วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จดหมายเปิดผนึก ''เร็ด ยูเอสเอ'' ถึง ตลก.ศาล รธน. ให้ลาออกก่อนเสื่อมเสียถึงพระปรมาภิไธย


จดหมายเปิดผนึก ''เร็ด ยูเอสเอ'' ถึง ตลก.ศาล รธน. ให้ลาออกก่อนเสื่อมเสียถึงพระปรมาภิไธย
จดหมายเปิดผนึก ''เร็ด ยูเอสเอ'' ถึง ตลก.ศาล รธน.
ให้ลาออกก่อนเสื่อมเสียถึงพระปรมาภิไธย

สำเนาถึง:

  • นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
  • นายจรัญ ภักดีธนากุล
  • นายชัช ชลวร
  • นายจรูญ อินทจาร
  • นายเฉลิมพล เอกอุรุ
  • นายนุรักษ์ มาประณีต
  • นายบุญส่ง กุลบุบผา
  • นายสุพจน์ ไข่มุกด์
  • นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี


              ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะจักต้องลาออกในทันที เพื่อเปิดทางให้มีคณะตุลาการชุดใหม่มาทำหน้าที่แทนโดยการเลือกสรรผ่านกระบวนการประชาธิปไตย

            ดังที่ชาวไทยกลุ่ม “เร็ด ยูเอสเอ” ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2555 เรียกร้องให้ลาออกทั้งคณะแล้วนั้น บัดนี้คณะ ตลก. ดังกล่าวยังคงดำเนินการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง ด้วยการเปิดไต่สวน และซักถามจากผู้ยื่นคำร้อง และต่อผู้ถูกร้องซึ่งได้รับคำสั่งจากศาลรัฐธรรมนูญให้ยับยั้งการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 อันเป็นคำสั่งที่ไม่ครบองค์คดีความโดยมิบังควรด้วย

             แม้นว่าระหว่างการไต่สวนจะมีตุลาการบางท่านขอถอนตัวจากองค์คณะ ซึ่งปรากฏว่าองค์คณะอนุมัติให้นายจรัญ ภักดีธนากุล ถอนตัวเนื่องจากถูกพาดพิงโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล ว่า นายจรัญเคยกล่าวก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าให้รับไปก่อนแล้วมาแก้ไขทีหลังได้ แต่สำหรับ ตลก. อีกสามท่าน คือนายนุรักษ์ มาประณีต กับนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานฯ ซึ่งเคยให้ความเห็นไว้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหาควรแก้ไขโดยวิธีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพียงมาตราเดียวเพื่อเปิดทางตั้ง ส.ส.ร. 3 แต่ว่าองค์คณะกลับไม่ยอมอนุมัติให้ถอนตัว

            หากแต่การถอนตัว และแสดงความจำนงขอถอนตัวนั้น มิได้เป็นไปเพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรม หรือแสดงให้เห็นว่า ตลก. เหล่านั้นมีจิตสำนึกรู้ผิดรู้ชอบ (Accountability) ต่อการนำกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มาปรับใช้อย่างผิดๆ ให้คล้อยตามคำร้องของกลุ่มนักการเมืองฝ่ายค้าน และอดีตสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช..) ผู้กระทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เท่านั้นเอง จัดว่าเป็นการ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” ถึงจะปกปิดหน้าตนเองมองไม่เห็นผู้ชี้ผิดแก่ตนได้ แต่ก็เปิดโปงความอัปลักษณ์ของสรีระเบื้องต่ำแห่งตนให้ปรากฏต่อสาธารณะด้วย

            โดยเหตุที่การกระทำของตุลาการชุดนี้เข้าข่ายความผิดฐานเป็นกบฏต่อราชอาณาจักร ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 113 ความผิดถึงขั้นประหารชีวิต อีกทั้งเป็นองค์คณะที่มิได้ผ่านกระบวนการสถาปนาอย่างถูกต้องเหมาะสม กล่าวได้ว่าเป็นเพียงองค์คณะชั่วคราวที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบทเฉพาะกาลแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 300 น่าที่จะสลายตัวไปนานแล้วเมื่อมีการล้มเลิกคณะรัฐประหาร คมช. หากแต่ยังยืดเยื้ออยู่ในตำแหน่งกันด้วยข้ออ้างแห่งบุญญาบารมีในสถาบันพระมหากษัตริย์ และเลี่ยงบาลีเอาเกณฑ์อายุขัยในตำแหน่งเป็นที่ตั้ง

