วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554


ความขัดแย้งระหว่าง "รัฐบาลจอมพล ป." และ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ"

การกลับเข้าสู่อำนาจของ จอมพล ป. พิบูลสงครามในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ นำไปสู่รูปแบบการปกครองที่เน้นความสำคัญของผู้นำ ซึ่งก็คือตัวท่านเอง (แต่น้อยกว่าช่วงแรกที่ปกครองประเทศ พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗) สิ่งที่จอมพล ป. พยายามกระทำตลอดยุคสมัยของเขาก็คือ การเคลื่อนย้ายบทบาทและอำนาจจากราชสำนักและพระมหากษัตริย์มาสู่ตัวเองในฐานะผู้นำ (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๔๗), น. ๔๙)
ซึ่งในทัศนะของ จอมพล ป. เองก็มิได้ให้ความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่าไรนัก พฤติกรรมช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗ ของ จอมพล ป. ที่กระทำต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของ จอมพล ป. อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพยายามควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือการยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือการงดจ่ายเงินรายปีเจ้านาย ๒๒ พระองค์

นอกจากนี้ สถานการณ์ในช่วงนั้นได้เอื้ออำนวยต่อเจตนาของจอมพล ป. เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร บทบาทของพระมหากษัตริย์จึงเว้นว่างหายไปนานถึง ๖ ปี นับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงการเสด็จนิวัติครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ระยะเวลา ๖ ปีดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้จอมพล ป. สามารถแสดงบทบาทผู้นำแต่ผู้เดียวในสังคมไทยได้อย่างโดดเด่น ส่งผลให้สถานะของพระมหากษัตริย์ต้องถูกบดบังลงไปอย่างมากตลอดช่วงเวลาดัง กล่าว และการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องดำเนินการผ่านคณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ทั้งสิ้น

แต่กระนั้น จอมพล ป. ก็ตระหนักถึงความสำคัญของพระมหากษัตริย์ และปรากฏว่ามีหลายต่อหลายครั้งที่จอมพล ป. ได้พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ จอมพล ป. ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารอ้างว่า การกระทำของตนคือ "การถวายพระราชอำนาจคืน" (ผ่านทางรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีบทบัญญัติขยายพระราชอำนาจให้กว้างขึ้น หลายมาตรา โดยเฉพาะพระราชอำนาจในการเพิกถอนรัฐมนตรี และพระราชอำนาจในการแต่งตั้งวุฒิสภา)

จอมพล ป. ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ว่า "รัฐประหารครั้งนี้ คณะทหารอยากเปลี่ยนรัฐบาล จะเพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์ให้มากขึ้น ท่านจะได้โอกาสช่วยดูแลบ้านเมือง" (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๘๓-๘๔)

นอกจากนั้น จอมพล ป. ยังได้กราบบังคมทุลอัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ผ่านทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ให้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาเยี่ยมราษฎรและถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๘ อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยงดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไว้ก่อน และทรงให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อรัฐบาลจอมพล ป.

วิธีการสร้างสถานะ "ผู้นำ" ของ จอมพล ป. อย่างหนึ่ง (ในหลาย ๆ อย่าง) ก็คือ การปลูกฝังอุดมการณ์ให้แก่ประชาชนว่า จอมพล ป. เป็น "บิดา" ของประชาชนด้วยการเปรียบเทียบจอมพล ป. กับ พ่อขุนรามคำแหง ท้ายสุด จอมพล ป. ยังได้อาศัยภาพลักษณ์ของการเป็นผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาโดยพฤตินัยมาเสริมสร้าง สถานะของตนด้วย (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, "การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ", น. ๑๑๖-๑๑๘)

ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและทรงห่วงใยสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ (ขณะนั้นทรงประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) โดยเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ทรงมีพระราชดำรัสทางโทรเลขเรียกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ (หนึ่งในองค์อภิรัฐมนตรี) ให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อทรงซักถามความเป็นไปของบ้านเมืองและทุกข์สุขของราษฎร โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงแถลงให้ประชาชนได้ทราบโดยทั่วกันว่า"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสซักถามความเป็นไปของราชการบ้านเมืองอย่างละเอียดถี่ถ้วน" (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๓๔)

สถานการณ์ทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ การเมืองเต็มไปด้วยความรุนแรง แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ (มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทน) สามารถจัดตั้ง "สภาร่างรัฐธรรมนูญ"ได้เป็นครั้งแรก (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, "ความเป็นมาของ ''ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข'' ในฐานะอุดมการณ์ราชการ", กรุงเทพธุรกิจ (๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๙)) ก่อนที่นายควงจะ "ถูกจี้" ออกจากตำแหน่ง
หลักการสำคัญของรัฐ ธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๙๒ ก็คือ การเพิ่มพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการมีส่วนร่วมบริหารบ้านเมืองมากขึ้น โดยเบื้องต้น จอมพล ป. และพรรคสหพรรคและพรรคประชาชน (ที่สนับสนุนเขา) ต่างก็คัดค้านบทบัญญัติที่สนับสนุนหลักการนั้น เช่น มาตรา ๒ ที่ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" (ที่ได้มีการบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเป็นการยกระดับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้น) หรือมาตรา ๕๙ ที่ว่า"กำลังทหารเป็นของชาติ อยู่ในบังคับบัญชาสูงสุดของพระมหากษัตริย์" หรือ การให้นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีต้องปฏิญาณตนต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ หรือการถวายสิทธิแก่พระมหากษัตริย์ในการยับยั้งร่างกฎหมายมากขึ้น แต่ในที่สุดฝ่ายคัดค้านก็ได้ยินยอมที่จะประนีประนอม และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในเดือนมีนาคม ๒๔๙๒ (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๑๙๑-๑๙๓)

ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้ง และคณะรัฐประหารได้นำรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ กลับมาใช้อีกครั้ง ส่งผลให้พระราชอำนาจหลายส่วนที่ทรงได้รับจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ ต้องหายไป

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสเด็จนิวัติกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูสถานะของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยอย่างจริงจัง อันจะนำไปสู่ "ความขัดแย้ง" ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในที่สุด

ในช่วงระยะแรก พระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างที่ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ อธิบายว่า "ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงไม่ทรงสามารถที่จะบริหารหรือมีพระราชอำนาจเหนือคณะรัฐบาล หรือกิจกรรมทางการเมืองทั่ว ๆ ไปได้" (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, "การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ", น. ๓๕๓)
ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว        เสด็จนิวัติเมืองไทยครั้งที่สองนั้น สถานการณ์ทางการเมืองในตอนนั้นไม่สู้ดีนัก บ้านเมืองเพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้งระหว่างทหารบก (สนับสนุนรัฐบาลของ จอมพล ป.) และทหารเรือ (สนับสนุนท่านปรีดี) ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน (อันเป็นจุดสิ้นสุดบทบาทกองทัพเรือในเมืองไทย) และในที่สุด จอมพล ป. ก็หมดความอดทนในความวุ่นวายของวุฒิสภาที่มีเสียงคัดค้านรัฐบาลอย่างหนาแน่น จอมพล ป. จึงตัดสินใจ "ยึดอำนาจตัวเอง"ทางวิทยุกระจายเสียง และตั้งคณะบริหารชั่วคราวในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วนำกลับมาใช้แทน
การนำรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม       กลับมาใช้นี่เอง ได้กลายเป็นความขัดแย้งครั้งแรกระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ จอมพล ป. เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย และพระองค์ได้ทรงพยายามขัดขวางแต่ก็ไร้ผล (Wilson, David A., ''Politics in Thailand'' (New York : Cornell University Press, 1962), p. 114)

หลังจากความพยายามของพระองค์ล้มเหลว พระองค์ก็หันมาเอาพระทัยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการประกาศใช้ โดยได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ("สยามรัฐ", ฉบับวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๔) และยังได้เสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวด้วยพระองค์เอง (พระบรมฉายาลักษณ์ด้านล่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ (ภาพจาก "๖๐ ปีรัฐสภาไทย", สำนักงานเลขาธิการสภา, ๒๕๓๕)

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้ นอกเหนือจากจะช่วยค้ำจุนอำนาจของจอมพล ป. แล้ว ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์หลายส่วนที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และเป็นการแก้ไขที่ช่วยส่งเสริมพระราชอำนาจเพื่อ "คานอำนาจ" ทางการเมือง คือ มาตรา ๔ ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" (นับ เป็นบทบัญญัติที่ประกาศใช้เป็นครั้งแรก) และยังเพิ่มพระราชอำนาจให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องของการสถาปนา ฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามมาตรา ๑๐ นอกจากนี้ ในมาตรา ๑๑ ถึงมาตรา ๒๐ ยังมีการบัญญัติเกี่ยวกับคณะองคมนตรี และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และท้ายสุด ได้บัญญัติถึงขั้นตอนหรือวิธีการสืบราชสมบัติไว้ในมาตรา ๒๕ เป็นฉบับแรกอีกด้วย
  
