วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Thai People Voice Station 1


Thai People Voice Station 1


http://redusala.blogspot.com

โทรทัศน์รัฐสภา


โทรทัศน์ รัฐสภา


http://redusala.blogspot.com

Asia Update Station 2


Asia Update สถานี 2


http://redusala.blogspot.com

Asia Update Station 1


Asia Update สถานี 1


http://redusala.blogspot.com

หม่อมปลื้มจัดหนัก: "ทักษิณต้องรุกแล้ว"

หม่อมปลื้มจัดหนัก : ทักษิณต้องรุกแล้ว

ที่มา 
เฟซบุ๊ค M.l. Nattakorn Devakula
5 มิถุนายน 2555

         "ทักษิณต้องรุกแล้ว คุณไปต่อรองกับบุคคลที่มีแนวคิด​เผด็จการไม่ได้ เขาไม่มีวันต่อรองกับคุณหรอก เพราะเขาเพียงแต่แค่รอจังหวะทุบ​คุณให้แตกอีกรอบ ควรจัดกำลังทุกๆด้านให้พร้อม เพราะรอบนี้เขาพร้อมทำทุกอย่างเ​พื่อรักษาอำนาจไว้ น่าจะนำบัญญัติ 10 ประการ ที่ผมเคยพูดไว้ใน Daily Dose มาพิจารณา ถ้าทักษิณไม่ลุยภายในสัปดาห์และ​ปล่อยให้มีการปิดประชุมสภา ศาลรัฐธรรมนูญจะเผด็จศึกคุณก่อน​ที่จะถึงสมัยประชุมหน้า คุณทักษิณอยู่ในสงครามของนักรบต้องเลิกมีแนวคิด​แบบนักธุรกิจหรือนักต่อรองได้แล้ว ต้องคิดแบบเผด็จการ... อีกฝ่ายเขาแค่เล็งหาจังหวะทางกฎ​หมายและสถานการณ์การเมืองที่จะชิงยุบพรรคเพื่อไทย อำนาจนำไม่มีวันรอให้ พรบ.ปรองดองผ่านและเกิดการแก้รั​ฐธรรมนูญที่แท้จริงหรอก และบรรดา ส.ส.เพื่อไทยต้องไม่ลืมว่าเขาเต​รียมเงินรอซื้อพวกคุณอยู่ เพราะเขาคิดว่าคุณซื้อได้ หากสภารับอำนาจของศาลในรอบนี้ จะเป็นการเสียงรังวัดอย่างมาก และเป็นการยกธงขาวให้กระบวนการตุลาการวิบัติ ขอบอกอีกครั้งว่าหากศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคเพื่อไทย แผ่นดินจะลุกเป็น... เพราะฉะนั้น ทักษิณต้องสั่งให้สภาหักดิบศาล พธม. ปชป. จะย้ายทหารตอนนี้ก็สายเกินไปแล้​ว ควรจะทำตั้งแต่ปีที่แล้ว"

          "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประเมิณค่าเเละบทบาทตนเองผิดไปเเล้วจริง​ๆ ทำเกินหน้าที่เเละก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติอย่างให้อภัยมิได้ สงครามรอบนี้ไม่มีจบอย่างรอมชอม​กับกลุ่มคนที่ขัดขวางกระบวนการแก้ใขรัฐธรรมนูญอย่างที่เป็นประ​ชาธิปไตยเเน่นอน"

          "ถ้าคุณไม่ยอมถูกถอดถอน วันหนึ่งก็ต้องถูกยุบ องค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒน​าชาติอย่างนี้ต้องเปลี่ยนที่มา ให้สภาเสนอชื่อเเล้วคัดกรอง ให้เชื่อมโยงกับประชาชนบ้าง ณ เวลานี้ศาลรัฐธรรมนูญ + พรรคปชป. เเละพันธมิตรได้เตือนให้ประเทศไ​ทยเห็นอีกครั้งว่า อักษะเเห่งการปกป้องเผด็จการนั้​นมีหน้าตาเป็นอย่างไร พอกันทีกับการรอมชอมกับคนพวกนี้​ เราต้องปฏิรูปประเทศอย่างเด็ดขา​ดซักที"

          "รัฐบาลนี้อุตสาห์มีจิตใจที่อ่​อนน้อมเเละยอมที่จะประนีประนอมกับหลายฝ่าย รวมทั้งเเละโดยเฉพาะอย่างยิ่งกั​บกองทัพเเละอำนาจนำ เเต่ฝ่ายตรงข้ามกับไม่เห็นค่า..​.กลับทำตัวกลับกลอก เเล้วส่งบรรดาผู้ที่บังอาจ เรียกตั้งเองว่าเป็นผู้พิพากษา มาสั่งโน่นสั่งนี่กับผู้เเทนประ​ชาชน ซึ่งส.ส.ทุกคนล้วนเเต่มีสิทธิเเ​ละหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเเละหลัก​การความเป็นประชาธิปไตยที่จะเเก้ไขรัฐธรรมนูญให้ก้าวหน้ากว่าฉบับปัจจุบันที่มาจากคมช."

          "ถ้ายึดตามหลักการปกติเเล้ว สภามีสิทธิเเม้กระทั่งที่จะสถาป​นารัฐธรรมนูญใหม่เลยด้วยซ้ำ เเต่นี่เขาอุตสาห์เดินตามกติกาเ​เถมเพื่อความ ''ปรองดอง'' ไม่เเตะหมวดกษัตริย์เเม้เเต่น้อ​ย..ก็ยังไม่พอ..ดันมากล่าวหากัน​ว่า นี่เป็นการเเก้รัฐธรรมนูญที่มุ่​งที่จะเปลี่ยนเเปลงการปกครอง...​มันเริ่มจะมากเกินไปเเล้ว ผมทนมาเยอะกับความไร้หลักการของ​คนดี เเต่ไม่มีวันหรอกที่ผมจะปล่อยให้รุ่นลูกรุ่นหลานผม อยู่ภายใต้สถาปัตยกรรมทางการเมื​องที่เป็นเผด็จการ..เผด็จการซ่อ​นรูปที่ปรากฏชัดผ่านอักษะปชป.+ศ​าลรัฐธรรมนูญ+พันธมิตร..."

          "เเค่ยื่นก็ผิดเเล้ว เอาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 สส.กำลังใช้อำนาจหน้าที่ในการเเ​ก้ไขรัฐธรรมนูญ เเต่ผู้ยื่นกลับอ้างมาตรา 68 ซึ่งในวรรค 1 ระบุเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นการใ​ช้สิทธิเสรีภาพเเบบที่มีเจตจำนง​ค์ที่จะล้มล้างการปกครอง ยื่นก็อ้างผิดมาตรา ผู้รับก็รับด้วยการอ้างเหตุผลที่ผิดหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไ​ว้เองในวรรค 2 เเถมทั้งผู้ยื่นเเละผู้รับไม่เข้าใจถึงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญขอ​งประชาชนผ่านสมาชิกสภาผู้เเทนรา​ษฎรขั้นที่ 2 รองลงมาจากการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งถ้าเอาจริงๆ ทุกมาตราก็เเตะได้หากเป็นตามเจต​นารมณ์ของประชาชนซึ่งคือองค์รัฏ​ฐาธิปัตย์ในปัจจุบัน เเล้วยังไม่พอตอนนี้มาขู่อีกว่า​หากไม่ทำตามคำสั่งอาจถึงขั้นยุบ​พรรค ทำไมไม่ยุบไปเลยละครับจะได้รู้ว่าเเผ่นดินลุกเป็นไฟมันเป็นอย่า​งไร เสียดายที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรร​มนูญดันยังไม่รู้เลยว่าองค์กรตน​เองได้เคยออกระเบียบไว้ที่ระบุว่าหากศาลรับคำร้องเองโดยที่ไม่ไ​ด้ผ่านอัยการสูงสุดศาลจะต้องมีคำนิจฉัยในขั้นต้นภายใน 3 วัน เเต่ผมก็ไม่เเปลกใจหรอกครับเพรา​ะรอบนี้ผู้พิพากษาได้เเสดงตนเอง​ชัดเจนว่าต้องการเเถ เเต่เถียงยังไงก็เถียงไม่ขึ้นหร​อกครับ เป็นมติของสังคมวิชาการกฏหมายไป​เเล้วว่าคราวนี้ศาลได้ลุเเก่อำน​าจอย่างไม่มีข้อสงสัย รอเขาปิดประชุมสภาเเล้วค่อยยุบพ​รรคเพื่อไทยจะดีกว่าครับ งามกว่าเเล้วเราจะได้มีเวลาเตรี​ยมมวลชนระดับเดียวกับอียิปต์หรื​อลิเบีย ไม่เชื่อรอดู ครับด้วยความเคารพ ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล "

          "P.S. ช่องไหนกล้าเชิญผมไปออกเเล้วเอา​ตุลาการมา 1 คน ผมจะเถียงให้ตกโต๊ะไปเลยรอบนี้ก​ารโต้วาทีเชิงวินิจฉัยมันจบเเล้​ว ศาลผิดเเละศาลเเพ้ กรุณาถอยก่อนประเทศจะพังเเล้วคร​าวนี้พังจริงอย่างกู้ไม่กลับมาเ​หมือนเดิม"
http://redusala.blogspot.com