            ด้วยความผิดดังปรากฏ อย่างน้อยที่สุด ตลก. รธน. คณะดังกล่าวควรที่ต้องอยู่ในกระบวนถูกถอดถอนแล้วในขณะนี้ หากแต่เราเห็นว่าเพื่อมิให้เป็นการเสื่อมเสียไปถึงพระปรมาภิไธยซึ่งองค์คณะใช้อ้างอิง เราจึงเสนอให้ ตลก. ทั้งคณะลาออกด้วยตนเองมิให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาทมากกว่านี้ ไม่บังควรที่จะทำเมินเฉยอีกต่อไป

            เราขอย้ำอีกครั้งให้ตุลาการทั้งเก้าคนจัดการลาออกจากตำแหน่งโดยมิรอช้า เพื่อเปิดทางให้มีการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนว่าจะไม่กระทำผิดโดยลุแก่อำนาจเฉกเช่น ตลก. ชุดปัจจุบัน จึงควรที่จะมีการเลือกสรรตุลาการชุดใหม่เข้ามาแทนที่ด้วยกรรมวิธีอันสอดคล้องตามครรลองแห่งระบอบประชาธิปไตย



กลุ่มเร็ด ยูเอสเอ


ป้าย: ปี๊บอัปยศสำหรับ ตลก ใช้ปกปิดความเลว

คนไทยในสหรัฐอเมริกาจัดหนัก หลังได้ข่าวทีมส่วนหนึ่งของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไปอเมริกาพร้อมกกต. โดยออกมาประท้วงพร้อมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์

ทีมงาน Red USA ได้เปิดเผยกับเราว่า "เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อบ่ายวันอาทิตย์ (10 มิ.ย.) ในเมืองลอสแองเจลิส ซึ่งตรงกับช่วงเช้าของวันจันทร์ของประเทศไทย สายข่าวของคนเสื้อแดงได้รายงานว่าคณะตุลาการฯ ซึ่งเดินทางมาดูงานกับคณะของกกต.ที่นำโดยนายอภิชาติ มีหมายกำหนดการจะไปเยี่ยมสถานกงศุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส"

"คนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งจึงไปคอยต้อนรับเพื่อมอบของที่ระลึก และเหตุการณ์ก็เป็นไปตามภาพที่ได้ส่งมาพร้อมนี้"



ป้าย: No To Judicial Coup in Thailand 


การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อการทำ "ตุลาการรัฐประหาร"


อาคารเบื้องหลังคือ สถานกงศุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส 
ซึ่งตามรายงานระบุว่า กลุ่มตุลาการได้มาดูงาน


ภาพ: กลุ่มบุคคลสวมชุดครุย ปกปิดหน้าตาด้วยถังพลาสติก 
เดินเรียงต่อแถวกันหน้าโถส้วมอันหนึ่ง


ภาพ: กลุ่มบุคคลสวมชุดครุยเดินเรียงแถว โดยคลุมหัวด้วยถัง/กระถางพลาสติก 
โดยถูกตัวแทนประชาชนยื่นป้ายประท้วง


ประชาชนแสดงออกถึงความหมดสิ้นศรัทธาแล้วต่อกลุ่มบุคคลหนึ่ง
ที่มีหน้าที่แสดง "ธรรม"ที่จะทำให้เกิดการ"ยุติ"การพิพาทต่อกัน


ภาพ: คนสวมชุดครุย ใส่ถังพลาสติกคลุมหัว ได้รับมอบถังน้ำเพื่อใช้ในการบางอย่างจากประชาชน


นอกจากถังน้ำแล้ว มีไม้กวาดด้วย


ป้ายแสดงความรู้สึก


การประท้วงเชิงสัญลักษณ์: ภาพคนสวมชุดครุยถูกยัดหัวลงโถส้วม 


พวกเขาชิงชังต่อบางสิ่งบางอย่าง จนเชื่อว่าคนบางคนควรนำหน้ายัดลงในภาชนะสำหรับขับถ่าย



http://redusala.blogspot.com

ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)


ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)

Posted: 08 Jul 2012 07:28 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat



ผู้เขียนได้เข้าฟังการไต่สวน ณ ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และได้บันทึกสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของศาลไปพร้อมกับเนื้อหาการไต่สวน ซึ่งมีประเด็นควรแก่การขบคิดก่อนศาลจะมีคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม ดังนี้



1. ศาลไต่สวนเพียงสองวัน ‘หยาบสั้น’ ไปหรือไม่ ?

แม้ผู้เขียนจะเป็น ‘ฝ่ายผู้ดู’ แต่ก็รู้สึกอึดอัดแทนทั้ง ‘ฝ่ายผู้ร้อง’ (ที่ต้องการยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ) และ ‘ฝ่ายผู้ถูกร้อง’ (ที่ต้องการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งต่างมีประเด็นที่จะอธิบายซักถามจำนวนมาก แต่กลับถูกบีบคั้นโดยกรอบเวลาที่ศาลกำหนด

ปกติคดีส่วนตัวธรรมดาระหว่างคนสองคน ยังนำสืบพยานกันได้หลายนัดหลายวัน มาคดีนี้มีคู่ความฝ่ายละหลายราย และอาจมีผลรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคการเมืองที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมาก แล้วเหตุใดศาลจึงรวบรัดไต่สวนพยานเพียงสองวัน และใช้เวลาเพียง ‘วันเดียว’ ในการทำคำวินิจฉัยหลังกำหนดแถลงปิดคดี ?

แม้ศาลมีอำนาจควบคุมการไต่สวนให้มีประสิทธิภาพ (ซึ่งหลายจังหวะศาลทำได้ดี) แต่ศาลก็พึงระลึกว่า ‘ระบบไต่สวน’ ไม่ได้แปลว่าศาลจะรวบรัดเวลาได้เสมอ ตรงกันข้าม การที่ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงได้เอง กลับทำให้ศาลต้อง ‘ซักถามสนทนา’ ถึงประเด็นที่แสวงหามา เพื่อให้คู่ความได้ทราบและชี้แจงอย่างเต็มที่ การไต่สวนจึงไม่ได้สำคัญที่ ‘การฟัง’ ของศาล หรือ ‘การอ่าน’ เอกสารในสำนวนก่อนหรือหลังวันไต่สวนเท่านั้น

แต่ปรากฏว่าตลอดสองวัน ‘ศาลซักถามน้อยมาก’ และดูไม่จดประเด็นเสียด้วย หากศาลถามได้มากและโยงเข้าเนื้อหาสำนวนได้ แสดงว่าศาลทำการบ้านอ่านสำนวนมาล่วงหน้า และจดคำตอบสำคัญโดยไม่ต้องรอถอดเทป แต่คดีนี้ก็มีจังหวะที่ศาลเองดูไม่แน่ใจว่ามีเรื่องใดซ้ำกับเอกสาร ปล่อยให้พยานต้องบอกว่าตอบไปแล้วในเอกสาร

ความรวบรัดที่ว่านำไปสู่ ‘สิ่งที่ไม่คาดนึก’ คือ มีจังหวะที่ตุลาการเอียงตัวไปโต้เถียงกันสั้นๆ ภาพที่เห็นเข้าใจได้ว่า ตุลาการท่านหนึ่งประสงค์ให้พยานได้ถูกซักเพิ่มในประเด็นที่ตนสนใจ แต่ตุลาการอีกสองท่านส่ายหน้าว่าต้องพอแล้ว ซ้ำร้าย บางท่านยังพิงหลังหลับตาเป็นระยะ ขณะที่บางท่านลุกไปนอกห้องนานพอสมควร (แต่บางท่านก็ไม่ได้ลุกออกไปเลย)

