วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

มั่วนัก เว้นวรรคก่อน  

http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC4wMjM5M S1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cH R0aA%3D%3D%0A


"หมดสภาพ" กับปรากฏการณ์สภาล่มซ้ำซากติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 3 วัน อันมีผลมาจากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศกำหนดยุบสภาล่วงหน้าในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม เวลาที่เหลืออีกเดือนกว่าๆจึงไร้ความหมาย ส.ส.ไม่สนใจงานของสภาผู้แทนราษฎร พากันโดดร่ม ทิ้งวาระประชุมกลับไปลงพื้นที่ เตรียมลุยหาเสียงกันหมดแล้ว

ตาม รูปการณ์ยากแก่การกุมสภาพ แม้แต่ไฟต์สำคัญของทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการเลือกตั้ง 3 ฉบับ ในวันที่ 7 เมษายน ที่ล็อกคิวให้จบภายในวันเดียว ก็ยังมีลุ้นเสียว จะคุมเกมกันได้หรือไม่ อย่างที่เห็นไม่มีใครกลัวใครแล้ว ต่างฝ่ายต่างปล่อยลูก "ทิ้งทวน" ก่อนจาก

ตาม อาการที่คนของพรรคภูมิใจไทย ลูกหาบของ "เนวิน ชิดชอบ" กล้ากระแทกน้ำเสียงใส่ "อภิสิทธิ์" เป็นตัวต้นเหตุให้สภาปั่นป่วน เพราะดันประกาศยุบสภาล่วงหน้า ไล่ตะเพิดให้นายกฯลาออก แทนการยุบสภา

แต่ ที่เฮี้ยวกว่า กล้าท้าชนกำแพงกันเลย ล่าสุดกับบททะลุกลางปล้องของนายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ประกาศดังๆเลยว่า หากกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จะเดินหน้าขอแก้รัฐธรรมนูญแน่นอน โดยเฉพาะประเด็นยุบพรรค และประเด็นการให้ ส.ว.ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง

เพราะ การสรรหา "ส.ว.ลากตั้ง" ที่เป็นอยู่ในขณะนี้คือ "อมาตยาธิปไตย" ไปครอบงำ โดยขณะนี้ได้ข่าวว่า มีคนไปล็อกกรรมการผู้สรรหา ส.ว.ประกอบด้วย อาทิ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ไว้แล้ว อยากให้สังคมช่วยหาคำตอบว่า ใครจะมีอิทธิพลเหนือทั้ง 7 คนได้

ใน อารมณ์ดับเครื่องชน นายชุมพลย้ำเลยว่า การเปิดเผยครั้งนี้ พร้อมรับผิดชอบหากเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะรู้ว่า ผู้มีอิทธิพลเหนือทั้ง 7 คนนี้ไม่ธรรมดา
กินดีหมี ท้าชน "อำมาตย์" เท่านั้นไม่พอ นายชุมพลยังตอกย้ำ "ข้อมูลวงใน" ทราบมาว่า หน่วยงานราชการของรัฐได้มีการไปจัดทำโพลสำรวจการเลือกตั้งกันมาแล้ว ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยมีคะแนนสูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์

เปิดโพยเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นนัยบลัฟ ดักทางแผนรวบหัวรวบหางของฝ่ายคุมเกมอำนาจให้พรรคร่วมรัฐบาลล็อกแขนกับพรรค ประชาธิปัตย์ สกัดพรรคเพื่อไทย
"ชุมพล" ทิ้งทวนก่อนจากแบบ "จัดหนัก" เลยก็แล้วกัน

ทั้ง หมดทั้งปวง โดยปรากฏการณ์ป่วนๆของสภา ตามอารมณ์ทะลุกลางปล้องของนายชุมพล เมื่อโยงมาเทียบกับบทวิเคราะห์ข้ามช็อตของเซียนอย่างนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา ฟันธงล่วงหน้า หลังการเลือกตั้ง พรรคการเมืองใหม่ๆที่จะเป็นทางเลือกให้กับประชาชน จนสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ยังไม่มี

เหตุที่การเมืองยังวน เวียนเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเรามีขีดจำกัดเรื่องบุคลากรทางการเมือง เพราะนักการเมืองที่อยู่ในรุ่นที่ 2 ก็ถูกล็อกอยู่ในบ้านเลขที่ 111 ถึง 100 กว่าคน ซึ่งคนเหล่านี้เป็นนักการเมืองอาวุโส มีประสบการณ์ทุกด้าน แต่ไม่สามารถสร้างทางเลือกให้ประชาชนได้ จึงต้องยอมรับสภาพการเมืองว่า ต้องเดินไปเช่นนี้ แต่สมมติว่าถ้าวันนี้คนบ้านเลขที่ 111 มีอิสรภาพ ขั้วการเมืองจะเปลี่ยน

จะ มีคนหน้าใหม่ นโยบายใหม่ มีคนพร้อมเป็นผู้นำทางการเมืองให้สังคมเลือกได้อีกมาก ดังนั้น ต้องรอปีหน้า เดือนพฤษภาคม 2555 หากคนบ้านเลขที่ 111 ได้ออกจากบ้าน ก็คงอยากลงสนาม การเมืองก็คงสนุกขึ้น

สภาปั่นป่วนล่มแล้วล่มอีก คุมสภาพ ส.ส.ไม่ได้ เกมยื้ออำนาจยังขึงพืด

บรรยากาศ มั่วๆ เลือกตั้งไปก็อาจป่วยการสูญงบประมาณเปล่า ตามสภาพการณ์ที่พวกตัวสำรองมาอยู่แค่ชั่วคราวอีกไม่ถึงปี แนวโน้มก็ต้องวุ่นวาย เปิดทางให้ตัวจริงที่พ้นโทษแบนกลับลงสนามกลางปีหน้า

มันจึงเป็นอะไรที่เข้าเค้ากับกระแส "ยุบสภา แต่ไม่มีเลือกตั้ง"

โดย จังหวะรวบรัด "อำนาจพิเศษ" เข้าทำการจัดระเบียบการเมืองใหม่ ให้เข้าร่องเข้ารอย แล้วค่อยปล่อยคนบ้านเลขที่ 111 พ้นโทษแบนทางการเมืองก่อนกำหนด เพื่อเพิ่มบุคลากรมืออาชีพมาช่วยในการบริหารงานรัฐบาล พร้อมๆกับระบายแรงกดดัน

ลดแรงเสียดทานทางการเมืองลงตามธรรมชาติ.


ทีมข่าวการเมือง รายงาน

สภาล่ม-แพแกต

http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC45MTM5MS1k
YWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cHR0a
A%3D%3D%0A

อุทกภัยในภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรลงไป ถือว่ามีความรุนแรงเกินคาด ภาวะอากาศที่แปรปรวนไม่มีการเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้า ไม่มีคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา ที่มักจะพยากรณ์อากาศผิดๆถูกๆทุกที เลยมีชาวบ้านไปติดเกาะหลายร้อยคน มีดินโคลนถล่มทับประชาชนเสียชีวิต

นี่ ถ้าเจอกับภัยธรรมชาติที่รุนแรงเหมือนกับประเทศอื่นๆคงทำอะไรไม่ถูก ชาวบ้านต้องรับกรรมไปตามระเบียบ นี่ไม่รู้ว่าหลังน้ำลดไปแล้วจะมีตอผุดอีกกี่ตอ ประเภทเอาอาหารหมดอายุไปแจกชาวบ้าน หรืออมงบประมาณเกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติ รัฐบาลไม่มีคุณภาพก็เป็นอย่างนี้

คุณภาพของนักการเมืองไทยตกต่ำลงทุก วัน สภาล่มเป็นเรื่องธรรมชาติ สำหรับ ส.ส.-ส.ว.ไปแล้ว มีแต่ปริมาณไม่มีคุณภาพ กฎหมายค้างคาอยู่ในสภามากมาย

ครั้นจะไม่มี นักการเมืองเข้ามาให้ครบองค์ประกอบของประชาธิปไตยก็จะกลายเป็นเผด็จการไปฉิบ เลยจำเป็นต้องเลือกส.ส.-ส.ว.เข้ามาทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่มี ส.ส.-ส.ว. รัฐธรรมนูญและกลไกการบริหารของประเทศก็เดินหน้าไม่ได้ ถ้าจะเว้นวรรคไม่มีนักการเมืองเหล่านี้มาทำหน้าที่ในสภาก็ต้องเชิญทหารมา ช่วยฉีกรัฐธรรมนูญ หมดเรื่องหมดราว

