วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


ข้อเสนอเกี่ยวกับการวางท่าทีต่อกรณีของ 'อากง SMS'
สำหรับคนที่รักในหลวงทุกคน

ข้อเสนอเกี่ยวกับการวางท่าทีต่อกรณีของ 'อากง SMS'
สำหรับคนที่รักในหลวงทุกคน

Thu, 2011-11-24 23:05

ฟ้าใหม่ แก้วรัตนปัทมา

ก่อนอื่น-ออกตัว

          เพื่อน ๆ ที่รู้จักกันคงเข้าใจเกี่ยวกับจุดยืนของผมที่มีต่อ "ในหลวง" ของเราได้เป็นอย่างดี  ใช่ครับ ผมบอกได้เต็มปากเต็มคำว่า ผมเป็น Royalist (นิยมเจ้าฯ)

           สำหรับผม สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่เราคนไทยควรรักและเทิดทูนไว้เหนือสิ่งอื่นใด และประเทศไทยโชคดีมากที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ประเสริฐถึงเพียงนี้ และแม้ว่าจะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีของอากง หรือได้ทำความเข้าใจกับมุมมองของฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม (พวกชอบหมิ่นฯ) ต่อกรณีนี้ หรือกรณีอื่น ๆ มามากแล้วก็ตาม ความรู้สึกของผมที่มี จุดยืนของผมที่มี ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่อย่างใด (ยังคงมีน้ำเอ่อ ๆ ตรงเบ้าตาทุกครั้งที่ได้ฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง)

ย้อนหลัง

           สำหรับคนที่ยังไม่ได้รู้เรื่องราวที่ผ่านมาเกี่ยวกับกรณีของ อากง SMS สามารถสรุปได้สั้น ๆ คือเหตุการณ์นี้เป็นกรณีที่ศาลเพิ่งมีคำพิพากษาจำคุกชายวัย 61 ซึ่งเป็น "อากง" ของหลาน ๆ จำนวน 4 คนเป็นระยะเวลา 20 ปีจากความผิดฐานส่งข้อความสั้น (SMS) ที่มีข้อความในลักษณะหมิ่นเบื้องสูง จำนวน 4 ข้อความ (ข้อความดังกล่าวไม่ได้มีการเปิดเผยในที่สาธารณะ) เรื่องราวของอากงสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link ดังต่อไปนี้

http://blogazine.in.th/blogs/groomgrim/post/3310
http://www.prachatai3.info/journal/2011/11/37991

            จริง-ไม่จริง / ถูก-ผิด >>> อย่างไรกันแน่

             คงจะเป็นเรื่องเกินระดับสติปัญญาของผมที่จะสามารถชี้ได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงอย่างไร หรือว่าใครถูก ใครผิด ใครสมควรได้รับคำตำหนิในกรณีดังกล่าวอย่างไรกันแน่สำหรับตัวละครทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น "อากง ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ทนาย หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม ....." รวมถึงขอเพิ่มเติมในที่นี้ว่า ผมก็ไม่ได้อ่าน SMS ที่ว่าแต่อย่างใด และก็ไม่สนใจด้วยว่ามันเขียนว่าอะไร เพราะประเด็นที่ผมมองและเห็นว่ามีความสำคัญกว่าเรื่องดังกล่าวมากก็คือ

              วิกฤต และ โอกาส ของสังคมไทยที่เกิดขึ้นตามมาจากกรณีของคดีนี้

หลักคิด

              ต่อมุมมองที่เห็นทั้ง "วิกฤต" และ "โอกาส" ผมพยายามรวบรวมความคิดเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานที่เราควรยึดถือและนำมาเป็นกรอบในการคิดและกำหนดท่าทีที่เหมาะสม ดังนี้ (ซึ่งยังไม่ค่อยตกผลึกดีเท่าไหร่นัก)

              1) ไม่ฆ่า-ไม่แกงกันดีที่สุด คงจะเป็นเรื่องน่าปวดใจทีเดียวถ้าเรื่องหมิ่นฯ สถาบันฯ จะกลายเป็นเหตุผลที่ทำให้คนเราต้องลุกขึ้นมาฆ่า-แกงกัน และคงเป็นเรื่องสะใจสำหรับฝ่ายที่ต้องการโจมตีสถาบันฯ ที่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า สถาบันฯ เป็นชนวนเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเกลียดชังดังกล่าวขึ้นในสังคมไทย

              ดังนั้น พวกเราที่ต้องการปกป้องสถาบันต้องคิดกันให้ดีว่า การปกป้องจะสามารถทำอย่างไรที่ไม่เป็นการเติมเชื้อไฟของความขัดแย้ง เพราะยิ่งเราเอาเรื่องความจงรักภักดีมาเป็นประเด็นไล่บี้พวกเขา พวกเขาก็ยิ่งโหนกระแสกระพือความขัดแย้งให้รุนแรงยิ่งขึ้นอีก

             สุดท้ายสถาบันฯ ที่เรารักก็เป็นฝ่ายที่บอบช้ำเสียเอง การปกป้องสถาบันฯ ให้พ้นสถานะจากการเป็นคู่ขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ดีสุดที่เราควรจะทำเพื่่อธำรงรักษาสิ่งที่เรารักเอาไว้ในระยะยาวตลอดไป ดังนั้น ถึงเราจะอยากปกป้องและหยุดยั้งการจวบจ้วง การโจมตีที่มีต่อสถาบันฯ ที่เกิดขึ้นมากในเวลานี้ เราก็ต้องคำนึงถึง "วิธีการ" ที่รอบคอบ เหมาะสม และยั่งยืนด้วย ซึ่งหมายถึงการมองถึงเป้าหมายการอยู่ร่วมกันได้ของทุกคนในสังคมในระยะยาว

              2) จริ งๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้อง "เลือกข้าง (take side)" สำหรับกรณีนี้ อยากให้ลองคิดดูนะครับ
     
               ถ้าเราสรุปลงไปดื้อๆ เลยว่า "ใครที่ออกมาแสดงความเห็นใจอากง สงสารอากง เป็นพวกโจมตีสถาบันฯ หรือพวกชอบหมิ่นฯ 


               ส่วนถ้าใครมีจุดยืนที่อยากปกป้องสถาบันฯ ต้องไม่เห็นใจอากง ไม่สงสารอากง ต้องบอกว่ากระบวนการยุติธรรมถูกต้องแล้ว"

               ผมคิดว่าสังคมเราคงจะล้มเหลวมากในการแยกแยะเรื่องของการใช้จุดยืนทางการเมืองในการกำหนดท่าทีต่อเหตุการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งอาการล้มเหลวดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั้ง 2 กลุ่มพอ ๆ กัน กล่าวคือ ฝ่ายปกป้องสถาบันฯ ก็สร้างกฏเกณฑ์ที่ตื้นเขินขึ้นมาใช้กำหนดกรอบหรือนิยามคำว่าการปกป้องสถาบันฯ ของพวกเขา เช่น ไม่เอาด้วยทุกประการ ต่อต้านในทุกกรณี ถล่มพวกจาบจ้วงให้จมธรณี ... ซึ่งสุดท้ายกลายเป็นเรื่องของการใช้ประเด็นสถาบันฯ เป็นบันไดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมืองไปซะอย่างนั้น

             ส่วนฝ่ายที่โจมตีสถาบันฯ ก็ผูกขาดความสงสารของอากง เอากรณีของอากงมาเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง เพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองของตัวเอง (เหมือนหลาย ๆ กรณีที่ผ่านมา) สร้างกระแสให้สังคมต้องเลือกข้าง (take side) ซึ่งสุดท้ายคนที่ซวยก็คืออากงและครอบครัว ส่วนพวกพี่ ๆ ทั้งหลายนั้นก็ตีกินฟรีไปสบาย สบาย

              สุดท้ายการที่เราเอาจุดยืนทางการเมืองไป apply ใช้กับเรื่องต่าง ๆ อย่างไม่แยกแยะ ก็เป็นเรื่องที่โง่เขลาและสร้างความเจ็บปวดให้กับทุกคนในสังคมของเรา ดังนั้น ความคิดของผมก็คือ ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหนเราก็มีใจเอื้ออาทร เป็นเดือดเป็นร้อน ต่อชะตากรรมของอากงได้เหมือน ๆ กัน และเท่า ๆ กัน เพราะเหตุผลที่ดีก็คือ ยิ่งสังคมเราฉลาดและเรียนรู้ที่จะแยกแยะเรื่องต่าง ๆ ออกจากกันได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสามารถคาดหวังถึงความผาสุขของการอยู่ร่วมกันได้เร็วขึ้นเท่านั้น