‘ภาพน่าตะลึง’ อีกภาพ คือ วิธีการและจังหวะที่ประธานศาลใช้ถาม ‘นายโภคิน พลกุล’ ขณะกำลังพูดเสร็จ แทนที่จะถามพยานตามปกติ กลับโต้เถียงประหนึ่งถามค้านพยานและสรุปความเบ็ดเสร็จเสียเอง และในขณะที่พยานมีมารยาทพอที่จะไม่เถียงศาลต่อ ก็มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้พยานลงชื่อจนรวบรัดให้ต้องลุกไปจากเก้าอี้ (ชมคลิปได้ที่ http://bit.ly/VPCONS)

โดยภาพรวมจึงน่าเคลือบแคลงว่า แม้วันนี้ยังไม่มีคำวินิจฉัย แต่ ‘ความไม่ยุติธรรมเชิงกระบวนการ’ ก็อาจเกิดขึ้นเสียแล้ว!?

2. ฝ่ายใดดูเป็นฝ่ายที่ ‘ได้เปรียบ’ ?

จากการไต่สวนทั้งสองวัน ตอบว่า ‘ฝ่ายศาล’ เป็นฝ่ายได้เปรียบมากที่สุด เพราะวันนี้ศาลได้เพิ่มอำนาจให้ตนเองอย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่ในแง่การรวบรัดการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่ยังตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างกว้างขวาง ทำให้อัยการสูงสุดไร้ความหมาย

และศาลได้ตีความกฎหมายให้กลายเป็น ‘ไทม์แมชชีนข้ามเวลา’ สามารถตรวจสอบอดีตที่จบสิ้นลงแล้ว เช่น กรณีการตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่คุณเรืองไกรร้อง หรือ แม้ในคดีนี้ ก็มีการพิจารณาสิ่งที่จบสิ้นไปแล้ว เช่น การเสนอญัตติ หรือ สิ่งที่ต้องรออนาคต เช่น การทำงานของ ส.ส.ร. หรือ การตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญโดยประธานรัฐสภา

นอกจากนี้ ศาลได้เรียงประเด็นพิจารณา ‘อย่างน่าเคลือบแคลง’ 4 ลำดับ คือ


  • (1) ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้หรือไม่
  • (2) มาตรา 291 จะถูกแก้ให้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้หรือไม่
  • (3) การแก้ 291 เป็นการกระทำที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 หรือไม่
  • (4) มีการกระทำที่นำไปสู่การยุบพรรค หรือตัดสิทธิทางการเมืองหรือไม่


ข้อที่น่าเคลือบแคลง คือ ‘การเรียงและแยกประเด็นที่ (2) และ (3) ออกจากกัน’ เพราะศาลไม่มีอำนาจตีความมาตรา 291 โดยตรงแต่อย่างใด กล่าวคือ ประเด็นของคดีนี้ คือ มาตรา 68 ศาลจึงต้องอธิบายเสียก่อนว่า การล้มล้างการปกครองฯ ที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 นั้น มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร จากนั้น จึงไปพิจารณาข้อเท็จจริงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ผ่านมานั้น เข้ากรณีต้องห้ามตามมาตรา 68 หรือไม่ และโดยตรรกะแล้ว การทำผิดหลักเกณฑ์ มาตรา 291 ใช่ว่าจะต้องผิด มาตรา 68 เสมอไป

แต่ศาลกลับไปเรียงลำดับพิจารณาประเด็น มาตรา 291 เสียก่อน ประหนึ่ง ‘ตั้งธง’ ว่าหากมาตรา 291 ไม่เปิดช่องให้นำไปสู่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ การแก้ไขมาตรา 291 ในครั้งนี้ย่อมเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 ทันที ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นการเรียงลำดับประเด็นที่ผิดตรรกะและน่าเคลือบแคลงอย่างยิ่ง

3. ‘แนวทางการตัดสิน’ เป็นไปได้กี่แนวทาง?


