วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554


18 ปี ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ร.ร.รอยัลพลาซ่า โคราช



        ถือว่าเป็นอีก หนึ่งประวัติศาสตร์ที่คนไทยต้องจารึกกับ โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมืองไทยกับ เหตุการณ์ตึกถล่มโรงแรมรอยัลพลาซ่า ถ.จอมสุรางค์ยาตร อ.เมือง จ.นครราชสีมา ความเสียหายในครั้งนั้นยังผลให้มีผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมดถึง 137 คนบาดเจ็บ 227 คน ไทยรัฐ ออนไลน์ ย้อนรอย 18 ปีนาทีต่อนาที ในวันที่ 13 ส.ค.2536 อีกครั้ง เพื่อย้ำความจดจำและนำมาเป็นบทเรียน ...

          วันที่ 13 ส.ค. 2536 เวลา 10.30 น.เสียงวิทยุ และทีวีประกาศดังลั่น ทำลายความสงบของ ถ.จอมสุราค์-ยาตร ใจความมีอยู่ว่า โรงแรมรอยัลพลาซ่า ตั้งอยู่เลขที่ 547 ถ.จอมสุรางค์-ยาตร อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอาคาร 6 ชั้น ประกอบด้วยห้องพัก ห้องอาหาร และแหล่งบันเทิงที่ครบวงจรได้ถล่มทรุดลงมาขณะที่มีพนักงานของโรงแรม แขกที่พักอยู่ตาม ห้องต่างๆ ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ โครงการพัฒนาบุคลากรสามัญศึกษา พร้อมทั้งพนักงานบริษัทเชลล์ เข้าประชุมสัมมนา ประมาณ 380 คน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 137 คน และบาดเจ็บอีก 227 คนยังความตกใจให้กับผู้ที่รับข่าวสารมากมาย

          หลังจากรับแจ้งเหตุ นายดำรง รัตนพานิช ผวจ. นายบุญสม พิรินทร์ยวง นายอำเภอเมือง พร้อมด้วย พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 พ.ต.อ.เถลิงศักดิ์ สุคนธมาน หน.ตร.นครราชสีมา พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเดินทางไปที่เกิดเหตุ

             ภายหลังการสืบค้น ประวัติ โรงแรมรอยัลพลาซ่า พบว่า ขณะนั้นโรงแรมแห่งนี้มีคณะกรรมการ5 คน โดยมี นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไลเป็นประธาน เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2527 ตามใบอนุญาตเทศบาลเลขที่ 11/2527 ลงวันที่ 24 ต.ค. 2526 ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินมีนายณรงค์ นันทผาสุข เป็นผู้ขออนุญาต มีจำนวนห้องทั้งหมด 62 ห้อง ต่อมาปี 2533 บริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเต็ลได้ต่อเติมเป็นอาคาร 6 ชั้นตามใบอนุญาต ที่ 644/2533

            เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2533 มีจำนวนห้องเพิ่ม 134 ห้อง และ ในปี 2536 ซึ่งได้ขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มอีก 9 ห้อง ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่โดยมีนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ เป็นวิศวกรออกแบบและสถาปนิก นายสุวัฒน์ ตัณฑนุข เป็นผู้ช่วยวิศวกร ห้างหุ้นส่วนจำกัด วงษ์สินไทย เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และขออนุญาตก่อสร้างในสมัยนายนิวัตชัย สุชาดารัตน์ เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา นายประชิต วงษ์มณี เป็นเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา ผู้ควบคุมงานกองช่าง เป็นผู้อนุมัติ

            ต่อ มาไม่นาน กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนายบำเพ็ญ พันธ์รัตนะอิสระ วิศวกรออกแบบ โดยมีนายเสรี สุธรรมชัย รองอธิบดีกรมโยธาธิการ เป็นประธาน เพื่อให้คณะกรรมการอนุกรรมการดำเนินการไต่สวนตามข้อบังคับ ก.ว. ว่าด้วยการสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

ทั้งนี้ พล.ต.ท.วิรุฬท์ ฟื้นแสน ผบช.ภ. 2 ได้ประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และแต่งตั้งให้ พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ. 2 รับผิดชอบควบคุมคดี โดยมอบหมายให้ พ.ต.อ.บำรุง สุขพานิช รองผบก.ภ. 4 เป็นหัวหน้าชุดสอบสวน พ.ต.อ. จุฬา ชูเวช รอง หน.ตร.นครราชสีมา เป็นรองหัวหน้าสอบสวน พล.ท.อานุภาพ ทรงสุนทร แม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.ท.วิรุฬท์ ฟื้นแสน ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 นายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา นางชูศรี ศรีวิไลลักษณ์ นายกเทศมนตรี และหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมวางแผนช่วยเหลือผู้รอดชีวิตพร้อมกับได้นำตัวนายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล นายสัญชัย สุรโชติมงคล นายชาตรี ล้อเลิศรัตนะ และนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ มาสอบปากคำที่สภ.อ.เมือง และได้ตั้งข้อหาทั้ง 4 คน ว่า “กระทำ การโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ ซึ่งทั้งหมดให้การปฏิเสธ ส่วยนายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศิริกุล และนายซิม แตมสำราญ ยังหลบหนีอยู่”

         นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รมช.กระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อธิบดีกรมการปกครองในขณะนั้น เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ

         “จาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดูแลการก่อสร้าง และเชื่อว่ายังมีอาคารสภาพดังกล่าวอีกหลายแห่ง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังบูม จึงไม่ค่อยสนใจเรื่องของแบบแปลนการก่อสร้าง หรือมีการใช้อิทธิพลในท้องถิ่น โดยนายทุนใช้อิทธิพลกับข้าราชการจึงอยากให้มีการเข้มงวดถึงการเคารพกฎหมาย และหลักเกณฑ์” นายชวนกล่าว

            พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย สั่งให้จังหวัดนครราชสีมาจัดตั้งกองอำนวยการในบริเวณโรงแรมที่เกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยกำลังพิจารณา พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 โดยจะปรับปรุงในบางส่วนเกี่ยวกับการให้หน่วยงานในท้องถิ่นดูแลในเรื่องการ อนุมัติและการกำกับดูแลอาคาร

          เหตุโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ส่งผลให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าให้ นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นำมามอบให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รอดชีวิต อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมจ.นครราชสีมา ได้ให้การช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลและชดเชยให้แก่ผู้เสียชีวิตหรือพิการ

          นายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมดังกล่าวออกมาระบุว่าทางบริษัทฯ ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เสียชีวิต

          ต่อมาเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยและทุกภาคส่วนลงพื้นที่และใช้เครื่องมืออุปกรณ์ขุด เจาะขนาดเล็ก เครื่องเจาะแรงอัดลม เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า ทำการขุดเจาะช่วยเหลือ

            ด้าน พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รองผบช.ภ. 2 เชิญตัว นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก มาสอบสวน โดยนำเอกสาร และแบบแปลนมาประกอบการสอบสวน ส่วนสาเหตุการถล่มนั้นเบื้องต้นคาดว่าเกิดจากการออกแบบก่อสร้างหรือการ ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบแปลน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวน โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในการออกแบบก่อสร้างมาร่วมเป็นกรรมการ

       ด้านนาย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เลขาธิการสภาองค์การครู กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นอุบัติการณ์ทางสังคมไทย เห็นว่าควรจะต้องมีการตรวจสอบสภาพของอาคารที่มีการต่อเติมทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่เป็นเมืองหลัก

         น.พ.วิฑูร แสงสิงแก้ว อธิบดีกรมการแพทย์ ได้สั่งให้แพทย์เคลื่อนที่พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ และพยาบาล จำนวน 3 ทีม เข้าช่วยเหลือ

           ต่อมาพบนางพรรณี วีสะเพ็ญ หญิงมีครรภ์รายหนึ่งที่แพทย์จำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากท่อนแขนซ้าย ถูกของหนักทับอาการสาหัส ปรากฏว่าเด็กที่คลอดเป็นเพศชาย ชื่อ ด.ช.ปาฏิหาริย์ วีสะเพ็ญ มีชีวิตได้เพียง 9 วัน ก็เสียชีวิต

            วันที่ 15 ส.ค. 2536 นายกรัฐมนตรี เดินทางมายังศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกครั้ง เพื่อติดตามดูแลการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในซากอาคาร จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่รพ.มหาราช พร้อมทั้งนำกระเช้าดอกไม้และมอบเงินช่วยเหลือและได้มอบหมายให้นายเอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิศวกรรมโครงสร้างคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยช่วยพิจารณาสาเหตุการถล่มของโรงแรมดังกล่าว ส่วนเรื่องที่ผู้รับเหมามักจะสมยอมกันในการประกวดราคาการก่อสร้างของทาง ราชการ

        ครม.ได้มีมติให้กำชับดูแลในเรื่องราคาก่อสร้าง ซึ่งผู้ตรวจรับงานไม่ควรปล่อยปละละเลยให้ผู้รับเหมาใช้ของไม่ตรงตามข้อกำหนด เพราะผลของการอนุมัติอาจจะไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จะต่อเนื่องถึงอนาคต

        ด้าน นายไสว พราหมณี อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อดีตผู้ว่าฯ นครราชสีมา กล่าวถึงกรณีที่ตนมีส่วนในการพิจารณาอนุมัติการต่อเติมอาคารโรงแรมดังกล่าว ว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งการขออนุญาตก่อสร้างและต่อเติมอาคารเป็นเรื่องของ เทศบาลเมือง และการขอก็มีใบอนุญาตประกอบการโรงแรม เรื่องดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการส่วนจังหวัด

       พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ. 2 กล่าวว่าด้านการดำเนินคดีขณะนี้ได้แจ้งข้อหากับ นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล ประธานกรรมการ และพวกในข้อหาร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสีย ชีวิต แต่ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ ควบคุมตัวไว้ที่ สภ.อ.เมืองนครราชสีมา

        ส่วน นายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศิริกุล และนายซิม แตมสำราญ กรรมการบริษัท กำลังติดต่อขอมอบตัวกับพนักงานสอบสวนอยู่ สำหรับนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก กับนายสุวัฒน์ ตัณฑนุข ผู้ช่วยวิศวกร ต่างยืนยันว่าได้ออกแบบแปลนการก่อสร้างถูกต้องตามหลักวิชาการทุกอย่าง และพนักงานสอบสวนก็ยังไม่ได้แจ้งข้อหากับบุคคลทั้ง 2 ทั้งนี้ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน

         เวลา 17.00 น. นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล ประธานกรรมการโรงแรมรอยัลพลาซ่าและพวกอีก 4 คนได้มอบตัวพร้อมกับให้การปฏิเสธ

         วัน ที่ 16 ส.ค.2536 ผบช.ภ. 2 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อหาสาเหตุและตรวจ สอบแบบแปลนว่าถูกต้องหรือไม่ ต่อมานายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล นายชาตรี ล้อเลิศรัตนะ นายสัญชัย สุรโชติมงคล และนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ได้รับการประกันตัวจาก พล.ต.ท.วิรุฬ ฟื้นแสน ผบช.ภ. 2 ในวงเงินคนละ 2 ล้านบาท