             3) ไม่ควรปล่อยให้เป็นพระราชภาระ ต่อคำถามที่ว่าแล้วสังคมเราสามารถยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออะไรได้บ้างในกรณีนี้ สิ่งที่ผมคิดออกก็คือสังคมเรา (โดยเฉพาะฝ่ายที่รักสถาบันฯ) ไม่ควรปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นพระราชภาระของพระองค์ท่าน หรือปล่อยให้สถาบันฯ เป็นฝ่ายที่ต้องรับแรงกดดันจากปัญหานี้แต่เพียงฝ่ายเดียว ที่ผ่านมาเราปล่อยให้เรื่องการประคับประคองสังคมให้อยู่ร่วมกันได้ต้องตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายสถาบันฯ มากเกินควร

             จริง ๆ แล้วสังคมเราอาจจะยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจอยู่ค่อนข้างมาก เพราะจากที่ผมได้อ่านข้อมูลมาบ้าง การที่จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในกรณีหนึ่ง ๆ นั้น ควรจะต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง "ทำงาน" กลั่นกรอง เรียบเรียงข้อมูล สอบทาน และถวายความเห็น อย่างเหมาะสมมาก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งผมเชื่อได้เลยว่าถ้าสังคมเรามีท่าทีอย่างถูกต้อง และเหมาะสม อย่างน้อยก็ช่วยลดแรงกดดันให้กับคนทำงานเหล่านั้นได้มากทีเดียว การแสดงความเห็นอกเห็นใจ การกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือเยียวยา (ถึงแม้ว่าจะมีความผิดจริงก็ตาม) การยั้งปากที่วิจารณ์หรือโจมตีเกี่ยวกับเรื่องความจงรักภักดี ก็เป็นสิ่งที่สวยงามที่เราสามารถสร้างร่วมกันได้ในเวลานี้

ประเด็นข้อเสนอ
           จากที่เรียบเรียงมาข้างต้น ผมจึงมีข้อเสนอเกี่ยวกับทั้ง 2 ฝ่ายต่อกรณีของ "อากง" ดังต่อไปนี้

          1) สำหรับฝ่ายปกป้องสถาบัน ขอให้พวกเราก้าวข้ามเงื่อนไขทางการเมืองและให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งที่มีตัวตนอยู่จริง มีชีวิตอยู่จริงๆ และเขาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมของเรา ช่วยกันระมัดระวังการใช้อคติกระโดดเข้าไปตัดสิน หรือไม่เอาสีไปป้ายหัวใครต่อใครที่จะเข้าไปยื่นมือช่วย ถ้าไม่นิ่งดูดายก็ระดมสรรพกำลังหลายทางมาช่วยกันดูแล เยียวยา และประคองครอบครัวนี้ ถ้าใครมีปัญญาช่วยกันคิดต่อยอดมาตรการช่วยเหลือที่ดีกว่านี้ขอให้ช่วยกันเลยครับ

           2) สำหรับฝ่ายไม่ปกป้องสถาบัน ขอให้เปิดใจกว้างและก็ขอให้ตั้งธงหลักอยู่ที่การเร่งช่วยเหลือ "อากง" เป็นลำดับแรก ถ้าท่านไม่ผูกขาดความช่วยเหลือ ไม่หาประโยชน์ทางการเมืองจากกรณีดังกล่าว ท่านย่อมมีโอกาสที่ดีในการใช้กรณีศึกษานี้เสนอแนะต่อสังคมด้วยท่าทีที่เป็นกัลยาณมิตร และสร้างสรรค์ เพื่อให้สังคมเราพัฒนาสูงขึ้นไปอีกขั้น

ข้อทิ้งท้าย

             ช่องทางหนึ่งที่สามารถช่วย "อากง" ได้ก็คือการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ (เฉพาะราย) แต่ประเด็นก็คือจากวิธีการกลั่นกรองฎีกาที่ปฏิบัติกันอยู่นั้น หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นผู้กลั่นกรองข้อมูลและถวายความเห็นขึ้นไปเป็นลำดับ ซึ่งผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกา คือตัวผู้ที่ประสบปัญหา หรือญาติมิตรที่ได้รับผลกระทบ

              ดังนั้น คนอื่น ๆ ก็ไม่ควรไปร่วมลงชื่อในฎีกาเพราะจะทำให้ต้องเสียเวลากลั่นกรองตรวจสอบรายชื่ออีกด้วย (เห็นได้จากตอนที่เสื้อแดงรวบรวมรายชื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับทักกี้) แต่ควรส่งเป็นหนังสือแสดงความเข้าใจในสถานการณ์และแสดงท่าทีในการสนับสนุนการพระราชทานอภัยโทษด้วยความเคารพต่อความคิดเห็น (ไม่กดดัน) ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม สำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ จะเป็นประโยชน์มากกว่า
http://redusala.blogspot.com

“พวกมึง ‘บ้า’ ได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือวะ...ไอ้เจ้าเจี้ยว!!!?
“พวกมึง ‘บ้า’ ได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือวะ...ไอ้เจ้าเจี้ยว!!!?”

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

           เมื่อเช้าวันจันทร์ 21 พ.ย. 54 ผมฟังรายการ ‘เช้าทันโลก’ ของอ.ส.ม.ท. คลื่น FM 96.5 MHz ในวันดังกล่าวมีผู้ดำเนินรายการ คือคุณ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

          คุณกรรณิการ์ฯได้รายงานเรื่องนักข่าวฝรั่ง ชื่อนายโทมัส ฟุลเลอร์ (Thomas Fuller) เขียนบทความชื่อ Smiles Hide Fears as Clinton Visits Flood Victims แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รอยยิ้มที่ซ่อนความกลัว ยามคลินตันเยือนเหยื่อน้ำท่วม ลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์

         คุณฟุลเลอร์วิพากษ์วิจารณ์การจัดการของรัฐบาลไทย ในการต้อนรับมาดามฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ เมืองลุงแซม ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมเยียนผู้อพยพ ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัย ห้วยขวาง เมื่อ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา

          ตัวผมเองนั้น คุ้นเคยกับบทความต่างๆ ที่เขียนโดยคุณฟุลเลอร์ มีทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่างออกไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาแต่บทความที่คุณกรรณิการ์ฯนำมารายงาน นั้น

        ผมมีความเห็นต่าง จากนักเขียนท่านนี้!

        คุณฟุลเลอร์พูดในทำนองว่า การต้อนรับของรัฐบาล ดูจะเป็นการ ‘จัดฉาก’ เช่น มีการตกแต่งศูนย์อพยพ ด้วยการเอาต้นไม่มาประดับ นำผู้อพยพที่หน้าตายิ้มแย้ม พูดภาษาอังกฤษได้ มาต้อนรับ ฯลฯ ทำให้ท่านรัฐมนตรีคลินตัน รู้สึกไม่ดี เพราะดูจะเป็นการทำให้ผู้อพยพ ซึ่งทุกข์จากน้ำท่วมแล้ว ยังต้องมาลำบากในการต้อนรับเธอซ้ำอีก

content/picdata/335/data/clinton.jpg         ผมรับรองร้อยเปอร์เซ็นต์ พันเปอร์เซ็นต์ได้ว่า มาดามเซ็คเครทแทรี่ออฟเสตท ไม่ได้พูดอย่างนั้นแน่นอน หากแต่เป็นการ ‘อนุมาน’ ของผู้เขียนบทความเองนั่นแหละ

     อยากจะบอกว่่า 


              คุณนายฮิลลารี่ คลินตัน นั้น เธอเป็นคนใหญ่คนโต หากท่าน ประธานาธิบดีสหรัฐและรองฯ เป็นอะไรไป เธอจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีทันที

          ดังนั้น เมื่อจะมาเยี่ยมเยียนเมืองไทยกันทั้งที ทางเราก็ต้องให้เกียรติ โดยจัดการศูนย์ผู้ประสบภัยฯให้สะอาดสะอ้าน อยู่ในสภาพพอดูได้ ซึ่งใครๆเขาก็ทำกันทั้งโลก ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก

          การที่คุณฟุลเลอร์ จะรายงานด้วย ‘มุมมอง’ ที่ไม่สร้างสรรค์ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอีก เพราะฝรั่งที่มองคนผิวสี ในลักษณะ ‘เหยียด’ แบบนี้ มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย แม้แต่คนระดับเอกอัครราชทูตก็ยังมี เช่น เซอร์แอนโทนี ฮัมโบลด์ อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษ ที่เขียนรายงานโจมตีคนไทย และผมวิพากษ์เอาไว้หนัก ในบทความ ชื่อ ทูตถ่อย...ถึง “จิ๋ว-ป๋า!!!” (http://vattavan.com/detail.php?cont_id=181) ใครสนใจลองเข้าไปอ่านกันดู


         รับรองว่า นอกจากได้ความรู้แล้ว...ยังสนุกอีกต่างหาก!
        นักข่าวอย่างคุณฟุลเลอร์ คงจะตระหนักดีว่า แม้แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นในสหรัฐ อย่างกรณีเฮอริเคนแคทเธอริน่า ถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ บุช ก็ถูกนักข่าวในสหรัฐ ไล่ถล่มจนระเนระนาด เหมือนโดนเฮอริเคนเข้าไปด้วยการวิจารณ์ว่า

        รัฐบาลกลางสหรัฐ บริหารจัดการไม่ได้เรื่อง เพราะกว่าจะเตรียมการได้ ก็ใช้เวลาเป็นวันๆ ปล่อยให้ประชาชนต้องอดอยาก ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อชีวิต สุขภาพร่างกาย ฯลฯ สุดแท้จะว่ากันไป สรุปลงตรงที่ว่า...

