วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำวินิจฉัยส่วนตน 8 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


ศาลรัฐธรรมนูญ ลงคำวินิจฉัยส่วนตน 8 ตุลาการ
 คำวินิจฉัยส่วนตน 8 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

คำวินิจฉัยที่ ๑๘-๒๒/๒๕๕๕
เรื่อง คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘


1. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ 

 




2. นายจรัญ ภักดีธนากุล 
ถอนตัว 


3. นายจรูญ อินทจาร 


4. นายเฉลิมพล เอกอุรุ 


5. นายชัช ชลวร 


6. นายนุรักษ์ มาประณีต 


7. นายบุญส่ง กุลบุปผา 


8. นายสุพจน์ ไข่มุกด์ 


9. นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี 







ดูเรื่องเต็ม ๆ ที่
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์  http://uncle2475.blogspot.com/2012/07/1.html
อุดมศักดิ์ นิติมนตรี http://uncle2475.blogspot.com/2012/07/blog-post_6005.html
สุพจน์ ไข่มุกต์ http://uncle2475.blogspot.com/2012/07/blog-post_7730.html
บุญส่ง  กุลบุบผา http://uncle2475.blogspot.com/2012/07/blog-post_2226.html
นุรักษ์  มาประณีต http://uncle2475.blogspot.com/2012/07/blog-post_4923.html
เฉลิมพล เอกอุรุ  http://uncle2475.blogspot.com/2012/07/blog-post_1425.html

เสื้อแดงต้องจัดหนัก


 

       ผมเห็นภาพพี่น้องเสื้อแดงแห่ไปให้กำลังใจคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ที่ศาลอาญาเมื่อเช้าวันที่ 22 กรกฎาคม 2555 ทำเอาถนนทั้งสายแดงพรึบตระการตาไปเลย ภาพนี้ได้ปลุกจิตให้คิดถึงคำว่า “จัดหนัก” จะมีความสำคัญต่อกระบวนการคนเสื้อแดง “ทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า”...ขอรับ  

        มีคนถามผมว่า  พรรคเพื่อไทยก็ได้เป็นรัฐบาลแล้ว เหตุไรจึงสู้เผด็จการไม่ได้

แล้วถามต่อว่า  เมื่อไหร่ จะได้ท่านนายกทักษิณ กลับมา ?

ผมก็ต้องตอบว่า “เสื้อแดงต้องจัดหนัก” มีแต่จัดหนักเท่านั้น จึงจะไปถึงคำตอบสดท้ายได้ จึงขอให้ดูตัวอย่างที่หน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2555 ดังกล่าว  ซึ่งจะต้องทำให้เห็นไปเรื่อยๆว่าพลังของคนเสื้อแดงมิได้เพิกเฉยต่อความชั่วร้ายที่พวกเผด็จการทำแล้วทำอีก พากัน ทำด้วยความย่ามใจว่าเคยฆ่าคนเสื้อแดงทิ้ง แล้วลอยนวลได้สำเร็จ ก็จะทำต่อไปไม่รู้จักเลิก

วันที่ 9 สิงหาคม 2555 (อีกไม่กี่วัน) ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้นัดไต่สวน 20 แกนนำคนเสื้อแดงเพื่อจะถอนประกัน ถ้าถอนได้จริงแล้วละก็...ไม่พ้นคุกแน่พระคุณท่านเอ๋ย

ติดคุกอีกคราวนี้ อย่าว่าแต่ขังรวมแน่นเอ๊ยดเหมือนปลากระป๋องเลย ยังจะมีภาพบาดตาบาดใจอีกจนได้ คือต้อง “ล่ามโซ่-ตีตรวน” ดังที่เคยได้กระทำกับณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ  นิสิต สินธุไพร สุรชัย แซ่ด่าน จตุพร พรหมพันธุ์ ฯลฯ จนเป็นที่เจ็บช้ำในหัวใจสุดจะบรรยายได้