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มต้นการเสด็จพระราชดำเนินประพาสเป็นการส่วนพระองค์ยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรเกือบทุกจังหวัด และทรงได้รับการต้อนรับจากประชาชนในภาคนี้อย่างกระตือรือร้นมาก ส่งผลให้รัฐบาลจอมพล ป. มีความวิตกกังวลในความนิยมชมชอบที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับจาก ประชาชนมาก และได้ปฏิเสธที่จะให้งบประมาณเพื่อการเสด็จพระพาสภายในประเทศอีก (Wilson, David A., ''Politics in Thailand'' (New York : Cornell University Press, 1962), p. 114)
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลจอมพล ป. ทำให้การเสด็จพระราชดำเนินประพาสของพระองค์ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐ จำกัดอยู่แต่เฉพาะจังหวัดในภาคกลางเท่านั้น และ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงริเริ่มโครงการพระราชดำริ ซึ่ง ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ เรียกว่า เป็นโครงการพระราชดำริยุค "ก่อกำเนิด" การริเริ่มโครงการพระราชดำริในระยะแรกก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับการเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างจังหวัด กล่าวคือ การไม่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลจอมพล ป. แต่อย่างใด ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเครื่องมือ ทรัพยากร และเงินทุน โครงการพระราชดำริระยะแรกจึงมีแต่เฉพาะกรุงเทพฯ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", น. ๕๓)
โครงการ พระราชดำริระยะแรก ได้แก่ โครงการปลาพระราชทาน การมอบทุนอานันทมหิดล โครงการก่อสร้างถนนแก่หมู่บ้านห้วยมงคล ต.หินเหล็กไฟ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โครงการป่าละอู โครงการฝนหลวง เป็นต้น
เนื่องจากในระยะแรกมิได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลเท่าที่ควร การดำเนินงานในชั้นต้นจึงต้องอาศัยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นสำคัญจนกว่า โครงการนั้น ๆ จะได้รับการบรรจุเข้าสู่ระบบของหน่วยงานราชการที่รับสนองพระราชดำริ ตรงนี้มีข้อสังเกตว่า การสนองพระราชดำริของหน่วยราชการยุคนี้ จะใช้เวลาในการสนองพระราชดำริยาวนานกว่าในยุคต่อ ๆ มา (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", น. ๖๔)
การเสด็จพระราชดำเนินประพาส รวมถึง        การริเริ่มโครงการพระราชดำริทั้งหลาย ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความนิยมและชื่นชอบ และความเคารพสักการะในหมู่ประชาชนชาวไทยอย่างมาก การเสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดต่าง ๆ ล้วนได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติทุกจังหวัดที่ได้เสด็จต่างจัดเตรียม รับเสด็จอย่างวิจิตรตระการตา ประชาชนต่างเฝ้าคอยรับเสด็จอย่างล้นหลาม และเสียงถวายพระพรดังเอิกเกริกไปทั่วบริเวณ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว และกลับคืนสู่ความมั่นคงอีกครั้ง

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ การจัดตั้งวิทยุกระจายเสียงส่วนพระองค์ (สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต) และการจัดทำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยนำเสนอพระราชกรณียกิจของพระองค์ ท่ามกลางสภาพการณ์รัฐบาลที่ยึดกุมพื้นที่สื่อต่าง ๆ อย่างเบ็ดเสร็จ (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", น. ๖๕-๖๖)

แม้ว่าพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจะมีความมั่นคงมากขึ้น และบทบาทของพระองค์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับพระบารมีของพระองค์ ทว่า ความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับจอมพล ป. ก็ยังไม่ยุติลง ลึก ๆ แล้ว จอมพล ป. ไม่พอใจ และไม่ต้องการสนับสนุนพระราชกรณียกิจ ตลอดจนการแสดงบทบาทของพระองค์ในสังคม แต่ความไม่พอใจและความขัดแย้งดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๘ ก็ยังไม่มีความรุนแรง และไม่เป็นที่เด่นชัดในหมู่ประชาชนเท่าไรนัก แต่สถานการณ์ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐ และท้ายที่สุด ได้เป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ "จุดจบอย่างถาวร" ของ จอมพล ป. เอง
วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ อันเป็นวัน         กองทัพไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บรรดาทหารทั้งหลายของพระองค์ตอนหนึ่งว่า "... เมื่อทหารมีไว้สำหรับประเทศชาติ ทหารต้องเป็นของประเทศชาติ หาใช่ของบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยเฉพาะไม่...ผู้ บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องปกครองทหารในทางที่ชอบที่ควร โดยระลึกถึงความเที่ยงธรรม และหน้าที่อันมีเกียรติของทหาร ทั้งนี้ เพราะทหารได้รับเกียรติและเอกสิทธิ์เป็นผู้กุมอาวุธและกำลังรบของประเทศ เป็นที่เคารพเกรงขามในหมู่ชนทั่วไป ทหารจึงต้องปฏิบัติให้สมกับที่ตนได้รับความไว้วางใจ ไม่ควรไปทำหรือเกี่ยวข้องในกิจการที่มิใช่อยู่ในหน้าที่โดยเฉพาะของตน เช่น ไปเล่นการเมือง ดังนี้เป็นต้น การกระทำเช่นนั้นจะทำให้บุคคลเสื่อมความเชื่อถือในทหารโดยเข้าใจว่า เอาอิทธิพลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เวลานี้สภาพการณ์ทั่วโลกยังไม่อยู่ในระดับปกติ ความจำเป็นและสำคัญของทหารย่อมมีมากขึ้น ทหารจึงควรรักษาวินัยโดยเคร่งครัด ประพฤติตนให้เที่ยงธรรม ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ภายในขอบเขตของตนโดยเฉพาะ เพื่อเป็นที่พึ่งที่เคารพของประชาชนโดยทั่วไป.." (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๑๖๑-๑๖๓)

  
พระบรมราโชวาทข้างต้นส่งผลกระทบต่อตัวจอมพล ป. โดยตรง ทำให้ในอีกไม่กี่วันต่อมา จอมพล ป. ได้ออกมาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในลักษณะแก้ข่าวว่า "ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเช่นนั้นเป็นการถูกต้องตามหลักการ แต่พระองค์ท่านคงจะไม่ได้หมายความว่า การที่ทหารเข้าเล่นการเมืองในขณะนี้เป็นการไม่สมควร แต่คงหมายถึงการไปกระทำการที่ต้องผิดกฎหมาย แต่ขณะนี้ทหารก็มิได้กระทำผิดอะไร คงปฏิบัติไปตามกฎหมายทุกประการ" ("ประชาธิปไตย" ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ฉบับพิเศษ)
แต่ความเคลื่อนไหวจากฝ่ายรัฐบาลยังไม่จบ เพราะในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน ดร.หยุด แสงอุทัย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในขณะนั้น ได้วิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านทางวิทยุกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ (ในการบรรยายเรื่อง อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย) โดยส่วนหนึ่งของคำบรรยาย ความว่า "... องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดที่เป็นปัญหา หรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราช โองการ..." (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๑๖๖)

ถ้อยแถลงของ ดร.หยุด ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจในสังคมอย่างกว้างขวางว่าเป็นการ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" หนังสือพิมพ์ในขณะนั้นได้ลงบทความโจมตีพฤติกรรมของ ดร.หยุด อย่างต่อเนื่อง ดร.หยุด ได้ยืนยันว่าถ้อยแถลงของตนเป็นไปตามหลักวิชาการ และกระแสโจมตี ได้มีการพาดพิงไปถึงจอมพล ป. ด้วย โดยกระแสความไม่พอใจจอมพล ป. มีมากขึ้นหลังจากที่จอมพล ป. ได้ออกมาปกป้องการกระทำของ ดร.หยุด ด้วยการแสดงความเห็นว่า การกระทำของ ดร.หยุด นั้น ไม่มีความผิด ในเวลาต่อมา ดร.หยุด ได้ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่จอมพล ป. ออกมาปกป้องตนด้วยการยกตัวอย่างว่า "สมมติว่าคุณเลี้ยงหมาไว้ตัวหนึ่ง มีคนเข้ามาเตะหมาของคุณ คุณเป็นเจ้าของ คุณจะไม่ป้องกันหมาของคุณหรือ?" (บทความ "ดร.หยุด แสงอุทัย ไปอาบน้ำมนต์ล้างซวย" ใน ปรชาธิปไตย ฉบับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙)

ขณะที่นายควง (อภัยวงศ์) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "... จอมพลยิ่งผิดใหญ่ทีเดียว เพราะหากที่ ดร.หยุด พูดไปเป็นการหมิ่นในหลวง และจอมพล ป. ก็เป็นรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จอมพล ป. ก็ผิดเต็มประตู..." ("ประชาธิปไตย" ฉบับวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙)

แต่ในที่สุดเรื่องนี้ก็จางหายไป เหลือไว้แต่ความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อ จอมพล ป.

ความขัดแย้งยังคงมีอยู่ในการทรงพระผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการแก่คณะรัฐบาลทราบว่า พระองค์จะทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๑๕ วัน เพื่อเป็นไปตามพระราชประเพณี และสนองพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยม

จอมพล ป. จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๑๓ กันยายนปีเดียวกัน เพื่อขอความเห็นชอบในการแต่งตั้ง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ต่อมาในวันที่ ๑๘ กันยายน จอมพล ป. ก็ต้องเปลี่ยนแปลงมติใหม่ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระราชพิธีทรงพระผนวชมีขึ้นในวันที่ ๒๒           ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แม้ว่าพระราชพิธีจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย (โดยมีรัฐบาลของจอมพล ป. เป็นผู้ตระเตรียมพิธี) แต่จอมพล ป. ก็ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ให้ความสำคัญกับพระราชพิธี เนื่องจากรัฐบาลยอมให้ปล่อยตัวนักโทษทั่วประเทศถึง ๓,๐๐๐ คน ตามราชประเพณี แต่ปฏิเสธไม่ยอมปล่อยนักโทษการเมือง โดยให้เหตุผลว่า จะยอมปล่อยนักโทษการเมืองก็เฉพาะในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษที่จะจัดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เท่านั้น (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๒๙๒)

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษถูกจัดขึ้น ซึ่งเป็นความพยายามของ จอมพล ป. ที่จะเชิดชูและสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของตน โดยอาศัยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชน ทว่า ความพยายามของจอมพล ป. ก็ได้นำมาซึ่งความขัดแย้งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชน

เรื่องนี้สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕ ที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น ระบุให้มีสภาเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร อันประกอบด้วยสมาชิกประเภทที่ ๑ จำนวน ๑๖๐ คน (จากการเลือกตั้งโดยประชาชน) กับสมาชิกประเภทที่ ๒ จำนวน ๑๒๓ คน (จากการแต่งตั้ง)
สมาชิกประเภทที่ ๒ นี้จึงเป็นผู้ค้ำจุนเสถียรภาพ              ของรัฐบาลจอมพล ป. ในสภาได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีกระแสต่อต้านการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ อย่างรุนแรง จน พ.ศ. ๒๔๙๙ ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไป พรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. มีมติว่า จะไม่เสนอแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ เพิ่มเติมอีก ซึ่งจะทำให้สมาชิกประเภทที่ ๒ นี้ค่อย ๆ ลดลงไปเอง (ไม่ว่าจะเป็นการลาออก หรือตาย หรือฯลฯ) แต่ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาปรากฏว่า พรรคเสรีมนังคศิลาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาเป็นจำนวนน้อยเกินไป จอมพล ป. จึงจำเป็นต้องหันมาพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ เพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อค้ำจุนเสถียรภาพของรัฐบาลไว้ (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๒๙๔)
เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐ จอมพล ป. ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายนามผู้ที่สมควรจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ จำนวนทั้งสิ้น ๓๗ นาย ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง โดยในเบื้องต้นจอมพล ป. ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายนามไปก่อน ๑๓ คน

ผลปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว          ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อใหม่ เนื่องจากได้ทรงพิจารณาเห็นว่า ในจำนวน ๑๓ คนนี้ มี ๒ คน ที่มีปัญหาคือ นายเลื่อน พงษ์โสภณ ที่เพิ่งจะพ่ายแพ้การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ การแต่งตั้งนายเลื่อนเป็นสมาชิกประเภทที่ ๒ จึงอาจขัดต่อความต้องการของประชาชน คนที่สองคือ นายกมล พหลโยธิน เนื่องจากเป็นข้าราชการประจำอยู่ จึงไม่ควรดำรงตำแหน่งทางการเมือง

พระราชกระแสรับสั่งข้างต้นถือได้ว่าเป็นการ "วีโต้" (Veto) รัฐบาลอย่างเด่นชัด
เมื่อถูก "วีโต้" จอม พล ป. จึงได้ทูลเกล้าฯ เสนอรายชื่อให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยใหม่ ทว่าคราวนี้จอมพล ป. ได้เสนอรายชื่อทั้งหมด ๓๗ คนในคราวเดียวเลย ซึ่งหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ก็จะทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๒ มีจำนวนเท่ากันในทันที

แต่พระองค์ก็ทรง "วีโต้" อีกครั้ง โดย              มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่มีพระราชกระแสรับสั่งให้แยกรายชื่อเป็นส่วนที่พระองค์พร้อมจะทรงลงพระ ปรมาภิไธยแต่งตั้ง กับส่วนที่พระองค์ทรงปฏิเสธไม่ลงพระปรมาภิไธยจำนวน ๒๔ คน ทั้งยังทรงเห็นว่า การแต่งตั้งดังกล่าว จะทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖๐ คน ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ให้มีได้เพียง ๑๒๓ คนเท่านั้น
จอมพล ป. เมื่อได้รับพระราชกระแสรับสั่งเช่นนี้ จึงได้เรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งแน่นอน มี ดร.หยุด รวมอยู่ด้วย ที่ประชุมเห็นว่า พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะแต่งตั้งได้ตามรัฐธรรมนูญ เมื่อเห็นเช่นนี้ จอมพล ป. จึงชวน จอมพลสฤษดิ์ จอมพลผิน และพลตำรวจเอกเผ่า ไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร่วมกับตน แต่ก็ถูกคัดค้านว่าเป็นการ "บีบบังคับ" พระองค์มากจนเกินไป จอมพล ป. จึงต้องเข้าเฝ้าฯ แต่โดยลำพังในวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐

ในการเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว              ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งยืนยันถึงความไม่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญ หากจะแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ เป็นจำนวนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ทั้งยังทรงมีพระราชกระแสรับสั่งอีกว่า ถ้าพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับว่า พระองค์ทรงบีบบังคับศาลให้เห็นคล้อยตามพระบรมราชโองการแต่งตั้งของพระองค์ (เนื่องจากในช่วงเดียว กันนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และพวก ได้ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้พิพากษาว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๒ เป็นจำนวนเท่ากัน ซึ่งต่อมาในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ปีเดียวกัน ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นไปโดยชอบแล้ว พร้อมทั้งมีคำวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ จะต้องมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๒๓ คน โดยเด็ดขาดตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ซึ่งถือว่าเป็นคำวินิจฉัยที่สอดคล้องกับพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และขัดแย้งต่อเจตนาของจอมพล ป. ที่ต้องการจะแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ ให้มีจำนวน ๑๖๐ คน)
อย่างไรก็ตาม หลังการเข้าเฝ้า และ                  หลังจากมีคำพิพากษาศาลฎีกา จอมพล ป. ก็ยังเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีและที่ปรึกษากฎหมายอีก เพื่อหาช่องทางแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ เพิ่มเป็น ๑๖๐ คน ซึ่งได้ทางออกว่า เรื่องดังกล่าวควรให้สภาเป็นผู้วินิจฉัย เพราะเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการตีความรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ศาลฎีกา แต่ท้ายที่สุด จอมพล ป. ก็ยอมเลิกล้มความพยายามในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าไม่สมควร ประกอบกับมติมหาชนที่ไม่เห็นด้วย และพระราชหัตถเลขาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแนะนำให้รัฐบาลเลิกล้มความพยายามในเรื่องดังกล่าวเสีย (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", น... ๒๙๔)

ถัดจากนั้นในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ พรรคฝ่ายค้านในสภาได้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติต่อรัฐบาลจอมพล ป. ประเด็นสำคัญก็คือ เรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ จนเกิดการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นในประเทศ
  
นายพีร์ บุนนาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน (พรรคสหภูมิ) ได้อภิปรายในนามของพรรคตอนหนึ่งว่า "... ในการประชุมสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลา ณ ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลาบ่ายโมงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ นี่ผมก็ได้มาจากในพรรคของท่านเอง ซึ่งประชุมก่อนที่ประชุมเฉพาะ ส.ส. บางนายประเภท ๑ เขาบอกว่า ฯพณฯ พลตำรวจเอกเผ่า นี่น่ะ รัฐมนตรีมหาดไทยได้แจ้งให้ที่ประชุม ต่อหน้าจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ว่าได้ทราบโดยมีหลักฐานแน่นอนว่า ทันโทษครับ ในหลวงองค์ปัจจุบันได้ทรงมอบเงิน ๗ แสนบาทให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายควง อภัยวงศ์ พรรคประชาธิปไตย นี่ข่าวมันออกมาอย่างนี้..."
  
พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภา ได้กล่าวทักท้วงนายพีร์ขึ้นมาทันทีว่า เป็นการกล่าวที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ติดตามมาด้วยการทักท้วงของจอมพลอากาศฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี แต่นายพีร์ก็ยังกล่าวอภิปรายต่อไป โดยกล่าวว่า "เขาบอกว่าอย่างนี้ครับ บอกว่า ฯพณฯ รัฐมนตรีมหาดไทย พลตำรวจเอกเผ่า เสนอให้มีการจับกุมองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรัฐมนตรีบางคน" (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๒๑๓)
นายพีร์ถูกทักท้วงอีกครั้งโดยพลเอกพระประจนปัจจนึก และพลเอกพระประจนปัจจนึกก็ขอให้นายพีร์ถอนคำพูดดังกล่าว ซึ่งท้ายที่สุด นายพีร์ก็ยอมถอนคำพูด แต่ปรากฏว่าคำพูดของนายพีร์ได้กลายเป็นหัวข้อใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ประชาชนต่างพากันกล่าวถึงถ้อยแถลงดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลจอม พล ป. (ซึ่งแต่เดิมก็มีภาพลักษณ์ของความขัดแย้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ สั่งสมมานานอยู่แล้ว) การกล่าวหาของนายพีร์ครั้งนี้สั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม

หลังการปิดอภิปรายทั่วไปใน วันที่ ๓๐ สิงหาคม         พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลจอมพล ป. ก็เข้าถึงเวลาสุดท้าย ด้วยกระแสความไม่พอใจของประชาชนในตัวจอมพล ป. และพลตำรวจเอกเผ่า ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมาเป็นเวลายาวนาน รวมถึงความขัดแย้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย ส่งผลให้ประชาชนเรียกร้องให้ฝ่ายทหารที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ เข้ามากอบกู้สถานการณ์บ้านเมือง


และในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะรัฐประหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. ส่งผลให้จอมพล ป. และพลตำรวจเอกเผ่า ต้องหมดบทบาททางการเมืองลงอย่างถาวร และลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศจนวาระสุดท้ายของชีวิต
(เรื่อง และภาพ ประกอบจากหนังสือ "พระ              ผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย: ๖๐ ปีสิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย", เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยะรรมศาสตร์, หนังสือทางวิชาการ จัดพิมพ์ขึ้นในวาระแห่งการเฉลิมฉลองการสถาปนาครบรอบ ๗๒ ปี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนธันวาคม ๒๕๔๙)


โดย ::: คุณ วศินสุข
http://redusala.blogspot.com

''พงศ์เทพ'' เตือนกลุ่มจ้องรัฐประหาร ขืนทำประชาชนรุกฮือแน่

"พงศ์เทพ เทพกาญจนา" เผยสนับสนุนแนวคิดของกลุ่มนิติราษฎร์ เน้นแก้ไขกฎหมายป้องกันกลุ่มปฏิวัติยึดอำนาจซ้ำซาก ลั่นหากแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่เพื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" แต่ทำให้ประชาชน ย้ำหากใครคิดจะรัฐประหาร จะได้บทเรียนจากสังคมไปชั่วชีวิต...