ระยะหลังนักการเมืองไม่ค่อยจะมี สำนึกในการทำหน้าที่ มัวแต่ จะใช้เวทีสภาชิงอำนาจทางการเมืองกันอย่างเดียว วิกฤติที่ซึมลึกจากการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนรุนแรงกว่ากัมมันตภาพรังสีซะอีก

ส่วนหนึ่งที่ สภาล่มก็เพราะไม่มั่นใจว่าการทำหน้าที่ในสภาจะเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐ ธรรมนูญหรือไม่ อีกส่วนหนึ่งแม้แต่นักการเมืองเองก็ไม่มั่นใจในระบบของรัฐสภา ว่ามีความชอบธรรมอยู่หรือไม่ ไม่มีความภาคภูมิใจที่จะเข้ามาทำหน้าที่อีกต่อไป

บรรยากาศในสภาก็ไม่ ได้น่าทำงานเท่าไหร่ การเมืองเล่นกันชนิดไม่เผาผี จึงไม่สามารถจะแบ่งแยกการทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนกับการช่วงชิงอำนาจทาง การเมืองได้ มองหน้ากันไม่ติด

ดังนั้น การประชุมร่วมในสภาแต่ละครั้งจึงต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ทางการเมืองอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะตกกับส่วนรวม

ยิ่งนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศกำหนดวันยุบสภาชัดเจน นักการเมืองก็เหมือนแพแตก ดีดลูกคิดรางแก้วจะอยู่กับพรรคเดิมต่อไปหรือจะไปหาที่อยู่ใหม่ที่จะได้รับผล ประโยชน์มากกว่ามีโอกาสที่จะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการยุยงส่งเสริมให้มีการย้ายพรรคกันอย่างอิสรเสรี อยู่แล้ว
ขายตัวในสภาก็ยังได้

วันนี้การเมืองไทยตกต่ำสุดๆจนทำ ให้ชาวบ้านรู้สึกว่า สถาบันการเมืองเป็นอุปสรรคในการพัฒนาและความสงบสุขของประเทศ การที่คนกลุ่มหนึ่งรณรงค์ให้โหวตโน ทำเป็นเล่นไป เพราะชาวบ้าน ส่วนใหญ่มองว่า นักการเมืองปัจจุบันเป็นแค่ขยะของสังคมเท่านั้น.

หมัดเหล็ก
ตำนานชั่ว ประชาธิปัตย์
http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC44MTM5MS1kYWV
yaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cHR0aA%3D%3D%0A


เปิดตำนานความชั่ว ปชป. 01 April 2011
บนเวที สะพานมัฆวานฯ คืนวันที่ 1 เมษายน 2554




ลิ้ม-ลอง ชวน Vote No เพราะไม่มีตังค์แต่กลัวเสียฟอร์ม

http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC4wMTM5MS1k
YWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pL
y86cHR0aA%3D%3D%0A


ลิ้ม-ลอง เชิญชวนสาวกพันธมิตรฯ งัดมุข Vote No มาอ้าง เพื่อที่จะไม่ส่งคนลงเลือกตั้งสู้ในศึกครั้งนี้ เพราะมันเช็คข่าวดูแล้ว งานนี้อาจถึงกับสูญพันธุ์ แถมยังไปตัดคะแนน ปชป. ลูกรัก ทั้งระบบเขตและปาร์ตี้ลิสท์ การเสนอ Vote No จึงเป็นทางออกที่เท่ห์ สอดรับกับแนวคิด ระบบการเมืองไทย(ระบบเลือกตั้ง) มันเลวร้ายบัดซบเสียเหลือเกิน เกินกว่าจะลงไปเกลือกกลั้วได้ ที่จริงถ้ามันจะเล่นเรื่องนี้ ก็ควรเล่นมาตั้งแต่ หลังเลือกตั้ง ปี 50 แล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาสะดุ้งเอาเวลานี้

อีกปัญหาคือ ถังแตก ลูกพี่ลิ้มเสียววาบต้องควักกระเป๋าเหมาจ่าย วิ่งไปขอตังค์ใครเขาก็หลบลี้หนีหน้า ไม่มีนายทุนช่วย เพราะงานนี้ไฟท์บังคับให้ต้องแทงเต็ง ปชป. ผู้บริหารพรรคแต่ละตัวก็ไส้แห้ง ไม่มีตังค์ มีแต่ปาก กับวาทกรรมเพ้อเจ้อ สติเฟื่องเท่านั้น

เรื่องการเมือง "ไม่ต้องใช้เงิน" เป็นเรื่องตอแหล ของพวกดอกทองสมองนิ่มเท่านั้นแล แม้แต่ กฐิน ผ้าป่า สร้างโบสถ์ วิหาร ยังต้องใช้เงิน กิจกรรมของพวก NGOs อิ่มอุ่นยั่งยืน มันก็ต้องใช้เงิน ทุกอย่างต้องใช้เงินทั้งสิ้น


การเมืองบ้านพ่อมึงหรือไม่ต้องใช้เงิน

http://twitter.com/killerpress
http://thailand-politics.blogspot.com*

แด่ไอ้คนชอบอ้างว่า รักในหลวง ทุกคน

http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC44MDM5
MS1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cH
R0aA%3D%3D%0A


ท้าให้ คน "รักในหลวง" ทุกคน 
ตอบประเด็นเรื่อง "สถาบันกษัตริย์ดีเยี่ยม - นักการเมืองเลวสุด" 
นี้ครับ พนันได้เลยว่าตอบไม่ได้

ประโยคแบบนี้ ของผู้จงรักภักดี ที่เห็นกันบ่อยๆ ผิดตรงไหน?

Quote:"ความฉิบหายของบ้านเมืองไม่เคยมาจากสถาบัน ทุกเหตุการณ์ล้วนมาจากนักการเมืองทั้งสิ้น...ท่านก็อยู่ในวังของท่านทุกวัน ไอ้พวกที่ป่วนบ้านป่วนเมืองล้วนมาจากฝีมือนักการเมืองทั้งสิ้นครับ.... โกงก็นักการเมือง ทั้งโกง ทั้งกินงบของซาติจนจะฉิบหายกันแล้ว.... แต่ในหลายๆเหตุการณ์มักจะยุติที่สถาบันเป็นผู้ชี้ทางออกให้ .."


ผมยืมประโยคเหล่านี้มาจากคณ @Sky Bird (ที่มีคุณ @Thanachart Promsorn สนับสนุน) ในกระทู้นี้ของผม http://goo.gl/0N7rE ใครที่เคยฟังสัมภาษณ์อย่างหมอตุลย์ หรืออ่านตามเพจ จงรักภักดีต่างๆ ก็จะเห็นบ่อยๆ

แต่ประโยคแบบนี้ผิดมากๆ ด้วย เหตุผล 2 ประการ (ความจริงเป็นประการเดียว เพราะต่อเนื่องกัน) คือ

1. เป็นประโยคที่คนเถียงไม่ได้ แม้จะรู้สึกไม่เห็นด้วย แต่....
2. ที่เถียงไม่ได้ ไมใช่เพราะ "เป็นความจริง" ครับ ตรงกันข้ามเลย เพราะมันไม่ได้วางอยู่บน "ฐาน" หรือ "บรรทัดฐาน" ของ "ความจริง" ทีเรายอมรับกันในโลกปัจจุบันต่างหากครับ

เถียงไม่ได้ แม้จะไม่เห็นด้วยยังไง?

ผมว่า ถ้าผู้จงรักภักดี คิดดูให้ดี ก็คงน่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก คือ สมมุติผมเกิดไม่เห็นด้วย แล้วจะให้ผมเถียงยังไง? 



จะให้เสนอในทางกลับกัน จากประโยคข้างบน ผมก็โดน ม.112 เล่นงานเท่านั้น คือ ต่อให้สมมุติ (ย้ำ สมมุติ) ผมมีทั้งข้อมูลและเหตุผลหนักแน่นสนับสนุน ในการที่จะเสนอกลับกันกับข้างบนที่พวกคุณเสนอ ผมก็ไม่สามารถเถียงได้อย่างเต็มที่ อย่างมากก็อาจจะแค่ "ชี้เป็นนัยๆ" แบบ"เบาๆ" ว่ามีข้อมูลหรือเหตุผลที่โต้แย้งได้เท่านั้น - ดังตัวอย่างข้างล่าง

และที่เถียงไม่ได้แบบนี้ นี่เอง ก็สะท้อนว่า ประโยคแบบนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่บน "ฐาน" หรือ "บรรทัดฐาน" ของ "ความจริง" ตามที่เรายอมรับกันปัจจุบัน
ลองดูประโยคข้างบนอีกที ทำไมพวกจงรักภักดี จึงคิดว่า นักการเมือง "เลว" อย่างที่ว่า?

