วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554


ศาล ICC กับการรอคอยที่ราชประสงค์

ผศ.ดร. ศิลป ราศรี >> 

อาทิตย์ ที่ 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2554

ศาล  ICC กับการรอคอยที่ราชประสงค์


                 ในความผิดส่วนบุคคล   ที่ศาลภายในประเทศ ของอาชญากร ผู้กระทำการทารุณกรรมและเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นอาชญากรต่อมนุษยชาติ ไม่สามารถลงโทษเขาได้ อาจจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ องค์การสหประชาชาติ จึงได้ตั้งศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ(International Criminal Court: ICC) ขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 และตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์

                ศาล ICC นี้ ตั้งขึ้นตาม ธรรมนูญกรุงโรมฯ ว่าด้วยศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศโดยมีรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ จำนวน 108 รัฐ และอีก 40 รัฐที่ลงนามใน สนธิสัญญา ธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย แม้ว่ารัฐเหล่านั้น จะยังไม่ลงสัตยาบัน ก็จะทำผิดในหลักการที่ศาล ICC กำหนดในธรรมนูญกรุงโรมฯมิได้

      ศาล ICC ได้ทำการสอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในรัฐภาคีมาแล้วหลายประเทศ เช่น ประเทศอูกานดาเหนือ ประเทศคองโก ประเทศแอฟริกากลาง และกรุงดาร์ฟูร์ มีการออกหมายจับและลงโทษ อาชญากร แล้วหลายราย 


 ศาล ICC มีโครงสร้าง แบ่งเป็น 4 ฝ่าย
1. ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ( Presidency)
2. ตุลาการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Judicial Divisions) แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 
ฝ่าย
     2.1    ขั้นพิจารณาเบื้องต้น (Pre-trial)  
     2.2   ชั้นพิจารณาคดี (Trail)
     2.3    ชั้นอุทธรณ์ (Appeal)
3. สำนักงานอัยการ (Office of the Prosecution)
4.  สำนักงานทะเบียน (Registry)

  ศาล ICC มีขอบเขตอำนาจในการ พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับ 4 เหตุการณ์คือ

(1) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)   หมายถึง การกระทำที่มีเจตนาทำลายล้าง ทั้งหมด หรือบางส่วนของกลุ่มชนชาติ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มทางศาสนาเช่นเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ในรวันดา ที่มีคนถูกฆ่ามากกว่าล้านคน และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน ยูโกสลาเวียเป็นต้น

(2) อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crimes against Humanity) ในหลักการและเหตุผล ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ บันทึกไว้ว่า “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นเรื่องที่ป่าเถื่อน เป็นการทำลายศักดิ์ศรี และก่อความอัปยศอดสูแก่ มนุษย์ชาติ โดยการทำลายความเป็นมนุษย์ของบุคคลให้เสียหายหรือสูญเสียชีวิต ซึ่งอาจเป็นการกระทำของผู้นำของรัฐ หรือ จากนโยบายของรัฐ และแม้ว่ารัฐนั้นๆในทางพฤตินัยแล้ว อาจจะไม่เอาโทษ (นิรโทษกรรม) แต่การฆ่า การกำจัด การทรมาน การข่มขืน การตามล้างกันทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือศาสนา ตลอดจนการกระทำอื่นๆที่ป่าเถื่อนเยี่ยงเดรัจฉาน ถือว่าเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติทั้งนั้น”

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 ศาล ICC ได้ออกหมายจับ นาย โอมา ฮัสซัน อัมมัด อัลบาเชอร์ ประธานาธิบดี ซูดาน ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติ ด้วยการปล้นสะดมไล่ล่าฆ่าชาวพื้นเมืองอย่างโหดเหี้ยม และอื่นๆอีก 10 กว่าคดี

       (3)   อาชญากรรมสงคราม (War Crimes)   ได้แก่ การกระทำความผิดทั้งในสถานการณ์หรือความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างประเทศ ( International armed conflict) และสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยอาวุธอันเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล (Civil War) หมายเอา ผู้ที่มีส่วนร่วมในการวางแผน ออกคำสั่งหรือออกนโยบายในลักษณะที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อกองกำลังทหารหรือพลเรือนจำนวนมาก (Large scale) ในระหว่างการรบ เช่น การปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมต่อเชลยศึก การใช้แก็สพิษ การโจมตีเป้าหมายพลเรือน เป็นต้น

      (4) การรุกราน (Aggression)   ความผิดฐานการรุกรานนั้น แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่จะคัดค้านการรวมความผิดฐานนี้ไว้ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่ไม่ต้องการให้มีความผิดฐานนี้ขึ้นเพราะเกรงว่าอาจเกี่ยวโยงกับทหารของตนที่ส่งไปปฏิบัติงานอยู่ทั่วโลก ทั้งในนามของประเทศและกองกำลังผสมภายใต้องค์การระหว่างประเทศ แต่ในที่สุดความผิดฐานนี้ก็ได้รับการระบุไว้ในธรรมนูญก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org

หลักการสำคัญในการพิจารณาความของศาล ICC ก็คือ
1.  หลักการไม่มีผลความผิดย้อนหลัง ( Non-retroactivity of the statue )
2.   หลักการไม่ปล่อยให้คนผิดลอยนวล ( No to impunity )
3.  หลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

        ผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกมักดิ้นรนเรียกร้องหาความเป็นธรรมจากชนชั้นผู้กดขี่ เพื่อชั้นตัวเอง แต่ ผู้กดขี่มักจะอ้างความชอบธรรมบนพื้นฐานแห่งความเชื้อและผลประโยชน์ของชนชั้นตัวเองเพื่อ หาความชอบธรรมในการกดขี่   มันมีจุดกั้นกลางหรือไม่    รอยต่อระหว่างแรงกด กับแรงดัน หากมีช่องว่าง ระหว่างรองเท้าบูทที่กดบนหัว กับหัวมนุษย์ที่ถูกเหยียบที่พยายามดันขึ้น ตรงนี้แหล่ะน่าจะเป็น คืออำนาจของศาล ICC ที่สะกัดกั้นไม่ไห้ผู้กดขี่ เป็คนผิดที่ลอยนวล   เพราะที่สุดยังมีความยุติธรรม ที่ผู้กดขี่พอจะหวังได้ แม้จะไกลเกินความหวังก็ตาม ชีวิตแม้ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ อย่างน้อย วิญญาณของเหล่าวีระชน ก็จะได้เห็น อาชญากรผู้โหดเหี้ยม ถูกลงโทษ อย่างสาสม ก่อนที่กฏแห่งกรรมจะบดขยี้เขาในปรโลก นี่คือการรอคอยของวิญญาณราชประสงค์!!!!

                                                            ผศ. ดร. ศิลป์ ราศรี
http://redusala.blogspot.com

นับถอยหลังยุบพรรคเพื่อไทย
บทความพิเศษโดย นายฉลาด ยามา ทนายความ
วันที่ 12 ธันวาคม 2554

                        พรรคการเมืองคือ การร่วมกันของประชาชนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน หรือกลุ่มคนเสื้อแดง แม้จะไม่ได้เป็นพรรคการเมืองแต่เป็นกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ ต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นธรรม มีเป้าหมายเดียวกันกับการเป็นพรรคการเมือง ไม่ว่าประเทศไหนในโลกนี้ที่เป็นประชาธิปไตยก็มีพรรคการเมืองทุกประเทศ เพียงแต่ต่างประเทศไม่มีประเทศไหนที่จะมีกฎหมายให้ยุบพรรคการเมืองในฐานความผิด เช่น ประเทศไทย

            แต่ประเทศไทยเป็นเพียงระเทศเดียวที่มีกฎหมายให้ยุบพรรคการเมืองได้ ในกรณีคณะกรรมการบริหารพรรคกระทำความผิด ซึ่งเป็นการกระทำความผิดของบุคคล กฎหมายให้ยุบพรรคการเมืองได้ของประเทศไทย เป็นการใช้กฎหมายที่ขัดต่อหลักการใช้กฎหมาย(Rule of Law) กฎหมายดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา 237) ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด

            เป็นที่ทราบกันโดยตลอดว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่การเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนไม่มีอำนาจที่แท้จริง อำนาจที่แท้จริงอยู่ภายใต้การสั่งการของอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นกับทุกหน่วยงาน จึงทำให้รัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามาเป็นตัวแทนใช้อำนาจ ตกเป็นโมฆะคือ ความเสียเปล่า จะสั่งการอะไรหน่วยงานของรัฐไม่ได้ ถ้าการสั่งการนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบจากอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น ก็จะต้องหยุดการสั่งการโดยปริยาย นี่คือการใช้ของอำนาจรัฐจากรัฐบาลของประชาชน

            ความไร้เสถียรภาพในการใช้อำนาจของรัฐจะดำรงอยู่เช่นนี้ไปถึงวันที่อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นต้องการนั่นคือ ทำลายพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นให้สลายไปตามความต้องการ  ให้รัฐบาลของประชาชนหมดไปจากประเทศไทย จะคงให้มีได้แต่พรรคที่เป็นของพวกอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นบริหารประเทศต่อไปอย่างต่อเนื่อง และยาวนานเท่าที่จะยาวนานได้

            ในช่วงที่อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น ยังคงดำรงอำนาจเหนือกว่าอำนาจของประชาชน การดำเนินการใดในการบริหารประเทศก็จะเป็นไปเพื่อกลุ่มของพวกอำมาตย์ ทรัพยากรของชาติ ภาษีอากร และรายได้ของรัฐจะถูกจัดแบ่งผลประโยชน์ในกลุ่มของอำมาตย์รวมทั้งสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคในทุกด้าน โดยเฉพาะความเสมอภาคในด้านกฎหมายหรือความยุติธรรม ประชาชนฝ่ายตรงข้ามอำมาตย์จะถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมถูกเป็นผิด เรียกว่าถูกบังคับตามอำเภอใจ(Will) สภาพเช่นนี้ไม่มีประเทศใดที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยมี!!! ใครจะทำไม ???

            วันนี้พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีผู้มีสิทธิจำนวนมากกว่า 15 ล้านเสียง ได้มอบอำนาจให้บริหารประเทศ โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ตามนโยบายที่เสนอไว้แก่ประชาชนและรัฐสภา นี่ก็บริหารมาได้ 3 เดือนเศษ เป็นเวลาเพียงระยะสั้นๆ  แต่อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก จึงไม่ประสงค์ให้พรรคเพื่อไทยได้ใช้อำนาจรัฐคือ อำนาจของประชาชนบริหารประเทศอีกต่อไป

            เหตุที่อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น ไม่มีความประสงค์จะให้พรรคเพื่อไทยบริหารประเทศ ตามหลักการระบอบประชาธิปไตยจริงๆแล้ว แม้วันเดียวก็ไม่ต้องการให้บริหาร แต่ประเทศต่างๆทั่วโลกสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ทำให้อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นไม่กล้าที่จะกระทำใดๆกับพรรคเพื่อไทย คงปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนของระบอบประชาธิปไตย แม้จะให้มีอำนาจการบริหารประเทศ แต่ก็มีเงื่อนไขที่พรรคเพื่อไทยจะต้องปฏิบัติตามที่อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นกำหนด พรรคเพื่อไทยก็จำยอมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกข้อ โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นและโดยเคร่งครัดเสียด้วย

            จึงมีคำถามว่า ประเทศนี้ปกครองด้วยระบอบอะไร??? ประชาธิปไตยหรืออำมาตยาธิปไตย ตอบว่าเป็นทั้งประชาธิปไตยอำมาตยาธิปไตย แม้ว่าจะเป็นอำมาตยาธิปไตยในส่วนหนึ่งก็ตาม แต่หาเป็นความพอใจของอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น เมื่อเป็นเช่นนี้ อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น ก็ต้องหาวิธีการทุกวิธีเรียกว่าใช้ ยุทธศาสตร์ในทุกทาง เพื่อจะหาเหตุยุบพรรคเพื่อไทย

            ยุทธศาสตร์นี้เริ่มด้วย ปล่อยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย สร้างความเสียหายจำนวนหลายแสนล้านเท่าที่ปรากฏไปแล้ว และรัฐบาลได้แก้ไขปัญหานี้ให้ยุติได้ คงเหลือแต่การฟื้นฟูความเสียหายที่ยังดำรงอยู่เท่านั้น  


เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่(วิกฤตมหาอุทกภัย) ครั้งนี้  หลายฝ่ายบอกว่าเป็นภัยธรรมชาติ แต่แท้จริงแล้วเป็นภัยจากการกระทำของมนุษย์  ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำได้กล่าวไว้ว่า เป็นการกระทำของมนุษย์ ที่กล่าวและสรุปจากถ้อยคำสำนวนที่ท่านกล่าวออกมาว่า การปล่อยน้ำจำนวนมากเป็นความจงใจของมนุษย์และต้องมีผู้รับผิดชอบ