2555..อยากเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ปชต.สู่ ตุลาการธิปไตย 

2555...อยากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
จากประชาธิปไตย สู่...ตุลาการธิปไตย


โดย มุกดา สุวรรณชาติ 

คอลัมน์ หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว
ในมติชนสุดสัปดาห์ 
ฉบับวันศุกร์ที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2555 
ปีที่ 32 ฉบับที่ 1660 หน้า 20


           หลายท่านคงผิดหวังและอึดอัด และอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากเห็นปฏิกิริยาทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ เมื่อ ทักษิณ ชินวัตร เสนอเรื่องปรองดอง ยอมกระทบกระแทกกับคนเสื้อแดง

           ทันทีที่โดดลงเรือเสื้อแดง ขึ้นบกไปกับรถของ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน

           กลุ่มคนเสื้อแดงและแนวร่วมก็วิจารณ์กันหลายแง่หลายมุม

           แต่พอ พ.ร.บ.ปรองดองเข้าสภา ทั้งสังคมก็ตกใจกับปฏิกิริยาแบบเด็กๆ ของประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ไปอาละวาดแย่งของเล่นในสภาจนวุ่นวายอลเวงไปถึงสองวัน นับว่าได้ทำลายภาพพจน์สภาได้พอควร

           ส่วนปฏิกิริยาของกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองและกลุ่มหลากสีก็ไม่เหนือความคาดหมาย เป็นการระดมกำลังมาตามแผน

           แต่นี่ไม่ใช่แค่แผนล้มปรองดอง หรือล้มการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะสิ่งที่ตามมา คือคำสั่งที่ออกมาจากศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีสมุนรับใช้เผด็จการ คมช. ยื่นคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางศาลรัฐธรรมนูญก็รับไว้พิจารณาและขอให้สภายับยั้งการลงมติวาระ 3 ซึ่งจะต้องมีในวันที่ 5 มิถุนายน

           งานนี้เล่นเอางงไปทั้งวงการ เหมือนกับนักฟุตบอลที่เลี้ยงลูกไปถึงหน้าประตูฝ่ายตรงข้ามกำลังง้างเท้าจะยิง อยู่ๆ ก็มีกรรมการคุมเวลาขอให้หยุดไว้ก่อน โดยไม่มีเสียงนกหวีด

ตุลาการธิปไตย พัฒนาการของตุลาการภิวัฒน์

            วันนี้การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปยับยั้งอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ก็เหมือนการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งได้แบ่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยหลักการไม่ควรมีอำนาจใดอำนาจหนึ่งครอบงำหรือแทรกแซงอำนาจอื่น

            หลังรัฐประหาร 2549 ศาลรัฐธรรมนูญก็ถูกจับตามองและได้มาแสดงบทบาทในการยุบพรรคไทยรักไทย แต่ผู้คนก็ยังลังเลว่าอาจทำตามหลักการ ไม่ได้เป็นเครื่องมือของใคร

            แต่พอมาถึงวันที่ปลดนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ในกรณีทำกับข้าวออกทีวีก็มีเสียงไม่เห็นด้วย อื้ออึงขึ้นมาทั้งเวที และมองว่าน่าจะเป็นการใช้อำนาจแบบตุลาการภิวัฒน์ แต่นับจากปี 2550 อำนาจบริหารระดับนายกฯ ก็ถูกเด็ดไปสองสามรอบ พรรคการเมืองที่เป็นฐานของระบอบประชาธิปไตยก็ถูกยุบ

            วันนี้ถ้าศาลรัฐธรรมนูญสามารถสั่งให้สภาหยุดการทำงานได้ แสดงว่าการปกครองของประเทศไทยกำลังถูกแอบเปลี่ยนระบบไปเป็นตุลาการธิปไตย ซึ่งต้องเรียกว่าการล้มล้างรัฐธรรมนูญ

            แต่การแสดงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีข้อดีคือเป็นการประกาศจุดยืนของศาลรัฐธรรมนูญและเผยบทบาทอย่างชัดเจนว่าทำหน้าที่เพื่อใคร ทั้งยังได้เปิดเผยความต้องการของกลุ่มอำนาจเก่าว่าไม่ต้องการปรองดองและไม่ยอมรับอำนาจของประชาชน

ความเห็นของผู้วิเคราะห์ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า 

           1. สำหรับประชาชน ประเด็นปลีกย่อยที่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวพันกับ อัยการ ศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจในมาตราต่างๆ เป็นรายละเอียดที่พวกเขาไม่อยากรับรู้ แต่วันนี้พวกเขารู้แล้วว่ากำลังจะมีการยึดอำนาจโดยตุลาการภิวัฒน์อีกครั้ง

             ถ้าหากสิ่งนี้เกิดขึ้น การเลือกตั้ง ส.ส. ของคน 30 กว่าล้านก็จะไม่มีความหมาย เพราะเสียงของ ส.ส. ไม่สามารถตัดสินอะไรได้อีกแล้ว

             ขณะนี้มีชาวบ้านหลายคนได้แสดงความเห็นว่าถ้าศาลมีอำนาจมากขนาดนี้ก็ไม่จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งให้เปลืองงบประมาณ

แต่บางกลุ่มคิดว่าถึงเวลาที่ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยและนักกฎหมายจะต้องช่วยยกเครื่องระบบตุลาการได้แล้ว โดยจะเริ่มที่ศาลรัฐธรรมนูญ วันเวลาที่อำนาจตุลาการจะถูกตรวจสอบ คงมาถึงแล้ว

             2. นักการเมืองโดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่างเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ที่อ้างว่าสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยจะยอมให้ตุลาการธิปไตยเติบโตมากกว่านี้หรือไม่ วันนี้แม้ ปชป. จะได้ประโยชน์ แต่วันหน้า อำนาจของนักการเมืองทุกพรรคก็แทบจะไม่เหลือ ถ้า ปชป. ยืนยันที่จะยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญก็ควรยุบพรรคแล้วแยกย้ายกันไปสมัครเป็นตุลาการ

              สำหรับพรรคเพื่อไทยที่ยอมหดหัวนานอยู่ถึง 5 ปี จากการถูกยุบพรรคเละตัดสิทธิการเมือง ถ้าไม่กล้าต่อสู้ในเรื่องนี้ก็ไม่ควรกลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีก

              3. นี่คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมจึงต้องแก้ รัฐธรรมนูญ รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของระบบนิติบัญญัติควรจะจัดการแก้ปัญหานี้ให้เด็ดขาด โดยร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสม กับประเทศไทยและมีบทลงโทษเพื่อจัดการกับกลุ่มที่ฉกฉวยอำนาจไม่ให้ใช้วิธีฉ้อฉลได้อีก

              แต่วันนี้กลุ่มอำนาจเก่าเดินเกมรุกกลับ ฉวยโอกาสลากทักษิณกับ พ.ร.บ.ปรองดอง ไปดึง ไปล้มการแก้รัฐธรรมนูญ และสถาปนาการปกครองแบบตุลาการธิปไตยแบบนิ่มๆ ไม่ต้องมีที่มาจากประชาชน ถ้าไม่มีใครค้าน ก็จะรุกต่อ แต่คงไม่กล้าแก้รัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนสามารถเลือกศาลต่างๆ ได้โดยตรง

              4. ทักษิณคงโดดลงจากรถของพลเอกสนธิวิ่งกลับมาลงเรือเสื้อแดงแล้วถอยห่างออกจากฝั่ง เพราะธงปรองดองที่ชูขึ้นถูกยิงพรุนไปแล้ว และก็ควรคิดออกเสียทีว่าจะสร้างประชาธิปไตยเพื่อประชาชน นั้นต้องทำอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้

               เรื่องกลับบ้านเป็นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เป้าหมาย จนป่านนี้ยังไม่รู้เลยหรือว่ากำลังถูกบันทึกชื่อลงในประวัติศาสตร์ จะให้เขาบันทึกแบบไหน


ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร 
ที่ควรจะนำมาใช้ได้แล้ว

              นักกฎหมายอาวุโสมากๆ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดความวุ่นวายมาตลอด 6 ปี เป็นเพราะไม่มีการใช้กฎหมาย ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ มาจัดการกับพวกกบฏและผู้สนับสนุนอย่างเด็ดขาด ความวุ่นวายจึงยืดเยื้อและขยายมาจนถึงทุกวันนี้
ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร
มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
              มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฏ หรือรู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฏ แล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

              จากประสบการณ์ของท่านเห็นว่าที่ผ่านมาประเทศเราแม้นมีกฎหมายแต่ก็ไม่เคยใช้อย่างจริงจัง คนที่ทำความผิดขนาดโค่นล้มอำนาจที่มาจากประชาชนไม่เคยถูกลงโทษ ชนะก็ได้ประโยชน์ ได้ชื่อเสียง ทุกคนวิ่งมาสยบ มาอาศัยบารมีอำนาจเพื่อเกาะกิน ถ้าหากผู้ทำการรัฐประหารพ่ายแพ้ก็มักจะได้รับการอภัยโทษ

