วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


ภาพชุดโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคนเกาหลีเหนือ เฉลิมฉลองวันเกิด69ปีท่านผู้นำอันเป็นที่รัก คิมจองอิล


เป็นรูปที่มีทุกบ้าน-เมื่อวานนี้ชาวเกาหลีเหนือเฉลิมฉลองวันเกิดท่านผู้นำที่ยิ่งใหญ่อันเป็นที่รักคิมจองอิล ผู้มีอัจริยภาพทุกด้าน ผู้สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจจูเชจากคิมอิลซุง บิดาผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ ที่เน้นความพอเพียงพึ่งพาตนเอง ไม่พึ่งต่างประเทศ ปีที่แล้วท่านผู้นำสวมบทนักบุญแจกตั้งแต่ข้าวสาร ถุงยังชีพ ไปยันนาฬิกาโรเล็กซ์แก่ชาวเกาหลีเหนือผู้จงรักภักดี ปีนี้เขาอายุ69 ปีสุขภาพไม่ดี แต่ก็ยังไม่ตายตามที่ศัตรูของเขาแช่งชัก ในเกาหลีเหนือการตั้งคำถามพื้นๆว่า"หากท่านผู้นำตายแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น"ถือเป็นสิ่งต้องห้าม!

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 กุมภาพันธ์ 2554


สแตมป์ท่านผู้นำอันเป็นที่รักเทิดทูนยิ่ง-สแตมป์ดวงตราไปรษณีย์ของเกาหลีเหนือ ที่ระบุว่า"ท่านสหายผู้นำที่ยิ่งใหญ่อันเป็นที่รักเทิดทูนยิ่ง"จัดทำขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองคล้ายวันเกิดปีที่ 69 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ของนายคิมจองอิล
(ภาพข่าว:AP Photo/ Lee Jin-man)


ซาบซึ้ง-ชาวเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลองวันเกิดครบรอบปีที่69ของคิมจองอิล ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นรัฐพิธีและวันหยุดที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศเกาหลีเหนือ(ภาพข่าว:REUTERS/Kyodo )


ตราตรึง-นักว่ายน้ำสาวชาวเกาหลีเหนือพากันแปรอักษรเป็นรูป 2.16 หรือวันที่ 16 เดือนกุมภาพันธ์ อันเป็นวันเกิดของคิมจองอิลอย่างตระการตา (ภาพข่าว:AP Photo/Korean Central News Agency via Korea News Service)


ไม่อยากให้ท่านผู้นำเหนื่อย-นักว่ายน้ำประกอบเพลง พากันร้องเพลงสรรเสริญบารมีของคิมจองอิลในเปียงยางอย่างยิ่งใหญ่(AP Photo/Kyodo News)


อวยพร-ประชาชนผู้จงรักภักดีชาวเกาหลีเหนือเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงดอกไม้เทิดเกียรติคิมจองอิล โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ที่ตั้งตามชื่อของท่านผู้นำได้รับการสนใจเป็นพิเศษ(ภาพข่าว:REUTERS)


ใต้ร่มบารมี-พลเมืองเกาหลีเหนือพากันถ่ายภาพที่ระลึกใต้อนุสาวรีย์คิมอิลซุง บิดาของคิมจองอิล และบิดาของประเทศเกาหลีเหนือ คิมอิลซุงเป็นเจ้าของปรัชญาเศรษฐกิจจูเช เน้นความพอเพียงพออยู่พอกิน ไม่พึงพาต่างประเทศ ซึ่งยังผลให้ชาวเกาหลีเหนืออดตายจำนวนมหาศาล (ภาพข่าว:AP Photo)


โชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคนเกาหลีเหนือ-พนักงานโรงแรมสาวในนครเปียงยางในชุดประจำชาติพากันเต้นรำเฉลิมฉลองวันเกิดท่านผู้นำคิมจองอิล คนเกาหลีเหนือถูกสอนมาตั้งแต่เกิดว่าโชคดีที่ได้เกิดมาใต้ร่มบารมีของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ มีอัจฉริยภาพ และทำงานเพื่อประชาชน เกาหลีเหนือเป็นโลกเดียวที่พวกเขารู้จัก (ภาพข่าว: REUTERS)


เฉลิมฉลอง-การจุดพลุไฟเทิดเกียรติคิมจองอิล ผู้นำที่ยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยอัจฉริยภาพ(ภาพข่าว:AFP/KCNA via KNS)


จงเจริญๆ-บิ๊กๆของพรรคการเมืองคนงานเกาหลีเหนือ,กองทัพและเจ้าหน้าที่ข้ารัฐการระดับสูงพากันเฉลิมฉลองวันเกิดท่านผู้นำต่อภาพบิลบอร์ดมหึมาออกสื่อของรัฐ(ภาพข่าว:AFP/KCNA via KNS)


ทายาทราชวงศ์คิม-คิมจองอุน บุตรชายของคิมจองอิล เป็นคิมรุ่นที่สามที่จะสืบทอดเป็นทายาทปกครองเกาหลีเหนือให้อยู่เย็นเป็นสุขอย่างพอเพียงด้วยปรัชญาเศรษฐกิจชูเจ ในภาพเขากำลังปรบมือให้กับการร้องประสานเสียงของอนุชนของชาติที่กำลังร้องเพลงสรรเสริญท่านผู้นำที่ยิ่งใหญ่ (AP Photo/Kyodo News)
*******
ถ้าผู้นำเกาหลีเหนือตาย จะเกิดอะไรขึ้น?-เป็นคำถามต้องห้าม!