เจ็บตรงไหนหรือครับ ? เก๊าะเจ็บเพราะถูกยัดเยียดข้อหา “ก่อการร้าย”  อันเป็นข้อหาระดับเดียวกับบิน ลาเด็น ซึ่งเป็นข้อหาที่นึกไม่ถึงว่าคนไทยที่ต่อสู้เพื่อความเสมอภาค สู้เพื่อปากท้อง สู้เพื่อ “ระบอบประชาธิปไตย”  กลับกลายเป็นการก่อการร้ายไปได้

ข้อหาก่อการร้ายที่พวกหมาป่ายัดเยียดให้ มันสุดแสนจะเจ็บปวด  ที่เจ็บปวดมากที่สุดก็คือพี่น้องเสื้อแดงถึงกับ “ตายในคุก”  รวมทั้งแม้จะไม่ตายในคุกก็ต้องติดคุกยาวนาน แทบไม่เห็นเดือนเห็นดาว  ทำราวกับว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่คนไทย

ไอ้บ้าเอ๋ย...เอาหนังสติ๊กยิงสู้กับปืน กลายเป็นการก่อการร้ายไปได้ ?

ไอ้สันดานเอ๋ย  เอาไม้ไผ่มาเหลาให้แหลมเตรียมสู้กับปืน กลายเป็นคนล้มเจ้า

วันนี้ พวกเผด็จการ “ปลุกคนเสื้อเหลือง” ให้เกลียดชังคนเสื้อแดง  ปลุกตั้งแต่สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ASTV  ไปถึง “บลูสะกาย”  รวมทั้งปลุกตั้งแต่สถานีวิทยุประชาธิปไตยของ “ดร. ประชัย เลี่ยวไพรัช” ไปจนถึงพวกเครือข่ายต่างๆที่มีอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 1,800 แห่ง  แม้แต่สถานีของวัดแห่งหนึ่งตั้งอยู่ “อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่” ก็ยังเทศน์ด่าทักษิณไฟแลบ

ท่านผู้อ่านครับ...ทั้งหลายทั้งปวงที่กำลังมีการ “ปลุกประชาชน” ให้เกิดความเกลียดชังซึ่งกันและกันอย่างเอาเป็นเอาตายในขณะนี้  มิใช่เรื่องเหลวไหลที่ทำกันเล่น  แต่มันเป็นเรื่องจริงที่มีการ “ลงขัน” ปั้น น้ำเป็นตัว  ปั้นวัวเป็นเสือ  และปั้นคนให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน ...เป็นเหี้ย เป็นตะกวด สุดแต่จะพากันปั้นแต่ง ให้เป็นรูปร่างของยักษ์มาร  โดยมิได้คำนึงถึง “สิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับ” มันจะดีหรือเลว

ผมนั่งไตร่ตรองของผมอยู่หลายชั่วโมงก่อนจะเขียนเรื่องนี้  ผมได้รับภาพการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดในหลายประเทศจนเป็นเหตุให้ “สถาบันหลัก” ของประเทศนั้นถึงกับพังครืน ล้วนแต่เกิดมาจากความเข้าใจผิดในหมู่ของสถาบันอันสูงส่งในประเทศเหล่านั้น ไม่เชื่อว่าประชาชนจะเอาชนะ “กองกำลัง” ทหารหลวงได้แล้วก็หลงปราบปรามประชาชนอย่างหนัก  หวังจะกำหลาบจับยัดคุกไม่ให้หือ

สุดท้ายตัวเองกลายเป็นฝ่ายพัง และพังทั้งระบบ  ต้องถูกสังหาร ถูกขับไล่ไสส่ง 
หาแผ่นดินอยู่แทบไม่ได้  ?!