วันนี้ 19 ก.ย. ที่พรรคเพื่อไทย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ได้กล่าวก่อนการเป็นวิทยากรในงานเสวนาบทเรียนรัฐประหาร 19 กันยา ศึกษาอดีต ร่วมสร้างอนาคต ว่า ต้องยอมรับ 5 ปีที่ผ่านมาหลังจากการทำรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย.2549 ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมไทยมากเหลือเกิน และเกิดกระบวนการละเมิดหลักนิติธรรม มีการใช้คำสั่งของคณะปฏิรูปฯ ไปในทางที่ไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ทำให้เกิดผลพวงต่าง ๆ ดังนั้น ผู้ที่รักในความถูกต้องจึงไม่มีใครเห็นชอบ เช่น กลุ่มนิติราษฎร์ก็ได้มีการเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จะทำให้ประเทศไทยมีแนวทางในการใช้กฎหมายเกี่ยวกับกรณีที่ใครจะมายึดอำนาจ ใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในแง่ของระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากที่ผ่านมาหากไปยึดตามแนวทางศาลฎีกาตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 ที่บอกว่าใครยึดอำนาจได้ก็สามารถทำอะไรก็ได้นั้น ได้ก่อให้เกิดผลเสียเชิงกฎหมาย มิหนำซ้ำยังก่อให้เกิดการปฏิวัติซ้ำซากมาตลอด

"ดังนั้น ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ประกอบกับเป็นการแก้การใช้กฎหมายโดยอำนาจของคณะรัฐประหารไม่ให้เกิดผล แต่ในทางกลับกันก็ไม่ได้บอกว่าหากใครทำผิดก็จะไม่ถูกดำเนินคดีมันไม่ใช่ ใครที่ทำผิดกฎหมายก่อนการยึดอำนาจ ก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ใช้ระบอบประชาธิปไตยจัดการกับคนเหล่านั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ผมคิดว่ามีเหตุผล" นายพงศ์เทพกล่าว

ส่วนการแก้ไข รัฐธรรมนูญนั้น นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ถ้าใช้หลักการที่ไม่ยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหารก็คงไม่มีปัญหา จะเขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้ เมื่อศาลผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายไม่ยอมรับในการใช้อำนาจ แต่ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมา ได้เกิดผลพวงจากการปฏิวัติยึดอำนาจอยู่หลายประการ ทั้งในแง่ตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ รวมทั้งบุคลากรที่ทำงานอยู่ในองค์กรต่างๆ ทางคณะปฏิรูปได้แต่งตั้งเอา พวกนี้จึงเป็นเหมือนของเสียที่ถูกทิ้งเอาไว้

"ปัญหาอยู่ที่ประเทศไทย จะทำอย่างไรก็ของเหล่านี้ ส่วนหนึ่งคิดว่ารัฐธรรมนูญก็คงชัดเจน เพราะรัฐบาลชุดก็ประกาศจะแต่งตั้งบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ที่เกิดจากชุดปฏิวัติ ดังนั้นเราจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่มาจากประชาชนจริง ๆ" นายพงศ์เทพกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าการแก้กฎหมายในช่วงคณะปฏิวัติ อาจทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับผลประโยชน์ หรืออาจทำให้คนๆ เดียวหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า คงไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจของคณะปฏิวัติ แต่มันอยู่ที่หลักการ โดยเฉพาะการใช้กฎหมาย สมควรหรือไม่ที่จะให้ใครมายึดอำนาจแล้วออกกฎหมายอะไรก็ได้ มันไม่มีใครยอมรับถึงการจะให้คนไม่กี่คนมายืนถือปืนยึดอำนาจแล้วมาตั้งกลไก ออกกฎหมายต่างๆ ทำอะไรก็ได้ และขอถามว่าผลเสียแก่ประเทศไทยการปล่อยให้ใช้อำนาจอย่างนั้นกับการที่ยึด หลักกฎหมายที่ถูกต้องแบบไหนดีกว่ากัน

"ยกตัวอย่างกลไกที่กลุ่มนิติ ราษฎร์เสนอใครที่ทำความผิดตามกฎหมายเดิมที่มีก่อนการยึดอำนาจ ไม่พ้นผิด ถ้าทำผิดจริง ก็ใช้องค์กรยุติธรรมดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจก็ดี หรือองค์ที่ไม่ได้แต่งตั้งโดย คมช. ก็ให้เข้าทำเรื่องให้อัยการส่งศาลพิจารณาต่อไป" นายพงศ์เทพกล่าว

ทั้ง นี้ นายพงศ์เทพ ยังกล่าวต่อว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่ถูกดำเนินการที่ไม่ใช่กระบวนการปกติ ก็ควรได้รับการปฏิบัติให้ถูกต้องเหมือนกัน ความจริงตั้งแต่ช่วงพฤษภาทมิฬ หลายคนก็อาจคิดว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารในประเทศอีกแล้ว แต่ก็เกิดขึ้นในปี 2549 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นมันก็สามารถทำได้ แต่ความรู้สึกของประชาชนเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่มีใครเห็นด้วยกับการปฏิวัติอีก แล้ว และก็เชื่อว่าหากใครคิดจะทำอีก ก็คงต้องรับบทเรียนจากประชาชนที่จะต้องจดจำไปทั้งชีวิต

"โอกาสมีหรือ ไม่มีอยู่ที่คนคิดจะทำ แต่ประชาชนจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการปฏิวัติได้ก่อผลเสียให้กับประเทศ แต่มีคนที่ได้รับผลประโชน์เพียงไม่กี่คน" นายพงศ์เทพกล่าว

นอกจากนี้ ในงานเสวนายังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงอาทิ นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายชูศักดิ์ ศิรินิล สมาชิกบ้านเลขที่ 111 นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยสมาชิกของพรรค และประชาชนที่สนใจ เดินทางมารับฟังการบรรยายในครั้งนี้.
http://redusala.blogspot.com

นิติราษฎร์เปิดทุกประเด็น กรณีเสนอความเห็น 4 ข้อ (25-9-54)








ข่าวเพิ่มเติม 

          วันที่ 25 ก.ย. จากการที่คณะนิติราษฎร์ ได้จัดแถลงข้อเสนอทางวิชาการ "5 ปี รัฐประหาร 1 ปี นิติราษฎร์" เมื่อวันอาทิตย์ที่18ก.ย.ที่ผ่านมา แล้วมีคำวิจารณ์ที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ จนสร้างความเข้าใจผิดแก่สาธารณะชน  โดยเฉพาะการออกมาให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์  ถึงประเด็นการลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นั้น 

          นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในอาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า การออกมาให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวร เป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจอะไรเลย โดยเฉพาะการออกมาบอกว่า เป็นการทำเพื่อคนคนเดียว ส่วนการที่ตนได้เชิญนายอภิสิทธิ์ มาร่วมการซักถามในเวทีแถลงข่าวของคณะนิติราษฎร์ ก็เพื่อให้มาซักถามในเรื่องที่ไม่เข้าใจเท่านั้นเอง ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใด แต่ต้องการอธิบายให้ฟังว่า เป็นเรื่องคนคนเดียวหรือไม่ ทำไมต้องล้มล้างคำพิพากษา มีการล้างผิดหรือไม่ หรือแม้กระทั่งคนที่ทำการรัฐประหารสามารถนำมาลงโทษได้หรือไม่ ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการท้ามาดีเบตด้วย เพราะไม่มีอะไรต้องดีเบต

           "ส่วนตัวแล้ว ไม่ได้ต้องการท้าตีท้าต่อย เพราะเป็นคนสอนหนังสือ มีหน้าที่สอนและนำเสนองานทางวิชาการ ไม่ต้องการความนิยม ขณะเดียวกัน ก็ไม่อยากเป็นนักการเมืองตามที่ถูกท้าเข้ามาด้วย ซึ่งหลังจากนี้ก็ไม่แน่ หากถูกบีบมากเข้า ก็อาจจะไปตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ถ้าตนคิดแบบเด็กๆ ก็จะท้าให้นายอภิสิทธิ์ ลาออกจากนักการเมือง แล้วไปเรียนหนังสือให้เข้าใจ ให้รู้เรื่องมากกว่านี้ แล้วค่อยมาเถียงกัน ซึ่งตนก็ยังแปลกใจด้วยว่า ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงเดือดร้อนกับข้อเสนอนี้  ทั้งที่ข้อเสนอนี้เป็นการเปิดทางไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในนิติรัฐ มากกว่านั้น ตนก็ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่จะทำเพื่อคนคนเดียว" นายวรเจตน์ กล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316946179&grpid=03&catid=&subcatid

ข้อแสดงความเห็นของคุณ ลูกชาวนาไทย
ข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ คือการรุกทางอุดมการณ์ที่รุนแรงมาก
« เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:32:20 PM » 
--------------------------------------------------------------------------------
        ข้อเสนอให้ล้มล้างผลการกระทำของคณะรัฐประหาร ของคณะนิติราษฎร์นั้น ผมคิดว่าส่งผลสะเทือนต่อความมั่นคงทางอำนาจของฝ่ายอำมาตย์อย่างรุนแรง เป็นการรุกเข้าไปในปริมลฑลทางอุดมการณ์อย่างเต็มที่ และคาดว่าจะส่งผลสะเทือนต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน

        เพราะอย่างน้อยฝ่ายประชาธิปไตยก็มีอาวุธทางอุดมการณ์ด้านกฎหมายที่จะแก้ไขสิ่งที่พวกอำมาตย์ได้ทำมาแล้ว ข้อเสนอจะได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับจากฝ่ายอำมาตย์หรือไม่นั้น ผมคิดว่าไม่สำคัญ เพราะตอนนี้มันเท่ากับได้รับการยอมรับจากฝ่ายประชาธิปไตยแล้ว และวันใดที่ฝ่ายประชาธิปไตยสถาปนาอำนาจได้อย่างมั่นคง (วันนี้ก็มั่นคงมากแล้ว) การดำเนินการตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้  อาจยังเป็นไปไม่ได้ใน พ.ศ.2554 แต่ 2555 หรือปีต่อ ๆ ไปนั้นไม่แน่ เพราะตอนนี้ฝ่ายประชาชนยึดกุมจำนวนเสียงในสภาที่ชนะอยู่แล้ว การแก้ไขโครงสร้างทางกฎหมายก็คงไม่ใช่เรื่องยากอะไร