ชาร์ลส์ เจนกิ้นส์ ทหารอเมริกันที่หนีทหารจากเกาหลีใต้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในเกาหลีเหนือนาน40ปี(2507-2547)เขียนในหนังสือคำสารภาพ(To tell the truth)ที่เขาเขียนขึ้นหลังจากหลบหนีออกจากเกาหลีเหนือมาได้ว่า

ในตอนแรกที่เขาหนีทหารเข้าไปอยู่ในเกาหลีเหนือในราวปีพ.ศ.2508นั้น ภายหลังจากถูกล้างสมองให้รับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความอัจฉริยะของคิมอิลซุง บิดาผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือแล้ว ทางการเกาหลีเหนือก็บังคับให้เรียนเกี่ยวกับ"ปรัชญาจูเชียะ" หรือ จูเช

ปรัชญาจูเชียะตามทฤษฎีของคิมอิลซุง มีสาระสำคัญยกย่องการพึ่งตัวเอง เกาหลีเหนือต้องพึ่งตัวเองดีกว่าการพึ่งการค้ากับประเทศลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น เช่น จีน โซเวียต ต้องเรียนวันละ10ถึง11ชั่วโมง ถ้าท่องจำไม่ได้ในส่วนที่ถูกสั่ง ต้องเรียนซ้ำ16ชั่วโมงในวันอาทิตย์ ดังนั้นแม้แต่40ปีต่อมาที่หนีออกจากเกาหลีเหนือมาได้ ข้าพเจ้าก็ยังจำคำโฆษณาชวนเชื่อปรัชญานี้ได้ดี บางครั้งข้าพเจ้ายังท่องมันได้แม้แต่ในความฝัน

ข้าพเจ้าไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่มันเป็นทฤษฎีบ้าๆ ยิ่งเรียนก็ยิ่งรู้สึกว่ามันไร้เหตุผล บางครั้งข้าพเจ้าเหลียวดูรอบตัวและพิศวงเหลือเกินว่า เหตุใดคนทั้งประเทศนี้จึงเชื่อทฤษฎีไม่สมประกอบนี้ แน่นอนเป็นทฤษฎีโกหกเห็นชัดๆ เพราะใครก็รู้ว่าเกาหลีเหนือล้มแน่ถ้าขาดการค้า หรือการพึ่งพาบริจาคจากประเทศอื่นเพื่อปากท้องของคนเกาหลีเหนือ

ข้าพเจ้ามักจะบอกลูกสาว2คนที่เกิดและเติบโตในเกาหลีเหนือเสมอว่า"โลกที่เรากำลังอยู่ในเกาหลีเหนือ ไม่ใช่โลกมนุษย์ที่แท้จริง"แต่เด็กๆไม่ค่อยเชื่อข้าพเจ้านัก เพราะโลกในเกาหลีเหนือเป็นโลกเดียวเท่านั้น ที่เด็กๆรู้จัก

แต่ข้าพเจ้าไม่เคยถูกล้างสมองด้วยประวัติศาสตร์ หรือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จอมปลอม และการเคารพบูชาคิมอิลซุงซึ่งพวกเขายัดเยียดให้ หากคุณเป็นชาวเกาหลีเหนือที่เติบโตในสภาพนี้ มันอาจจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาสั่งสอน หรืออย่างน้อยอาจจะเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างไม่มากก็น้อย

แต่ข้าพเจ้าเติบโตมาจากโลกภายนอก รู้จักโลกภายนอก ข้าพเจ้ารู้ว่า ทุกอย่างเป็นการโกหกหลอกลวง

สำหรับลัทธิบูชาเคารพปัจเจกบุคคลในเกาหลีเหนือนั้น ข้าพเจ้าซาบซึ้งดีเมื่อถามคำถามซื่อๆตรงๆและน่าจะมีเหตุผลต่อเจ้าหน้าที่พรรคว่า"ถ้าคิมอิลซุงตาย จะเกิดอะไรขึ้น?"เท่านั้นหละข้าพเจ้าก็โดนทำโทษหนักด้วยคำถามนี้ การเกริ่นแย้มว่าคิมอิลซุงเป็นมนุษย์เดินดินที่ไม่พ้นความตาย...

ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยในเกาหลีเหนือ

ของดีเลยมาสายหน่อย นี่ไงพบแล้วหลักฐานต้นเหตุไทยรบเขมร ไก่อูมีอะไรจะแถ-ลง ลวงโลกอีกมั้ย?!


แปลกแต่เป็นเรื่องจริง หลังการปะทะไม่มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับสื่อไทย จากผู้นำกองทัพว่าเกิดอะไรขึ้น และอะไรเป็นสาเหตุของการปะทะ ..ข่าวตอนแรกสับสนว่าทหารไทยไปคัดค้านทหารเขมรสร้างทางในพท. 4.6 ข้อเท็จจริงคือตรงกันข้ามครับ


โดย Nipaporn Freedom 
ที่มา เฟซบุ๊คของคุณเสริมสุข กสิติประดิษฐ์

นี่ไงพบแล้ว หลักฐานที่เป็นต้นเหตุของการยิงปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในวันที่ 4 ก.พ.54 ไก่อู แถ-ลง คนไทยและชาวโลก ลำดับเรื่องราวกันดูคร่าวๆ ค่ะ อย่าเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อของไก่อู

: ของดีเลยมาสายไปหน่อย..เป็นภาพที่ทหารในกองทัพส่งมาให้ดูเลยเอามาให้ดูต่อ..รถแทรกเตอร์ที่เป็นของทหารกองทัีพภาคสองที่ตัดเส้นทางเข้าไปในพท.4.6 จากบริเวณสระตราวที่อยู่ทางตอนเหนือของปราสารพระวิหารประมาณ 800 เมตร มีการรุกในพท.ของทหารไทยตัดถนนเข้าไปใน 4.6

ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกที่ทหารไทยภายใต้การนำของบิ๊กตู่ ตัดสินใจเช่นนี้ เหตุการณ์เกิดตอนบ่ายสามโมงของวันพุธที่4 กพ. ระหว่างตัดทางเข้าไปและยังอยู่ในเขตไทย แต่กำลังจะเข้าไปใน พท.4.6 ทหารเขมรยิง RPG ใส่รถแทรกเตอร์ของไทย

จากนั้นก็เกิดการสู้รบลามไปถึงภูมะเขือที่อยู่ห่างจุดปะทะตรงแทรกเตอรืไปทางตะวันตกประมาณสองกม. ตอนทหารเขมรสร้างทางขึ้นมาใน 4.6 ทหารไทยหวานเย็นมาตลอด ไม่เคยทำอะไรทีเป็นรูปธรรม แต่พอเราตัดถนนเข้าไปใน พท.4.6 ทหารเขมรแสดงสิทธิ์ในการปกป้องอธิปไตยของมันทันทีด้วยการยิง RPG ใส่

แปลกแต่เป็นเรื่องจริง หลังการปะทะไม่มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับสื่อไทยจากผู้นำกองทัพว่าเกิดอะไรขึ้น และอะไรเป็นสาเหตุของการปะทะ ..ข่าวตอนแรกสับสนว่าทหารไทยไปคัดค้านทหารเขมรสร้างทางในพท. 4.6 ข้อเท็จจริงคือตรงกันข้ามครับ