       ผมไตร่ตรองต่อไปว่า   ที่เขียนออกมาอย่างนี้เป็นการข่มขู่-คุกคามหรือไม่  ผมตอบกับตนเองว่านี้ไม่ใช่เป็นการข่มขู่คุกคาม  หากแต่เป็นการ “ชี้แสงสว่าง” ให้แก่กลุ่มบุคคลที่ยืนอยู่บนหอคอยงาช้าง ขอให้ยึดเอาประวัติศาสตร์ของโลกมาศึกษาดู  แล้วจะพบความจริงว่า  ประเทศไหนก็ประเทศนั้น ไม่เคยได้รับชัยชนะด้วยการใช้กองกำลังทหารหลวงปราบปรามประชาชน แม้แต่ประเทศเดียว 

ทหารหลวงของประเทศไทยเก่งนักหรือ

มีปืนมากมายจริงหรือ 

แน่ใจหรือว่าฆ่าคนเสื้อแดงทิ้งแล้วแผ่นดินจะสงบ

แน่ใจแล้วหรือว่า คนเสื้อเหลืองเท่านั้น เป็นคนดีของประเทศ

       หรือคิดว่า “การฆ่า” และการปราบปราม รวมทั้งการจับยัดคุก  คือคำตอบสุดท้าย ที่จะทำให้ประเทศนี้โอ่อ่าศิวิไลซ์  หรือว่ายังมี “ความเข้าใจ” อะไรที่มากไปกว่านี้ ที่พอจะเป็นแก่นสารให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในหมู่ของคนเสื้อเหลือง และพวกอำมาตย์ คิดว่าทำได้ยอดเยี่ยม

ผมขอเตือนสติพวกท่านนะครับ จะบอกให้  ไม่ใช่เป็นการข่มขู่

ผมอยากจะบอกต่อไปว่า พวกคนเสื้อแดงเขาเริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้น  กล่าวคือพวกเราบอกกับตนเองได้ชัดแจ้งแดงแจ๋แล้วว่า  พวกเผด็จการในคราบของนักการเมืองและในคราบของอำมาตย์ไม่ยอมปรองดองกับพวกเรา  พวกท่านคิดอยู่เพียงด้านเดียว คือจะปราบพวกเรา...แล้วก็ปราบพวกเรา ?!

เมื่อมันเป็นเช่นนี้  คนเสื้อแดงจึงไม่มีทางออกที่ดีเหลืออยู่

มีแต่ต้องจัดหนัก...และจะต้องจัดหนักขึ้นเรื่อยๆ

ประตูชัยของเรา คือประชาธิปไตยที่เต็มเปี่ยม ประชาชนมีกินมีใช้  มีสวัสดิการที่ดี มีความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวเองและครอบครัว  มีความอบอุ่นในความเป็นคนไทยอย่างสมบูรณ์  ไม่ต้องตกเป็นทาสเงินกู้ ไม่ต้องอยู่กับพวกบ้าอำนาจที่เอา “คุก” เป็นแนวทางแก้ปัญหา

คนเสื้อแดงต้องจัดหนัก. อย่ายอมก้มหัวให้มัน ?!
สอาด จันทร์ดี

ปัญหาพระวิหาร : ระเบิดเวลารัฐบาลยิ่งลักษณ์!

ปัญหาพระวิหาร : ระเบิดเวลารัฐบาลยิ่งลักษณ์!
โดย สุรชาติ บำรุงสุข  คอลัมน์ ยุทธบทความ
ในมติชนสุดสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1666 หน้า 37 

"ด้วยเหตุผลเช่นนี้ ศาลจึงมีมติเอกฉันท์ยกคำร้องของราชอาณาจักรไทยที่ให้ถอนคดี

ที่ถูกนำเสนอโดยราชอาณาจักรกัมพูชาในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.2011
ออกจากบัญชีทั่วไปของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" 
มาตรการชั่วคราวกรณีปราสาทพระวิหาร
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