ก็เพราะเราสามารถที่จะ ดีเบตเรื่องนักการเมืองได้ เราสามารถจะหยิบยกกรณีต่างๆเกี่ยวกับนักการเมืองมาอภิปรายได้ ทั้งเรื่องการเมือง เรื่องศีลธรรม เรื่องเงินทอง แล้วพอเรายกได้ เราเรียนรู้เรื่องพวกนี้ ทางสาธารณะได้ เราก็ยอมรับว่า มันคือ "ความจริง"

ที่ประหลาดคือ ในทางกลับกัน เราไม่สามารถ ทำแบบเดียวกันในกรณีสถาบันกษัตริย์ได้ อย่างที่บอกว่า ต่อให้สมมุติว่าเรา มีข้อมูลหรือเหตุผลที่จะ (สมมุตินะครับ สมมุติ) เสนอในทางตรงข้ามเลยกับข้อความข้างบน เราก็ทำไมได้ .. แต่ "ประหลาด" ที่ บรรดาผู้จงรักภักดี กลับยอมรับว่า "ความจริง" เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นอย่างทีว่ามา ทั้งๆที่วางอยู่บน "ฐาน" หรือ "บรรทัดฐาน" ที่ไม่สามารถมีการตรวจสอบเรื่องข้อมูล ไม่สามารถมีกาารเสนอ เรื่องเหตุผลในทางลบได้

พูดจริงๆนะครับ ยกเลิก ม.8 รธน. ยกเลิก 112 (เป็นอย่างน้อย) ให้ผมสิครับ แล้วผมจะแสดงให้ดูว่า สามารถที่จะมีข้อมูลและเหตุผลสนับสนุน ในทางตรงกันข้ามเลยกับข้อสรุปข้างบนอย่างไรได้บ้าง

ในระหว่างที่ ผมยังมีข้อจำกัดด้านกฎหมายอยู่นี้ ให้ผมลองพูดแบบจำกัด แค่ยกตัวอย่างไม่กี่กรณีเท่านั้น เอาแค่ เรื่อง "หัวข้อ" ของกรณีเหล่านี้ คุณคิดหรือว่า ถ้ามีการให้เสรีภาพในการให้ข้อมูล ในการยกเหตุผลอภิปรายกันอย่างเต็มที่จริงๆ จะสามารถทำให้ข้อสรุปเกี่ยวกับสถาบันกษํตริย์ของคุณ "ยืน" อยู่แบบนั้นได้?
(เอาตั้งแต่ต้นรัชกาล) 

กรณีสวรรคต ร.8, 


กรณีทรงแต่งตั้งสฤษดิ์ เป็นผู้รักษาพระนคร หลังสฤษดิ์รัฐประหาร โดยที่พระบรมราชโองการแต่งตั้งนั้น ไมมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ตามที่ รธน.บอก, 


กรณีที่สถาบันกษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบอบสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส, 


กรณีการประทะหน้าสวนจิตรฯในเช้าวันที่ 14 ตุลา, 


กรณีความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับ กลุ่มอย่างลูกเสือชาวบ้าน ไปจนถึงกรณี 6 ตุลา, 


กรณีทรัพย์สินของรัฐหลายพันล้าน อยู่ภายใต้การควบคุมของสถาบันกษัตริย์ โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เลยทั้งสิ้น (ซึ่งผิดหลักการมากๆ ไม่มีประเทศไหนในโลกสมัยใหม่ให้ทำกัน รวมท้้งของไทยเอง ลองนึกว่า ถ้ายกทรัพย์สินหลายพันล้านให้ นายกฯควบคุมโดยสิ้นเชิง จะมีใครยอมไหม? ต่อให้เป็น นายกฯ"มือสะอาด" แบบปรีดี หรือ ป๋วย กลับชาติมาเกิดก็ตาม?) 


กรณีค่าใช้จ่ายต่างๆเกียวกับสถาบันกษัตริย์ (นึกถึงการ "เดินทาง" หรือการใช้ "ยานพาหนะ" ประเภทต่างๆของพระราชวงศ์บางพระองค์) ไป


จนถึงแม้แต่กรณีเรื่องที่พูดกันถึง "ความวิเศษ" ของ "โครงการหลวง" คุณรู้ได้ยังไว่า "วิเศษ" จริงๆ? ในเมื่อไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่สามารถนำมาวิพากษ์เอาผิด หรือที่เรียกว่า accountability กันได้?) ในแง่การเมือง ก็เถอะ เรื่องที่อ้างเรื่อง "แก้วิกฤติ" น่ะ ถ้าให้อภิปรายกันจริงๆถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษํตริย์กับทหาร อย่างเต็มที่ล่ะ?


ท้ังหมดที่พูดมานี้ ผมเพียงพูดแบบ ย่อที่สุด เฉพาะหัวข้อเท่านั้น ไม่ได้ลงรายละเอียดในแต่ละประเด็น และไม่ได้พูดถึงอีกนับไม่ถ้วนประเด็นเลยด้วยซ้ำ เพราะพูดมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว

ถ้าสังคมไทยมีเสรีภาพในการพูดเรือ่งพวกนี้จริงๆ คุณคิดว่า ข้อสรุปเรื่อง "ความดี-ไม่ดี" ระหว่างสถาบันกษัตริย์-นักการเมือง ของคุณจะเป็นเหมือนแบบที่ชอบพูดๆกัน แลผมยกมาข้างบนนั้นได้จริงๆหรือ? 

ทุกวันนี้ ที่คุณยังพูดแบบที่พูดมาซ้ำๆกันได้ ก็เพราะคนที่ไม่เห็นด้วย เขาเถียงไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามไว้ เพราะสังคมไทยไม่ยอมให้มีการเถียงในสิ่งที่คุณพูดมาได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะมีข้อมูลหรือเหตุผลประกอบอย่างหนักแน่นขนาดไหน

เพราะพวกคุณ "หลอกตัวเอง" ในเรื่องอะไรคือความจริง ไม่จริง 



คุณยอมรับว่า เป็น "ความจริง" เรื่องเกียวกับนักการเมือง ที่คุณสามารถมีข้อมูลด้านลบได้ สามารถเถียงกัน ให้เหตุผลชักจูงกันในทางลบได้ ... 


แต่พอมาถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ ที่ทำแบบเดียวกันไม่ได้ ที่คุณรับมาแต่ข้อมูลด้านเดียว แบบถูก "โปรแกรม" ใส่หัวมาแต่เด็กๆ และไม่มีสภาพแวดล้อมทางสังคม ให้ถกเถียง ให้โต้แย้งในสาธาารณะได้ คุณกลับเชื่อวา นั่นเป็น "ความจริง" เหมือนกัน

ไม่รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ไร้เหตุผล ไร้สามัญสำนึกมากๆหรือครับ?

ลองกลับไปอ่านเฉพาะหัวข้อกรณีต่างๆที่ผมเขียนมาข้างบนอีกที ถ้ามีเสรีภาพในการอภิปรายโต้แย้ง ให้ข้อมูลในประเด็นเหล่านั้นได้เต็มที่จริงๆ ข้อสรุปเกียวกับสถาบันกษัตริย์ของสังคมไทย จะเป็นแบบที่เป็นหรือ?*

เพื่อประชาธิปไตย แต่ไม่กล้าเลือกตั้ง


พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ?
 แต่ไม่กล้าต่อสู้การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

[Image: 13016577831301658076l.jpg]

รายงานพิเศษ

ทั้งๆ ที่การชุมนุมของเครือข่าย
คนไทยหัวใจรักชาติ ที่สะพานชมัยมรุเชษฐ์
และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์
มีปริมาณน้อยมาก


สรุปตามสำนวน อัญชะลี ไพรีรักษ์ ก็ต้องว่า "หะร็อมหะแร็ม"

นั่นก็คือ จำนวนยืนพื้น
เพียงหลักร้อย น้อยครั้งยิ่งนักที่
จะทะยานไปถึงหลักพัน เว้นแต่จะมี
การเป่านกหวีดอย่างสุดแรงเกิด

ยิ่งจำนวน "หมื่น" แทบไม่เคยปรากฏ

กระนั้น หลายคนก็มี
ความรู้สึกร่วมว่า การชุมนุมทั้งที่สะพานชมัยมรุเชษฐ์
และสะพานมัฆวานรังสรรค์ ได้รับการเกรงอกเกรงใจ
อย่างมากเป็นพิเศษจากรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และจากพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อเปรียบเทียบกับการชุมนุมของคนเสื้อแดงหรือ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน

ความเกรงอกเกรงใจมิได้อยู่ที่คนน้อย
ไม่เคยกล่าวหา ประการเดียว หากที่สำคัญ
เป็นอย่างมากก็คือ จังหวะก้าวของรัฐบาล
ที่ดำเนินไปตามน้ำเสียงจากผู้ชุมนุม