ผบ.ทบ.สั่งให้กองทัพภาคสองปรับการทำงานในพท.4.6 และให้ตัดทางเข้าไปในพท. 4.6 จากสระตราว เพราะตระหนักดีว่าสภาพการณ์ที่เป็นอยู่เราเป็นรองมากหลายช่วงตัว เนื่องจากทหารเขมรอยู่เต็มพท.4.6 ตั้งแต่ปราสาท วัดแก้ว และถนน (กลับไปดูแผนที่ที่ผมเคยเอามาลงดูอีกทีนะครับจะได้เข้าใจ) มีการสร้างเสริมที่มั่นทางทหารในพท. ถ้ารบกันเราอาจเสียเปรียบเนื่องจากมันอยู่มานานมีการดัดแปลงพท.เป็นพท.สู้รบ เลยจำเป็นต้องตัดถนนเข้าไปในพท. เพื่อขนทหารเข้าไปหากสู้รบกันยาว

เรื่องนี้ท่านฮวยเซง รับทราบดีถึงการรุกคืบของทหารไทย ก่อนหน้านี้ไม่มีนะครับ ไม่ได้ทำอะไรเลย เอาทหารไปวางไว้เฉยๆ ไม่มีแผนอะไรทั้งนั้นนอกจากรักษาพท. แล้่ววันดีคืนดีก็เอากำลังออกจากวัด ขึ้นไปทางตอนเหนือ อย่างนี้ก้เสร็จมัน ยังมึนงงจนทุกวันนี้ว่าคิดอย่างนี้ได้อย่างไร ปรับอย่างนั้นเข้าteen มันเลย


(ขอบคุณภาพและข้อมูลจากคุณเสริมสุข กสิติประดิษฐ์)
ฝากคำถามถึงรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่แสดงให้เห็นชัดวันนี้ว่าเป็นพวก "สองมาตรฐาน"

http://www.internetfreedom.us/thread-13862.html

ได้ข่าวว่าจะมีพี่น้องเราไปยื่นคำถามที่สถานทูตอเมริกาพรุ่งนี้เช้า ให้ทูตผู้หญิงคนใหม่ของอเมริกา ก็เลยขอฝากคำถามไปด้วยนิดหน่อยนะครับ เพื่อสอบถามว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาวันนี้ ดำเนินนโยบายแบบ "สองมาตรฐาน" ด้วย เหมือนชนชั้นปกครองในประเทศไทยใช่ไหม

๑. รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในอียิปต์และอีกหลายประเทศ​ แต่กลับไม่แสดงท่าทีอะไรชัดเจนเลยกับการสังหารหมู่กลางกรุงเทพมหานคร เมื่อกลางปีที่แล้ว หรือรัฐบาลนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้สังหารประชาชน จึงไม่มีปฏิกริยาต่อต้านฆาตกรรมใด ๆ จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฆาตกรรมครั้งนี้เลย

๒. ประเทศไทยมีรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เกลียดชัง เพราะสุมหัวกันล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามา แล้วไปสุมหัวกันตั้งรัฐบาลนี้ในค่ายทหาร รัฐบาลสหรัฐอเมริกากลับวางเฉย รัฐบาลแบบนี้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนหรือ ไม่ใช่รัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกตั้งเข้ามาใช่ไหม

๓. ทำไมรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่แสดงท่าทีต่อต้านการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ในขณะที่การยึดอำนาจรัฐประหารในประเทศอื่น เช่น เฮติ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาทำการผลักดันต่อต้าน จนรัฐบาลที่ถูกทหารรัฐประหาร กลับไปบริหารประเทศได้อีก แสดงว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะต่อต้านการรัฐประหาร เฉพาะที่ไม่มีผลประโยชน์กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช่ไหม

๔. ข้อสงสัยของประชาชนชาวไทยและชาวโลกก็คือ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาวางเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเพราะอะไร ใครประสานกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้วางเฉย ใครที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องเกรงใจ และทำไมต้องเกรงใจ ในเมื่อประชาชนชาวไทยเรียกร้องเรื่องที่อยู่ในหลักการง่าย ๆ ของประชาธิปไตย เช่น การยุบสภาเท่านั้น

๕. หลักการเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ประชาธิปไตย ไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกายึดถือแล้วใช่ไหม แต่กลับมายึดถือหลักการเผด็จการนิยม ศักดินานิยม และอมาตยาธิปไตย แล้วหรือ จึงวางเฉยกับ สถานการณ์ที่ผ่านมาสี่ปีเศษในประเทศไทยได้ถึงขนาดนี้

๖. รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีความพร้อมแล้วใช่ไหม ที่จะมีสัมพันธภาพที่เลวร้ายกับประชาชนชาวไทยและอาเซียนในอนาคต ถ้าหากประชาชนในประเทศนี้ลุกขึ้นมาต่อสู้จนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนอยู่แล้ว หน่วยงานด้านยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประเมินพลังของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยถี่ถ้วนแล้วหรือ จึงอยากให้สถานการณ์ความชิงชังอเมริกาของประชาชน ที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในอิหร่าน เวเนซูเอล่า ฯลฯ ปรากฏขึ้นใประเทศไทยอีกประเทศหนึ่งในอนาคต

จริง ๆ แล้วเลยไปสถานทูตอังกฤษด้วยยิ่งแจ่มนะครับ ถามเลยว่า การที่สภาสูงให้ตั๋วเครื่องบินไปกลับ ค่าใช้จ่าย ฯลฯ ครบถ้วนกับญาติน้องพยาบาลอาสาที่ถูกทหารยิงตาย แต่สถานทูตอังกฤษในไทยไม่ยอมให้วีซ่า เพราะเงินในบัญชีไม่เพียงพอนั้น เป็นเหตุผลที่หน้าด้านเกินไปของเจ้าหน้าที่กงสุลอังกฤษในไทยหรือเปล่า หรือเพราะมีอำนาจนอกระบบเข้ามาขอความร่วมมือจึงไม่ยอมออกให้ เขามีตั๋วไปกลับพร้อม มีคนดูแลการใช้ชีวิตในอังกฤษครบ และมาจากสภาสูงของอังกฤษเองด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงบริษัทธุรกิจทั่วไปที่เคยเชิญคนไทยมา และสถานกงสุลอังกฤษเคยออกวีซ่าให้มามากมายแล้ว หลังจากเห็นหนังสือเชิญที่ชัดเจน โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องมีเงินในบัญชีมากมายแต่ประการใดเลย นี่แสดงว่า สถานทูตอังกฤษก็ "สองมาตรฐาน" ใช่ไหม?