(คำแปลไม่เป็นทางการ)
              นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา ต้องถือว่ารัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกทดสอบด้วยเรื่องต่างๆ อย่างหนักหน่วงมาโดยตลอด เพราะหลังจากเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลในเวลาไม่นานนัก สังคมไทยต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนก็คือ "มหาอุทกภัย" ที่เกิดขึ้นในวงกว้าง และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อทรัพย์สินและความน่าเชื่อถือของรัฐบาล แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีก็สามารถนำพา "รัฐนาวา" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวมาได้อย่างปลอดภัย และถือกันว่ามหาอุทกภัยครั้งนี้เป็นบททดสอบที่สำคัญยิ่งต่อรัฐบาล 

              ต่อมาในปี 2555 ก็มีบททดสอบอื่นๆ ตามมา เพียงแค่ในช่วง 6 เดือนแรกของปี บททดสอบนี้มีตั้งแต่เรื่องของการโจมตีทางการเมืองของฝ่ายค้าน ตลอดรวมถึงเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นกรณีราคาพลังงานหรือราคาสินค้าในตลาดก็ตาม  


            หากแต่ประเด็นสำคัญกลับเป็นเรื่องของความพยายามในการนำร่างกฎหมายปรองดองเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งก็ถูกฝ่ายค้านและกลุ่มต่อต้านเปิดเวทีโจมตีอย่างหนัก จนในที่สุดรัฐบาลตัดสินใจถอย... 


               ตามมาด้วยความพยายามในการผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเข้าสู่รัฐสภา ซึ่งก็คาดเดาได้ไม่ยากว่าจะถูกต่อต้านอย่างรุนแรงอีก จนถึงขนาดมีกลุ่มบุคคลไปร้องศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้อง และใช้อำนาจแทรกแซงกระบวนการทางรัฐสภา อันตามมาด้วยการให้ฝ่ายต่างๆ ไปให้ปากคำต่อศาล 

              เช่นเดียวกันในกรณีนี้รัฐบาลก็ถอยอีกครั้ง หรือเป็นการถอยทางการเมืองครั้งที่ 2...


              ต่อมาก็มีกรณีขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ "นาซา" ที่ได้มีคำร้องขอถึงรัฐบาลไทยตั้งแต่เมื่อครั้งรัฐบาลที่แล้ว (ก่อนการเลือกตั้ง) แต่เมื่อรัฐบาลปัจจุบันเข้ามารับตำแหน่งและต้องตอบคำร้องขอของนาซาในการบินสำรวจอากาศ โดยเฉพาะการถ่ายภาพก้อนเมฆ  


               รัฐบาลซึ่งมีท่าทีว่าจะยอมตามคำขอดังกล่าว กลับถูกฝ่ายค้านกดดันให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐบาลซึ่งกังวลอย่างมากกับกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ด้วยการใช้อำนาจของสถาบันตุลาการในทางการเมือง โดยเฉพาะบทเรียนในอดีตจากกรณีของ นายนภดล ปัทมะ ในกรณีปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช และกรณีปัจจุบันในการยับยั้งการพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ตลอดรวมถึงกรณีอื่นๆ ล้วนแต่ก่อให้เกิดความกังวลอย่างมากกับอนาคตของรัฐบาล 


              ผลที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลตัดสินใจไม่นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรี จนทำให้คำขออนุญาตในการวิจัยความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศในไทยและในภูมิภาคต้องยุติไปโดยปริยาย อันถือได้ว่าเป็นการถอยทางการเมืองครั้งที่ 3 ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์


              ปรากฏการณ์เช่นนี้อาจกล่าวได้ว่า ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ถอยร่นใหญ่ถึง 3 ครั้ง และเป็นความหวังว่า การถอยร่นเช่นนี้จะมีส่วนโดยตรงที่ทำให้อายุของรัฐบาลยืนยาวขึ้น เพราะรัฐบาลดูจะกังวลอย่างมากว่า หากตัดสินใจเผชิญหน้ากับเรื่องต่างๆ แล้ว อาจจะส่งผลให้โอกาสการอยู่รอดของรัฐบาลนั้นหดสั้นลงได้