รูปธรรม 1 คือ รูปธรรมที่บันทึกข้อตกลง
การประชุมเจบีซีที่ยื้อแล้วยื้ออีก

รูปธรรม 1 คือ การไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซีย
เข้ามาประจำในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

แม้จะเป็นมติจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน


กรณี "ผู้สังเกตการณ์" จากอินโดนีเซียถือได้ว่าเป็น
กรณีศึกษาที่สะท้อนสายสัมพันธ์ของผู้ชุมนุมกับ
ผู้กุมอำนาจอย่างแท้จริงได้อย่างเป็นรูปธรรม

แม้กรณี "ผู้สังเกตการณ์" จากอินโดนีเซียจะเป็นไปตาม "มติอาเซียน"

เป็นมติอาเซียนอันมาจากการประชุมร่วมของรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ อาเซียนที่กรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์

เมื่อเป็นมติแสดงว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยย่อมเห็นด้วย

แต่นับจากวันที่ 22 กุมภาพันธ์ จนผ่านวันที่ 22 มีนาคม
มาจนถึงวันที่ 1 เมษายน มตินี้ก็มิได้มี
การปฏิบัติในพื้นที่ของประเทศไทย

จะมีที่อ้าแขนและปฏิบัติตามมติก็เฉพาะในฝั่งของกัมพูชาเท่านั้น


ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า
กระทรวงกลาโหมอันเป็นตัวแทนของกองทัพไทยไม่เห็นด้วย
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในที่ชุมนุมของเครือข่าย
คนไทยหัวใจรักชาติที่สะพาน ชมัยมรุเชษฐ์
และในที่ชุมนุมของพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตยที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ไม่เห็นด้วย

แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไป
แสดงความเห็นด้วยในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนก็ตาม

แสดงว่า "กองทัพไทย" กับ "พันธมิตรฯ" ร้องเพลงเดียวกัน

ตรงนี้เองที่เมื่อแกนนำ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ออกมาเสนอความเห็นให้โหวตโน
ในการเลือกตั้งและยืนยันอย่างเฉียบขาดว่า

ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง

ต้องการให้มีการเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา
2-3 ปี เพื่อจัดระบบและโครงสร้างของการเมืองใหม่

หลายคนจึงล้างหูน้อมรับฟังด้วยความระมัดระวัง


แม้ว่าทหารใหญ่หลายคน
ออกมาปฏิเสธเรื่องการรัฐประหาร แต่ความโน้มเอียง
ในขณะนี้ก็เห็นว่า การเลือกตั้งไม่แน่ว่า
จะเกิดขึ้นแม้ว่าจะมีการยุบสภาก็ตาม

เพราะว่ามือที่แตะอยู่ข้างหลัง "พันธมิตรฯ" คือ มือจาก "กองทัพ"


ขณะเดียวกัน มือที่แตะ
อยู่ข้างหลัง "กองทัพ" เป็นสิ่งที่เรียกกัน
ในทางการเมืองว่า "มือที่มองไม่เห็น"

เป็น "มือที่มองไม่เห็น" ซึ่งเคยบงการให้เกิด
"รัฐประหาร" เดือนกันยายน 2549


เครดิต
http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...o&catid=50*

หมาตัวเดียว ญี่ปุ่น เขาก็ยังดูแล
คลิปประทับใจ ดูญี่ปุ่นซิ หมาตัวเดียวโดนซึนามิลอยทะเล 3 อาทิตย์เขาเอา ฮ.ไปรับ

http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC43MzM5MS1kYW
VyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cHR0aA%3D%3D%0A


3 สัปดาห์ผ่านไป แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริคเตอร์ และคลื่นยักษ์สึนามิ ทิ้งไว้แต่เพียงซากปรักหักพังแห่งความสูญเสีย เมืองทั้งเมืองราบเป็นหน้ากลอง

3 สัปดาห์ผ่านไป เจ้าหน้าที่ยามชายฝั่งญี่ปุ่นออกตรวจการตามปกติ และสังเกตเห็นสุนัขตัวหนึ่งเดินไปมาอยู่บนหลังคาบ้าน ท่ามกลางกองซากปรักหักพังที่ลอยออกไปนอกชายฝั่งกว่า 1.8 กม. นอกชายฝั่งเมืองเคเซนนูมะ จังหวัดมิยางิ
สุนัขวิ่งหนีไปมาเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสามารถจับตัวมันขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้นดีใจของเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่อย่างน้อยที่สุดก็ยังมีสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตรอด ท่ามกลางความเคว้งคว้างของท้องทะเล ทันที่ที่มันขึ้นมาบนเรือ มันเข้าไปเลียมือของเจ้าหน้าที่ทุกคนด้วยความดีใจ


สุดยอดจริง ๆ คนญี่ปุ่น จิตใจสูงส่งสมควรได้รับความนับถือที่มาจากใจจริง

ไม่เหมือนใครบางคนพี่น้องที่ใต้ ผ่านมาจะ 1 สัปดาห์แระ ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย


[Image: 5579710265_4d75611fb1_z.jpg]

นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมร้านขายอาหารย่านรัชโยธิน วันเสาร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2554 


เออ ลืมไป ของเราก็มี ฮ. มาช่วยเหมือนกันนะ

ช่วยทิ้งแก๊สน้ำตา ใส่ประชาชนน่ะ

ประเทศอื่นมีแบบเราป่าวล่ะ 



[Image: p9110512.jpg]
*
รอยเตอร์"วิเคราะห์การเมืองไทย ไม่พ้น"กองทัพ"จุ้น
http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC45MzM5MS
1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cHR0aA
%3D%3D%0A


[Image: 168180.jpg]เมื่อวันที่ 1 เมษายน สำนักข่าวรอยเตอร์ออกบทวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองในหลายประเทศในทวีปเอเชียรว​มถึงประเทศไทย

โดยระบุไว้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแบ่งขั้วเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างน่าเป็นห่วง และการชิงดีชิงเด่นระหว่างกลุ่มอำนาจยังคงเป็นเรื่องที่ฝังรากลึก ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีทีท่าว่าจะจางลงไป การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในไม่ช้านี้คงไม่ช่วยให้ปัญหาทางการเมืองจะจบลง

 รอยเตอร์ระบุว่า จริงอยู่ที่กลุ่มการเมืองส่วนใหญ่ ประชาชนทั่วไป และกลุ่มนักธุรกิจยินดีกับการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น

แต่มีความเป็นไปได้สูงที่ผลการเลือกตั้งจะนำไปสู่ความขัดแย้งเช่นเดิม ถึงอย่างไรก็ดีท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง เศรษฐกิจของประเทศไทยที่ต้องอาศัยการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ดี เศรษฐกิจไทยขยายตัว 7.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่ผ่านมา คาดว่าจะขยายตัวอีก 3.5 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้แม้เงินเฟ้อที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยเสี่ยงและมีแนวโน้ม ที่ดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้น

บทวิเคราะห์ยกประเด็นความเสี่ยงที่น่าจับตามองหลายเรื่องเช่นความไม่แน่นอนทางการเมื​อง

โดย ระบุว่า การแบ่งขั้วระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือเสื้อแดง และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือเสื้อเหลือง ไม่มีทีท่าว่าจะจบลง การแบ่งสีฝังรากลึกลงกว่าเดิม เสื้อแดงออกมาประท้วงกล่าวหากลุ่มอำนาจอภิสิทธิ์ชนและทหารว่าพยายามเข้ามา ก้าวก่ายทางการเมืองและระบบกระบวนการยุติธรรมเพื่อปกป้องอำนาจตัวเองและผล ประโยชน์ส่วนตัว ขณะเดียวกันเสื้อเหลืองได้ออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในเรื่องการแก้ปัญหาชายแดนกับกัมพูชา กลุ่มเสื้อแดงได้มีการออกมาประท้วงหลายครั้งในปีนี้โดยแต่ละครั้งสามารถรวบ รวมคนไทยมากถึง 30,000 คน แสดงให้เห็นว่าการออกมาประท้วงถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง

รอยเตอร์มองว่า การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคมจะไม่ทำให้ นปช.สงบลงได้

กลุ่ม นปช.ยังได้เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับไปและเรียกร้องให้มีการ สอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการประท้วงของเสื้อแดงเมื่อปีที่ ผ่านมา หากการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไม่มีผลสรุปที่แน่ชัด เสื้อแดงอาจก่อการกบฏได้อีก และมองด้วยว่า การเลือกตั้งไม่ช่วยให้แก้ปัญหาในไทยในขณะนี้และอาจนำไปสู่ความรุนแรงแทน 