ชาวราชประสงค์เตือนแดงอย่าป่วน!!!

http://www.internetfreedom.us/thread-13888.html
[Image: tnews_1294996419_3274.jpg]



ผู้ประกอบการราชประสงค์ ร่อนจม.ขอบคุณเสื้อแดงย้อนหลังไม่ป่วนเมือง แต่ย้ำจุดยืน 19 กพ. ทบทวนรูปแบบไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน แม้ประกาศไม่ยืดเยื้อ


นายชาย ศรีวิกรม์ สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ ผู้แทนชาวราชประสงค์ ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนางธิดา ถาวรเศรษฐ์รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านแผด็จการแห่งชาติ( นปช.) โดยระบุว่า


ตามที่กลุ่ม นปช. ประกาศมในวันที่ 19 ก.พ. ให้ประชาชนเดินทางมารวมตัวกันที่แยกราชประสงค์ ระหว่างเวลา 13.00 – 15.00 น. เพื่อรำลึกถึงวีรชนที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมื่อ 19 ก.พ. 53 และจากนั้นจะเดินทางไปยังศาลฏีกา สนามหลวง


โอกาสนี้ พวกเราชาวราชประสงค์ขอบคุณแกนนำ นปช. ในความพยายามของแกนนำ นปช.ในการที่จะลดผลกระทบการชุมนุมเมื่อครั้งวันที่ 23 ม.ค. 2554 ตามที่ได้ตกลงกับตัวแทนของชุมชนชาวราชประสงค์ ถึงแม้ว่าข้อตกลงบางประการยังไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากมีผู้ชุมนุมมาเป็นจำนวนมาก


"ชุมชนชาวราชประสงค์และประชาชน ขอแสดงจุดยืนกับแกนนำ นปช. ว่าขอให้ทบทวนรูปแบบ และสถานที่ของการชุมนุมสำหรับแผนการระยะยาว เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่แยกราชประสงค์ให้เหมาะสมต่อไป"


ทั้งนี้ ชุมชนชาวราชประสงค์ ยืนยันว่ามิได้มีเจตนาที่จะต่อต้านการชุมนุม อันเป็นสิ่งที่กระทำได้ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่มีความมุ่งหวังจะเห็นการชุมนุมที่เป็นระเบียบและปลอดภัยกับทุกฝ่ายมีความ รักและสามัคคีซึ่งกันและกัน จึงหวังว่าคงได้รับความร่วมมือด้วยดีเช่นเคย


เครดิต
http://bit.ly/gVC8Rc

ก้อคนมันเยอะนี่...จะให้ทำยังไง
ไม่เหมือนพวกม๊อบเหลืองกี่วันๆ
ก้อได้แค่เนี่ย...


[Image: x2_49e2e23.jpg]

ปัญหาจริงของประเทศไทยที่ต้องแก้ไข โดยธงชัย วินิจจะกุล
http://www.internetfreedom.us/thread-13892.html
ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากงานเสวนาวิชาการ "รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ครั้งที่ 1"
หัวข้อ "ฝ่าวิกฤตชายแดนไทย-เขมร"
ณ ห้องประชุมมาลัยหุวนันท์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554

[Image: img_1156.jpg]

[Image: img_1201.jpg]






ไม่กล้ายุบ ( นายกฯ จอมทรราชย์ ) ข่าวสดเช้านี้

http://www.internetfreedom.us/thread-13713.html
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7385 ข่าวสดรายวัน


ไม่กล้ายุบ

คอลัมน์ เหล็กใน

มันฯ มือเสือ




ยุบสภาเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่ยังคลุมเครือ ส

เดิม นายกฯ อภิสิทธิ์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 เดือนก.พ. นี้ก็น่าจะชัดเจนเรื่องวันยุบสภา

แต่ทีนี้ดันเกิดปัญหาติดขัดเสียก่อน

ฝ่าย ค้านชิงยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านรัฐสภาแล้วนั้นถูกต้องหรือไม่ ขั้นตอนการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เลยต้องหยุดไว้ก่อน

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่อาจทำให้เวลายุบสภาต้องทอดยาวออกไป

คือเสียงคัดค้านของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล

พรรคภูมิใจไทยอ้างปัญหาไทย-กัมพูชาที่ยังคาราคาซัง ว่าถ้ายุบสภาตอนนี้อาจทำให้เกิดสุญญากาศในการต่อกรกับฝ่ายกัมพูชาได้

ส่วนแกนนำชาติไทยพัฒนานั้น ไม่เห็นด้วยที่นายกฯ จะชิงยุบสภาโดยไม่แก้กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้งให้เรียบร้อยเสียก่อน

สรุปคือยังไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดอยากลุกออกจากอำนาจ กลับไปลงสนามเลือกตั้งใหม่ เพราะตอนนี้กำลัง "ปากมัน" กันดีอยู่แล้ว

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์คงอยู่ระหว่างสับสนพอสมควรว่าจะเลือกยุบสภาตอนไหนดี ตนเองถึงจะได้เปรียบสูงสุด

จากที่เคยเชื่อว่าหากการเลือกตั้งใช้สูตร 375+125 แล้ว พรรคมีโอกาสสูงจะได้กลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกในรอบหน้า

แต่แล้วดันเกิดปัญหาแทรกซ้อนมากมาย

ไม่ว่าไฟใต้ที่จู่ๆ ก็ปะทุรุนแรงอีกระลอก ปัญหาพิพาทไทย-กัมพูชาที่ยังเดี๋ยวยิงเดี๋ยวหยุด

ไหนจะปัญหาทุจริตที่อื้อฉาวมากขึ้นทุกวัน ปัญหาข้าวยากหมากแพงลุกลามรุนแรง ม็อบเสื้อแดงก็ยังแรงฤทธิ์ ม็อบเหลืองก็ดื้อด้านไม่เลิก

ปัจจัยที่งวดเข้ามาเหล่านี้ชวนให้เริ่มแกว่ง

ไม่มั่นใจว่าหลังเลือกตั้งจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหรือไม่ หรือว่าจะไปแล้วไปลับ

ถึงโพลหลายสำนักจะสำรวจพบคะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์อยู่เหนือเพื่อไทย

