อนไขการเกี้ยเซียะนั้น พลังเก่าเป็นฝ่ายรับทางการเมือง คือมีการขีดเส้นว่านี่คือเขตที่ตั้งรับแล้วห้ามเข้า เป็นเขตที่นักการเมืองจากการเลือกตั้ง รัฐบาลเสียงข้างมากห้ามเข้า เขตนี้ประกอบไปด้วย รัฐธรรมนูญ 2550 ห้ามแก้ กฎหมายอาญามาตรา 112 ความพร้อมรับผิดของกองทัพ สุดท้ายกรณีหรือกิจการทั้งหลายอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่สิ่ง ที่เปิดให้มวลชนและนักการเมือง คิดว่านี่คือข้อตกลงของฝ่ายพลังเก่าว่านี่คือเขตห้ามเข้า

พลังใหม่มีกระบวนท่าที่รุกในแง่บริหารเศรษฐกิจ น่าสนใจว่าพอน้ำท่วมเกิดมีคณะกรรมการจัดการน้ำท่วมวางแผนเศรษฐกิจประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพิ่งเสนอยุทธศาสตร์ประเทศ จะสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สาย เพื่อผลักให้ประเทศไทยพ้นภาวะที่เป็นประเทศรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศ รายได้สูง รวมทั้งการนำเสนอนโยบายเศรษฐกิจที่เอาเข้าจริงโดนด่าแหลกเลย ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท หรือ นโยบายจำนำข้าว น่าสนใจที่อันนี้ไม่ถอย จึงคิดว่านโยบายทางด้านเศรษฐกิจกลุ่มพลังใหม่เป็นฝ่ายรุก ขณะที่ด้านการเมืองไม่กล้าเข้าไปในเขตหวงห้ามเหล่านั้น

อะไรที่เป็นตัวกำกับการดีดลูกคิดดีลหรือข้อตกลงว่าจะรับจะรุกอันนั้นอัน นี้ คิดว่าเป็นเรื่องเวลา 2 เวลา คือเวลาของระบอบเลือกตั้งกับเวลาของเครือข่ายอำมาตย์ มันมีนาฬิกา 2 เรือนที่คนหันไปดูแล้วตัดสินใจว่าจะดีลอย่างไร นาฬิกาของระบอบเลือกตั้งประชาธิปไตยมันยาว คือมันเดินหน้าของมันเรื่อยๆ มันมั่นคง แต่กับระบอบเครือข่ายอำมาตย์นี่ดูนาฬิกาแล้วไม่แน่ใจ มันมีเงื่อนไขทั้งด้านชีววิทยา เงื่อนไขของการแพทย์ต่างๆ

แต่คิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจคือในขณะที่ระบอบเลือกตั้งประชาธิปไตยเป็น ระบอบทางการมีกฎหมายรองรับ เครือข่ายอำมาตย์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นทางการ ทุกอย่างดำเนินการไปแบบแอบแฝงไม่เป็นทางการตลอด ดังนั้นการคงอยู่ที่แน่นหนาถาวรของเครือข่ายอำมาตย์ในแง่เวลาจึงไม่อยู่ใน ระดับเดียวกับความยืนยันในแง่เวลาของระบอบประชาธิปไตย

ฟังดูเหมือนราบรื่น แต่คิดว่าไม่ราบรื่น ต่อให้เกี้ยเซียะกันได้ คุณก็ไม่ได้แก้โจทย์ เพราะโจทย์ที่สำคัญคือมันมีคนที่เลิกเป็นชาวนากองมหาศาลอยู่ชนบท คนเหล่านี้ต้องการมีอำนาจทางการเมืองเพราะนโยบายรัฐบาลสำคัญกับเขาแล้ว คุณจะเอาเขาไว้ตรงไหน ดังนั้นช่วงเปลี่ยนผ่านนี้อาจจะเปลี่ยนไม่ผ่านถ้าไม่แก้เรื่องนี้ คือการเมืองของการเลิกเป็นชาวนา การเมืองของการที่จะจัดการคนที่หลุดจากชนบทมา คือเขากำลังจะเปลี่ยนตัวเองจากชาวนากลายเป็นพลเมืองที่เอาการเอางานทางการ เมือง คือไม่ใช่ตาสีตาสาอยู่บ้านนอกเจ้านายจะว่าอะไรก็ยกมือไหว้ อันนั้นจบไปแล้ว มันกลายเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว รู้สิทธิของตัว พร้อมที่จะท้าทายอำนาจ พร้อมที่จะเรียกร้อง พร้อมที่จะก่อม๊อบ พร้อมที่จะปิดถนน จะแก้ปัญหาของคน มหาศาลนี้อย่างไร ซึ่งไม่สามารถแก้ได้ด้วยไปเกี่ยวก้อยหรือร้องเพลงกัน มันจะแก้ได้คุณต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองประเทศให้เขามีที่ คุณไม่อยากให้เขาม๊อบคุณต้องทำให้เขาได้ในสิ่งที่เขาต้องการต่อรองทางการ เมืองโดยไม่ต้องก่อม็อบ คือมีที่ในระบบให้เขา มีที่ในรัฐธรรมนูญให้เขา มีที่ในสภาให้เขา

ถ้าไม่แก้ไขโครงสร้างระบบการเมือง ช่วงเปลี่ยนนี้ไม่ผ่าน และไม่ว่าใครเกี้ยเซียะกันจบ กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะมาพบคุณแล้วจะปิดถนนเสมอ เหมือนวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา ถ้าจะต้องการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ต้องกอดรัดเอาคนที่เลิกเป็นชาวนามหาศาลในชนบท เข้ามาสู่การเมืองในระบบ

3 เรื่องที่ต้องทำในการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

1. ต้องยืนยันความเสมอภาคทางการเมือง ในแง่สิทธิและ อำนาจ ในเมื่อเขาเท่ากับคุณ จำนวนเขามากกว่า ประทานโทษที เขาต้องชนะ ถ้าเราไม่เริ่มจากอันนี้ การตกลงทางการเมืองใดๆ ไม่มีความหมายเลย คุณไม่เป็นความเป็นคนเท่าคุณแล้วจะเริ่มตกลงกันได้อย่างไร

2. ต้องกระจายอำนาจ ไม่ใช่กระจุกรวมศูนย์อยู่ในเมืองอยู่ในกรุง อยู่ในศูนย์กลางตลอด ต้องให้พื้นที่ต่างๆ ในชนบทสามารถตัดสินใจกำกับเหนือตัวเองมากขึ้น โดยกระบวนการแบบนี้พวกเขาสามารถเข้าถึงประชาธิปไตย ใช้อำนาจโดยตรงในพื้นที่ๆ เขาอยู่

3. ต้องทำให้การรักษาสถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวกับการรักษาความยุติธรรม การรักษาประชาธิปไตยและการรักษาสิทธิมนุษยชน ถ้า อันนี้ทำได้เปลี่ยนผ่านได้ พูดง่ายๆ ทั้งสถาบันกษัตริย์ ความยุติธรรม ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ยืนข้างเดียวกัน ถ้าทำอันนี้ได้สถาบันกษัตริย์มั่นคงที่สุด

       ในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมาปัญหาเกิดเพราะมีคนดึงเอาประชาธิปไตยไปอยู่ตรงข้ามกับสถาบัน กษัตริย์โดยการทำรัฐประหารในนามของการปกป้องสถาบันกษัตริย์ มีการอ้างว่าต้องละเมิดสิทธิมนุษยชนก็เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ และเราก็เห็นตัวอย่างของการใช้กรณี ม.112 ซึ่งมันยากมากที่คนอื่นในโลกจะเข้าใจว่ามันมีความยุติธรรมอย่างไร คุณก็ได้แต่บอกว่าคุณไม่ใช่คนไทยคุณไม่เข้าใจ ผมฟังอันนี้แล้วก็อึ้งเพราะผมเป็นคนไทยผมก็ยังไม่เข้าใจเลย นับวันคุณไม่สามารถทำเรื่องนี้ให้เป็นที่เข้าใจของคนไทยเองเป็นจำนวนมากขึ้น เรื่อยๆ คุณจะแก้อย่างไร ทำให้ทั้งโลกคิดเหมือนคนไทย? หรือปรับให้คนไทยคิดเหมือนคนทั้งโลก บนฐานของความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ซึ่งยืนอยู่ที่เดียวกันกับสถาบันกษัตริย์

การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ ขอยกคำกล่าวของนายกยิ่งลักษณ์ ที่ออกรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า
“ยุทธศาสตร์แรก จากที่เราถูกปรับระดับจากประเทศรายได้น้อยมาเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สิ่งที่เราทำต่อคือการที่มีรายได้ปานกลางจะให้อยู่อย่างยั่งยืนหรือมีรายได้ ที่ดีขึ้น คือต้องปรับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะเราต้องปรับวิถีชีวิตที่ดี แทนที่จะขายของปริมาณมากๆ ต้องปรับคุณภาพให้สูงขึ้น เมื่อรายได้มากขึ้นและอาเซียนจะเข้ามา ประเทศต่างๆ ในอาเซียน เราจะทำอะไรให้เราขายของได้ และจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นจุดเด่นน่าลงทุนสำหรับนานาชาติด้วย”
นี่คือการประกาศอย่างเป็นทางการในการยกระดับประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานกลางไปเป็นรายได้สูง เป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลชุดนี้