         ทีมงามสอบสวนพบสาเหตุการทรุดของโรงแรมมาจากฐานรากระหว่างรอย ต่ออาคารเก่า กับส่วนใหม่ที่ต่อเติม ทำให้ทรุดตัวกะทันหัน และ จากการตรวจสอบพบน้ำใต้ดินที่ไหลสู่ฐานราก เจ้าของโรงแรมแก้ปัญหาโดยทำบ่อแล้วสูบน้ำใต้ดินออก ทำให้ฐานรากลดขีดสมรรถภาพในการรับน้ำหนัก เพราะน้ำที่ซึมถูกดูดออกไปเป็นดินด้วย โดยทำติดต่อกัน 2 ปี จึงทำให้เกิดโพรงเมื่อความหนาแน่นของดินใต้ฐานรากของแนวต่ออาคารเก่ากับใหม่ มีความหนาแน่นน้อย ฐานรากจึงรับน้ำหนักไม่ไหว

       บริษัทกรุงเทพประกัน ภัยชี้แจงว่า ทางโรงแรมจะไม่ได้รับเงินชดเชยจำนวน 125 ล้านบาท เนื่องจากกรมธรรม์ระบุว่าประกันเฉพาะอัคคีภัยเท่านั้น

          ด้าน พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อ.ตร. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุอาคารถล่มจำนวน 29 คน ทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับผู้ กระทำผิดพ.ต.ต.สำเริง แสงวิรุฬ ผู้ช่วยผบช.ภ. 2 ได้ตรวจพบว่ามีการใช้วัสดุก่อสร้างอื่นแทนแบบที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งเป็นโครงเหล็กรองรับน้ำหนัก ส่วนที่ต่อเติมทั้งหมดและจากการตรวจแบบที่ก่อสร้างอาคารครั้งแรก ไม่มีการลงเสาเข็ม ต่อมาผู้เชี่ยวชาญได้เสนอมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารและสิ่งก่อสร้าง โดยมาตรการระยะสั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์เสนอตัวร่วมกับ มหาวิทยาลัยของรัฐและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเปิดบริการตรวจสอบหรือเรียก ตรวจสอบแบบและข้อมูลของอาคารต่างๆ และมาตรการระยะยาวจะมีการประชุมประสานงานระหว่างกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการควบคุมอาคารและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีดำเนินการ ที่จะเกิดผลทางปฏิบัติ

         เวลา 18.00 น. นายซิม แตมสำราญ อายุ 55 ปี กรรมการบริษัทเข้ามอบตัวกับ พ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา เจ้าหน้าที่แจ้งข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บสาหัส ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ

        พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 ชี้แจงว่า อาคารดังกล่าวมีความบกพร่องโดยเกิดรอยร้าวบริเวณพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร จากการสอบสวนวิศวกรพบว่าการต่อเติมครั้งหลังสุดทำให้ตัวอาคารไม่สามารถรับ น้ำหนักได้เนื่องจากผิดแบบ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำเรื่องเสนอ ผวจ.นครราชสีมา เพื่อขออนุมัติจับกุม นายบำเพ็ญ พันธ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิกโรงแรมรอยัลพลาซ่านอกจากนี้ยังพบว่าโรงแรมดังกล่าวมีการขุด บริเวณด้านล่างเพื่อสร้างห้องใต้ดิน และฐานรากขนาด 4 คูณ 4 ที่ก่อสร้างไปนั้นสามารถรับน้ำหนักได้เพียง 12 ตัน แต่จากคำให้การเบื้องต้นของนายบำเพ็ญ อ้างว่าสามารถรับน้ำหนักได้ 20 ตัน ซึ่งผิดกับข้อเท็จจริงในการสร้างอาคาร

           เวลา 10.00 น. นายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศิริกุล กรรมการบริษัท เดินทางเข้ามอบตัวกับพ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และปฏิเสธข้อกล่าวหา ต่อมา นายซิม แตมสำราญ กรรมการบริษัท เข้ามอบตัวกับ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และได้รับการประกันตัว

         วันที่ 18 ส.ค.2536 หลังจากเกิดเหตุ พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 ได้ตรวจพบหลักฐานการประชุมเมื่อปี 2530 ระบุว่าได้เกิดรอยร้าวตามฝาผนัง ซึ่งกรรมการบริหารทราบดี แต่ปกปิดและโบกปูนปิดไว้ กระทั่งปี 2534 ได้ต่อเติมห้องพักบนชั้น 5-6 เพื่อให้ทันกับการประชุมไลออนส์แห่งประเทศต่อมาก็มีรอยร้าวที่บันไดขยายวง กว้างขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจที่จะแก้ไข

        เวลา 17.00 น.นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิกเข้ามอบตัวกับ พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ. 2 โดยแจ้งข้อหาร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสีย ชีวิต ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ควบคุมตัวไว้ที่ สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และไม่อนุญาตให้ประกันตัว จากนั้นนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ได้เข้ามอบตัวอีกครั้ง

          ร.ต.เบญจกุล มะกะระธัช รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่าในมาตรการการแก้ไขเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารได้เสนอแก้พรบ.ผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมบางเรื่อง รวมไปถึงพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องในเรื่องกฎระเบียบกระทรวงและพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ให้มีขอบเขตที่จำกัดมากขึ้น โดยเน้นในเรื่องประสบการณ์ของวิศวกรเป็นสำคัญ

        จาก การสอบสวนขออนุญาตสร้างอาคารเพิ่มเป็น 6 ชั้น ทราบว่า เจ้าของโรงแรมได้ขออนุญาตจากผอ.กองช่างเทศบาลเมือง เมื่อปี2533 แต่เมื่อผอ.กองช่างขอดูแบบแปลนเดิมก็แจ้งว่าหาย ผอ.การช่างจึงไม่อนุญาตให้สร้าง ดังนั้นทางโรงแรมได้ติดต่อนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรคนเดิม เขียนคำรับรองว่าตัวอาคารแข็งแรงพอที่จะต่อเติมเป็นอาคาร 6 ชั้นได้ ผอ.กองช่างจึงอนุมัติและผ่านขั้นตอนการขออนุญาตจากเทศมนตรีฝ่ายโยธา และรองปลัดเทศบาลในสมัยนั้น แต่ตามกฎหมายการขออนุญาตต่อเติมต้องมีการแนบแบบแปลนเดิมพร้อมทั้งไปตรวจสอบ อาคารเดิมด้วย ดังนั้นจึงถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายเข้าข่ายร่วมกันโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

         เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกร อายุ 53 ปี เข้าพบพนักงานสอบสวน พร้อมแจ้งข้อหาดำเนินคดี 2 ข้อหาคือ 1.เป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบควบคุมหรือก่อสร้างซ่อมแซม หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีอันพึงกระทำการนั้น ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น 2.กระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บ ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ

         วันที่ 20 ส.ค. 2536 นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา นำพิมพ์เขียวแบบแปลนเก่าของปี 2526 ทั้งสำเนาและต้นฉบับจำนวน 45 แผ่น มามอบให้กับนายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา โดยแบบแปลนดังกล่าวระบุว่า เริ่มก่อสร้างอาคารเมื่อปี 2526 มีนายเทอดทูน ขำวิไล เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ เป็นวิศวกรโครงสร้าง และนายสำเนียง ชูสกุล เป็นวิศวกรสุขาภิบาล

         ด้าน นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา กล่าวว่า การขออนุญาตต่อเติมอาคารดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายและพ.ร.บ.ควบคุมการ ก่อสร้าง พ.ศ.2522 ม.28 ระบุว่า อำนาจหน้าที่ของเทศบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบรายละเอียดด้าน วิศวกร

        จากการสอบพยานรายหนึ่งกล่าวว่า ได้มีการตัดเสาหลายต้นในชั้นล่างซึ่งเป็นค็อฟฟีช็อป เพื่อให้มีพื้นที่กว้าง สำหรับคานในส่วนที่มีการต่อเติมอีก 3 ชั้น พบว่าใช้คานยาว 15 ม.วางพาดกับตึกลิฟต์ที่ก่อสร้างขึ้นมาตอนหลัง เมื่อเสาข้างล่างถูกตัดทำให้เสาที่เหลือรับน้ำหนักไม่ไหว อาคารจึงโยกตัวคานที่พาดไว้จึงหลุดออกมา ส่วนแท็งก์น้ำและเครื่องปรับอากาศไม่ใช่สาเหตุการถล่มในครั้งนี้

          พ.ต.ท. สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา นำตัวนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ไปยังศาลจังหวัดนครราชสีมาเพื่อขออนุญาตฝากขังเป็นครั้งที่ 1 ต่อมานายกิตติ จันทรรวงทอง ยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาลว่านายวิทยามีความจำเป็นต้องประสานงานกับหน่วย งานในการรื้อถอนซากอาคาร และจ่ายเงินชดเชยแก่พนักงานและญาติผู้ประสบภัย โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน 3 แปลง ราคาประมาณ 2 ล้านบาท ศาลโดยนายเกษม ควรเจริญ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล อนุญาตให้ประกันตัว

         นาย ประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา เข้าพบพ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพรจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ที่ห้องสอบสวนเฉพาะกิจ และกล่าวว่าการขออนุญาตต่อเติมอาคารโรงแรมดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนเมื่อวัน ที่ 18 มิ.ย. 33 โดยมีนายสิทธิศักดิ์ ลิ้มเลิศเจริญวนิช เป็นสถาปนิก นายยุทธนา อาจารยานนท์ นายอนุสรณ์ ซ้อนพิมาย เป็นวิศวกร นายมนัส ชัยนิคม หัวหน้าฝ่ายออกแบบ นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา นางยุพยง พรหมพันธ์ ปลัดเทศบาลเป็นผู้ตรวจสอบและอนุญาต ขณะนั้นมีนายนิวัติชัย สุธาดารัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาล มอบหมายให้นายประชิตทำการแทนนายกเทศมนตรี และเซ็นอนุมัติแบบแปลนเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2533 เพราะเห็นว่าแบบแปลนที่ยื่นมานั้นผ่านการตรวจสอบและคำนวณจากกองช่างมาแล้ว โดยไม่มีการทักท้วง

       วันที่ 21 ส.ค. 2536 นายนิตยา พันธุ์รัตนะอิสระ อายุ 45 ปี ภรรยานายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนอิสระ เข้าพบ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา เพื่อขออนุญาตให้แพทย์ตรวจร่างกายสามี เนื่องจากสามีเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลังจากตรวจร่างกายพบว่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ

        นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล ประธานกรรมการบริหารโรงแรมรอยัลพลาซ่าขอแจ้งปิดกิจการ เพราะอาคารถล่ม และเลิกจ้างพนักงาน เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างทุกแผนก โดยบริษัทฯ จะจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายระบุไว้

