วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มาร์คไม่น่ารอด 2

การหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐไทยไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี


ผมอยากจะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในบทความล่าสุดของหนังสือพิมพ์ The Nation ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ทีมงานของเราที่เตรียมยื่นรายงานต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในนามของคนเสื้อแดง และเหยื่อความรุนแรงทางการเมืองในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553  ประเด็นแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือผู้เขียนไม่ได้อ่านรายงานเบื้องต้นที่ยื่นต่อศาลอาญาระหว่งประเทศของเรา ที่ตีพิมพ์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยเลย เพราะคำถามที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมานั้น ล้วนมีคำตอบอยู่ในรายงานดังกล่าว ประเด็นที่สองคือ เป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง แต่ไม่น่าแปลกใจ คือ ผู้เขียนดูเหมือนจะ “ยินดี” กับรัฐไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำของตนของครั้งแล้วครั้งเล่า แทนที่จะประณาม
วิกฤตทางการเมืองของประเทศไทยถูกบิดเบือนอย่างมาก แม้แต่ผู้สังเกตการณ์ก็ต้องสูญเสียความเข้าใจอย่างง่ายๆว่าอะไรคืออาชญากรรม และที่แย่ที่สุดคือ คุณค่าของชีวิตมนุษย์ นอกจากบทความของ The Nation จะพยายามปฏิเสธความรับผิดของรัฐในการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ยังกล่าวอย่างเป็นนัยว่าการที่กองทัพไทยฆ่าพลเรือนโดยไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิเช่น พฤติกรรมที่รัฐปฏิบัติต่อการเสียชีวิตของนักข่าวที่ไม่ฝักฝ่ายกับกลุ่มการเมืองใด ภาพการเสียชีวิตของนายฮิโร มูรามูโต ซึ่งถูกถ่ายไว้โดยกล้องวงจรปิด แต่รัฐบาลกลับไม่ยอมนำมาเปิดเผย หรือครอบครัวของนายฟาปิโอ โปเลงกีก็ยังถูกรัฐบาลหัวรั้นดูหมิ่นและถากถาง พร้อมทั้งยังไม่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายฟาปิโอ
เป็นเรื่องยากที่จะยกตัวอย่างของประเทศอื่นในโลกปัจจุบัน ที่ประชาชนราว 90 รายถูกสังหารอย่างเลือดเย็นใจกลางเมืองหลวง ในขณะที่รัฐบาลไม่กล่าวถึงหรือนำเสนอรายงานเพื่อหาคนรับผิดเลยแม้แต่คนเดียว ซ้ำสื่อมวลชนหัวอ่อนยังชื่นชมกับการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันที่สุดในตอนนี้คือเหตุการณ์ล่าสุดในประเทศตูนีเซีย ซึ่งรัฐได้ใช้ทหารสังหารผู้ประท้วงราว 78ราย ส่งผลทำให้ประธานาบดีเบน อาลีต้องลาออก และหนีออกนอกประเทศเพื่อไปลี้ภัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นต่างกัน เพราะนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กำลังเตรียมตัวที่จะขโมยการเลือกตั้งที่ไม่เป็นอิสระและไม่ยุติธรรมครั้งต่อไป
สิ่งที่แยกคำร้องของเราต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และรายการตัวอย่างเหตุการณ์รุนแรงอย่างคร่าวๆของบทความ The Nation คือเราจัดหมวดหมู่และนำเสนอหลักฐานอย่างระมัดระวัง
ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ ปี 2535 ไม่มีบุคคลใดรับผิดในการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมหลายราย ไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการร์สังหารหมู่ในปี 2514 ถูกสอบสวนหรือดำเนินคดี ในขณะที่อาชญากรรมในเหตุการณ์ในปี 2519 และ 2535 ถูกเปลี่ยนจากดำให้เป็นขาว และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์เหล่านี้ คงไม่มีผู้ที่สติดีคนใดจะคาดหวังการสอบสวนที่เป็นธรรมและสมบูรณ์จากเหตุการณ์สังหารประชาชนครั้งล่าสุดในประเทศไทย เป็นเรื่องโชคร้ายที่มีบุคคลบางคนในประเทศไทยอยากให้ระบบการหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐคงอยู่ โดยที่พวกเขาไม่คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายระบบกฎหมายและสังคมอย่างมาก เราไม่คาดหวังจะลบล้างระบบดังกล่าวและหาผู้รับผิดชอบเพียงชั่วคืนห แต่เราเลือกที่จะเริ่มกระบวนการที่ยาวนานนี้ขึ้น
บทความ The Nation ได้เปิดหัวข้ออภิปรายว่าคนเสื้อแดงจะได้รับ “ชัยชนะ” ในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่ แต่สิ่งง่ายๆที่พวกเขาไม่นึกถึงคือ การยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการแสดงข้อเท็จและหลักฐานการสังหารต่อประชาชนและต่อประชาคมโลกเป็นครั้งแรก และนั้นคือชัยชนะ การนำเสนอบทคัดย่อทางกฎหมายที่ครอบคลุม และการทำงานหลายพันชั่วโมงเพื่อร่างคำร้องนี้ คนเสื้อแดงได้แสดงความรับผิดชอบที่มีต่อคนไทยทั้งหมด มากกว่ารัฐบาลทหารที่พยายามปกปิดอาชญากรรม
การหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐไทยไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี
ผมอยากจะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในบทความล่าสุดของหนังสือพิมพ์ The Nation ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ทีมงานของเราที่เตรียมยื่นรายงานต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในนามของคนเสื้อแดง และเหยื่อความรุนแรงทางการเมืองในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553  ประเด็นแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือผู้เขียนไม่ได้อ่านรายงานเบื้องต้นที่ยื่นต่อศาลอาญาระหว่งประเทศของเรา ที่ตีพิมพ์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยเลย เพราะคำถามที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมานั้น ล้วนมีคำตอบอยู่ในรายงานดังกล่าว ประเด็นที่สองคือ เป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง แต่ไม่น่าแปลกใจ คือ ผู้เขียนดูเหมือนจะ “ยินดี” กับรัฐไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำของตนของครั้งแล้วครั้งเล่า แทนที่จะประณาม
วิกฤตทางการเมืองของประเทศไทยถูกบิดเบือนอย่างมาก แม้แต่ผู้สังเกตการณ์ก็ต้องสูญเสียความเข้าใจอย่างง่ายๆว่าอะไรคืออาชญากรรม และที่แย่ที่สุดคือ คุณค่าของชีวิตมนุษย์ นอกจากบทความของ The Nation จะพยายามปฏิเสธความรับผิดของรัฐในการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ยังกล่าวอย่างเป็นนัยว่าการที่กองทัพไทยฆ่าพลเรือนโดยไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิเช่น พฤติกรรมที่รัฐปฏิบัติต่อการเสียชีวิตของนักข่าวที่ไม่ฝักฝ่ายกับกลุ่มการเมืองใด ภาพการเสียชีวิตของนายฮิโร มูรามูโต ซึ่งถูกถ่ายไว้โดยกล้องวงจรปิด แต่รัฐบาลกลับไม่ยอมนำมาเปิดเผย หรือครอบครัวของนายฟาปิโอ โปเลงกีก็ยังถูกรัฐบาลหัวรั้นดูหมิ่นและถากถาง พร้อมทั้งยังไม่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายฟาปิโอ
เป็นเรื่องยากที่จะยกตัวอย่างของประเทศอื่นในโลกปัจจุบัน ที่ประชาชนราว 90 รายถูกสังหารอย่างเลือดเย็นใจกลางเมืองหลวง ในขณะที่รัฐบาลไม่กล่าวถึงหรือนำเสนอรายงานเพื่อหาคนรับผิดเลยแม้แต่คนเดียว ซ้ำสื่อมวลชนหัวอ่อนยังชื่นชมกับการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันที่สุดในตอนนี้คือเหตุการณ์ล่าสุดในประเทศตูนีเซีย ซึ่งรัฐได้ใช้ทหารสังหารผู้ประท้วงราว 78ราย ส่งผลทำให้ประธานาบดีเบน อาลีต้องลาออก และหนีออกนอกประเทศเพื่อไปลี้ภัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นต่างกัน เพราะนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กำลังเตรียมตัวที่จะขโมยการเลือกตั้งที่ไม่เป็นอิสระและไม่ยุติธรรมครั้งต่อไป
สิ่งที่แยกคำร้องของเราต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และรายการตัวอย่างเหตุการณ์รุนแรงอย่างคร่าวๆของบทความ The Nation คือเราจัดหมวดหมู่และนำเสนอหลักฐานอย่างระมัดระวังซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2514, 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ ปี 2535 ไม่มีบุคคลใดรับผิดในการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมหลายราย ไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการร์สังหารหมู่ในปี 2514 ถูกสอบสวนหรือดำเนินคดี ในขณะที่อาชญากรรมในเหตุการณ์ในปี 2519 และ 2535 ถูกเปลี่ยนจากดำให้เป็นขาว และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์เหล่านี้ คงไม่มีผู้ที่สติดีคนใดจะคาดหวังการสอบสวนที่เป็นธรรมและสมบูรณ์จากเหตุการณ์สังหารประชาชนครั้งล่าสุดในประเทศไทย เป็นเรื่องโชคร้ายที่มีบุคคลบางคนในประเทศไทยอยากให้ระบบการหลีกเลี่ยงความรับผิดของรัฐคงอยู่ โดยที่พวกเขาไม่คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายระบบกฎหมายและสังคมอย่างมาก เราไม่คาดหวังจะลบล้างระบบดังกล่าวและหาผู้รับผิดชอบเพียงชั่วคืนห แต่เราเลือกที่จะเริ่มกระบวนการที่ยาวนานนี้ขึ้น
บทความ The Nation ได้เปิดหัวข้ออภิปรายว่าคนเสื้อแดงจะได้รับ “ชัยชนะ” ในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่ แต่สิ่งง่ายๆที่พวกเขาไม่นึกถึงคือ การยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการแสดงข้อเท็จและหลักฐานการสังหารต่อประชาชนและต่อประชาคมโลกเป็นครั้งแรก และนั้นคือชัยชนะ การนำเสนอบทคัดย่อทางกฎหมายที่ครอบคลุม และการทำงานหลายพันชั่วโมงเพื่อร่างคำร้องนี้ คนเสื้อแดงได้แสดงความรับผิดชอบที่มีต่อคนไทยทั้งหมด มากกว่ารัฐบาลทหารที่พยายามปกปิดอาชญากรรม