        ในเมื่อมีข้อเสนอทางวิชาการ ที่มีน้ำหนัก และไม่ใช่การเสนอลอยๆ แต่เป็นการเสนอมีตัวอย่างการดำเนินการในประเทศอื่นๆ ประกอบ มันย่อมมีน้ำหนักทางวิชาการอย่างเต็มที่ การดำเนินการตามข้อเสนอทางวิชาการที่มีน้ำหนัก ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ยากนัก

        วันนี้การต่อต้านด้วยการบิดเบือนข้อเสนอ โปรประกันดาว่าช่วยคนๆ เดียวไม่มีความหมายอะไรมากนัก เพราะคนส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาลนี้มา ไม่ได้แคร์กับประเด็นการช่วยเหลือทักษิณ ยิ่งช่วยยิ่งดี แต่หากทำอะไรที่เป็นหลักการ มีน้ำหนักทางวิชาการ ยิ่งดีมากยิ่งขึ้น

        วันนี้ผมถือว่าการรุกของคณะนิติราษฎร์นี้ "สำเร็จในทางวิชาการ" ไปแล้วครับ มีคนสนใจมาก การตอบโต้ทางวิชาการไม่มี มีแต่การบิดเบือน ซึ่งยุคนี้สื่อมีหลายช่องทาง การบิดเบือนย่อมไม่บรรลุผล

ลูกชาวนาไทย
http://redusala.blogspot.com

ระบอบทักษิณกับ รัฐประหาร อะไรเลวกว่ากัน
ตอบ : ตรรกะ หรือทฤษฎีแนวคิด "ระบอบทักษิณกับ รัฐประหาร อะไรเลวกว่ากัน" ?
(หรือ ข้อกล่าวหานักการเมืองคอรัปชั่น กับรัฐประหาร อย่างไหนเลวกว่ากัน ?)


คำตอบสั้น และง่าย ๆ ได้ใจความที่สุด คือ ระบอบรัฐประหาร "โคตรเลว" เลยวะ !

          เพราะอะไร ?  เพราะการทำรัฐประหาร ก่อผลเลวโดยเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดรัฐธรรมนูญ "ทันที" เป็นความผิดที่เกิดขึ้นตรง ๆ ซึ่งหน้า เห็นได้ด้วยตาเป็นประจักษ์ ไม่ต้องอาศัยความเชื่อ ไม่ต้องอาศัยการตีความ ไม่ต้องอาศัยการสอบสวนสืบสวนอะไรทั้งนั้น เมื่อใดที่เกิดการรัฐประหาร ล้มล้างอำนาจประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ เมื่อนั้น ความเลว ความชั่ว ความผิด มันประจักษ์กับสายตาโทนโท่อยู่แล้ว มันผิดรัฐธรรมนูญ ใคร ๆ ก็รู้...

          ส่วนทฤษฎีที่ว่า "ระบอบทักษิณเลว" หรือ "หรือทฤษฎีข้อกล่าวหานักการเมืองคอรัปชั่น"ยังเป็นทฤษฎี ยังเป็นความเชื่ออยู่  คือบางคนก็เชื่อ บางคนก็ไม่เชื่อ ยังเป็นข้อกล่าวหา  ที่ยังจะต้องตีความ ยังจะต้องสอบสวนไต่สวนกันอีกหลายกระบวนความว่า "ไอ้ที่ว่าเลวนั้น มันเลวตรงไหน อย่างไร สอบสวน สืบสวน ผิดกฎหมายข้อไหน พิพากษาโดยศาลสถิตย์ยุติธรรมหรือยัง  ???? หรือเป็นเพียงข้อกล่าวหา เป็นเพียงทฤษฎีความคิดเห็นของคนบางกลุ่ม บางเหล่า ซึ่งอาจจะเป็นจริงก็ได้ ไม่เป็นจริงก็ได้ และอาจจะยังต้องตีความหมาย คำว่า "เลว หรือคำว่า ดี" ของแต่ละความเห็นของบุคคลผู้ไม่เห็นด้วย และเห็นด้วย อีก"


          แน่นอน ! การคอรัปชั่น การโกง..ฯลฯ... ย่อมเป็นความเลว ความชั่ว... แต่ในกระบวนการทางโลกนั้น ยังต้องอาศัย กฎหมายบ้านเมืองเป็นเครื่องชี้วัดความดี หรือความเลวของบุคคลอยู่ อาศัยคำพิพากษาจากศาล เป็นเครื่องยุติ ว่าดี เลว ถูก ผิด อย่างไร ? ไม่ได้อาศัยเพียงแค่ความเห็น ความเข้าใจ หรือการตั้งทฤษฎีสมมติฐานของใครบางคนบางเหล่า มาเป็นเครื่องตัดสิน

          บางครั้ง  ความดี ความเลวของสังคมโลก ไม่ได้ยึดโยงกับคำสอนในทางศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมอะไรเลย.. บางกรณี ความผิด ความชั่ว ความเลวในทางโลก อาจไม่ผิดศีลต่อธรรมก็ได้ หรือบางครั้ง ความดี ความถูกต้อง ความนิยมชมชอบในทางโลก อาจผิดต่อศีลธรรมในทางศาสนาก็ได้...

          อนึ่ง หากทฤษฎีที่เข้าใจว่า "ระบอบทักษิณเลว นักการเมืองคอรัปชั่นเลว" เป็นเรื่องจริง คือทฤษฎีที่ว่านั้นมันเป็นจริง แล้วมีกลุ่มบุคคลจะเอาการรัฐประหาร หรือเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นความเลวกว่าไปแก้ไข ไอ้สิ่งที่มันเลวนั่นหรือ ??  มันยิ่งจะดับเบิลเลวไปใหญ่ เหมือนเอาขี้ไปล้างขี้ มันก็ยิ่งสกปรกไปใหญ่ เอาความเลว ไปลบความเลว มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่คิดกัน...

          เพราะฉะนั้น การตั้งสมมติฐานว่า "ระบอบทักษิณ หรือทฤษฎีข้อกล่าวหานักการเมืองคอรัปชั่น กับรัฐประหาร อันไหนเลวกว่ากัน" จึงตอบได้ดังนี้แล...มันเป็นเอกังสพยากรณ์  คำตอบแบบยืนกระต่ายขาเดียวเท่านั้นว่า "การทำรัฐประหาร" เลวกว่า หรือ "เลวร้ายที่สุด" ในระบอบประชาธิปไตย

เพิ่มเติมอีกนิด : ที่กล่าวว่า "การทำรัฐประหาร" มันเลวสุด ๆ นั้น ก็เพราะว่า ผู้ทำรัฐประหาร ได้ดึงเอาบุคคลต่าง ๆ ทั้งชนชั้นต่ำชั้นสูง เข้าร่วมทำความเลวร่วมกับตนด้วย สร้างกฎระเบียบ (กฎหมาย) มาครอบงำประชาชน มาเอาผิดกับประชาชนในลักษณะต่าง ๆ  สร้างแนวคิด สร้างทฤษฎี สร้างระบอบนิยมผิด ๆ  ให้แก่ประชาชนทั่วไป และเยาวชนของชาติด้วย...ฯลฯ...

"กำมะหยี่สีม่วง"

หมายเหตุ (แก้) :
          เรียน คุณกำหมะหยี่สี่ม่วง ผมขออนุญาตเพิ่มเติมเชิงแก้ดังนี้ : ความจริง ไม่สามารถเรียกระบอบทักษิณได้เลย เพราะคำว่า "ระบอบ" หมายถึง "ผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจการปกครองประเทศ" หาใช่เพียงแค่เป็นคนมีอำนาจ แล้วเรียกว่าระบอบ เช่นนั้นก็หาไม่ ดังนั้น ความหมายของระบอบที่เรียกขานทักษิณ จึงไม่อาจเป็นของทักษิณได้เลย เพราะทักษิณ เป็นเพียงนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งของระบอบเท่านั้น

          เพื่อการขยายความหมายให้สมบูรณ์ ระบอบ คือ เจ้าของระบบ และระบบคือเจ้าของระเบียบ และระเบียบคือกฎเกณฑ์ที่เจ้าของระบอบสร้างขึ้น และระเบียบคือเจ้าของระบอบสั่งให้ระบบสร้างขึ้น

          ด้วยเหตุนี้ ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมาย (ระเบียบ) ชนชั้นนั้นย่อมเขียนกฎต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของหมู่พวกและชนชั้นของตน

          การเรียกขาน "ระบอบทักษิณ" เป็นการเรียกขาน เพื่อการสังหารคู่แข่งแห่งอำนาจ (ทักษิณ) ให้พินาศย่อยยับ ซึ่งท่านทักษิณ ก็เกือบจะย่อยยับ ถ้าไม่เก่งจริงคงอยู่ไม่ได้

          ดังนั้น ทักษิณ ไม่มีวันจะได้เป็นระบอบทักษิณได้เลย เพราะเจ้าของระบอบที่แท้จริงยังคงเป็นเจ้าของประเทศอยู่ ตามหลักทฤษฎีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

          หวังว่าคุณกำมะหยี่สีม่วง คงจะให้ผมแก้ไขนะครับ

                                                                                                          ลงชื่อ  สอาด จันทร์ดี  
                                                                                                            30 กันยายน  2554
http://redusala.blogspot.com

“คันหู” จึงนำมาสู่การ “คันปาก”

นิติสาก
          ดรีกรีความดุเดือดเลือดพล่านในการวิจารณ์ข้อเสนอของ “นิติราษฎร์” พุ่งไปสูงปรี๊ดเลย เมื่อ“แก๊งสนับสนุนรัฐประหาร” ที่อำพรางตัวด้วยการสวมเสื้อคลุมต่างๆ นาๆ ต่างก็พากันเฮละโลกันออกมา!!! “อัดกลุ่ม  อ.วรเจตน์” ไอ้ผมในฐานะของคนที่จบกฎหมายมาคนหนึ่ง ฟังเสียงวิพากษ์ของทั้ง 2 ด้าน ก็รู้สึก “คันหู้...คนหู” เพราะเหตุผลที่มีการกล่าวโจมตีนิติราษฎร์นั้น “บ่มิไก๊” เอาเสียเลย ทั้งๆ ที่“นิติราษฎร์เขานำเสนอประเด็นวิชาการ” แต่ก็กลับมีอยู่ไม่กี่คนที่จะมาเถียงกันในทางเนื้อหากันแบบตรงไปตรงมากันจริงๆ

          จะมีก็แต่การกล่าวหาว่านิติราษฎร์ไปรับงานใครมา? ผมว่านิติราษฎร์เขาประกาศชัดเจนนะว่าเขารับงานของประชาชนที่รักในระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่พวกท่านล่ะตอบได้ไหมว่ารับงานใครเขามา?