            ความจงใจในเรื่องการปล่อยน้ำแบบมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้รัฐบาลแก้ไขไม่ได้ แล้วก็ถือโอกาสนี้ล้มรัฐบาลของประชาชนล้มเหลวในการบริหาร ตามวัตถุประสงค์ของอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น แต่รัฐบาลก็สามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ เงื่อนไขของอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นก็ไม่สามารถทำอะไรรัฐบาลได้

            อำมาตย์และอำนาจของมือที่มองไม่เห็น ก็ดำเนินการยุทธศาสตร์แบบใหม่ และยุทธศาสตร์ใหม่นี่แหละที่รัฐบาลจะต้องเผชิญศึกหนักมาก และคิดว่าคงจะต้านไม่ได้เสียด้วย และเรื่องนี้ได้เริ่มแล้วกล่าวคือ กรณีการที่ กกต. มีมติ 4 : 1 ให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ขาดสมาชิกภาพของพรรค จึงพ้นสภาพจากการเป็น ส.ส. ซึ่งจะนำมติของ กกต. ส่งต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร์และในวันที่ 25-30 ธันวาคมนี้ การนี้เมื่อประธานสภารับสำนวนจาก กกต. ก็จะต้องนำส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยตามมติของ กกต. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็จะพ้นสภาพการเป็นผู้แทนราษฎร์ทันทีแต่ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กกต. มีมติไม่ชอบ ก็จะไม่พ้นสภาพ ส.ส. เรื่องนี้ก็ยุติ เข้าสู่สภาพปกติ(แต่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามแนวทางนี้โอกาสมีน้อยมาก)

            การพ้นสภาพเป็นผู้แทนราษฎรตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะก่อปัญหาต่อไปว่า เมื่อนายจตุพร พรหมพันธุ์ พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยประเด็นที่ว่า ขาดสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามที่มติ กกต. เสนอเรื่องมา ก็จะเกิดผลกระทบต่อพรรคเพื่อไทยที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ เพราะจะมีประเด็นต่อไปก็คือว่า เมื่อนายจตุพร พรหมพันธุ์ ขาดสมาชิกภาพของพรรคเพื่อไทยแล้ว พรรคเพื่อไทยส่งนายจตุพร พรหมพันธุ์ สมัครรับการเลือกตั้งได้อย่างไร  เพราะลงสมัครลงรับการเลือกตั้งจะต้องมีหัวหน้าพรรคการเมืองผู้สมัครสังกัด และหัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเซ็นรับรองจึงจะสามารถเป็นผู้สมัครเลือกตั้งได้ และใครล่ะ เป็นผู้ต้องเซ็นรับรองผู้สมัครตามกฎหมายก็คือ หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้เซ็นรับรอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านผู้อ่านเริ่มพอคาดเดาได้แล้วใช่ไหมว่า โอกาสนับถอยหลังยุบพรรคเพื่อไทยได้ เพราะการเซ็นรับรองผู้สมัครที่มิได้เป็นสมาชิกหรือขาดจากการเป็นสมาชิก หรือพ้นสภาพการเป็นสมาชิกของพรรค ตามมติของ กกต. หัวหน้าพรรคการเมืองใดเซ็นรับรองให้เป็นผู้สมัคร หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้กระทำความผิดที่ไม่อาจโต้แย้งใดๆได้เลย

            เมื่อหัวหน้าพรรคการเมืองกระทำความผิด ก็เข้าองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ศาลรัฐธรรมนูญก็จะต้องวินิจฉัย และวันนั้นพรรคเพื่อไทยก็จะถูกยุบ ตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้ใครที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็ขอให้เริ่มนับถอยหลังได้แล้วครับ พรรคเพื่อไทยจะถูกยุบหรือไม่ถูกยุบ ในเร็ววันนี้ก็คงจะรู้ผล เตรียมใจรอรับผลดังกล่าวไว้ด้วยนะครับ สำหรับพวกอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นเขาคงเตรียมดีใจ หรือได้เลี้ยงฉลองชัยชนะนี้ไปก่อนแล้วก็ได้

            สรุปอีกครั้งครับ นับถอยหลังวันที่พรรคเพื่อไทยถูกยุบได้แล้ว วิธีการนับก็คือ วันที่ 25-30 ธันวาคมนี้ กกต. นำสำนวนส่งประธานสภา ประธานสภารับสำนวนไว้ และตรวจสอบให้เวลากันแบบสุดๆก็ 3 เดือน และก็นำส่งศาลรัฐธรรมนูญให้เวลาศาลรัฐธรรมนูญอีก 3 เดือน เบ็ดเสร็จคงใช้เวลาประมาณ 6 เดือนเศษ พรรคเพื่อไทยก็จะถูกยุบตามกลไกของอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น สมความปรารถนาและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ผู้ที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยทำใจไว้ได้เลยครับแต่ถ้าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นตรงข้าม พรรคเพื่อไทยก็โชคดี แคล้วคลาดจากภัยอันตรายนี้ แต่ก็จะประสบกับภัยต่อไป และไม่ทราบ
ว่าภัยนั้นจะมาในรูปแบบไหน ก็ต้องจับตาดูและติดตามกันต่อไป

            *** หมายเหตุ ตามที่ นปช. แถลงข่าวและแจ้งว่าพรรคของพวกเรา ก็คือพรรคเพื่อไทยถูกยุบก็เลือกตั้งใหม่ พวกเราก็จะได้เสียงเพิ่มขึ้น นับว่าเป็นการคาดการณ์ที่สุ่มเสี่ยงมาก เพราะท่านไม่ทราบหรือว่า อำมาตย์และมือที่มองไม่เห็นเตรียมปิดประเทศ ไม่ทราบว่าจะปิดไปอีกนานเท่าไร แต่ก่อนปิดประเทศจะเกิดการเข่นฆ่าประชาชนเป็นจำนวนมาก ข่าวเช่นนี้มีมาโดยตลอด ท่านไม่ทราบหรือครับ ถ้าไม่ทราบ ขอได้โปรดรับทราบไว้ เสียงที่ว่าจะเพิ่มได้อย่างไร ถ้าเหตุการณ์เป็นไปตามข่าวนี้ สิ่งที่ท่านจะทำได้โดยไม่ต้องคิดให้เมื่อยสมองก็คือ นับถอยหลังวันยุบพรรคเพื่อไทยเท่านั้น สิ่งนี้ต่างหาก นปช.จะต้องเตรียมป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ถ้าเกิด!!!ท่านจะต้องเตรียมแผนไว้แก้ไขอย่างไรด้วย และต้องระดมสมองของคณะบริหาร นปช. เตรียมการไว้ได้โดยเร็ว เพราะวันเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันนั่นคือ การก้าวไปสู่วันยุบพรรคเพื่อไทยอันใกล้นี้
http://redusala.blogspot.com

112 ปักเข่า
           เอ้า เร่เข้ามาๆ เรียงหน้าขายความเขลา รอบสัปดาห์นี้เป็นที่เฮฮายิ่ง เมื่อบรรดา Idols ฝ่ายจารีตนิยม ออกมาปกป้อง ม.112 ด้วยเหตุผลข้างๆ คูๆ ธนูปักเข่า แบบว่าไม่ต้องถึงมืออาจารย์กฎหมายอย่างนิติราษฎร์ ชาวบ้านชาวช่องผู้รักประชาธิปไตยในเฟซบุคก็ยกเหตุผลมาโต้ได้เป็นชุดๆ


ภาพ : ที่มาของสำนวน"ธนูปักหัวเข่า" จากเกมคอมพิวเตอร์ "SKYRIM" (Bethesda Game Studios)

          ยกตัวอย่าง “เมธ เฟอร์รารี” ผู้ได้รับการยกย่องน้องๆ ปราชญ์ ยังพูดซี้ซั้ว "เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา เพื่อนมาเล่าให้ฟังมีคนแต่งโคลงกลอนล้อประธานาธิบดี ถูกติดเข้าคุกเลย ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเป็นมาตราอะไร ของฝรั่งเขา ผมไม่ได้สนใจอะไรหรอก แต่เขาก็โดนลงโทษ ที่ไหนในโลกนี้เขาก็มีกันทั้งนั้น"

          ท่านฟังเขาเล่าว่า แล้วเอามาพูดโดยไม่ศึกษาหาความจริง อย่างนี้ก็มีด้วย ท่านเป็นเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนานะครับ ไม่ใช่แม่ค้า เผลอๆ แม่ค้ายังรู้มากกว่าท่านว่า ไอ้เรื่องที่อ้างว่าคนเขียน “กลอนล้อประธานาธิบดี” ติดคุกน่ะ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โต้สุริยะใส กตะศิลา และ ASTV ในเฟซบุคไว้หลายวันแล้วว่าไม่ใช่ล้อ ไม่ใช่หมิ่นประมาท แต่เป็นกลอนขู่ฆ่า จึงติดคุก 3 ปี ส่วนที่ด่าว่าประธานาธิบดีแบบ Stupid Idiot (หรืออาจจะถึงฟักกลิ้ง) เขาถือเป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย

          ชาวบ้านรู้กันทั่วแล้ว ท่านยังฟังเขาเล่าว่าอยู่เลย รู้จักเอาหลักพอเพียงมาใช้กับตัวเองบ้างสิครับ แสดงความเห็นแต่พอเพียง รู้จักประมาณตนเสียบ้าง

          รายแรกที่เสนอหน้าออกมา “ผู้แพ้แห่งปี” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครั้งก่อนเรียกร้องไม่ให้เลือกคนเลว จ้องล้มสถาบัน แล้วเป็นไง แพ้ถล่มทลาย ครั้งนี้ออกมาไล่คนที่ต้องการแก้ ม.112 ให้ออกไปอยู่ต่างประเทศ

          ถามแบบสำบัดสำนวนคือ นี่จะไล่อานันท์ ปันยารชุน ด้วยหรือเปล่า เพราะอานันท์ก็บอกว่าควรแก้ไข โทษหนักเกินไป

          ถามแบบมีหลักการคือ ประยุทธ์ไม่ได้ไล่คน “จ้องล้มสถาบัน” แต่ไล่หมด ไม่ว่าคนอยากแก้ไขหรืออยากยกเลิก 112 ในสายตาประยุทธ์คือพวกเดียวกัน ไล่หมด เป็นศัตรูหมด จะเอาอย่างนั้นหรือ ฉลาดแท้ ขอให้จำเริญๆ เถอะ พระเอกลีลาศสวนลุม

          กล่าวในหลักประชาธิปไตย หลักสิทธิเสรีภาพ ประยุทธ์พูดอย่างนี้ รัฐบาลประชาธิปไตยมีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งปลด เพราะการเสนอแก้ไขกฎหมาย การวิพากษ์วิจารณ์กฎหมาย ไม่ว่ามาตราใด ถือเป็นสิทธิเสรีภาพ ผบ.ทบ.ก็มีสิทธิแสดงความเห็น เห็นด้วยไม่เห็นด้วย พูดอย่างเป็นเหตุผล แต่ไม่ใช่ใช้สถานะของผู้ควบคุมกองกำลังอาวุธ มาข่มขู่ ขับไล่ คุกคามสิทธิเสรีภาพของคนเห็นต่าง

          แต่อย่างว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกลับป๊อด ขณะที่องค์กรด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชนของเราก็พึ่งไม่ได้

          คำพูดของประยุทธ์ยังสะท้อนจิตสำนึกที่เลื่อมใสในราชาธิปไตยมากกว่าประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ให้เสรีภาพที่จะถกเถียงกันในเรื่องโครงสร้างบทบาทของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ตราบใดที่ไม่ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้าย สมมติเช่น ถกเถียงกันว่ารัฐธรรมนูญยังควรให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจ Veto กฎหมายหรือไม่ การถกเถียงเรื่อง ม.112 ก็อยู่ในเรื่องโครงสร้างบทบาท ประเด็นอยู่ที่การตีความระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษ้ตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ว่าประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ท้วงติงบทบาทของสถาบันฯ เพื่อประโยชน์ของประชาธิปไตยหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะได้หรือไม่

          ประชาธิปไตยให้เสรีภาพที่จะถกเถียงกันได้ แต่ราชาธิปไตยไม่ให้เสรีภาพ เพราะราชาธิปไตยอำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงผู้เดียว ใครไปถกเถียงว่ากษัตริย์ควรมีอำนาจน้อยลงอย่างนั้นอย่างนี้ มีโทษเป็นกบฎตัดหัว 7 ชั่วโคตร

          ขุนพลประยุทธ์คงมองอย่างนั้น ประยุทธ์อยากเป็นขุนพลในระบอบราชาธิปไตย ไม่ได้อยากเป็นผู้บัญชาการทหารบกที่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชนภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชน (ฉะนั้นก็ควรไปให้พ้นๆ เสีย)