        วันที่ 22 ส.ค. 2536 พ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ได้เรียกตัวนายยุทธนา อาจารยานนท์ วิศวกรตรวจแบบแปลนมาสอบสวน เนื่องจากนายยุทธนามีอำนาจการเสนอความเห็นและเซ็นอนุมัติ การสอบสวนในขั้นนี้จะเน้นหนักไปที่การปฏิบัติหน้าที่ของกองช่างเทศบาล เพื่อชี้ชัดว่าปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ และในการสอบสวนมีความยุ่งยากโดยเฉพาะในส่วนของเจ้าพนักงานของรัฐที่มีความ ขัดแย้งกันในส่วนอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐกับสถาปนิก และวิศวกรควบคุมการก่อสร้างโดยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน กระทรวง ไม่อาจดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ อย่างไรก็ตามได้มีการนำปัญหาไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพื่อหาข้อยุติว่าสามารถจะเอาผิดเจ้าหน้าที่เทศบาลส่วนนี้ได้หรือไม่

         พล.ต.ท. วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. เผยว่า จากการเปรียบเทียบแบบแปลนปรากฏว่าแบบแปลนเดิมมีขนาดเล็กกว่าแบบแปลนที่ออก ใหม่ จึงเรียกตัวนายสุวัฒน์ ตัณฑนุช และนายส่งเสริม นพรัตน์ สถาปนิกซึ่งร่วมกันลงชื่อรับรองการวางรากฐานในแบบแปลนใหม่มาสอบสวน และทั้ง 2 อาจถูกดำเนินคดีในข้อหารับรองเท็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน
24 ส.ค. 2536

          นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ ได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท เพื่อขอประกันตัว ศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้

          เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูได้ยุติการค้นหา และมอบหน้าที่ให้สมาคมพุทธธรรมการกุศล (ฮุก 31) กับเจ้าหน้าที่หน่วยอื่นรับช่วงค้นหาต่อไป

         วันที่ 26 ส.ค. 2536 พล.ต.ท.วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. สรุปว่าการถล่มของโรงแรมมาจากฐานเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเดิม ไม่สามารถรองรับน้ำหนักการต่อเติมได้ เมื่อมีแรงกดดันมากจึงทำให้อาคารถล่ม และถือว่าเป็นความประมาทของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้ดูแบบแปลนเดิม

            วันที่ 28 ส.ค. 2536 -ทางด้านคดีในเบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับคณะผู้บริหารโรงแรม 6 คน และดำเนินคดีกับนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างประกันตัวชั้นศาล ส่วนผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ออกหมายจับ

        เวลา 05.00 น. นายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนประมาณ 30 คน ประกอบพิธีบวงสรวงท้าวสุรนารี เวลา

        07.30 น. จัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต โดยนิมนต์พระญาณวิทยาคมเถร หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อฐานิโย วัดป่าสาละวัน หลวงปู่นิล วัดครบุรี หลวงพ่อคง วัดตะกร้อ ตลอดจนเจ้าคณะภาค, จังหวัด และตำบลจำนวน 219 รูป ร่วมสวดแผ่เมตตาบริเวณที่เกิดเหตุ

         วันที่ 29 ส.ค. 2536 พล.ต.ท.วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ได้แจ้งข้อหาใดๆ กับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพนักงานสอบสวนกำลังสรุปสาเหตุที่ชัดเจนจากทางคณะกรรมการที่ลงไป ตรวจสอบฐานรากและเสาของตัวอาคาร

          วันที่ 30 ส.ค. 2536 นายประกอบ วิโรจน์กูล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น พบว่าการถล่มของอาคารน่าจะเกิดจากรากฐานของตึกเดิมที่ไม่สามารถรับน้ำหนัก ได้ จากการสอบถามวิศวกรออกแบบกล่าวว่าการใช้เสาขนาด 4 คูณ 4 ม. จะสามารถรับน้ำหนักได้ 6 ชั้น แต่การตรวจสอบเสาของโรงแรมพบว่าใช้เสาขนาด 3.2 คูณ 3.2 ม. เท่านั้น

          สำหรับการช่วยเหลือ สำนักงานประสงเคราะห์จังหวัด ช่วยเหลือไปแล้ว 1,825,000 บาท สำนักงานประกันสังคมจังหวัดจ่ายให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จำนวน 9,849,840 บาท จ่ายค่ารักษาพยาบาล, ค่าทดแทนที่บาดเจ็บ จำนวน 727,070 บาท จ่ายประกันการทำงานให้ลูกจ้างที่มีสิทธิ์ 391 ราย จำนวน 5,905,005 บาท เงินสงเคราะห์จากภาคเอกชน และเงินช่วยของโรงแรมจำนวน 4,235,000 บาท มูลนิธิคุณากรและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จำนวน 644,000 บาท รวมทั้งสิ้น 22,531,975 บาท จังหวัดได้รับบริจาคอีก 11,700,000 บาท
31 ส.ค. 2536

         จากผลการตรวจพิสูจน์ของฝ่ายโยธาธิการกรมตำรวจพบว่า ฐานเสาคอนกรีตบริเวณชั้นล่างสุดระหว่างห้องอาหารซึ่งเป็นหมู่เสาซี มีขนาดเล็กกว่าแบบแปลนที่กำหนดจากที่ระบุไว้ ขนาด 4 คูณ 4 ม. แต่พบจริงมีขนาดแค่ 3.2 คูณ 3.2 ม. และยังพบโคลนดำผสมน้ำกระจายอยู่รอบเสาฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นดินชั้นล่างมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลา ทางโรงแรมคงใช้วิธีสูบน้ำทิ้งทำให้ชั้นใต้ดินเป็นโพรงจึงเกิดการถล่ม นอกจากนี้ยังขุดต่อไปยังบริเวณหมู่เสาดี เพื่อตรวจสอบเสาฐานของอาคารให้ละเอียดชี้ชัดอีกครั้ง

         นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแก่ผู้เสียชีวิต และพิการรายละ 200,000 บาท รวมทั้งสิ้น 27,200,000 บาท เงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรผู้ประสบภัย จำนวน 37,600,000 บาท รวมทั้งหมด 64 ล้านบาท

          พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ.2 ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนได้ประชุมคณะกรรมการสอบสวนที่ได้รับการแต่งตั้ง จาก อ.ตร. ประกอบด้วย พล.ต.ต.บุญชอบ พุ่มวิจิตร ผช.ผบช.ภ. พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ.4 พ.ต.อ.บำรุง สุขพานิช รอง ผบก.ภ.4 พ.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด รอง ผบก.คด.กรมตำรวจ พ.ต.อ.เถลิงศักดิ์ สุคนธมาน หน.ตร.นครราชสีมา พ.ต.ท.สุมทร เลิศทวีศิลป์ รอง ผกก.โยธาธิการกรมตำรวจ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา รวมทั้งพนักงานสอบสวนอื่น ๆ อีก 29 ราย ณ ห้องปฏิบัติการ สภ.อ.เมืองนครราชสีมา การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสอบสวนซึ่งแบ่งการดำเนิน คดีผู้เกี่ยวข้องเป็น 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มผู้บริหารโรงแรม 2.กลุ่มวิศวกร 3 กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ

          อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตที่พบแล้ว 133 ราย เป็นชาย 68 ราย หญิง 65 ราย ข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษา 47 ราย พนักงานบริษัทเชลล์ 24 ราย พนักงานโรงแรม 37 ราย ผู้เข้าพักอื่น ๆ 25 ราย หาไม่พบอีก 3 ราย ผู้บาดเจ็บ 227 ราย

           นายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่าหากหน่วยงานใดสามารถขุดค้นพบศพที่เหลือ บริษัทฯ จะจ่ายเงินรางวัลให้ศพละ 10,000 บาท โดยการค้นหาในวันนี้นับเป็นวันที่ 19 จากวันเกิดเหตุ

        เวลา 13.30 น. พ.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข หน.สายสืบเฉพาะกิจได้นำตัวนายชำเพียง ชูสกุล อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา ซึ่งได้รับมอบหมายจากบริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเต็ลให้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร เมื่อปี 2527 ไปมอบให้กับ พ.ต.ท.สังวร ภู่ไพจิตรกุล สว.สส. ดำเนินการสอบสวนหารายละเอียดเพิ่มเติม และนำตัวนายสัญชัย สุรโชติมงคล รองประธานคณะผู้บริหาร ซึ่งอยู่ระหว่างประกันตัวมามอบให้กับ พล.ต.ต.บุญชอบ พุ่มวิจิตร ผช.ผบช.ภ. สอบสวน นำตัวนายอนันต์ สกุลภิญโญ อดีตกรรมการผู้จัดการมามอบให้กับ พ.ต.ต.พงศ์เดช พรหมวิจิตร สว.ธุรการ มาสอบสวนที่ห้องของ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา

        พล.ต.ต. ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ.2 กล่าวว่าสาเหตุที่โรงแรมถล่มเกิดจากรากฐานเสา 3 ต้นรับน้ำหนักของอาคารไม่ไหว และฐานรากสร้างผิดแบบ ซึ่งผู้กระทำผิดมีโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต

วันที่ 2 ก.ย. 2536 ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมได้ตรวจพิสูจน์ฐานรากอีกครั้งพบว่า สาเหตุเกิดจากเสาตอม่อที่ติดกับคานคอดินไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวอาคารที่ ก่อสร้างเพิ่มเติมจาก 3 ชั้น เป็น 6 ชั้นได้จึงทำให้ถล่ม


       พนักงาน สอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานอย่างละเอียดและออกหมายจับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ 6 คน คือ 1.นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา 2.นายมนัส ชัยนิคม หัวหน้าฝ่ายแบบแปลน 3.นายยุทธนา อาจารยานนท์ หัวหน้าวิศวกรตรวจสอบแบบแปลน 4.นายอนุสรณ์ ซ้อนพิมาย ผู้ช่วยวิศวกร 5.นางยุพยง พรหมพันธ์ ปลัดเทศบาล 6.นายประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา ในข้อหากระทำผิดฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบทำให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาม ได้รับบาดเจ็บสาหัสและได้รับบาดเจ็บ การออกหมายจับดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากนายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา

        เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวนายณรงค์ จันทผาสุข อดีตผู้บริหารโรงแรมปี 2527 ที่เคยขออนุญาตต่อเติมอาคารมาสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อขยายผลหาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

        เวลา 14.00 น. นายประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรี เทศบาลเมืองนครราชสีมาเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน ซึ่งในชั้นการสอบสวนยังไม่ให้ประกันตัว

        พ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอฝากขังนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก เป็นครั้งที่ 2 ขณะเดียวกันนางนิตยา พันธุ์รัตนะอิสระ ภรรยาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอประกันตัว ศาลอนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท

       วัน ที่ 3 ก.ย. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญในฐานะผู้บำเพ็ญความดีแก่ น.พ.ชนนท์ ถนอมสิงห์ น.พ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิพงศ์ น.พ.ไพรัตน์ สุขสโมสร และ พ.ญ.พวงเพ็ญ อ่ำบัว

         พล.ต.ท.วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. ได้เรียกตัวนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิกมาสอบปากคำเพิ่มเติมอีกครั้ง

        วัน ที่ 5 ก.ย. 2536 พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ได้เรียกตัวนายณรงค์ นันทผาสุข อดีตกรรมการบริหารบริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเต็ล มาสอบสวนเพิ่มเติมในฐานะพยานโดยนำแบบแปลนการก่อสร้างเพิ่มเติมในปี 2533 มาประกอบการสอบสวน