เพราะหากกลุ่มที่ให้การสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง เสื้อเหลืองจะออกมาประท้วงไม่ให้รัฐบาลทำงานได้ 


หากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลจะมีการพยายามให้ทหารที่ให้การสน​ับสนุนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด 


ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะมีการปฏิวัติกำจัดนายทหารระดับสูงจากทหารที่ไม่เห็น ด้วย 


หากอภิสิทธิ์ชนะการเลือกตั้งและการเลือกตั้งมีมลทิน นปช.จะออกมาประท้วงรุนแรงและนำไปสู่การใช้กำลังทหารแก้ปัญหา 


นักวิเคราะห์หลายคนและนักการเมืองเชื่อว่าจะมีทหารเข้ามาแทรกแซงโดยให้การ สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามหรือจับมือกับพรรคการเมืองเพื่อให้แน่ใจว่าพรรคที่ทหาร ให้การสนับสนุนจะได้จัดตั้งรัฐบาล

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน*
น้ำมัน-แก้สโซฮอล-ผลิตภัณท์ซักล้าง จ่อขึ้นราคากันพรึ่บ!

http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC4xNzM
5MS1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy8
6cHR0aA%3D%3D%0A

ปตท.ส่งสัญญาณปรับขึ้น เบนซิน-แก๊สโซฮอร์ 50 สตางค์/ลิตร ภายใน 1-2 วันนี้ หลังผู้ค้ารายอื่นปรับขึ้นไปล่วงหน้าแล้ว "บิ๊กไฝ" ผวาศึกใน ตอ.กลาง ดันน้ำมันโลกแตะ 150 ดอลลาร์ ครวญค่าการตลาดเบนซินวูบต่ำกว่า 1 บาท "บางจาก" ปรับขึ้นกลุ่มเบนซิน 50 สตางค์/ลิตร น้ำมัน อี85 ปรับขึ้น 30 สตางค์/ลิตร มีผล 3 เม.ย.นี้

นายประเสริฐ กล่าวว่า ปตท.จะรอดูการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่จะมีการประชุมในเร็วๆ นี้ ในการพิจารณาเพิ่มเงินชดเชยให้กับน้ำมันดีเซลหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยอยู่ที่ 5.10 บาทต่อลิตร ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลออกกว่า 300 ล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 9,000 กว่าล้านบาทต่อเดือน ด้านค่าการตลาดน้ำมันเฉลี่ย ล่าสุดต่ำกว่า 1 บาทต่อลิตร จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่เฉลี่ย 1 บาทต่อลิตร

นายประเสริฐ กล่าวว่า สงครามในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกจนถึงขณะนี้ ปรับตัวสูงขึ้นไปแล้ว 20-30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือประมาณ 4-5 บาทต่อลิตร และไม่อาจทราบได้ว่า เหตุการณ์จะยุติลงเมื่อใด ทำให้เกิดความวิตกกังวลและเก็งกำไรราคาน้ำมันมากขึ้น

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ปตท. มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน 50 สตางค์ต่อลิตร ในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2554 ขณะที่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศปรับขึ้นราคาเบนซินและแก๊สโซฮอร์ 50 สตางค์ต่อลิตร น้ำมัน อี85 ปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อลิตร มีผลในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2554 (พรุ่งนี้) ส่วนดีเซลทั้ง 2 ค่าย ยังคงตรึงไว้ที่ 29.99 บาทต่อลิตร ตามนโยบายรัฐบาล

ส่วนบิ๊กสหพัฒน์ ลั่นตรึงราคาสินค้าถึงกลางปี ยันบะหมี่ซอง "มาม่า" ยังไม่ปรับขึ้นราคา เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้ ปชช. แต่สินค้าผลิตภัณฑ์ซักล้าง มีโอกาสที่จะขยับราคาเพิ่มขึ้น หากราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้จะมีการสต็อกวัตถุดิบล่วงหน้าไว้บ้างแล้ว

เครือสหพัฒนฯ จะตรึงราคาสินค้าอีก 1 ไตรมาส จนถึงกลางปีนี้ แม้มาตรการตรึงราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา เพราะยังสามารถแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นได้


ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนในภาวะราคาน้ำมันแพง ส่วนจะตรึงราคาต่อเนื่องนานเพียงใดต้องพิจารณาต้นทุนวัตถุดิบอีกครั้งในช่วงปลายไตรม​าส 2 หากสินค้ารายการใดมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ก็จะต้องปรับขึ้นราคา

นายบุญชัย กล่าวว่า ล่าสุด พบว่า สินค้าผลิตภัณฑ์ซักล้าง มีโอกาสที่จะขยับราคาเพิ่มขึ้น หากราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้จะมีการสต็อกวัตถุดิบล่วงหน้าไว้บ้างแล้ว ขณะที่สินค้ากลุ่มอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาน้ำมันปาล์ม และแป้งสาลีที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่จะยังไม่ปรับราคา เนื่องจากขณะนี้ สถานการณ์น้ำมันปาล์มเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ

********************

มาม่า ไม่ต้องขึ้นราคาเสื้อแดงก็ไม่ซื้อไม่กินอยู่แล้ว
ส่วนอย่างอื่นจ่อขึ้น ไม่ต้องอ้างว่าสถานะการณ์ยังไม่ปกติ น้ำมันลดลงมันก็ไม่ลดหรอก ถือโอกาสราคาใหม่ยาวว
เตรียมตัวจ่ายเพิ่มขึ้นอีกไม่กี่วันข้างหน้าครับ*
ตกลงจะสู้กับเขา หรือจะกัดกันเอง


จริงหรือที่ว่า แดงจิ้มแป้น แดงนักวิจารณ์ 
มีความสำคัญกับขบวนการต่อสู้ของเสื้อแดง ?


http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC42
NjM5MS1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG
5pLy86cHR0aA%3D%3D%0A


บนพื้นฐานความคิดอันโง่เง่าชาวไพร่อย่างผมนั้น ทุกองคาพายัพในการต่อสู้ของเสื้อแดงเราล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันผมชักไม่แน่ใจ
สถานการณ์ที่เพื่อนพ้องแดง"ถกกันทางความคิด"อย่างแพร่หลาย ในความหมายแถวบ้าน "ด่ากันเละ"!

เห็นต่างไม่ใช่ว่าผิด แต่ครอบงำทางความคิดมันไม่น่าจะถูก

แดงจิ้มแป้น แดงนักวิจารณ์มักจะมาในรูปภาษาที่สละสลวยเกินกว่าชาวไพร่จะเข้าใจ  ในความหมายด่าแกนนำ ตอกยํ้าโศกนาฐกรรมความพ่ายแพ้ และตบท้ายด้วยการครอบงำให้เหล่าผองแดงถอยห่าง

มันเกินความหมายที่ไพร่อย่างผมจะเข้าใจว่ากระทู้ที่"นักเขียนบทความทางการเมือง"(แดงจิ้มแป้น)พยายามชี้นำหรือครอบงำให้คล้อยตามเหล่านี้ มีประโยชน์อะไรกับการต่อสู้ !

ตาสี ยายมา ป้าแช่ม รวมทั้งผมที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์จริงไม่ใช่ดูสถานการณ์ผ่านคอมพ์ ล้วนเข้าใจตรงกันว่าเหตุการณ์มันเกินควบคุมกับความเหี้ยของใครบางคนที่สั่งฆ่า และถ้าจะด่าใครซักคนก็ควรเป็นไอ้อีตัวนั้น !