คำวินิจฉัยที่ศาลจะได้อ่านในวันที่ศุกร์ที่ 13 นี้ มีความเป็นไปได้ ‘หกแนวทาง’ ด้วยกัน

(1) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า ‘กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ เพราะข้ามขั้นตอน ‘อัยการสูงสุด’

          ข้อสังเกต: สมัย คดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์’ (คำวินิจฉัยที่ 15/2553) แม้ศาลจะรับคำร้องและไต่สวนคดีจนเสร็จแล้ว แต่สุดท้ายศาลก็อ้างเหตุ ‘ผิดขั้นตอน กกต.’ มายกคำร้องโดยไม่วินิจฉัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำผิดหรือไม่

(2) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า การกระทำ ‘ไม่เข้าลักษณะการใช้สิทธิเสรีภาพ’ แต่เป็นการ ‘ใช้อำนาจหน้าที่’ ศาลจึงไม่สามารถก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยการใช้อำนาจของรัฐสภาได้

          ข้อสังเกต: รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 บัญญัติแยกแยะ ‘การใช้อำนาจ’ ให้แตกต่างจาก ‘สิทธิและเสรีภาพ’ อย่างชัดแจ้ง (ดูเพิ่มที่http://bit.ly/article68 )

(3) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 ศาลจึงไม่อาจนำ มาตรา 68 มาวินิจฉัยปะปนกันได้

         ข้อสังเกต: สมัย คดีพรรคประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญ (คำสั่งที่ 4/2554) ศาลได้อธิบายชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 จึงนำไปปะปนกับ มาตรา 154 ไม่ได้

(4) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเข้าลักษณะการใช้สิทธิเสรีภาพที่ศาลตรวจสอบได้ แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นเพียงการคาดคะเน หรือ ‘มีกระบวนการป้องกันไม่ให้มีการล้มล้างการปกครองฯ ที่เพียงพอ’

         ข้อสังเกต: สมัย คดีฟ้องนายกอภิสิทธิ์ (คำสั่งที่ 14/2553) ศาลได้ตีความข้อกำหนดวิธีพิจารณา ข้อ 18 ซึ่งใช้กับคำร้องในคดีนี้ว่า คำร้องต้องไม่เป็นเพียง ‘การคาดคะเน’ หรือ ‘การตั้งข้อสงสัย’ หรือ ‘การอาศัยศาลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐาน’

(5) วินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ แต่ด้วยเหตุว่าการกระทำของผู้ถูกร้อง (ทั้งหมดหรือบางราย) ยังไม่เสร็จสิ้น หรือยังไม่รุนแรง หรือไม่เกี่ยวโยงกับพรรคการเมือง จึงสั่งห้ามเพียงการกระทำ แต่ไม่สั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง

(6) วินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ และสั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง

          จากหกแนวทางนี้ ศาลมีแนวโน้มจะตัดสินไปในทางใด แต่ทางมีผลแตกต่างกันอย่างไร และข้อต่อสู้ของ ‘ผู้ร้อง’ และ ‘ผู้ถูกร้อง’ เรื่องใดที่ศาลน่าจะให้ความสำคัญมากที่สุด การยุบพรรคในคราบมาตรา 68 จะนำไปสู่คราบเลือดคนไทยหรือไม่ โปรดติดตามได้ในบทความภาคจบ


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ โปรดดู http://bit.ly/VPCONS
http://redusala.blogspot.com

วิเคราะห์การไต่สวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ


วิเคราะห์การไต่สวนของศาล รธน.

อุดม มั่งมีดี วิเคราะห์การไต่สวนของศาล รธน. 




http://redusala.blogspot.com

เผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย


เผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย

เร็วกว่าที่คาดหมายเผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย

บทความนี้เกี่ยวเนื่องต่อจากบทความพิเศษวันที่ 28 พฤษภาคม 2555
ซึ่งเป็นบทความประจำเดือนมิถุนายน 2555