          หากมาดูก็จะเห็นว่า อ่ะ...โอเคล่ะ “อ.สมคิด” ก็พอจะมีประเด็นถกเถียงทางวิชาการ “บ้าง” แต่ อ.กิตติศักดิ์ที่แหละที่ผมขอปรบมือให้ดังๆ ซักแปะสองแปะ!!! ที่กระโดดเข้ามาถกเถียงกันในทางเนื้อหาทางวิชาการจริงๆ แต่ก็เป็นการแย้งที่ไร้น้ำหนักอย่างยิ่ง โอยยยยยยย ส่วน “แก๊งสภาทนายไม่ได้ความ” นี่ ไม่ต้องมาพูดถึงเลย ไม่มีเครดิตหรอก แต่ก็นะ ผมก็ “คันปาก” ต้องขอวิจารณ์เสียหน่อย เพราะผมก็เป็นทนายความด้วยน่ะซิ การที่คุณ “สากกกกกกกก” ออกมาพูดแบบนี้มันทำให้คนที่ประกอบวิชาชีพทนายความแบบผมต้องเสียหายอย่างยิ่งเลย

         ยังไงก็แล้วแต่ ผมคงขอเกาะกระแส “อินเทนด์” เสียหน่อย ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ผ่าน “การตั้งคำถาม” แบบท่านอธิการบดีของ มธ. ที่ผมเห็นว่าน่าจะมีรากฐาน“ฮิต” มาจาก “อาจารย์แก้ว(สรร)” ที่ชอบเขียนบทความทำนองถามเอง ตอบเอง ชงเอง ชมเอง แล้วด่าคนอื่นเสียเองตลอดเวลา อุ๊บ!!! โอเค ยังไงงานนี้เขาไม่เกี่ยว (รึเปล่า?)

ขอตั้งคำถามแค่ 1 คำถามสำหรับ อ.กิตติศักดิ์


         1. ตามที่อาจารย์อ้างคำพิพากษาของสูงสุดของอเมริกา (ซึ่งจริงๆ คดียังไปไม่ถึงนะคร้าบบบ คดีอยู่ที่ศาลอุทธรณ์ระดับสหพันธรัฐเท่านั้น) ที่พิพากษามาแล้วสรุปกันแบบดื้อๆ ว่า “นี่ไง ศาลมีคำพิพากษามาโต้แย้งการทำประชามติของประชาชนได้หากเห็นว่าผิดกฎหมาย” อาจารย์ช่วยตอบผมหน่อยว่าผู้พิพากษาเขามาจากไหน? มาจากคณะรัฐประหารเหมือนของไทยไหม? แล้วรัฐธรรมนูญของอเมริกามาจากผลพวงของรัฐประหารหรือไม่? หากอาจารย์ตอบคำถามของผมได้ อาจารย์ก็จะรู้ว่าสิ่งที่อาจารย์บอกว่าคำพิพากษาของศาลอเมริกาเป็น Anti-Majority Decision เป็นคำพูดที่ผิดโดยชัดเจน ฟันธง!!! อนึ่ง อาจารย์ระวังผิดฐานดูหมิ่นศาลสูงสุดของอเมริกานะครับผม ถ้ามีคนอีเมลล์ไปฟ้องเขาอ่ะ

          1 คำถามสำหรับ อ.สมคิด (เพราะมีหลายคนเขียนถึงอาจารย์แล้วผมจึงขอแค่ 1 คำถาม)
          1. อาจารย์กำลังใช้ตรรกะของการกำจัด “นายทุนสามานย์” โดยไม่ได้มองถึงเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐเลย ใช่หรือไม่? จริงๆ ขอแถมอีกซักหนึ่งหัวคำถาม (ข้อนี้อยากรู้เป็นการส่วนตัว) ตกลงจานนนนไปรับใช้พวกทหารจริงๆ ไหม?

          2 คำถามสำหรับนายสากกกกก นายกสภาทนายไม่ได้ความ (ซึ่งเป็นคนละองค์กรกับที่ผมอยู่ คือ สภาทนายความที่รักในระบอบประชาธิปไตยและนิติรัฐ)

          1. คุณใช้คำว่า “สภาทนายความ” ซึ่งมันสะท้อนถึง “องค์กรรวมทั้งหมด” ไปกล่าวอ้างโจมตีคนโน้นคนนี้ (นิติราษฎร์) คุณเอาอาณัติอะไรจากพวกผมๆ (ในฐานะทนายความ) ไป คุณรู้ได้ไงว่าผมคิดแบบคุณ ผมและผองเพื่อนทนายอีกหลายคน จริงๆ แล้วเห็นตรงกันข้ามกับคุณเลยนะ เวลาจะออกแถลงการณ์ในเชิง “องค์กร”กรุณาถามชาวบ้านชาวช่องเขาด้วย ทำประชามติของทนายน่ะเป็นไหม? หรือไอ้ความเป็นเผด็จการมันอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว? หากจะพูดก็กรุณาออกไปใช้สิทธิในฐานะนายสากกกก เดี่ยวๆ หรือกับเพื่อนๆ ร่วมแก๊งของพวกคุณเป็นรายบุคคลก็พอ อย่ามาเหมารวมพวกผมไปด้วย มิฉะนั้น พวกผมจะล่ารายชื่อเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ควรเป็นนายกฯ สภาทนายอีกต่อไป กรุณาออกมาแถลงขอโทษพวกกระผมด้วยนะครับ

          2. “แก๊งสภาทนายไม่ได้ความ” ที่มีคุณสากกกกเป็นหัวเรือเนี้ยะ ตอบได้ไหมว่า “นิติรัฐคืออะไร?” แต่ผมเดาว่าตอบไม่ได้หรอก เพราะทุกวันนี้ก็ตอบกฎหมายผิดๆ ผิดๆ (ไม่ใช่ผิดๆ ถูกๆ นะ) อยู่ตลอด คงจะไม่มีปัญญาตอบกระมัง 

2 คำถามสำหรับสื่อกระแสหลัก
          1. ทำไมจึงมุ่งเน้นแต่จะขายข่าวเท่านั้น การตั้งคำถามทำไมไม่เน้นไปในเชิงเนื้อหาให้พวกกลุ่มอาจารย์วรเจตน์และฝ่ายไม่เห็นด้วยมาคุยและถกเถียงกันว่า จริงๆ ข้อเสนอมีข้อดีข้อเสียยังไง ปฏิบัติได้จริงหรือไม่? หรือพวกเอ็งก็นิยมความไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน

         2. สื่อกระแสหลักก็ยังยึดติดกับ “ทักษิณๆๆๆๆ” ไอ้ทักษิณเนี้ยะมันเป็นสิ่งมาบดบัง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายตามรัฐธรรมนูญนะเข้าใจไหม? ยกมันทิ้งไปได้ไหม แล้วทำใจด้วยความเป็นกลาง นำเสนอเนื้อหาของทั้งสองฝ่ายไปเลย อย่ามานั่งเสี้ยมๆๆ ให้ทะเลาะกันเฉยๆ เพื่อจะขายข่าวเท่านั้นเลย มันแสดงถึงความไม่มีวุฒิภาวะของสื่อกระแสหลักไทย เห็นแล้วอนาถใจ แค่นี้ทำได้ไหม?        
http://redusala.blogspot.com

''ประสงค์สุ่น''เตือน ซ้ำ19กย.49 ถ้าไม่หยุดช่วยแม้ว
           ถึงคิว “ประสงค์ สุ่นศิริ” ออกมาเตือนรัฐบาล หากทำเพื่อช่วย “ทักษิณ” คนเดียว อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย 19 ก.ย.49 จวกกลุ่มนิติราษฎร์ ออกแถลงการณ์ไม่เหมาะสม เอื้อประโยชน์ให้คนๆ เดียว ซัดนักวิชาการบางรายมีผลประโยชน์แอบแฝง…

           วันที่ 27 ก.ย. น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 (ส.ส.ร.) เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ ถึงกรณีที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้มีการลบล้างผลพวงจากการใช้กฎหมายที่ออกประกาศโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ (คปค.) ว่า สำหรับนักวิชาการพวกนี้ หากดูจากการทำงานของอาจารย์บางคน ที่ผ่านมาก็ได้รับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาตลอด เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของคนกลุ่มนี้ ที่มีแนวทางตรงกันกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คือ ต้องการปลดเปลื้องพันธนาการให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่ได้มองสาเหตุของการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้วิธีการต่าง ๆ ที่กลุ่มนิติราษฎร์นำมาออกมาเผยแพร่ ก็เพื่อเป็นการสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้ประชาชนเกิดสงสัยและความเข้าใจผิด อย่างไรก็ตามคณะนิติราษฎร์ก็เป็นเพียงกลุ่มที่ทำงานรับใช้อดีตนายกรัฐมนตรี มันไม่มีอะไรมากกว่านั้น

         “รัฐประหารที่ผ่านมา มันมีเหตุผล จะมาลบล้างทั้งหมดได้อย่างไร พวกนักวิชาการ ทำไมไม่มองที่ต้นเหตุ ส่วนข้อเรียกร้องที่ออกมาประกาศนั้น ดูกันดี ๆ ก็เพื่อช่วยเหลือทักษิณเพียงคนเดียว แต่ไม่เคยย้อนกลับไปว่า ทักษิณ ทำอะไรไว้บ้าง” น.ต.ประสงค์ กล่าว