        ไม่ได้ดีไปกว่า...เมืองไทยเลย!

        คุณฟุลเลอร์นั้น อยู่เมืองไทยมานานพอควร น่าจะทราบว่าคนไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะเรื่อง

        ‘เมตตาธรรม’         สมัยสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ฝรั่งหลายชาติถูกต้อนเข้าค่ายเชลยที่กาญจนบุรี เพื่อสร้างทางรถไฟสายมรณะไปพม่า

        คนไทยสงสารฝรั่ง ที่ถูกญี่ปุ่นทารุณ เอาอาหาร ข้าว น้ำ ผลไม้ และขนม รวมทั้งหยูกยาไปให้พวกหัวแดงเหล่านั้น

        เมื่อสงครามโลกยุติ ฝรั่งก็ซาบซึ้งในความเมตตาของคนไทย แต่งงานกับหญิงไทยชาวกาญจนบุรีไปหลายคู่ กลับบ้านเมืองแล้ว ก็ยังแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเมืองไทยสม่ำเสมอ

        พอสงครามโลกยุติ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้แพ้ กลับข้างมาเป็นเชลยบ้าง คราวนี้คนไทยก็หันกลับไปช่วยญี่ปุ่น เอาอาหาร ข้าว น้ำ ผลไม้ และขนม ไปให้พวกคุณยุ่นที่ถูกจับกุมคุมขัง

        พวกญี่ปุ่น ซาบซึ้งอีกนั่นแหละ!

        ที่เป็นเรื่องขำๆ ก็มี เช่น คุณประสิทธิ์ ลุลิตานนท์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านผู้นี้มีชื่อเสียงมาก เป็นเพื่อนพ่อของผมด้วย

        ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า

        เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นนั้น ท่านเป็นผู้จัดการโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พวกญี่ปุ่นเข้ามาจับอาจารย์ฝรั่งหลายคน ที่สอนอยู่ในธรรมศาสตร์ฯ เพื่อจะนำตัวไปเข้าค่ายเชลย

        รัฐบาลไทยขอร้องว่า อย่าเอาไปเลย ทางไทยจะควบคุมเอง โดยจะขังไว้ที่ธรรมศาสตร์ฯ        อ้อนวอนกันอยู่นาน ในที่สุดทหารญี่ปุ่นก็ยินยอม!

        คนไทยดูแลอาจารย์ฝรั่งเหล่านี้เป็นอย่างดี อาหารการกินเพียบพร้อม แต่บางครั้งเวลาญี่ปุ่นมาตรวจ ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ต้องรีบนำอาจารย์เหล่านั้นเข้าห้องควบคุม แล้วกระวีกระวาดเก็บขนมปัง นม เนย และอาหารฝรั่งพวกสะเต๊กสตูว์ ที่วางบนโต๊ะให้หมด เพราะขืนทหารญี่ปุ่นมาเห็นเข้า พวกอาจารย์จะพลอยซวยไป เพราะต้องถูกญี่ปุ่น นำไปขังรวมกับเชลยธรรมดา ฐานสบายเกินไป อย่างนี้เป็นต้น

        ความเมตตาของคนไทยนั้นสูงนัก แล้วทำไมเมื่อพี่น้องเราเองลำบา

        คนไทยด้วยกันแท้ๆ...ทำไมจะไม่ช่วย!?

        หากคิดกันด้วยใจเป็นธรรม อย่างไม่มีอคติเจือปนแล้ว คุณฟุลเลอร์น่าจะได้ทราบความจริง ที่ว่า

        เมืองไทยนั้น มีขีดความสามารถในการจัดการเรื่องผู้อพยพพอใช้ได้ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับผู้อพยพ หนีภัยสงคราม ทั้งทางด้านตะวันออก อย่างเขมร เมื่อครั้งบ้านเมืองของเขาลุกเป็นไฟ


        นอกจากนั้น ก็มีผู้อพยพชาวลาว เมื่อคราวฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาวเข้าครอบครองแผ่นดินล้านช้างได้สำเร็จ ก็มีผู้อพยพหลั่งไหลเข้ามาพักพิงในประเทศไทยจำนวนมาก จนต้องมีการตั้งค่ายดูแลกันเหมือนที่ทำกับผู้อพยพชาวเขมร อย่างนี้เป็นต้น


        ส่วนทางด้านตะวันตก ก็ยังมีคนกลุ่มน้อย ที่หนีภัยสงครามจากพม่า ซึ่งมีมาเกือบทุกปี ฝ่ายไทยเราก็ดูแลอย่างดีมาโดยตลอด ด้วยความที่คนไทย มีมนุษยธรรม มีเมตตาอยู่ในหัวใจ และพูดได้เลยว่า


        ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฝ่ายผู้ลี้ภัย ขององค์การสหประชาชาติ ค่อนข้างไว้เนื้อเชื่อใจ การบริหารจัดการของไทยมาโดยตลอด แต่นั่นแหละครับ เรื่องที่มีผู้ไม่พอใจอยู่บ้าง

        ย่อมเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ อีกนั่นแหละ!


        สำหรับเรื่องที่ทางบ้านเมืองของเรา ให้การดูแลต้อนรับขับสู้ ผู้อพยพ ‘น้ำท่วม’ คนไทยด้วยกันเอง เมื่อตอนเหตุวิกฤติเริ่มใหม่ๆนั้น อาจติดขัดคัดข้องอยู่บ้าง ก็เป็นเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

        ผมมอร์นิเตอร์ข่าวน้ำท่วมตลอด ได้ฟังคำสัมภาษณ์ผู้อพยพ โดยผู้สื่อข่าววิทยุ ทั้งของ อ.ส.ม.ท. เอง และคลื่นต่างๆ รวมตลอดถึงสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และผู้อพยพหลายคน ให้สัมภาษณ์ ว่า

        ศูนย์อพยพต่างๆ มีสภาพที่ผู้เข้ามาพักพิง ยอมรับกันได้ บางศูนย์ดีกว่าบ้านตัวเองด้วยซ้ำ โดยเฉพาะเรื่องข้าวปลาอาหารนั้น มีให้รับประทานครบสามมื้อ บางแห่งเช่นศูนย์ที่ชลบุรี มีขนมหวานให้กิน แทบจะทุกมื้อ จะเรียกว่า          สมบูรณ์แบบ...ก็พอได้!

        สำหรับเรื่องจิตใจที่หดหู่ ทางบ้านเมืองก็จัดให้มีกิจกรรมเข้ามาให้ความบันเทิงในศูนย์อพยพ เพื่อให้ผู้อพยพคลายเครียด โดยอาสาสมัครทั้งพลเรือนและทหาร ไปให้ความบันเทิง ข่าวทางโทรทัศน์ก็มีออกให้เห็นกัน

        ส่วนผู้ที่ซึมเศร้าหนัก เพราะพี่น้องเหล่านั้น อาจประสพความสูญเสียมาก ทางสาธารณสุขของเรา ก็มีจิตแพทย์ช่วยกันดูแลอย่างเต็มกำลัง

        ดังนั้น ใครจะว่า การต้อนรับคุณนายฮิลลารี่ คลินตัน เป็นการ ‘จัดฉาก’ ก็ไม่ว่ากัน แต่จะบอกคุณฟุลเลอร์ ว่า

        ทางสถานทูตสหรัฐนั่นแหละ ต้องรับรู้และจะต้องทำการตกลงกับทางราชการไทยก่อน ถึงกิจกรรมที่คุณนายฮิลลารี่ คลินตันจะปฏิบัติระหว่างที่อยู่ในประเทศนี้ ว่า


        เมื่อไปถึงศูนย์อพยพแล้ว จะให้ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ จะเดินเหินไปในทิศทางใด จะทักทายข้าราชการไทยคนไหนก่อนหลังหรือหลังกันอย่างไร และจะให้คุณนายคลินตันสนทนากับผู้อพยพคนใด อย่างนี้เป็นเรื่องที่กำหนดกันก่อนทั้งสิ้น


         ทางสถานทูตสหรัฐนั้น จะไม่มีวันยอมปล่อยให้มาดามเซ็คเครทแทรี่ออฟเสตท เดินเทิ่งๆเข้าไปในศูนย์อพยพ เพราะการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญระดับนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก ทางไทยเราจะกำหนดฝ่ายเดียวไม่ได้ ทางสหรัฐจะต้องรับรู้การปฏิบัติทุกขั้นตอน ส่วนใครจะนินทา ว่าเป็นเรื่อง ‘ผักชีโรยหน้า’ เห็นจะพอรับกันได้กระมัง!