การยกระดับประเทศหนึ่งๆ จากประเทศรายได้ปานกลางไปเป็นรายได้สูงยากมาก ทำไมถึงยาก การแบ่งประเทศรายได้ระดับปานกลาง มันมีหลายสูตร ถ้าเอาสูตรของ Michael Spence ที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบลปี 2001 นั้นว่าประเทศรายได้ระดับปานกลางคือประเทศที่ประชากรในประเทศนั้นมีรายได้ เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 5,000 – 10,000 ดอลลาร์ต่อปี เงินเดือนประมาณ 15,000 – 25,000 บาทต่อเดือน ส่วนของธนาคารโลกนั้นเกณฑ์ต่างกันนิดหน่อย ประเทศรายได้ระดับปานกลางคือประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 1,021 – 12,475 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งไทยตอนนี้รายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 4,000 – 5,000 ดอลลาร์ต่อปี

อันสุดท้ายของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย มาจากรายงานที่นักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งทำให้ เขาคำนวณตัวเลขในปี 2010 คือเขารู้ว่าข้าวแกงในไทยถูกแต่ไปกินที่นิวยอร์กแพง ดังนั้นเวลาเขาเทียบรายได้เขาเอา อำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity) มาเทียบกันด้วย ไม่ได้คิดเพียงตัวเงินดิบๆ เขาเสนอว่าประเทศรายได้ต่ำนั้น รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อปี ในปี 2010 ทั้งโลกมี 40 ประเทศ ประเทศรายได้ปานกลาง มีปานกลางระดับต่ำ กับปานกลางระดับสูง ประเทศปานกลางระดับต่ำอยู่ที่ 2,000 – 7,250 ดอลลาร์ต่อปี ในปี 2010 มี 38 ประเทศ ประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง อยู่ที่ 7,250 – 11,750 ดอลลาร์ต่อปี มีอยู่ 14 ประเทศ ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศนั้น ถ้าเป็นประเทศรายได้สูง รายได้ต้องสูงกว่าหัวละ 11,750 ดอลลาร์ต่อปี ในปี 2010 ทั้งโลกมีอยู่ 32 ประเทศ ประเทศไทยนั้นรายได้เฉลี่ยต่อหัวเมื่อเอาอำนาจซื้อมาเทียบ เราอยู่ที่ 9,143 ดอลลาร์ต่อปี เหลืออีกประมาณพันถึงสองพันดอลลาร์ต่อปี เราจะขยับไปสู่ประเทศรายได้สูง

การออกจากประเทศรายได้ปานกลางไม่ง่าย ถ้าออกสำเร็จเราก็เปลี่ยนผ่าน ถ้าไม่สำเร็จก็เปลี่ยนไม่ผ่าน ถ้าเปลี่ยนไม่ผ่านเขาเรียกว่ากับดักรายได้ปานกลาง คือติดกับ ดังนั้นจะเปลี่ยนจากประเทศรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูงอย่างไร โดยที่ไม่ติดกับดัก ไม่ให้หมดแรง เขาเสนออย่างนี้ว่าถ้าคุณเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ คุณต้องทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นปีละ 4.7 % และต้องเลื่อนจากประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงภายในเวลาไม่เกิน 28 ปี ถ้าไม่เลื่อนก็ติดกับดัก แต่ถ้าสำหรับประเทศรายได้ปานกลางระดับบนอย่างไทย เราต้องเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวปีละ 3.5 % เพื่อที่จะกลายเป็นประเทศรายได้ระดับสูงในเวลาไม่เกิน 14 ปี ไม่เช่นนั้นก็จะติดกับดัก

เรากลายเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ ปี 2519 และเราอยู่ที่ประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ 28 ปี คือพ้นในปี 2547 เดาว่าที่เราหลุดจากประเทศรายได้ระดับต่ำไปได้เพราะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติของสฤษดิ์ ที่เริ่มแผนเมื่อปี 2504 หลังจากนั้นเราน่าจะหลุดจากประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำเร็วก่อนนั้น แต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเสียก่อน ที่เราขยับจากรายได้ปานกลางระดับต่ำไปปานกลางระดับบนได้คิดว่าเป็นเพราะ อีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นเพราะนโยบายโชติช่วงชัชวาลสมัยพลเอกเปรม และน่าจะขยับได้เร็วกว่านี้หากไม่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งขึ้นมา ใน 28 ปีที่เราอยู่รายได้ปานกลางระดับต่ำเศรษฐกิจเราโตปีละ 4.7%

รอบนี้เราอยู่ที่ราได้ปานกลางระดับบนอยู่ 7 ปี หากนับถึงปี 2010 เรามีเวลาอีก 7 ปีที่จะเลื่อนชั้น ถ้าเลื่อนไม่สำเร็จเราติดกับดัก และถ้าความฝันของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือทั้งหมดจะเกิดก่อนครบ 7 ปี และทั้งหมดจะเกิดด้วยยุทธศาสตร์ประเทศของแก โดยรถไฟความเร็วสูง ส่วนประเทศที่อยู่ในสภาวะแบบเดียวกับเรามี จีน บัลแกเรีย ฮังการี โปแลนด์ ตุรกี คอสตาริกา เม็กซิโกและโอมาน เป็นกลุ่มที่ยังไม่ติดกับ ยกเว้นจีนกับไทยแล้ว ประเทศที่เหลือล้วนเคยติดกับดักรายได้ปานกลางระดับต่ำมาก่อนร่วม 50 ปี ในบรรดา 9 ประเทศมีประเทศที่เสี่ยงที่จะติดกับดักคือ คอสตาริกา ฮังการี เม็กซิโก โอมานและตุรกี ส่วนอีก 4 ประเทศน่าจะหลุดถ้ารักษาการเติบโตของรายได้ประชากรที่ประมาณ 3.5-3.6% ถ้ารักษาไว้ได้โปแลนด์จะเข้าสู่ประเทศรายได้ระดับสูงในปี 2013 จีน ปี 2015 ส่วนบัลแกเรียกับไทยจะเข้าในปี 2018

เพื่อสิ่งนี้นายกฯ ยิ่งลักษณ์จึงทำโครงการเชื่อมโยงกับอาเซียน เชื่อมโยงกันกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง มันจะนำมาซึ่งการสร้างถนนไฮเวย์ตัดไปมาในประเทศเราหลายสายมาก ที่เฉพาะหน้าคือรถไฟความเร็วสูงซึ่งจะมีอยู่ 3 สายหลัก สายที่ 1 คือ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ สายที่ 2 กรุงเทพฯ – เวียงจันทน์ – คุนหมิง และสายที่ 3 เชื่อมโยงจากประเทศไทยไปทางใต้ ไปสิงคโปร์

ยุทธศาสตร์ประเทศนี้ความหวังของเขาก็คือกระตุ้นให้เศรษฐกิจโต แต่โตแบบมี 3 ลักษณะ โตแล้วแข่งขันกับต่างประเทศได้ดี โตแล้วเขียวคือหวังว่าจะรักษาสิ่งแวดล้อม อันที่ 3 คือ ให้คนทั้งหลายได้โตไปด้วยกัน คือ “inclusive growth” เขาไม่ได้บอกให้คนจนคนรวยเสมอภาคกันยิ่งขึ้น คือเขาบอกว่าในกระบวนการที่จะทำให้เศรษฐกิจโตโดยยุทธศาสตร์นี้ เขาจะรวมท่านทั้งหลาย คนที่ไม่เคยได้ประโยชน์จากการโตนี่ให้เข้ามาได้ประโยชน์ด้วยโตไปด้วย แต่เขาไม่ได้บอกว่าคนที่รวยมหาศาลจะลดการโตลงมาอยู่ในระดับเดียวกับท่านทั้ง หลาย คือเราจะนั่งรถไปขบวนเดียวกันแต่ท่านก็จะได้ประโยชน์จากการโตบ้าง แต่ไม่ได้จะรั้งคนที่อยู่ข้างบนลงมาด้วย อันนี้เป็นวิธีการชวนคนให้เข้าร่วมขบวนรถไฟ ความเติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่ทำให้เศรษฐีรู้สึกไม่สบายใจ

ทางรถไฟความเร็วสูงซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักอันนี้ ชัดเจนที่คำพูดของรัฐมนตรีจะก่อสร้างตรงจุดที่ GDP (Gross Domestic Product – ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) สูงก่อน แปลว่าเขาเลือกในพื้นที่ๆ เศรษฐกิจเติบโตดีก่อน หวังจะให้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเหมือนกระดูกสันหลักหรือเส้นเลือดใหญ่ แล้วใช้มันกระจายความเจริญ กระจายการจ้างงาน เขาหมายถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์บอกว่าถ้าทำอันนี้ขึ้นมาจะมีงานตำแหน่งใหม่ๆ เกิดขึ้นปีละ 5 แสนตำแหน่งทุกปี สร้างโอกาส