ผมแปลกใจที่"นักเขียนบทความทางการเมือง"(แดงจิ้มแป้น)เหล่านี้มองไม่ออก
ผมแปลกใจที่แดงนักวิจารณ์เหล่านี้ไม่รู้ว่าสงครามนี้ชนะได้ด้วยพลังมวลชนเท่านั้น

ตัวอย่างมีให้เห็นที่อิยิปต์ ตูนิเซีย ที่มวลชนของเค้าพุ่งเป้าไปที่ศัตรูร่วมแรงร่วมใจโดยไม่มีใครตั้งคำถาม จนนำมาซึ่งชัยชนะ


แทนที่แดงจิ้มแป้น แดงนักวิจารณ์ จะร่วมสร้างมวลชน สร้างความสามัคคี เจ็บแล้วจำ กลับมานั่งด่าแกนนำแล้วชักชวนมวลชนให้ออกห่าง


ถึงวันนี้ผมไม่แน่ใจนักว่าแดงจิ้มแป้น แดงนักวิจารณ์ ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไรกับการต่อสู้*
งานเข้าไม่หยุด ปิดฉากไม่สวย ( รัฐบาลทรราชย์ )
ข่าวสดเช้านี้ วันที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7430 ข่าวสดรายวัน


http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC45OTM5
MS1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86c
HR0aA%3D%3D%0A

งานเข้าไม่หยุด ปิดฉากไม่สวย

ใน ตอนแรกนั้นดูเหมือนการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศล่วงหน้าว่าจะยุบสภาช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพ.ค. จะเป็นตัวหล่อเย็นช่วยลดความร้อนแรงทางการเมืองลงไปได้มาก

เห็นจาก พรรคร่วมรัฐบาลที่เคยต่างคนต่างอยู่ ก็เริ่มขยับหันมากลมเกลียวกันมากขึ้น บางพรรคถึงขั้นประกาศจับมือเป็นพันธมิตรทางการเมืองในการเลือกตั้งที่กำลัง จะมาถึง

หวังผลข้ามช็อตไปยังสถานการณ์ภายหลังการเลือกตั้งที่จะผนึก กำลังต่อรองกลับเข้าร่วมรัฐบาล ไม่ว่า 2 พรรคใหญ่ ประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทยเป็นฝ่ายชนะ

ขณะที่ฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทยก็ ลดดีกรีการตรวจสอบรัฐบาลลงหลังจบศึกซักฟอก เพราะต้องเอาเวลามาจัดทัพจัดแถวหาคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งยังต้องรีบเร่งหาตัวผู้นำพรรคที่จะมาชูเป็นนายกฯ ให้ได้โดยเร็ว

ทาง ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้โฟนอินส่งสัญญาณ ถึงพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง ให้เตรียมพร้อมสู้ศึกเลือกตั้งที่ใกล้จะมาถึง โดยตนเองพร้อมอำนวยความสะดวกทุกอย่างไม่ว่าการวางนโยบายหาเสียงหรือการวาง ท่อน้ำเลี้ยง

ในจังหวะการเปิดตัวของพรรคใหม่ที่มีชื่อ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นหัวหน้าพรรค ก็สามารถดึงดูดความสนใจของคนเกลียดมาร์ค-เบื่อแม้วได้ไม่น้อย

รวมถึง การที่บรรดานักการเมืองต่างพรรคพร้อมใจกันผลักดันกฎหมายลูก 3 ฉบับรองรับการเลือกตั้งและการทำงานของกกต. จนผ่านสภาวาระแรกไปอย่างรวดเร็ว

ทั้ง ยังได้รับการยืนยันจากเหล่าขุนทหารโดย เฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลา โหม ว่ากองทัพพร้อมหนุนการเลือกตั้ง จะไม่มีการทำปฏิวัติแน่นอน

ถ้า มองอย่างผิวเผินจึงดูเหมือนสถาน การณ์ในช่วงวาระสุดท้ายของรัฐบาล การเมืองจะเป็นไปอย่างราบรื่น ทุกฝ่ายพร้อมใจเดินหน้าเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง

อย่าง ไรก็ตามเมื่อเวลาเริ่มผ่านไปนานเข้า ขณะที่ห้วงเวลาการยุบสภาตามที่นายกฯ อภิสิทธิ์ ระบุยังเหลืออีก 1 เดือน ทำให้เกิดกระแสข่าวสารพัดต่างๆ นานา จนหลายคนเริ่มไขว้เขว ไม่มั่นใจจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นจริงหรือไม่

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ในสังคมไทยยังมีคนกลุ่มหนึ่งไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง แล้วก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่ได้พยายามเคลื่อนไหวโน้มน้าวสังคมให้เห็นคล้อยตามความคิดของตนเอง

ไม่ว่าการเรียกร้องให้มีการยุบสภาแต่ไม่ให้มีการเลือกตั้ง ให้เว้นวรรคนักการเมือง 3 ปี ขอพระราชทานนายกฯ และคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 7

นอก จากนี้ยังมีการพยายามที่จะกดดันให้ กกต.ลาออก เพื่อทำแท้งการเลือกตั้ง ซึ่งบังเอิญสอดรับกับกรณีนางสดศรี สัตยธรรม ประกาศพร้อมไขก๊อกหากได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

นางสด ศรีอ้างว่าไม่สบายใจที่มีความต้องการสกัดกั้นกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับไม่ให้เสร็จ อีกทั้งการเลือกตั้งครั้งนี้ยังดูแปลกๆ เหมือนกับโยนลูกให้ กกต.รับไปทั้งหมด

ถึงแม้ต่อมา กกต.ทั้ง 4 คนที่เหลือจะยืนยันว่าพร้อมอยู่ต่อเพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งครั้งนี้ให้ลุล่วง

แต่ จากนั้นไม่กี่วันก็ยังเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ใครหลายคนซึ่งกำลังใจจดจ่ออยู่ กับการเลือกตั้ง ต้องเกิดอาการหวาดระแวง คือเหตุการณ์สภาล่ม 3 วันติดต่อกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดี นัก เนื่องจากกฎหมายลูก 3 ฉบับถึงจะผ่านสภาวาระแรก แต่เท่ากับเพิ่งจะคลอดได้แค่ครึ่งตัว เหลืออีกครึ่งตัวคือวาระ 2 และ 3 กำลังจ่อเข้าสภาวันที่ 7 เม.ย.

ทั้งฝ่ายที่อยากให้เลือกตั้งเร็ว และฝ่ายที่ไม่อยากให้เลือกตั้งเลย รวมถึงฝ่ายที่อยากให้เลือกตั้ง แต่อยากให้ยืดเวลาออกไปก่อน ก็เลยต้องไปลุ้นกันอีกยก

การที่สภาล่ม 3 วันติดต่อกันผลเสียหายที่ตามมา นอกจากทำให้การพิจารณาเห็นชอบบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา หรือเจบีซี ต้องเลื่อนออกไป

ยังเกิดการพูดกันมากว่าสาเหตุที่ส.ส.ไม่ยอมมาประชุมจนทำให้สภาล่มนั้น

เป็น เพราะนายกฯ อภิสิทธิ์ประกาศยุบสภาล่วงหน้าชัดเจน ทำให้ส.ส.ต้องแย่งชิงกันลงพื้นที่แข่งกันหาเสียงแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าขืนอยู่ประชุมสภาอาจไม่ได้กลับมาเป็นส.ส.

อย่างที่ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวเปรียบเปรย ว่าสภาตอนนี้เหมือนบริษัทปิดแล้ว พนักงานรู้ว่าตนเองต้องตก งานจึงต้องไปหางานใหม่ จะให้มาอยู่ได้อย่างไร

ตามมาติดๆ กับเสียงตัดพ้อจากส.ส.ภาคใต้ พรรคประชาธิปัตย์ ว่านายกฯ อภิสิทธิ์ใจดำ ไม่ยอมให้ ส.ส. พรรคลงพื้นที่ช่วยเหลือ ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ เพราะมัวแต่ห่วงสภาจะล่ม

ทั้งที่ภาคใต้เป็นฐานเสียงของพรรคแท้ๆ ก็ยังอุตส่าห์มีคำถามขึ้นมาจนได้ว่านายกฯ อภิสิทธิ์ ควร ฉับไวต่อการลงไปดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่านี้หรือไม่

แล้ว ก็เป็นอะไรที่เหมือนซ้ำเติมรัฐบาลกับโครงการสำรวจอีสานโพล ของมหา วิทยาลัยขอนแก่น ระบุเสียงสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลของชาวอีสานลดต่ำลงทุกด้าน ไม่ว่าด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากชาวอีสานมองว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าและค่าครองชีพที่สู​งขึ้นได้เป็นรูปธรรม

ไปๆ มาๆ ก็เหมือนวกกลับมาที่ความไร้ฝีมือด้านการ บริหารประเทศ และความเชื่องช้าต่อการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ซึ่งเป็นบุคลิกเดิมๆ ของประชาธิปัตย์

จากปัญหาที่พันกันจนยุ่งเหยิงจากเรื่องหนึ่งโยงไปอีกเรื่องหนึ่ง ชนิดคาถา 'ยุบสภา' ที่นายกฯ ท่องบ่นรายวันก็ช่วยคลี่คลายอะไรไม่ได้

ถึงยังหาความแน่นอนไม่ได้ว่าการเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว
แต่ที่แน่ๆ คือมีสัญญาณหลายอย่างบ่งชี้รัฐบาลชุดนี้ปิดฉากตัวเองไม่สวย แน่นอน*
ประกาศจากคณะกรรมการแดงสยาม