        มได้ฟังรายการ ‘เช้าทันโลก’ แล้ว เลยมีเรื่องมาเล่าให้คุณกรรณิการ์และท่านผู้อ่านฟังบ้าง

        รับรองว่าเรื่อง ‘ผักชี’ ที่คุณกรรณิการ์เล่า กลายเป็นเรื่อง ‘เด็กๆ’ ไปเลย

        เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ

        สุขุมพันธ์ฯ ผู้ว่า กทม. เขาไปตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ำท่วม แต่ปรากฏว่า มีความทุเรศโผล่ขึ้นมา ให้ผู้คนกรุงเทพฯ ได้ด่าเช็ดเพิ่มเติมขึ้นไป จากการที่ด่าซ้ำแล้วซ้ำอีก ตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมกรุง นั่นคือ

        เรื่องการ ‘จัดฉาก’ ของ กทม.!

        ที่ว่าทุเรศยิ่งกว่าเรื่องมาดามคลินตัน ที่คุณกรรณิการ์เล่า ก็คือ

        สุขุมพันธ์ฯ ที่ผมเรียกว่า ‘ไอ้จ้าวเจี้ยว’ ผู้ว่า กทม. จะไปตรวจพื้นที่ชุมชนโรงสี เขตยานนาวา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

        เวลาน้ำทะเลขึ้นสูง น้ำจากแม่น้ำก็ไหลเข้าท่วมชุมชน แต่เวลาน้ำลง ก็กลับไปเป็นปกติเหมือนเดิม ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นเขารู้ดี

        เหตุที่มันกลายเป็นขี้ปากชาวกรุงเขตอื่นๆ นอกเหนือไปจากชาวบ้านละแวกนั้นไปด้วย ก็เพราะว่า นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ (คนนี้ให้ฉายาตัวเองว่า “หมาแก่” ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นสุนัข) แกเอาความจริง เรื่องผักชีโรยหน้า ออกมาเปิดเผย ทางทีวีช่อง Spring New เพราะเหตุที่เรื่องมันกลับกลาย เป็นอย่างนี้ครับ

        สุขุมพันธ์ฯ ‘ไอ้จ้าวเจี้ยว’ มีตารางการไปตรวจเยี่ยมชุมชนโรงสี เขตยานนาวา และจุดที่ไปตรวจเยี่ยมชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ คือ ตรงบริเวณลานกีฬาของชุมชน เพื่อจะไปมอบถุงยังชีพ และถือโอกาส ‘ดราม่า’ หาเสียงกับชาวบ้านด้วย

        ปรากฏว่า กำหนดการที่จะไปตรวจนั้นดันไปตรงกับเวลาน้ำบริเวณลานกีฬาของชุมชนลงพอดี เลยเป็นปัญหาของทางเขตว่า

        น้ำไม่ท่วมแล้ว จะให้ผู้ว่าฯไปตรวจทำไม?

        ทางเจ้าหน้าที่แผนกผักชี ของ กทม. เขาก็แก้ปัญหาได้อย่างพิลึกพิลั่นจริงๆ คือเวลาน้ำขึ้น ไอ้คนของแผนกผักชี มันจะเอาถุงทราย...

        ไปอุดตรงรูท่อไว้ก่อน!


        ดังนั้น เมื่อเวลาน้ำทะเลลดระดับ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลเอ่อท่วมบริเวณสนามกีฬาของชุมชุน จึงไม่กลับลงไปในแม่น้ำเหมือนปกติ แต่ลานกีฬายังมีสภาพน้ำท่วมขัง พอให้ผู้ว่าฯโลซก ได้ย่ำน้ำเล่น เพลิดเพลินเจริญใจ พร้อมกับการพูดคุยปลุกปลอบขวัญชาวบ้าน แจกถุงยังชีพ และประชาสัมพันธ์ ถึงความสามารถอันบดบังไม่ได้ของตัวเองและ กทม. ในการดูแลชาวกรุงเทพฯ โดยหวังจะให้ผู้คนเขาชื่นชมตน

        ดูมันทำ!

        ฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่า เรื่องพรรค์นี้ จะเกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา แต่ทางสื่อที่เขานำมาเผยแพร่ ยืนยันหนักแน่นว่าเป็นความจริง (ดู http://www.youtube.com/watch?v=z5CTN5mXO40)

        ผมต้องนำมาเล่า ให้ท่านผู้อ่านได้ฟังกัน ก็เพราะพรรคการเมืองดักดาน ที่มีนายมาร์ค มุกควาย เป็นหัวหน้าฯ ซึ่งคุณกรรณิการ์ฯ ผู้ดำเนินรายการเช้าทันโลก เธอชื่นชมนักหนา นั้น        มีพฤติกรรมโรยผักชี แหกตาแบบพิสดารพันลึก จนทำให้ผมรู้สึก...สงสารกรุงเทพฯ ของเราจริงๆ!

        หวังว่าแฟนๆของ ‘วาทตะวัน’ หรือแม้กระทั่ง คุณกรรณิการ์ฯเอง เมื่ออ่านคอลัมน์นี้แล้ว โปรดช่วยกันตะโกนออกมาดังๆ ถามไอ้เวรพวกนี้ แทนชาวบ้านและผมทีเถอะครับ ว่า

       
“พวกมึง ‘บ้า’ ได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือวะ...ไอ้เจ้าเจี้ยว!!!?”

...........................


            หมายเหตุ คุณกรรณิการ์ฯพูดในรายการวันเดียวกันว่า มีคนไทยก้มกราบเท้าคุณนายฮิลลารี่ คลินตัน แต่ผมหาภาพไม่เจอ แม้แต่ในคอลัมน์ของนายฟุลเลอร์เอง ก็มีแต่ภาพที่แสดงไว้ข้างต้นเท่านั้น

        เรื่องกราบเท้าเจ้าใหญ่นายโต บางคนก็สันนิษฐานว่า คนไทยเริ่มทำกันมา ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแห่งนี้ เพราะคนพุทธนั้น คุ้นกับการกราบพระ บ้างก็ว่า การกราบคนด้วยกัน น่าจะเป็นอิทธิพลของ ‘ลัทธิสมมติเทวราช’ จึงมีการกราบพระเจ้าแผ่นดิน เพิ่มขึ้นไปจากการกราบพระ

        นอกจากกราบพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ยังมีการกราบพ่อแม่และบรรพบุรุษ แต่ที่พิเศษไปอีกคือคนที่เป็นทาส ต้องกราบกรานคนที่เป็น ‘นายเงิน’ สันนิษฐานว่าจะปฏิบัติกันมาตั้งแต่มีระบบ ‘ทาส’

        พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการไทยนั่งเก้าอี้ หรือยืนเฝ้าแหนแบบฝรั่ง แทนการหมอบเฝ้า หมอบกราบ ตั้งแต่ครั้งพระบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ในรัชสมัยของพระองค์

        สำหรับการหมอบเฝ้า หมอบกราบ รวมทั้งการถวายบังคม ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ นั้น สำหรับผมเอง ได้รับการศึกษาจาก ‘วชิราวุธ วิทยาลัย’ ซึ่งเป็นโรงเรียนของพระองค์ท่าน เห็นว่า

        เป็นการแสดงความจงรักภักดี และเป็นเรื่องปกติธรรมดา!
         ใครจะประพฤติอย่างนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องน่าขัดเขินแต่ประการใด เพราะพระองค์ทรงเป็น...
        ‘พระเจ้าแผ่นดิน’ และ ‘ในหลวงของเรา’

        แต่...

content/picdata/335/data/pram.jpg        ถ้าถึงขั้นลง ‘กราบตีน’ คนธรรมดาสามัญ คงเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ตัวผมเองคงไม่กล้าทำ

        หากขืนทำลงไป กลัวเพื่อนฝูงที่สนิทกัน มันจะตะคอกใส่ปนกระแนะกระแหนเอาได้ ว่า


        “มึงยังสลัด ‘สันดานทาส’ ไม่หลุดหรือวะ!!!”