              อย่างไรก็ตาม ผลจากการถอยทางการเมืองดังกล่าวทำให้เกิดคำถามตามมาว่า นับจากเดือนที่ 7 เป็นต้นไป รัฐบาลจะต้องเผชิญกับปัญหาอะไรที่หนักหน่วงอีกหรือไม่ แน่นอนว่า หากมองจากการเมืองภายในมีเรื่องราวหลายๆ ประเด็นที่ท้าทายรออยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐสภาเปิดการประชุมขึ้นอีก 

              แต่ถ้ามองจากการเมืองภายนอกแล้ว สิ่งที่น่ากังวลในอนาคตอาจจะมีทั้งเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจขนาดใหญ่จากกรณีวิกฤตการเงินในยูโรโซน ไปจนถึงปัญหาเก่าที่ค้างคามาจากการต่อสู้ทางการเมือง อันได้แก่ ปัญหาพระวิหาร ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ตีความคำตัดสินเดิมในปี 2505 เป็นต้น


            ปัญหายูโรโซนเป็นเรื่องใหญ่ของยุคสมัยอย่างปฏิเสธไม่ได้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก แต่ถ้าจะถามว่ารัฐบาลไทยจะทำอะไรได้หากไทยเผชิญกับปัญหาดังกล่าว คงต้องยอมรับว่ากรณีนี้ออกจะใหญ่เกินกว่าที่รัฐบาลท้องถิ่นประเทศหนึ่งจะทำอะไรได้ จนบางทีอาจต้องยอมรับว่าสิ่งที่รัฐบาลประเทศเล็กๆ จะทำได้ก็คือ การ "รอดู" ว่าอะไรจะเกิดขึ้น


              ในส่วนของปัญหาของการตีความคำตัดสินเดิมในกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะศาลโลกได้ออก "มาตรการชั่วคราว" ตามคำร้องของรัฐบาลกัมพูชาหลังจากการสู้รบเกิดขึ้นตามบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา และมาตรการนี้ได้ออกมาตั้งแต่กลางปี 2554 แล้ว แต่ทุกอย่างก็ดูจะถูก "เก็บเงียบ" เอาไว้ เพราะว่าไปแล้วไม่มีรัฐบาลไหนอยากแบกรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการออกมาตรการชั่วคราวดังกล่าว  


               แต่สังคมไทยคงต้องทำความเข้าใจว่า ผลจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการยื่นขอจดทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลกในปี 2550 นั้น ได้ถูกนำมาใช้เป็นประเด็นในการปลุกระดมทางการเมืองอย่างมากนับจากปี 2551 เป็นต้นมา จนปัญหาขยายตัวเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในเวลาต่อมา ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวในที่สุดแล้วก็นำไปสู่การสู้รบถึง 2 ครั้งที่จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2554 (ก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554)


               ผลจากความขัดแย้งเช่นนี้ทำให้รัฐบาลกัมพูชายื่นต่อศาลโลกให้ออก "มาตรการชั่วคราว" (provisional measures) เพื่อคุ้มครองปราสาทพระวิหาร และศาลโลกพิจารณาเห็นว่ามีโอกาสที่การสู้รบจะเกิดขึ้นอีกในพื้นที่ความขัดแย้งดังกล่าว อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวปราสาท ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว  


          ดังนั้น ศาลโลกจึงได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า


               มาตรการชั่วคราวนี้ได้กำหนดให้รัฐคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องนำเอา "กำลังทหาร" ออกจากพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวศาลโลกได้ลากเส้นตรงกำกับด้วยพิกัดทางภูมิศาสตร์ทั้งสี่ทิศ และถือว่าพื้นที่นี้เป็น "เขตปลอดทหารชั่วคราว" (provisional demilitarized zone) โดยพื้นที่นี้จะต้องปลอดจากกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐคู่กรณีจะต้องถอนเจ้าหน้าที่ทางทหารทั้งหมด (all military personnel) ออกจากพื้นที่ดังกล่าว  