           รายที่ขี้เกียจพูดถึงเพราะสะท้อนความคิดหลุดโลก ราชานิยมตกขอบ จนชาวบ้านฮากลิ้ง (แต่เจ้าตัวคงซาบซึ้งเสียเต็มประดา) คือวสิษฐ เดชกุญชร ซึ่งแต่งนิยาย “สารวัตรเถื่อน” ภาคสุดท้าย ปลุกระดมพวกไฮเปอร์รอแยลลิสต์ให้ต่อสู้กับอเมริกาและสหประชาชาติ ด่ากราดเหมาโหลไปหมดว่าคนที่คิดจะปรับโครงสร้างให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความก้าวหน้าและยั่งยืน เป็นพวกอกตัญญูเนรคุณ

          นี่ถ้าพูดถึงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบบอังกฤษ แบบยุโรป ที่เขาเปิดให้พวกนิยมสาธารณรัฐ (พวกไม่เอาเจ้า) เคลื่อนไหวได้อย่างมีเสรีภาพเต็มที่ คนอย่างวสิษฐ สุเมธ ประยุทธ์ คงอกแตกตาย เพราะคนพวกนี้มองไม่เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์

          ส่วนรายที่ตะแบงได้สุดๆ สมเป็นเนติบริกรตัวพ่อ คือมีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งอ้างว่าต้องยอมรับประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เหมือนอเมริกาต้องยอมรับโทษเฆี่ยนตีของสิงคโปร์ (ใครว่ายอมรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนเขาก็วิพากษ์วิจารณ์อยู่ตลอด) แบบนี้ก็เท่ากับมีชัยยอมรับรัฐอิสลามที่ลงโทษผู้หญิงมีชู้ด้วยการปาก้อนหินจนตาย ยอมรับการที่ตาลีบันระเบิดพระพุทธรูปโบราณทิ้ง

          ส่วนที่มีชัยอ้างเรื่องอเมริกากลัวผู้ก่อการร้ายจนตรวจค้นคนขึ้นเครื่องบินโดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ เป็นการ “มั่ว” เอาแพะมาสวมแกะ เพราะนั่นเป็นการกระทำเพื่อปกป้องชีวิตทรัพย์สินของผู้โดยสารโดยรวม แล้วมีชัยก็ยกเรื่องอเมริกายิงจรวดฆ่าคนผิด อ้างว่าไม่เห็นใครตำหนิ อ้าว ถ้าองค์กรสิทธิมนุษยชนเขาไม่ตำหนิ ไม่เผยแพร่ข่าว แล้วท่านจะรู้ได้ไง ท่านพยายามจะสร้างตรรก คุณชั่วได้ผมก็เลวได้ อย่างนั้นหรือ

          มีชัยบิดเบือนตั้งแต่แรกว่า 112 ก็เหมือนหมิ่นคนธรรมดา ถ้าอย่างนั้น เอางี้ไหมครับ ยกเลิก 112 แล้วไปบัญญัติมาตรา 326 เพิ่มอีกวรรค ว่าถ้าเป็นการหมิ่นประมาทที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้เพิ่มโทษอีก 2 เท่า 3 เท่า หรือ 5 เท่าเลยเอ้า

          ก็ถ้าท่านบอกว่าเหมือนหมิ่นคนธรรมดา บัญญัติอย่างนั้นก็ได้เหมือนกัน แต่นี่มันไม่เหมือน ตั้งแต่อัตราโทษที่สูงกว่า 15 เท่า แถมกำหนดโทษขั้นต่ำ 3 ปี การกำหนดให้อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งใครก็แจ้งความได้ ที่สำคัญกว่านั้นคืออุดมการณ์ในการตีความและบังคับใช้ ซึ่งเป็นอุดมการณ์สลิ่มไฮเปอร์ มองสถาบันเป็นเทวราชที่แตะต้องไม่ได้ ไม่ใช่เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความเขลาสร้างความรุนแรง
          ถ้าจำแนกท่าทีของฝ่ายจารีตนิยม หรือฝ่ายที่เคยสนับสนุนกลุ่มพลังราชาชาตินิยมอย่างพันธมิตรฯ จะเห็นว่าอานันท์ ปันยารชุน, คำนูณ สิทธิสมาน, ไชยันต์ ไชยพร, กิตติศักดิ์ ปรกติ หรือแม้แต่พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ต่างก็แสดงท่าทีว่า 112 มีปัญหา จำเป็นต้องแก้ไขบ้าง แม้บางคนอาจไม่ต้องการให้แก้ตามข้อเสนอนิติราษฎร์ โดยอาจจะอยากแก้แค่ 2 ประเด็นคือ อัตราโทษ กับป้องกันไม่ให้ใครก็แจ้งความได้

          แต่การ “แสดงพลัง” ของ Idio… เอ๊ย Idols ดังกล่าว ไม่ว่ามีใบสั่งหรือพ้องกันโดยมิได้นัดหมาย ก็แสดงปฏิกิริยาของขั้วล้าหลัง ขวาสุดโต่ง ที่จะไม่ยอมให้มีการปรับเปลี่ยนแม้แต่น้อย (บอกแล้วว่าประยุทธ์ไล่อานันท์ด้วย)

          การปลุกกระแสสุดโต่งเช่นนี้ไม่ได้ใช้เหตุผล แต่ละคนที่ออกมาพูดล้วนตื้นเขิน โต้ง่าย แต่อาศัยพลังของการครอบงำความคิดข้างเดียวมายาวนาน สร้างตรรกแบบ “ถ้าไม่คิดจะล่วงเกินสถาบันทำไมต้องกลัวผิดกฎหมาย” นอกจากนี้ยังอาศัยการรายงานข่าวข้างเดียวของสื่อกระแสหลัก มีกองทัพและตุลาการเป็นเครื่องมือปราบปรามฝ่ายตรงข้าม

          การปลุกพลังไร้สติเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถดึงเสียงข้างมากให้เห็นด้วย เพราะผู้จงรักภักดีจำนวนหนึ่ง ก็อาจเห็นด้วยกับอานันท์ ว่าควรแก้ไขบ้าง แต่การปลุกพลังไร้สติ บวกกับการคุกคามของกองทัพและความอำมหิตของตุลาการ เป็นการกดสังคมไว้ด้วยความกลัว ด้วยความเชื่อว่าทำอย่างนี้แล้วจะอุดรูหายใจของฝ่ายที่ต้องการแก้ไขได้ทั้งหมด

          แต่คนพวกนี้ประเมินพลังทางสังคมผิด สังคมไทย 2555 ไม่ใช่หลัง 6 ตุลา 2519 คนพวกนี้ไม่เคยขึ้นแท็กซี่ เหมือนผมขึ้นแท็กซี่ขับตามหลังรถ ร.ย.ล.ซึ่งอันที่จริงก็ขับปาดบ้างตามประสาคนชั้นกลางทั่วไป (ขับดีกว่าผมเยอะ) แต่แท็กซี่จ้องจับผิด “ร.ย.ล.แปลว่าอะไร ทำไมไม่กลัวตำรวจ”

          พวกเขากำลังจะอุดแรงดันของหม้อน้ำที่ใกล้เดือดพล่าน แทนที่จะเปิดช่องทางให้ไอน้ำระบายในทิศทางที่ควบคุมได้ อะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่ทราบนะครับ ภายใต้เงื่อนไขที่กำลังจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงเสียด้วย พลังไร้สติเผชิญกับพลังที่เดือดพล่าน แรงระเบิดมันจะไปกี่ทิศทาง

          บอกตามตรงว่าตอนแรกผมกลัวเสียด้วยซ้ำว่า กระแสแก้ 112 จะถูก “สลาย” ด้วยฝ่ายพิราบอย่างอานันท์ จากที่เราเรียกร้องกัน 4-5 ข้อ ถ้ามีการแก้ไขแค่ลดอัตราโทษ กับให้มีหน่วยงานกลางรับผิดชอบดำเนินคดี กระแสก็จะตก ข้อเรียกร้องที่เหลือก็ไม่มีใครสนใจอีก

          สมมติต้นปีหน้า มีการเคลียร์คดี 112 ที่เหลือแล้วทุกคนได้รับพระราชทานอภัยโทษ ไม่มีการรุกไล่เอาผิดใครอีก รัฐบาลตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแล ผู้ใกล้ชิดสถาบันซักรายออกมา“แสดงเมตตาธรรม” เสนอให้แก้กฎหมายลดโทษจาก 3-15 เป็นไม่เกิน 5 ปี

          ถามจริงว่าจะเหลือประเด็นอะไรให้เคลื่อนไหวอีก ที่เหลือก็จะเป็นแค่ข้อเรียกร้องทางทฤษฎีโต้กันในแผ่นกระดาษ

         แต่เมื่อเห็นกระแสเหยี่ยวอย่างนี้ ผมก็ไม่ต้องกลัวแบบเดิมแล้วครับ เพียงแต่กลัวเจอแบบใหม่ คือจะกลายเป็นการแตกหักแบบโง่เขลา รุนแรง ควบคุมไม่ได้ทั้งสองข้าง (พวกไฮเปอร์คงอยากเห็นอย่างนั้น แต่ผมไม่อยากเห็นเพราะคราวนี้ประเทศไทยจะโดนธนูปักเข่าจริงๆ)

          รัฐบาลยิ่งลักษณ์เองก็ขาหัก เมื่อออเหลิมมารับปากว่าจะไม่แก้ 112 นี่คือความป๊อดของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกไป ซึ่งผมไม่ได้เรียกร้องว่ารัฐบาลต้องเป็นหัวหอกแก้ 112 แต่รัฐบาลต้องไม่ปิดทาง ต้องบอกว่าแล้วแต่ความคิดเห็นในสังคม เพียงแต่ตนเองจะไม่ริเริ่ม ที่สำคัญกว่านั้นคือรัฐบาลมีหน้าที่ต้องชี้แจงสังคมด้วยว่า การแก้ 112 ไม่ใช่ความผิดคิดร้าย ไม่ใช่ล้มสถาบัน แต่รัฐบาลกลับเอาตัวรอดง่ายๆ โดดหนี ราวกับว่าการแก้ 112 เป็นเรื่องที่น่าเกลียดน่ากลัว

          ผมก็ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลนี้จะกลัวสลิ่มไปไย เอาใจสลิ่มไปไย เพราะคุณทำได้แค่เอาตัวรอดไปวันๆ พวกเขาก็สรรหาเรื่องมาด่าทอโจมตีอยู่ดี เหมือนทำยึกยักไม่กล้าแก้รัฐธรรมนูญ กลัวข้อหาแก้เพื่อคนคนเดียว แต่ยังไม่แก้รัฐธรรมนูญแล้วดันไปออกพาสปอร์ต ไปตั้งท่าจะนิรโทษกรรม ไม่เล่นตามระบบ ไปเล่นซิกแซ็ก เดี๋ยวก็โดนเขาโค่นอยู่ดี

          ถ้าแก้รัฐธรรมนูญตามข้อเสนอนิติราษฎร์ ปลายปี 56 ทักษิณก็ได้กลับบ้าน แม้อาจนานหน่อยและต้องมาขึ้นศาลใหม่ แต่ถ้ามัวซิกแซ็ก หวังพึ่งออเหลิม เจรจา ต่อรอง เกี้ยเซี้ย นิรโทษกรรม เผลอๆ จะโดนเขาโค่นโดยมวลชนสมน้ำหน้า เบื่อหน่าย หมดศรัทธา หมดโอกาสรอบนี้เห็นทีต้องรอชาติหน้ากว่าได้เหยียบแผ่นดินไทย

ค.อ.ป๊อด
          ขอพูดถึงรายงาน คอป.หน่อย เพราะค้างคาใจ มัวแต่พูดเรื่อง 112 ไม่ทันได้วิพากษ์กัน

          รายงาน คอป.ฉบับที่ 2 สรุปผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนที่สอง 17 ม.ค.ถึง 16 ก.ค.ที่จริงมีประเด็นให้พูดถึงหลายประเด็น แต่สื่อกระแสหลักจับประเด็นเดียว การละเมิดหลักนิติธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่คดีทักษิณซุกหุ้น

          อันที่จริงถ้าดูกรอบเวลา จะเห็นว่านี่ควรเป็นรายงานเสนอรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ใช่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเพิ่งชนะเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. ข้อเสนอของ คอป.เช่น ให้ตรวจสอบว่ามีการตั้งข้อหารุนแรงเกินควรหรือไม่ ให้ผู้ต้องหาและจำเลยได้รับการประกันตัว ให้จัดสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังทางการเมือง ให้ใช้หลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมถึงให้เยียวยาผู้ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม และข้อเสนอต่างๆ เกี่ยวกับมาตรา 112 นั้น อันที่จริงควรเสนอต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เสนอต่ออัยการ และศาล ให้มีผลทางปฏิบัติตั้งแต่ก่อนหน้านี้

          แต่ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร เอ้า ยกตัวอย่าง คอป.เสนอให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว คอป.สรุปเมื่อเหตุการณ์พฤษภาอำมหิตผ่านไป 1 ปี 2 เดือน แล้วมาออกรายงานเมื่อเหตุการณ์ผ่านไป 1 ปี 7 เดือน ถามว่าช่วยใครได้บ้างไหม เมื่อเร็วๆ นี้ศาลเพิ่งตัดสินยกฟ้อง 6 นปช.ที่ต้องหาเผาเซ็นทรัลด์เวิลด์ แต่จำคุก 6 เดือนฐานฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน โดยพวกเขาติดคุกฟรีมาปีครึ่ง