        (***คอลัมน์ ประจำสัปดาห์ ตอน พวกมึงบ้ากันได้ถึงเพียงนี้วะ...ไอ้เจ้าเจี้ยว!!!? ออนไลน์ วันเสาร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2554) 

http://redusala.blogspot.com

สนนท. แถลงกรณี ''อากง'' ชี้รัฐควรยกเลิกมาตรา 112
           สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ออกแถลงการณ์เนื่องในกรณีการตัดสินคดี ''อากง'' ส่ง SMS ชี้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่เป็นประชาธิปไตย แนะควรแก้ไขหรือยกเลิกการใช้กฎหมายดังกล่าว

            สืบเนื่องจากกรณีการตัดสินคดีของอำพล (สงวนนามสกุล) ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีเนื่องในข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จึงได้ออกแถลงการณ์ว่าด้วยกรณีดังกล่าว โดยชี้ว่าการตัดสินดังกล่าวมีปัญหา เนื่องจากมีความคลุมเครือในการใช้พยานหลักฐาน ประกอบกับความไม่เป็นประชาธิปไตยของตัวบทกฎหมายของกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีหลักพิจารณาและมีโทษสูงเกินความจำเป็น สนนท. จึงได้เรียกร้องให้ทำการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าวด้วย


แถลงการณ์การตัดสินคดี ลุง sms มีความผิดหมิ่นสถาบันฯ จำคุก 20 ปี

             วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ศาลเทเลคอนเฟอร์เรนซ์อ่านคำพิพากษานายอำพล(สงวนนามสกุล) หรืออากงฐานส่งข้อความทางโทรศัพท์หรือ SMS อันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทั้งหมด 4 ครั้ง ผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และ (3) ลงโทษกรรมละ 5 ปีรวมจำคุก 20 ปี

            ซึ่งการตัดสินคดีดังกล่าวมีปัญหา 2 ประเด็น โดยในประเด็นแรกคือปัญหาในด้านการตัดสินของศาลและประเด็นสำคัญคือปัญหาของประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 โดยจะอธิบายอย่างชัดเจนดังต่อไปนี้

            ปัญหาในด้านการตัดสินของศาลที่มีความไม่ชัดเจนและยังคงคลุมเครือ ดั่งสำนวนส่วนหนึ่งในคำพิพากษาคดีที่ว่า "..แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน.." จากส่วนสำนวนคำตัดสินคดีข้างต้นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแม้แต่ศาลยังยอมรับเองว่าหลักฐานไม่เพียงพอ ซึ่งทุกคนล้วนรู้ดีว่าหลักพื้นฐานคดีอาญาคือการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัย ถ้าทำไม่ได้ต้องยกให้เป็นประโยชน์ของจำเลย แต่สิ่งที่ศาลได้กระทำคือการตัดสินคดีที่ไร้หลักฐานที่เพียงพอ เพียงเพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการจับขังนายอำพล แม้วิธีการจะไร้ซึ่งความชอบธรรมก็ตาม

           ส่วนปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เป็นตัวบทกฎหมายที่ใช้อ้างอิงสาระสำคัญหลักในคดีนี้จะพบว่าผิดทั้งที่มาและความชอบธรรม ด้วยด้านที่มากฏหมายมาตราดังกล่าวมิได้มีความยึดโยงกับประชาชนของรัฐแม้แต่น้อยซึ่งผิดตามหลักนิติรัฐ-นิติธรรมดั่งอารยประเทศที่มีที่มาจากความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่กลับมีฐานที่มาจากรัฐธรรมนูญเผด็จการรัฐประหารทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยแม้แต่น้อย ส่วนในด้านความชอบธรรมกฏหมายสองฉบับดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อปิดปากผู้ที่คิดแตกต่างจากรัฐเท่านั้นซึ่งผิดตามหลักสิทธิเสรีภาพพลเมืองเท่าที่ควร

            การวิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งของหลักสิทธิเสรีภาพซึ่งตั้งอยู่บนหลักของประชาธิปไตย ซึ่งการวิจารณ์ดังกล่าวต้องตั้งอยู่โดยเจตนาสุจริต มิได้เป็นการโจมตีหรือใช้ความเท็จทำให้เสื่อมเสียย่อมไม่สมควรโดนตั้งข้อหาเหมือนอาชญากร แต่หากการวิจารณ์นั้นทำไปโดยการจงใจให้เสื่อมเสียโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ ก็สมควรได้รับโทษตามแบบโทษหมิ่นประมาททั่วไปไม่ใช่โทษอาชญากรเช่นเดียวกับโทษของประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 ส่วนในด้านโทษของคดีดังกล่าวถือได้ว่าร้ายแรงเทียบเท่ากับคดีฆาตกรรมก็ว่าได้ เนื่องด้วยโทษจำคุกมากถึง 20 ปี ถือกันว่าเอากันตายเลยทีเดียว และเพียงการส่งข้อความทางโทรศัพท์หรือ sms ดังกล่าว ใครอาจส่งก็ได้ เช่น เพื่อน พ่อแม่และคนอื่นๆ ดังนั้นแล้วความชัดเจนของการตัดสินที่ยังคงคลุมเครือ

            จากการตัดสินคดีดังกล่าว เราในนามสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ขอคัดค้านและขอประณามการกระทำดังกล่าวที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพและหลักนิติรัฐ-นิติธรรม และมีข้อเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดังต่อไปนี้
ควรมีการพิจารณาตัดสินคดีที่มีความชัดเจนและไร้คลุมเครือ เช่น หลักฐานที่ใช้ประกอบคำตัดสิน เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีต่อไป เพราะจากคดีดังกล่าวที่มีความไม่ชัดเจนและคลุมเครืออันจะนำไปสู่บรรทัดฐานที่ผิดในทางตุลาการไทย

           จากโทษที่ใช้ในการตัดสินดังกล่าวเปรียบเสมือนดคีฆาตกรรมซึ่งมีความร้ายแรง ปรากฎจากศาลสั่งจำคุก 20 ปี ซึ่งเปรียบได้กับอีกครึ่งชีวิตที่ควรอยู่ ดังนั้นควรพิจารณาตัวบทกฏหมายใหม่และลดโทษในกฏหมายอื่นๆเพื่อเป็นแบบอย่างของประเทศที่เจริญในด้านการตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความศิวิไลซ์ของรัฐ

            ควรยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะเป็นมาตราที่มีปัญหาทั้งด้านที่มา ความชอบธรรม และการนำไปใช้ เพราะสามารถถูกนำไปใช้ทุกสถานการณ์ สามารถนำไปใช้กับศัตรูได้และการอ้างที่สามารถฟ้องโดยใครก็ได้ ทั้งที่หลักฐานประจักษ์พยานไม่เพียงพอก็สามารถฟ้องได้ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้จากวงการตุลาการไทยเลยแม้แต่น้อย

           จากแถลงการณ์และข้อเสนอดังกล่าวจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคงตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ของวงการตุลาการซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบอบประชาธิปไตย และขอเป็นกำลังใจให้นายอำพลยืนหยัดสู้ต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
24 พฤศจิกายน 2554
http://redusala.blogspot.com

รายงาน: เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’
ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทาง

กองบรรณาธิการ

          คดีของอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ คดีอากง ดูจะเป็นที่สนใจสำหรับสาธารณชนมากเป็นพิเศษ มากกว่าคดีประเภทเดียวกันในช่วงหลายปีที่ผ่าน เพราะมีความย้อนแย้งในตัวหลายระดับ กระทั่งทำให้กระบวนการพิพากษา พิจารณาคดี ถูกทักถาม สอบทาน
           ความรู้สึกสะเทือนใจทำให้ผู้คนอยากรู้ อยากเข้าใจต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามว่าข้อความ ที่ว่า’ คืออะไร เป็นคำถามซึ่งหมดทางที่ใครจะให้คำตอบอย่างเป็นทางการได้ แต่คำถามว่าอากงโดนจับได้อย่างไร กระบวนการสอบสวนอันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ซับซ้อนไล่จากไหนไปไหน อะไรคือข้อถกเถียงหลักๆ ในกระบวนการซับซ้อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่อาจพอหาคำตอบ ปะติดปะต่อได้ จาก ‘คำแถลงปิดคดี’

          เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (ขึ้นอีกเล็กน้อย) 
‘ประชาไท’ ได้สรุปประเด็นข้อโต้แย้งสำคัญ รวมถึงกระบวนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ไว้โดยคร่าว อ้างอิงจากคำแถลงปิดคดี สำหรับกระบวนการสืบสวนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.เส้นทางการสืบสวนตามที่เจ้าหน้าที่ให้การต่อศาล 2.พยานเอกสารที่ตำรวจนำส่งต่อศาล ซึ่งคำแถลงปิดคดีระบุว่าไม่เรียงลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามที่มีการเบิกความ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการเชื่อมโยงถึงจำเลย

และในส่วนล่างสุดจะเป็นคำแถลงปิดคดีฉบับเต็ม  

00000000
สรุปประเด็นสำคัญ

           1.หมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ คือ xxxxx15 (ระบบเติมเงินของDTACและหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลย คือ xxxxx27(ระบบเติมเงินของ TRUE) เป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน

           2.หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเแล้วก็จะไปปรากฏยังระบบของผู้ให้บริการ การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมี่ไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้
     >พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ TRUE ได้ให้การว่า ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้ และ อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆ เครื่องได้
     >พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ได้ให้การว่า “หมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย

      >เอกสารที่ทนายจำเลยนำส่งศาลระบุว่า มีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ
         3. โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบอีมี่จากทั้ง 3 บริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย (ไม่ได้ตรวจของเอไอเอส) จึงไม่อาจอ้างได้ว่าอีมี่นี้มีผู้ใช้เพียงเบอร์เดียว  
         4. กระบวนการสืบสวนตามพยานเอกสารที่นำส่งศาลไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเริ่มต้นขอความร่วมมือจาก TRUE โดยนำเบอร์xxxxx27 ของจำเลยมาตรวจสอบข้อมูลการโทร ทั้งที่ยังไม่ทันได้เลขอีมี่จากเบอร์ xxxxx15 ซึ่งเป็นเบอร์ใช้ก่อเหตุ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เป้าหมายแต่อย่างใด และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด  

          5. คดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เบิกความ ซึ่งทำให้ไม่มีความสมเหตุสมผลในการเชื่อมโยง ติดตามหาตัวจำเลยว่าเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบหมายเลขอีมี่ของหมายเลขที่กระทำความผิดเป็นลำดับท้ายสุด   

          ในการสืบจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเล (xxxx27) ซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง    

(รายละเอียดขั้นตอนที่ขัดแย้งกันระหว่างพยานเอกสารกับคำเบิกความ กรุณาดูผังด้านล่าง)

          6. บันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำของบุตรสาวจำเลย ก่อนจะมีการจับกุมตัวจำเลยก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่    

          7. หนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากดีแทคระบุวันที่ไม่ตรงกับวันเกิดเหตุ “ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้   บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ 10-15 มิถุนายน 2553 โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข xxxxx15 ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข xxxxxxxxxxxxxx 0” เจ้าหน้าที่บริษัทให้การว่าใส่วันที่ผิด แต่พบข้อพิรุธว่า มีการระบุว่า “ยังตรวจสอบไม่ได้” , ไม่มีการแนบข้อมูลการโทรมีเพียงการระบุอีมี่ อีกทั้งในการส่งเอกสารมาครั้งแรกไม่มีการเซ็นรับรองเอกสาร แต่เพิ่งมาเซ็นรับรองเอกสารในครั้งที่สอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ

          8. โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน

          9. คำให้การพยานโจทก์จากทรู ยังให้การต่อศาลว่า “จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์  [หมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นของนายอำพล-ประชาไทไม่ปรากฏว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว”

          10. โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด ในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย
  

ทำความเข้าใจเบื้องต้น กระบวนการสืบสวนคดี อากง

1.เรียงลำดับจากคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ต่อศาล


1.     เบอร์ xxxxx15   >     เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 
                                  9,11,12,22 ..]
2.     เลขาฯ             >     ตำรวจ  [แจ้งความ]
3.     ตำรวจ             >    [ตรวจสอบข้อมูลพบเป็นเบอร์ของ DTAC ไม่จดทะเบียน 
                                  จึงไม่สามารถตรวจสอบชื่อเจ้าของเบอร์ได้ว่าเป็นใคร]
4.     ตำรวจ             >    DTAC [ตรวจสอบพบว่าเบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 
                                  23 พ.ค.53]
5.     ตำรวจ             >    DTAC  [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx15 เพื่อตรวจสอบหา
                                  หมายเลขเครื่อง(EMEI) และ การติดต่อกับบุคคลอื่น ทั้งนี้ ใน 
                                  log file จะประกอบด้วย
                             รายการโทรเข้าออก วันที่ เวลา ระยะเวลาการโทร EMEI 
                             ที่ตั้งเสาสัญญาณ ฯ ]
6.     ตำรวจ             >    DTAC, AIS, TRUE [แขวน EMEI หมายถึงการนำอีมี่เป้าหมาย 
                                  ในกรณีนี้คืออีมี่ของ เครื่องเบอร์ xxxxx15 ไปให้ทุกบริษัทตรวจสอบ
                                  ในระบบของแต่ละค่ายว่าพบเบอร์อื่นใดที่มี EMEI หรือ
                                  เลขประจำเครื่องตรงกันหรือไม่]
7.     ตำรวจ             >    TRUE  [พบว่ามีอีมี่เป้าหมายที่บริษัททรู คือ หมายเลข xxxxx27]
8.     ตำรวจ             >    TRUE [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx27 และพบว่ามีการติดต่อ
                                 กับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์ xxxxx00  โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าว
                                 เป็นเบอร์จดทะเบียน]
9.     ตำรวจ             >   เจ้าของเบอร์ xxxxx00  [เรียกเจ้าของเบอร์ (ซึ่งเป็นลูกสาวนายอำพล) 
                                         มาสอบถามได้ความว่าเบอร์ xxxxx15 เป็นเบอร์ของอำพล/บิดา]                         
10.  ตำรวจ             >   อำพล  [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจ
                                 จำเลยที่บ้านเช่าย่านสำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]

2. เรียงลำดับจากพยานเอกสารที่เจ้าหน้าที่นำส่งศาล

1.     เบอร์ xxxxx15   >    เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 
                                 9,11,12,22 ..]
2.     เลขาฯ             >    ตำรวจ  [แจ้งความ]
3.     ตำรวจ             >   ทรู  [ตรวจสอบการใช้ของหมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นเบอร์
                                 ไม่จดทะเบียน และพบว่ามี การติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์ 
                                          xxxxx00  โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็น เบอร์จดทะเบียน]
4.     ตำรวจ             >    เจ้าของเบอร์ xxxx00 เรียกมาให้การ ได้ความว่าเบอร์ xxxxx27 
                                  เป็นอำพล/บิดา]
5.     ตำรวจ             >     DTAC  [ตรวจสอบพบว่า เบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 
                                           23 พ.ค.53]
6.     ตำรวจ             >    DTAC  ขอ log file หมายเลข xxxxx15 และทำให้ทราบเลขอีมี่]
7.     ตำรวจ             >     อำพล  [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจ
                                  อำเลยที่บ้านเช่าย่าน สำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]

หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายจำเลย และ ยิ่งชีพ อัฌชานนท์ จากโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 