ประกาศ

ในนามคณะกรรมการแดงสยาม อ.สุรชัย เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลใช้ "แดงสยาม" ในการออกแถลงข่าวและทำกิจกรรมด้านอื่น ๆ เพื่อโจมตีและต่อต้าน "นปช.แดงทั้งแผ่นดิน" 


การกระทำดังกล่าวไม่ใช่มติของคณะกรรมการองค์กรแดงสยามภายใต้นโยบายของ อ.สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ฉะนั้น "แดงสยาม" จึงไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลดังกล่าว อีกทั้งเว็บไซด์ที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อและส่งข่าวสารถึงเพื่อนร่วมอุดมการณ์มีเพ​ียง http://www.redsiam.tv เท่านั้น

จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
คณะกรรมการแดงสยาม อ.สุรชัย

----------
ติดตามข่าวสารแดงสยามได้จากเวบไซต์ http://www.redsiam.tv เท่านั้น
ขอรบกวนทุกๆ ท่าน ช่วยประชาสัมพันธ์ด้วยนะครับ
แทรกแซงกกต. เลือกตั้งทางตัน

ลุ้นคำตอบเลือกตั้งชี้ "ชะตากรรม" ประเทศไทย

จากปรากฏการณ์ ส.ส.โดดร่ม ทำให้การประชุมสภาล่ม 3 วันติดๆ ทั้ง ในคิวของการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณารายงานบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย ในวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม และการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 31 มีนาคม

องค์ประชุมไม่ครบ สภาล่ม 3 วันซ้อน ประจานพฤติกรรม ส.ส.สันหลังยาว

ทั้งนี้ เมื่อไล่เรียงถึงสาเหตุสภาล่ม ส.ส.ส่วนมากต่างก็อ้างว่าติดภารกิจต้องลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนประชาชน

โดย เฉพาะในภาวะที่ภาคใต้กำลังประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ดินถล่ม หลายจังหวัดได้รับความเสียหาย ประชาชน ประสบความเดือดร้อนอย่างหนัก เป็นธรรมดาที่ ส.ส. ในพื้นที่ก็ต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

ส่วนภาคอื่นๆแม้ไม่ได้เกิดเหตุภัยธรรมชาติ แต่บรรดา ส.ส.ก็วางโปรแกรมลงพื้นที่จัดกิจกรรมพบปะชาวบ้านกันถี่ยิบ

เพราะทุกคนทุกพรรคต่างก็รู้กันดีว่าเสียงปี่กลองการเลือกตั้งกระชั้นเข้ามาทุกที

ยิ่ง เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาประกาศย้ำแล้วย้ำอีกว่า จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อยุบสภาไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้

ก็ยิ่งชัดว่าจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นแน่ๆ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคม

ส.ส.ทุกพรรคจึงต้องรีบกลับไปหาชาวบ้านหาเสียงกันตั้งแต่เนิ่นๆ เร่งสร้างคะแนนนิยม เพื่อหวังได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาใหม่

เพราะขืนมัวแต่ชักช้า อาจไม่ทันกาล ตกขบวนได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่นักการเมืองและพรรคการเมือง ต่างเตรียมความพร้อมที่จะเดินไปสู่สนามเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก

แต่ก็มีเสียงถามไถ่กันให้แซดจากทุกวงการของสังคมว่าจะได้เลือกตั้งกันจริงหรือไม่

เพราะในขณะที่นายกฯอภิสิทธิ์และแกนนำรัฐบาลออกมายืนยันว่าจะมีการยุบสภาและมีการเลือ​กตั้งแน่

แต่ก็มีคนบางฝ่ายออกมาปั่นกระแสเรื่องการปฏิวัติรัฐประหาร พยายามชี้นำให้มีการใช้วิธีการนอกระบบ สกัดไม่ให้มีการเลือกตั้ง

พยายามปล่อยข่าวลือเพื่อชี้นำให้มีการปฏิวัติรัฐประหาร สร้างความสับสนให้กับสังคม

จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ต้องออกมาประกาศย้ำอย่างหนักแน่นว่า

ทหารจะไม่ทำปฏิวัติรัฐประหาร เพราะปัญหาการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง หนทางที่ดีที่สุดของประเทศในปัจจุบัน คือมุ่งไปสู่การเลือกตั้ง

ทหารถือเป็นประชาชนต้องรักษาระเบียบของการเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์​เป็นประมุข

พร้อมสั่งกำชับกำลังพลทุกหน่วยให้สนับสนุนและปฏิบัติตามระเบียบของกฎหมายเลือกตั้งโด​ยเคร่งครัด และให้วางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้ง

ไม่รับมุกพวกที่ยุให้ปฏิวัติรัฐประหาร

แม้บิ๊กกองทัพจะออกมาปฏิเสธแนวทางการใช้วิธีการนอกระบบ ไม่เอาด้วยกับการยึดอำนาจ เพราะไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องของประเทศ

แต่ พวกที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะแกนนำม็อบเสื้อเหลืองก็ยังไม่ละความพยายามที่จะสกัดขัดขวางไม่ให้มี การเลือกตั้งเกิดขึ้น

ด้วยการเสนอให้ใช้วิธีการพิเศษที่ไม่เป็นสากล อาทิ เสนอให้ใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

หรือไปไกลถึงขนาดที่เสนอให้มีการงดใช้รัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลข​ึ้นมาบริหารประเทศ

โดย อ้างว่าถึงแม้จะมีการเลือกตั้งก็ไม่ได้แก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ จึงควรใช้วิธีการพิเศษเพื่อจัดการให้ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอยเสียก่อน

"ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐ" ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งที่ออกมาเสนอ วิธีการพิเศษต่างๆ เพื่อสกัดไม่ให้มีการเลือกตั้ง

เราขอชี้ว่า ขบวนการความเคลื่อนไหวเหล่านี้ เป็นการชักใบให้เรือเสีย เป็นมลพิษของระบอบประชาธิปไตย

แน่ นอน แม้จะมีผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองประเมินวิเคราะห์ กันว่า ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายทางการเมืองที่ยืดเยื้อ เรื้อรังมาหลายปี

แม้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นก็อาจจะไม่ได้แก้ปัญหาวิกฤติความขัดแย้งให้หมดไป บ้านเมืองยังอยู่ในวังวนเดิมๆ

แต่เมื่อเราเลือกเดินในระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องให้ประชาชนเจ้าของประเทศเป็นผู้ตัดสินผ่านกระบวนการเลือกตั้ง

โดยผลของการเลือกตั้งจะให้คำตอบว่าประชาชนต้องการอย่างไร สังคมไทยจะเดินไปทางไหน

พูดง่ายๆก็คือการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวชี้วัดจิตวิญญาณประชาธิปไตยของคนไทยทั้ง​ประเทศ

ที่สำคัญ ผลที่ออกมาจะให้คำตอบว่า บ้านเมืองของเราจะเดินไปข้างหน้าต่อไปได้ หรือวิกฤติถึงขั้นแก้ไขกันด้วยการเลือกตั้งไม่ได้แล้ว

ส่วน ขบวนการของพวกที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ออกมาเสนอวิธีพิเศษต่างๆ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ก็คือเป็นพวกที่รู้ตัวว่าต่อสู้แข่งขันในสนามเลือกตั้งไม่ได้

แต่อยากเข้าไปมีส่วนในอำนาจรัฐ ก็เลยต้องพยายามหาทางลัด เพื่อให้ตัวเองมีโอกาสได้แทรกเข้าไป

หวังเสพอำนาจ เสพผลประโยชน์ ก็เท่านั้นเอง

ฉะนั้น ไม่ว่าสถานการณ์การเมืองจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อประเทศไทยยังปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทีมของเราก็ยังยืนยันว่า การเลือกตั้งจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

แต่ก่อนจะเดินไปถึงการเลือกตั้ง องค์กรที่ถูกจับตาเป็นพิเศษก็หนีไม่พ้นผู้คุมกฎการเลือกตั้ง นั่นก็คือ

คณะ กรรมการการเลือกตั้ง หรือ 5 เสือ กกต. ที่ประกอบด้วย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. และ กกต. อีก 4 คน ได้แก่ นายประพันธ์ นัยโกวิท นายสมชัย จึงประเสริฐ นางสดศรี สัตยธรรม และนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ที่เป็นด่านแรกในการกลั่นกรองตรวจสอบนักการเมืองก่อนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และเข้าสู่อำนาจรัฐ

มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม

โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมืองที่ประเทศอยู่ในภาวะแตกร้าว เกิดวิกฤติความขัดแย้งเรื้อรังมาหลายปี

ผู้คุมกฎเลือกตั้งก็ยิ่งต้องทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และเที่ยงธรรม