         พร้อมกันนี้อดีตประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 กล่าวต่อว่า ขอเตือนถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานรับใช้คนเพียงคนเดียว หรือไม่สนใจบ้านเมือง เนื่องจากอาจจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนช่วงปี พ.ศ.2549 ที่ผ่านมา เพราะประชาชนที่ไม่เห็นด้วย จะเริ่มรวมตัวกัน ต่อต้านอย่างแน่นอน และมันจะเป็นการแสดงพลังครั้งยิ่งใหญ่ ดังนั้นการกระทำหลังจากนี้ไปจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกตัวตนของรัฐบาล ว่าจะทำงานเพื่อคนๆ เดียว อย่างเช่นปัจจุบัน หรือพยายามใช้นโยบายประชานิยมหว่านแหก็ตาม คนไทยก็คงไม่ลืม ส่วนกรณีการเดินทางกลับประเทศของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ในมุมมองของตน เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ รวมถึงกลไกของอำนาจรัฐ ยังคงต่อต้าน ดังนั้นภายในระยะเวลาที่รัฐบาลได้บริหารราชการแผ่นดิน คงไม่มีทางที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำสำเร็จ

          นอกจากนี้ น.ต.ประสงค์ ยังกล่าวถึงกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ว่า รัฐบาลชุดนี้ใช้อำนาจมากเกินไป ขอถามกลับว่านายถวิล ทำผิดอะไร การที่มาใช้เหตุผลเพื่อความเหมาะสม มันไม่ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งนี้คือกระบวนการแทรกแซงข้าราชการประจำที่มีการโยกย้าย คนของตนเองขึ้นมานั่งในตำแหน่ง ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วรัฐบาลก็ยังดำเนินการเหมือนในอดีต

http://redusala.blogspot.com

เปิดใจ ขวัญใจประชาชานคนรากหญ้า


เปิดใจ ขวัญใจประชาชานคนรากหญ้า 










กองทัพไทย ใครเป็นเจ้าของ ?
 
                คำถามที่ถามว่า “กองทัพไทย ใครเป็นเจ้าของ” ? มิใช่คำถามเพื่อการยั่วยุ และมิใช่เป็นคำถามเพื่อหวังจะให้เกิดความร้าวฉานในกองทัพ
จุดมุ่งหมายในการเขียนก็เพื่อจะบอกกล่าวแก่ “คนที่รับผิดชอบ” ต่อกองทัพว่าขอให้ตระหนักแก่ใจเถิดว่าเจ้าของ-ของกองทัพคือประชาชน    
         
         ก่อนจะเขียนเรื่องนี้ ผมได้ชมการแข่งฟุตบอลเชื่อมสัมพันธไมตรี “มิตรภาพไทย-กัมพูชา” เย็นวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ ณ สนามกีฬาโอลิมปิค ประเทศกัมพูชา ทางสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดท โดยมีนักเตะคนสำคัญระดับผู้นำของประเทศร่วมสนามอย่างไม่เคยมีมาก่อน

       เช่นสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา

       สมเด็จจักรพรรดิ เฮ็ง สัมริน ผู้นำอาวุโสแห่งชาติ

        นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ที่ถูกยุบพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง)

      ตามด้วย ส.ส. แกนนำคนเสื้อแดงคับคั่ง

      ภาพการแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับกัมพูชาในครั้งนี้ เห็นแล้วก็แปลกใจว่า “จนป่านนี้ประดาสถานีโทรทัศน์ช่องกระแสหลัก คือช่อง ๓  ๕  ๗  ๙  ๑๑ และ Thai PBS ไม่ยอมไปทำการถ่ายทอด” อันทำให้ผมเกิดความแปลกใจต่อสถานการณ์ความเชื่อของสื่อในประเทศไทย มันไม่แตกต่างจาก “การยืนอยู่คนละฝั่ง” กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้ง ๒๖๕ ต่อ ๑๕๙ ที่นั่ง

      
 นี่...ถ้าไม่มีเอเชียอัพเดท...รับรองได้ว่าจะไม่มีใครได้เห็นภาพการถ่ายทอด
      
    
        เป็นเพราะอย่างนี้แหละท่าน ขอม ดำดิน จึงจำเป็นต้องเขียนถามอะไรหลายอย่างที่ซ่อนซุกอยู่ในระบบต่างๆของสังคมไทย (ทั้งการเมือง-การทหาร-เศรษฐกิจ-และการปรองดอง) ?

          ผมขอกลับเข้าสู่เนื้อหาเดิมที่ต้องการถก ..ถกถึงกองทัพไทยตกเป็น “เครื่องมือฆ่าคน” ของพรรคประชาธิปัตย์กับพวกมือที่มองไม่เห็นอย่างไม่น่าเชื่อ อันแสดงให้เห็นว่ากองทัพไทยนั้นเป็นของปัจเจกชนอย่างไรก็อย่างนั้น โดยมิได้ขึ้นกับประชาชนเลย เพราะว่าถ้ากองทัพเป็นของประชาชน เขาจะไม่ฆ่าคนทิ้งซึ่งคนที่เขาฆ่าคือประชาชนผู้บริสุทธิ์

         สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ถึง ๑๙ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดเสียง วิพากษ์วิจารณ์เซ็งแซ่ไปทั่วประเทศและถามว่าเหตุไรกองทัพไทยจึงเป็นเช่นนั้นไปได้ ? แล้วก็ถามต่อไปว่าทำไมกองทัพไทยจึงกลายเป็น “สมบัติส่วนตัว” ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับคำถามแบบเดียวกันว่าทำไมจึงเป็นสมบัติส่วนตัว “ของมือที่มองไม่เห็น” แบบเต็มจิตเต็มใจ จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติบ้านเมืองสุดจะประมาณได้

        ลักษณะของกองทัพไทยที่แสดงออกทางจุดยืนตลอด ๔-๕ ปีผ่าน ไม่แตกต่างจากจุดยืนของหลายประเทศ ที่เอากองทัพไปเป็นสมบัติส่วนตัว แล้วก็เห็นประชาชนเป็นฝ่ายตรงกันข้าม เช่นตูนิเซีย อียิปต์ ซีเรีย ลิเบีย เยเมน ซึ่งได้เกิดการเข่นฆ่าไม่แตกต่างจากกรณี ๑๐ เมษายน – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓!

       ประเทศไหนที่เอากองทัพไปเป็นสมบัติส่วนตัว ย่อมจะเป็นเหตุให้กองทัพของประเทศนั้นตกเป็นเครื่องมือของพวกกระหายอำนาจ ดังเช่นกองทัพไทยตกเป็นเครื่องมือของพรรคประชาธิปัตย์ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้กองทัพไล่ฆ่าคนเสื้อแดงอย่างเมามัน

        ในเวลาเดียวกัน กองทัพไทยก็ได้มอบใจให้แก่มือที่มองไม่เห็น

        มือที่มองไม่เห็นเกลียดคนเสื้อแดง กองทัพไทยก็เกลียดตาม

        เรื่องแบบเดียวกันนี้เกิดที่ต่างประเทศ ถ้าพี่น้องคนไทยสนใจในข่าวต่างประเทศคงจะได้รับฟังข่าวพันเอกกัดดาฟีแห่งลิเบีย เอาทหารจากกองทัพแห่งชาติไล่ฆ่าประชาชนชาวลิเบียล้มตายปานใบไม้ร่วง ในที่สุดตัวของพันเอกกัดดาฟีก็ไม่อาจอยู่ในอำนาจได้ 
ต่อมาก็เป็นประเทศเยเมนที่เดือดปุดปุด ๓ เดือนติดต่อกัน

         ประเทศไทยของเรารอมร่อจะเป็นอย่างนั้นโชคดีตรงที่คนเสื้อแดงไม่ลุแก่โทสะ พากันเรียกร้องด้วยสันติอย่างแท้จริง คือการชุมนุมอย่างสงบ มือเปล่า ปราศจากอาวุธ แม้จะถูกทหารฆ่าทิ้งปานว่าเล่นก็ไม่มีการตั้งกองกำลังขึ้นมาตอบโต้ จึงได้ทำให้ “สถานการณ์” อันหมิ่นเหม่ต่อสงครามกลางเมืองมอดดับลง

         แม้ว่าฝ่ายกองทัพจะยั่วยุ กล่าวตู่ว่าคนเสื้อแดงมีอาวุธ เป็นพวกก่อการร้ายก็ไม่บังเกิดผล

                คนเสื้อแดงอดกลั้นและอดทน...โดยเฉพาะคือประชาชนต่างพากันอยู่ในความอดทนอย่างสูงส่ง

         ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองเปลี่ยนผ่านไปสู่การเลือกตั้งจนได้ อันเป็นการ“บีบ” ให้พวกเผด็จการต้องยอมจำนนต่อกระบวนการประชาธิปไตยชนิดบีบแล้วก็คั้นให้เป็นเส้นขนมจีน ทางกองทัพจึงอยู่ในภาวะจำยอมแบบดิ้นไม่หลุดจำเป็นต้องหยุดความซ่าไประยะหนึ่ง

        และส่งผลอีกก้าวใหญ่ ทำให้ประเทศไทยได้พบกับ “ปรัชญาใหม่” ที่จะช่วยให้การนำพาประเทศก้าวผ่านวิกฤตทางการเมืองได้อย่างราบรื่น ปรัชญาใหม่ตัวนั้นได้แก่ “อุดมการณ์ประชาธิปไตย” บวกกับ “นโยบาย” ใหม่ๆหลายนโยบายที่จะสามารถนำเอามาใช้เป็นทฤษฎีชี้นำในการพัฒนาประเทศได้