000000000

คำแถลงปิดคดี


              ข้อ ๑.คดีนี้สืบพยานจำเลยเสร็จในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ และศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จำเลยมีความประสงค์ขอยื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาคดี เนื่องจากพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกันเองหลายประการ มีข้อพิรุธ น่าสงสัย และมีน้ำหนักน้อยไม่น่ารับฟัง ไม่อาจนำมาสู่การลงโทษจำเลยซึ่งไม่ได้กระทำความผิดได้ โดยจำเลยขอเรียนพยานหลักฐาน ต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการทำพิพากษาของศาลดังต่อไปนี้
             ข้อ ๒.การใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) เชื่อมโยงการกระทำความผิดไม่น่าเชื่อถือในการระบุเครื่องที่ใช้กระทำความผิด เนื่องจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI)สามารถปลอมแปลงได้ และสามารถซ้ำกันได้
            จำเลยขอเรียนต่อศาลว่าคดีนี้โจทก์เชื่อมโยงการกระทำความผิดมาถึงตัวจำเลยได้โดยใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) ซึ่งการใช้โทรศัพท์ครั้งหนึ่งทั้งการโทรศัพท์ หรือการรับส่งข้อความจะปรากฎข้อมูลการโทรที่ผู้ให้บริการ ซึ่งจะปรากฎรายละเอียดทั้งวันที่ เวลา หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ หรือ IMEI (ต่อไปขอเรียกว่าหมายเลขอีมี่) ซึ่งในกรณีดังกล่าวหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยเป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน กล่าวคือโจทก์กล่าวอ้างว่ามีการส่งข้อความจากโทรศัพท์เครื่องเดียวกันกับของจำเลย
อย่างไรก็ตามแม้โดยหลักการแล้วหมายเลขอีมี่จะเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลขอีมี่ประจำของตนและจะไม่ซ้ำกัน   แต่ในทางปฏิบัติซึ่งทราบกันอยู่ทั่วไปว่าหมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และพยานหลักฐานของโจทก์ก็ยอมรับถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว  กล่าวคือ
จากบันทึกข้อความในการส่งของกลางตรวจพิสูจน์เอกสารหมายจ.๑๑ ข้อ ๙.๑ ได้ขอให้ตรวจพิสูจน์ว่า โทรศัพท์ของกลางข้อ ๘.๑ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขเดิมเป็นหมายเลขใด
จากคำให้การของพยานโจทก์ปากนายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด หน้าที่ ๓ ได้ให้การว่า ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้ และ อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆเครื่องได้
จากคำให้การพยานโจทก์พ.ต.อ.XXXXXXXXXXX หน้าที่ ๔ ได้ให้การว่า “หมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย
  รวมทั้งข้อมูลตามเอกสารหมายล.๖ และล.๗ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว และข้อความตามเอกสารหมายล. ยังระบุถึงข้อจำกัดของหมายเลขอีมี่ว่า  เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ
จากพยานเอกสารของโจทก์และคำให้การของพยานโจทก์ รวมถึงพยานเอกสารของจำเลยที่กล่าวมาข้างต้นย่อมสรุปได้ว่า หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ โดยสามารถแก้ไขเปลี่ยนเป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะไปปรากฏยังผู้ให้บริการ ทำให้หมายเลขอีมี่ไม่มีความน่าเชื่อถือเพราะเมื่อหมายเลขอีมี่สามารถแก้เปลี่ยนแปลงได้ย่อมไม่สามารถที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ได้อย่างแน่นอน   การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้  เพราะหมายเลขอีมีไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้
        ประกอบกับโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย ว่ามีการตรวจสอบแล้วครบทั้งสามบริษัทพบหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏใช้เพียงหมายเลขเดียว มีเพียงคำให้การกล่าวอ้างลอยๆว่าได้ทำการแขวนอีมี่กับทั้งสามเครือข่ายผู้ให้บริการ โดยไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดง  มีเพียงข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัท ดีแทค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ เท่านั้น         
            นอกจากนี้พยานโจทก์ยังให้การขัดแย้งกันเองกล่าวคือพยานโจทก์ปากร.ต.อ.XXXXXXXXXXX พ.ต.อ.XXXXXXXXXXXและพ.ต.ท.XXXXXXXXXXX ได้ให้การว่าตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทแล้ว ในขณะที่พ.ต.ท.XXXXXXXXXXXซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ได้ให้การในหน้าที่ ๒ วรรคสุดท้ายว่า “คณะทำงานได้มีหนังสือไปยังค่ายดีแทคและค่ายทรูมูฟเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ตามเอกสารหมายจ. ๕ และ จ.๖” ซึ่งไม่ได้พูดถึงการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด แต่อย่างใด และแม้พ.ต.ท.XXXXXXXXXXX จะให้การขัดแย้งกับพยานโจทก์รายอื่นแต่กลับให้การสอดคล้องกับพยานเอกสารซึ่งมีเพียงข้อมูลจากสองบริษัท จึงทำให้คำให้การพยานของพ.ต.ท.XXXXXXXXXXXมีน้ำหนักมากกว่าพยานปากอื่นๆ
     เมื่อโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานว่ามีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด หรือมีหนังสือตอบกลับมาจากบริษัทดังกล่าวว่าไม่มีผู้ใช้บริการของบริษัทดังกล่าวใช้หมายเลขอีมี่ที่ตรงกับเครื่องซึ่งใช้ส่งข้อความ ทั้งที่การตรวจสอบและการยื่นพยานหลักฐานสามารถกระทำได้โดยง่าย หากโจทก์ได้ทำการตรวจสอบจริงก็สมควรยื่นหลักฐานดังกล่าวเข้ามาเพื่อแสดงความชัดเจนและความบริสุทธิ์ใจในการสืบสวน จึงน่าเชื่อว่าการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวไม่มีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัดจริง
         นอกจากนี้จำเลยขอเรียนว่าเอกสารข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัททรูมูฟจำกัดตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ถึงแผ่นที่ ๑๓ นั้นไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจเรียกว่าเป็นการแขวนอีมี เพราะหากเป็นการแขวนอีมี่นั้น โดยเหตุผลแล้วการตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟจำกัด ต้องเริ่มตรวจสอบจากหมายเลขอีมี่ แล้วจึงพบเบอร์โทรศัพท์ของจำเลยใช้คู่กับหมายเลขอีมี่ดังกล่าว แต่จากข้อความในเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ ซึ่งมีข้อความว่า ตามที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีหนังสือตามที่อ้างถึงให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (บริษัท)ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๕XXXXXXX๒๗..... แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เลย และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือพอที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้  และไม่สามารถใช้ยืนยันได้ว่าในเครือข่ายของบริษัททรูมูฟจำกัดนั้นมีเบอร์โทรศัพท์ซึ่งใช้กับหมายเลขอีมี่นี้หมายเลขเดียว
            จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากความไม่น่าเชื่อถือในการนำหมายเลขอีมี่มาตรวจสอบแล้ว โจทก์ยังนำเสนอพยานหลักฐานไม่ครบถ้วนพอที่จะแสดงให้เห็นว่ามีหมายเลขอีมี่ดังกล่าวหมายเลขเดียวที่ใช้ในประเทศไทย การสืบสวนสอบสวนตามความเชื่อทางทฤษฎีว่าหมายเลขอีมี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องไม่มีทางซ้ำกันนั้น ทำให้โจทก์ผิดหลงในการสืบสวนสอบสวนมาตั้งแต่ต้น หากโจทก์ทำการตรวจสอบครบถ้วนจริง โจทก์ก็ต้องแสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบตั้งแต่ต้น แต่โจทก์กลับไม่แสดงพยานหลักฐานให้ศาลสิ้นสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์ได้ มีเพียงคำกล่าวอ้างลอยๆซึ่งขัดแย้งกับพยานหลักฐานของโจทก์เอง
              ข้อ ๓.การสืบสวน สอบสวนของเจ้าพนักงานมุ่งไปที่ตัวจำเลยโดยตรง ไม่ได้เชื่อมโยงจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ (หมายเลขอีมี่) และคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกับพยานเอกสารอย่างชัดแจ้ง 
         จำเลยขออนุญาตชี้ประเด็นให้ศาลพิจารณาว่าคดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้งกล่าวคือ
            .๑ วันที่ตามพยานเอกสารหมายจ. ๕ และจ.๖ ขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนตามคำเบิกความของพยานโจทก์
            ในการสืบสวน สอบสวนเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากเอกสารหมาย จ.๗ และจากคำให้การพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ให้การตรงกันคือ ในการสืบสวนสอบสวนจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
         ๑. มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ –XXXXXXXXXXX๙๙ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่ ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓
        ๒.  ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC  มีหมายเลขเครื่อง(IMEI)  ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ
        ๓.   ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
        ๔.  นำหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์  ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งสามบริษัทพบว่า ปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวใช้กับหมายเลข ๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗ ของบริษัท TRUMOVE จำกัดเป็นหมายเลขไม่จดทะเบียน
        ๕.  พนักงานสอบสวน  ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล XXXXXXXXXXX
        จากแผนผังดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การตรวจสอบพยานหลักฐานดังกล่าวต้องทำเป็นขั้นตอนตามลำดับ  จึงจะสามารถเชื่อมโยงมายังหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยได้ ไม่สามารถกระทำข้ามขั้นตอนลำดับใดลำดับหนึ่งได้        
        อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคดีตามเอกสารหมายล.๑  และเอกสารหมาย จ.๑๙ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเดียวกันคือคำให้การของนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยกลับระบุว่าได้มาให้การต่อเจ้าพนักงานในวันที่  ๒๓  มิถุนายน ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ คือนายอำพล XXXXXXXXXXX เมื่อเทียบกับขั้นตอนด้านบนจะเป็นลำดับที่ ๕
          การตรวจสอบข้อมูลการโทรหมายเลข ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ จากบริษัทดีแทคจำกัดพบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตรวจสอบได้ข้อมูลในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมาย จ.๕ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๓
          ในขณะที่การตรวจสอบข้อมูลการโทรของหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ บริษัททรูมูฟจำกัดได้มีหนังสือแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขดังกล่าวในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงพันตำรวจเอก XXXXXXXXXXX ตามเอกสารหมายจ.๖แผ่นที่ ๖ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๔  
          การตรวจสอบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้คู่กับหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ กับบริษัทดีแทคจำกัด ในการส่งข้อความพบว่าเป็นหมายเลขอีมี่ ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ตรวจสอบได้ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๒
           จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานของโจทก์เองและพยานโจทก์ทุกปากให้การยอมรับการตรวจสอบตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ จะพบว่าลำดับขั้นตอนหากนำมาเรียงตามลำดับวันที่แล้วจะได้เป็น
วันที่  ,๑๑,๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๑ มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๙๙  ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่  ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒  พฤษภาคม ๒๕๕๓
วันที่ ๒๓  มิถุนายน ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๕  พนักงานสอบสวน  ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล XXXXXXXXXXX(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)      
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๓  ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)         
วันที่      ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๔
ทราบข้อมูลการโทร ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ จากบริษัททรูมูฟ จำกัด 
(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)
วันที่       ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓    ลำดับที่ ๒  ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC  มีหมายเลขเครื่อง(IMEI)  ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ (ทราบหมายเลขอีมี่)
            กล่าวคือหากเรียงตามลำดับวันที่เอกสารของโจทก์แล้ว โจทก์ใช้วิธีการดำเนินการสอบสวนตามลำดับคือ-๕-๓-๔-๒ ซึ่งขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ๑-๒-๓-๔-๕    ดังนั้นในวันที่ เจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบปากคำนางXXXXXXXXXXX บุตสาวจำเลยเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้เชื่อมโยงเครื่องที่ใช้กระทำความผิดเลย แม้กระทั่งวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งทางบริษัทดีแทคจำกัดแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้กระทำความผิดมา ก็ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่จนทางดีแทคต้องตรวจสอบและแจ้งหมายเลขอีมี่ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓  อีกทั้งหนังสือตอบกลับของบริษัททรูจำกัด ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ นั้นก็เป็นการสอบถามจากหมายเลข ๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗ ของจำเลยไม่ได้ตั้งต้นจากหมายเลขอีมี่ซึ่งการจะตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟ จำกัดนั้นจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเลยซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง    
            จำเลยขอเรียนว่าเอกสารตามหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ – ๑๓ ซึ่งเป็นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยเป็นเอกสารฉบับแรกในคดีนี้ที่มีหมายเลขอีมี่ปรากฏในวันที่  ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓  และปรากฏโดยไม่มีความเชื่อมโยงกับหมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิดมาก่อนเพราะเป็นหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏจากเบอร์ของจำเลย  ในขณะที่ตามบันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำนางxxxxxx  xxxxxxxx วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๙   ก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่   ประกอบกับบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนXXXXXXXXXXXเจ้าหน้าที่บริษัทดีแทคจำกัด ลงวันที่ ๒๐กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๖ ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้ในการกระทำความผิดและเป็นพยานปากสำคัญที่จะใช้เชื่อมโยงหมายเลขอีมี่ไปถึงหมายเลขอีมี่เครื่องจำเลยได้ แต่กลับไม่ปรากฏคำให้การในชั้นสอบสวนที่กล่าวถึงหมายเลขอีมี่อันจะเชื่อมโยงไปถึงจำเลยได้ แต่กลับปรากฎการแจ้งหมายเลยอีมี่ของเบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.แผ่นที่ ๒ ตามที่จำเลยได้เรียนแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าพยานหลักฐานอื่นๆซึ่งเชื่อมโยงหมายเลขอีมี่จากบริษัทดีแทคจำกัดไปยังหมายเลขอีมี่ของจำเลยล้วนเกิดขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ได้ทราบหมายเลขอีมี่ของจำเลยแล้วทั้งสิ้น
          ดังนั้นจะพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาใช้พิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดหมายจ. ๕ และจ.๖ซึ่งพยานโจทก์ทุกปากให้การตามเอกสารดังกล่าว ขัดแย้งกับคำให้การพยานโจทก์เองอย่างชัดแจ้ง พยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อถือ และเป็นไปไม่ได้ตามหลักของเหตุผลที่โจทก์ใช้ในการตรวจสอบและไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง
             ๓.๒ พยานหลักฐานโจทก์ เอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ไม่ได้ระบุเอกสารแนบและระบุเลขวันที่ใช้ในการตรวจสอบหมายเลขอีมี่ผิดจากวันที่ส่งข้อความ
            กล่าวคือพยานเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒   ซึ่งเป็นหนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากบริษัทดีแทคจำกัดถึงพ.ต.อ.XXXXXXXXXXXในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นั้น    ระบุว่า ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้   บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ ๑๐-๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐
            ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเหตุใดทางบริษัทจึงไม่สามารถตรวจสอบได้ และวันที่ตามหนังสือดังกล่าวก็ไม่ตรงกับวันทีเกิดเหตุ ในเรื่องนี้แม้XXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายกฎหมายและXXXXXXXXXXX ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายให้การว่าเป็นเรื่องผิดหลง แต่หนังสือฉบับดังกล่าวกลับข้อพิรุธถึงสามจุดคือ
๑.      ผิดหลงในเรื่องการตรวจสอบ ซึ่งหากในคราวแรกไม่ได้ตรวจสอบ หนังสือฉบับนี้
       ควรแจ้งให้ถูกต้องไม่ใช่แจ้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้
๒.      ระยะเวลาในการตรวจสอบของหนังสือดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมิถุนายนไม่ตรงกับ
       ระยะเวลาที่เกิดเหตุในช่วงเดือนพฤษภาคม
๓.      หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งหมายเลขอีมี่ไม่ได้ระบุว่ามีเอกสารแนบเป็นข้อมูล
       การโทร ซึ่งโดยหลักแล้วพยานเป็นเจ้าหน้าที่และผู้จัดการฝ่ายกฎหมายทำงานมาเป็นระยะเวลานาน  การทำการตรวจสอบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกฎหมายและเสรีภาพของบุคคล พยานย่อมต้องมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน แต่หนังสือดังกล่าวกลับมีข้อพิรุธถึงสามจุด อีกทั้งเอกสารหมายจ.๕ ที่พยานได้แจ้งผลการตรวจสอบมาในคราวแรกนั้นก็ไม่มีการเซ็นรับรองพยานเอกสาร ซึ่งต่างจากเอกสารแนบในการส่งมาครั้งที่สองนั้นมีการเซ็นรับรอง แสดงให้เห็นถึงการทำงานซึ่งไม่อาจเป็นมาตราฐาน ไม่มีความน่าเชื่อถือของพยานโจทก์ และไม่อาจทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าหนังสือดังกล่าวทำขึ้นมาด้วยความสุจริตจริง
ข้อ ๔. โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานเอกสารใดสามารถยืนยันว่าจำเลยเป็นคน กดข้อความและส่งข้อความตามที่โจทก์กล่าวอ้างเลย
            จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากพยานเอกสารของโจทก์น่าสงสัย และขัดแย้งกับคำให้การของพยานโจทก์เองแล้ว โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน จำเลยได้เรียนให้ศาลพิจารณาถึงความไม่น่าเชื่อถือของเอกสารดังกล่าวแล้ว และโจทก์ก็ไม่พบเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้กระทำความผิดที่จำเลย ประกอบกับคำให้การพยานโจทก์นายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัททรู หน้าที่สาม บรรทัดที่ ๑๒ ยังให้การต่อศาลว่า จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมาย จ.๖ แผ่นที่ ๗ ถึง ๑๔ ไม่ปรากฎว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว และจากบันทึกคำให้การนางxxxxxxxxxxxxxxx วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.๒๑ แผ่นที่ ๓ บรรทัดที่ ๖ยังให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพยานทราบว่านายอำพลฯส่งข้อความไม่เป็น และไม่เคยเห็นว่านายอำพลส่งข้อความ  ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงXXXXXXXXXXXในหน้าที่ ๒ ซึ่งให้การว่า ข้าฯไม่เคยเห็นจำเลยส่งข้อความให้กับผู้ใด”  และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ชั้นจับกุม สอบสวนและชั้นพิจารณา  พยานหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงให้ศ่าลเห็นว่าไม่เพียงจำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด แต่ไม่มีความสามารถในการกระทำความผิดด้วยซ้ำเนื่องจากจำเลยไม่สามารถส่งข้อความได้
          นอกจากนี้โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด มีเพียงพยานหลักฐานซึ่งขัดแย้งกันเอง ไม่น่าเชื่อถือ นำมากล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์จึงเป็นการกล่าวหาอย่างร้ายแรงและไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยได้
          ในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย  ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงxxxxxxxxxxxxxx หลานสาวของจำเลยซึ่งจำเลยเคยพาไปลงนามถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราชให้การยืนยันตามคำให้การหน้าที่ ๑ ว่า จำเลยเคยพาข้าฯไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงปิดเทอมปี ๒๕๕๒
         ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นถึงความไม่น่าเชื่อถือของพยานโจทก์ซึ่งให้การขัดแย้งกับพยานเอกสาร และพยานเอกสารของโจทก์ซึ่งขัดแย้งกันเอง และเป็นไปไม่ได้โดยหลักของเหตุผลที่จะใช้ในการตรวจสอบ  การสอบสวนที่มุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นประกอบกับพฤติการณ์และความเป็นไปได้ที่จำเลยจะกระทำความผิดซึ่งไม่สามารถมีได้เลย จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยหลักการของเหตุผลดังกล่าว และโปรดพิจารณาปล่อยจำเลยไป

                                                                           ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
                                                                                  ลงชื่อ                                                                            
                                                                                                        จำเลย
              คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียงและพิมพ์
                                                                                   ลงชื่อ

                                                                                                                                  ผู้เรียงและพิมพ์
http://redusala.blogspot.com