         ในบทความพิเศษฉบับดังกล่าว ได้วิเคราะห์การเมืองของประเทศไทย ตลอดเวลาผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนานที่ประชาชนได้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยตลอด ซึ่งแบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนการรอคอยต้องใช้เวลาเกือบ 60 ปีหรือมากกว่า ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ขัดขวางหรือทำลายระบอบประชาธิปไตย ตัวตนของผู้อยู่เบื้องหลังนี้ไม่มีใครทราบ เพราะไม่เห็นตัวตนศัตรูว่าคือใคร
ในขั้นตอนปัจจุบัน คือการอยู่ในขั้นตอนการยัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ประชาชนได้มองเห็นตัวตนของศัตรูชัดแจ้งแดงแจ๋ว่าใครที่เป็นผู้ทำลาย และขัดขวางไม่ยอมให้ประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หลายครั้งหลายคราวที่ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค และนำพาประเทศชาติมีเศรษฐกิจดีขึ้น ศัตรูคนนี้ก็จะล้มอำนาจที่ประชาชนชนได้รับอย่างน้อยนิดเสียโอกาสครั้งแล้วครั้งเล่า โดยวิธีการรัฐประหารด้วยนำกำลังของกองทัพหรือโดยการใช้อำนาจตุลาการจัดการล้มระบอบประชาธิปไตยทุกครั้งไป หรือแม้ในครั้งใดที่ศัตรูคนนี้ไม่พอใจ ก็จะทำลายระบอบประชาธิปไตยทันทีตามวิธีการดังกล่าวแล้ว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายใดๆที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับโอกาสของตนเองให้เจริญก้าวหน้าทั้งในปัจจุบันและอนาคตของพวกเขาแต่กับเป็นการฉุดรั้งปิดกั้นโอกาสและทำลายชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคตของประชาชน ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ตกอยู่ในสภาพความยากจนและถูกกดขี่ขูดรีดมาโดยตลอด ไร้แสงสว่างที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากความทุกข์ยากและความยากจนและถูกกดขี่ขูดรีดตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

             โดยเฉพาะเมื่อประชาชนได้พรรคการเมืองคือ “พรรคไทยรักไทย” เป็นรัฐบาลมีนโยบายให้โอกาสแก่ประชาชนพร้อมนำนโยบายมาปฏิบัติทำให้ประชาชนเริ่มจะลืมตาอ้าปากได้และเริ่มมองเห็นอนาคตอันสดใสว่าจะหลุดพ้นจากความยากจน แต่กับถูกศัตรูตัวร้ายตนนี้สั่งการให้กองทัพทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากเกือบทั้งประเทศ กรอบกับการใช้กระบวนการยุติธรรมทำลายล้างคณะรัฐบาลพรรคไทยรักไทยทุกวิถีทางจนเกิดวาทะกรรมสองมาตรฐานทั่วทั้งแผ่นดิน แต่ศัตรูประชาธิปไตยก็หาสำนึกคงปล่อยและเพิ่มความอยุติธรรมจนแผ่กระจายไปทั่วในกลุ่มประชาชนจำนวนมากของประเทศถึงปัจจุบันความอยุติธรรมยังคงดำรงอยู่และคงจะดำรงตลอดไป จนกว่าประชาชนจะร่วมกันทำลายศัตรูระบอบประชาธิปไตยให้สิ้นซากจากแผ่นดิน แต่การทำลายประชาธิปไตยของศัตรูนี้ มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มได้รับอานิสงส์จากการทำลายประชาธิปไตยด้วยการกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับผิด แม้การกระทำความผิดเป็นความผิดที่มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต ซึ่งประชาชนไม่เพียงในประเทศเท่านั้น รวมทั้งโลกก็เห็นข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึงและชัดแจ้ง แต่คนพวกนี้ก็ได้รับการคุ้มครองจากศัตรูที่ประชาชนได้เห็นตัวตนแล้วนี้ โดยมิได้ อับอายแก่ใคร ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศก็ไม่อยู่ในจิตสำนึก หรือมโนสำนึกหรือสะดุ้งสะเทือนต่อสายตาของคนทั้งโลกแต่ประการใด

           เหตุการณ์ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีมาโดยตลอดในระยะเวลาอันยาวนาน จวบจนกระทั่งการรัฐประหารครั้งสุดท้ายเมื่อ 19 กันยายน 2549 ประชาชนจึงลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูของระบอบประชาธิปไตย ได้ถูกทำร้ายจากกองกำลังของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ถึงแก่ ชีวิต ร่างกาย และสูญเสียสิทธิเสรีภาพ เป็นจำนวนมาก แต่ประชาชนก็ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจตามอำเภอใจของศัตรูคงต่อสู้ต่อไป เพราะประชาชนรู้แล้วว่าศัตรูที่แท้จริงเป็นใคร