แต่โพลก็คือโพล

ขนาดเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2550 พรรคประชาธิปัตย์มีทั้งมือที่มองเห็นและมองไม่เห็นช่วยหนุนหลังเต็มที่กว่านี้มาก

ยังแพ้ให้กับพรรคพลังประชาชนมาแล้ว

คือบทเรียนสอนว่าเมื่ออำนาจอยู่ในมือประชาชนเมื่อไหร่ อะไรก็เกิดขึ้นได้

และเป็นคำตอบว่าทำไม นายกฯ อภิสิทธิ์ ถึงลังเล

ไม่กล้ายุบสภาตอนนี้

สายไปแล้ว ( พรรคปากจัญไร ) 
http://www.internetfreedom.us/thread-13714.html
ข่าวสดเช้านี้
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7385 ข่าวสดรายวัน


สายไปแล้ว

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

เภรี กุลาธรรม




พรรคประชาธิปัตย์ถนัดทางด่า โต้ตอบ โต้เถียงอยู่แล้ว

จึงไม่แปลกที่คนในพรรค พร้อมที่จะเรียงหน้าออกมา

น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกตัวจริง ก็สามารถวิเคราะห์ ตอบโต้ได้หมด ตั้งแต่ก้นมหา สมุทรจนถึงจักรวาล

หมอวรงค์ เดชวิกรม รองโฆษกก็ใช่ย่อยในเรื่องต่อปากต่อคำ

แม้แต่ระดับส.ส.ก็ฉายแววประชาธิปัตย์สไตล์ได้อย่างดี

นายวัชระ เพชรทอง นายอรรถพร พลบุตร นายบุญรอด สุขถิ่นไทย นายอรรถวิชญ์ สุวรรณภักดี และอีกหลายๆ คน ก็ถอดแบบกันมา

ไม่นับโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรค แม้จะถูกคนส่ายหน้าแค่ไหนก็ไม่เป็นไร ขอเพียงให้มีพื้นที่ข่าวก็พอ

ถูกด่าก็ได้ เพื่อให้ได้เป็นข่าว

ล่าสุด ก็กรณีด่าเปรียบเปรยสมเด็จฮุนเซน เป็น "จะแกลวบคำ" ปฏิบัติการกับไทยแบบสุนัขลอบกัด

ช่วงที่ผ่านมา ชาวภูมิซรอลและบ้านใกล้เคียงบริเวณแนวชายแดน ต้องอพยพหลบหนี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถูกตำหนิว่าเพิกเฉยละเลย ไม่ไปเยี่ยมเยียน

กระบอกเสียงหัวหน้าพรรค ก็ออกมาชี้แจงแทนว่าถ้าหากนายกฯ ไป ก็อาจจะเป็นการยั่วยุทหารเขมรไปโน่น

สุดท้ายก็เลยได้แค่นั่งหน้าจอประชุมทางไกล ถามไถ่ชาวบ้านพอถูๆ ไถๆ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาชายแดนที่ปะทุขึ้นมา

นายอภิสิทธิ์จะลอยตัว จะอ้างว่าสมเด็จฮุนเซนต้องการยกระดับปัญหาขึ้นมา เพื่อให้สหประชาชาติเข้ามาให้ได้

เพราะส่วนหนึ่ง เกิดมาจากคนใกล้ชิดข้ามแดนไปถูกจับ แล้วบอกนายกฯ รู้คนเดียว

นายอภิสิทธิ์พูดจาข่มขู่เพื่อนบ้านอย่างไรบ้าง ย่อมรู้แก่ใจดี

พอมีเหตุการณ์สู้รบสูญเสียขึ้นมา ก็ยังโหนกระแสคลั่งชาติ

บอกไทยรักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาดหน้าตาเฉย

การที่นายอภิสิทธิ์รีๆ รอๆ ไม่ ไปดูแลชาวบ้านด้วยตัวเองทันที

ถือว่าสูญเสียภาวะผู้นำ ไม่ได้ใจชาวบ้าน

ครั้นจะขยับไปตอนนี้ก็สายไป แม้จะมีเหตุปะทะอีกรอบก็ตาม

เพราะพ่อเมืองศรีสะเกษล้ำหน้าไปไกล ถึงขนาดไปนอนที่ภูมิซรอลแล้ว

ข่าวเต้า ข่าวลวง แต่ก็อ่านไว้หน่อย

แผน “ปฏิวัติมวลชน” โดยใช้พธม. +ปชป.+ ทหาร อีก 3 กองพล

กะฆ่าแกนนำให้สิ้นซาก จับเข้าคุก 3 พันทั่วประเทศ
หน่วยทหารที่จะปะทะคนเสื้อแดง คือ พล.ม 2 รอ. พล. 1 รอ. และ พล. 9
รอสัญญานจากมหาอำมาตย์ ภายในเดือน ก.พ.นี้
ขณะทหารได้เคลื่อนกำลัง พร้อมอาวุธยุทธปัจจัยเข้า กทม.เรียบร้อยแล้ว
ยังเลือกตัวนายก และรมต.บางตำแหน่งไม่เหมาะสม และยังจัดสรรผลประโยชน์ไม่ลงตัว

คณะผู้ก่อการครั้งล่าสุด ได้แก่ ปีย์ มาลากุล เจ้าบ้านคนเก่า
พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เจ้าเก่าที่อกหัก อุตสาห์นำทัพภาค 3 มาลุยเป็นคนแรก
แต่ไม่ได้เป็น ผบ.ทบ. ไม่คุ้มค่าเหนื่อย
พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ตัวเต็งดาวรุ่งดวงใหม่ น้องทำเพื่อพี่ให้เป็นนายก
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ครั้งที่แล้วอยากเป็นนายกขนาดยอมหักหลังเพื่อน ครั้งนี้ลองลุ้นใหม่ และ
สนธิ ลิ้มทองกุล เจ๊กลิ้มมาเอง คราวที่แล้วออกหน้าทำแทบตาย ได้มาไม่กี่ร้อยล้าน
แถมคดีก็ยังไม่เคลียร์ ผลประโยชน์เนื้อๆไปตกที่ ไอ้ห้วย จอมปกป้อง
เที่ยวนี้ ตุลาการชั้นผู้ใหญ่ขอบายงานนี้ มี 2 สาเหตุ
1. ปูทางเรียบร้อย ตั้งแต่ปี 49-50 แล้ว
2. ภาพพจน์ของศาล ตกต่ำย่ำแย่ที่สุดในรอบ 100 ปี ขอช่วยทางอ้อม
เสื้อแดงพลาดมา จะซ้ำให้เอง