มาร์คไม่น่ารอด

ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันร่วมร่างคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศของคนเสื้อแดง

ในกระบวนการตระเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ทำงานร่วมกับทีมงานขนาดใหญ่ในประเทศไทยและทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายที่มี่ชื่อเสียงอย่าง ศาสตราจารย์ดักลาสส์ คาสเซิล
ศาสตราจารย์คาสเซิลปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สิทธิพลเรือนและสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยนอทเทอร์ดาม และได้รับการเสนอชื่อให้เป็น “Norte Dame Presidential Fellow” ได้ทำงานร่วมกับนักกฎหมาย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ศาสตราจารย์คนูปส์ และทีมงาน ตั้งแต่เเริ่มมีการเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในนามของเหยื่อจากการสลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2554
บทความทางวิชาการทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาสเปนของศาสตราจารย์คาสถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้เขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมนาทั่วโลกหลายครั้ง  รวมถึงมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร (amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกัวตานาโม และการรับผิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act (ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในนามของนักการทูตเอมริกันที่เกษียรแล้วและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทางด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้เขายังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลัมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซูเอล่า ในระหว่างการดำเนินคดีในศาลสิทธิมนุษยชนอเมริกันสากลและคณะกรรมการอเมริกันสากล และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรสิทธิมนุษยชนและนักฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร
ศาสตราจารย์คาสเซิลกล่าวถึงการยื่นคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศในวันที่ 31 มกราคมว่า ผู้สังเกตการณ์บางท่านมองว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในไทย เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจศาลที่แน่ชัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าศาสลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีในประเทศที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น แม้ประเทศนั้นจะไม่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผมได้ทำงานร่วมศาสตราจาย์แคสเซิลในคดีประวัติศาสตร์นี้ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว ประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของศาสตราจารย์คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาลในการช่วยเหลือเราในการบรรลุจุดประสงค์เพื่อหยุดระบบภูมิคุ้มกันการรับผิดของผู้นำในประเทศไทย และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยใช้วิธีทางกฎหมายระหว่างประเทศทุกวิธีที่มีอยู่ ความคาดหวังของเราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และทุกคนควรเข้าใจว่าการต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากและยาวเวลานาน เราต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายกระบวนคุกคามทางการเมืองที่เป็นระบบและต่อเนื่องต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง
โดยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟืเคยยื่นรายงานเบื้องต้นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว
รัฐประหาร 15 ก.พ. ศกนี้ รายงานจากสายข่าว พล.ต.อ
http://www.internetfreedom.us/thread-12121.html