โดย ยึดกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะถ้าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันในการทำหน้าที่ของ กกต.ได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญ ตัว กกต.เองในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการเลือกตั้ง ต้องทำตัวให้นิ่ง ไม่ใช่ทำตัวเป็นเครื่องหมายคำถามเสียเอง

อย่างไรก็ตาม ในการทำงานของ กกต.แม้จะมีกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ เป็นภูมิคุ้มกันในการทำหน้าที่

มีอำนาจจัดการเลือกตั้งตามกฎหมาย แต่ก็มีบุคลากรของตัวเองไม่เพียงพอที่จะลงไปดูแลการเลือกตั้งได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ท​ั่วประเทศ

ยัง จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ มาช่วยในการจัดการดูแลการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการครู ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ตำรวจ ทหาร

รวม ไปถึงกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนเรื่องร้องเรียนทุจริตในการเลือกตั้ง ก็ต้องดึงบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งตำรวจและอัยการเข้ามาช่วยทำสำนวน

พูดง่ายๆว่า ยังต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ตรง จุดนี้ก็อาจทำให้ เกิดปัญหาตามมา เพราะข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาช่วยงาน กกต. ต่างก็มีสังกัดบังคับบัญชา อยู่ใต้อำนาจของฝ่ายการเมือง

หรือแม้ กระทั่งเจ้าหน้าที่ของ กกต.เอง โดยเฉพาะ กกต.เขต และ กกต.จังหวัด ที่มีการคัดเลือกกันเข้ามา ก็อาจมีบางส่วนที่มีความสัมพันธ์โยงใยอยู่กับนักการเมืองในพื้นที่

ปมประเด็นเหล่านี้ ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญหากระทบต่อการทำหน้าที่ให้เกิดความบริสุทธิ์และ​เที่ยงธรรม

ซึ่งเป็นเรื่องที่ 5 เสือ กกต.ต้องระมัดระวังและเตรียมการป้องกันเอาไว้

เพราะต้องไม่ลืมว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญในการช่วงชิงอำนาจรัฐ

เหนือ อื่นใด ในการต่อสู้ที่เข้มข้นภายใต้บรรยากาศขัดแย้ง ฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำจ้องที่จะนำปัญหาความไม่ เที่ยงธรรมในการเลือกตั้งมาขยายผลอยู่แล้ว

ถ้า กกต.คุมเกมไม่ดี ปล่อยให้มีการแทรกแซง จนเกิดความไม่สุจริตในการเลือกตั้ง ก็อาจกลายเป็นชนวนให้เกิดวิกฤติซ้อนวิกฤติขึ้นมาอีก

ดัง นั้น การที่ กกต.จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ จึงต้องอาศัยความสุจริตและความเที่ยงธรรมเป็นตัวตั้ง ต้องไม่วอกแวกต่อแรงกดดันจากฝ่ายใดทั้งสิ้น

ที่สำคัญภาคประชาชนเองก็ต้องให้ความร่วมมือกับ กกต. นอกจากออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยไม่ขายสิทธิขายเสียงแล้ว

ก็ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสการทุจริต เป็นกำแพงพิงหลังให้ กกต.

เพราะถ้า กกต. ไปไม่รอด การเลือกตั้งเจอทางตัน

ประชาธิปไตยเมืองไทย ก็คงเดินหน้าไปไม่ได้.


"ทีมการเมือง"
ไทยรัฐออนไลน์
คนไทยโชคดี ? ที่มีตัวอัปรีย์เป็นนาโย๊ก


บทพิสูจน์ เปรม"คนไทยโชคดีที่ได้คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ" 
ภาพน้ำป่าถล่มบ้านกรุงชิง นบพิตำ


[Image: 4943-2[1].jpg]

คลิปภาพเหตุการณ์ระทึกน้ำป่าถล่มบ้านกรุงชิง
วันอาทิตย์ ที่ 03 เมษายน 2554 เวลา 3:02 น
.เนื้อหาข่าว วีดีโอ

คลิปภาพเหตุการณ์ระทึก น้ำป่าจากภูเขาหลวงพลัดถล่มพื้นที่บ้านกรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

วานนี้ (3 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงาน ได้มีการนำคลิปวิดีโอ ภาพเหตุการณ์ น้ำป่าจากภูเขาหลวงพลัดถล่มพื้นที่บ้านกรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 31 มี.ค.54 ที่ผ่านมา จนต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารกองทัพภาคที่ 4 ต้องปฏิบัติการช่วยอพยพชาวบ้านกรุงชิง ออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน หลังเกิดฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม ดินถล่มในพื้นที่สะพานเข้าพื้นที่ถูกน้ำซัดจนขาด ชาวบ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานพยายามเข้าช่วยอพยพชาวบ้านและลำเลียงด้วย ฮ.ไปอาศัยอยู่ในที่ปลอดภัย


(คลิปน้ำป่าถล่ม)




หากใครที่ได้ติดตามข่าวของเวทีเสื้อแดง เราจะเห็นว่าคอนเซปต์ของเวทีเสื้อแดงก็คือ ชวนไพร่มาไล่ “อำมาตย์” คำถามก็คือคำว่า“อำมาตย์”ของผู้นำคนเสื้อแดงหมายถึงใคร?

หลายครั้ง ที่ ทักษิณโฟนอิน มีเนื้อหาที่ชวนให้คนไทยทุกคนต้องร่วมกันคิด และจากการรวบรวมคำพูดของทักษิณที่โฟนอินทั้งสี่วันที่ผ่านมา ขอตั้งคำถามกับทักษิณว่าคำว่า “อำมาตย์”ของคุณนั้นหมายถึงใคร???

1.ทักษิณ บอกว่า “อำมาตย์อายุแปดสิบกว่าแล้ว” ถามว่าอำมาตย์คนไหนอายุแปดสิบ ปากก็มุ่งโจมตีพลเอกเปรม แต่คนอย่างทักษิณจะไม่รู้เชียวหรือว่าพลเอกเปรมนั้น อายุเก้าสิบเอ็ดปีแล้ว คำถามคือ “อำมาตย์”ที่ทักษิณว่าอายุแปดสิบกว่านั้นหมายถึงใคร?

2.ทักษิณ บอกว่าอำมาตย์นั้นรวยแล้ว มีมรดกเพียงพอแก่ลูกหลานแล้ว ปล่อยประชาชนไปเถอะ คำถามก็คือ พลเอกเปรมฯที่ทักษิณว่าเป็นอำมาตย์นั้น ท่านมีลูกหรือเปล่า ท่านไม่เคยแต่งงาน และไม่มีลูก!!!แล้วคำว่าอำมาตย์ที่ว่านั้นหมายถึงใคร????

3.ทักษิณ บอกว่าอำมาตย์ไทยไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับเหมือนกับในประเทศที่ พัฒนาแล้ว เพราะไทยมีวัฒนธรรมประเพณีศาสนาที่มั่นคง คำถามก็คือทักษิณกำลังหมายถึงใคร???

4.ทักษิณบอกว่าถ้าอำมาตย์รัก “ประชาชน”จริงก็ต้องเลิกอุ้มอีกฝ่ายหนึ่ง ถามว่าคำว่า “ประชาชน”ในบริบทนี้โดยทั่วไปเราจะใช้กับใคร???

5.ทักษิณพูดว่ามีคน ไป “เท็จทูล”อำมาตย์ คำว่าเท็จทูลนี้เราจะใช้กับใคร??? พลเอกเปรมหรือ???

6.ทักษิณ บอกให้อำมาตย์เลิกเอาไม้ค้ำประชาชนได้แล้ว เพราะไม้ค้ำนั้นเป็นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ คำถามก็คือ “ความศักดิ์สิทธิ์”ที่เราพวกเราชาวไทยเคารพนับถือนั้นคือใคร!!!

7.ทักษิณ บอกว่า อำมาตย์ไปอยู่เหนือการเมืองเถอะ อำมาตย์ในที่นี้หมายถึงใคร เพราะในรัฐธรรมนูญมีกฏหมายบางข้อที่เขียนว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง!!!

8.ทักษิณพูดว่า “คนที่บอกให้ผมพัก ทำไมไม่บอกให้นายอภิสิทธิ์พักบ้าง” ซึ่งสอดคล้องกับเหตุการณ์วันที่ 5 เมษายน 2549 ที่ทักษิณออกมาแถลงว่าจะเว้นวรรคโดยการไม่รับตำแหน่งนายก หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นคนที่บอกให้ผมพัก คนนั้นทักษิณหมายถึงใคร!!!
9.ทักษิณทวงระบอบประชาธิปไตยโดยผ่านการ โฟนอิน และเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยเพื่อประชาชน แทนที่จะบอกว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข!!!*