             ดังนั้น การใช้กฎหมายมาตรา 113-114 จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เมื่อมีการรัฐประหาร หรือใช้อำนาจตุลาการภิวัฒน์เพื่อยึดอำนาจ ให้มีคนถูกลงโทษ ติดคุกหรือถูกประหารชีวิตเพียงไม่กี่คน ก็จะไม่มีใครกล้ามาเป็นผู้นำ ตัดสินใจง่ายๆ และโทษแบบนี้ ไม่ควรมีอายุความเนื่องจากผู้ที่ทำการรัฐประหาร สามารถยึดครองอำนาจได้ช่วงเวลาหนึ่ง และยังสามารถถ่ายทอดอำนาจไปให้ผู้สืบทอด ทายาท หรือแนวร่วม

             ดังนั้น การลงโทษคนเหล่านี้ อาจต้องใช้เวลา ส่วนใหญ่แทบทุกประเทศที่ทำได้ จะต้องอยู่ในช่วงที่มีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แล้วย้อนกลับไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด หมายความว่าถ้าอีกสิบปี ถึงจะดำเนินคดีได้ ก็ทำช่วงนั้น ถ้าบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จะสร้างความมั่นคงให้กับระบอบประชาธิปไตย และประเทศชาติ

โอกาสเกิด... ปรองดอง, รัฐประหาร, สงคราม

               ความเห็นของผู้วิเคราะห์ ณ สถานการณ์ปัจจุบันเรื่องปรองดอง ดูจากเกมในสภาและนอกสภา ในศาล ทีมวิเคราะห์ ฟันธงว่าแม้จะมีการแสดงการปรองดองอีกหลายครั้ง แต่การปรองดองอย่างแท้จริงจะทำไม่สำเร็จ จะต้องมีฝ่ายแพ้ไปข้างหนึ่ง
ถ้าเป็นการแพ้กลางกระดานโดยที่ประชาชนเลือกฝ่ายหนึ่งให้ชนะอย่างท่วมท้นและฝ่ายที่พ่ายแพ้ยอมรับ เรื่องจะจบแบบไม่ยาก

               แต่ดูแล้วกลุ่มอำนาจเก่าดิ้นรน ไม่ยอมลงจากอำนาจ ไม่ยอมจำนน ไม่ยอมให้ถูกลงโทษ และจะใช้ตุลาการธิปไตยหรือ วิธีรัฐประหาร เข้าตอบโต้ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการปะทะกันด้วยกำลัง

              ความเห็นเรื่องรัฐประหาร ทีมวิเคราะห์ประเมินว่าการรัฐประหารไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ตราบที่อีกฝ่ายประกาศพร้อมสู้ จะเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ พยายามหลีกเลี่ยงโดยการมองข้ามความผิดของผู้ถืออาวุธ มุ่งเป้าไปเฉพาะนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่จะให้รับผิดชอบ เพราะไม่อยากปะทะกับทหารและไม่อยากถูกรัฐประหาร

             ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า หมดความอดทน ไม่สนใจว่าจะเกิดรัฐประหารหรือไม่ ไม่กลัวและไม่เกรงใจตุลาการภิวัฒน์ อีกแล้ว และคิดว่าสามารถสู้ได้ด้วยกำลังมวลชน   

             ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงประกาศเตรียมพร้อมต่อต้านอย่างเต็มที่โดยไม่ได้ใช้ท่าทีป้องกันหรือตั้งรับ แต่เป็นการท้ารบแบบ กูไม่กลัวมึง ตัวอย่างการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 พวกนักศึกษาไม่กี่พันคน ประกาศพร้อมสู้ แต่พวกรัฐประหารไม่สนใจ ยึดอำนาจแล้วฆ่า ผลก็คือเกิดสงครามกองโจร ทั้งประเทศ นาน 5 ปี นับศพแทบไม่ทัน


             ดังนั้น ถ้ามีคนพร้อมสู้จำนวนมาก ก็ไม่มีใครอยากทำ ถ้าพลาดคงถึงตายและต้องคำนึงถึงครอบครัว


จะเกิดสงครามหรือไม่?

             ถ้ามีคนเสียชีวิต จากการต่อสู้กับการยึดอำนาจ ไม่ว่าแบบไหนเหตุการณ์ขยายแน่นอน และจะมีคนจำนวนหนึ่ง ไม่อหิงสา ไม่สู้ด้วยมือเปล่า แถมยังด่าแกนนำว่าโง่ ไม่ยอมให้นำไปตายฟรีอีกแล้ว

             ดังนั้น โอกาสของสงครามจะเกิดขึ้นหลังการยึดอำนาจ เพราะการหาอาวุธไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ราคาตลาดของปืนอัตโนมัติ ถ้าซื้อจำนวนมาก ไม่น่าเกิน 200-300 US$ ต่อหนึ่งกระบอก แต่ความสูญเสียจากสงครามจะเกิดขึ้นมากมาย

              เมื่อการปะทะจบลง จะมีการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง และอาจมีการฆ่ากันตามหลัง ชนิดที่เรียกว่าการกวาดล้างครั้งใหญ่ ใครหนีทันก็รอด ใครหนีไม่ทันก็ตาย คนในครอบครัวจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้อนาคต

             คนที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้ อาจจะส่งเสียงเฮด้วยความมัน แต่ความขัดแย้งแบบนี้สามารถขยายตัว ฝังความเกลียดชัง ความโกรธแค้นอย่างล้ำลึกและมาระบายออกที่ปลายกระบอกปืนกับคมดาบ

             ยิ่งถ้าควบคุมกันไม่ได้และมีกลุ่มติดอาวุธมากมาย ความสูญเสียจะตามมาอย่างมหาศาล ถ้าจบแบบลิเบียต้องถือว่าจบเร็ว ถ้ายืดเยื้อแบบซีเรีย ความสูญเสียก็จะมากยิ่งขึ้น ถ้าผสมแบบอิรักเข้าไปก็จะเดือดร้อนยาวนานไม่รู้จบ

             ถ้าปล่อยให้ความขัดแย้งวันนี้ข้ามการปรองดอง ข้ามการใช้กฎหมาย ไม่ยอมรับสภา ไม่ไว้ใจศาล ก็จะต้องลงเอยที่กำลังคนและอาวุธ

              ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง เริ่มจากการรัฐประหาร 2549 จนถึงวันนี้ 2555 ก็ยังทำไม่สำเร็จ เพราะสิ่งที่อยากทำเป็นการเดินถอยหลัง เมื่อเจอพื้นที่ขรุขระ ก็ต้องหกล้ม ถ้าไม่เลิกล้มความคิดคนจะตายเพิ่ม และจะพ่ายแพ้ย่อยยับ

               วันวิสาขบูชาปีนี้ ได้มีโอกาสขึ้นเขาสูงไปเวียนเทียน และคิดถึงหลักธรรม สัจธรรมเมื่ออดีต 2600 ปี หรือวันนี้ 2,600 ปี ยังคงเป็นความจริง และพร้อมจะปรากฏให้เราเห็นเสมอ

ถึงวันนี้จึงได้เข้าใจว่า หลวงพ่อ ฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เห็นอะไร และทำไมจึงต้องเขียนคำทำนายไว้เตือนล่วงหน้าถึง 40 ปี เพราะภาพอนาคตนั้นน่ากลัว

              น่ากลัวกว่าน้ำที่ท่วมมิดหลังคาในคำทำนายมากนัก 
http://redusala.blogspot.com

รัฐสภา กับ ศาล โปรด “ถอยคนละก้าว”
รัฐสภา กับ ศาล โปรด “ถอยคนละก้าว”
Posted: 08 Jun 2012 04:36 AM PDT (อ้างอิงจาก เวบไซท์ประชาไท)
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์  นักกฎหมายอิสระ http://www.facebook.com/verapat    

            บทความโดย “วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ” เสนอแนะ "ทางออก" ของปัญหาความขัดแย้งระหว่าง รัฐสภา และ ศาล รธน. ทำได้ไม่ง่าย  แต่หากเราจะช่วยกันทำจริง และจริงใจ

            ผู้เขียนขอย้ำ หลักกฎหมาย” ว่า สิ่งที่ ศาลรัฐธรรมนูญ” เรียกชื่อว่า คำสั่ง” ให้ “รัฐสภา” รอการพิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 นั้น เป็นสิ่งที่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ “ไม่อาจมีผลผูกพันต่อรัฐสภา” ได้ (คำอธิบายดูที่http://on.fb.me/NkNvdE ) ซึ่งบัดนี้สมาชิกเสียงข้างมากในสภา ก็ดูจะเห็นไปในทางนั้น

            ประเด็นที่สำคัญกว่านั้น คือ เราจะยึด หลักกฎหมาย” ที่ว่านี้อย่างไรให้นำไปสู่ ผลทางการเมือง ที่น่าปรารถนา ?