วันนี้ได้กับ พล.ต.อ ท่านหนึ่ง(ขอสงวนนาม) โดยบังเอิญ และในบทสนทนาได้พูดคุยถึง การขนถ่ายกำลัง ท่านก็เลยบอกว่า 15 ก.พ. นี้ทางค่ายนเรศวร ประจวบฯ ก็จะได้นำกำลังเข้ามาที่ กทม.
และในส่วนอื่นๆก็เช่นกัน

วันพรุ่งนี้จะเข้าพบ พล.อ. อีกท่าน แล้วจะมายืนยันข่าวอีกครั้ง

เดินสายประจาน..ฟ้อง(ศาล)โลก

เดินสายประจาน..ฟ้อง(ศาล)โลก
http://www.internetfreedom.us/thread-12031.html“การเสียชีวิตหมู่ประเทศไทยไม่อนุญาตแม้แต่จะให้มีการสืบ สวนสอบสวนในชั้นศาล แม้ไทยได้ชื่อเมืองล้านรอยยิ้ม แต่โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ อาชญากรรมโดยรัฐต่อประชาชนจะถูกบอกให้โลกรับรู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าประชาธิปไตยในปร​ะเทศไทยจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง หลังจากนี้ผมจะโน้มน้าวให้อัยการไอซีซีเห็นว่ามีเหตุผลที่ศาลจะรับฟ้อง เพราะมีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นจริง ซึ่งผู้ที่สั่งฆ่าประชาชนคือรัฐบาล โดยผู้บริหารหรือนายกรัฐมนตรีไทยที่ถือสัญชาติอังกฤษ ซึ่งกฎหมายเปิดช่องให้ยื่นฟ้องได้”

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ และทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 กรณีการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) ในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้ดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในคดีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน โดยมีการถ่ายทอดสดระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากญี่ปุ่นมาไทย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 18)

“อภิสิทธิ์” ยันสัญชาติไทย

“เขารับจ้างมาทำอย่างนั้นเขาก็ต้องทำอย่างนั้นแหละครับ แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบ เข้าใจว่าเขาแถลงข่าวว่าจะยื่นฟ้อง ผมสัญชาติไทยครับ ไม่มีสัญชาติมอนเตเนโกร”

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอบโต้นายอัมสเตอร์ดัมที่ระบุว่านายอภิสิทธิ์ถือพาสปอร์ตสัญชาติอังกฤษ เพราะเกิดในอังกฤษจึงมีสัญชาติอังกฤษโดยอัตโนมัติ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกำลังจะดำเนินการแถลงเรื่องนี้ต่อไป

ขณะที่ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ตามหลักกฎหมายสัญชาติต้องดูว่านายอภิสิทธิ์มีชื่อในทะเบียนราษฎรอังกฤษหรือไม่ ถือเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐอังกฤษหรือไม่ แค่มีจุดเกาะเกี่ยวตามที่กฎหมายสัญชาติอังกฤษกำหนดไม่ทำให้มีสถานะเป็นคนสัญชาติอังก​ฤษ

โลกกระชับ “อภิสิทธิ์”

แม้กรณีสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์จะมีผลหรือไม่ก็ไม่ใช่ประเด็นเดียวในการยื่นฟ้อ​งไอซีซี เพราะในสำนวน 250 หน้าได้ระบุว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีการใช้อาวุธจริงและอุปกรณ์ที่กองทัพใช้ในการสงคราม ใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกฝึกฝนเป็นทีมสไนเปอร์กว่า 150 คน ที่มีการระบุตัวบุคคลชัดเจนในลักษณะของมือที่สาม เพื่อประหัตประหารประชาชน

ที่สำคัญการยื่นคำร้องต่อไอซีซียังมีศาสตราจารย์ดักลาสส์ คาสเซิล ผู้อำนวยการศูนย์สิทธิพลเรือนและสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยนอร์ทเทอดาม ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น “Norte Dame Presidential Fellow” ร่วมร่างคำร้องดังกล่าวด้วย ซึ่ง ศ.คาสเซิลยืนยันว่าไอซีซีสามารถพิจารณาคดีที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ แม้ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีไอซีซีก็ตาม

นอกจาก ศ.คาสเซิลจะมีบทความทางวิชาการทั้งภาษาอังกฤษและภาษาสเปนที่ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐ ลาติน อเมริกา และยุโรป ได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมมนาทั่วโลกแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร (amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกวนตานาโม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act (ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐ ในนามของนักการทูตอเมริกันที่เกษียณแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลอมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซุเอลา

นายอัมสเตอร์ดัมจึงมั่นใจว่าประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของ ศ.คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาลในการช่วยเหลือการยื่นคำร้องต่อไอซีซี ขณะเดียวกันก็ถือว่าการยื่นคำร้องต่อไอซีซีเป็นการเริ่มต้นนำเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายในเวทีโลกอย่างเป็นทางการ เป็นการดึงโลกกระชับวงล้อมนายอภิสิทธิ์ และยังเป็นการประจานอำนาจเผด็จการในไทยไปทั่วโลกอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญคุมฝูงชนสหรัฐ

ขณะเดียวกันนายอัมสเตอร์ดัมยังระบุว่า การยื่นคำร้องครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีความพยายามรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐ​านอย่างครบถ้วนและเป็นระบบมากที่สุด เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยความจงใจและก่อให้เกิดความรุนแรงเกินก​ว่าจะรับได้ ซึ่งจะต้องมีผู้รับผิดชอบ ทั้งยังอ้างคำให้การของพยาน รวมทั้งนายโจเรย์ วิตตี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมฝูงชน และเคยสังกัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสำนักงานตำรวจแห่งนครลอสแอนเจลิส ที่ระบุว่าการปฏิบัติการของกองทัพไทยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เป็นการปฏิบัติการทางทหารซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสังหารพลเรือนผู้บริสุทธิ์

แม้แต่กรณีการยิงระเบิดเอ็ม 79 ที่ถนนราชดำเนิน จน พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน อาจเป็นฝ่ายทหารทำกันเอง เพื่อเป็นข้ออ้างในการใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎการใช้กำลังของกองทัพ