       หลักทฤษฎีชี้นำ “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” จากตัวหนังสือเพียง ๖ คำ (ประโยคนี้) ดูเหมือนจะมีความเล็กน้อย-น้อยกว่าตะเกียงไขลานของชาวนาเชิงตีนเขา แต่เอาเข้าจริง...ถ้อยคำเพียง ๖ คำดังกล่าวนี้ได้สำแดงอานุภาพต่อวิถีการเมืองได้ยิ่งใหญ่กว่ามหากาพย์หลายพันเท่า ทั้งนี้เนื่องจาก “ทักษิณคิด” หมายถึงแนวคิดอันทรงพลังในทุกเรื่องที่จะสร้างประเทศไทยให้เจริญได้อย่างแท้จริงนั้นมาจากบุรุษผู้เผชิญชะตากรรมทางการเมือง “พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๓

        ผมนั่งวิเคราะห์หลายตลบ “กว่าจะเข้าใจ” ในความปราดเปรื่องของท่านทักษิณที่ออกไอเดียซื้อรถคันแรก ซื้อบ้านหลังแรก เหตุไร จึงขึ้นค่าจ้างวันละ ๓๐๐ บาท ยกระดับจบปริญญาให้ค่าตอบแทนใหม่เป็น ๑๕,๐๐๐ บาท และออกบัตร เอทีเอ็มให้แก่ชาวนา

        ผมเพิ่งจะตีบทแตก...ผมเข้าใจแล้วครับ

                กล่าวคือ (๑) นโยบายทักษิณคิดในครั้งนี้ ได้ยกระดับคนรากหญ้าและคนชั้นกลางทั้งในเมืองและนอกเมือง เรียกว่ายกระดับอย่างทั่วถึงทั่วประเทศ ไม่ยกเว้นเสื้อเหลืองหรือแดง ทักษิณคิดตรงนี้คนไทยทั้งแผ่นดินจะได้รับการ “ปรับปรุง” อย่างทั่วถึง (๒) นโยบายทักษิณคิดในครั้งนี้เป็นแนวทางทุนนิยม อันเป็นตรงกันข้ามกับ “แนวทางคอมมิวนิสต์”  ที่กำลังเป็นปัญหา-ถูกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่าเป็นลัทธิ

         ต่อมา...เมื่อส่งให้พรรคเพื่อไทยก็เลยกลายเป็นอีกประโยคว่า “เพื่อไทยทำ” ซึ่งหมายถึงการทำงานของพรรคเพื่อไทยทั้งหมดนั้น ทำตามแนวคิดของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

         พรรคเพื่อไทยจะทำอะไรบ้าง ? เป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ยากเลย กล่าวคือ (๑) ถ้าพรรคเพื่อไทยได้บริหารประเทศชาติไปโดยตลอดรอดฝั่งไม่ถูก “กองทัพแห่งชาติ” หักขากลางคันเสียก่อน (๒)ก็จะได้พัฒนาประเทศ ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จะมีทางรถไฟใต้ดินทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด (๓) จะได้ยกระดับชีวิตคนไทยให้หลุดพ้นไปจากความยากจน ลดช่องว่างทางสังคม และ (๔) กำจัดอำนาจมืดที่ยึดครองกองทัพเป็นสมบัติส่วนตัว ด้วยการจัดการให้เป็นกองทัพของชาติ ไม่ตกเป็นสมบัติส่วนตัวของใครอีก

        แน่นอนที่สุด แรงเสียดทานจะยังมีอยู่อย่างไม่มีทางเลี่ยง เช่นพรรคประชาธิปัตย์จะยังคงก่อความวุ่นวายในสภาผู้แทนราษฎร จะมีการ “วอล์คเอาท์” ประท้วง และจะมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องรองให้ยุบพรรคและอื่นๆตามวิสัยของพวกปัจเจกอำนาจที่เสพติดกับผลประโยชน์ผูกขาดมายาวนาน

         แน่นอนที่สุด จะมีการชุมนุมประท้วงจากกลุ่มเสื้อหลากสี มีการเคลื่อนไหวต่อต้าน และกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยทำเพื่อคน-คนเดียว และยังจะมีการกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงไม่จงรักภักดีต่อไปอย่างไม่เลิกรา ข้อกล่าวหาบ้าๆบอๆจะยังคงมีอยู่ไม่ต่ำกว่า ๔-๕ ปีติดต่อกัน

         ทั้งหลายทั้งปวงดังที่กล่าวมา...ในที่สุดก็จะถึงประตูสว่างจนได้โดยการใช้ทฤษฎี “ทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ” ซึ่งจะก่อให้เกิดภาพวิจิตรตระการตา สวยสดงดงาม โดดเด่น ชูช่อบานไสวไปสู่โลกกว้าง จะส่งผลให้ชาวโลกได้เห็นประชาชนของประเทศไทยก้าวหน้าไปไกล หลังจากนั้นก็จะทำให้คนไทย “ยอมรับ” สิ่งที่เป็นได้จริง จากแนวคิดของทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ

        ท่านทั้งหลายคงจะได้รับฟังคำพูดของท่านทักษิณที่พูดว่า ครั้งแรกที่ถูกทหารยึดอำนาจก็เสียใจ ครั้งต่อมา เมื่อเขายึดทรัพย์ก็เกิดอาการเครียด แต่พอขึ้นครั้งที่ ๓ ก็เริ่มปล่อยวาง และพอถึงครั้งที่ ๔ และ ๕ เกิดความรู้สึกขำ...ถึงกับอุทานออกมาว่า เรามีความดีมากมายเขาไม่ยกย่อง เขากลับไปยกย่องคนชั่ว ตัวเรานี้มันเลวสุด-สุดขนาดนั้นเชียวหรือ คิดแล้วก็ขำ ซึ่งเป็นคำบอกกล่าวที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้จริงแสดงว่าจิตของท่านทักษิณหลุดพ้นไปจากความกลัดกลุ้มนานาประการแล้ว   

        จะเหลืออยู่ก็แต่พวกสัมภเวสี เปรต อสุรกาย ที่แอบอยู่ในกองทัพ แอบอยู่กับอำนาจมืด ที่ยังไม่ยอมรับตัวเองว่าได้ถึงแก่ “ความพ่ายแพ้” อย่างย่อยยับ เมื่อไม่ยอมรับก็จะก่อกวนไม่หยุดหย่อน โดยหวังว่าจะคว้าเอาอำนาจกลับคืนมาเป็นของพวกเขาได้อีก

       พวกเขาไม่ได้พูดจาเลื่อนลอย...และไม่ใช่เป็นการเล่นหัว

       หากแต่ทุกประโยค..มันกลั่นมาจากหัวใจของพวกปัจเจกมหากาฬ ดังเช่นการประกาศบอกให้พรรคเพื่อไทยได้รู้ตัวว่า “จะให้อยู่ได้ไม่เกิน ๖ เดือน” อันหมายถึงวันนี้ (๒๔ กันยายน ๒๕๕๔) ก็จะเหลืออีก ๕ เดือนเท่านั้นสำหรับเวทีการเมืองของพรรคเพื่อไทย

        โถ...มันช่างง่ายเหลือเกินนะท่านะ...ช่างคิดง่ายเหลือเกิน ?

        ผมอยากบอกกับพวกท่านว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีชาติไทยอันเป็นที่รักคือเป้าหมาย...นั้นคือประเทศจะต้องก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ถอยหลังเข้าคลองอีกแล้ว การที่จะก้าวไปข้างหน้าได้นั้น จะต้องทำลายพวก “สัมภเวสี” ในกองทัพให้หมดไป รวมทั้งต้องทำลายพวกนักการเมือง “เต่าล้านปี” ให้เกลี้ยงไปจากสังคมการเมืองไทยให้ได้ 

          ใช่..พวกเผด็จการคิดอยู่ตลอดเวลาจะทำลายพรรคเพื่อไทย หวังจะได้อำนาจคืนอีกครั้งหนึ่ง

         แต่คนเสื้อแดงเขาไม่ได้ตกใจดอกครับ เพราะว่าหัวใจของคนเสื้อแดงนั้นอยู่ที่การเลือกตั้ง...ต่อต้านการทำรัฐประหารทุกรูปแบบ โดยมีชาติไทยเป็นหลักให้ยึดเหนี่ยว มีเป้าหมายจะเอากองทัพไทยทั้งกองทัพมาเป็นของประชาชน จะไม่ยินยอมให้มนุษย์หน้าไหนเอากองทัพอันเกรียงไกรไปเป็นสมบัติส่วนตัว

         มันอาจจะยากเป็นของธรรมดา เพราะ “หัวโจก” ไม่เอาด้วย

        ด้วยเหตุนี้จึงมีคำถามที่ถามว่า “กองทัพไทย ใครเป็นเจ้าของ” ? ประโยคนี้เกิดขึ้น ถามเพื่อจะบอกใบ้ให้ขุนพลใหญ่ในกองทัพได้รับรู้เอาไว้ว่า ถ้าพวกคุณไม่ยอมขึ้นกับประชาชน ระวังประชาชนจะเป็นผู้จัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

      อยากให้จดจำบทเรียนจากลิเบีย เยเมน และอีกหลายประเทศ ที่ผู้นำทั้งหลายหงายท้องให้แก่อำนาจของประชาชน...ถ้าไม่เชื่อให้เปิดคลิปต่างๆจาก “ยูทูป” ดูเอาเอง

      อภิสิทธิ์ – ประยุทธ์ - สุเทพ – ปณิธาน และไก่อู ทราบแล้วเปลี่ยน ?
               
                                                                                               ขอม ดำดิน
                                                                                      ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔
http://redusala.blogspot.com

กล้องหลอก คนหลอก เหี้ยหลอก

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.
เข้าชี้แจงและบอก เมื่อเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553
ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำลายกล้องวงจรปิดไปจำนวนมาก
คิดเป็นค่าเสียหายกว่า 33 ล้าน จึงต้องซื้อกล้องดัมมี่
ตัวละ 1,000 บาท มาติดตั้งเพื่อป้องปรามเหตุที่จะเกิดขึ้น
จาก   http://www.thairath.co.th/content/pol/204905
      
http://redusala.blogspot.com