            “รัฐสภา” พึงระวังว่า หากเสียงข้างมากเร่งเดินหน้า “ปฏิเสธ ศาลทันทีทันใดอย่างย่ามใจ ก็อาจทำให้ ผู้ไม่หวังดี ฉกฉวยโอกาสทางการเมืองมาทำลายประชาธิปไตย ตลอดจนชักนำมวลชนไปสู่ความรุนแรงในที่สุด

            “ศาล” ก็พึงระวังว่า ฐานแห่งอำนาจตุลาการ คือ ความชอบธรรมและเหตุผลแห่งการใช้อำนาจตามกรอบแห่งกฎหมาย หากศาลย่ามใจจนใช้อำนาจเกินเลยให้เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ศาลก็จะกลายเป็นผู้ทำลายฐานอำนาจของตนในที่สุด

             เมื่อเป้าหมายสูงสุดของกฎหมาย คือ ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองและความมั่นคงของประชาธิปไตย ผู้เขียนจึงขอเสนอให้ “รัฐสภา” และ “ศาล” โปรด ถอยคนละก้าว” และนำ หลักกฎหมาย” มาผสานเข้ากับ ความแยบยลทางการเมือง เพื่อหาทางออกร่วมกัน ตาม ข้อเสนอ 7 ลำดับขั้น ดังต่อไปนี้

             ขั้นที่ 1. รัฐสภาไม่ควรเร่งเดินหน้าลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในทันที แต่ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายและแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ว่า รัฐสภาควรปฎิบัติตาม ข้อเสนอ 7 ลำดับขั้น ฉบับนี้ (หรือข้อเสนออื่นๆหรือไม่ โดยการรอนั้น มิต้องถือเป็นการปฏิบัติตาม คำสั่ง ที่ว่าหรือไม่ แต่เป็นการตัดสินใจของรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสหารือเท่านั้น

             ขั้นที่ 2. สมาชิกรัฐสภาควรร่วมประกาศคำสัตย์ต่อปวงชนว่า เมื่อใดที่การแก้ไข มาตรา 291 ได้เสร็จสิ้นจนเกิดบทบัญญัติหมวดใหม่ คือ หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เรียบร้อยแล้ว สมาชิกรัฐสภาจะร่วมกันแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้ง เพื่อเพิ่มข้อความให้ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้มีโอกาสตรวจสอบ “ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ยกร่างโดย ส.ส.ร. ว่า มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ หรือเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ หรือไม่

             ขั้นที่ 3. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ควรสำนึกในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะองค์กรตามรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยอำนาจตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 244 (1)() และ มาตรา 244 (3) ประกอบกับมาตรา 244 วรรคสอง ทำการพิจารณาสอบสวนและจัดทำ ข้อเสนอแนะ” อย่างเร่งด่วนว่าเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” หรือแม้แต่ ประธานรัฐสภา” ควรปฏิบัติต่อสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกว่า คำสั่ง หรือไม่ ดังนี้:

             “ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกว่า คำสั่ง นั้น แท้จริงแล้วก็คือ คำขอ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ซึ่งย่อมไม่มีข้อกำหนดหรือวิธีพิจารณาข้อใดที่จะมาขัดหรือแย้งได้ ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงเสนอแนะว่า เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” หรือแม้แต่ ประธานรัฐสภา ย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าจะสามารถปฏิบัติตาม คำขอ” ดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ การใช้ดุลพินิจดังกล่าวย่อมไม่ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย    

              ขั้นที่ 4. หาก รัฐสภา มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกว่า คำสั่ง นั้น ก็คือ คำขอ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213  และเมื่อพิจารณาความเห็นของ อัยการสูงสุด” ที่พบว่าคำร้องที่เกี่ยวข้องนั้นปราศจากมูลการกระทำตามมาตรา 68 แล้วไซร้   รัฐสภา  ย่อมชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ปฏิบัติตาม คำขอ” ของศาลดังกล่าว และ ศาลรัฐธรรมนูญ” ก็ย่อมพึงตระหนักใน การถ่วงดุลอำนาจโดยสภาพระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ” อีกทั้งพิจารณาถึง คำสัตย์ของสมาชิกรัฐสภา (ตามข้อเสนอลำดับขั้นที่ 2 ข้างต้น) เพื่อสามารถพิจารณาได้ว่า สิ่งที่ตนเรียกว่า คำสั่ง นั้น ก็คือ คำขอ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213  เช่นกัน

              ขั้นที่ 5. หาก การถ่วงดุลอำนาจโดยสภาพระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ” เกิดขึ้นได้เช่นนี้  รัฐสภา ย่อมชอบที่จะเดินหน้าลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 ต่อไป และเมื่อพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ” ก็ย่อมชอบที่จะใช้อำนาจตาม ข้อ 23 แห่งข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ เพื่อ จำหน่ายคำร้อง ด้วยเหตุว่าประเด็นหรือวัตถุแห่งการพิจารณาตาม มาตรา 68 ได้สิ้นสุดไปแล้ว (ไม่ว่าการกระทำที่กล่าวอ้างจะเข้ากรณี มาตรา 68 หรือไม่)

              ขั้นที่ 6. ทันทีที่ รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม” มีผลบังคับใช้ สมาชิกรัฐสภาต้องรักษาคำสัตย์ โดยดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีกครั้งเฉพาะในส่วนที่เพิ่มให้ ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้มีโอกาสตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญที่ ส.ส.ร. จะได้ยกร่าง (เฉพาะประเด็นตามข้อเสนอลำดับขั้นที่ 2.) ทั้งนี้โดยไม่เป็นการกระทบต่อกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง
              ขั้นที่ 7. จากนั้นทุกฝ่ายควรร่วมกันเดินหน้าจรรโลง กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งพึงได้รับ การตรวจสอบถ่วงดุลโดยปวงชนชาวไทย” อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะโดยกระบวนการขั้นตอนเลือกตั้ง ส.ส.ร. ไปจนถึงการเคารพ วิจารณญาณทางประชาธิปไตย” ของปวงชนผู้ไปลงประชามติเพื่อแสดงเจตจำนงกำหนดอนาคตของตนเองในท้ายที่สุด

--------------------------------------------------------------
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำแถลงโดยอัยการสูงสุด
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 
นักกฎหมายอิสระ 
http://www.facebook.com/verapat         

         เมื่อผมได้ฟังคำแถลงของอัยการสูงสุดเสร็จแล้ว รู้สึกเสียดายว่า แทนที่จะสามารถชมเชยอัยการฯได้เต็มปาก กลับต้องบอกว่าอัยการฯ อาจกำลังใช้อำนาจหน้าที่เกินกรอบตามรัฐธรรมนูญ จนคำแถลงของอัยการฯ ฟังประหนึ่งคล้ายคำวินิจฉัยของศาล

         จริงอยู่ว่าอัยการฯ ท่านอ้างกฎหมายได้น่าคล้อยตามหลายข้อ และพยายามแถลงรายละเอียดเพื่อไม่ให้สังคมเคลือบแคลง โดยแม้อัยการฯ จะบอกว่าดูเรื่อง "มูล" ของการกระทำเท่านั้น และไม่ได้วินิจฉัยแทนศาลก็ตาม แต่ท้ายที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นจากการแถลงดังกล่าว ก็คือ อัยการฯได้ใช้อำนาจเกินเลยถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1 โดยอัยการฯ กำลังสร้างบรรทัดฐานว่า ต่อไปนี้ "การใช้อำนาจหน้าที่" ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา สามารถถูกตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงโดย "อัยการสูงสุด" ตาม มาตรา 68 ได้

          ซึ่งผมต้องย้ำให้ชัดว่า ผมไม่เห็นด้วย และก็สังหรณ์ไว้แล้วว่า อัยการฯอาจพลาดท่า ผมเขียนไว้ในบทความฉบับนี้ตั้งแต่เรื่องนี้ยังไม่เป็นประเด็น ( http://on.fb.me/LpqdCF )
          สิ่งที่ถูกต้องคือ อัยการฯท่านต้องแถลงให้ชัดว่า คำร้องทั้งหลายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอมานั้น ล้วนเป็นเรื่อง "การใช้อำนาจหน้าที่" จึงย่อมไม่ใช่ "การใช้สิทธิเสรีภาพ" ตาม มาตรา 68 วรรค 1 ดังนั้น อัยการฯ จึงไม่สามารถไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่  (หากพบว่ามีมูลเป็น "การใช้สิทธิเสรีภาพ" ก็ค่อยตรวจสอบมูลในส่วนอื่นต่อไป)

          หากอัยการฯไม่ "กรอง" คดีโดยแยกแยะการกระทำที่เป็นหรือไม่เป็น "การใช้สิทธิเสรีภาพ" เสียก่อน แต่กลับเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดของเรื่องที่เสนอมา อัยการฯก็กำลังสร้างบรรทัดฐานที่เพิ่มภาระให้อัยการฯต้องทำการตรวจสอบเรื่องทุกเรื่องที่มีใครเสนอมา ซึ่งสิ้นเปลืองทั้งเวลา งบประมาณแผ่นดิน และอาจไปสร้างภาระให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ต้องมาชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย

           หากคำแถลงเป็นเช่นนี้ ต่อไปหากอัยการสูงสุดท่านไหนใจใหญ่ ก็อาจยื่นคำร้องอีกสารพัดเรื่องต่อศาลได้ เพราะไม่ว่าจะเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” หรือ “การใช้อำนาจหน้าที่” ก็ดูประหนึ่งจะตรวจสอบได้ทั้งหมด

ข้อมูลที่มา เวบไซท์ประชาไท  http://www.prachatai.com
http://redusala.blogspot.com

สงครามไม่มีคำว่าเมตตา
บทความพิเศษโดย : นายฉลาด ยามา ทนายความ
ฉบับพิเศษแจ้งการรัฐประหาร ประจำเดือนมิถุนายน 2555
เร็วกว่าที่คาดหมายเผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย

              บทความนี้เกี่ยวเนื่องต่อจากบทความพิเศษวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นบทความประจำเดือนมิถุนายน 2555

           ในบทความพิเศษฉบับดังกล่าว ได้วิเคราะห์การเมืองของประเทศไทย ตลอดเวลาผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนานที่ประชาชนได้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยตลอด ซึ่งแบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนการรอคอยต้องใช้เวลาเกือบ 60 ปีหรือมากกว่า ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ขัดขวางหรือทำลายระบอบประชาธิปไตย ตัวตนของผู้อยู่เบื้องหลังนี้ไม่มีใครทราบ เพราะไม่เห็นตัวตนศัตรูว่าคือใคร

           ในขั้นตอนปัจจุบัน คือการอยู่ในขั้นตอนการยัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ประชาชนได้มองเห็นตัวตนของศัตรูชัดแจ้งแดงแจ๋ว่าใครที่เป็นผู้ทำลาย และขัดขวางไม่ยอมให้ประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หลายครั้งหลายคราวที่ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค และนำพาประเทศชาติมีเศรษฐกิจดีขึ้น ศัตรูคนนี้ก็จะล้มอำนาจที่ประชาชนชนได้รับอย่างน้อยนิดเสียโอกาสครั้งแล้วครั้งเล่า โดยวิธีการรัฐประหารด้วยนำกำลังของกองทัพหรือโดยการใช้อำนาจตุลาการจัดการล้มระบอบประชาธิปไตยทุกครั้งไป หรือแม้ในครั้งใดที่ศัตรูคนนี้ไม่พอใจ ก็จะทำลายระบอบประชาธิปไตยทันทีตามวิธีการดังกล่าวแล้ว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายใดๆที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับโอกาสของตนเองให้เจริญก้าวหน้าทั้งในปัจจุบันและอนาคตของพวกเขาแต่กับเป็นการฉุดรั้งปิดกั้นโอกาสและทำลายชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคตของประชาชน ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ตกอยู่ในสภาพความยากจนและถูกกดขี่ขูดรีดมาโดยตลอด ไร้แสงสว่างที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากความทุกข์ยากและความยากจนและถูกกดขี่ขูดรีดตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

           โดยเฉพาะเมื่อประชาชนได้พรรคการเมืองคือ “พรรคไทยรักไทย” เป็นรัฐบาลมีนโยบายให้โอกาสแก่ประชาชนพร้อมนำนโยบายมาปฏิบัติทำให้ประชาชนเริ่มจะลืมตาอ้าปากได้และเริ่มมองเห็นอนาคตอันสดใสว่าจะหลุดพ้นจากความยากจน  แต่กับถูกศัตรูตัวร้ายตนนี้สั่งการให้กองทัพทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากเกือบทั้งประเทศ กรอบกับการใช้กระบวนการยุติธรรมทำลายล้างคณะรัฐบาลพรรคไทยรักไทยทุกวิถีทางจนเกิดวาทะกรรมสองมาตรฐานทั่วทั้งแผ่นดิน แต่ศัตรูประชาธิปไตยก็หาสำนึกคงปล่อยและเพิ่มความอยุติธรรมจนแผ่กระจายไปทั่วในกลุ่มประชาชนจำนวนมากของประเทศถึงปัจจุบันความอยุติธรรมยังคงดำรงอยู่และคงจะดำรงตลอดไป จนกว่าประชาชนจะร่วมกันทำลายศัตรูระบอบประชาธิปไตยให้สิ้นซากจากแผ่นดิน แต่การทำลายประชาธิปไตยของศัตรูนี้ มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มได้รับอานิสงส์จากการทำลายประชาธิปไตยด้วยการกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับผิด แม้การกระทำความผิดเป็นความผิดที่มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต ซึ่งประชาชนไม่เพียงในประเทศเท่านั้น รวมทั้งโลกก็เห็นข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึงและชัดแจ้ง แต่คนพวกนี้ก็ได้รับการคุ้มครองจากศัตรูที่ประชาชนได้เห็นตัวตนแล้วนี้  โดยมิได้ อับอายแก่ใคร ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศก็ไม่อยู่ในจิตสำนึก หรือมโนสำนึกหรือสะดุ้งสะเทือนต่อสายตาของคนทั้งโลกแต่ประการใด

            เหตุการณ์ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีมาโดยตลอดในระยะเวลาอันยาวนาน จวบจนกระทั่งการรัฐประหารครั้งสุดท้ายเมื่อ 19 กันยายน 2549 ประชาชนจึงลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูของระบอบประชาธิปไตย ได้ถูกทำร้ายจากกองกำลังของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ถึงแก่ ชีวิต ร่างกาย และสูญเสียสิทธิเสรีภาพ เป็นจำนวนมาก แต่ประชาชนก็ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจตามอำเภอใจของศัตรูคงต่อสู้ต่อไป เพราะประชาชนรู้แล้วว่าศัตรูที่แท้จริงเป็นใคร

           ครั้นมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประชาชนเป็นฝ่ายชนะ โดยเลือกตัวแทนของพวกเขาเป็นเสียงข้างมากและได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ แต่อำนาจรัฐที่รัฐบาลของประชาชนมีก็ไม่สามารถบริหารดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  ถูกขัดขวางจากศัตรูนี้มิให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำในอัตราส่วนมากกว่า 75 % และล่าสุดการรัฐประหารได้เริ่ม เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้สภาผู้แทนราษฎรชะลอการลงมติวาระ 3 ซึ่งกำหนดในวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ทั้งที่คำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรชะลอการลงมติได้ เพราะไม่มีกฎหมายอะไรให้อำนาจรับรองคำสั่ง เช่น ที่กล่าวมาแล้วได้ แต่ไปอ้างกฎหมายตามอำเภอใจของพวกตนเอง ออกคำสั่งให้สภาฯชะลอการลงมติวาระ 3 นี่คือผลจากคำสั่งของศัตรูที่สั่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อยุบพรรคเพื่อไทยและสั่งปลดคณะรัฐมนตรี เรียกว่าเป็นการปฏิวัติโดยใช้กลไกทางตุลาการนั่นเอง

           จากการลำดับเหตุการณ์มาทั้งหมด จึงทำให้การต่อสู้ของประชาชนที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นแก่ประเทศนี้ จึงถูกผลักด้วยศัตรูที่ร้ายกาจคนนี้ ทำให้ประชาชนก้าวเดินเข้าสู้ขั้นตอนการรุกทันทีคือเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี และจะลุกต่อไปและจะยกระดับการต่อสู้ไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ ซึ่งขั้นตอนรุกนี้เดิมคาดการณ์ว่าจะใช้เวลา 1-2 ปี  แต่การคาดการณ์เดิมที่กำหนดไว้ก็คงจะต้องเปลี่ยนเป็นเวลาคงไม่เกิน 1 ปีแน่นอน ด้วยพลังอันมหาศาลของมวลมหาประชาชน และวันนั้นคือใน เร็วๆนี้ประเทศของเราก็จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  ตามบทกลอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ต.ท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี  ในบาทสุดท้ายว่า “จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว        ควงคทาจากดวงดาวสร้างความหวัง




              จากบทกลอนตามที่นำเสนอนี้เผด็จการ (ศัตรูตัวจริง)  คงสำนึกอะไรไม่ได้ แต่สุดท้ายจะจบลงโดยเผด็จการ (ศัตรูตัวจริง)  จะสูญสลายไปจากประเทศภายในปีนี้หรืออย่างช้าสุดต้นปีหน้า  มวลมหาประชาชนเตรียมจัดงานฉลองชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ เป็นประวัติศาสตร์ที่ประชาชนของประเทศไทยได้ทำลายศัตรูของระบอบประชาธิปไตยให้สูญสลายสิ้นซากจากประเทศของเราได้สำเร็จอย่างแท้จริงครับ

*หมายเหตุ
    ยุทธวิธีและยุทธศาสตร์การต่อสู้


    1. ขั้นตอนรอ  พวกเราได้ผ่านพ้นมาแล้ว
    2. ขั้นตอนรับ  วันนี้ก็ผ่านพ้น เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชะลอการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3
    3. ขั้นตอนรุก