ฮิวแมนไรท์ฯประจานไทย

เช่นเดียวกับรายงานประจำปี 2553 ขององค์กรสิทธิมนุษยชนสากล (ฮิวแมนไรท์วอทช์) ได้ระบุถึงสถานการณ์ความขัดแย้ง วิกฤตการเมืองไทยช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์เพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาว่าจะเร่งสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบต่อกรณีละเมิดสิทธิมนุษยช​นผู้ชุมนุมเสื้อแดง แต่การสอบสวนกลับแทบไม่มีอะไรคืบหน้า ทั้งที่มีหลักฐานและข้อมูลชัดเจนว่ามีการใช้พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ในการปราบปรามประช​าชน มีการใช้อาวุธสงครามระดมยิงใส่ประชาชนในวัดปทุมวนารามจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ศพ มีการปกปิดข้อมูลคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขัง

ขณะเดียวกัน ศอฉ. ยังถือโอกาสที่มีการใช้อำนาจ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปิดกั้นเสรีภาพสื่อและการแสดงความเห็นของประชาชน โดยการปิดสื่อต่างๆมากมาย

รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์จึงเป็นการตอกย้ำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการสังหารโหดในไท​ยว่า ผ่านมากว่า 9 เดือน รัฐบาลไทยก็ยังพยายามปกปิดความจริง

ในขณะที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยืนยันว่าได้ทำตามพยานหลักฐานอย่างตรงไปตรงมา โดยระบุว่าแม้ว่าตนเองจะเป็นกรรมการ ศอฉ. แต่ก็ไม่มีผลกับการสอบสวนหรือบิดเบือนเป็นอันขาด เพราะคดีทำในรูปของคณะพนักงานสอบสวนที่มีพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมสอบสวนด้วย

นอกจากนั้นนายธาริตยังตอบโต้การยื่นฟ้องของนายอัมสเตอร์ดัมว่า เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองที่ต้องการดิสเครดิตนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเท่านั้น แต่นายอัมสเตอร์ดัมก็กล่าวถึงนายธาริต ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งใน ศอฉ. ว่าไม่ว่าจะทำอย่างไรก็จะเป็นไปตามทิศทางที่ ศอฉ. ให้เป็น ทั้งอธิบดีดีเอสไอบอกให้ทีมสอบสวนสรุปว่าถ้าไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนยิงให้ทีมสอบสว​นสรุปไปว่าเป็นฝีมือคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นการกล่าวหาผู้ต้องหาให้เป็นผู้ก่อการร้าย

“คณิต” ชี้ไม่ได้รับความร่วมมือ

แต่นายคณิต ณ นคร คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กลับยืนยันว่า คอป. ไม่ได้รับความร่วมมือจากตำรวจและดีเอสไอจริง แม้นายกรัฐมนตรีจะสั่งการกำชับไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีความหมายอะไร

เช่นเดียวกับการไม่ให้ประกันตัวแกนนำ นปช. และคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังกว่า 400 คน แต่นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ที่มีข้อหาเดียวกันศาลกลับให้ประกันตัวนั้น ต้องถามศาล แต่ฝ่ายอัยการเองก็ต้องดำเนินการด้วย เพราะรัฐบาลไม่สามารถบังคับศาลได้ และรัฐบาลก็ต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายเช่นกัน

ขณะที่นายจรัญ โฆษณานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงการสอบสวนคดีของคนเสื้อแดงว่า ที่ฝ่ายทหารปฏิเสธจะให้ความร่วมมือในการสอบสวนนั้น เป็นการตอกย้ำให้เห็นอำนาจอิทธิพลของกองทัพในประเทศไทย

เช่นเดียวกับกระบวนการยุติธรรมที่มีความล่าช้าผิดปรกติ ก็แสดงถึงอำนาจทางการเมืองที่กำลังบ่อนทำลายกฎหมายในประเทศไทยนั่นเอง

ไอซีซีร่วมสังเกตการณ์

ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. ได้กล่าวถึงจดหมายปรับทุกข์ของแกนนำ นปช. ที่ถูกจำคุกที่ส่งถึงผู้พิพากษา 1,300 คนทั่วประเทศว่า เพื่อให้รับรู้ถึงความไม่ชอบมาพากลและความไม่ยุติธรรมในคดีที่แกนนำ นปช. ถูกกล่าวหา นอกจากนี้ยังได้รับจดหมายตอบกลับจากไอซีซีว่าจะรับพิจารณาเรื่องการส่งพยานมาสังเกตก​ารณ์การพิจารณาคดีคนเสื้อแดงในประเทศไทย แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมก็ตาม

ขณะที่ น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่า รัฐบาลพยายามใส่ร้ายคนเสื้อแดงทั้งที่ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นชายชุดดำหรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าคนเสื้อแดงมีอาวุธ แต่กลับสั่งการให้สังหารหมู่แถมยังทำลายหลักฐาน อาทิ เซ็นทรัลเวิลด์ที่ระบุว่าคนเสื้อแดงเป็นคนเผา แต่มีหลักฐานชัดเจนว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการ จึงน่าสงสัยว่าเป็นการทำลายหลักฐานหรือไม่

นอกจากนี้ยังใช้คำว่า “ปรองดอง” เป็นหน้ากากที่น่าละอาย โดยอ้างถึงความปรองดองแต่กลับจับกุมคุมขังแกนนำ นปช. โดยตั้งข้อหาก่อการร้ายที่มีโทษถึงประหารชีวิต ทำให้มีปัญหาในกระบวนการยุติธรรม ขณะที่การสอบสวนข้อเท็จจริงกว่า 9 เดือนก็ไม่มีผลสรุปที่ชัดเจนใดๆ จึงต้องยื่นร้องต่อไอซีซี ซึ่งการต่อสู้ครั้งนี้ทำเพื่อให้ได้ความยุติธรรมต่อคนเสื้อแดง รวมทั้งรัฐบาลอิตาลีและญี่ปุ่นที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย เชื่อว่าอัยการไอซีซีเมื่อรับข้อมูลไปและศึกษาอย่างดีแล้วน่าจะยื่นฟ้องกับไอซีซีต่อ​ไป เพื่อยุติการกระทำที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

“จริงๆแล้วคนไทยคงต้องถามตัวเองว่าปล่อยให้ผู้นำรัฐบาลที่สั่งปราบปรามประชาชนจนมีผู​้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ยังลอยหน้าลอยตาเป็นนายกฯอยู่ต่อไปได้อย่างไร”