ย้ำอีกครั้ง แผนร้ายมหาอำมาตย์
1.แผนชั่วแผนแรก อภิสิทธิ์มอบหมายให้ไอ้พนิช สส.กทม.เพื่อนซี้ พาไอ้วีระ ไร้ความคิด
และพวกไปสร้างสถานการณ์ชายแดน เพื่อดึงความสนใจไปให้พ้นตัว โดยไม่คิดว่าเรื่องแดงขึ้น
เพราะคลิปวิดิโอ ที่พนิช ระบุชัดๆว่า อภิสิทธิ์รับรู้การข้ามชายแดน เป็นแผนที่พนิชรับจ๊อบมา
จุดพลุเบี่ยงเบนความสนใจไปชายแดน

2.แผนชั่วสอง ให้พธม.สร้างสถานการณ์ ชุมนุมประท้วงเขมร หน้าทำเนียบ ยุให้ทหารไทยถล่มเขมร
คนชั่วที่ยุตัวเองอยู่หน้าทำเนียบ มันไม่เจ็บไม่ตาย แต่คนที่ตายคือทหาร ที่โดนคำสั่งของผบ.โง่ๆ
ให้ไปยิงถล่มเขมร ผลการปะทะทหารตาย พธม.ไม่ตาย ชาวบ้านบาดเจ็บ พธม.ไม่บาดเจ็บ
ชาวบ้านหนีภัยสงครามหลายพันชีวิต พธม. ไม่ต้องหนีภัย ชุมนุมกันสบายๆ อาหารดี ดนตรีไพเราะ
หากคนเสื้อแดง เต้นตาม พธม. จะกระทบกระเทือนประเทศเพื่อนบ้าน
ถ้าต่อต้าน พธม. ก็จะถูกกล่าวหาว่า ขายชาติ ตัวเป็นไทย ใจเป็นเขมร กระพือข่าวใส่ร้ายเสื้อแดง

3.แผนชั่วสาม พธม.ชั่ว และ ปชป.เลว จะใช้สถานการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมของคนเสื้อแดง
ในวันที่ 13 และ 19 กพ. ขยายสถานการณ์สร้างความปั่นปวนวุ่นวาย โดยจะให้ชุดปฎิบัติการพิเศษ
แต่งกายให้มีสัญญลักษณ์ของคนเสื้อแดง ยิง M79 อาวุธสงครามเข้าไปในสถานที่สำคัญของชาติอย่างน้อย 3 แห่ง
จากนั้นจะประโคมข่าวว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง ที่กดดันข่มขู่ศาลยุติธรรม ทำลายศาสนาและบังอาจล้มเจ้า
ถึงขนาดใช้อาวุธสงครามทำร้าย ประมุขของสถาบันหลัก สร้างหลักฐานเท็จว่า
มีทหารเขมรปนเข้ามาในฝูงชนของม็อบเสื้อแดง เพื่อล้มล้างชาติ

4. แผน ปฏิวัติมวลชน นำโดย พธม. + ปชป. โดยมีทหารหนุนหลัง
เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง
รัฐบาล และรัฐธรรมนูญ หากคนเสื้อแดงเข้าขวาง จะมีการปะทะกันโดยมวลชน
และทหารจะเข้าไปกั้นกลาง แต่ปืนหันไปยิงคนเสื้อแดง

สาเหตุสำคัญที่ต้องกำจัดคนเสื้อแดง
เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงฟื้นฟูได้รวดเร็ว หลังจาก 19 พ.ค.
ที่ถูกเผด็จการไล่ยิงไล่ฆ่า ให้เข็ดขยาด กลับฟูมฟักตัวคืนสภาพด้วยความรวดเร็ว
มีจำนวนมวลชนขยายตัวมากยิ่งขึ้นกว่าเก่า ขืนปล่อยไว้อีกปีสองปี เสื้อแดงเต็มประเทศ
ยากที่อำมาตย์จะกำจัดในอนาคต จึงต้องใช้แผนอำมหิตสังหารโหดแต่ต้นมือ
จึงต้องฆ่าสังหารแกนนำให้สิ้นซาก กลุ่มคนเสื้อแดงตายขั้นต่ำ 500 ศพ
บาดเจ็บ 5,000 ในข้อหาล้มล้างสถาบัน ล้มล้างชาติโดยร่วมมือกับทหารต่างชาติ
กะเอาเสื้อแดงให้สูญพันธ์ อย่างน้อยอีก 10 ปี ค่อยมาใหม่
แถลงการณ์ ประธาน UNSC และ ประธาน ASEAN
แถลงการณ์กรณีข้อพิพาทระหว่างไทยและกัมพูชาที่กรุงนิวยอร์คเมื่อวันที่ 14 กพ.54
ฝากไว้เป็นหลักฐาน
สำหรับผู้ที่สนใจติดตามพัฒนาการ สงครามการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา


คำแถลงของ ประธาน UNSC
[Image: ?di=1512979061303]


คำแถลงของ Dr. Marty Natalegawa รมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย
ในฐานะประธาน ASEAN
http://www.kemlu.go.id/Pages/SpeechTrans...P=701&l=en

Statement by H.E. Dr. R.M. Marty M. Natalegawa, Indonesian Foreign Minister, Chair of ASEAN, Before the UNSC, New York, 14 February 2011

Monday, 14 February 2011
Statement by H.E. Dr. R.M. Marty M. Natalegawa 
Foreign Minister of the Republic of Indonesia
Chair of the
Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)
Before the Security Council of the United Nations on 
Agenda item: Letter dated 6 February 2011 from the Permanent Representative of Cambodia to the United Nations addressed to the President of the Security Council
 
New York, 14 February 2011
 
 
Madame President,

Permit me to begin, by congratulating you on your assumption of the Presidency of the Security Council for the month of February; and to express our firm belief that, under your able leadership, the Council would be able to continue effectively discharge its Charter-mandated responsibilities.
 
Madame President,
 
The Council has just heard the views of the parties in the case: namely, Cambodia and Thailand. 
 
Both on the root cause of the differences among them, namely the border dispute, as well the circumstances surrounding the most recent border clashes on 4-6 February 2011.
 
Indeed, on 7-8 February 2011, through my visit to both Phnom Penh and Bangkok, I had the opportunity to hear first hand from the parties concerned on the issues confronting them. 
 