            ขั้นตอนนี้มีองค์ประกอบอันสำคัญคือ ผลึกกำลังกลุ่มเสื้อแดงทั้งคนที่เปลี่ยนไป และคนที่เปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งประชาชนที่มีอุดมการณ์ต่อระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือมี 5 แนวรบ 1 เป้าหมายดังนี้

            3.1 ต่อสู้โดยสันติวิธี เช่นการประท้วงในเรื่องต่างๆที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อต้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้สภาฯชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 หรือมีคำสั่งคำพิพากษาเรื่องที่ไม่ชอบตามหลักนิติธรรม และเรื่องอื่นๆอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในการประท้วงทุกเรื่องต้องชอบด้วยกฎหมาย อย่ากระทำเลวๆเช่นที่เกิดในสภาผู้แทนฯโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราสูญเสียมวลชนและแนวร่วม และผลักดันให้สภาฯ รับข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เข้าสู่วาระการประชุมของสภาฯโดยทันที

            3.2  การสื่อสาร จะต้องเร่งกระทำด้วยการไม่ทิ้งระยะห่างมากเกินไป หรือจะต้องไม่เว้นระยะเลยก็จะเกิดประโยชน์กับฝ่ายต่อสู้ เพื่อระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้แนวร่วมของสื่อ เช่นหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และในโลกไซเบอร์ทุกชนิด

            3.3 การต่างประเทศ การประสานงานไปยังต่างประเทศ นำเสนอความอยุติธรรมในทุกกรณีที่เกิดในประเทศให้กับองค์กรต่างๆในทุกประเทศทั่วโลกด้วยความถี่จากรายงานการนำเสนอ โดยไม่ต้องเว้นระยะ

            3.4 ทางรัฐสภาโดยเฉพาะสภาหรือรัฐสภา ต้องไม่ยอมรับอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องยอมรับพิจารณาร่างพรบ.ของประชาชนเสนอตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญโดยรีบด่วน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องร่วมกันผลักดันให้สภาหรือรัฐสภาพิจารณา ฯลฯ

            3.5 การใช้ความเด็ดขาดคือ..................???

            1 เป้าหมาย หมายถึง แดงทุกกลุ่มจะเป็นกลุ่มคนที่เปลี่ยนไปและกลุ่มคนที่ไม่เปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งประชาชนผู้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย จะต้องร่วมกันโค่นล้มศัตรูที่พวกเราทราบแล้วว่าคือใคร และเปลี่ยนประเทศให้เป็น “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์” โดยปราศจากศัตรูโดยสิ้นเชิงคือ ทำให้ศัตรูสิ้นซาก จะเหลือแม้เชื้อเท่าเม็ดทรายก็ทำลายให้หมดสิ้น จึงจะทำให้พวกเราลูก หลาน เหลน ประชาชนตลอดไปชั่วกาลนานแสนนานจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างถาวร

             “ขอเตือนสติ สำหรับพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร คือ สงครามไม่มีคำว่าเมตตา”
http://redusala.blogspot.com

เร็วกว่าที่คาดหมายเผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย
บทความพิเศษโดย : นายฉลาด  ยามา  ทนายความ
ฉบับพิเศษแจ้งการรัฐประหาร ประจำเดือนมิถุนายน 2555

เร็วกว่าที่คาดหมายเผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย


           บทความนี้เกี่ยวเนื่องต่อจากบทความพิเศษวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นบทความประจำเดือนมิถุนายน 2555

          
         ในบทความพิเศษฉบับดังกล่าว ได้วิเคราะห์การเมืองของประเทศไทย ตลอดเวลาผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนานที่ประชาชนได้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยตลอด ซึ่งแบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนการรอคอยต้องใช้เวลาเกือบ 60 ปีหรือมากกว่า ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ขัดขวางหรือทำลายระบอบประชาธิปไตย ตัวตนของผู้อยู่เบื้องหลังนี้ไม่มีใครทราบ เพราะไม่เห็นตัวตนศัตรูว่าคือใคร

          
ในขั้นตอนปัจจุบัน คือการอยู่ในขั้นตอนการยัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ประชาชนได้มองเห็นตัวตนของศัตรูชัดแจ้งแดงแจ๋ว่าใครที่เป็นผู้ทำลาย และขัดขวางไม่ยอมให้ประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หลายครั้งหลายคราวที่ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค และนำพาประเทศชาติมีเศรษฐกิจดีขึ้น ศัตรูคนนี้ก็จะล้มอำนาจที่ประชาชนชนได้รับอย่างน้อยนิดเสียโอกาสครั้งแล้วครั้งเล่า โดยวิธีการรัฐประหารด้วยนำกำลังของกองทัพหรือโดยการใช้อำนาจตุลาการจัดการล้มระบอบประชาธิปไตยทุกครั้งไป หรือแม้ในครั้งใดที่ศัตรูคนนี้ไม่พอใจ ก็จะทำลายระบอบประชาธิปไตยทันทีตามวิธีการดังกล่าวแล้ว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายใดๆที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับโอกาสของตนเองให้เจริญก้าวหน้าทั้งในปัจจุบันและอนาคตของพวกเขาแต่กับเป็นการฉุดรั้งปิดกั้นโอกาสและทำลายชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคตของประชาชน ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ตกอยู่ในสภาพความยากจนและถูกกดขี่ขูดรีดมาโดยตลอด ไร้แสงสว่างที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากความทุกข์ยากและความยากจนและถูกกดขี่ขูดรีดตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

          
โดยเฉพาะเมื่อประชาชนได้พรรคการเมืองคือ “พรรคไทยรักไทย” เป็นรัฐบาลมีนโยบายให้โอกาสแก่ประชาชนพร้อมนำนโยบายมาปฏิบัติทำให้ประชาชนเริ่มจะลืมตาอ้าปากได้และเริ่มมองเห็นอนาคตอันสดใสว่าจะหลุดพ้นจากความยากจน  แต่กับถูกศัตรูตัวร้ายตนนี้สั่งการให้กองทัพทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากเกือบทั้งประเทศ กรอบกับการใช้กระบวนการยุติธรรมทำลายล้างคณะรัฐบาลพรรคไทยรักไทยทุกวิถีทางจนเกิดวาทะกรรมสองมาตรฐานทั่วทั้งแผ่นดิน แต่ศัตรูประชาธิปไตยก็หาสำนึกคงปล่อยและเพิ่มความอยุติธรรมจนแผ่กระจายไปทั่วในกลุ่มประชาชนจำนวนมากของประเทศถึงปัจจุบันความอยุติธรรมยังคงดำรงอยู่และคงจะดำรงตลอดไป จนกว่าประชาชนจะร่วมกันทำลายศัตรูระบอบประชาธิปไตยให้สิ้นซากจากแผ่นดิน แต่การทำลายประชาธิปไตยของศัตรูนี้ มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มได้รับอานิสงส์จากการทำลายประชาธิปไตยด้วยการกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับผิด แม้การกระทำความผิดเป็นความผิดที่มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต ซึ่งประชาชนไม่เพียงในประเทศเท่านั้น รวมทั้งโลกก็เห็นข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึงและชัดแจ้ง แต่คนพวกนี้ก็ได้รับการคุ้มครองจากศัตรูที่ประชาชนได้เห็นตัวตนแล้วนี้  โดยมิได้ อับอายแก่ใคร ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศก็ไม่อยู่ในจิตสำนึก หรือมโนสำนึกหรือสะดุ้งสะเทือนต่อสายตาของคนทั้งโลกแต่ประการใด

           
เหตุการณ์ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีมาโดยตลอดในระยะเวลาอันยาวนาน จวบจนกระทั่งการรัฐประหารครั้งสุดท้ายเมื่อ 19 กันยายน 2549 ประชาชนจึงลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูของระบอบประชาธิปไตย ได้ถูกทำร้ายจากกองกำลังของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ถึงแก่ ชีวิต ร่างกาย และสูญเสียสิทธิเสรีภาพ เป็นจำนวนมาก แต่ประชาชนก็ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจตามอำเภอใจของศัตรูคงต่อสู้ต่อไป เพราะประชาชนรู้แล้วว่าศัตรูที่แท้จริงเป็นใคร

          
ครั้นมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประชาชนเป็นฝ่ายชนะ โดยเลือกตัวแทนของพวกเขาเป็นเสียงข้างมากและได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ แต่อำนาจรัฐที่รัฐบาลของประชาชนมีก็ไม่สามารถบริหารดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  ถูกขัดขวางจากศัตรูนี้มิให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำในอัตราส่วนมากกว่า 75 % และล่าสุดการรัฐประหารได้เริ่ม เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้สภาผู้แทนราษฎรชะลอการลงมติวาระ 3 ซึ่งกำหนดในวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ทั้งที่คำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรชะลอการลงมติได้ เพราะไม่มีกฎหมายอะไรให้อำนาจรับรองคำสั่ง เช่น ที่กล่าวมาแล้วได้ แต่ไปอ้างกฎหมายตามอำเภอใจของพวกตนเอง ออกคำสั่งให้สภาฯชะลอการลงมติวาระ 3 นี่คือผลจากคำสั่งของศัตรูที่สั่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อยุบพรรคเพื่อไทยและสั่งปลดคณะรัฐมนตรี เรียกว่าเป็นการปฏิวัติโดยใช้กลไกทางตุลาการนั่นเอง