          ประเด็นที่สื่อควรตั้งคำถามมากกว่าคือ ตั้งคำถาม คอป.ว่าทำไมไม่รีบทำข้อเสนอส่งรัฐบาลอภิสิทธิ์ อัยการ และศาล เพื่อให้มีผลโดยเร็ว นอกจากนี้ยังควรตั้งคำถามต่อศาลว่า เห็นด้วยและยอมรับ “หลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” ตามข้อเสนอของ คอป.หรือไม่ เพราะผมเห็น “หลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” คดีเดียวคือ คดีพันธมิตรขับรถไล่ชนตำรวจ

          เมื่อ 2 วันก่อน ศาลจังหวัดปัตตานีเพิ่งตัดสินยกฟ้องคดีก่อการร้าย เพราะศาลไม่เชื่อคำให้การซัดทอดช่วงที่พยานถูกควบคุมตัวโดยกฎอัยการศึกและ พรก.ฉุกเฉิน ตัดสินอย่างนี้สิ น่าปรบมือให้ แต่ท่านใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศหรือเปล่า ท่านปฏิบัติกับ “ผู้ก่อการร้ายเสื้อแดง” เหมือน “ผู้ก่อการร้ายภาคใต้” หรือเปล่า

          สิทธิการประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่การวินิจฉัยของผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนสูญเสียไป โดยไม่มีใครสามารถตรวจสอบอำนาจวินิจฉัยนั้น ว่าทำตามหลักกฎหมาย หรือทำตามอำเภอใจ ทำด้วยความเกลียดชัง ทำด้วยอคติทางการเมือง แล้วก็ไม่มีใครสามารถเรียกร้องให้รับผิดชอบได้ นี่คือการใช้อำนาจโดยไม่ต้องรับผิดชอบ

           ประเด็น 112 คอป.ก็ป๊อดนะครับ เพราะเสนอเพียงแค่แนวทางบังคับใช้ให้ผ่อนปรน แต่ไม่กล้าเสนอให้แก้ไข ทั้งที่คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายอยู่ด้วย เป็นหน้าที่โดยตรงของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ควรจะเสนอแก้ไข ท่านเพียงให้สัมภาษณ์ยักไว้ว่า เดี๋ยวจะแสดงความเห็นเรื่อง 112 อีกทีหนึ่ง

          แต่ที่สำคัญก็คือประเด็นสุดท้าย ที่ คอป.อ้างว่ารากเหง้าของความขัดแย้งมาจากการละเมิดหลักนิติธรรม ในคดีซุกหุ้น ซึ่งปฏิบัติผิดหลักกฎหมาย เรื่องนี้พูดอีกก็ถูกอีก แต่ คอป.พูดไม่หมด หรือพูดความจริงแค่ครึ่งเดียว เสี้ยวเดียว (ยืมวัฒนธรรมแมลงสาบ)

          สื่อหลายสำนักเอาประเด็นนี้ไปวิพากษ์วิจารณ์กันมันปาก แถมยังพาดพิงว่านักกฎหมายที่คัดค้านรัฐประหารควรมองให้เห็นที่มาอย่างนี้บ้าง ไอ้พวกบิดเบือน พยายามจะลบเลือนประวัติศาสตร์ที่ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หรือนักประชาธิปไตยทั้งหลายที่คัดค้านรัฐประหาร ล้วนแล้วแต่วิพากษ์วิจารณ์คดีซุกหุ้นกันมาแล้วทั้งนั้น (ขณะที่ตอนนั้นสนธิ ลิ้ม และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการอยู่ข้างไหน ทำเป็นจำไม่ได้)

          สื่อบางรายฟันแท้เพิ่งขึ้นสมัยไล่ทักษิณ แล้วทำอหังการ์ บอกว่าตัวเองกล้าท้าทายอำนาจ ที่จริงโหนกระแสครับ คนที่เขากล้าคัดค้านทักษิณตอนเรืองอำนาจ และกล้าคัดค้านรัฐประหารตอนเรืองอำนาจ กล้าสวนกระแสฉาบฉวยของคนชั้นกลาง จึงเป็นของจริง

          “รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการที่ละเมิดหลักนิติธรรม กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ทุกๆ อย่างมีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ จนนำไปสู่กระบวนการใช้อำนาจนอกระบบในการแก้ไขปัญหา โดยการรัฐประหารซึ่งเป็นการละเมิดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ซึ่งแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหา แต่ในท้ายที่สุดกลับสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น”

          ภาพรวมตรงนี้ คอป.สรุปถูกต้อง แต่พอขยายความกลับไปพูดถึงเฉพาะคดีซุกหุ้น ไม่พูดถึงการใช้อำนาจตุลาการภิวัตน์หลังรัฐประหาร ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ตั้งแต่การยุบพรรคไทยรักไทยแล้วตัดสิทธิโดยใช้กฎหมายย้อนหลัง การร่างรัฐธรรมนูญวางกลไกกับดักรัฐบาลจากการเลือกตั้ง นายกฯ ทำกับข้าวตกเก้าอี้เพราะศาลเปิดพจนานุกรม การล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมา โดยอาศัยการวางยาตามมาตรา 237 หรือการตีความกฎหมายแบบ “ไม่ทุจริตแต่ติดคุก”

          ข้อสรุปของ คอป.มองอีกแง่ยังยึดติดกับตัวบุคคล ทำนองว่าถ้าคดีซุกหุ้นตัดสิทธิทักษิณเสีย ไม่ได้เป็นนายกฯ ปัญหาทั้งหลายคงไม่บานปลาย แต่อันที่จริงมันเป็นความขัดแย้งของพลังทางสังคม เหมือนที่เกษียร เตชะพีระ อธิบาย “ระบอบทักษิณ” ว่าคือกลุ่มทุนใหม่ที่ได้อานิสงส์จากโลกาภิวัตน์ ได้อำนาจจากคนจนคนชนบทโดยให้ประโยชน์ตอบแทนเชิงนโยบาย

           ถามว่า คอป.เข้าใจไหม ผมว่าเข้าใจ แต่งานนี้ “ป๊อด” เสียมากกว่า ไม่กล้าสรุปให้ชัดเจนเป็นที่ระคายเคือง เดี๋ยวจะโดนชนชั้นนำและชนชั้นกลางรุมถล่มเอา เดี๋ยวจะหาว่าโอนอ่อนตามอำนาจ กลายเป็นเครื่องมือทักษิณ

           ฉะนั้นก็ต้องไว้เชิงกันบ้าง ด้วยการแถมท้ายอัดคดีซุกหุ้น เพื่อเอาคะแนนว่ายังเป็นกรรมการอิสระอยู่นะ ข้อ 5 ก็เลยเป็นวิธีการเล่นเกมการเมืองของกรรมการอิสระ ซึ่งท้าพนันเลยว่าเพิ่งจะยัดเข้ามาในช่วงเปลี่ยนรัฐบาลนี่เอง

                                                                                             

                                                                                                ใบตองแห้ง
                                                                                                24 ธ.ค.54
ขอขอบคุณ Blog Voice TV Website

หมายเหตุ : การนำเสนอข้อมูลนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร บทความ ที่ผู้นำเสนอ (ผู้จัดทำเวบไซท์) เห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม และประชาธิปไตย มิได้มุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น 
http://redusala.blogspot.com

เพื่อไทยกับประชาธิปไตย


ข้อมูลบทความ จาก Blog Voice TV โดยคุณ ใบตองแห้ง)


            พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษมีผลบังคับใช้แล้ว ทักษิณไม่ได้กลับมางานแต่งลูกสาว กลายเป็นนาธาน กับเสริม สาครราษฎร์ ได้รับอิสรภาพ (หมอหัวฟูอยู่หนายยย ลูกศิษย์คิดถึงมากกก)

            กี้ร์ อริสมันต์ กลับมามอบตัว แต่ศาลเห็นว่าหลบหนี เลยไม่ให้ประกัน (มอบตัวแปลว่ากลับจากหลบหนี) ทนายก็เลยไม่ยื่นขอประกัน ให้นอนคุก 5 วันเป็นเพื่อนมวลชนเสื้อแดง ใครจะว่าดรามาหรือเปล่าไม่ทราบ ที่แกนนำ นปช.เข้าคุกในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ที่แน่ๆ คือ ดีเจเสื้อแดงโดนจับไปอีกคนที่มุกดาหาร หลังจากหลบหนีไปพักหนึ่ง ด้วยความเข้าใจว่ารัฐบาลของคนเสื้อแดงชนะ ก็กลับมาโดนดีเอสไอจับ

            ถัดจากคดีอากง ก็คือ โจ กอร์ดอน ติดคุกตามมาตรา 112 ไปอีกราย ในความผิดฐานแปลหนังสือต้องห้ามเผยแพร่ในเน็ต ขณะที่ อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ หรือ “นักปรัชญาชายขอบ” แห่งเว็บประชาไทโดนแจ้งจับที่ร้อยเอ็ด สหประชาชาติ ประชาคมยุโรป โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก วิพากษ์วิจารณ์ 112 แต่รัฐบาลกลับตั้งคณะกรรมการปราบเว็บหมิ่นสถาบัน (โดยมีออเหลิมเป็นประธาน หลังจากไปกินข้าวกับประยุทธ์ จันทร์โอชา) รัฐมนตรีไอซีทีตั้งหน้าตั้งตาล่าแม่มดแข่งกับรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จนมวลชนเสื้อแดงสับสนว่า ใครเป็นรัฐมนตรีไอซีทีกันแน่ อนุดิษฐ์ นาครทรรพ หรือปราโมทย์ นาครทรรพ (เหมือนที่ผมสับสนว่าใครเป็นผู้กำกับละครสี่แผ่นดิน ผมนึกว่าสุรวิชช์ วีรวรรณ)

            กระแสร้อนเรื่อง 112 ไม่มีแกนนำ นปช.คนไหนกล้าเอ่ยปากสักแอะ แม้ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ พูดว่าจะเดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญใหม่ พร้อมกับแก้ ม.112 พ.ร.บ.จัดระเบียบกลาโหม พ.ร.บ.ความมั่นคง แต่น้ำเสียงไม่แน่วแน่ เพราะถ้าแน่วแน่ ก็ต้องกล้าวิพากษ์วิจารณ์กว่านี้ แถมยังสับสน บอกจะแก้รัฐธรรมนูญตามแนวทางหมอเหวงบวกนิติราษฎร์ ไม่รู้บวกกันได้ไง เพราะหมอเหวงให้เอารัฐธรรมนูญ 40 คืนมา แต่นิติราษฎร์ให้ร่างใหม่

            ท่าทีหลายๆ อย่างของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.กำลังทำให้มวลชนส่วนหนึ่งเริ่มอึดอัด ไม่พอใจ และตั้งข้อกังขาว่ากำลังมีการ “เกี้ยเซี้ย” เพื่อแลกกับการเอา “นายใหญ่” กลับบ้านหรือเปล่า

112 ประเด็นตอกย้ำ
            การออกหมายเรียก อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ โดยตำรวจร้อยเอ็ด ตอกย้ำปัญหาของ ม.112 ที่ใครก็แจ้งจับได้ (กรณีนี้เป็นพันธมิตรผู้ถกเถียงกับ อ.สุรพศในเว็บบอร์ดอยู่เสมอ) เมื่อมีคนแจ้งจับแล้ว ตำรวจก็มักไม่กล้าตัดสินใจที่จะชี้ว่าไม่มีมูล เพราะกลัวจะถูกหาว่าไม่จงรักภักดี และผู้จงรักภักดีจะไม่ชอบหน้า มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตราชการ
             ไม่ใช่แค่ตำรวจ แต่รวมถึงบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ที่ขอแสดงท่าที “จงรักภักดีไว้ก่อน” เพื่อ safe ตัวเอง การใช้วิจารณญาณในคดี 112 จึงแตกต่างจากคดีอาญาอื่นๆ

            อานันท์ ปันยารชุน ยอมรับว่า 112 มีปัญหาการบังคับใช้ ที่ใครก็แจ้งความได้ แต่จริงๆ มันไม่ใช่แค่ปัญหาการบังคับใช้ แต่มันเป็นปัญหาเชิงอุดมการณ์ ความผิดตาม ม.112 ใครก็แจ้งจับได้เพราะถูก
            บัญญัติไว้ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นกฎหมายตกทอดจากอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์คือรัฐ แต่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐ แม้ควรได้รับความคุ้มครองในฐานะประมุข แต่ไม่ใช่การกระทำความผิดต่อประมุขจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐทุกเรื่องไป (อ.วรเจตน์เคยแยกแยะตัวอย่างเช่น การลอบปลงพระชนม์ ต้องถือเป็นความผิดต่อความมั่นคง แต่การดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท ไม่ควรไปไกลถึงขั้นกระทบความมั่นคงของรัฐ)