เมื่อมีเส้นเลือดใหญ่มีกระดูกสันหลังอันนี้แล้ว ภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัดต้องขานรับ ถ้าคุณอยู่ที่จังหวัดที่รถไฟความเร็วสูงผ่านคุณเงยหน้ามองดูเส้นทางรถไฟแล้ว ปรับทิศทางการพัฒนาจังหวัด ปรับธุรกิจคุณให้ขานรับกับเส้นทางนี้ หน่วยราชการจะต้องตามไปบริการ มหาวิทยาลัย โรงเรียน การแพทย์ต้องตามไป เขาเชื่อว่ามันจะส่งผลสะเทือนเชิงบวก ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ค่าขนส่งจะถูกลง พลังงานจะถูกลง เราจะลดการใช้ตรงนี้ มันจะกระตุ้นราคาที่ดิน เหมือนตอนสมัยสฤษดิ์ที่มีการตัดถนนยุทธศาสตร์ เศรษฐีที่ดินเกิดมากมายและชาวนาไร้ที่ดินก็เพิ่มขึ้น เพราะคนที่รู้แกว กำนัน ผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่รัฐก็ไปซื้อที่ดินจากชาวนาเพราะรู้ว่าเส้นทางจะมาทางนี้ ดังนั้นอะไรทำนองเดียวกันกำลังจะเกิดอีก กระตุ้นธรกิจท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

สรุปเขาเชื่อว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 1% ซึ่งสำคัญ เพราะประมาณ 5 ปีก็จะขยับเป็นประเทศรายได้สูงง่าย พอพูดทั้งหมดเสร็จก็มีการแปรนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นทุนทางการเมือง ดังนั้นเมื่อขายฝันเรียบร้อยให้เรารู้สึกเคลิ้มๆ นายกยิ่งลักษณ์ก็สำทับว่า
“แต่ขณะเดียวกันสถานการณ์การเมือง ถ้าสถานการณ์การเมืองมั่นคงแล้วก็สงบ ก็ทำให้บรรยากาศต่างๆ น่าลงทุน คนก็จะมา วันนี้เราต้องช่วยกันในการที่จะรักษาบรรยากาศของการเมืองให้มีความสงบ แล้วเศรษฐกิจก็จะตามมา ต้องเรียกว่าสถานการณ์ในประเทศเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความแข็งแรงของ เศรษฐกิจของประเทศ
คือกำลังเอาโปรเจ็คท์ทั้งหมดมาบีบมาเป็นแรงกดดันว่าอย่างพึ่งเคลื่อนทาง การเมือง ไม่เพียงเท่านั้น ยังเอามาหาเสียงผู้ว่า กทม.ด้วย คุณภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะ ผอ.ศูนย์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มีการแปลงยุทธศาสตร์ประเทศเป็นทุนเลือกตั้งผู้ว่า กทม.  โดยคุณภูมิธรรมกล่าวว่า
“เพื่อไทยจะต้องเป็นผู้ว่าฯ กทม.ให้ได้เพราะสำคัญมาก เนื่องจากสิ่งที่รัฐบาลคิดที่จะทำในอีก 4-5 ปีข้างหน้ามี 2 เรื่องใหญ่ คือ 1.จัดการระบบน้ำทั้งระบบ 2.โลจิสติกส์ ถ้า กทม.กับรัฐบาลไม่มีเอกภาพจะทำให้การทำงานของรัฐบาลเหนื่อยมาก เพราะระบบการจัดการน้ำเป็นโครงการใหญ่ที่มีงบประมาณจำนวน 2 แสนล้านบาท การแก้ปัญหาน้ำต้องทำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดย กทม.จะต้องเชื่อมโยงกับรัฐบาล ถ้ารัฐบาลเป็นเนื้อเดียวกับ กทม.ก็ทำให้งานของรัฐบาลบรรลุผล โดยเฉพาะใน 6 ปีข้างหน้านี้ รัฐบาลกำลังดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (hi-speed train) โดย 6 ปีข้างหน้าจะเห็นรถไฟความเร็วสูง 3 สาย คือ 1.กรุงเทพฯ-หัวหิน 2.กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และ 3.กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จากนั้นอีก 6 ปีรัฐบาลจะสร้างส่วนต่อรถไฟความเร็วสูงอีก จากพิษณุโลก-เชียงใหม่ จากโคราช-อุดรธานี จากหัวหิน-หาดใหญ่ โดยจะสร้างรถไฟด้วยการเจาะภูเขาใช้เวลา 2 ชั่วโมงกว่า ความยาว 600 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่ โดยมีสถานีรถไฟหัวลำโพง รัฐบาลจะทำให้เป็นบูติคสเตชั่น ขณะที่สถานีรถไฟบางซื่อก็จะเป็นแลนด์มาร์ก ทำให้การท่องเที่ยวจนไปถึงการแก้ปัญหาจราจรทั้งระบบในกรุงเทพฯ”
คือขายพงศพัศ ด้วยรถไฟความเร็วสูง นี่คือโครงการในการจะเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ
"ไร้รอยต่อ" กับรัฐบาลสโลแกนหาเสียงของ "พงศพัศ"
ข้อสังเกต ทุนนิยมมันเป็นอารยธรรมพรมแดนหาเงิน คือทุนนิยมมันจะมีการก้าวกระโดดเติบโตขนานใหญ่มันต้องเปิดบริสุทธิ์ทรัพยากร มันต้องไปถึงพรมแดนความเจริญแล้วเปิดบริสุทธิ์เข้าไป เปิดพรหมจรรย์เข้าไป ตอนนี้พรมแดนนั้นอยู่ที่พม่า ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะทำมันเท่ากับเตรียมสิ่งนั้น ในเมืองไทยเรามีก้าวกระโดดใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง และครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งแรกคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 ซึ่งตอนนั้นทำไปโดยระบอบเผด็จการทหาร ก้าวกระโดใหญ่ครั้งที่ 2 ทศวรรษ 2520 คืออีสเทิร์นซีบอร์ด ทำไปภายใต้ระบอบเผด็จการครึ่งใบ มารอบนี้ก้าวกระโดดใหญ่ครั้งที่ 3 โดยทำร่วมกันอาเซียนเป็น AEC คำถามคือคุณจะทำภายใต้ระบอบการเมืองอะไร? ประชาธิปไตยเต็มใบหรือไม่? ไม่รู้

อาจารย์ญี่ปุ่นผมที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่นอาเซียนมี 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ที่เป็นประเทศใหญ่ กับไทย เพราะไทยทำเลที่ตั้งดี เป็นจุดศูนย์กลางยุทธศาสตร์ สิ่งที่จะเกิดเป็นการชวนคอนติเนนตัลอาเซียน คืออาเซี่ยนส่วนภาคพื้นทวีป ลืมอินโดนีเซีย ลืมฟิลิปปินส์ ลืมพวกเกาะ ซึ่งก็คือไทย ลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยอยู่ที่ตั้งยุทธศาสตร์เป็นประตูเข้าไปเปิดพรหมจรรย์พม่า ใครจะเข้าไปทำอะไรในพม่าจะต้องผ่านไทยเพราะสะดวก เหมือนสงครามโลกที่ญี่ปุ่นจะไปพม่าต้องเดินทัพผ่านไทย ครั้งนี้ก็เช่นกันญี่ปุ่นเดินทัพทุนผ่านไทย โดยอาศัยไทยเป็นประตูและเป็นสี่แยก

แปลว่าการกระโดดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางของเราหนนี้ไม่ใช่การกระโดดคน เดียว คนเดียวโดดไม่ได้ ต้องโตด้วยกันเป็นขบวนทั้งภูมิภาคยกขึ้นเป็นแผง โดยเราเป็นจ่าฝูง เป็นฝูงห่านน้อยบินที่มีประเทศไทยเป็นจ่าฝูง โดยเราปรับเส้นทางคมนาคม ปรับลอจิสติกส์ แล้วผลัดใบอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมแบบที่เราเคยทำมาแล้วไม่มีอนาคตก็คือโลว์เทค ค่าแรงต่ำ เทคโนโลยีต่ำ ใช้แรงงานเข้มข้น สิ่งทอเสื้อผ้าไม่มีอนาคต ตลาดส่งออกก็แย่ เราทำอย่างไรก็มีการส่งไปลาว เขมร พม่า หลังจากส่งออกไปแล้ว 300 บาทจึงเข้ามาตรงนี้ มันเป็นกระบวนการผลัดใบทางอุตสาหกรรม แล้วเราจะแทนที่ด้วยอุตสาหกรรมที่เน้นทุนเข้มข้น ทุนมนุษย์เข้มข้น ความรู้เข้มข้น ก็คืออุตสาหกรรมไฮเทคมากขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น แล้วเน้นตลาดภายในประเทศและตลาดภูมิภาค นี่คือกระบวนการผลัดใบที่กำลังเกิดขึ้น