แม่น้องเกดชวดชี้แจงอังกฤษ

ส่วนความเคลื่อนไหวอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือกรณีที่สภาสูงประเทศอังกฤษ (House of Lord) ได้มีหนังสือเชิญตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ไปชี้แจงในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ “น้องเกด” น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม และนายสันติพงษ์ อินจันทร์ (น้องเบิร์ด) เหยื่อจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายนจนทำให้ตาบอด ที่จะเดินทางไปชี้แจงนั้น สถานทูตอังกฤษกลับไม่อนุมัติคำร้องขอวีซ่าดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีไม่เพียงพอมีพอแค่เดินทางไปและกลับ

เช่นเดียวกับ “น้องเบิร์ด” ที่ระบุว่าได้แนบกอง ทุนธนาคารกรุงไทยจำนวน 1 ล้านบาทไปด้วย แต่กลับไม่ได้รับอนุมัติวีซ่าเช่นกัน

นางพะเยาว์จึงตั้งข้อสงสัยว่าคำเชิญดังกล่าวนั้นทางสภาสูงอังกฤษมีตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และรายละเอียดการเดินทางมาให้หมดแล้ว จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องเงินในบัญชี เชื่อว่ามีการใช้อำนาจรัฐแทรกแซงขัดขวางเพื่อไม่ให้ไปให้ข้อเท็จจริง เพราะการชี้แจงความจริงเท่ากับเป็นการประจานความเหี้ยมโหดของรัฐบาลและกองทัพที่กระท​ำกับประชาชน ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าเธอจะเดินทางไปที่ไหนก็จะมีคนแปลกหน้าคอยติดตามตลอด ทำให้รู้สึกเครียดและกดดันมาก ในวันนี้ประเทศไทยไม่มีใครเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว เพราะไม่มีใครในโลกที่จะสังหารพยาบาลอาสาที่กำลังช่วยผู้บาดเจ็บ

อย่างไรก็ตาม นางพะเยาว์ได้บันทึกเทปวิดีโอส่งมอบให้กรรมาธิการสภาสูงของอังกฤษแล้ว และหากได้รับอนุญาตก็พร้อมจะให้ข้อมูลผ่านทางวิดีโอลิ้งค์

ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. กล่าวว่า กรณีสถานทูตอังกฤษไม่ยอมออกวีซ่าให้นางพะเยาว์และนายสันติพงษ์เพราะมีการพยายามปิดกั​้นไม่ให้ข้อมูลการสังหารหมู่ถูกเผยแพร่ออกไป ทั้งกล่าวหาว่าทูตอังกฤษเข้ามายุ่งกับการเมืองภายในของไทย และมีการรับเงินเดือนจากบริษัทน้ำเมารายใหญ่ของไทยที่ใกล้ชิดกับกลุ่มอำมาตย์

สื่อต่างชาติร่วมประจาน

นอกจากนี้นิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังของเยอรมนี “แดร์ ชปีเกิล” ได้สัมภาษณ์นายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีภาพไม่แตกต่างจากพม่าที่มี “ทหาร” เป็นผู้กุมอำนาจที่แท้จริง และยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ยังมีสถานะเป็น “พลเมือง” ของสหราชอาณาจักรหากยังไม่มีการประกาศสละสัญชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลที​่ใช้กำลังปราบปรามประชาชน ขณะที่กระบวนการสอบสวนในประเทศไทยก็มีการสกัดกั้นไม่ให้มีการเรียกตัวบุคคลในกองทัพม​าสอบสวน

ด้านวอลล์สตรีท เจอร์นัล เอเชีย รายงานว่า ยังไม่รู้ว่าไอซีซีจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาไต่สวนหรือไม่ แต่โฆษกหญิงคนหนึ่งของไอซีซีให้ความเห็นว่า โดยทั่วไปแล้วไอซีซีไม่สามารถให้ความเห็นใดๆได้ต่อกรณีที่มีการยื่นคำร้องเช่นนี้ รวมถึงการที่ประเทศไทยไม่ได้เป็น 1 ในภาคี 144 ชาติของไอซีซีจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในกรณีนี้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าตั้งแต่มีการก่อตั้งไอซีซีขึ้นเมื่อปี 2002 ได้มีการพิจารณาและตัดสินความผิดของผู้ต้องหาที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปแล้​วทั้งสิ้น 16 ราย ในประเทศยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เคนยา และแคว้นดาฟัวร์ของซูดาน ซึ่งซูดานไม่ได้เป็นภาคีของไอซีซีเช่นเดียวกับไทย

ทั่วโลกหัวใจดวงเดียวกัน

ด้านนายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนบันทึกหลังอ่านรายงานของนายอัมสเตอร์ดัมว่า ไอซีซีจะรับฟ้องหรือไม่ก็มีประเด็นทางการเมืองที่สำคัญกว่า 3 ข้อคือ

ข้อแรก การกดดันไปที่ไอซีซีว่าจะตัดสินใจทำ อย่างไร อย่างน้อยก็ทำให้คดีพร้อมจะไต่สวนเบื้องต้นได้ทันทีหากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประช​าชาติจะอนุญาตให้ไอซีซีมีเขตอำนาจ (เหมือนซูดาน) แม้ประเทศไทยเส้นใหญ่มากก็ตาม แต่อย่างน้อยการกดดันให้ไอซีซีต้องเข้ามาตรวจสอบก่อนก็น่าจะเป็นการดีมาก

ข้อสอง เป็นรายงานที่มีการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไว้เสร็จหมดแล้ว หากไอซีซีไม่รับเพราะข้ออ้างไม่มีเขตอำนาจก็เป็นการผลักลูกบอลกลับไปที่รัฐบาลไทยต้อ​งให้สัตยาบันโดยเร็ว

ข้อสาม ประเด็นสังหารหมู่ถูกโหมกระพือไปทั่วโลก นับเป็นความชาญฉลาดของนายอัมสเตอร์ดัมที่เลือกญี่ปุ่นเป็นที่แถลงข่าว แต่ช่วยไม่ได้ รัฐบาลไทยดันไม่ฉลาด ไปห้ามนายอัมสเตอร์ดัมเข้าเมืองไทยเอง

นายปิยบุตรจึงให้จับตา 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ 1.รัฐบาลไทยและนายอภิสิทธิ์จะว่าอย่างไรกรณีเขตอำนาจศาลไอซีซีแบบ ratione personae แม้นายอภิสิทธิ์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษแล้ว แต่ก็ถือว่านายอัมสเตอร์ดัมเก็บความลับได้ดีมากก่อนจะเปิดเผยออกมา

2.ความรับผิดชอบของรัฐบาลไทยจะทำอย่างไร เงียบ ล็อบบี้สหรัฐอเมริกา ล็อบบี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือรัฐประหาร?