Let  me at this juncture, therefore, express deep appreciation to my colleagues, His Excellency Mr. Hor Namhong, Deputy Prime Minister, Minister for Foreign Affairs and International Cooperation of the Kingdom of Cambodia, and His Excellency Mr. Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand, for their active engagement with Indonesia, Chairman of ASEAN.
 
Madame President,
 
There's little doubt about the complexity of the border issue confronting Thailand and Cambodia.
 
However, and I wish to emphasize this point, there is absolutely no reason why the issue can not be resolved through peaceful means; through dialogue and negotiations.
 
As Chair of ASEAN, Indonesia is of the view, Madame President, that there is nothing inevitable about a military solution to the two countries' border issue.
 
Indeed, without in any way underestimating the challenges before us, as chair of ASEAN, Indonesia detects still a window of opportunity. 
 
From my discussions in Bangkok and Phnom Penh, Indonesia obtained three basic impressions or conclusions. 
 
I have shared these with the two countries concerned and the other ASEAN member states. 
 
None have disassociated itself from these conclusions.
 
First, Indonesia as chair of ASEAN, believes that ultimately there exists a continued desire and commitment by both sides to settle their differences through peaceful means. 
 
Thus said, this is certainly consistent with the basic undertaking all ASEAN member countries have made as reflected in the Treaty of Amity and Cooperation (TAC) and its Charter.  Through these core ASEAN documents, all ASEAN member states, Thailand and Cambodia included, pledged to settle their differences or disputes by peaceful means, and to renounce aggression, and of the threat or use of force.
 
ASEAN is determined to ensure that this basic commitment is upheld by the two parties concerned. 
 
Support by the Security Council, a call for the parties to resolve the dispute by peaceful means, in accordance with the TAC and the ASEAN Charter, would, Indonesia believes, be constructive.
 
Second, Indonesia as chair of ASEAN, believes that both sides recognize the need to stabilize the situation on the ground; to ensure that the ceasefire holds.
 
The recent communications from the two governments to the Security Council, as well as the statements just now made by the distinguished Foreign Ministers, illustrate well the differing interpretations of the circumstances surrounding the recent border incidents. 
 
Each side professes its defensive and peaceful intent; apportioning to the other responsibility for provoking the border incidents. 
 
However, intent must be accurately deciphered.  Confidence and trust build on the ground.
 
The recent military incidents illustrate that, at the very least, there is a communication gap; of perceptions and misperceptions. 
 
Leading to, perhaps, a cycle of unintended violence and conflict.
 
There is, thus, a need to build a more reliable local and higher level communications system between the two sides, perhaps with third party support, to ensure that the ceasefire holds. To foster confidence in each others' commitment to hold the ceasefire and to remove self-fulfilling worst scenario action and counter reaction.   Not least, there is an obvious need for the two sides to make a higher level political commitment to respect the ceasefire. 
 
The Security Council may wish to join in calling on the two sides to respect and to adhere to the ceasefire and to support ASEAN's endeavour in this regard.
 
Madame President,
 
Commitment to address the issue by peaceful means and commitment to respect the ceasefire; these are essential if we are to create conditions conducive for diplomatic negotiations to take place.
 
This is the third impression Indonesia came away with from the visit I undertook last 7-8 February 2011. 
 
We have all been here before. 
 
Debate on the efficacy of bilateral as opposed to regional and indeed, global solutions to a protracted conflict and dispute. 
 
One party in the present dispute has professed preference to a bilateral resolution to the issue. 
 
The other appears to lack faith in the efficacy of such approach. 
 
In truth, bilateral and regional, and indeed, global efforts, do not have to be seen as exclusive to one another, nor are they an "either/or" choices; rather they can be made complementary and mutually reinforcing. 
 
Bilateral negotiation and agreement are prerequisites. In the final analysis, there is no substitute to such an agreement; not least, when it relates to border issues.
 
However, regional support, or facilitation, are invaluable in helping create conditions conducive for such bilateral talks; to remove distrust, enhance confidence in the process and indeed to assure respect of the outcome. 
 
ASEAN can thus make valuable contribution.
 
The Security Council may wish to express support for ASEAN's efforts, to facilitate and actively encourage, the two sides to step up efforts to resolve their disputes by peaceful means. 
 
Madame President,
 
What’s next?
 
In anticipation of the outcome of the present Security Council meeting, as Chair of ASEAN, Indonesia has called for a meeting of the Foreign Ministers of ASEAN member states in Jakarta on 22 February 2011.
 
Indonesia is very much encouraged that both Cambodia and Thailand readily and at once agreed to the convening of the meeting. 
 
Based on the communications I have had, Indonesia foresees three basic and mutually reinforcing objectives:
 
First, an ASEAN call and, indeed, strong encouragement, to the parties concerned to continue to commit to the peaceful settlement of disputes and renunciation of the use and threat of the use of force, as provided for in the Treaty of Amity and Cooperation and its Charter;
 
Second, an ASEAN support to the efforts by the two parties to ensure respect of the ceasefire. Enhanced communications modalities may need to be contemplated and introduced; and
Third, an ASEAN effort to ensure conducive climate for the resumption of negotiations between the two sides.  ASEAN may facilitate such talks and be informed by the parties concerned on the general outline of its progress. 
 
The Council may wish to express support for the aforementioned ASEAN Foreign Ministers meeting.
 
Madame President,
 
Southeast Asia is a region much transformed.  Our region is only too painfully aware of the costs of conflict. It is, at the same, cognizant of the dividends accruing from conditions of amity and cooperation.  Common security means common prosperity and common progress.
 
We are not about to let these gains lapse.
 
ASEAN has been at the forefront in catapulting the region to an ASEAN Community by 2015. In all its three pillars, namely economic, socio-cultural and political-security.  In such Community, resort to use of force to settle disputes cannot be the norm.  It is an exceptional and unique aberration; as we believe the current situation between Cambodia and Thailand.
 
Indeed, despite this most recent challenge between such two principal members within ASEAN, cooperation within ASEAN, between ASEAN and it's immediate regions, through the "plus one" and "plus three" processes, as well as the East Asia Summit, have continued unabated.  ASEAN is occupying the driving seat role in the wider region's architecture building.
 
Beyond, in accordance with ASEAN's theme for 2011: "ASEAN community in a global community of nations", ASEAN is identifying a roadmap for a more enhanced contribution on global affairs: an ASEAN common platform on global issues of common concern. 
 