            อุดมการณ์ที่มีผลต่อการบังคับใช้ 112 ยังแสดงออกในการตีความความผิดฐาน “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์” จนขยายความเป็นการกระทำใดที่เพียงไม่เหมาะสมก็ถือเป็นความผิด ขยายความกว้างกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ที่กำหนดว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท”

              ข้อที่ผมกังขาในคดี โจ กอร์ดอน คือหนังสือ The King Never Smile ซึ่งเป็น “หนังสือต้องห้าม” นั้นมีข้อความ “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” หรือไม่  ผมก็ไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ (ไม่ทราบว่าอ่านแล้วจะมีความผิดหรือเปล่า ใต้เท้าที่เคารพ) แต่เท่าที่เคยอ่านบทวิจารณ์ของ ส.ศิวรักษ์ หนังสือ The King Never Smile มีทั้งข้อเขียนในด้านดีและบทวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งข้อมูลบางส่วนผิดพลาดสับสน แต่นั่นคือสไตล์การเขียนหนังสือชีวประวัติแบบฝรั่ง ซึ่งเขาสามารถเขียนชีวประวัติบุคคลสาธารณะได้ตามทัศนะคนเขียน ไม่หมิ่นประมาท และเจ้าตัวก็ห้ามไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือดาราเซเลบส์ ตั้งแต่ไดอานาไปถึงแองเจลินา โจลี บางเรื่องโด่งดังก็เอามาสร้างเป็นหนัง แต่งเติมสีสันเขียนบทให้มันดรามาแอคชั่นกันตามใจชอบ ต่างกับวัฒนธรรมไทย จำได้ว่าเคยมีผู้กำกับหนังจะทำหนังประวัติศาสตร์ยุคก่อน 2500 แต่ทายาทผู้นำขู่ฟ้องร้อง

           ผมนึกถึงหนังและละคร The King and I ซึ่งเคยเป็นหนังต้องห้าม ผมอยากดูตั้งแต่สมัยวัยรุ่น มาได้ดูเอาราวๆ พ.ศ.2530 ยุคที่ยังไม่มีการเซ็นเซอร์วีดิโอ ดูแล้วก็ไม่เห็นมีอะไร เป็นแค่เรื่องแต่งเหลวไหล ดูไปก็หัวเราะไปว่านี่หรือละครบรอดเวย์ที่โด่งดังนักหนา

           แต่ถามว่า The King and I หมิ่น ร.4 ไหม ผมไม่เห็นว่า “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” ตรงไหน ก็แค่มันผิดเพี้ยนจากความจริงไปไกล แบบว่าฝรั่งที่ดูหนังหรือดูละครเรื่องนี้ แล้วจะเข้าใจเมืองไทยไปอีกอย่าง มาเห็นความจริงแล้วเป็นอีกอย่าง

            หนังสือที่เขียนถึงในหลวง นอกจาก The King Never Smile ยังมี The Revolutionary King อีกเล่ม ซึ่ง ส.ศิวรักษ์และคนที่ได้อ่านวิจารณ์ว่าเป็นนิยาย เขียนไม่ดี เต็มไปด้วยข้อมูลผิดพลาด

             แต่ประเด็นที่น่าคิดคือ หนังสือทั้งสองเล่ม ในหลวงพระราชทานสัมภาษณ์ วิลเลียม สตีเฟนสัน และพอล แฮนด์ลีย์ ทรงให้ข้อมูลหลายเรื่องที่เราชาวไทยไม่เคยได้ฟังมาก่อน (เช่น ส.ศิวรักษ์เขียนไว้ว่า ทรงให้สัมภาษณ์สตีเฟนสัน ว่าจำเลย 3 คนที่ถูกประหารชีวิตในคดีลอบปลงพระชนม์ ร.8 เป็นผู้บริสุทธิ์ เช่นเดียวกับ อ.ปรีดี)  ประเด็นน่าคิดก็คือ ในหลวงเป็นปราชญ์ ทรงอ่านหนังสือฝรั่งมาก็มาก พระองค์ท่านไม่ทรงทราบหรือว่านักเขียนฝรั่งจะเอาไปเขียนอย่างไร ไม่น่าใช่ ผมเชื่อว่าพระองค์ทรงทราบดี แต่ทรงมีพระทัยกว้างพอที่จะให้พวกเขาเอาไปเขียนอย่างอิสระ ขณะที่สังคมไทยยอมรับไม่ได้กับการเขียนหนังสือถึงพระมหากษัตริย์แบบนั้น

            คำถามทางกฎหมายคือ The King Never Smile ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย จริงๆ หรือ หรือแค่มีข้อมูลผิดพลาดและเนื้อหาบางส่วนไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย (คำว่าต้องห้ามกับหมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้ายที่ห่างกันไกลนะครับ)

            ศาลได้พิเคราะห์แล้วหรือไม่ว่า เนื้อความใน The King Never Smile ตอนใดเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย ก่อนจะตัดสินลงโทษผู้แปล

           นี่ก็เป็นปัญหาของ 112 อีกประการคือ สื่อไม่สามารถเผยแพร่ได้ว่า การกระทำอย่างไร ใช้ถ้อยคำอย่างไร หรือส่ง SMS ว่าอะไร ใครเผยแพร่ก็ผิดไปด้วย

            เสียดายนะครับที่คดีโจ กอร์ดอน ไปไม่ถึงศาลฎีกา เพราะเจ้าตัวชิงสารภาพก่อน โดยเชื่อว่ารีบทำให้คดีสิ้นสุด แล้วขอพระราชทานอภัยโทษ จะใช้เวลานอนคุกน้อยกว่า หลังได้รับอภัยโทษก็บินกลับอเมริกา (และคงไม่มาอีกเลย)

            นี่ก็เป็นปัญหาของ 112 อีก คือเมื่อจำเลยมักไม่ได้รับการประกันตัว และเมื่อคดีสิ้นสุดก็มักได้รับพระราชทานอภัยโทษ จึงทำให้ไม่มีใครอยากสู้คดี จนมีคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐาน เพราะทำอย่างนั้นกว่าคดีจะสิ้นสุดก็ติดคุก 4-5 ปี

            มีแต่ดา ตอร์ปิโด กับอากง ที่ใจเด็ด ขอสู้ให้ถึงที่สุด

มีอำนาจลืมเสรีภาพ
            112 เป็นเพียงประเด็นหนึ่งที่ทำให้เห็นว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่กล้า หรือจริงๆ แล้วก็คือไม่ได้มีจุดยืนที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งที่เป็นรัฐบาลซึ่งได้ชัยชนะมาจากชีวิตเลือดเนื้อของมวลชนเสื้อแดง

            ที่จริงผมไม่ได้หวังว่ารัฐบาลจะมาเป็นตัวตั้งตัวตีแก้ 112 แต่นอกจาก 112 ยังมีกฎหมายลิดรอนสิทธิเสรีภาพอีกมากมาย ตั้งแต่ พรก.ฉุกเฉินที่ใช้ปราบมวลชนเสื้อแดง พรบ.ความมั่นคง ที่ให้อำนาจ
             กอ.รมน.เป็นรัฐซ้อนรัฐ สอดส่องควบคุมการเคลื่อนไหวมวลชน รวมทั้ง พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่มีจุดประสงค์ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ “สื่อใหม่” ทางอินเตอร์เน็ต (ทั้งที่สื่ออินเตอร์เน็ตคือเครื่องมือลดอิทธิพลสื่อกระแสหลัก ที่จ้องล้มรัฐบาลนี้)  แต่แทนที่รัฐบาลจะกระตือรือร้นหรือมีแนวคิดที่ชัดเจนในการแก้ไข กลับไม่แสดงท่าที และเอามาใช้ด้วย

             โถ ก็ดูกรณีนักร้องดังถูกเมียแพร่ภาพคล้ายกับเสพย์อะไรบางอย่างในเฟซบุค ตำรวจบอกว่าหลักฐานไม่พอ ผบ.ตร.พี่เมียอดีตนายกฯ กลับจะไปเอาผิดเมียตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ชาวบ้านชาวช่องวิพากษ์ วิจารณ์กันอื้ออึงว่าท่านโดน “ข้าวสารเสก” มาหรือเปล่า  แน่นอนว่ารัฐบาลอยากแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อ “ลบล้างอำมาตย์” ลดอำนาจองค์กรอิสระ ลดอำนาจแฝงของตุลาการที่เป็นผู้สรรหาวุฒิสมาชิกและองค์กรอิสระ รัฐบาลอยากแก้ พรบ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม เพื่อกลับมามีอำนาจเต็มในการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร
             นั่นเป็นเป้าหมายตรงกันกับผู้รักประชาธิปไตย แต่ปัญหาคือ รัฐบาลไม่มีความมุ่งหมายไกลกว่านั้น

            นักวิชาการบางท่านบอกว่ารัฐบาลไม่มี Mandate ผมเถียงว่าความจริงมี คือเอาทักษิณกลับบ้าน (ฮา) กับพยายามรักษาอำนาจให้ได้ยาวนานที่สุด กองเชียร์รัฐบาลอาจเถียงว่า มีความจำเป็นต้องประนีประนอม ต้องกินทีละคำ ทำทีละอย่าง สมมติเช่นจะมาแก้ 112 ทันทีไม่ได้หรอก ใช่ครับ แต่ต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าพร้อมจะเดินไปข้างหน้า ไม่ใช่มาประกาศปราบเว็บหมิ่นสถาบันแข่งกับประชาธิปัตย์ ถ้าคุณมีจุดยืน แต่จำเป็นต้องประนีประนอม คุณก็ต้องพูดให้ชัดว่าปัญหาเกิดขึ้นเกิดเพราะการอ้างอิงสถาบันมาใช้เป็นประโยชน์ทางการเมือง ต้องช่วยกันยกสถาบันออกจากความขัดแย้ง แล้วเว็บหมิ่นทั้งหลายก็จะลดลง ระหว่างนี้ รัฐบาลก็จะดูแลตักเตือน ถ้าไม่ไหว ต้องดำเนินคดีก็ดูแลไม่ให้กลั่นแกล้งกัน กลั่นกรองให้แน่ชัดก่อนส่งฟ้อง เพราะการดำเนินคดีมากเกินไป ก็มีผลกระทบต่อสถาบัน
             เฮ้ย พูดให้เป็นก็พูดได้ ไม่จำเป็นต้องจำขี้ปากปราโมทย์ นาครทรรพ มาพูด

             หรืออย่างการดำเนินคดี 91 ศพ อ้าว พอไก่อูซัดทอดอภิสิทธิ์ สุเทพ ทหารก็ลอยนวล คนบางขุนเทียนนับญาติกันถึงยาย (ลืมไปแล้วที่ก่อนเลือกตั้งออกมาประกาศปาวๆ อย่าเลือกพรรคล้มสถาบัน) เปล่า ผมไม่ได้พูดเฉพาะตัวบุคคล แต่การชำระสะสางกรณีเข่นฆ่าประชาชน มันต้องพูดถึงการปฏิรูปกองทัพ พูดถึงการแก้ไข พรก.ฉุกเฉิน พรบ.ความมั่นคง ที่ฟื้น กอ.รมน.มาเป็นเครื่องมือของทหาร
             หรืออย่างศาลยกฟ้องมวลชนเสื้อแดง 6 คนคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ แต่จำคุก 6 เดือนฐานฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน โดยจำเลยติดคุกมาปีครึ่ง ไม่ได้ประกัน เท่ากับติดฟรี 1 ปี นี่เป็นประเด็นที่ต้องพูดถึงการปฏิรูปศาล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ใครจะชดใช้ให้เขา กับเสรีภาพที่ต้องสูญเสียไป 1 ปีเต็ม เพราะศาลไม่ให้ประกัน ศาลผู้สูงส่งเคยรับผิดชอบอะไรไหมกับการที่คนบริสุทธิ์สูญเสียเสรีภาพ ไม่ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย

            ในขณะที่นักคิดนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย เคลื่อนไหวนำหน้ากันไปไกลแล้ว ท่าทีของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เหมือนไม่ได้มีความรู้สึกรู้สาอะไรเลย ถ้าไม่มี นปช.ออกมาแสดงบทบาทเชิงพิธีกรรม รัฐบาลนี้ก็แทบไม่มีอะไรบ่งบอกว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากชีวิตเลือดเนื้อของมวลชน ไม่มีอะไรต่างจากรัฐบาลนักการเมืองทุกชุด
            ผมไม่ได้คัดค้านการปรองดอง หรือแม้แต่การ “เกี้ยเซี้ย” ตั้งอำมาตย์มาร่วมงานแก้ไขปัญหาของชาติ นั่นเป็นด้านดี อำมาตย์ดีๆ มีความสามารถก็เยอะ การสร้างความปรองดองร่วมมือกันแก้ไขปัญหาควรจะเป็น Mandate ของรัฐบาล แต่ที่ต้องควบคู่กันคือการปรองดองบนหลักการประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ

           ที่พูดนี่ไม่ใช่ว่าแกนนำ นปช.ก็จะเข้าท่าเข้าทีอะไร เพราะพอเป็น ส.ส.ก็กลายเป็น “ลูกพรรค” กันไปหมด นอกจากบทบาทยกมือเป็นฝักถั่วแล้ว ไอ้ที่จะเคลื่อนไหวผลักดันอะไรก็ไม่จริงจังซักเท่าไหร่

           ส่วนพรรคไม่ต้องพูดถึง พรรคเพื่อไทยจริงๆ น่าจะเหลือ “เด็จพี่” อยู่คนเดียวในฐานะโฆษกพรรค ที่เหลือก็เป็นห้องรกร้างว่างเปล่า พรรคไม่ได้มีบทบาททางนโยบาย ไม่ว่าจะนโยบายประชาธิปไตย
            นโยบายการศึกษา นโยบายสาธารณสุข หรือการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านต่างๆ กลายเป็นเรื่องของนักการเมืองเจ้ากระทรวง ที่แบ่งเค้กกันไปเรียบร้อยแล้ว

             ปัญหาของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นอย่างที่เห็นตั้งแต่ตอนตั้ง ครม.ต่างตอบแทน ของนายใหญ่ นายหญิง ของเจ๊ ของเสี่ย นักการเมืองพรรคเพื่อไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองได้เสวยอำนาจ เพราะมวลชน แถมยังรำคาญเสื้อแดง แอนตี้แกนนำ นปช.กลัวโดนแย่งตำแหน่ง
              พรรคเพื่อไทยจึงขับเคลื่อนอะไรไม่ได้ ทุกอย่างไปรวมศูนย์ที่ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ และขึ้นกับใครเข้าถึงยิ่งลักษณ์-ทักษิณ (หรือจะให้เจ๊แดงมาร่วมขับเคลื่อนนโยบาย-ฮา)

             ขณะที่ นปช.ก็สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง แม้ก่อนนี้จะถูกมองว่าขึ้นกับนายใหญ่ แต่ก็ยังมีการขับเคลื่อนที่เป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง จนกระทั่งมาอยู่ใต้พรรคกับรัฐบาล

            ขอเตือนว่าปรากฏการณ์นี้จะดำรงอยู่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะมวลชนที่เริ่มอึดอัด ไม่พอใจ มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเว็บบอร์ดเสื้อแดงตอนนี้ก็เริ่มด่ารัฐมนตรีหลายคน ตั้งแต่รัฐมนตรีล่าแม่มด ไปถึงรัฐมนตรีหญิงที่ถูกตั้งฉายาว่า “อีเฉย” (เล่นเน็ตไม่เป็น IF ประชาทอล์ค พันทิพ ไม่รู้จัก เฟซบุค ทวิตเตอร์ ไม่มีใช้ จบบัญชีแต่ยังใช้ลูกคิดอันเก่าของเตี่ยอยู่เลย ฯลฯ...อย่างฮา) ตบท้ายด้วย “เจ๊แดง...เด็กเจ๊มันไม่ทำงาน เปลี่ยนตัวด่วน” (ล่าสุดด่าสื่อเสื้อแดงด้วยกันก็ยังมี)

            ที่พูดเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้เสียกำลังใจ แต่เป็นสิ่งที่เห็นอยู่แล้วว่ามันต้องเกิด มันต้องมีการแยกขั้ว เป็นธรรมดาหลังชัยชนะในการเลือกตั้ง ที่เป็นชัยชนะของแนวร่วมระหว่างพลังประชาธิปไตยกับนักการเมืองพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีจุดร่วมแต่บางด้านก็แตกต่างกันสุดขั้ว เป็นธรรมชาติที่จะต้องมีการแยกขั้วมีจุดร่วมจุดต่างใหม่

            ปฏิกิริยาของมวลชนแสดงความก้าวหน้าที่กำลังจะ “ก้าวข้ามทักษิณ” ไปสู่ความต้องการเสรีภาพและประชาธิปไตยที่แท้จริง วันหนึ่ง เราจะเห็นการแยกขั้วของมวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยที่จะก้าวไปในแนวทางนิติราษฎร์-สันติประชาธรรม ขณะที่อีกส่วนอาจยังอยู่กับเพื่อไทยหรือแกนนำ นปช.

             คำว่า “ก้าวข้ามทักษิณ” ไม่ได้แปลว่าไม่เอาทักษิณหรือเกลียดทักษิณนะครับ ผมเชื่อว่ามวลชนจำนวนมากจะสามารถ “ก้าวข้ามทักษิณ” ทั้งที่พวกเขารักทักษิณ แต่หมายถึงวันไหนที่ทักษิณหยุด โดยพวกเขายังไปไม่ถึงเป้าหมาย ของสิทธิเสรีภาพและการทวงความยุติธรรม พวกเขาก็พร้อมจะไปต่อ

              การแยกขั้วไม่ได้หมายความว่าแตกแยก หรือต้องสู้รบกัน หากเป็นการยกระดับความเป็นแนวร่วมขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ที่ต้องต่อสู้ความคิดกันในขณะที่มีจุดร่วมกัน โดยประเด็นสำคัญที่ทักษิณและพรรคเพื่อไทยต้องตระหนักคือ พวกเขาไม่สามารถชนะได้ อยู่ในอำนาจได้ ด้วยการเกี้ยเซี้ยกับอำมาตย์ พวกเขาชนะได้ และอยู่ในอำนาจได้ ด้วยมวลชนและพลังประชาธิปไตยเท่านั้น และนั่นคือฐานอำนาจที่พวกเขาสามารถต่อรองกับอำมาตย์

              พลังประชาธิปไตย มวลชนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย จะมีจุดต่างมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่เหมือนพันธมิตรกับประชาธิปัตย์ (เว็บไซต์ผู้จัดการยังขึ้นข่าว อ.ใจยุเสื้อแดงต่อต้านเพื่อไทย เป็นข่าวยอดนิยม ข้าม
              อาทิตย์ไม่ยอมเอาลง) เพราะขบวนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอยู่บนหลักการ เหตุผล (ไม่สติแตกจนเพ้อหาการเมืองใหม่) แม้มวลชนจำนวนหนึ่งอาจฮาร์ดคอร์ เลยเถิด แต่ที่สุดพวกเขาก็จะต้องพัฒนามายอมรับเหตุผล ยอมรับจุดลงตัวที่เป็นไปได้ ในขณะที่การเดินทางของพรรคเพื่อไทยอาจเหนื่อยหน่อย ตอนนี้ดำรงอยู่ได้เพราะมวลชนปกป้องจากภัยสลิ่ม-แมลงสาบ แต่ถ้าไม่ปรับตัวก็ต้องโดนมวลชนตบโหลกสั่งสอนเหมือน “อีเฉย” และจะสูญเสียมวลชนไปเรื่อยๆ
               แล้วมวลชนจะไปไหน อย่างน้อยผมมั่นใจว่า เสื้อแดงไม่กลับไปเป็นสลิ่มแน่นอน


                                                                                    ใบตองแห้ง
                                                                                    9 ธ.ค.54
http://redusala.blogspot.com

ข้อสังเกตบางส่วนการก่อตัวของระบอบรักเจ้า


ข้อสังเกตบางส่วนการก่อตัวของระบอบรักเจ้า

ประชาธิปไตยที่รัก โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (madpitch@yahoo.com)

               ในขณะที่หลายคนรู้สึกว่าสิ่งที่สำคัญในบรรยากาศทางการเมืองในช่วงหลายปีนี้ก็คือการก่อตัวของขบวนการล้มเจ้า

               ถึงกับมีการสร้างผังล้มเจ้าขึ้นมาเผยแพร่ และกลายเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความชอบธรรมในการกระชับพื้นที่เมื่อปีที่แล้ว

               สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอก็คือ ขบวนการรักเจ้า และระบอบรักเจ้าก็ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างเป็นระบบเช่นกัน

               ต้องขยายความก่อนว่า ขบวนการรักเจ้าและระบอบรักเจ้าคืออะไร? สิ่งนี้แตกต่างจากความรักเจ้า

               ความรักเจ้านั้นอาจจะมีอยู่แล้ว จะมีจากภายในหรือจะมีจากการที่เห็นพ้องต้องกันกับการนำเสนอเรื่องราวว่าทำไมเราควรรักเจ้า

               เรื่องนี้มีมานานแล้ว แต่ถ้าอยากดูในรายละเอียดก็คงมีการศึกษากันอยู่ ในเชิงของการก่อตัวของอุดมการณ์ ตามที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ

               แต่เรื่องที่ใหม่อยู่สักหน่อย ก็คือ เรื่องของขบวนการรักเจ้า และระบอบรักเจ้า ซึ่งอาจจะอธิบายบางส่วนว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มากกว่าเรื่องราวเชิงอุดมการณ์และวัฒนธรรม มาสู่เรื่องของการเมืองและกระบวนการยุติธรรม

               ขบวนการรักเจ้าผมหมายถึงการก่อตัวของชุดความคิดและปฏิบัติการที่เชื่อมโยงการกระทำทางการเมือง และการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผูกโยงกับการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ในความหมายที่ว่า จำเป็นต้องมีหรือไม่มีการกระทำทางการเมืองบางอย่างเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
               ส่วนระบอบรักเจ้านี้ผมมุ่งเน้นไปในสองเรื่อง เรื่องแรกคือภาพใหญ่ของความเชื่อมโยงเหตุผลและการใช้ชีวิตของเรากับการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งพูดง่ายๆ ว่าขบวนการรักเจ้าก็เชื่อมโยงและบางทีก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบรักเจ้าด้วย แต่ที่สำคัญก็คือกระบวนการกำหนดขอบเขตของการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ต่างหาก นั่นคือประเด็นที่สอง

               ผมมุ่งไปที่การพยายามเข้าใจการดำเนินคดีหมิ่นที่ปรากฏในช่วงนี้ โดยเฉพาะในมุมที่หมายถึงการปักหมุด และกำหนดอาณาบริเวณที่สามารถพูดถึงทั้งพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ผ่านการศึกษาคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าว
               นึกถึงตอนที่มีการกำหนดศีลในศาสนานั่นแหละครับ เมื่อมีความผิดก็มีการกำหนดข้อห้าม ดังนั้นเราจะพอมองเห็นมากขึ้นว่ามีการพยายามกำหนดอะไรขึ้นมา อาทิ

               หนึ่ง การกำหนดว่า แม้ว่าจะไม่มีใครเห็นว่าผู้ต้องหานั้นกระทำ แต่ถ้าผู้ต้องหาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่กระทำ ก็ยากที่จะหลุดจากคำตัดสิน ตามกรณีของการส่งเอสเอ็มเอส
               สอง การกำหนดว่าแม้จะไม่หมิ่นเอง แต่ถ้าปล่อยให้มีการหมิ่นอยู่ในเว็บไซต์ของตัวเองแล้วไม่ได้ลบ ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ก็จะถูกดำเนินคดี

               สาม ไม่ว่าการหมิ่นนั้นจะกระทำนอกประเทศไทย และผู้กระทำไม่ใช่เป็นคนไทย และไม่ได้ถือว่าผิดตามมาตรฐานของประเทศนั้น ก็ถือว่าผิด

               ระบอบรักเจ้านี้จึงเป็นเรื่องใหม่ และถูกสร้างขึ้นทุกวันเช่นเดียวกัน แต่ระบอบนี้ย่อมมีประเด็นที่ท้าทายอยู่เช่นกัน ในแง่ที่ว่านอกเหนือจากการเน้นการปราบปรามและตัดสินคดีดังที่เป็นอยู่ คำถามก็คือ ถ้าความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีมีขึ้นอย่างรวดเร็ว จนโครงสร้างกฎหมายอาจจะต้องไล่ตามเทคโนโลยี และถ้าความเชื่อมโยงกับโลกนั้นมีมากขึ้นจนต้องตัดสินคดีของคนที่ไม่ใช่คนในประเทศ และที่สำคัญถ้าสังคมมีข้อสงสัยและเปล่งเสียงไปในทิศทางที่ไม่ตรงกับเสียงที่ถูกส่งมาจากด้านเดียวมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะคงไว้ซึ่งความรักและพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างไร

               เพราะการปราบปรามและการวางขอบเขตของความตัดสินนั้นอาจส่งผลให้เกิดความกลัว และความกลัวในบางกรณีนั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกับความจริง และไม่ใช่เรื่องเดียวกับความเข้าใจและความศรัทธา และไม่ได้ตั้งอยู่กับเงื่อนไขหลักว่าเราจะอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางความคิดได้อย่างไร

               โดยเฉพาะเมื่อสุดท้ายความกลัวอาจถูกเปลี่ยนเป็นความไม่กลัวนั่นแหละครับ
http://redusala.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554


"ปวิน" สวนประยุทธ์-ไล่คนต้านปฏิรูป ม.112 ไปอยู่ดาวดวงอื่น



             เมื่อ 20 ธ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกระแสเรียกร้องทางการเมืองให้แก้ไขปัญหามาตรา 112 ว่า ไม่ควรที่จะพูดถึงดีกว่า เพราะเป็นความเห็นส่วนตัวของบางพวกบางฝ่าย ในส่วนของตนเองเป็นฝ่ายความมั่นคง มีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาปกป้อง เฝ้าติดตามอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่อย่าให้มันเลยเถิดเกินไป แต่หากมีบางฝ่ายอ้างถึงต่างประเทศที่แก้ไขกัน ก็ให้เขาไปอยู่ต่างประเทศก็แล้วกัน

           

             วันเดียวกัน ′ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์′ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ผู้ริเริ่มโครงการ "ฝ่ามืออากง" และรณรงค์ให้มีการปฏิรูปแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เพื่อปกป้องสถาบันเบื้องสูงอย่างแท้จริง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ในฐานะที่เป็นหนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนให้มีการปฏิรูปกฏหมายมาตรา 112 ผมขอประกาศตรงนี้ว่า ใครไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์นี้ ขอให้ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หรือดาวนพเคราะห์ดวงอื่น อย่าทำตัวเป็นสิ่งปฏิกูลของประชาธิปไตยในประเทศนี้เลยครับ"

http://redusala.blogspot.com

คำพิพากษาศาลฎีกา ยกหัวหน้าคณะปฏิวัติ ขึ้นเป็น ‘พระราชา’...จริงหรือ!!!?