ปัญหามันอยู่คือการเปลี่ยนผ่าน การปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศขนานใหญ่ มันต้องปฏิรูปการเมืองไปในทางเสรีนิยมและประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นด้วย มันไม่มีประเทศไหนที่พ้นประเทศระดับปานกลางไปโดยไม่ถูกกดดันให้ปฏิรูปการ เมืองไปในทางนี้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ บราซิล ในช่วงที่เปลี่ยนจากประเทศรายได้ปานกลางระดับบนไปเป็นรายได้สูงนั้น กระแสมวลชนขึ้น ต้องการเสรีภาพมากขึ้น ต้องการประชาธิปไตยมากขึ้น คุณจะเอาทุนนิยมมากขึ้น มันเรียกร้องประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง เพราะถ้าประชาธิปไตยน้อยลงมันจะทำซ้ำอย่างที่สฤษดิ์ทำคือ หาร กล่าวคือพัฒนาเสร็จความเหลื่อมล้ำยิ่งมาก สมัยประชาธิปไตยครึ่งใบดีขึ้นมาหน่อยแต่ก็ยังมีปัญหาอยู่

บทเรียนที่เราน่าจะสรุปได้จากการกระโดดใหญ่ 2 ครั้ง คือ จะพัฒนาทุนนิยมจะต้องมีประชาธิปไตยมากขึ้นเพื่อประกันให้การกระจายรายได้ เกิดด้วย ให้การกระจายโอกาสเกิดจริงด้วย ถ้าไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีช่องทางให้คนข้างล่างได้ร้อง การเติบโตทางเศรษฐกิจมันจะถูกรวมศูนย์ ผลประโยชน์รายได้ไปอยู่ที่คนข้างบนหมด และมันก็จะสอดรับกับการเกี้ยเซียะของอีลิท ดังนั้นมันสำคัญในเรื่องการผลักให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

รับบทเรียนในอดีต เพื่อระมัดระวังในอนาคต


บันทึกถึงสิ่งที่ขาดไป : รับบทเรียนในอดีต เพื่อระมัดระวังในอนาคต

นางธิดา ถาวรเศรษฐ         ท่านประธาน นปช. กรุณาเขียนชี้แนะหลักในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งในหมู่ประชาชน ผู้ทำบันทึกเห็นว่าเป็นหลักที่ดีในการจัดการกับปัญหาบนจุดยืนระหว่างมิตร,มิ ใช่ศัตรู  นำเสนอได้ถูกต้องกับเวลา แต่ยังมีที่ขาดตกบกพร่องไป ข้อชี้แนะของท่าน เรียกร้องให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์ นปช. ควรใช้ท่าทีที่ถูกต้อง อันเป็นการวิจารณ์ผู้วิจารณ์  ยังไม่ได้กล่าวถึงผู้ถูกวิจารณ์ พูดง่ายๆก็คือ ด้านเดียว

         ผู้ทำบันทึกขอข้าม เรื่อง” แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ไป เพราะเห็นว่าได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์ หลักข้อนี้กันมามากแล้ว แต่ขอบันทึกข้อสังเกตุว่า   หลักนี้ใช้กับความสัมพันธ์ประเภทที่เรียกกันว่า “ แนวร่วม “ ซึ่งความสัมพันธ์ชนิดนี้ บางเวลา คู่ความขัดแย้งที่เป็นศัตรูกัน ก็สามารถมาร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาในการจัดการกับความขัดแย้งที่ใหญ่กว่า
หลักในการกำหนดวิธีการไปแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชน อันมีหลักอยู่ 3 ประการนั้น นำเสนอเพื่อแก้ไขวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดความขัดแย้งในพรรคปฏิวัติ มาตราฐานการเรียกร้องจึงสูงโดยเฉพาะการเรียกร้องให้” เข้มงวดต่อตนเอง ผ่อนปรนต่อผู้อื่น “ ส่วนที่เห็นว่ายังขาดไปนั้น อยู่ที่ ประการที่ 3 ซึ่งอาจกล่าวได้ดังนี้

1.สามัคคี – วิจารณ์ – สามัคคี

       ข้อนี้จัดเป็นท่วงทำนองทั่วไป ที่เน้นความสามัคคีเป็นหลัก วิจารณ์ข้อบกพร่อง ก็เพื่อยกระดับให้ก้าวหน้าไปพร้อมๆกัน บรรลุถึงความสามัคคีกันในขั้นใหม่ ขจัดข้อบกพร่อง ยกระดับไปสามัคคีขั้นที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก เช่นนี้ไปไม่สิ้นสุดอันเป็นวิภาษวิธีนั่นเอง

2.รักษาโรคเพื่อช่วยคน  

       ข้อนี้เน้นที่การวิจารณ์ใดๆในหมู่มิตรสหายร่วมแนวรบเดียวกันนั้น อย่าไปโจมตีเหมือนเขาเป็นศัตรู ต้องเริ่มต้นจากจุดยืนที่เขาและเราก็ต่อสู้อยู่ในแนวรบเดียวกัน มีศัตรูตัวเดียวกัน เขาก็รักความเป็นธรรมเหมือนเรา เสียสละเหมือนเรา ฉะนั้น ถ้าเห็นว่ามีข้อบกพร่องใดๆ เราก็เริ่มต้นจากความพยายามที่จะช่วยเขาขจัดข้อบกพร่องนั้น เพื่อยกระดับเขาขึ้นมา ไม่ใช่ใช้ท่าทีไปทำลายเขาเหมือนที่ใช้ทำลายศัตรู  วิธีการในข้อนี้จะเห็นว่าใช้เรียกร้องกับผู้ที่วิจารณ์

3.รับบทเรียนในอดีต เพื่อระมัดระวังในอนาคต

        ข้อนี้เน้นที่ผู้ถูกวิจารณ์  เมื่อมีผู้วิจารณ์(หรือโจมตี)เรา ก็ต้องพิจารณาสิ่งที่เขาวิจารณ์(หรือโจมตี)นั้นที่เนื้อหาที่เขาวิจารณ์  ไม่ใช่ตัดสินที่ท่วงทำนองที่เขาใช้กับเรา ถ้าเห็นว่าเขาใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องในการวิจารณ์ ก็ไปทำความเข้าใจเรื่องท่วงทำนองกับผู้วิจารณ์ได้ ให้การศึกษาเขาได้ แต่จะไม่สนใจเนื้อหาที่เขาวิจารณ์เพียงเพราะใช้ท่วงทำนองไม่ถูกต้องนั้นยิ่ง ไม่ได้ใหญ่  ถ้าเขาวิจารณ์ในเนื้อหาผิด ก็ค่อยๆไปทำความเข้าใจกับเขา ถ้าเนื้อหาที่เขาวิจารณ์มาถูกต้อง เราก็ต้องรีบมาพิจารณาข้อบกพร่องนั้น วิจารณ์ตนเองอย่างมีสำนึก แล้วรีบหาทางแก้ไขอย่าให้เสียหายต่อขบวนการ ข้อนี้จะเน้นให้สรุป

       รับบทเรียนในอดีต เพื่อระมัดระวังในอนาคต นั้น นอกจากเสนอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อก้าวเดินต่อไปแล้ว  ในกรณีที่เป็นองค์กรนำ แม้จะไม่ผิดตามที่วิจารณ์ ก็ต้องเรียกร้องตนเอง โดยถือว่า “ ผู้พูดไม่ผิด ผู้ฟังพึงสังวรณ์ “ เริ่มต้นด้วยท่าทีทีเป็นมิตรและรับฟังอย่างน้อมใจ อันเป็นท่าทีที่ “ สามัคคี “ แล้วจึงค่อยๆไป “ วิจารณ์ “ เขา ทำความเข้าใจกับเขา ยกระดับเขา แล้วสามารถ “ สามัคคี “ กับเขาได้ ก้าวต่อไป

         ความเป็นองค์กรนำนั้น  โดยธรรมชาติมักขยายความขัดแย้งไปโดยไม่รู้ตัว    ในอดีต พรรคปฏิวัติเก่า เคยทำความผิดพลาดข้อนี้มา เมื่อการปฏิวัติเกิดความชะงักงัน ไม่สามารถขยายตัวจากเขตป่าเขาลงสู่ที่ราบได้ ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากได้เสนอให้วิจารณ์ข้อบกพร่องในการทำงาน พยายามค้นคว้าหาทางแก้ไขสภาพที่ชะงักงันนั้น แน่นอน ย่อมมีการวิจารณ์ท่วงทำนองและวิธีคิดของฝ่ายนำด้วย เมื่อปัญหานี้ขยายตัวไป

        แทนที่จะค้นคว้าข้อผิดพลาดที่ตัวทำมา ฝ่ายนำกลับทำผิดซ้ำหนักเข้าไปอีกโดยขยายความขัดแย้งไปโดยไม่รู้ตัว เริ่มต้นจาก โจมตีผู้วิจารณ์เป็นนายทุนน้อยมีความเคยชินที่ไม่ดีของสังคมเก่าติดเกรอะ กรัง, ผู้วิจารณ์ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง,ไปจนถึงผู้วิจารณ์จะช่วงชิงการนำ, เป็นอันตรายต่อความคิดชนชั้นกรรมาชีพ, เป็นอันตรายต่อการปฏิวัติ    แม้จะใช้ท่าทีที่ดูดุเดือดก้าวร้าว แต่ผู้วิจารณ์ก็เริ่มต้นแค่ปัญหาการบริหารจัดการของการทำงานอันเป็นปัญหาราย วันที่เกิดขึ้นทุกๆองค์กรเท่านั้น แต่ฝ่ายนำกลับขยายมันไปเป็นปัญหาจุดยืนทางชนชั้น  สุดท้ายพรรคปฏิวัติเก่านั้นก็หกคะเมนล้มคว่ำไป ทั้งท่านประธาน นปช.,และ คนอื่นรวมทั้งผู้ทำบันทึก ก็อยู่ในเหตุการณ์นั้น และรับเป็นบทเรียนกันมาแล้ว สมควรที่จะระมัดระวังกันต่อไป