ASEAN as a net contributor to the solution of many of the world's problems.
 
In short, Madame President, ASEAN has every incentive to ensure that the present difficulties afflicting two of its members be resolved amicably. 
 
Guns and artillery must remain silent in Southeast Asia. 
 
Madame President,
 
Thus, we ask for synergy of efforts by the Security Council to support ASEAN's endeavours and ultimately, to support and provide every positive incentive for the two parties concerned,  Cambodia and Thailand, to resolve their differences amicably, as befitting members of the ASEAN family of nations; and indeed, members of the global community of nations.
 
Thank you very much, Madame President. 

แถมด้วยบทวิเคราะห์ ของบางกอกโพสต์
http://www.bangkokpost.com/print/221803/

Split decision, with both claiming victory

Was the UNSC's ruling on the border conflict a win, loss, or draw for Thailand? It depends who you ask.






Immediately after the United Nations Security Council called on Thailand and Cambodia to implement a permanent ceasefire and to resolve their border dispute ''peacefully and through effective dialogue'', each side claimed victory.
But who actually won, and what did they win?
Cambodia says the UNSC's call made no mention of bilateral mechanisms to resolve the dispute, which Thailand has insisted upon since the start of the dispute that escalated into armed clashes.
Phnom Penh also claimed success in raising the issue before the UNSC with Cambodian Foreign Minister Hor Namhong continuing to insist that bilateral talks would not work and adding that ''all negotiations must always have the participation of a third party''.
Thai Prime Minister Abhisit Vejjajiva said: ''When the international community thinks the problem should be solved through negotiations, Cambodia has no reason to refuse. They should return to the [bilateral] talks.''

As far as negotiations are concerned, technically Cambodia is right.While the UNSC did respond to Phnom Penh's call for a permanent ceasefire, it did not react to its call for the deployment of UN peacekeepers to act as a buffer in the disputed zone.
The UNSC did not specifically mention bilateral mechanisms. It mentioned in stead ''restraint, dialogue and support for Asean's efforts''.
But United Nations secretary-general Ban Ki-moon on Monday referred to the use of ''existing mechanisms'', which means all mechanisms in existence _ including bilateral ones _ to resolve the dispute peacefully.
The UNSC's position on Monday was in fact a statement by its president, Brazilian ambassador Maria Luiza Ribeiro Viotti.
There was no UNSC resolution, and the council president's statement is not binding, but it carries moral authority because it reflects the unanimous view of council members.
''Both sides get a bit of what they were looking for, but not a full loaf,'' a senior Asean figure told the Bangkok Post.
''In this kind of diplomatic game, it is rare that one side gets everything and the other side gets nothing.
''Both sides can claim a victory and call on the other side to fulfil what was left undetermined.''
The analyst noted that, in 2008, Cambodia raised the border issue at the Asean Ministerial Meeting in Singapore. Thailand resisted, insisting the dispute be resolved bilaterally.
Thailand did the same thing last week when Asean chair and Indonesian Foreign Minister Marty Natalegawa visited both countries.
But the UNSC clearly stated on Monday that it supported Asean's role in the resolution of the dispute.
Thailand is now saying it agrees to a regional parley ''in support'' of a bilateral process, the analyst said.
While Cambodia did not get the UN to stand guard between the Thai troops and its soldiers on the border, it did manage to raise the issue with the UNSC _ the highest security forum of the international community, said an Asean observer in Singapore.
''The call for Asean to help resolve the conflicts could be seen as a victory of sorts for Cambodia,'' the observer said.
''If it has not fully internationalised the dispute, it has at least regionalised it. And the record at the UNSC is a comforting guarantee that if anything goes badly wrong again, the UNSC is bound to take it up more readily again.''
The question now is what lies ahead.
Mr Marty alluded to this challenge on Monday when he said ''the issue here is to extract a clear commitment from Thailand and Cambodia for a peaceful resolution'', indicating the Asean meeting would put pressure on the two countries to reach an agreement.
He said Mr Kasit and Hor Namhong had ''professed peaceful intent'' before the council and that the Asean foreign ministers meeting in Jakarta next week should ''flesh it out''.
According to a senior Asean diplomat, Asean faces fresh challenges following the appeal by the UNSC on Monday in New York.
Asean must come up with a minimum consensus on how to respond to the call.
''This is a historic first for Asean,'' the senior Asean diplomat said.
Under articles 52 and 53 of the UN Charter, the UNSC is allowed to delegate and share responsibility with regional organisations to help resolve conflicts.
''Asean will have to decide what are the best mechanisms to put in place to ensure the ceasefire will hold and that no more violence shall erupt,'' the senior diplomat said.
The question is whether a monitoring mechanism of sorts is acceptable to Thailand and Cambodia, as well as the other member states who would be averse to involvement in external political and security issues.
Asean will also have to put its own charter pertaining to dispute settlement mechanisms (Articles 22 and 23) into full implementation.
These articles call for establishment of permanent dispute settlement mechanisms in all areas in anticipation of the establishment of the Asean economic community by 2015.
There is an urgent need for a final arbiter to adjudicate conflicts likely to occur in a more integrated community.
It will have to accept that it needs a programme of capacity-building for ''good offices, conciliation and mediation'', as dictated by the charter.
This will not be the last time that Asean will have to respond to such challenges and the international community will expect the grouping to play a mediating role among its own.
The senior Asean diplomat said: ''This is a turning point for Asean in its transformation to a rule-based organisation.''
Success or failure in Jakarta to respond to the UNSC's appeal and to make advances for a permanent dispute mechanism, or at least agree to a road map towards this goal, not only depends on Thailand and Cambodia but on all of its members.
Both Thailand and Cambodia can win in Jakarta. But, more importantly, the resolution of this dispute would mean Asean wins as well.
By the same token, failure by both countries to talk would mean Asean as a whole fails as well, not only as far as the UNSC appeal is concerned but in terms of being able to rise to the occasion and shoulder the responsibilities it has volunteered to take on according to its own aspirations enshrined in its own charter.

สรุปรวมๆ งานนี้อาเซียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแน่นอน
เป้าหมายของกัมพูชาคือ ต้องการให้มีตัวแทนอาเซียนเข้าร่วมในประชุมระหว่างไทย-กัมพูชา ทุกระดับรวมทั้ง JBC ด้วย
และจะขอให้มีผู้สังเกตุการณ์ของอาเซียนไปประจำในพื้นที่ขัดแย้ง