         วันที่ 6 ก.ย. 2536 นายประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรี เทศบาลเมืองนครราชสีมาได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนเพื่อขอประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เป็นสมุดเงินฝากธนาคาร จำนวน 1 ล้านบาท พนักงานสองสวนอนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากคำนึงถึงด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

        ราย งานจากผช.ภ.3 แจ้งว่าขณะนี้พบหลักฐานเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมากและพนักงานสอบสวนเตรียมที่ จะจับกุมผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีกมีทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักธุรกิจภาคเอกชน โดยทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงแรม นอกจากนี้การดำเนินคดียังมุ่งประเด็นไปที่ผู้รับเหมาก่อสร้างด้วย

       วัน ที่ 7 ก.ย. 2536 นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่าง นายมนัส ชัยนิคม หน.ฝ่ายแบบแปลน นายยุทธนา อาจารยา

*****************************

ภาพความสยดสยองของเหตุการณ์โรงแรม รอยัล พลาซ่า ใจกลางเมืองโคราช ถล่มทับพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพักจนเสียชีวิตนับร้อยคน เมื่อปีพุทธศักราช 2536 สร้างความสะเทือนใจแก่คนไทยตราบทุกวันนี้

    ความสูญเสียที่มิอาจประเมินค่าอันเกิดจากความ "ชุ่ย" เห็นแก่ตัวของคนบางคน คงจะเป็นอุทาหรณ์แก่คนรุ่นปัจจุบัน

    ปีพุทธศักราช 2536 ยุคก่อนเศรษฐกิจดิ่งเหวไม่กี่ปี จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประตูสู่ภาคอีสาน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่หนีความวุ่นวายออกไปเสพสุขตามต่างจังหวัด โรงแรมต่าง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด หนึ่งในนั้น "โรงแรม รอยัล พลาซ่า" หรือชื่อเดิม "โรงแรม เจ้าพระยาเมืองใหม่" ถือเป็นโรงแรมหรู 1 ใน 5 ของจังหวัด

    ทว่าภาพที่สวยหรูภายนอกกลับแฝงภัยเงียบที่ค่อย ๆ คืบคลาน จนกระทั่งกลืนชีวิตคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่นับร้อยคน ในเวลาต่อมา!?





    ลางหายนะของโรงแรมแห่งนี้เริ่มปรากฏชัดในปีพุทธศักราช 2533 เมื่อกลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่า ควรมีการต่อเติมอาคารจากเดิม 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว จากนั้นโรงแรมแห่งนี้ก็มีการต่อเติม และขยายพื้นที่ของอาคารอย่างผิดหลักวิศวกรเรื่อยมา โดยไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยในชีวิตของพนักงาน และแขกที่เข้ามาพักในโรงแรมแม้แต่น้อย!

    สิ่งที่ทุกคนไม่เคยรู้มาก่อน คือเจ้าของโรงแรมผู้เห็นแก่ได้ ลักลอบต่อเติมอาคารอย่างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการตัดเสาขนาดใหญ่ตรงกลางห้องอาหารของโรงแรมทิ้ง หวังเพิ่มพื้นที่ใช้สอย และต้องการให้แขกสามารถเห็นนักร้องได้ชัดเจนขึ้น! และแล้วหายนะครั้งร้ายแรงก็อุบัติขึ้นเมื่อเวลาราว 10 โมงเช้า วันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช2536 ตัวโรงแรมเกิดการทรุดตัวอย่างรุนแรง และถล่มลงมาทั้งอาคารในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยตัวโรงแรมเริ่มทรุดตัวจากตอนกลางของอาคารก่อน จากนั้นปีกทั้งสองด้านข้างของอาคารก็พังซ้ำลงมาอีก การทรุดตัวอย่างรุนแรง และรวดเร็วก่อให้เกิดเสียงดังปานฟ้าถล่มดินทลาย ฝุ่นผงจากซากอาคารตลบคลุ้งทั่วบริเวณ





    กองซากปรักหักพังกลบฝังร่างมนุษย์กว่า 500 ชีวิต ทั้งพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ชั้นล่าง และไหวตัวทัน รอดพ้นเงื้อมมือมัจจุราชได้อย่างหวุดหวิด กระนั้นเมื่อมองไปยังซากปรักหักพัง ก็ไม่มีใครสามารถสะกดกลั้นความตื่นตระหนก ต่อประสบการณ์สยองที่เพิ่งประสบสด ๆ ร้อน ๆ ได้

    ซากปรักหักพังที่ทับถมอย่างแน่นหนา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งยวด เพราะการเร่งรื้อซากอย่างไม่ระวังอาจหมายถึงการสูญเสียหลายชีวิตที่ยังมีลมหายใจรวยริน ระหว่างการค้นหาเจ้าหน้าที่ประกาศห้ามผู้ไม่มีส่วนเก ี่ยวข้องห้ามเข้ามาในบริเวณ เกรงว่าจะเกิดเหตุชุลมุน ฝ่ายทหารได้นำรถทหารช่างมาช่วยรื้อถอนซากอาคาร และระดมกำลังพลกว่า 200 นาย เพื่อบริจาคเลือดเป็นกรณีเร่งด่วน

    จากนั้น ศพแล้วศพเล่าก็ถูกลำเลียงออกมา บางศพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางศพกู้ได้เฉพาะอวัยวะที่มีชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ โชคยังเข้าข้างที่มีผู้รอดชีวิตหลงเหลืออยู่บ้าง ทำให้ผู้ป่วย ที่เข้ารักษาในพื้นที่แน่นขนัดจนแทบล้นโรงพยาบาล

    เจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ เพื่อเร่งหาผู้ที่รอดชีวิต จนเวลาล่วงเลยไป 6 วัน จึงยกเลิกการค้นหา ผลการค้นหาพบผู้เสียชีวิต 137 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 คน

    ตำรวจสรุปสาเหตุของหายนะครั้งนั้นว่า เกิดจากความบกพร่อง ของเจ้าของอาคารที่มีการต่อเติมอาคารผิดจากแบบเดิม ทำให้อาคารไม่สามารถ รองรับน้ำหนักได้ จึงได้แจ้งข้อหาแก่ 6 ผู้บริหารโรงแรม รวมทั้งวิศวกรผู้ออกแบบ ในข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ผ่านมากว่า 10 ปี คดีในชั้นศาลจึงสิ้นสุดลง เมื่อศาลฎีกาตัดสินจำคุกนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนอิสระ วิศวกรผู้ออกแบบโรงแรม เป็นเวลา 20 ปี ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้ง 6 ศาลยกฟ้อง

    โดยวินิจฉัยว่า เจ้าของโรงแรมไม่มีความผิด เพราะไม่มีความรู้ด้านก่อสร้าง และทางโรงแรมได้ชดเชยเงินให้กับผู้เสียชีวิตรวม 5 ล้านบาท และเงินที่รับบริจาคอีก 5 แสนบาท เฉลี่ยแล้วผู้เสียชีวิตญาติได้รับเงินรายละ 80,000 บาท และผู้พิการได้รับรายละ 50,000 บาท

http://shockinside.com/forums/thread-204-1-1.html

เหตุเกิดเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๖

หรือ วันนี้ในอดีตเมื่อ ๑๗ ปีก่อนนั่นเองครับ

ขอไว้อาลัยแด่ดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิต และ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากครั้งนั้นทุกท่านครับ


 
 




http://redusala.blogspot.com

วันแม่.....ที่แท้จริง
       วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์

        ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา

       สงครามกลางเมืองอเมริกาสิ้นสุดในปี 1865 ส่งผลให้ทหารกว่าครึ่งล้านต้องเสียชีวิต เศรษฐกิจสั่นคลอน และความคิดด้านการเมือง ของผู้คนยังคงแตกแยก การฉลองวันแม่แห่งชาติอเมริกาเริ่มต้นจากความพยายามของผู้หญิงสองคน ที่ต่อสู้เพื่อสันติภาพและการคืนดีในช่วงที่ประเทศกำลังบอบช้ำ ในปี 1870 จูเลีย วอร์ดโฮว เรียกร้องให้มีวันแม่สากล (International Mother’s Day) ซึ่งเป็นวันที่ผู้หญิงจะมารวมตัวกันต่อต้านสงครามในทุกรูปแบบ ไม่กี่ปีต่อมา แอนนา รีฟส์ จาวีส ได้ริเริ่มวันแม่ไมตรีจิต (Mother’s Friendship Day) ประจำปี มีเป้าหมายเพื่อให้คนในครอบครัวและเพื่อนบ้านที่ต้องบาดหมางกันเพราะสงคราม ได้กลับมาพบกันอีก การที่เพื่อนหรือครอบครัวต้องแตกแยกกันและไม่ ยอมให้อภัยกัน ถือเป็นความเจ็บปวดแสนสาหัส

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ

          ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล

        ในญี่ปุ่น ปี 1931 (หรือปีโชวะที่ 6) องค์กร สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ 06 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" 
       
        ต่อมาในปี 1937 วันที่ 5 พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่12 ) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ (ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี 1949 (หรือปีโชวะที่24 ) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ


       ทั้งนี้ วันเด็ก 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันหยุดแห่งชาติตามกฎหมาย) "เพื่อให้เด็กได้มีความสุขกับครอบครัวและ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เกิดมาอีกด้วย

      ในวันแม่ ปกติประเทศญี่ปุ่นจะให้ดอกคาร์เนชั่นแต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่เพียงดอกคาร์เนชั่นเท่านั้น แต่ดอกกุหลาบสีชมพูและดอกเยอบิร่า ก็ให้ได้เช่นกัน


     ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ช่วงหลังวันสงกรานต์ ซึ่งต่อมา ก็ได้เปลี่ยนเป็นวันครอบครัว พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีได้มีการเปลี่ยนแปลงวันแม่ อีกครั้งหนึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม 


      ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 หลังเหตุการปราบปรามทางการเมืองโดยใช้อาวุธของรัฐบาลไทยในสมัยนั้น ได้เปลี่ยนความหมาย และวัน มาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ด้วยเหตุผลทางการเมืองแบบอิงแอบสถาบัน ซึ่งทำให้ความหมายของวันแม่เฉพาะในประเทศไทยเปลี่ยนไป  พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก
http://redusala.blogspot.com

อ. สอาด จันทร์ดี >>เงาอีกแล้ว ปชป.?
พุธ ที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2554
สลักนิรนาม...เขียน เงาอีกแล้ว ปชป.?