         ข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนำนั้นย่อมสูงกว่า นอกเหนือไปจากการค้นคว้าชี้นำทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างกระตือรือร้นแล้ว ยังเรียกร้องให้หนักแน่นมากกว่าผู้ปฏิบัติงาน(หรือมวลชน)ด้วย เมื่อเกิดการวิจารณ์(หรือโจมตี)ขึ้น  จะโต้ตอบก็ต้องกระทำอย่างผ่อนปรนและอย่างมีการจำแนก แต่จะต้องไม่ขยายความขัดแย้งโดยเด็ดขาด ท่าทีแบบ “ มาไม้ไหน ไปไม้นั้น” ใช้กับศัตรูเท่านั้น สำหรับมิตรร่วมแนวแล้ว ต้องระมัดระวังไม่ให้กลายเป็น “ สามัคคี – ประจาน – แตกสามัคคี “ ไป  เมื่อมีผู้วิจารณ์(หรือโจมตี)มา ก็ถือเป็นโอกาสสำรวจสิ่งที่ทำมาเสียเลยว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่, ยังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่, ก้าวล้ำหน้ามวลชนไปหรือไม่ หรือว่าล้าหลังมวลชน เหล่านี้เป็นภาระที่ฝ่ายนำต้องสำรวจและค้นคว้าอยู่ตลอด

       ผู้ทำบันทึกขอขอบคุณท่านประธาน นปช. ในโอกาสที่ได้ฟื้นฟูหลักคำสอนเกี่ยวกับการจัดการกับความขัดแย้งมาในครั้งนี้ และขออภัยท่านผู้อ่านที่บันทึกนี้แคบและมีลักษณะเฉพาะ  แต่หลักการจัดการความขัดแย้งที่กล่าวมานั้นกว้างและมีลักษณะทั่วไป  ไม่เพียงแต่เคยใช้ในพรรคปฏิวัติเท่านั้น ยังใช้กับองค์กรแนวร่วมและองค์กรที่มีลักษณะเดียวกันไปบรรลุความเข้มแข็งของ องค์กรได้เช่นกัน.

ม.112 -พ.ร.บ.คอมพ์เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพการแสดงออก

สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศของไทย แถลง ม.112 -พ.ร.บ.คอมพ์เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพการแสดงออก

        แจงถูกกดดันให้ประณามกรณี 'สมยศ' ` แถลงม. 112 และพรบ. คอมพ์ฯ เป็นอุปสรรคต่อการรายงานข่าวของสื่อไทยและสื่อเทศโดยเฉพาะความคิดเห็นที่ ต่าง ขณะที่ 'แอนดรูว์ เอ็ม. มาร์แชล' จี้ให้นักข่าวต่างชาติที่รายงานเรื่องไทยออก "คำประกาศเตือน" แสดงให้เห็นข้อจำกัดที่ต้องเซ็นเซอร์ตนเอง

         7 ก.พ. 56 - สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondents' Club of Thailand -FCCT) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวเนื่องกับกรณีคำตัดสินของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผ่านทางเฟซบุ๊กและเว็บไซต์เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า "คณะกรรมการได้ถูกกดดันให้ประณามคำตัดสินกรณีสมยศ และในขณะที่คณะกรรมการมิได้เห็นเป็นเอกฉันท์ในการออกความเห็นในคดีทางกฎหมาย แต่เราก็เห็นว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออก" เนื่องจากทำให้สื่อทั้งในและต่างประเทศไม่สามารถตีพิมพ์เนื้อหาที่เห็นต่าง ทางการเมืองได้อย่างเต็มที่
       แถลงการณ์ดังกล่าวได้เผยแพร่หลังจากแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ และผู้เขียนหนังสือเรื่อง #Thaistory ได้เขียนบล็อกใน www.zenjournalist.org วิพากษ์วิจารณ์สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทยอย่างต่อเนื่องถึง ท่าทีที่เหมาะสมต่อกรณีสมยศ โดยกล่าวถึงนิรมล โฆษ ประธานสมาคมฯ และผู้สื่อข่าวนสพ. เสตรทไทมส์ ของสิงคโปร์ ที่ก่อนหน้าที่ได้ชี้แจงสาเหตุที่ไม่ออกแถลงการณ์กรณีสมยศว่า สมาคมฯ อยู่ในสถานะ "Club" (ชมรม) มากกว่า "Association" (สมาคม) จึงไม่เหมาะสมที่จะออกแถลงการณ์ในเรื่องที่มีความอ่อนไหว 
 
        โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย กรณีของสมยศ และนัยสำคัญ" โดยมีสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของนายสมยศ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เครือข่ายพิทักษ์สถาบัน และเดวิด เสตร็กฟัสส์ และก่อนที่วงเสวนาดังกล่าวจะเริ่ม นิรมล โฆษ ในฐานะประธานสมาคมฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงสาเหตุที่สมาคมฯ ไม่ได้ออกแถลงการณ์กรณีนามสมยศ โดยระบุว่าต้องการให้ FCCT เป็นพื้นที่ตรงกลางให้เกิดการถกเถียงและพูดคุยในประเด็นเหล่านี้อย่างอิสระ 
 
"พื้นที่ตรงกลาง" vs "หลักการเสรีภาพสื่อ"
  
       แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล ย้ำจุดประสงค์การก่อตั้งของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยจากใน เว็บไซต์ของสมาคมว่า เพื่อส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของนักข่าวในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในเอเชีย และยังเป็นสมาคมที่มีบทบาทรณรงค์เรื่องเสรีภาพสื่อ ในฐานะเสาหลักของภาคประชาสังคมในประเทศที่ประชาธิปไตยกำลังเติบโต 
 
        ในฐานะที่สมาคมฯ เคยออกแถลงการณ์เรื่องการเสียชีวิตของนักข่าวต่างชาติในเหตุการณ์ความรุนแรง ทางการเมืองเมื่อปี 2553 คือ ฮิโร มูราโมโต ช่างภาพรอยเตอร์ และฟาบิโอ โปเลญกี ช่างภาพอิสระ มาร์แชลชี้ว่า ในคดีของสมยศ ก็ควรจะต้องได้รับการปฏิบัติแบบเดียวกัน นอกเสียจากว่าทางสมาคมฯ จะสามารถพูดอะไรได้เมื่อมีนักข่าวเสียชีวิต หรือไม่ก็สนใจแต่เฉพาะชาวต่างชาติด้วยกันเท่านั้น 
 
      เขาชี้ว่า การไม่ออกแถลงการณ์ในกรณีสมยศ และการไม่ท้าทายกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อรักษา "พื้นที่ตรงกลาง" นั้น ไม่มีประโยชน์อะไรกับการรายงานข่าวเกี่ยวกับ "ความจริง" ในการเมืองไทย ซึ่งอิทธิพลของสถาบันกษัตริย์มีผลต่อประวัติศาสตร์และการเมืองไทยอยู่อย่าง แน่นแฟ้น 
 
     "ไม่มีประเทศอื่นไหนในโลกนี้อีกแล้ว ที่สื่อต่างประเทศพร้อมใจกันหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงบางอย่างในการรายงานข่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเองก็แน่ใจว่าเป็นจริง แม้แต่พี่เบิ้มอย่างจีนหรือเกาหลีเหนือที่ว่าโหดในการปิดกั้นการรายงานข่าว และเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร ก็ยังเทียบไม่ได้กับความสามารถของชนชั้นนำไทยในการจูงใจนักข่าวต่างชาติให้ เซ็นเซอร์ตัวเอง" เขาระบุ 
 
เสนอออก "คำประกาศเตือน" หากรายงานข่าวที่ต้องเซ็นเซอร์ตนเอง 
 
       ในบล็อกดังกล่าว ได้เสนอข้อเสนอว่า FCCT ควรทำงานร่วมกับองค์กรสื่อใหญ่ๆ เพื่อร่างเป็น "คำประกาศเตือน" ประกอบการรายข่าวเกี่ยวกับเมืองไทย เพื่อให้การรายงานนั้นมีจริยธรรม และลดความเสี่ยงในการเผชิญม. 112 โดยอาจจะออกเป็นคำเตือนในลักษณะว่า "การรายงานข่าวนี้ รวบรวมภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย ซึ่งทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เปิดเผยเป็นอาชญากรรม" 
 
      แนวปฏิบัติดังกล่าว ถือว่าเป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรสื่อบางแห่งที่รายงานจากซีเรียหรือเกาหลี เหนือ โดยเฉพาะในยุคข้อมูลข่าวสารออนไลน์ ที่ผู้บริโภคต้องการความโปร่งใสในการรายงานข่าวอย่างเต็มที่ และเป็นการประกาศถึงผลกระทบจากการเซ็นเซอร์ของรัฐ มาร์แชลระบุ 
 
หมายเหตุ: ประชาไทแก้ไขเนื้อหาในส่วนของพาดหัวข่าว และย่อหน้่าแรก ตามข้อท้วงติงของผู้อ่าน เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 8 ม.ค. 56

ขอพระราชทานอภัยโทษ ?