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

        ทความที่เขียนโดยอดีตผู้พิพากษาท่านหนึ่ง คือ คุณนคร พจนวรพงษ์ ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ‘มติชน’ รายวัน ฉบับประจำ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ใช้ชื่อบทความว่า

        เมื่อผู้เขียนถูกคำสั่งของคณะรัฐประหาร บังคับให้เป็นตุลาการศาลทหาร 

        น่าจะได้รับความสนใจจากผู้คน เพราะนอกจากลงตีพิมพ์แล้ว ยังได้ถูกนำมาพูดถึง และอ่านออกวิทยุบางสถานีด้วย

        ผู้เขียนบทความเล่าว่า เคยเป็นทนายความมาก่อน แล้วไปสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ภายหลัง ระหว่างที่เป็นทนายความ ท่านแสดงทีท่าต่อต้านการรัฐประหาร โดยบอกว่า

        ...ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่รังเกียจและต่อต้านการยึดอำนาจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่เห็นด้วยกับประกาศหรือคำสั่งใดๆ ของคณะรัฐประหาร...

        ด้วยเหตุนี้เอง ระหว่างเป็นทนายความ คุณนครฯจึงไม่สนใจไม่ศึกษา และไม่ยอมที่จะปฏิบัติตามตำสั่งของคณะปฏิวัติ แต่ในฐานะทนายความ ต้องว่าความให้ลูกความที่ศาล ได้ทราบว่าประกาศต่างๆ ของคณะรัฐประหาร ผู้พิพากษาศาลไทยท่านยอมรับและปฏิบัติตามเสียแล้ว

        ตัวท่านเอง จะทำอย่างไรได้!?

        ท่านให้ความเห็นสำคัญ ว่า ผู้พิพากษาไม่ควรไปยอมรับอำนาจคณะรัฐประหาร และยังมีความเห็นเพิ่มเติมอีกคือ... 

        ...บรรดานักกฎมายที่เข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร น่าจะกระทำไปเพราะผลประโยชน์ของตัวเองโดยสร้างกฎหมายออกมากดหัวกบาลประชาชน เพื่อสืบทอดอำนาจที่ชั่วร้ายต่อไป...
         คนเหล่านี้ใครเป็นใครบ้าง คุณนครฯบอกให้ไปดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีบันทึกเอาไว้แล้วทั้งนั้น!

        ผู้เขียนบทความยังเล่าต่อไปอีกว่า ต่อมาตัวท่านสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ และเมื่อเป็นผู้พิพากษาเต็มตัวแล้ว ได้ย้ายไปรับราชการที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ 

        ระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ แม่ทัพเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินฉีกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
ออกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 24 และฉบับที่ 29 ออกคำสั่งให้ คดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐและความผิดที่มีโทษทางอาญาบางประเภท ให้ขึ้นต่อศาลทหาร และออกคำสั่งให้ผู้พิพากษาศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกคนเป็น ตุลาการศาลทหาร ให้พนักงานอัยการเป็นอัยการทหาร ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญาและสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาล เป็นที่ทำการศาลทหาร ให้คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เป็นคดีที่ห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหาร 

        คุณนคร พจนวรพงษ์ ผู้เขียนบทความเลยต้องตกกระได พลอยเป็นโจร เพราะคำสั่งดังกล่าว แต่ท่านได้สรุปบทความว่า 

        ผู้พิพากษายุคใหม่สมัยใหม่ ที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ สามารถต่อต้านด้วยสันติวิธี ด้วยการไม่ออกคำสั่งหรือวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ตามประกาศหรือคำสั่งใดๆ ของคณะรัฐประหารที่ประกาศใช้มาแล้ว และ/หรือจะพึงมีหรือเกิดขึ้นต่อไปอีกในอนาคต

        ‘วาทตะวัน’ อยากให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ!

        มเห็นว่า บทความของคุณนคร พจนวรพงษ์ น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะมีวัตถุประสงค์สนับสนุนผู้พิพากษารุ่นหลังจากท่าน ให้บังเกิดความกล้าหาญ ลุกขึ้นมาต่อสู้ กับกลุ่มบุคคลที่ยึดอำนาจไปจากประชาชนด้วยอย่างไม่เป็นธรรม 

        แต่...

        ตัวคุณนครฯเอง ไม่เคยลุกขึ้นมาต่อสู้ และยอมเป็นตุลาการศาลของฝ่ายรัฐประหาร มาแล้วอีกด้วย! 

        ตรงนี้เอง ผมอยากจะบอกกับคุณนคร ว่า

        เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ไม่ใช่เฉพาะคุณนครฯเท่านั้น แม้บรรดา ‘ท่านเปา’ คนอื่นๆ ในบ้านเมืองของเรา ก็ไม่เคยมีประวัติในการลุกขึ้นต่อสู้กับฝ่ายทหาร ที่ยึดอำนาจบ้านเมืองของเรา โดยปราศจากความชอบธรรม แม้แต่ครั้งเดียว ตราบจนกระทั่งเกิดปรากฏการณ์ของท่านผู้พิพากษาศาลฎีกา กีรติ กาญจนรินทร์! อย่างที่ผมเคยเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังไปแล้ว        (ดูคอลัมน์ จดหมายฟ้องโลก!!! ท้ายบทความนี้)

        อยากจะเล่าให้คุณนครฯ ฟังเพิ่มเติมด้วยว่า หลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ผมได้เขียนบทความยุยงผู้พิพากษาทั้งหลาย ให้ท่านแข็งข้อต่อการรัฐประหาร หลายบทความ ลงในเว็บไซด์ผู้จัดการ เช่น “ผู้พิพากษาต้องเป็น ‘ธงนำ’ ในการต่อต้านรัฐประหาร” ซึ่งท่านหาอ่านได้ได้หนังสือ 

        “รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ” 

        ส่วนบรรดาบทความอื่นๆ ที่มีทิศทางเดียวกัน ผมได้ให้รายละเอียด สำหรับผู้ที่สนใจจะทำการศึกษาค้นคว้า ไว้ท้ายบทความนี้แล้ว

        บทความ “ผู้พิพากษาต้องเป็น ‘ธงนำ’ ในการต่อต้านรัฐประหาร” ที่ผมเขียนนั้น ได้บรรยายถึงความเลวทราม ในการทำรัฐประหารยึดบ้านยึดเมือง แล้วในที่สุดหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเป็น ผบ.ทบ.ทั้งนั้น ล้วนแต่ต้องประสบชะตากรรมร้ายแรงต่างๆกันไป บ้างไปเสียชีวิตในต่างแดน เช่นจอมพล ป.พิบูลสงคราม ส่วนที่ถูกยึดทรัพย์ก็มีตัวอย่าง เช่น อมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร แต่ที่อื้อฉาวมากที่สุด คือเจ้าของฉายา “จอมพลสะดือแตก” หรือ “จอมพลพันเมีย” เพราะมีเมียมากมายเหลือเกิน คนนั้นคือ

        “จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์”

        สำหรับบทความของ คุณนคร พจนวรพงษ์ น่าสนใจก็จริง แต่ผมว่ามันก็เป็นการยาก ที่จะให้ผู้พิพากษารุ่นน้องหรือรุ่นหลัง เชื่อตามคำแนะนำของคุณนครฯ เพราะต่างคนก็ล้วนแต่รักตัว กลัวภัยที่จะมาถึงตัวด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น แม้ตามหลักอินทภาษ ซึ่งวางวางหลักธรรมในการดำรงตน และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาตุลาการว่า 

        จะต้องพิจารณาตัดสินอรรถคดี ด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด อันเกิดจากอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะรักชอบ เห็นแก่อามิสสินบน โทษาคติ คือ ลำเอียงเพราะโกรธ  ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะกลัว และ โมหาคติ คือลำเอียงเพราะหลง  

        ‘ภยาคติ’ หรือความกลัวภัยนั้น เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ที่เลือกทางเอาตัวรอดไว้ก่อนดีกว่า ซึ่งไม่เว้นแม้แต่คนที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา  

        ดังนั้น การที่จะให้ผู้พิพากษาไทยเรา มีความกล้าหาญรักษาระบบประชาธิปไตย 

        ไม่ใช่เรื่องง่าย!

        อย่างไรก็ดี มี ‘ท่านเปา’ บางประเทศ เช่น ผู้พิพากษาปากีสถาน ซึ่งมีความกล้าหาญเพียงพอ ที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจไม่เป็นธรรม อย่างกล้าหาญชาญชัยยิ่งนัก
        ‘ท่านเปา’ ปากีสถานนั้น ได้ลุกขึ้นต่อต้าน อำนาจเถื่อนของทหาร จนต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง บางท่านถูกจับกุม คุมขัง แต่การต่อสู้ของท่านเหล่านั้น ก็ได้รับชัยชนะในที่สุด และได้กลับเข้ารับตำแหน่งเดิมทุกคน จนชาติต่างๆเขา พากันยกย่องในความความกล้าหาญ ของบรรดาท่านเปาปากีสถาน เป็นอย่างมาก 

        สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือ บอกว่าการที่จะให้ผู้พิพากษาบ้านเรา เป็น ‘ธงนำ’ ประชาชนชาวไทย ในการต่อสู้กับคณะรัฐประหาร อย่างที่ผมเขียนยุยงนั้น คงจะยากเย็นพอๆกับการ...

        บังคับผู้หญิง ให้ออกลูก...ทางตูด!

        คุณนครฯ คงจะทราบดีว่า บรรดาผู้พิพากษาก่อนท่าน ได้ยึดมั่นในคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 45/2496 และ 1663/2505 ซึ่งวางหลักเกณฑ์ว่า ทหารผู้ทำปฏิวัติสำเร็จเป็น  

        “รัฐาธิปัตย์”

        ทำให้ฝ่ายทหารผู้ก่อการ บังเกิดความฮึกเหิม ได้ใจว่าการทำระยำ ด้วยการยึดอำนาจการปกครองบ้านเมือง เป็นความชอบธรรม เพราะ...

        ศาลฎีกาท่าน ‘ตีตรา’ รับรองให้แล้ว!  

        ด้วยคำพิพากษาของศาลฎีกาอย่างนี้เอง ที่บรรดา ‘ท่านเปา’ รุ่นหลังๆจึง ‘ไม่หือ-ไม่อือ’ กับการรัฐประหาร จนมีสภาพเป็นศาลใต้อำนาจเถื่อนอย่างแท้จริง ถึงกับออกคำพิพากษาศาลฎีกา โดยใช้คำว่า “รัฐาธิปัตย์” อย่างเต็มปากเต็มคำ ทั้งๆที่คำๆนี้ ไม่ใช่ภาษาไทย และไม่มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดๆของประเทศนี้ด้วย ซึ่งผมได้เขียนบทความ ตั้งข้อสงสัยว่า

        ในเมื่อกฎหมายบอกว่า คำพิพากษาต้องทำเป็นภาษาไทย 

ก็แล้วคำๆนี้ มันไม่มีอยู่ในภาษาของเรา แล้วเหตุไฉนผู้พิพากษาศาลฎีกาในอดีต 

        ดันยกคำๆนี้ ขึ้นมากล่าวอ้างในคำพิพากษา ได้อย่างไรกัน!?