          
จากการลำดับเหตุการณ์มาทั้งหมด จึงทำให้การต่อสู้ของประชาชนที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นแก่ประเทศนี้ จึงถูกผลักด้วยศัตรูที่ร้ายกาจคนนี้ ทำให้ประชาชนก้าวเดินเข้าสู้ขั้นตอนการรุกทันทีคือเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี และจะลุกต่อไปและจะยกระดับการต่อสู้ไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ ซึ่งขั้นตอนรุกนี้เดิมคาดการณ์ว่าจะใช้เวลา 1-2 ปี  แต่การคาดการณ์เดิมที่กำหนดไว้ก็คงจะต้องเปลี่ยนเป็นเวลาคงไม่เกิน 1 ปีแน่นอน ด้วยพลังอันมหาศาลของมวลมหาประชาชน และวันนั้นคือใน เร็วๆนี้ประเทศของเราก็จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  ตามบทกลอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ต.ท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี  ในบาทสุดท้ายว่า “จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว        ควงคทาจากดวงดาวสร้างความหวัง


              จากบทกลอนตามที่นำเสนอนี้เผด็จการ (ศัตรูตัวจริง)  คงสำนึกอะไรไม่ได้ แต่สุดท้ายจะจบลงโดยเผด็จการ (ศัตรูตัวจริง)  จะสูญสลายไปจากประเทศภายในปีนี้หรืออย่างช้าสุดต้นปีหน้า  มวลมหาประชาชนเตรียมจัดงานฉลองชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ เป็นประวัติศาสตร์ที่ประชาชนของประเทศไทยได้ทำลายศัตรูของระบอบประชาธิปไตยให้สูญสลายสิ้นซากจากประเทศของเราได้สำเร็จอย่างแท้จริงครับ



*หมายเหตุ

   
ยุทธวิธีและยุทธศาสตร์การต่อสู้



   
1. ขั้นตอนรอ  พวกเราได้ผ่านพ้นมาแล้ว

   
2. ขั้นตอนรับ  วันนี้ก็ผ่านพ้น เมื่อวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชะลอการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3

   
3. ขั้นตอนรุก

            ขั้นตอนนี้มีองค์ประกอบอันสำคัญคือ ผลึกกำลังกลุ่มเสื้อแดงทั้งคนที่เปลี่ยนไป และคนที่เปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งประชาชนที่มีอุดมการณ์ต่อระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือมี 5 แนวรบ 1 เป้าหมายดังนี้

           
3.1 ต่อสู้โดยสันติวิธี เช่นการประท้วงในเรื่องต่างๆที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อต้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้สภาฯชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 หรือมีคำสั่งคำพิพากษาเรื่องที่ไม่ชอบตามหลักนิติธรรม และเรื่องอื่นๆอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในการประท้วงทุกเรื่องต้องชอบด้วยกฎหมาย อย่ากระทำเลวๆเช่นที่เกิดในสภาผู้แทนฯโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราสูญเสียมวลชนและแนวร่วม และผลักดันให้สภาฯ รับข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เข้าสู่วาระการประชุมของสภาฯโดยทันที

           
3.2  การสื่อสาร จะต้องเร่งกระทำด้วยการไม่ทิ้งระยะห่างมากเกินไป หรือจะต้องไม่เว้นระยะเลยก็จะเกิดประโยชน์กับฝ่ายต่อสู้ เพื่อระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้แนวร่วมของสื่อ เช่นหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และในโลกไซเบอร์ทุกชนิด

           
3.3 การต่างประเทศ การประสานงานไปยังต่างประเทศ นำเสนอความอยุติธรรมในทุกกรณีที่เกิดในประเทศให้กับองค์กรต่างๆในทุกประเทศทั่วโลกด้วยความถี่จากรายงานการนำเสนอ โดยไม่ต้องเว้นระยะ

           
3.4 ทางรัฐสภาโดยเฉพาะสภาหรือรัฐสภา ต้องไม่ยอมรับอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องยอมรับพิจารณาร่างพรบ.ของประชาชนเสนอตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญโดยรีบด่วน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องร่วมกันผลักดันให้สภาหรือรัฐสภาพิจารณา ฯลฯ

           
3.5 การใช้ความเด็ดขาดคือ..................???

           
1 เป้าหมาย หมายถึง แดงทุกกลุ่มจะเป็นกลุ่มคนที่เปลี่ยนไปและกลุ่มคนที่ไม่เปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งประชาชนผู้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย จะต้องร่วมกันโค่นล้มศัตรูที่พวกเราทราบแล้วว่าคือใคร และเปลี่ยนประเทศให้เป็น “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์” โดยปราศจากศัตรูโดยสิ้นเชิงคือ ทำให้ศัตรูสิ้นซาก จะเหลือแม้เชื้อเท่าเม็ดทรายก็ทำลายให้หมดสิ้น จึงจะทำให้พวกเราลูก หลาน เหลน ประชาชนตลอดไปชั่วกาลนานแสนนานจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างถาวร

            
“ขอเตือนสติ สำหรับพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร คือ สงครามไม่มีคำว่าเมตตา”

http://redusala.blogspot.com

เรืองไกรย้อนศร ยื่นยุบปชป.ต่อศาลรธน.โดยตรง

เรืองไกรย้อนศร ยื่นยุบปชป.ต่อศาลรธน.โดยตรง

          นายเรืองไกร ?ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหาเปิดเผยว่า วันที่ 5 มิถุนายนนี้ จะไปถอนคำร้องจากอัยการสูงสุด แล้วนำมายื่นโดยตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและมีคำสั่งยกเลิกผลการใช้อำนาจในการบริหารประเทศของ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่อาจกระทำขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 20 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 20 วรรคหนึ่ง(5) 



          เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ได้อำนาจการปกครองประเทศมาโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญวางไว้ ในการรับคำร้องไว้วินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำโดยชอบหรือไม่ ซึ่งกรณีการเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เป็นผลให้ส.ส.ของทั้ง 3 พรรคต้องหาพรรคใหม่สังกัดภายใน 60 วันนับจากวันที่มีคำสั่งยุบพรรค


          อีกทั้ง จำนวน ส.ส.ของทั้ง 3 พรรคมีจำนวนมาก อาจทำให้ผลของมติในวันดังกล่าวมีจำนวนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ดังนั้นการเข้าใจกันไปเองว่า ส.ส.ของพรรคที่ยุบไป มีความเป็นอิสระสามารถทำหน้าที่เป็นองค์ประชุมในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้นั้น อาจมีความคลาดเคลื่อน ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ ?ซึ่งล่าสุดคือ กรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

          “จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย ข้อ 6 สั่งให้พรรคประชาธิปัตย์และส.ส.ของพรรค หยุดการดำเนินกิจการและหยุดปฏิบัติหน้าที่ในฐานะส.ส.เอาไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตามมติของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555” นายเรืองไกรระบุว่า

            และว่า สาเหตุที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดไต่สวนมากว่า 2-3 ปีแล้วยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้น จึงขอใช้สิทธิ์ยื่นเรื่องโดยตรงให้ศาลรัฐธรรมนูญ และหวังว่าจะเร่งพิจารณาโดยเร็วเหมือนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ที่ตนข้องใจคือ มีคำสั่งแบบนั้นออกมาได้อย่างไร ?อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ตนรวมถึงส.ส.พรรคเพื่อไทยเคยยื่นร้องมาแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง โดยอ้างว่าเป็นกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะเสนอเป็นญัตติจึงไม่สามารถรับคำร้องไว้วินิจฉัยได้ แต่คราวนี้ทำไมถึงรับไว้วินิจฉัย
http://redusala.blogspot.com

มันจบแล้วครับ มาร์ค


มันจบแล้วครับ มาร์ค 

มันจบแล้วครับ “อภิสิทธิ์และปชป.”  (อ้างอิงจาก เวบไซท์ VoiceTV)


            “มันจบแล้วครับนาย” ที่ว่ากันว่าเป็นวาทกรรมสุดท้ายของคุณเนวิน ชิดชอบ   ที่บอกกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  นายเก่า  ผ่านทางโทรศัพท์   หลังตัดสินใจแปรพักตร์ยกพรรคพวกจำนวนหนึ่ง   ไปสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ในค่ายทหาร   ดังก้องขึ้นมาในโสตประสาทของผมอีกครั้ง   หลังฟังคำแถลงของคุณอภิสิทธิ์  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน  ต่อกรณีพฤติกรรมของส.ส.ลูกพรรค   ที่กระทำระหว่างการประชุมสภาฯเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง




นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันค้าน พ.ร.บ ปรองดองฯ และ ปกป้องลูกพรรคประชาธิปัตย์กรณีก่อความวุ่นวายในสภา /ที่มา : Voice News