           สังคมไทยเดินหน้ามาจนถึงจุดที่เรียกว่าไม่อาจ หันหลังกลับได้อีกแล้วกรณีมาตรา 112 ที่กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จับทุกคนที่พาดพิงถึงสถาบัน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าหากเปิดเผยข้อมูลกันอย่างตรงไปตรงมาและไม่ถูก นักการเมืองนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางการเมืองแล้วกลับเป็นการช่วยรักษาสถาบัน ด้วยซ้ำ

        กรณีแรกเกิดจากพรรคการเมืองล้าหลัง กลุ่มคนที่มีธุรกิจผูกขาดและแอบอิงกับระบบราชการและนิติบริกรทั้งหลาย ส่วนกรณีหลังเป็นกลุ่มคนที่หวังดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยสายตาที่ยาว ไกลกว่า เช่น กลุ่มนิติราษฎร์ หรือคนชั้นนำทางปัญญา เช่น ส.ศิวรักษ์ ฯลฯ

       เมื่อกลุ่มสหภาพยุโรปโดยทูตประจำประเทศไทยแสดงความกังวลเรื่องสิทธิ เสรีภาพก็ถูกโจมตีว่ารับเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนบรรดาทูตต้องบอกอย่างอารมณ์ขันว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับเงิน ยังรออยู่ หรือโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่แถลงในนามของรัฐบาลสหรัฐไม่เห็นด้วย กับบทลงโทษที่รุนแรงในกฎหมายมาตรา 112

       แม้กระทั่งการแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ที่ผ่านมายังล้อ เลียนการเมืองด้วยการสวมหน้ากากนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อย่างไม่เกรงกลัว แม้จะถูกห้ามหรืออาจถูกไล่ออกนอกพื้นที่ก็ตาม

        ความจริงสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชนไทยนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่น แฟ้นและพึ่งพาอาศัยกันและกันมายาวนาน จนกระทั่งมีการแบ่งพวกแยกสี โดยเริ่มจากกลุ่มเสื้อเหลืองที่แอบอ้างพระราชอำนาจมาใช้เป็นเครื่องมือโจมตี ฝ่ายตรงข้ามว่าไม่รักสถาบัน และลามปามไปจนถึงล้มสถาบันหรือล้มเจ้า เพียงเพื่อกำจัดนักการเมืองบางคนบางกลุ่ม โดยอ้างความจงรักภักดี ทั้งที่เป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียและมัวหมอง

         ที่สำคัญแกนนำคนเสื้อแดงและผู้นำด้านความคิด เช่น นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ถูกกล่าวหาใส่ร้ายต่างๆนานา เพราะนำเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริงที่พาดพิงถึงสถาบัน

        ผลที่ตามมาคือ ยิ่งทำให้สถาบันถูกกระทบมากขึ้น ครั้นประชาชนจะให้รัฐบาลแก้ปัญหา รัฐบาลก็วางตัวนิ่งเฉย ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่เคลื่อนไหวใดๆ เช่นเดียวกับฝ่ายตุลาการที่ตีความและวินิจฉัยแบบไทยๆ

        ปฏิกิริยาจากนานาชาติที่มีต่อสถาบันเบื้องสูงทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งทางลับหรือทางแจ้ง ล้วนไม่เป็นผลดีต่อสถาบันเบื้องสูงทั้งสิ้น ทั้งที่เมื่อปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า ทรงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่ทำให้สถาบันเบื้องสูงเกิดปัญหา

        การรีบตัดไฟแต่ต้นลมเพื่อรักษาสถาบันเบื้องสูงให้มั่นคงจึงจำเป็นต้องทำ อย่างการขอพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ต้องคดีหมิ่นในมาตรา 112 หากรัฐบาลและรัฐสภาไม่กล้าดำเนินการ ประชาชนและคนที่จงรักภักดีต่อสถาบันก็อาจรวมตัวกันถวายฎีกาโดยอัญเชิญพระราช ดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ตั้ง

        ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษก็จะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และไม่มีใครกล้าเอาสถาบันไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือเอาไปใช้เป็นเครื่อง มือทางการเมืองอีก ประชาคมโลกจะเข้าใจถึงความผูกพันระหว่างสถาบันเบื้องสูงกับประชาชน คนไทยจะเลิกทะเลาะและใส่ร้ายกัน ความสงบสันติก็จะกลับคืนมา

        การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจโดยแท้และเป็นการเฉพาะพระองค์ เป็นพระราชอำนาจเดียวที่อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ไม่ต้องรับสนองก็ได้

        เมื่อปัญหาต่างๆรุมเร้าประเทศไทยเพราะความแตกแยกทางการเมือง และส่งผลถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่องค์กรและสถาบันหลักต่างๆกลับไม่กล้าแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จะเพราะเกรงกลัวอำนาจที่มองไม่เห็นหรืออำนาจขององค์กรอิสระที่มาจากการรัฐ ประหารก็ตาม

        ประชาชนจึงต้องออกมาเพื่อให้ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณถึงข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ที่ถูกใส่ร้ายว่าเป็นการล้มสถาบัน ทั้งที่เป้าหมายที่แท้จริงคือการรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจและความยั่งยืน สถาพรของสถาบันเบื้องสูงตลอดไป
การขอพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองด้วยโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายใดๆ

วาทะกรรม ฆ่าแมลงสาป


 

http://images.voicecdn.net/contents/640/330/horizontal/13484.jpg


        “ฝรั่งวิ่งมาขอถ่ายรูปเพราะแกใส่เสื้อเชิ้ตสี ขาวแบบที่ผมใส่ทุกวัน ขอแนะนำว่าต่อไปนี้เพื่อป้องกันความสับสนของชาวโลก ผู้สมัครคนนั้นควรจะใส่เสื้อแดงหาเสียงทุกวัน จะได้รู้กันชัดๆว่าใครเป็นใคร แล้วผมก็แนะนำครับเผื่อแกยังไม่ยอมเปลี่ยนเสื้อ คือความจริงเมื่อก่อนนี้ป้ายของพรรคนี้ก็สีแดงนะครับ แต่เที่ยวนี้สีแดงหายไปเป็นป้ายสีขาว”

         นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยช่วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา นคร (ผู้ว่าฯ กทม.) โดยอ้างข่าวในเว็บไซต์ที่ระบุว่ามีชาวต่างชาติมาขอถ่ายรูปกับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย แล้วเข้าใจผิดคิดว่าเป็นนายอภิสิทธิ์ว่า อ่านแล้วสะเทือนใจมาก พล.ต.อ.พงศพัศคงแปลกใจว่าทำไมชาวต่างชาติคนนั้นมาขอถ่ายรูปแต่กลับพูดเชียร์ นายอภิสิทธิ์

        ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า “อยากให้พรรคเพื่อไทยพูดให้ชัดว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ นอกจากเป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยแล้ว ยังเป็นตัวแทนของคนเสื้อแดงด้วย คำพูดของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ที่ว่าคน กทม. คงไม่ได้ใส่ใจเรื่องเผาบ้านเผาเมือง ผมอยากพิสูจน์ว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่”

        นายชวนนท์ยังท้าให้นายจตุพรเดินหน้าหาเสียงเต็มที่ และอยากให้ พล.ต.อ.พงศพัศร่วมคณะกับนายจตุพรหาเสียง เพื่อพิสูจน์ว่าคนกรุงเทพฯลืมเหตุการณ์ เมื่อปี 2553 หรือไม่
การเอาวาทกรรม “เผาบ้านเผาเมือง” และวาทกรรม “แบ่งสีแยกฝ่าย” มาใช้หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ของพรรคประชาธิปัตย์ อาจสะท้อนให้เห็น ว่าเพราะพรรคประชาธิปัตย์หมดหนทางที่จะใช้นโย บายสู้กับ พล.ต.อ.พงศพัศและพรรคเพื่อไทย จึงเชื่อว่าวาทกรรม “เผาบ้านเผาเมือง” และ “แบ่งสีแยกฝ่าย” จะเป็น “ทีเด็ด” หรือ “ไม้ตาย” ที่จะสามารถทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศพ่ายแพ้ได้ เพราะผลโพลทุกสำนักระบุตรงกันว่าคะแนนของ พล.ต.อ.พงศพัศนำ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ผลสำรวจจะระบุว่าคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครก็ตาม

ความจริง “เผาบ้านเผาเมือง”

        การที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามนำวาทกรรม “เผาบ้านเผาเมือง” มาใช้โจมตี พล.ต.อ.พงศพัศและพรรคเพื่อไทยนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทยอย่างหมดรูปในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงเดินสายปรา ศรัย “เดินหน้าผ่าความจริง ความจริงไม่มีวันตาย” ในพื้นที่ต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเชื่อว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้ายและเผาบ้านเผาเมือง