        เมื่อผมตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้ไป ก็มีเว็บไซด์พุทธธรรมสาร ได้นำไปวิพากษ์วิจารณ์ (แต่ไม่ปรากฏนามผู้เขียน) โดยแจกแจงความหมายดังต่อไปนี้

รัฐาธิปัตย์  พุทธธรรมสาร

บทความทั่วไป >> รัฐาธิปัตย์ ศุกร์ ที่ 30 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2553

        มีศัพท์ใหม่มาให้วิจารณ์อีกแล้ว "รัฐาธิปัตย์" มันคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร ?         ศัพท์ ๆ นี้. ผมได้ไปอ่านคอลัมน์ ชื่อ "วิบากกรรมของ ป.ป.ช. เห็นทีจะต้องคืนเงิน อย่างนั้นหรือ?"  ของคุณ วาทตะวัน สุพรรณเภษัช จากหนังสือ ประชาทรรศน์รายสัปดาห์  ก็เกิดความสนใจในคำว่า "รัฐาธิปัตย์" มีหลายคนหลายท่านไปหาดูในพจนานุกรมว่า คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร แต่ก็ปรากฏว่า 

        ศัพท์นี้ท่านไม่ได้เขียนไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่จะมีอยู่ในที่อื่นอย่างไรผมก็ไม่อาจทราบได้ อย่างไรก็ตามผมดูแล้วว่า ศัพท์นี้ มันเป็นภาษาบาลีแน่นอน ใน
ฐานะที่พอจะรู้บาลีพอสมควร ก็เลยจะลองแยกแยะ และหาความหมายของศัพท์นี้มาชี้แจงแถลงไขให้ดู พอหอม(ตรง)ปากและหอม(ตรง)คอ

content/picdata/340/data/photo4.jpg

        คำว่า "รัฐาธิปัตย์" หากเขียนตามภาษาบาลี จะเขียนว่า "รฏฺฐาธิปตฺย" (รัด-ถา-ทิ-ปะ-ตะ-ยะ เวลาออกเสียง ตะ ออกได้เพียงแค่ครึ่งเสียง คือให้ออกเสียงเร็ว ๆ คือลักษณะ ตฺ คล้าย ๆ กับว่า เป็นตัวสะกดของ ป นิดหนึ่ง และออกเสียงว่า ตะ นิดหนึ่ง) 

ตามรูปศัพท์เดิมจะเขียนว่า "รฏฺฐาธิปติ" (รัด-ถา-ทิ-ปะ-ติ) ใน ทางไวยกรณ์บาลี ท่านจะเขียน ฏ ซ้อนหน้า ฐ เสมอ แต่ภาษาไทยเราก็ตัด ฏ ออก ไม่ทราบเหตุผลกลใด 

บางครั้งการตัดพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งออก ทำให้คำอ่าน หรือเนื้อความเสียหายไปก็มี อย่างเช่นคำที่ว่านี้ รัฐาธิปัตย์ (จะให้อ่านว่าอย่างไร? รัด-ถา, หรือ ระ-ถา ถ้าอ่านว่า รัด-ถา ก็หมายความว่า ฐ ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือเป็นทั้งตัวสะกด และเป็นตัวของตัวเอง คือ ฐา ข้อนี้ทำให้เกิดการลักลั่นในการอ่าน, ถ้าเขียนว่า รัฏฐาธิปัตย์ ก็จะอ่านว่า รัด-ถา-ธิ-ปัด ได้เลย และถือว่าเขียนไม่ผิด อ่านไม่ผิดด้วย.

        อีกอย่างหนึ่ง การเขียนให้ครบเต็มตามรูปศัพท์เดิม คือ รัฏฐาธิปัตย์ นี้ ก็จะทำให้ทราบที่ไปที่มาของศัพท์ได้ด้วย ว่ามีการทำตัวศัพท์ สำเร็จรูปมาอย่างไร.  (นี่เป็นเพียงข้อสังเกตเล็กน้อยของผู้เขียนเท่านั้น)   

        จากศัพท์ว่า รฏฺฐาธิปติ กลายเป็น รฏฺฐาธิปตฺย ได้นั้น ก็เป็นไปด้วยอำนาจของไวยากรณ์บาลี คือท่านสามารถให้แปลง อิ เป็น ย ได้ อย่างศัพท์ว่า รฏฺฐาธิปติ เมื่อแปลง อิ ที่ ติ (รฏฺฐาธิปติ) เป็น ย แล้ว รูปศัพท์ก็จะเป็น รฏฺฐาธิปตฺย จะสังเกตเห็นว่า ข้างล่างของ ตฺ จะมีจุดดำๆ เล็ก ๆ อยู่ ก็เป็นการบอกให้ทราบว่า ตอนนี้  ตฺ ไม่มีสระอาศัยแล้ว หมายความว่า สระ อิ ได้ถูกแปลงเป็น ย ไปแล้ว. ทีนี้พอมาเขียนเป็นภาษาไทย ท่านก็จัดการเลย ลบ ฏ ออก ใส่ไม้หันอากาศ ตรง ร, ป แล้วก็ใส่ไม้ทัณฑฆาตตรง ย เพื่อไม่ให้ ย อ่านออกเสียงได้ ก็เลยได้ศัพท์เป็น "รัฐาธิปัตย์"

        ในภาษาบาลีนั้น การแปลง สระ ให้เป็นพยัญชนะนั้น มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น  

        - แปลง อิ เป็น ย
        - แปลง อี เป็น เอ แล้ว เอา เอ เป็น อย ก็ได้ เช่น นายก มาจาก นี + ณฺวุ (เอา อี เป็น เอ แล้วเอา เอ เป็น อย = นย (นะ-ยะ), แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ) อำนาจปัจจัยที่เนื่องด้วย ณฺ ให้
ทีฆะ นย เป็น นาย + อก สำเร็จรูปเป็น นายก (นา-ยก แปลว่า ผู้นำ)
        - แปลง อุ เป็น วฺ เช่น ธนฺวาคม (ธันวาคม) มาจาก ธนุ + อาคม เอา อุ ที่ นุ เป็น ว = ธนฺว + อาคม สำเร็จรูปเป็น ธนฺวาคม (ธันวาคม = เดือนเป็นที่มาแห่งธนู)
        - แปลง อู เป็น โอ แล้วเอา โอ เป็น อฺว 
        - ...... ฯลฯ.....

        เมื่อมาแยกศัพท์ออก ดูความหมายทีละศัพท์ ก็จะได้เป็น รฏฺฐ (รัด-ถะ) + อธิปติ (อธิปัตย์) คำว่า "รฏฺฐ หรือ รัฏฐ" นี้ ตามรูปศัพท์ แปลว่า แว่นแคว้น ซึ่งมีพระราชาเป็นผู้ปกครอง. จึงมีศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระราชา เช่น ศัพท์ ว่า รฏฺฐาธิโป (รัด-ถา-ธิ-โป) ก็คือ รัฏฐาธิป = ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น ในที่นี้มุ่งหมายเอาพระราชา ตามคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา, ในคัมภีร์อื่น ๆ เช่น กัจจายนะ, ปทรูปสิทธิปกรณ์, สัททนีติสุตตมาลา แสดงความหมายของคำว่า "รฏฐ" ว่า สถานที่อันเป็นที่ยินดีของประชาชน ท่านแสดงวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่า "รญฺชนฺติ เอตฺถาติ = รฏฺฐํ ประชาชนทั้งหลาย ย่อมยินในสถานที่นั้น เหตุนั้น สถานที่นั้น จึงชื่อว่าเป็นที่ยินดีของประชาชน (แว่นแคว้น) รากศัพท์เดิม มาจาก รนฺช ธาตุ ซึ่งเป็นไปในความกำหนัด ยินดี, ฐ ปัจจัย.

        ส่วนศัพท์ว่า อธิปติ หรือภาษาไทยเรานำมาใช้เป็น อธิบดี นั้น แยกออกเป็น 2 ศัพท์ คือ อธิ + ปติ (บดี), อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน ล่วง, ส่วนคำว่า ปติ (บดี) แปลว่า เจ้า ผัว (สามี =เจ้าของ) เมื่อรวมกันแล้วก็แปลว่า เจ้าใหญ่นายโต ก็แล้วกัน 555 !.

        คำว่า "รัฐาธิปัตย์" นั้น ที่มาของศัพท์พอคร่าว ๆ ก็ว่าไปแล้ว ทีนี้ศัพท์นี้ เมื่อนำมาใช้ในทางโลก มีผู้นำไปกล่าวทำนองว่า  

        "ข้าพเจ้าคือรัฐาธิปัตย์ หรือเป็นรัฐาธิปัตย์" นี่ มันหมายความว่าอย่างไร คำแปลนี่ก็แปลกันได้อยู่แล้วละครับว่า "ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น" 

        ในทางโลกเขาจะหมายถึงใครก็แล้วแต่ แต่ถ้าพูดถึงในทางพุทธศาสนา ในฐานะที่ศัพท์นี้เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี ก็หนีความเป็นศัพท์ในทางพุทธศาสนาไปไม่พ้น คือมีคำ
ที่ทำนกล่าวไว้ว่า "ภาษาบาลีอยู่ที่ใด พุทธศาสนา ก็อยู่ที่นั่น, พุทธศาสนาอยู่ที่ใด ภาษาบาลีก็อยู่ที่นั่น"

        ฉะนั้น คำว่า รัฐาธิปัตย์ นี้ จึงมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแค้วน, หรือ ผู้เป็นใหญ่แห่งแว่นแคว้น" ซึ่ง

        มุ่งหมายเอา ‘พระราชา’ เท่านั้น!!!

        หมายความว่า แว่นแคว้นใด ที่มีการปกครองโดยพระราชา มีพระราชาเป็นประมุข แว่นแคว้นนั้นก็จัดได้ว่ามีพระราชาเป็นใหญ่.

        อีกประการหนึ่ง คำว่า รัฐ นี้ มีความหมายว่า "ประชาชน" หมายถึงประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งพระราชาทรงมีพระอำนาจในการปกครองดูแล คือมีพระ
อาญาครอบงำชนเหล่านั้นได้ 

        เวลาที่ท่านให้ความหมายของคำว่า "ราชา" จึงตั้งวิเคราะห์ศัพท์ว่า "สงฺคหวตฺถูหิ รฏฺฐํ รญฺเชตีติ = ราชา ผู้ใดทำ ให้ชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย ชื่นชมยินดีด้วย สังคหวัตถุทั้งหลาย ผู้นั้น ชื่อว่า ราชา.

        ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ

        เมื่อได้ความตามภาษาบาลี ที่เทียบเคียงกันแล้ว ผมจึงขอถามท่าน นคร พจนวรพงษ์ผู้เขียนคอลัมน์ใน ‘มติชน’ อย่างตรงไปตรงตรงมา ว่า

        ผู้พิพากษารุ่นก่อนท่าน ได้ใช้คำ “รัฐาธิปัตย์” ที่ไม่มีอยู่ในภาษาไทย ในคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นผลพวงให้บรรดา ‘ท่านเปา-ไทยแลนด์’ รุ่นต่อมา ก็ใช้คำๆนี้ 

        อย่างไม่เก้อเขิน!

        จนกระทั่งท่านผู้รู้ภาษาบาลี ได้มาอธิบายความ แต่กว่าจะอธิบายความหมายของคำนี้ได้ ก็ต้องกล่าวเท้าความกันอย่างยืดยาว ดังที่ผมได้นำมาเสนอท่านผู้อ่านแล้ว 

        สรุปลงตรงที่ว่า

        “รัฐาธิปัตย์” แปลว่า “พระราชา”

        นั่นหมายความว่า...

        ไอ้หัวหน้าคณะรัฐประหารระยำ ที่มันเข้าปล้นอำนาจ ไปจากประชาชนชาวไทย นั้น...

        มันได้รับการสถาปนา ด้วยคำพิพากษาศาลฎีกา ให้เป็น “พระราชา” ขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง 

        อย่างนั้น...ใช่ไหม?

        ถามแบบหาเรื่อง ฉลอง ‘คริสต์มาส’ กันอย่างนี้แหละครับ...

        ...ใครจะทำไม!!!? 

...........

        ท้ายบท ท่านสามารถอ่านบทความ ของ ‘วาทตะวัน’ ที่เกี่ยวข้องกับศาลและผู้พิพากษา มีดังต่อไปนี้
        - วันรพี”...เตือนใจท่านผู้พิพากษา ให้กล้าหาญ ต่อต้านเผด็จการ(content_page_detail.php?cont_id=68)
        - กระบวนการยุติธรรมบ้านเรา บิดเบี้ยวเสียหาย เพราะใคร!?” (content_page_detail.php?cont_id=100)
        - ไทยกับกระบวนการ ‘ไม่’ ยุติธรรม อันน่าอับอาย!!! (http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=186)
        - จดหมายฟ้องโลก!!! (http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=187)
        - “ศาลไทย... ไม่ใช่ศาลทาส (นะโว้ย)!!!”(http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=208)
        - ตุลาการวิบัติ” หรือ “ตุลาการวิบัติ-ฉิบหาย”กันแน่!? (http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=258)
        (***บทความประจำสัปดาห์ ตอน หัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็น ‘พระราชา’ อีกองค์หนึ่ง...จริงหรือ!!!? ออนไลน์วันเสาร์ ที่ 24 ธันวาคม 2554)
http://redusala.blogspot.com