         ครั้นมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประชาชนเป็นฝ่ายชนะ โดยเลือกตัวแทนของพวกเขาเป็นเสียงข้างมากและได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ แต่อำนาจรัฐที่รัฐบาลของประชาชนมีก็ไม่สามารถบริหารดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ถูกขัดขวางจากศัตรูนี้มิให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำในอัตราส่วนมากกว่า 75 % และล่าสุดการรัฐประหารได้เริ่ม เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้สภาผู้แทนราษฎรชะลอการลงมติวาระ 3 ซึ่งกำหนดในวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ทั้งที่คำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรชะลอการลงมติได้ เพราะไม่มีกฎหมายอะไรให้อำนาจรับรองคำสั่ง เช่น ที่กล่าวมาแล้วได้ แต่ไปอ้างกฎหมายตามอำเภอใจของพวกตนเอง ออกคำสั่งให้สภาฯชะลอการลงมติวาระ 3 นี่คือผลจากคำสั่งของศัตรูที่สั่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อยุบพรรคเพื่อไทยและสั่งปลดคณะรัฐมนตรี เรียกว่าเป็นการปฏิวัติโดยใช้กลไกทางตุลาการนั่นเอง

          จากการลำดับเหตุการณ์มาทั้งหมด จึงทำให้การต่อสู้ของประชาชนที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นแก่ประเทศนี้ จึงถูกผลักด้วยศัตรูที่ร้ายกาจคนนี้ ทำให้ประชาชนก้าวเดินเข้าสู้ขั้นตอนการรุกทันทีคือเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี และจะลุกต่อไปและจะยกระดับการต่อสู้ไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ ซึ่งขั้นตอนรุกนี้เดิมคาดการณ์ว่าจะใช้เวลา 1-2 ปี แต่การคาดการณ์เดิมที่กำหนดไว้ก็คงจะต้องเปลี่ยนเป็นเวลาคงไม่เกิน 1 ปีแน่นอน ด้วยพลังอันมหาศาลของมวลมหาประชาชน และวันนั้นคือใน เร็วๆนี้ประเทศของเราก็จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตามบทกลอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ต.ท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ในบาทสุดท้ายว่า “จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคทาจากดวงดาวสร้างความหวัง





           จากบทกลอนตามที่นำเสนอนี้เผด็จการ (ศัตรูตัวจริง) คงสำนึกอะไรไม่ได้ แต่สุดท้ายจะจบลงโดยเผด็จการ (ศัตรูตัวจริง) จะสูญสลายไปจากประเทศภายในปีนี้หรืออย่างช้าสุดต้นปีหน้า มวลมหาประชาชนเตรียมจัดงานฉลองชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ เป็นประวัติศาสตร์ที่ประชาชนของประเทศไทยได้ทำลายศัตรูของระบอบประชาธิปไตยให้สูญสลายสิ้นซากจากประเทศของเราได้สำเร็จอย่างแท้จริงครับ

*หมายเหตุ
ยุทธวิธีและยุทธศาสตร์การต่อสู้

1. ขั้นตอนรอ พวกเราได้ผ่านพ้นมาแล้ว
2. ขั้นตอนรับ วันนี้ก็ผ่านพ้น เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชะลอการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3
3. ขั้นตอนรุก

           ขั้นตอนนี้มีองค์ประกอบอันสำคัญคือ ผลึกกำลังกลุ่มเสื้อแดงทั้งคนที่เปลี่ยนไป และคนที่เปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งประชาชนที่มีอุดมการณ์ต่อระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือมี 5 แนวรบ 1 เป้าหมายดังนี้

3.1 ต่อสู้โดยสันติวิธี เช่นการประท้วงในเรื่องต่างๆที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อต้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้สภาฯชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 หรือมีคำสั่งคำพิพากษาเรื่องที่ไม่ชอบตามหลักนิติธรรม และเรื่องอื่นๆอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในการประท้วงทุกเรื่องต้องชอบด้วยกฎหมาย อย่ากระทำเลวๆเช่นที่เกิดในสภาผู้แทนฯโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราสูญเสียมวลชนและแนวร่วม และผลักดันให้สภาฯ รับข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เข้าสู่วาระการประชุมของสภาฯโดยทันที