       ทั้งที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แจ้งข้อหาในคดีเหตุการณ์ความรุนแรงเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า “ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล”

       ขณะที่คดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์นั้น ก่อนหน้านี้ศาลได้ยกฟ้องจำเลยเยาวชน 2 รายคือ นายอัตพล (สงวนนามสกุล) และนายภาสกร (สงวนนามสกุล) ที่ถูกกล่าวหาในคดีวางเพลิงเผาทรัพย์เซ็นทรัลเวิลด์ จนเป็นเหตุให้นายกิตติพงษ์ สมสุข ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตาย

คำให้การที่ปรึกษาอัคคีภัยเซ็นทรัลฯ

http://www.bpfireguard.com/images/1213340542/%E0%B8%AD.%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5.jpg       แต่มีรายละเอียดที่น่าสนใจคือคดีของนายพินิจ จันทร์ณรงค์ กับพวกรวม 7 คน ที่ถูกฟ้องความผิดร่วมกันปล้นทรัพย์ภายในห้างเซ็นทรัลเวิลด์นั้น ศาลได้ยกฟ้อง อย่างไรก็ตาม นายพินิจและนายสายชล แพบัว ยังถูกฟ้องในคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งศาลได้สืบพยานเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ที่เป็นการสืบพยานครั้งสุดท้าย และนัดพิพากษาวันที่ 25 มีนาคม 2556 นั้น พยานปากสำคัญคือ พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร อายุ 72 ปี พนักงานราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนามากว่า 20 ปี ในฐานะผู้ควบคุมการดับเพลิงในเซ็นทรัลเวิลด์ ได้ให้ การว่า ช่วง 2 เดือนที่มีการชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จ การแห่งชาติ (นปช.) นั้นได้วางแผนป้องกันความปลอดภัยและอัคคีภัยโดยมีทีมดับเพลิงมืออาชีพที่ เป็นพนักงานประจำอยู่ถึง 25 คน จากประสบการณ์ก็เห็นว่าห้างมีระบบรองรับทุกอย่าง หากเกิดไฟไหม้เล็กๆ พนักงานหรือแม่บ้านก็สามารถดับได้ แต่หากเป็นเพลิงไหม้ขนาดใหญ่จะมีพนักงานดับเพลิงมืออาชีพคอยป้องกันอยู่ ถือว่าระบบการป้องกันอัคคีภัยได้มาตรฐานระดับสากลและเป็นหนึ่งในเอเชียก็ว่า ได้

       นอกจากนี้ยังมีการยกข้อความของ พ.ต.ท.ชุม พลที่ให้สัมภาษณ์ในหนังสือ “ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์” ที่จัดพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์โลกวันนี้เป็นหลักฐานที่ว่า

      “ตลอดเวลา 2 เดือนเต็มๆ เราได้ประสานไมตรี กับผู้ชุมนุมมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพวกการ์ดแทบจะรู้จักกันทุกคน แต่ในวันเกิดเหตุเผาเซ็นทรัลเวิลด์ขอบอกว่าไม่เห็นหน้าคนเหล่านั้นเลย มีแต่พวกที่เรียกตัวเองว่ากองกำลังไม่ทราบฝ่าย กลุ่มนี้แหละที่เขาบอก ว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่แม้แต่ตำรวจและทหารก็ไม่กล้าแตะ ถ้าแตะมันต้องมีศพกันบ้าง แต่นี่ไม่ คนกลุ่มนี้เข้าออกในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครกล้าทำอะไรพวกเขา เจ้าหน้าที่มีข้อมูลทุกอย่าง แต่ทำไมถึงจับคนร้ายไม่ได้”

        พ.ต.ท.ชุมพลยังเบิกความต่อว่า หลังจากที่ทีมดับเพลิงทั้ง 25 คนถอนกำลังออกจากห้างไป ทำให้ รปภ. และพนักงานดับเพลิงเสียขวัญกำลังใจ จึงไปรวมตัวที่จุดรวมพลตรงลานจอดรถใกล้โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เพื่อให้ฝ่ายบริหารห้างตัดสินใจ เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สุดท้ายจึงได้ตัดสินใจออกจากห้างทั้งหมดในเวลาประมาณ 16.40 น. หลังจากนั้นเวลาประมาณ 19.00 น. เศษ สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยได้รับการขอร้องจากเซ็นทรัล เวิลด์ให้เข้าไปช่วยดับไฟอีก แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ทหาร กว่าจะเข้าไปถึงพื้นที่ได้ก็เป็นเวลาประมาณ 22.00 น. และจากการตรวจสอบ CCTV จากห้างเกษรพลาซ่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างเซ็นทรัลเวิลด์พบว่า เวลาประมาณ 21.00 น. กว่าๆ ตึกได้ถล่มลงมาแล้ว และพื้นที่รอบๆถูกควบคุมโดยกองกำลังของทหารทั้งหมด แม้กระทั่งตอนออกจากห้างในช่วงเย็นทางด้านหลังห้างพารากอนก็มีทหารควบคุม พื้นที่อยู่ รถพยาบาลหรือ รปภ. วิ่งออกมาจากพื้นที่ก็ต้องผ่านด่านทหาร

        “ทีมงานเราอยู่ภายใน ถ้าไม่ไล่เราออกไป มันเรื่องเล็กสำหรับไฟขนาดนั้น ในอาคารมีอุปกรณ์พร้อม น้ำในห้างก็มีจำนวนมหาศาล ทั้ง 3 อาคารเชื่อมต่อกัน ระบบแรงดันน้ำภายในห้างก็ใช้ได้ ถ้าไม่ไล่เราออกไม่มีทางไหม้ คนที่ไล่เราออกไปนั้นคือกลุ่มคนที่มีอาวุธ มีการโยนระเบิด ขนาดตำรวจยังต้องหนี”

         พ.ต.ท.ชุมพลยังย้ำว่า “ไม่มีที่ไหนในโลกหรอกที่เขาไม่เคลียร์พื้นที่ให้กับทีมดับเพลิง ตั้งแต่เย็นไม่มีใครเคลียร์พื้นที่ให้ ปล่อยให้มันไหม้ได้อย่างนั้น”

        ส่วนภาพถ่ายที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำ เนินคดีกับนายสายชลซึ่งเป็นรูปชายชุดดำกำลังถือถังสีเขียวนั้น พ.ต.ท.ชุมพลกล่าวว่า ถ่ายในบริเวณห้าง ส่วน ถังสีเขียวในรูป “เป็นถังดับเพลิง ไม่ใช่ถังแก๊ส” ซึ่งเครื่อง ดับเพลิงไม่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการวางเพลิงได้

http://www.matichon.co.th/online/2010/06/12759762491275976322l.jpg       พ.ต.ท.ชุมพลยืนยันตอนท้ายว่า เมื่อพิจารณาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยและรายงานจากทีมดับเพลิงในที่เกิดเหตุ เห็นว่าผู้ถูกจับกุมทั้ง 9 คนที่ถูกจับในห้างนั้น ไม่มีความสามารถในการวางเพลิงได้

ใครจุดไฟ-ใครห้ามดับ?

คำให้การของหัวหน้าควบคุมการดับเพลิงในห้าง เซ็นทรัลเวิลด์จึงเป็น “ความจริง” ให้สังคมไทยฉุกคิด ว่า ทำไมห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าที่อยู่ใจ กลางเมือง มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยี อุปกรณ์ และตั้งอยู่เยื้องกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงยอมให้เกิดไฟไหม้ได้ ทั้งที่มีกองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อม มีนักผจญเพลิงและมีรถดับเพลิงจอดอยู่รายรอบครบครัน พร้อมสรรพมากที่สุดแทบทุกพื้นที่ของการชุมนุม

       คนเสื้อแดงที่แทบไม่มีในพื้นที่ เพราะกำลังระส่ำ ลุกหนี ร่ำไห้แตกฮือ จะถืออาวุธครบมือเดินหน้าพุ่งเป้าเผาศูนย์การค้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความ สะดวกสบายใจกลางกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมรหรือ?

       คำให้การของ พ.ต.ท.ชุมพลจึงเป็นคำตอบชัด เจนกับวาทกรรมโกหกตอแหล “เผาบ้านเผาเมือง” ว่าไม่ใช่คนเสื้อแดง แต่จะสวมเสื้อสีอะไรและใครสั่ง สังคมต้องช่วยกันทำให้เรื่องนี้กระจ่างชัดเจน เพื่อยุติการนำวาทกรรม “เผาบ้านเผาเมือง” มาใช้หากินทางการเมืองเพื่อหนีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะในฐานะผู้นำประเทศหรือฆาตกร

         ภาพเหตุการณ์การปราบปรามคนเสื้อแดงที่บริเวณเซ็นทรัลเวิลด์ถูกเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ตทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุไฟไหม้ ชายฉกรรจ์ที่แต่งกายคล้ายทหาร มีอาวุธครบมือ โยนระเบิดข่มขู่ใส่เจ้าหน้าที่จนได้รับบาดเจ็บหลายคน เพื่อไล่ให้ออกจากศูนย์การค้า คนเหล่านั้นเป็นใคร ทำไมถึงไม่มีใครกล้าจับ? ทั้งที่ทหารได้เข้ายึดพื้นที่ไว้หมดแล้ว

ใคร ฝ่ายใดที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง?