เมื่อครั้งนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ก็พากันตั้งรัฐบาลเงาร่วมมือกับงูเห่าภายใต้การนำของ “ภูมิใจไทย” โดยเข้าไปฟอร์ม ครม.ในค่ายทหาร จนได้กลายเป็นรัฐบาลทหารไปในที่สุด แล้วก็ถูกทหารทำให้พ่ายแพ้แก่พรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีหญิงเป็นคนที่ ๑๖ ของโลกและเป็นคนแรกของแผ่นดินสยาม !ชื่อของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกใจ นสพ.ไทม์เอาไปขึ้นหน้าปก โดยไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาแม้แต่บาทเดียว แตกต่างจาก “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เขาไม่เคยมาขอสัมภาษณ์และไม่เคยเอารูปไปพิมพ์ให้ชาวโลกดู
ทันทีที่ “คุณปู” ได้เป็นนายกฯหญิง อภิสิทธิ์ก็ตั้งรัฐบาลเงาทันที (เงาอีกแล้ว ปชป.?) !
วันเดียวกันนี้ สลักนิรนามได้รับโทรศัพท์จากมิตรสหายหลายคน มีอยู่ท่านหนึ่งพูดเสียงดังลั่น “เฮ้ย...ตัวป่วนมาอีกแล้ว” ? หลังจากนั้นก็ด่าขรมชนิดไม่อาจเอามาเล่าให้ฟังได้ เพราะมันหยาบเหลือเกิน แต่มีความสมบูรณ์ในเนื้อหาพอที่จะเก็บเอามาเล่าต่อให้ท่านผู้อ่านได้อานสนุกเล่น ดังนี้

(๑) เพื่อนด่าไปสาธยายไปว่า ดูซิ...ตอนเป็นรัฐบาลแท้ๆ เป็นด้วย ส.ส. ในทีมของตัวเองครบทุกกระทรวง เรียกว่าครบทุกบทบาท เต็มเนื้อเต็มหนัง กลับไม่พากันทำงาน ไม่เอาใจใส่ต่อหน้าที่ หาเงินไม่เป็น เอาแต่กู้ ..กู้...กู้ตั้งหลายแสนล้าน กู้จนกระทั่งคนไทยเป็นหนี้บานเบอะ

(๒) เมื่อประชาชนคนเสื้อแดงเรียกหาความยุติธรรม แทนที่จะได้รับการพิจารณาให้เขาบ้าง กลับออกคำสั่งให้ทหารเอาปืนมามาไล่ยิง แล้วฆ่ากลางป่าคอนกรีต-ฆ่าตายเกือบ ๑๐๐ ศพ บาดเจ็บอีกเป็นพันดูมันทำของมันซิ นี้หรือรัฐบาลของประชาชน (ไอ้...?)

(๓) ตอนหาเสียงก็สู้พรรคเพื่อไทยไม่ได้ เพราะมัวแต่ใส่ร้ายป้ายสี คำก็ทักษิณ สองคำก็ทักษิณแทนที่จะชูนโยบายเอามาแข่งกับพรรคเพื่อไทย กลับกล่าวหาคนเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง ไปยืนตะโกนที่หน้าศูนย์การค้า เวิลด์ เทรด เซ็นทรัล แล้วมุสาประจานว่าคนเสื้อแดงเป็นคนเผา ไอ้บ้า...ดูมันทำ ?

(๔) แล้วตะโกนโหวกเหวกหาว่าพรรคเพื่อไทยเป็นภัยต่อสถาบัน

(๕) ตอนเป็นรัฐบาลก็ได้บริหารบ้านเมืองด้วยมือของตัวเองแท้ๆ ไม่ต้องเป็นเงาแม้แต่เงาเดียว แทนที่จะทำให้บ้านเมืองดีขึ้น ตรงกันข้ามมีแต่เลวลง ถอยหลังเข้าคลองลึกเข้าไปทุกที รอมร่อจะรบกับเขมรเอาให้ได้ แถมทำให้ค่าครองชีพพุ่งปรี๊ด ไข่ไก่ชั่งเป็นกิโล อะไรต่อมิอะไร เละตุ้มเป๊ะ ?!

สรุปแล้ว พรรคประชาธิปัตย์เละยิ่งกว่าเละ

สุดท้ายได้พาให้ประชาชนพลอยได้รับชะตากรรมที่แสนเละไปด้วย แล้ววันนี้แทนที่จะเตรียมตัวเป็นฝ่ายค้านผู้สร้างสรรค์ ...อ๊ะ ? กลับเตรียมตัวจะเป็นรัฐบาลเงา เงาอีกแล้วได้บ้านี่ ? มันทำราวกับว่าหากเป็นรัฐบาลเงา ..ไอ้ตัวเงานี้จะไปทำให้ชาติเจริญขึ้น ? ทำแบบนี้นะ ตนจึงขอพูดว่าหากยังขืนเอาตัวไปเป็นรัฐบาลเงาซ้ำแล้วซ้ำเล่า แทนที่จะเกิดผลดีแก่พรรคประชาธิปัตย์แต่มันจะเป็นผลร้ายเสียมากกว่า จริงหรือไม่จริงเพื่อน ?

สลักนิรนามฟังเพื่อนพูดตามสายด้วยความสนุก เพราะเรื่องราวที่สาธยายมาตามสายมันเหมือนนิยายเรื่องยาวที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ก่อกรรมทำเข็ญเอาไว้ในลักษณะต่างกรรม ต่างวาระ มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ทั้งประเภทน่าทึ่งและน่าสะเทือนใจ

เมื่อผมวางสายกับเพื่อน ก็ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาดู “รัฐบาลเงา” ที่พรรคประชาธิปัตย์จะตั้งขึ้นจะส่งผลให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ประโยชน์มากๆหลายเรื่อง เพราะข้อกังขาของพรรคประชาธิปัตย์ (ถ้ามี) จะเป็นการช่วย “ไขความคิด” ให้มองเห็นภารกิจได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีรัฐบาลเงา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็จะแล่นฉิวอยู่แล้ว เพราะว่ารัฐบาลจะไม่ทำความผิดใดๆ จะไม่มีพวกเสือหิว จะไม่มีพวกตัดหัวคิดร้อยละ ๓๐ ประการสำคัญ พรรคเพื่อไทยภายใต้นายกรัฐมนตรีหญิง (คนแรกของแผ่นดิน) ที่แสนจะพากพูมิใจ มีหรือจะปล่อยให้ “ ริ้นไร-แมงกะชอน” เจาะไชเอาได้ง่ายๆ พรรคเพื่อไทยเองย่อมจะมีวิธีการป้องกันอันยิ่งใหญ่ ประการสำคัญ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตรที่ได้รับความบอกช้ำจากอำมาตย์ชั่ว จะไม่ปล่อยให้สมาชิกพรรคหาเหาใส่หัวให้ได้รับความบอบช้ำเพิ่มขึ้นมาอีก (มีทางไหนจะทำให้เย็น...ก็ต้องรับทำ) ?

ใช่ครับ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค ไม่ได้เป็นผู้จัดการรัฐบาล แต่ชะตากรรมของท่านทักษิณ ได้ก่อให้เกิดความผูกพันฟั่นเป็นเชือกเส้นเดียวกัน
อุดมการณ์ของท่านทักษิณเป็นอุดมการณ์ที่จะเอาชาติไทยไปสู่ความเจริญ โดยการทำงานของคนชื่อทักษิณ ซึ่งบัดนี้ได้ถ่ายทอดลงมายัง น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องสาวร่วมสายโลหิตโดยแท้ ย่อมจะมีอานุภาพให้เกิดความซื่อสัตย์ เกิดความตั้งใจสูงส่งที่จะกู้ชื่อเสียงคืนมาจากการถูกเหยียบย่ำ

 ดังนั้น..ถ้า ปชป. โวยวายบ่อยก็จะเกิดประโยชน์แก่พรรคเพื่อไทยถี่ยิบ
ยิ่งโวยวายมากก็ยิ่งจะทำให้พรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์มาก
พรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่จะเป็นฝ่ายออกแรงโดยไม่มีกำไร
ดีไม่ดีจะมีแต่ติดลบ...อาจลบแสนลึกขนาดจะทำให้พรรค ปชป.สูญพันธุ์ในอนาคต
เหตุที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะความจริงนั้น สิ่งที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์สูญพันธุ์มีอยู่บานเบอะ ถ้าอยากรู้ก็จะเขียนให้คน ปชป.อ่านฟรี ยอมที่จะไม่เรียกค่าวิชาแต่ประการใด ดังนี้ครับ

หนึ่ง..! พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคภาคนิยม (ภาคใต้) ใช้กระแสชาวใต้โดยไม่แยกแยะผิดถูกเป็นอย่างไร ทำให้พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคอำมาตย์ผู้น่าเกลียด โดยจะพากันภาคภูมิใจกับการได้ครอบครองชัยชนะที่ภาคใต้อย่างถาวรและยาวนาน จนกระทั่งหลงตัวเองว่ามี “คะแนนนิยมสูง” แถมได้รับความไว้วางใจนอกเหนือจากภาคใต้ไปที่กรุงเทพมหานคร ที่เป็นเมืองหลวง เป็นดินแดนของปัญญาชน ยิ่งหลงตัวเองว่าเป็นพรรคของคนบางกอก โดยหารู้ไม่ว่า จิตใต้สำนึกของคนบางกอกกลุ่มที่นิยมพรรค ปชป. พวกนั้น ล้วนแต่หากินอยู่บนหลังของประชาชน คนพวกนั้นเป็นนายธนาคารใหญ่ เป็นเจ้าสัวผู้มั่งคั่ง เป็นเจ้าของธุรกิจค้ากาม ค้าประเวณี ค้าของหนีภาษี รวมไปถึงการเป็นเจ้าของบ่อน คนกรุงเทพพวกนี้ หาได้เป็นดีของสังคมแต่อย่างใดไม่ แต่คนกลุ่มนี้ฉลาดและมันสมองล้ำเลิศ ประเภทฉลาดแกมโกง

คนกลุ่มนี้เขาเลือก ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ เลยทำให้พรรคประชาธิปัตย์หลงเข้าใจว่าตัวเองเป็นพรรคที่แสนดี มีคะแนนนิยมสูงจากคนเมืองหลวง จนไม่รู้ว่าจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นพรรคของอำมาตย์ โดยอาศัยคะแนนพื้นฐานมาจากภาคใต้ เอามาหนุนตัวเองให้ได้คะแนนทั้งในบางกอก เลยไประยองและอีกบางจังหวัดในภาคเหนือและภาคอีสาน ยิ่งทำให้หลงตัวเองมากขึ้น

สอง..! พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีเส้นสายโยงใยกับอำมาตย์และพวกอนุรักษ์นิยม อันล้วนแต่เหี้ยมและโหด ดังจะเห็นได้จากการฆ่า ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ แล้วก็ฆ่านักศึกษา ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ฆ่าในพฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ แล้วก็ฆ่า ๑๐ เมษา- -๑๙ พฤษภา ๒๕๕๓...พรรคประชาธิปัตย์ลงมือฆ่าเอง มันก็เจ๊งนะซี

สาม..! พรรคประชาธิปัตย์หนุนม็อบพันธมิตร หนุนสันติอโศก ให้ไล่ทุบทักษิณ ทุบสมัคร สุนทรเวชมาจนถึงทุบสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทุกคนจำได้ดี มาจนถึงหนุนทหารแก่คลั่งชาติ ที่ยุให้ไปยึดเอาปราสาทพระวิหารคืน ปล่อยให้มีการปลุกระดมยั่วยุให้เกิดสงครามชายแดนไทย-กัมพูชาแบบไม่ลืมหูลืมตาจนกลายเป็นกรณีพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งๆที่มีมิตรภาพที่ดีต่อกัน

สี่..! พรรคประชาธิปัตย์มีจุดยืน “มองคนอื่นเป็นคนชั่ว” ยกย่องแต่ฝ่ายตนว่าเป็นคนดี หลังจากการเลือกตั้งผ่านไป คนดีทำไมจึงพ่ายแพ้หลุดลุ่ย แบบไม่มีหูรูด มิทราบ ?