         3.2 การสื่อสาร จะต้องเร่งกระทำด้วยการไม่ทิ้งระยะห่างมากเกินไป หรือจะต้องไม่เว้นระยะเลยก็จะเกิดประโยชน์กับฝ่ายต่อสู้ เพื่อระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้แนวร่วมของสื่อ เช่นหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และในโลกไซเบอร์ทุกชนิด

        3.3 การต่างประเทศ การประสานงานไปยังต่างประเทศ นำเสนอความอยุติธรรมในทุกกรณีที่เกิดในประเทศให้กับองค์กรต่างๆในทุกประเทศทั่วโลกด้วยความถี่จากรายงานการนำเสนอ โดยไม่ต้องเว้นระยะ

        3.4 ทางรัฐสภาโดยเฉพาะสภาหรือรัฐสภา ต้องไม่ยอมรับอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องยอมรับพิจารณาร่างพรบ.ของประชาชนเสนอตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญโดยรีบด่วน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องร่วมกันผลักดันให้สภาหรือรัฐสภาพิจารณา ฯลฯ

        3.5 การใช้ความเด็ดขาดคือ..................???
1 เป้าหมาย หมายถึง แดงทุกกลุ่มจะเป็นกลุ่มคนที่เปลี่ยนไปและกลุ่มคนที่ไม่เปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งประชาชนผู้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย จะต้องร่วมกันโค่นล้มศัตรูที่พวกเราทราบแล้วว่าคือใคร และเปลี่ยนประเทศให้เป็น “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์” โดยปราศจากศัตรูโดยสิ้นเชิงคือ ทำให้ศัตรูสิ้นซาก จะเหลือแม้เชื้อเท่าเม็ดทรายก็ทำลายให้หมดสิ้น จึงจะทำให้พวกเราลูก หลาน เหลน ประชาชนตลอดไปชั่วกาลนานแสนนานจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างถาวร

“ขอเตือนสติ สำหรับพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร คือ สงครามไม่มีคำว่าเมตตา”
http://redusala.blogspot.com

คอมเก่าตัวจริงสุดทน! แฉคอมเก่าตัวปลอม ถูกจ้างเชียร์หน้าศาล500บาท



คอมเก่าตัวจริงสุดทน! แฉคอมเก่าตัวปลอม ถูกจ้างเชียร์หน้าศาล500บาท



       






การ์ตูนล้อการเมือง ของ ข่าวสดออนไลน์


          (8 กรกฎาคม 2555 จังหวัดนครพนม) เว็บไซท์ข่าวสด รายงานบทสัมภาษณ์ นายปราโมทย์ พรหมพินิจ หรือ“สหายรับรอง” ตัวแทนกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรือ ผรท.ใน 19 จังหวัดภาคอีสานและภาคเหนือตอนบน ที่มีสมาชิกกว้่า 4,000 คน ว่า "กองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นกลุ่มของนายทองดี ทอนแสนโคตร จาก จ.สกลนคร ซึ่งเป็น ผรท.ขายตัว และมีไม่กี่คนส่วนใหญ่จะถูกจ้างมา โดยมีคนจ่ายค่าจ้างให้คนละ 500 บาท แต่หักหัวคิวแล้วเหลือให้คนละ 200 บาท พวกนั้นไม่ใช่พลังและไม่ใช่ ผรท.ตัวจริง ซึ่งเป็นคนละกลุ่มพวกตนไม่ให้ความสนใจอยู่แล้ว"

            ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายทองดี นามแสงโคตร ผู้ประสานงานกลุ่มกองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อ้างว่า วัตถุประสงค์ของการรวมตัวครั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้กำลังใจการทำหน้าที่ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบภายใต้พระปรมาภิไธยเนื่องจากในวันที่ 5-6 กรกฎาคมนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดนัดไต่สวนผู้ร้องและผู้ถูกร้องในกรณีคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ



อ้างอิง 
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME1UYzFNalUwT0E9PQ==&subcatid=

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P12340932/P12340932.html

http://redusala.blogspot.com