ไม่ว่านายอภิสิทธิ์และกองทัพจะพยายามปกปิดหรือบิดเบือนความจริงเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” อย่างไร แต่วันนี้หลักฐานต่างๆก็ถูกประจานไปทั่วโลกอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งสามารถอ่านและดาวน์โหลดข้อมูล วิดีโอเหตุการณ์ และถ้อยคำเบิกความของพยานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บได้อย่างละเอียดที่ http://www.thaiaccountability.org รวมถึงสำเนาคำฟ้องไอซีซีและเอกสารประกอบที่ http://www.robertam sterdam.com/Thailand

อย่างที่นายอัมสเตอร์ดัมแถลงว่า วันนี้ทั่วโลกมีหัวใจดวงเดียวกันที่จะสนับสนุนให้คนเสื้อแดงต่อสู้ต่อไป เพราะทั่วโลกได้รับรู้ถึงการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคดีที่ยื่นฟ้อง แต่เราก็ได้แสดงให้ทั่วโลกรับรู้ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์คือคนร้ายที่เข่นฆ่าประชาชน!

แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิดการสังหารหมู่ประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ โดยรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”

ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับฟ้องเป็นคดีหรือไม่ อีกไม่นานเกินรอคงได้คำตอบ แต่การเดินสายประจานฟ้อง (ศาล) โลกได้เริ่มต้นนับหนึ่งแล้ว!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 297 วันที่ 5 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน้า 16-17 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank...ws_id=9579

Free speech on trial in Thailand

Thai webmaster facing 50 years for lèse majesté postings

The trial of Chiranuch Premchaiporn, nicknamed Jiew, opened on Friday at Bangkok’s Criminal Court, the venue changed to Courtroom 701. A larger courtroom was needed due to an unprecedented number of observers from numerous Thai and foreign NGOs, local and international media, and foreign embassies.
Chiranuch is a founding signer to Freedom Against Censorship Thailand (FACT) and an activist with Thai Netizen Network.
The public prosecutor opened Thai government’s case against Chiranuch, webmaster of Thailand’s only independent news portal, Prachatai.com.
Chiranuch has been charged with ten violations of the country’s draconian and unconstitutional Computer Crimes Act which was the first law to be passed by Thailand’s military coup legislature in 2007. Each charge carries a sentence of five years in prison. However, Thailand’s Constitution carries specific protections for free expression which cannot be amended by any lesser law.
However, Chiranuch has not been charged for making such comments herself. Rather, she faces prison stemming from pseudonymous postings and comments to Prachatai’s public webboard in mid-2008, although she was not arrested until March 2009.
Chiranuch has been charged because it is alleged she failed to delete the lèse majesté comments quickly enough from Prachatai, allowing them to remain eleven days in total.
The morning session opened with the first prosecution witness, Aree Jivorarak, chief of Thailand’s Ministry of Information and Communication Technology’s IT Regulation Bureau. The chief judge, the prosecutor and the witness all spoke in subdued tones without amplification as the content of the postings were read aloud by the witness, nearly inaudible in the public gallery.
Repetition of lèse majesté by anyone is, of course, also lèse majesté and often courts are cleared of the public in such trials. In this case, we were not able to hear them anyway.
The witness seemed frequently confused by the questions posed by the prosecution who seemed on many occasions to lead or direct the MICT censor in his replies.
Thailand’s chief censor smiled and waved to Chiranuch in the dock whom he acknowledged he had consulted frequently and noted that she had always been cooperative and receptive in removing such comments from the Prachatai webboard. Aree also acknowledged that, during the period which is the subject of this trial, MICT had not informed the webmaster about the offending comments.
These charges also resulted in the closure of Prachatai’s public web forum in July 2010. Prachatai was the only forum where netizens could express an opinion on issues of the day. Now we have none.
The judges were all quite young and Chiranuch’s supporters had hope that they might have some Internet experience. However, questions from the bench were required of Aree as to the working definitions of URL, IP address, DNS and ISP. The youth of the judges and a single public prosecutor belied the serious weight Thai government gives to this case.
The afternoon session was given over to the defence bar, a team of three experienced human rights advocates. Even the judges laughed aloud when trial observers broke into spontaneous applause when the sound system was turned on so we could finally hear the proceedings.
Defence cross-examination elicited some surprising testimony from the government’s witness. The ICT ministry, for example, seemed unaware that Prachatai is governed by the directors of a foundation consisting of numerous prominent academics.
When questions were posed about who in government exactly decides content is illegal and what criteria are used to judge such content as lèse majesté, the witness became increasingly vague. Aree stated such decisions were made in committee from various ministries and the Royal Thai Police. However, he was unable not only to name the committee members or their specific agencies but was unsure of the agencies represented themselves.
Thailand’s chief censor also exhibited confusion over what content was considered ‘inappropriate’ and which content was clearly illegal by precise legal definition. Aree stated that there was little oversight over MICT’s censors who would know lèse majesté when they saw it!
There were numerous direct questions posed to the bureaucrat regarding the exact context of lèse majesté. Aree failed to reply to several of these defence questions and sat mute, with no direction the court to answer.
The MICT censor chief also questioned the intentions of the public participants in Prachatai’s web forum. Aree said he also found many of Prachatai’s news articles to be ‘inappropriate’ and solely intended to criticise Thai government.
The witness also relied overwhelmingly on presumption as all ten comments alleged to be defaming the monarchy were cast in indirect terms. He stated that any reader would know that reference to “the blue whale” would know the code for Her Majesty Queen Sirikit, whose Royal colour is blue. That any Thai would know “the blind father” referred to His Majesty King Bhumibol who is sight impaired from youth.
However, when Aree was shown ten pages of comments from Prachatai’s webboard and asked by the defence to mark those he considered lèse majesté, he marked only three items which were not disclosed by the court.
MICT’s bureaucrat also acknowledged that the ministry had tracked the posters of the pseudonymous comments to Prachatai by IP address but only one of them had been charged. This may well be the netizen acquitted last week.
Thailand’s Prime Minister Abhisit Vejjajiva met with members of the Thai Netizen Network in December 2009 and stated the Computer Crimes Act would never be used to suppress citizen media or free public expression.
He has commented publicly at least three times on the Prachatai case, stating the arrest of Chiranuch was the ‘most regrettable’ of his tenure, promising to look into the case and, finally expressing surprise the case against Chiranuch had not been dropped.
The government has had more than two years to drop these spurious charges. The prime minister lies. Under his administration, Thailand has chosen to make the Internet its enemy. We are the Internet generation and Thailand is making war on its people.
Thailand’s iLaw Foundation found in December 2010 that 185 people had been charged under the Computer Crimes Act in a four year period. Thai government is systematically using this law to arrest Thai netizens. Academic Dr. David Streckfuss estimates any lèse majesté charge carries a 98% conviction rate which has resulted in sentences up to 18 years. He estimates 172 such arrests in 2009 alone.
Furthermore, Thailand has blocked 425,296 web pages during the period of martial law April 7 to December 22, 2010 by emergency decree. Prachatai was among the first websites blocked. Not one of those websites has been unblocked since the expiration of emergency powers. iLaw estimates that this number is rising by approximately 690 new blocks per day.
The government plans to call 14 witnesses as does the defence. It is highly unlikely Chiranuch’s trial will be completed in the eight days allotted by the court.
Chiranuch’s case is a landmark for the climate of free expression in Thailand. What is decided by this court will determine whether we live in a democracy governed by human rights and civil liberties or whether we are governed by a military junta at their whim.
For further background see “Overview of Chiranuch’s free speech trial” athttp://facthai.wordpress.com/2011/02/04/overview-of-chiranuch’s-free-speech-trial-thai-netizen/.
Unfortunately, Chiranuch’s trial was not the only lèse majesté case starting trial in Bangkok’s Criminal Court today. NorPhorChorUSA webmaster Tantawut Taweewarodomkul, nicknamed Kenny, was also facing lèse majesté  charges under Thailand’s Computer Crimes Act as well as similar Criminal Code charges.
Kenny has been held without bail since April 2010. NorPhorChor is an acronym for the United Front for Democracy Against Dictatorship, commonly known as the Redshirts. The atmosphere in Courtroom 906 was far more serious.
If reason does not prevail in Thailand, we have no hope for freedom in our future.
The trials resume Tuesday, February 8, at Bangkok’s Criminal Court (San Aya), On Ratchadapisek Road opposite Soi 38, Lat Phrao MTR station. Chiranuch’s trial is in Courtroom 701 on February 8-10 and 11-17 and probably longer. Tantawut’s trial will continue in Courtroom 906.
WE URGE ALL READERS TO SPEND AT LEAST ONE MORNING OR AFTERNOON SESSION TO SUPPORT JIEW AND KENNY AND TO STAND UP FOR FREE SPEECH.
WE LOVE JIEW!  WE LOVE PRACHATAI!
FREE KENNY!