ห้า..! แล้วยังจะมาตั้งรัฐบาลเงา จึงขอถามว่า “เป็นเงา” แล้วสั่งการอะไรได้บ้าง จะเป็นเงาไปทำไม ถ้าจะให้ดีต้องยื่นมือเข้าไปควานหา “คนโกง”แล้วเอามาตีแผ่ ส่งเสียงโวยวายให้ประชาชนได้ยินพร้อมกับเรียกหาพลังหนุนจากดประชาชนให้มาช่วยปราบคอรัปชั่นซีครับ ถึงจะได้ผลอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ทั้ง ๕ ข้อนี้นะ เป็นเพียงส่วนย่อยของปัญหามากมายหลายชนิดที่อยู่รอบตัวพรรคประชาธิปัตย์ ที่ผมอยากเขียนถึงอย่างเปิดเผย ไม่เอาค่าให้คำปรึกษาเสียด้วยซ้ำ (เอ้า) ขอเพียงอย่างเดียว ขอให้อ่านและพิเคราะห์ แล้วหาทางประคองพรรคนี้เอาไว้เป็นฝ่ายค้านที่ดี...จะได้ค้านรัฐบาลในกรณีที่พรรครัฐบาลทำผิดพลาดยังไงล่ะ
อย่าเอาแต่เป็นเงามืดเลยครับ...ระวังมันจะมืด...จนมองไม่เห็นทาง ?
http://redusala.blogspot.com

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า 12 สิงหาฯ 
น้อมรำลึกถึงบรรพชนปฏิวัติ นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช

        ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า-นายทหารอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่1เมื่อรุ่งเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475โดยมีนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช(ซ้ายสุดภาพล่าง)เป็นนักยุทธวิธีคนสำคัญในการวางแผนยึดอำนาจโดยปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อ
โดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 
สิงหาคม 2554
        กล่าวแบบฟันธงก็ต้องว่า หากการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ได้นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้บัญชาการก็คงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่เราชนรุ่นหลังรับรู้ฝ่ายประชาธิปไตยและสนับสนุนคณะราษฎร์ได้พากันถือเอาวันที่ 12 สิงหาฯอันเป็นวันเกิดของนักปฏิว้ติผู้อาภัพนี้ เป็น"วันรำลึกพระยาทรงสุรเดช"ด้วยเหตุที่ว่าเมื่อมีการรำลึกถึงสามัญชนไทยมักนับเอาวันเกิดเป็นวันสำคัญของท่านผู้นั้น ดังเช่น กรณีของสุนทรภู่ที่เกิดวันที่ 26 มิถุนายน ก็นับเป็นวันสุนทรภู่ เป็นต้น
เมื่อวันที่12 สิงหาคมของทุกปีเวียนมาถึง ก็ย่อมจะทำให้ประชาชนไทยผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทั้งมวลอดหวนรำลึกนึกถึงพระคุณบรรพชนนักปฏิวัติผู้นำสยามประเทศก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้

        4 ทหารเสือคณะราษฎร์-(จากซ้าย)นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช,นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา,นายพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์และนายพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ์
        นอกจากคุณูปการต่อบ้านเมืองแล้วยังนับเป็นบุคคลที่นักการทหาร นักการเมืองเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตด้วยเพราะท่านได้ชื่อว่าทำการเพื่อชาติไม่เบียดบังชาติและราษฎรแม้แต่น้อย
        นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้นำสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 โดยหากขาดท่านผู้นี้ก็ต้องฟันธงได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2475 จะไม่มีวันสำเร็จได้เลยในวันนั้นเนื่องจากเป็นผู้วางแผนบัญชาการปฏิวัติ
        หลังการปฏิวัติสำเร็จลงพระยาทรงฯไม่ขอรับตำแหน่งใดในรัฐบาล ไม่ขอเพิ่มยศเป็นนายพล ไม่ขอคุมกำลังทางทหารแต่ท่านถูกขอให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงจำต้องรับเป็นเพราะแสดงถึงความศรัทธาต่อระบอบการปกครองใหม่
        แต่ในภายหลังสถานการณ์พลิกผันทำให้ชะตากรรมของพระยาทรงฯต้องถูกเนรเทศไปอยู่ในอินโดจีนของฝรั่งเศสคือเวียดนาม และสุดท้ายที่เขมร อย่างอนาถา ส่วนลูกน้องถูกประหารชีวิตไป 18 ศพ (อ่านรายละเอียดกรณีนี้คลิ้กที่นี่ )
        แม้กระทั่งยามยากช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่2ขณะพำนักลี้ภัยในญวนและเขมรต้องอยู่บ้านเช่าโกโรโกโส ปั่นจักรยานถีบ และทำขนมไทยขายเลี้ยงประทังชีวิตแต่เมื่อไทยตกอยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่นก็พยายามอย่างโดดเดี่ยวที่จะขับไล่ญี่ปุ่นอย่างมืดมนลำพัง
        แม้ว่าต้องตกระกำลำบากในเขมรขนาดนั้นและเป็นเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองทั่วเอเชีย รวมทั้งเขมรและไทยด้วยนั้นญี่ปุ่นได้ติดต่อลับๆจะให้นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชกลับไปมีอำนาจโค่นล้มปฏิปักษ์ทางการเมืองของท่านคือจอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งญี่ปุ่นชักไม่ไว้ใจ แต่พระยาทรงฯปฏิเสธเพราะเห็นเป็นการทรยศบ้านเมือง ยอมระกำลำบากดีกว่าอันนี้นับเป็นจิตใจที่น่าเชิดชูยิ่ง
        สุดท้ายเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ผู้มีอำนาจขณะนั้นส่งนายทหารคนหนึ่งไปลอบวางยาพิษพระยาทรงฯถึงแก่ความตายในเขมรทั้งที่มีหวังกำลังจะได้กลับจากการลี้ภัยสุดท้ายคุณหญิงของท่านและทหารคนสนิทต้องทำพิธีศพอย่างอนาถาไร้กองเกียรติยศใดๆในต่างแดน

พระยาทรงฯเกิดเมื่อ 12 สิงหาคม 2435 หรือเมื่อ 119 ปีที่แล้ว 
        ขณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ท่านอายุย่าง 40 ปีและได้ชื่อว่าเป็นมันสมองในการทำปฏิวัติ2475 และมีกำลังในการปฏิวัติจริงๆโดยอาศัยยุทธวิธีลวงทหารมายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง
        คนไทยค่อนประเทศอาจจะลืมพระยาทรงฯไปแล้วแต่วันที่12สิงหาคมนั้นได้ชื่อว่าเป็นวันที่คนไทยต้องรำลึกถึงพระยาทรงฯบรรพชนปฏิวัติไทย
        ความต่อไปนี้เก็บความจากหนังสือ"ชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดน"เขียนโดยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ทส.พระยาทรงฯซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่มาร่วมๆ 30 ปีแล้ว หากคลาดเคลื่อนประการใดขอให้ผู้รู้ได้เสริมเพิ่มหรือแก้ไขด้วย

นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)[12 สิงหาคม พ.ศ. 2435 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2487]
นักยุทธวิธีของคณะราษฎร์
        หากเทียบกับการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซียมีเลนินเป็นผู้ชี้นำทางความคิด มีทร็อตสกี้เป็นนักยุทธวิธีปฏิวัติในเหตุการณ์2475นายปรีดี พนมยงค์ ก็คือผู้ชี้นำทางความคิดส่วนนักยุทธวิธีที่วางแผนและลงมือปฏิวัติก็คือนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช
        พระยาทรงฯมีชื่อเดิมคือเทพพันธุมเสน เป็นบุตรของร้อยโท ไท้ นายทหารกรมทหารปืนใหญ่ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อวิชาทหารช่างที่ประเทศเยอรมนี เมื่อจบแล้วได้ยศนายสิบ แล้วจึงเรียนต่อระดับสัญญาบัตรได้ยศร้อยตรี ก่อนไปประจำการที่กองทหารในเมืองมักเคเบอร์กและเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458
        จากนั้นเริ่มรับราชการทหารจนได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยเอกหลวงรณรงค์สงคราม เมื่อ พ.ศ. 2461 และย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟกองพันที่ กรมทหารบกที่ มีผลงานสำคัญคือ ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือจากถ้ำขุนตานถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกจากแปดริ้วถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงนครราชสีมา ได้รับพระราชทานยศนายพันเอกและบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทรงสุรเดช
        เมื่อปี พ.ศ. 2475 ในการก่อการ2475ปัญหาคือคณะราษฎร์ไม่มีคนคุมกำลังทหารในมือเลยพระยาทรงฯซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายร้อยจึงลวงนักเรียนนายร้อยด้วยการปลุกให้ตื่นตั้งแต่ตี3แล้วบอกว่าจะพาไปฝึกภาคสนามที่พระที่นั่งอนันต์พร้อมกับการที่นายพันเอกพระยาพหลฯไปลวงค่ายทหารให้นำกำลังทหารและรถทหารออกมาสมทบกันและพระประศาสน์(ซึ่งใกล้ชิดกับพระยาทรง)ไปควบคุมตัวกรมพระนครสวรรค์ฯซึ่งทรงอำนาจในประเทศมาเป็นตัวประกัน
        เมื่อนักเรียนทหารที่นายพันเอกพระยาทรงฯลวงมาสมทบกับรถทหารและทหารจากค่ายที่นายพันเอกพระยาพหลฯลวงมากับนายพันโทพระประศาสน์ฯควบคุมกรมพระนครสวรรค์มาที่นั่งอนันต์ฯได้การปฏิวัติที่ปราศจากเลือดเนื้อก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ของไทย
        ในหนังสือบันทึกชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดนนั้นพระยาทรงแสดงความเป็นนักยุทธวิธีอย่างเต็มที่โดยพระยาทรงฯได้กล่าวว่าการปฏิวัติ2475เป็นเรื่องของยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้มาจากการตื่นตัวต้องการปฏิวัติของประชาชนเลยเพราะหากไปปลุกเร้าให้ประชาชนตื่นตัวขึ้นปฏิวัติการกระทำเช่นนั้นจะทำให้ความลับรั่วไหลแล้วจะกลายเป็นกบฎ เหมือนเหตุการณ์กบฎร.ศ.130 (อ่านเพิ่มเติม:กรณีกบฎร.ศ.130ประวัติศาสตร์ยังคงตื่นอยู่เพื่อคนชั้นหลังเสมอ)
        หลังการปฏิวัติพระยาทรงฯปฏิเสธที่จะขอรับยศเพิ่มเช่นเดียวกับนายพันเอกพระยาพหลฯและคณะทุกๆคน ไม่ขอรับตำแหน่งคุมกำลังใดๆไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมือง แต่ที่สุดก็จำนนรับตำแหน่งส.ส.จากการแต่งตั้งเพื่อแสดงถึงความศรัทธาเชื่อมั่นต่อระบอบปกครองใหม่
ขัดแย้งกับปรีดีและแตกหักกับจอมพลป.ก่อนถูกเนรเทศ
        เมื่อแรกหลังปฏิว้ตินายพันเอกพระยาทรงฯอยู่ในปีกที่ไม่เห็นด้วยกับสมุดปกเหลืองเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดีพนมยงค์ ซึ่งมีนโยบายรัฐสวัสดิการโดยฝ่ายปฏิกริยาปฏิวัติโจมตีว่าเป็นนโยบายคอมมิวนิสต์แบบเดียวกับรัสเซียอันมีผลให้นายปรีดีถูกเนรเทศไปฝรั่งเศสระยะหนึ่งก่อนจะได้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง
        ในพ.ศ.2476 เกิดกบฎบวรเดช นายพันโทแปลกขีตสังคะ มีบทบาทสำคัญเป็นคนนำปราบปรามกบฎ และเปล่งบารมีขึ้นมาในสายตาของพันเอกพระยาทรงเห็นว่านายพันโทแปลกนั้นเป็น"ทหารยศต่ำ แต่มักใหญ่ใฝ่สูง"ต่อมานายพันโทแปลกเพิ่มยศพรวดพราดและก้าวขึ้นเป็นนายกฯแล้วถูกลอบสังหารหลายหน
        นายพันเอกหลวงพิบูลฯ(ต่อมาเป็นจอมพลป.)สงสัยว่านายพันเอกพระยาทรงฯน่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังจึงได้มีคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญและบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส. ประจำตัวพร้อมกันนั้นได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และสั่งประหารไป18 ราย จึงเรียกกันต่อมาว่ากบฎ18ศพ (เดิมจะประหาร 21 ราย แต่ปล่อยไปซึ่ง ในนั้นคือกรมขุนชัยนาทฯซึ่งเป็นพระปิตุลาฯของในหลวง)
บั้นปลายอนาถาของนักปฏิวัติที่โลกลืม
        นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชพร้อมนายทหารคนสนิทเมื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏจึงถูกให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดและถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปพร้อมกับร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ โดยถูกควบคุมตัวขึ้นรถไฟไปที่ อ.อรัญประเทศและเดินทางข้ามพรมแดนต่อไปยังกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนในอาณานิคมของฝรั่งเศสและไปพำนักในเวียดนามระยะหนึ่ง
        โดยคุณหญิงทรงสุรเดชต้องขายสมบัติเก่าส่งไปให้ประทังชีพ เมื่อสมบัติพร่องลง ต้องย้ายกลับมากัมพูชาอาศัยห้องเช่าโกโรโกโสก่อนที่ต่อมาจะได้พักในตำหนักร้างของอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่พระยาทรงฯเคยช่วยชีวิตให้พ้นคมหอกคมดาบของญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองในคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา
       ชีวิตพระยาทรงสุรเดชที่กัมพูชาไม่มีทรัพย์เงินทองเหลือติดตัวอยู่เลย ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทอดแหหาปลาเลี้ยงตัวและทำขนมกล้วยขนมไทยขายในตลาดสด ซึ่งต้องโม่แป้งด้วยตนเองจากนั้นต้องปั่นจักรยานถีบไปมาเพื่อขายขนม(ซึ่งจะเห็นว่าต่างจากนายทหารนักทำรัฐประหารในระยะหลังที่มีทรัพย์สินเป็นร้อยล้านพันล้านทั้งที่ก็มักกล่าวหาว่านักการเมืองขี้โกงเลยเข้ามายึดอำนาจ...ประหลาดไหม?)
        ช่วงสงครามไทยตกอยู่ใต้การยึดครองญี่ปุ่นนายพันเอกพระยาทรงฯไม่ล่วงรู้เลยว่าคนไทยทั่วโลกมีขบวนการใต้ดินเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่นเพราะถูกตัดขาดจากโลกภายนอก แต่ก็อุตสาหะดิ้นรนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงลำพังโดยคิดจะเดินข้ามประเทศไปแสวงหาความร่วมมือจากอเมริกาที่ตั้งฐานในจีนแต่ก็ต้องระงับไว้เพราะมืดแปดด้านอยู่คนเดียว
        หลังสงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นจอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเดินนโยบายเป็นมิตรกับญี่ปุ่น ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและถูกดำเนินคดีอาชญากรสงครามนายพันเอกพระยาทรงฯซึ่งนับวันเดือนปีจะได้กลับสู่มาตุภูมิก็กลับไม่มีโอกาสนั้นเลยเมื่อมีนายทหารไทยคนหนึ่งอ้างว่า ไปศึกษาที่ญี่ปุ่นก่อนกลับไทยเลยแวะมาเยี่ยมแล้ววางยาพิษพระยาทรงฯตายด้วยความทรมานอนาถา และจัดทำพิธีศพเยี่ยงคนไร้ญาติโดยถึงแก่อนิจกรรมลงในปี พ.ศ. 2487 ขณะมีอายุเพียง 52 ปี ที่ตำหนักร้างในกรุงพนมเปญซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ
        ทส.พระยาทรงเขียนไว้ให้แปลความระหว่างบันทัดโดยตั้งข้อสงสัยไปในทำนองว่าปฏิปักษ์ทางการเมืองคือจอมพลป.อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความตายเพราะเมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง จอมพลป.ถูกดำเนินคดีอาชญากรสงครามหากพระยาทรงได้กลับไทยและกลับสู่อำนาจอาจเป็นอันตรายต่อจอมพลป.ได้
        กระดูกของพระยาทรงฯกลับถึงประเทศไทยพร้อมกับบันทึกส่วนตัวที่กล่าวถึงการปฏิวัติ2475 และกลายมาเป็นหนังสือชื่อ"บันทึกพระยาทรงฯ:เมื่อวันปฏิวัติ24มิถุนายน2475"(อ่านบันทึกบางส่วนคลิ้กที่นี่ ) และหนังสือ "ชีวิตในต่างแดนของพระยาทรงฯ"ออกเผยแพร่ราวปีพ.ศ.2525


        อัฐิของพระยาทรงฯถูกนำมาบรรจุไว้ที่วัดประชาธิปไตยหรือวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้นหลังปฏิวัติ2475ซึ่งบรรพชนปฏิวัติผู้วายชนม์ล้วนถูกนำอัฐิมาบรรจุที่วัดนี้ รวมถึงอัฐิของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย นายพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายพันโทหลวงอำนวยสงคราม นายปรีดี พนมยงค์ นายเฉลียวปทุมรส นายทวี บุญยเกตุ นายดิเรก ชัยนาม รวมทั้งนายกระจ่าง ตุลารักษ์สมาชิกคณะราษฎรคนสุดท้ายที่เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552ที่ผ่านมา
        ฝ่ายจารีตนิยมและจิตนิยมบอกว่าเพราะพระยาทรงฯทรยศพระมหากรุณาธิคุณทำการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงพบเคราะห์กรรมเลวร้าย
        แต่ฝ่ายที่สนับสนุนและโปรประชาธิปไตยนับเอาว่าพระยาทรงฯเป็นบุคคลสำคัญของชาติเพราะหากไม่มีพระยาทรงฯที่เป็นดั่งเสนาธิการในการปฏิวัติก็ไม่แน่นักว่าการปฏิวัติ24มิถุนายน2475จะสำเร็จราบรื่นไร้การนองเลือดอย่างที่เรารับรู้หรือไม่
        ประกอบกับคุณงามความดีไม่ฉ้อราษฎร์ไม่บังหลวง ฝ่ายประชาธิปไตยและสนับสนุนคณะราษฎร์ได้พากันถือว่าวันที่ 12 สิงหาฯอันเป็นวันเกิดของนายพันเอกนักปฏิว้ติผู้อาภัพนี้ เป็น"วันพระยาทรงสุรเดช"ด้วยเหตุดังนี้
อนึ่งสำหรับสามัญชนไทยมักนับเอาวันเกิดเป็นวันรำลึกถึงของท่านผู้นั้นดังเช่น กรณีของสุนทรภู่ที่เกิดวันที่ 26 มิถุนายน ก็นับเป็นวันสุนทรภู่ดังนั้นจึงถือเอาวันเกิด 12 สิงหาคมเป็นวันพระยาทรงสุรเดชด้วยประการฉะนี้
 
บันทึกพระยาทรงสุรเดช:ในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
        พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกจากความทรงจำถึงเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475 ไว้ระหว่างลี้ภัยในเวียดนามและกัมพูชา เมื่อถึงแก่อสัญกรรมลงนายทหารคนสนิทได้นำบันทึกนี้กลับประเทศไทยและตีพิมพ์เผยแพร่ในระยะต่อมาอีกหลายสิบปี
        โดยได้บันทึกเหตุการณ์ปฏิวัติ24มิถุนายนไว้อย่างละเอียดซึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้นพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ที่เชื่อมให้นายทหารระดับสูงที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่นพระยาพหลพลพยุหเสนา เข้าร่วมกับคณะราษฎร ซึ่งตัวพระยาทรงสุรเดชเองเคยพูดว่า "
พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมดมุ่งแต่เพียงทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดินไม่ว่าด้วยวิธีใดตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย..."

        ในแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นการประชุมในประเทศไทย คณะราษฎรได้ประชุมกัน ครั้งครั้งแรกประชุมกันเพียงไม่กี่เดือนก่อนลงมือที่บ้านพักของพระยาทรงสุรเดชที่สะพานควาย
        และครั้งที่ ที่บ้านพักของร้อยโทประยูร ภมรมนตรี ที่ถนนเศรษฐศิริซึ่งพระยาทรงสุรเดชในตอนแรกนั้นได้เสนอแผนการว่าใช้ทหารยึดพระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ในเวลากลางคืนและขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกันแล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทยแต่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วยเพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนองเลือดและผู้ก่อการได้ตกลงในหลักการของการปฏิวัติครั้งนี้คือจะต้องพยายามมิให้เกิดการนองเลือดจะต้องไม่กระเทือนต่อพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์เกินควรและตกลงว่าจะทำการปฏิวัติในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับที่พระราชวังไกลกังวล
        การประชุมกันหนที่ 2 ที่บ้านของร้อยโทประยูร ในวันที่ 12 มิถุนายน พระยาทรงสุรเดชจึงเสนอแผนการทั้งหมด 3 แผน
        แผนที่ 1ให้นัดประชุมบรรดานายทหารที่กรมเสนาธิการหรือที่กรมยุทธศึกษา หรือที่ศาลาว่าการกลาโหมเพื่อประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ผู้ใดไม่เห็นด้วยก็จะเข้าควบคุมตัวไว้ในระหว่างนั้นคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือและพลเรือนแยกย้ายกันไปคุมตัวเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากักตัวไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคมหรือบนเรือรบ
        แผนที่ 2ให้จัดส่งหน่วยต่าง ๆ ไปคุมตามวังเจ้านายและข้าราชการคนสำคัญในขณะเดียวกันให้จัดหน่วยออกทำการตัดการสื่อสารติดต่อ เช่น โทรเลข โทรศัพท์และให้จัดการรวบรวมกำลังทหารไปชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าโดยวิธีออกคำสั่งลวงในตอนเช้าตรู่แล้วประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อหน้าทหารเหล่านั้นและจัดนายทหารฝ่ายก่อการเข้าควบคุมบังคับบัญชาทหารเหล่านั้นแทนผู้บังคับบัญชาคนเดิมแล้วทหารก็คงจะฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาคนใหม่ต่อไปการณ์ก็คงสำเร็จลงโดยเรียบร้อยโดยมิต้องมีการต่อสู้จนเลือดนองแผ่นดิน
        แผนที่ 3ให้หน่วยทหารหนึ่งจู่โจมเข้าไปในวังบางขุนพรหมและเข้าจับกุมพระองค์กรมพระนครสวรรค์วรพินิตมาประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร และให้ดำเนินการอย่างอื่น ๆตามที่กล่าวแล้วในแผนที่ 2
ซึ่งทั้งหมดเห็นด้วยกับแผนที่2ควบกับแผนที่ จึงตกลงทำตามนี้ และได้กำหนดวันดำเนินการในชั้นแรกว่าให้เป็นวันอาทิตย์ที่ 19มิถุนายน
        โอกาสในการลงมือยึดอำนาจการปกครองนั้นต้องอยู่ในช่วงระยะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปหัวหิน เพื่อทอดพระเนตรการทดลองการยิงปืนใหญ่ซึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ แม่ทัพ นายกองไปร่วมในการประลองอาวุธในครั้งนั้นเป็นส่วนมาก
        ส่วนการเข้าควบคุม จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตนั้นคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สืบทราบมาว่า จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตมักจะเสด็จประพาสลำน้ำเจ้าพระยาในวันเสาร์และจะเสด็จกลับในวันจันทร์ถ้าดำเนินการในวันอาทิตย์ก็อาจจะไม่ได้พระองค์ท่านมาเป็นองค์ประกันจึงได้เลื่อนการปฏิบัติการไปเป็นวันอังคารที่ 21 มิถุนายน
        ต่อมาที่ประชุมได้ตกลงเลื่อนวันปฏิบัติการไปเป็นวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน เนื่องจากได้รับรายงานว่า ในวันอังคาร เรือรบยามฝั่งยังไม่กลับหากตกลงทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก็จะขาดทหารเรือ
        ในวันที่ 22 มิถุนายนก็มีรายงานว่า บรรดาสมาชิกคณะราษฎรยังไม่พร้อมที่จะทำการยึดอำนาจในวันที่ 23 มิถุนายน ดังนั้นวันปฏิบัติจึงเลื่อนไปวันที่ 24 มิถุนายน แทนแต่ทั้งหมดก็ยังไม่รู้ว่าพระยาทรงสุรเดชจะนำทหารออกมาใช้ยึดอำนาจได้อย่างไร
บทบาทของพระยาทรงสุรเดชในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นคือ การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอกเพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน
        วันที่ 23 มิถุนายน พระยาทรงสุรเดชในฐานะเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหารของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้ไปพบ พันโทพระเหี้ยมใจหาญ ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยเพื่อขอให้นำนักเรียนนายร้อยทั้งหมดพร้อมอาววุธปืนบรรจุกระสุนไปที่ลานหน้าพระบรมรูปทรงม้าในตอนเช้าตรู่วันที่ 24 มิถุนายน เพื่อฝึกยุทธวิธีทหารราบต่อสู้รถถังโดยจะใช้นักเรียนนายร้อยทำหน้าที่ทหารราบและนำรถถังจากกรมทหารม้ามาใช้ในการฝึกต่อจากนั้นได้ไปพบผู้บังคับกองพันทหารราบที่รู้จักอีกสองคนเพื่อขอร้องให้นำทหารไปฝึกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้าเวลาหกโมงเช้าและไปพบผู้บังคับการกองพันทหารช่างที่บางซื่อเพื่อขอร้องให้นำทหารมาที่สนามหน้าโรงทหารในเวลาหกโมงเช้าเช่นกันเพื่อจะนำไปฝึกต่อสู้กับรถถัง
        เช้าวันที่ 24 มิถุนายนพระยาทรงสุรเดชตื่นตั้งแต่เวลา 4.00 น.และได้รับประทานข้าวผัดที่เหลือจากมื้อเมื่อคืน ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับร้อยเอกหลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี) ที่มารับถึงบ้านตามแผนที่วางได้โดยได้บอกกับภรรยาตั้งแต่คืนก่อนว่าจะไปดูการสวนสนามที่หน้าพระลาน
        จากนั้นแผนการนำทหารออกมาใช้เปลี่ยนแปลงการปกครองของพระยาทรงสุรเดชก็ได้เปิดเผยออกมาเป็นลำดับทั้งหมดในเวลา 5.00น. ก็ได้มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่ รักษาพระองค์สี่แยกเกียกกาย มีเป้าหมายเพื่อยึดรถเกราะ ยึดรถรบ ยึดคลังกระสุนและหลอกพาทหารเดินมาขึ้นรถบรรทุกของกรมทหารปืนใหญ่ภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาฤทธิอัคเนย์ ที่อยู่ใกล้กันก่อนจะเคลื่อนขบวนไปลานพระบรมรูปทรงม้า
        เมื่อไปถึงกรมทหารม้าด่านแรกที่จะต้องฝ่าไปให้ได้คือกองรักษาการณ์ที่ด้านหน้า สามทหารเสือ คือพระยาทรงสุรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระประศาสน์พิยายุทธ เข้าไปในกองรักษาการณ์ถามหาตัวผู้บังคับการกองรักษาการณ์แล้วผู้ก่อการก็พูดด้วยเสียงดุว่า
"เวลานี้เกิดกบฏกลางเมืองขึ้นแล้วมัวแต่หลับนอนอยู่ได้ เอารถเกราะ รถรบเอาทหารออกไปช่วยเดี๋ยวนี้"
        ฝ่ายผู้บังคับการที่เป็นนายทหารชั้นผู้น้อยเมื่อเผชิญหน้ากับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเคยเป็นอาจารย์มาก่อนก็หลงเชื่ออย่างสนิทใจชั่วอึดใจเดียวเสียงเป่าแตรแจ้งสัญญาณเหตุสำคัญก็ปลุกทหารทั้งกรมตื่นขึ้นมาด้วยความโกลาหล
ช่วงเวลาแห่งความระทึกนี้นายทหารผู้ก่อการต่าง ๆที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ก็แยกย้ายกันไป
พระยาพหลพลพยุหเสนาใช้กรรไกรตัดเหล็กที่เตรียมมาตัดโซ่กุญแจคลังกระสุนได้สำเร็จช่วยกันลำเลียงกระสุนออกมาอย่างรวดเร็ว
พระประศาสน์พิทยายุทธตรงไปยังโรงเก็บรถพร้อม ร.อ.หลวงทัศนัยนิยมศึก เร่งระดมให้ทหารสตาร์ตรถถัง รถเกราะออกมาโดยเร็ว
ร้อยเอกหลวงรณสิทธิชัย และพรรคพวกพากันขึ้นไปยังโรงทหารเร่งให้ทหารแต่งเครื่องแบบโดยเร็วด้วยคำสั่งที่ว่า "ทหารไม่ต้องล้างหน้าแต่งเครื่องแบบทันที"

        ไม่กี่นาทีต่อมาทหารม้าก็พร้อมแล้วที่ออกเดินทางไปขึ้นรถบรรทุกทหารภายในกรมทหารปืนใหญ่ที่ได้นัดแนะเอาไว้แล้วพระยาฤทธิอัคเนย์สั่งให้ทหารปืนใหญ่ขึ้นรถ พระประศาสน์พิทยายุทธ นำขบวนรถถังรถเกราะ รถขนกระสุนและปืนกลเบาราว 15 คัน ออกมาจากที่ตั้งกรม นำหน้าขบวนรถทั้งหมดมุ่งหน้าตรงไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า สมทบกับทหารหน่วยอื่น ๆที่นัดหมายกันไว้
        เมื่อขบวนรถบรรทุกทหารแล่นผ่านกองพันทหารช่างซึ่งเหล่าทหารกำลังฝึกอยู่บนสนามหน้ากองพันพระยาทรงสุรเดชก็กวักมือพลางตะโกนเรียกให้ขึ้นรถผู้บังคับการทหารช่างเข้าใจว่าได้เวลาที่จะไปฝึกการต่อสู้รถถังตามที่ตกลงกันเมื่อเย็นวานจึงสั่งทหารช่างขึ้นรถบรรทุกไปด้วย
        ปฏิบัติการยึดกรมทหารม้าที่ รักษาพระองค์สำเร็จลงอย่างรวดเร็วตามความคาดหมายภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงมีคำถามมากมายว่า เพราะเหตุใดกองรักษาการณ์กรมทหารม้าจึงไม่ได้ทำอะไรเลยทำไมยามคลังกระสุนจึงปล่อยให้พระยาพหลพลพยุหเสนา งัดประตูเอากระสุนออกไปได้ทำไมนายทหารในกรมนี้จึงปล่อยให้นายทหารที่อื่นนำทหารของตัวออกไปได้โดยไม่แสดงปฏิกิริยาอันใดเลย
สำหรับคำตอบของคำถามนี้พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ชัดเจนว่า
        เป็นเพราะนายทหาร นายสิบพลทหารเหล่านั้นเห็นด้วยในการปฏิวัติหรือ...เปล่าเลย ทั้งนายทหาร นายสิบ พลทหารไม่มีใครรู้เรื่องอะไรเลย ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่มีใครเคยได้เห็นได้รู้การปฏิวัติทำอย่างไร เพื่ออะไร มีแต่ความงงงวยเต็มไปด้วยความไม่รู้และข้อนี้เองเป็นเหตุสำคัญแห่งความสำเร็จ ! สำหรับพลทหารทั้งหมดไม่ต้องสงสัยเลยเขาทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของเขาโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เขาถูกฝึกมาเช่นนั้นและหากนายทหารอื่นมาสั่งให้ทำโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเขาก็ทำเช่นเดียวกัน ทำไมเขาจะไม่ทำ เพราะในชีวิตเป็นทหารของเขาเขายังไม่เคยถูกเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเขาจะรู้ไม่ได้เลยว่าเป็นการลวงในเมื่อเขาโดนเป็นครั้งแรก ...นายทหารทั้งหมดส่วนมากได้เรียนในโรงเรียนนายร้อยในสมัยที่ผู้อำนวยการฝ่ายทหารเป็นอาจารย์ใหญ่เพราะฉะนั้นจึงมีความเคารพและเกรงในฐานผู้ใหญ่
00000000000000000000000
อ่านข่าวเกี่ยวข้องบรรพชนปฏิวัติ 2475
-ฌาปณกิจคณะราษฎร์คนสุดท้ายปลายทางบรรจุอัฐิกับผู้ร่วมก่อการ เผยวีรกรรมตำนานเสรีไทย
-ทายาท 24 มิถุนา(ตอน1) ศุขปรีดา พนมยงค์:เขาพยายามทำลายชื่อเสียงผู้ก่อการเขามีทั้งกำลังคนกำลังทรัพย์แน่นหนามาก
-ทายาท24มิถุนา(ตอน2)พ.ต.พุทธินาถพหลพลพยุหเสนา:ไม่มีหรอกที่ราชาธิปไตยจะเอาประชาธิปไตยมาให้
-ทายาทจอมพลป.:พอรัฐประหาร2490ก็หมดแล้วปฏิวัติ2475 และทายาทพระประศาสน์ผู้จับกรมพระนครสวรรค์วันปฏิวัติ
http://redusala.blogspot.com