              และการกำหนดของมาตรการชั่วคราวนี้ไม่ใช่แค่เพียงห้ามการมีกำลังทหารไว้ในเขตปลอดทหารชั่วคราวเท่านั้น หากแต่ยังห้ามมีกิจกรรมทางทหาร (armed activity) ในพื้นที่นี้อีกด้วย 


              นอกจากนี้ ศาลโลกยังกำหนดให้รัฐทั้งสองฝ่ายต้องให้ความร่วมมือกับอาเซียน ด้วยการอนุญาตให้ "ผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศ" ที่จะถูกแต่งตั้งโดยอาเซียนให้สามารถเข้าสู่พื้นที่เขตปลอดทหารชั่วคราวได้


              และที่สำคัญศาลยังได้ออกมาตรการให้กัมพูชาสามารถเข้าถึงตัวพระวิหารได้อย่างเสรี (free access) และทั้งสามารถส่ง "สิ่งสนับสนุน" ในลักษณะที่เป็น "ของสด" (fresh supplies) ให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของกัมพูชาที่ประจำอยู่ที่พระวิหารได้ โดยประเทศไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างเสรีของฝ่ายกัมพูชาในกรณีนี้   


              มาตรการชั่วคราวของศาลโลกนี้เป็นเสมือน "คำตัดสินชั่วคราว" ที่มีผลผูกพันรัฐคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ต้องปฏิบัติตาม เพราะถือว่ามาตรการนี้เป็น "พันธะทางกฎหมายระหว่างประเทศ" ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งหากรัฐบาลไทยหรือกองทัพไทยคิดที่จะปฏิเสธต่อพันธกรณีดังกล่าว ก็ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของไทยในเวทีสากลแต่อย่างใด เพราะการกระทำดังกล่าวจะยิ่งทำลายภาพของไทยในกรณีพระวิหารให้ตกต่ำลง จนอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าในการเมืองและการทูต  


               แต่สิ่งสำคัญก็คือ สังคมไทยคงจะต้องยอมรับต่อผลผูกมัดทางกฎหมาย ในฐานะไทยเองเป็นชาติสมาชิกของสหประชาชาติ


              อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐคู่กรณีนำเอากำลังทหารออกจากพื้นที่ที่เป็นเขตปลอดทหารชั่วคราวแล้ว ก็มิได้หมายความว่า พื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็น "พื้นที่สุญญากาศ" แต่อย่างใด เพราะในทางกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อมีการสับเปลี่ยนกำลังทหารแล้ว รัฐคู่กรณีก็สามารถส่งกำลังตำรวจ เช่น ตำรวจตระเวนชายแดนโดยไม่มีอาวุธหนักเข้าสู่พื้นที่นี้ได้ เพื่อทดแทนกำลังทหาร  


               การดำเนินการในลักษณะนี้ไม่ใช่ข้อห้ามในทางกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด เพราะเมื่อมีการนำกำลังทหาร (หมายถึงทหารจริงๆ) ออกไปแล้ว ก็มักจะห้ามการมีกิจกรรมทางทหารในพื้นที่ด้วย เช่น การเคลื่อนไหวทางทหาร เป็นต้น การใช้ตำรวจตระเวนชายแดนจึงเป็นช่องออกในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ทำให้รัฐบาลสามารถคงกำลังของฝ่ายตนไว้ในพื้นที่ดังกล่าวได้


               ประเด็นสำคัญอีกส่วนหนึ่งในเชิงรายละเอียดก็คือ กองกำลังตำรวจนี้มีไว้เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของพื้นที่ จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ติดอาวุธหนัก เพราะหากเป็นกำลังตำรวจพร้อมอาวุธหนักแล้ว ก็อาจถูกตีความว่าเป็นกำลังทหารได้ทันที  