CJ Hinke
Freedom Against Censorship Thailand (FACT


สืบพยานคดี พ.ร.บ.คอมฯ ผอ.ประชาไท นัดแรก


จีรนุช เปรมชัยพร ผอ.ประชาไท ขึ้นศาลในการสืบพยาน ปากแรกไม่จบ นัดสืบต่ออังคารหน้า ศาลสั่งย้ายห้องพิจารณาเนื่องจากผู้สังเกตการณ์ไทย-เทศเข้าฟังกว่า 40 คน
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 701 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์สืบพยานโจทก์ปากแรก ในคดีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการและผู้ดูแลเว็บบอร์ดประชาไท เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 15 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เพราะไม่ได้ลบข้อความในเว็บบอร์ดที่เข้าข่ายขัดต่อกฎหมายดังกล่าว โดยทีมทนายจำเลยประกอบด้วยนายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ นายรัษฎา มนูรัษฎา และนายธีรพันธ์ พันธ์คีรี 
นายอารีย์ จิวรรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พยานโจทก์ปากแรก เบิกความถึงกรณีพบข้อความเข้าข่าย ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 จำนวน 10 กระทู้ทั้งจากการแจ้งโดยประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และหน่วยข่าวกรอง รวมถึงตรวจพบด้วยตนเอง และขั้นตอนในการดำเนินการปิดกั้นหน้าเว็บนั้นๆ ผ่านการขอความร่วมมือจากไอเอสพี ผู้ดูแลเว็บ จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลเพื่อขออำนาจศาล และทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป
ช่วงบ่าย นายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายจำเลยซักค้านถึงเกณฑ์การพิจารณาข้อความที่เข้าข่ายความผิดหมิ่นสถาบันฯ กระบวนการในการพิจารณา และการดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่โพสต์ข้อความเข้าข่ายหมิ่นสถาบันฯ ต่อมา เวลาประมาณ 16.00น. ศาลเห็นว่า ยังมีคำถามซักค้านอีกมาก จึงมีคำสั่งเลื่อนการสืบพยานโจทก์ไปเป็นวันที่ 8 ก.พ. เวลา 9.00-16.30 น. 
สำหรับบรรยากาศในการเข้าฟังการสืบพยาน มีเจ้าหน้าที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสถานทูตต่างประเทศส่งผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์พร้อมด้วยผู้แปลภาษากว่า 40 ราย ผู้พิพากษาจึงให้ย้ายห้องพิจารณาคดีจากห้อง 703 ไปที่ห้อง 701 ซึ่งเป็นห้องขนาดใหญ่กว่าแทน อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์มีปัญหาในการรับฟังการสืบพยานช่วงเช้า เนื่องจากไมโครโฟนเสียงเบา ทำให้ผู้ร่วมสังเกตการณ์ไม่ค่อยได้ยินเสียงการพิจารณาคดี จนกระทั่งช่วงบ่าย เมื่อทนายแจ้งแก่เจ้าหน้าที่จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ผู้สังเกตการณ์และผู้แปลภาษาส่วนใหญ่ยืนยันว่าจะมาฟังการพิจารณาคดีนัดต่อๆ ไปด้วย
*************
พยานโจทก์คดีคุณจีรานุช ให้การว่า คำที่ใช้ตามเว็บบอร์ด " ... " และ " ... " เป็น "รหัส-สัญลักษณ์" (code) หมายถึง ... และ
[Image: 0204-world-othai_full_600.jpg]

สำหรับท่านที่เขียนโดยใช้คำประเภทนี้ (ผมไม่เคยใช้) ควรจะทราบไว้นะครับ:

พยานโจทก์คดีคุณจีรานุช ให้การว่า คำที่ใช้ตามเว็บบอร์ด " ... " และ " ... " เป็น "รหัส-สัญลักษณ์" (code) หมายถึง ... และ ....