  • ทำไมต้องเป็นเซ็นทรัลเวิลด์?
    ทำไมไม่เป็นเกษรพลาซ่า?
    ทำไมไม่เป็นสยามพารากอน?
       คนเผาบ้านเผาเมืองสมควรตาย แต่ไม่ใช่ยัดเยียดให้เอา “แพะ” อย่าง “ผังกำมะลอ” ที่ตั้งแต่รัฐบาลและคนมีสีหน้าแหกกันเป็นแถว

        ใครก็อยากรู้ความจริงว่าใครเผาบ้านเผาเมือง จะได้หยุดวาทกรรมโกหกตอแหลที่เอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเสียที

     พรรคประชาธิปัตย์เดินสายปราศรัย “เดินหน้าผ่าความจริง ความจริงไม่มีวันตาย” แต่ “ความจริง” ของพรรคประชาธิปัตย์กลับเป็นแค่วาทกรรมที่คิดเองและเชื่อเอง ไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมอย่างที่ศาลยกฟ้อง 2 จำเลยที่ถูกฟ้องเผาเซ็นทรัลเวิลด์

         วาทกรรมเผาบ้านเผาเมืองและยัดเยียดให้คนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้ายของ พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่ ใช่การทำให้ “ความจริงปรากฏ” แต่เป็นการพยายาม ตอกย้ำให้คนไทยเกิดความเกลียดชังและความขัดแย้ง ให้แบ่งสีแบ่งพวกแบ่งข้าง เพื่อหวังผลต่อคะแนนของคน กรุงเทพฯในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ขณะนี้หรือไม่?

        วันนั้นคนเสื้อแดงตกอยู่ภายใต้วาทกรรม “เผาบ้านเผาเมือง-จึงสมควรตาย” ทั้งที่ความตายเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นตั้งแต่ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 โดยที่ยังไม่เคยมีที่ไหนถูกเผา ขณะที่วันนี้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพถูกตั้งข้อหา “ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล”

         เหตุการณ์ความรุนแรงเมษายน-พฤษภาคม 2553 อำนาจรัฐ อำนาจ ศอฉ. ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นอำนาจสูงสุดที่จะโฆษณาชวนเชื่ออย่างไรก็ได้ จะบิดเบือนหรือปิดปากประชาชนและสื่อ จะกล่าวหาและยัดเยียดข้อหาใครก็ทำได้ แม้แต่ “ผังล้มเจ้า” ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ในที่สุดก็กลับกลายเป็นเพียง “ผังล้มเจ้ากำมะลอ” ที่เกิดจากจินตนาการเท่านั้น

        วันนี้ประชาชนเริ่ม “ตาสว่าง” รู้ความจริงที่โผล่ออกมามากขึ้นๆ และรู้ว่าใครคือ “ฆาตกรตัวจริง” และใคร “เผาบ้านเผาเมือง”?

       วาทกรรม “คนเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง” และความ พยายามประทับตรา พล.ต.อ.พงศพัศให้เป็นเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง อาจเป็นวาทกรรมที่ย้อนกลับมาทำลายฝ่ายที่สร้างวาทกรรมเองก็เป็นไปได้ เพราะวันนี้คน กทม. ที่ไม่เลือกข้างเขารู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร!

      เชื่อว่านายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เองก็รู้ดีที่สุดว่า...ใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์..แต่พูดไม่ได้!!

      ความตั้งใจที่จะสร้างวาทกรรมว่า “เสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง” เพื่อปลุก “ความกลัว” ให้กลับมาอีกครั้งกับคนกรุงเทพฯในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ อาจจะกลายกลับเป็นการ “เผาคนปลุกวาทกรรม” เองก็ได้

อุตส่าห์ตั้งใจเผาบ้านไล่หนูแท้ๆ 
แต่แมลงสาบดันตายเกลี้ยงซะเอง.. อะไรก็เกิดขึ้นได้..พึงระวัง!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 398 วันที่ 9-15  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 หน้า 18-19 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน

อย่าดูถูกกูอย่างนี้!!! "

อย่าดูถูกกูอย่างนี้!!! "สุขุมพันธุ์" เมาค้างขึ้นเวที ด่าส่งประชาธิปัตย์ กระเจิง

"สุขุมพันธุ์" แสดงอาการเกรี้ยวกราด ระหว่างถ่ายทอดสดการปราศรัย
08/02/2013 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานสดจาก เวทีปราศรัยหาเสียงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ บริเวณอาคารลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หลุดแสดงอาการหงุดหงิดและปราศรัยด้วยอาการเกรี้ยวกราด หลังถูกคนในพรรคประชาธิปัตย์ถามคำถามแทงใจดำ กรณีปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคกรณีการคัดเลือกผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯกรุงเทพฯ 
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวบนเวทีปราศรัยด้วยดวงตาแดงก่ำ ว่า  "มี เสียงนกเสียงกา ว่าถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งสุขุมพันธุ์แล้ว สุขุมพันธุ์จะลงอิสระหรือเปล่า? ผมก็ตอบครั้งแล้วครั้งเล่าว่า พรรคประชาธิปัตย์คือพรรคของผม ผมรักพรรคประชาธิปัตย์ ผมไม่ได้คิดจะไปไหน และมีคนอย่างนายหัวชวนอยู่เนี่ยครับ ผมจะไปไหนได้ (มีเสียงคนกรีดร้องและโห่) ผมไม่เคยพูดนะครับ แต่ความจริงผมก็อยากพูดเวลาคนถามว่า ไปที่อื่นหรือเปล่า ลงอิสระหรือเปล่า ผมก็คิดเหมือนกันนะครับ ทำไม ดูถูก (ชี้ไปที่หัว) แต่ไม่กล้าพูดนะครับ"

นอกจากนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังเปล่งเสียงแสดงความรู้สึกในใจออกมาบนเวที ว่า "อย่าดูถูกกูอย่างนี้อีกเลยในชีวิต อย่าดูถูกกู เพราะ กูคือคนของพรรคประชาธิปัตย์" โดยขณะเกิดเหตุ คนที่อยู่หลังเวทีไม่กล้าเข้าไปใกล้ และสะกิดเตือน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ แต่อย่างใด 

ทั้ง นี้ การปราศรัยดังกล่าวมีการถ่ายทอดสดผ่านทางอินเตอร์เน็ตและมีผู้บันทึกวี ดิทัศน์ในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยถูกเผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ และตามกระดานสนทนาสาธารณะทำให้มีผู้แสดงความเห็นตำหนิ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นจำนวนมาก


"หม่อมฟิวส์ขาด" ด่าเพื่อนร่วมพรรค ปชป. "อย่าดูถูกกู เพราะกูคือคนของพรรคประชาธิปัตย์”




วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 (go6TV) เวที ปราศรัยใหญ่พรรคประชาธิปัตย์ที่สวนลุมพินีวันนี้ดุเดือด มี สส.แกนนำของพรรค รวมทั้งนายชวน หลีกภัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เข้าร่วมเวทีปราศรัยอย่างเผ็ดร้อนและเคร่งเครียดตลอดเวลา ช่วงหนึ่งของคำหาเสียงของ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้แสดงอารมณ์อัดอั้นตันใจ ถึงกรณีคำพูดที่สมาชิกพรรคคนอื่นถาม มรว.สุขุมพันธุ์ที่เคยพูดว่าหากไม่ได้ลงสมัครในฐานะตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ แล้วจะลาออกไปลงสมัครในนามอิสระหรือไม่นั้น  มรว.สุขุมพันธุ์กล่าวอย่างดุเดือดมีอารมณ์ เหมือนต้องการสื่อสารไปยังใครบางคนในพรรคประชาธิปัตย์ว่า

“ว่าจะส่งผู้ใดลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร   ก็มีคำถาม มีเสียงนกเสียงกา ว่า ถ้าพรรค ปชป. ไม่ส่งสุขุมพันธุ์ เนี้ย สุขุมพันธุ์จะลงอิสสระหรือเปล่า ผมก็ตอบครั้งแล้วครั้งเล่า นะครับว่าพรรคประชาธิปัตย์คือพรรคของผม  ผมรักพรรคประชาธิปัตย์   ผมไม่ได้คิดจะไปไหน  แล้วมีคนอย่างนายหัวชวนอยู่เนี้ย    ผมจะไปไหนได้ครับ    ผมไม่เคยพูดนะครับ    แต่บางทีก็อยากพูดเหมือนกันว่า   เวลาคนถามว่า ผมจะไปอยู่ที่อื่นป่าว ไปพรรคอื่นป่าว อันนี้ผมแอบคิดไม่กล้าพูดนะครับ
อย่าดูถูกกู  อย่างนี้อีกเลย อย่าดูถูกกู เพราะกูคือคนของพรรคประชาธิปัตย์”