               ดังนั้น หากรัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจปรับกำลังทหารในพื้นที่ออกไปแล้ว จึงมีความเป็นไปได้มากที่จะมีการนำเอาตำรวจตระเวนชายแดนของกัมพูชาประจำในพื้นที่นี้แทน ซึ่งผลจากการปรับกำลังของทางฝ่ายกัมพูชาย่อมจะทำให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินการในลักษณะไม่แตกต่างกัน


              แต่จะคิดว่าปล่อยให้กัมพูชาทำฝ่ายเดียว และฝ่ายไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามก็ได้นั้น อาจจะเป็นความคิดที่เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่จะต้องตระหนักอย่างมากก็คือ การปรับกำลังทหารของกัมพูชาจะกลายเป็น "แรงกดดันทางการเมือง" ต่อฝ่ายไทยทันที หากรัฐบาลไทยปฏิเสธที่จะดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวของศาลโลก


              ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดของรัฐบาลไทยก็คือ การเตรียมปรับย้ายกำลังทหารออกจากพื้นที่ และขณะเดียวกันก็จะต้องเตรียมกำลังตำรวจตระเวนชายแดนให้มีความพร้อมที่จะรับภารกิจใหม่ในพื้นที่พิพาทดังกล่าว กล่าวคือ สำหรับพื้นที่พิพาทในอนาคตจะมีแต่เพียงกำลังตำรวจตระเวนชายแดนของทั้งสองฝ่ายรักษาการณ์อยู่ในพื้นที่เท่านั้น  


              การคงหรือไม่คงกำลังทหารจึงไม่ใช่เรื่องของการสูญเสียอธิปไตยแต่อย่างใด หากแต่เป็นหลักการในกฎหมายระหว่างประเทศว่า เมื่อเกิดกรณีพิพาทในพื้นที่นั้น ก็จำเป็นต้องเอากำลังทหารออกเพื่อไม่ให้ความขัดแย้งด้วยการใช้กำลังขยายตัวลุกลามออกไป


          ถ้าเรายอมรับในหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ก็คงจะ "ทำใจ" ได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าเกิดการฉวยโอกาสทางการเมือง โดยใช้วิธีปลุกระดมด้วยลัทธิชาตินิยมสุดโต่งแล้ว รัฐบาลนี้ก็จะต้องพบกับวิกฤตอีกครั้ง...  


             แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะทำอะไรก็ตาม รัฐบาลก็ไม่อาจปฏิเสธพันธะทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจากมาตรการของศาลโลกได้ และปฏิเสธไม่ได้อีกว่ามาตรการครั้งนี้เป็นผลจากการดำเนินการของรัฐบาลที่แล้วด้วย!  

รมต.กลาโหมโชว์ "สด.9" ต้นขั้วไม่ตรงกันมัด "มาร์คใช้เอกสารราชการเท็จ"


รมต.กลาโหมโชว์ "สด.9" ต้นขั้วไม่ตรงกันมัด "มาร์คใช้เอกสารราชการเท็จ"

ภาพลิงค์ที่แปะไว้

จากกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนกระทรวงกลาโหม ได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกร้องใช้เอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารวมทั้งมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  พร้อมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจ​ริงการปฏิบัติตัวของนายอภิสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.2497 ได้นำหลักฐาน ใบสำคัญ สด.9 ทั้งตัวจริง และ เอกสารที่ไม่อยู่ในระบบราชการมา​แสดงต่อสื่อมวลชนเพื่อเป็นการยื​นยัน ว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้รับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองเกินของกอ​งทัพบกซึ่งเอกสารดังกล่าว ทางกองทัพได้ส่งให้กับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อนำไปตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา และจะดำเนินการส่งเพิ่มเติมอีก อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.สุกำพล ยืนยันว่าการออกมาชี้แจงในครั้ง​นี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ขอขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์  @WassanaNanuam