เผื่อใครจะสนใจ และยังไม่ทราบนะครับ เมื่อวันศกร์ที่ผ่านมา มีการสืบพยานโจทก์ปากแรกในคดีคุณจีรานุช เว็บมาสเตอร์ ประชาไท

รายงานของประชาไท ทีนี่ ไม่ละเอียดนะครับ
http://www.prachatai3.info/journal/2011/02/32955

ผมแนะนำให้อ่านรายงานโดยละเอียดว่า พยานโจกท์ ให้การว่าอะไรบ้าง โดยคุณ Hinke แห่งกลุ่ม FACT ทีนี่ (ขออภัยเป็นภาษาอังกฤษ เรื่องที่กำลังจะบอกนี้ แปลไม่ได้ ไม่ควรแปลนะครับ)
https://facthai.wordpress.com/2011/02/04...-thailand/

ที่ผมอยากดึงความสนใจ ให้ท่านที่ชอบเขียนตามเว็บบอร์ดคือ ย่อหน้าที่ 19 ทีเริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า

"The witness also relied overwhelmingly on presumption . . . . ."

คือพยานโจทก์ ซึ่งเป็นหัวหน้าดูแลเรื่องเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต ของ ICT บอกว่า คำ 2 คำ ที่ใช้กันตามเว็บบอร์ด "....." และ "......." หมายถึง ..... และ ....... (ซึงขอย้ำว่า ผมเองไม่เคยใช้ เพราะเข้าใจว่า ฝ่ายรัฐสามารถยกมาเป็นข้ออ้างในการฟ้องร้องได้ และ ในอดีต เคยมีศาลตัดสินในลักษณะที่ "ตีความ" บนพื้นฐานของการใช้คำแบบนี้มาแล้ว)


ขอความกรุณาว่า ในการแสดงความเห็นต่อท้าย อยาเอ่ยคำนี้ซ้ำนะครับ

ผมเรียนมาเพื่อให้ทุกท่านพิจารณากัน
พันธมิตร รับคำสั่งลับของใครมากระหน่ำประเทศ ?
http://www.internetfreedom.us/thread-12145.html


จากการติดตามข่าวสาร สถานการณ์การเมือง และปัญหาเขตแดนไทย-เขมร
ทำให้เกิดคำถามต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมือง และข้อเรียกร้องของพันธมิตร
ที่น่าเคลือบแคลง เพราะเป็นข้อเรียกร้องที่รัฐบาลใดก็ลำบากใจที่จะทำตาม
เป็นข้อเรียกร้องที่รู้อยู่แล้วว่า.....ทำไม่ได้
จนทำให้เกิดคำถามว่า.....
พันธมิตรและผู้่ที่อยู่เบื้องหลัง ใช้ข้อเรียกร้องนี้เพื่อป่วนรัฐบาลทุกรัฐบาลที่เขาต้องการทำลาย ใช่หรือไม่



ปัญหาเขตแดนมีหลักการแก้ไข (ง่าย ๆ) อยู่หลักการหนึ่งคือ
1. ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสองประเทศขึ้นมาพิจารณาตกลงกันเรื่องเขตแดนและปักปันเขตแด​น
ซึ่งได้ทำแล้ว คือมีการตั้งคณะกรรมการชื่อ "คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา" (Thai-Cambodian Joint Boundary Committee - JBC)
2. เขตแดนช่วงใดตกลงกันได้ ก็ปักปันเขตแดนกันไปตามที่ตกลง
3. เขตแดนช่วงใดยังตกลงกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเจรจากันกี่รอบก็ตกลงไม่ได้ เพราะถือแผนที่หรืออ้างอิงหลักฐานคนละชุด ก็ถือเป็นเขตพิเศษที่ควรเสนอให้เป็นเขตพัฒนาร่วมกันภายใต้การอำนวยการของคณะบริหารพื​้นที่ทับซ้อน หากมีรายได้หรือผลประโยชน์ใดก็แบ่งกัน จะทำโครงการหรือกิจการใดก็อยู่ที่การตัดสินใจของคณะบริหารพื้นที่ทับซ้อนนี้ ไปจนกว่าจะสามารถปักปันเขตแดนกันได้


หาไม่แล้ว...จะมีปัญหายิงกันตายห่าแบบนี้อย่างไม่รู้จบ และเป็นประเด็นที่ไอ้พวกอันธพาลการเมือง และมาเฟียการเมือง
เอามาเป็นข้อเรียกร้อง กระหน่ำรัฐบาลที่มันต้องการทำลายได้ทุกเมื่อ

ส่งตัวเชลยศึก

รายงานผลการประชุมระหว่างแม่ทัพไทย และกัมพูชา พร้อมภาพ เชลยศึก?ไทย
http://www.internetfreedom.us/thread-12065.htmlการประชุมได้จัดให้มีขึ้นที่ด่านพรมแดนช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 
ห่างจากจุดปะทะที่เขาพระวิหารประมาณ 50 กม.

เริ่มเมื่อเวลา 10:30 น.และสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 12:00 น.วันนี้ (5 กพ. 54)

ผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายไทย นำโดย 
พล.ท. ธวัชชัย สมุทรสาคร มทภ.2 และ พล.ต. ชวลิต ชุนประสาน ผบ.พล.ร6 ผบ.กกล.สุรนารี

ฝ่ายกัมพูชา นำโดย พล.ท. เจีย มอน ผบ.ภูมิภาคที่ 4 และ พล.ต. สะไร ดึ๊ก ผบ.พล3

พล.ต. สะไร ดึ๊ก ได้ให้สัมภาษณ์สรุปผลการประชุมดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดสร้างเส้นทางในพื้นที่พิพาท
2. การแก้ไขปัญหาเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดน
3. ทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดยิงและห้ามเคลื่อนย้ายกำลัง

(ดูเปรียบเทียบกับกระทู้ล่าง ที่ไอ้ ตอแหล แก้วกำเหนิด มันให้ข่าว)

ภาพระหว่างการประชุม
[Image: di-5129689211710.jpg]

พล.ท. ธวัชชัย สมุทรสาคร มทภ.2 ขวาสุด
[Image: di-1112968918151.jpg]

พล.ต. สะไร ดึ๊ก ซ้ายสุด พล.ท. เจียมอน ที่สองจากซ้าย
[Image: di-14129689184714.jpg]

ทหารพรานไทย ที่ถูกควบคุมตัว และส่งมอบให้ฝ่ายไทย
[Image: di-112968917886.jpg]