            ว่าที่จริงแล้ว  เดิมผมก็เชื่อว่าอนาคตทางการเมืองของคุณอภิสิทธิ์   มันจบไปแล้ว(กลายเป็น “ศพทางการเมือง”ก่อนวัยอันควร)  ตั้งแต่หลังเหตุสลายการชุมนุม ๑๐ เมษา ๕๓  ที่มีผู้เสียชีวิต ๒๗ ราย   เพราะมั่นใจว่าคุณอภิสิทธิ์  ผู้มีชาติตระกูลดีพร้อม(ตามค่านิยมอันฝังแน่นของสังคมไทย)  ทั้งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก  จากประเทศที่เป็น “แม่แบบ”ประชาธิปไตยอย่างอังกฤษ   ต้องเป็นคนที่ “สปิริต”ประชาธิปไตยสูงกว่านักการเมืองไทยทั่วๆไป 

            ยิ่งถ้านึกย้อนไปถึงพฤติกรรม และวาทกรรม  ต่างกรรมต่างวาระในอดีต   นับตั้งแต่เริ่มก้าวเดินบนถนนการเมือง   คุณอภิสิทธิ์เคยสร้างความหวังความประทับใจให้กับผมและคนไทยอีกเป็นจำนวนมาก  ว่านี่แหละ คือ “ผู้นำ”ในฝันของคนไทย   ยิ่งทำให้ผมมั่นใจว่าคุณอภิสิทธิ์  จะต้องแสดง “สปิริต”อันสูงส่ง  ในฐานะผู้นำรัฐบาลแน่ๆ

            แต่ก็อย่างที่ทราบกัน   กลายเป็นว่าคุณอภิสิทธิ์  กลับทำให้หลายคนที่เคยชื่นชมผิดหวังอย่างรุนแรง   เพราะนอกจากต่อมสปิริตจะไม่ทำงานแล้ว    คุณอภิสิทธิ์  ยังแสดงให้เห็น “จิตลึก”อีกด้านของมนุษย์    ไม่เพียงไร้คำขอโทษ   แต่รัฐบาลภายใต้การนำของคุณอภิสิทธิ์   ยังสั่งเดินหน้าล้อมปราบด้วยกระสุนจริงต่อไป 

            พร้อมกับสร้างวาทกรรม “ก่อการร้าย” / “ชายขุดดำ” / “แผนล้มเจ้า”  เป็นเกราะกำบังการล้อมปราบ   ก่อนจะจบลงในวันที่ ๑๙ พฤษาคม ๒๕๕๓   ด้วยสถิติมีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมรวม ๙๑ ศพ(ยอดรวมต่อมาเพิ่มเป็น ๙๘ ศพ)   

            ทำให้ชื่อคุณอภิสิทธิ์  ถูกจารึกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่  ว่า   ในช่วงที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี   มีผู้เสียชีวิตเพราะออกมาชุมนุมต่อต้านมากที่สุด  

            มากกว่านายกรัฐมนตรี  ที่เป็นทหารอย่างจอมพลถนอม กิตติขจร(เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖  มีผู้เสียชีวิต ๗๗ ราย) /  มากกว่ายุคม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช  นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน(เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  มีผู้เสียชีวิต ๔๑ ราย) / หรือกระทั่งนายกรัฐมนตรีที่เป็นทหารอีกคน  คือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร(เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕  มีผู้เสียชีวิต ๔๐ ราย) 

             ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย   ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนไหน  ที่เดินบนถนนการเมืองต่อไปได้   หลังปล่อยให้มีการสังหารประชาชนที่ออกมาต่อต้านตัวเอง  

             กรณีจอมพลถนอม  ไม่เพียงแค่ลาออก  แต่ยังถึงกับต้องหลบหนีไปต่างประเทศ / กรณีพล.อ.สุจินดา  แม้ไม่ถึงกับต้องหลบไปต่างประเทศ   แต่หลังลาออก  ก็ต้องยุติบทบาททางการเมืองไปโดยปริยาย   เช่นเดียวกับกรณีของม.ร.ว.เสนีย์     ที่ต้องลาออกหลังเกิดเหตุการณ์ และยุติบทบาททางการเมืองในอีก ๓ ปีต่อมา

            ผมจึงนึกถึงคำพูด “มันจบแล้วครับนาย”   ตั้งแต่ตอนที่เกิดเหตุสลายการชุมนุม ๑๐ เมษา ๕๓   แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า   ไม่เพียงคุณอภิสิทธิ์  จะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่  ด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรี  ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมต่อต้านจนมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด  

            แต่คุณอภิสิทธิ์  ยังสร้างประวัติศาสตร์อีกบทหนึ่ง  ในแง่ที่ว่าเขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ยังสามารถลอยหน้าลอยตา  ได้ต่อไปอีกหลังเกิดเหตุการณ์   ไม่ต้องขอโทษ / ไม่ต้องลาออก / ไม่ต้องหลบไปต่างประเทศ  เพื่อแสดงความรับผิดชอบใดๆ  เหมือนอดีตนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ(แต่ก็ถูกประชาชนลงโทษให้หลุดจากเก้าอี้  ด้วยกระบวนการเลือกตั้ง ตามกติกาประชาธิปไตย ในเวลาต่อมา)

            จากบทเรียนเหตุการณ์เมษา-พฤษภา ๕๓     ผมถึงไม่แปลกใจและไม่ผิดหวังอะไรกับคุณอภิสิทธิ์อีก  กับกรณีท่าทีการแสดงออกของเขาต่อพฤติกรรมของส.ส.ลูกพรรค    ระหว่างการประชุมสภาฯเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง  

            ก็เหมือนๆที่หลายๆคนคิดและวิพากษ์วิจารณ์กันนั่นแหละครับ   คนที่ผ่านเหตุการณ์สั่งสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงจนมีผู้เสียชีวิตถึง ๙๘ ศพ   ทั้งไม่เคยมีแม้ “คำขอโทษ”    แถมยังแสดงท่าที “ชิล ชิล”กับชีวิต   กินอิ่ม/พักผ่อน/นอนหลับสบายๆ    จะไปแคร์หรือมี “สำนึก”อะไร    กับการแสดงพฤติกรรม “เถื่อน+ถ่อย”  ละเมิดกฏกติกาสภาฯของลูกพรรค


สภาปรองดองป่วน หวิดวางมวย /ที่มา : Voice News วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕


นางสาว รังสิมา รอดรัศมี ส.ส. ประชาธิปัตย์ ยื้ดแย่งเก้าอี้ประธานสภาฯ กับ ส.ส.หญิง ฝ่ายรัฐบาล /ที่มา Youtube ส.ส. ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
สภาฯป่วนวันที่สอง มีการขว้างปาหนังสือและเอกสารใส่ประธานสภาฯ/ที่มา : Voice News ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

              ผมเองก่อนหน้านี้  สารภาพผิดว่าช่วงหนึ่งยังเป็นพวกมอง “โลกสวย”   เพราะแอบคาดหวังและให้กำลังใจคุณอภิสิทธิ์และพรรคปชป.(คลิกเพื่อย้อนอ่านบล็อก ตอน “ให้กำลังใจ อภิสิทธิ์และปชป.”)   ด้วยเชื่อว่า  แม้องคุลีมาลยังกลับใจได้   แต่พอเจอช็อตคำแถลงและท่าทีล่าสุดของคุณอภิสิทธิ์    ความคิดแบบ “โลกสวย”ก็จบกันไปเสียที

              ขณะที่ความเชื่อเรื่อง   “อนาคตการเมือง”ของคุณอภิสิทธิ์      ที่ผมเคยเชื่อว่ามันมืดดับลงไปแล้ว  หลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา ๕๓     ถูกตอกย้ำให้หนักแน่นขึ้น    จนกล้าพูดดังๆว่า  “มันจบแล้วครับคุณอภิสิทธิ์”   

             เพราะตราบที่กงล้อประชาธิปไตยยังเดินหน้า  และตราบที่คนไทยเรียนรู้โลกกว้างมากขึ้นเท่าไหร่   “ประตูแห่งโอกาส”ที่จะเปิดให้คุณหวนกลับมาเป็น “ผู้นำ”ของคนไทยอีกครั้ง   มันปิดตายลงแล้ว

             และสำหรับพรรคประชาธิปัตย์   พรรคที่ผมเคยเลือกมาตลอด(เหมือนคนไทยอีกหลายล้านคน)  ก่อนจะมีพรรคไทยรักไทย เพราะเชื่อว่าเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่าพรรคอื่นๆ ณ ขณะนั้น   หากพวกคุณยังไม่เปลี่ยนหัวหน้าพรรคใหม่ และไม่เปลี่ยนความเชื่อ+วิธีคิดในการทำงานการเมืองใหม่   ให้ก้าวหน้าเท่าทันประชาชน  

              และหากประเทศนี้ยังยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย   ผมก็อยากบอกว่า “มันจบแล้วครับประชาธิปัตย์”    “ประตูแห่งโอกาส” ของการกลับมาเป็น “รัฐบาล”  ปิดตายสำหรับคุณเช่นกัน !

๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
ดูข้อความเห็นเพิ่มเติมที่  http://www.voicetv.co.th/blog/1038.html

http://redusala.blogspot.com